แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1185
ครั้งที่ ๑๑๘๕
สาระสำคัญ
สงฺ.มหา.อุปปฏิกสูตร - อินทรีย์ ๕ มีนิมิตเหตุปัจจัยเครื่องปรุงแต่ง
ขุ.ปฏิ. ชื่อว่าสมถพละ, ขุ.ปฏิ.ญาณกถา - สิ่งทั้งปวงควรทำให้แจ้ง
ขุ.ปฏิ.ญาณกถา -ความต่าง ๙ ประการ
อินทรีย์ ๓ ที่เป็นอริยะ
ที่ห้องประชุมตึกสภาการศึกษา มหามกุฏราชวิทยาลัย
วันอาทิตย์ที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๒๕
ไม่มีใครสามารถยับยั้งไม่ให้เวทนาเกิดขึ้น และเวทนาทั้งหลายก็ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาว่า จะให้เวทนาชนิดใดเกิด
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค อุปปฏิกสูตร มีข้อความที่แสดงว่า เมื่อเวทนาต่างกันเป็น ๕ ประเภท การไม่เกิดของเวทนาแต่ละประเภทจะมีในที่ใดบ้าง ซึ่งตามปกติไม่มีใครสามารถยับยั้งไม่ให้เวทนาเกิด แต่เวทนาก็ต่างกันไปเป็น ๕ อย่าง เพราะฉะนั้น เวทนาแต่ละอย่างจะไม่เกิดในที่ไหนบ้าง ก็ต้องเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย
ข้อความใน อุปปฏิกสูตร ข้อ ๙๕๖ – ข้อ ๙๖๑ มีว่า
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ทุกขินทรีย์ ๑ โทมนัสสินทรีย์ ๑ สุขินทรีย์ ๑ โสมนัสสินทรีย์ ๑ อุเปกขินทรีย์ ๑
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจ เด็ดเดี่ยว ทุกขินทรีย์เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ทุกขินทรีย์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา และทุกขินทรีย์นั้นมีนิมิต มีเหตุ มีเครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่า ทุกขินทรีย์นั้นไม่ต้องมีนิมิต ไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เธอย่อมรู้ชัดทุกขินทรีย์ เหตุเกิดแห่งทุกขินทรีย์ ความดับแห่งทุกขินทรีย์ และข้อปฏิบัติเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่ไหน
เป็นเรื่องที่น่าคิด เพราะว่าทุกท่านไม่มีใครชอบทุกขินทรีย์ เมื่อมีกายปสาท เวลาที่อกุศลวิบากเกิดขึ้นเป็นปัจจัยให้ทุกขินทรีย์คือทุกขเวทนาเกิดในวันหนึ่งๆ ไม่น้อยเลย แต่ทุกขินทรีย์ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่ไหน
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่นี้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้รู้แล้วซึ่งความดับแห่งทุกขินทรีย์ และน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น
ในขณะที่ฌานจิตเกิดจะไม่รู้อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย เพราะว่าจิตเป็นกุศลธรรม สงบขึ้นๆ จนกระทั่งลักษณะอาการของสมาธิขั้นต่างๆ มั่นคงขึ้นจนถึงขั้นอัปปนาสมาธิที่เป็นฌานจิต ในขณะนั้นจะไม่มีปัจจัยให้ทุกขเวทนาทางกายเกิด เพราะฉะนั้น ถึงแม้จะรู้ว่า เวลาที่ฌานจิตเกิดทุกขเวทนาไม่สามารถเกิดได้ แต่ก็ไม่มีใครสามารถทำให้ฌานจิตเกิดได้โดยง่าย แม้แต่ความสงบชั่วขณะใน วันหนึ่งๆ ที่จะเป็นกุศล ก็ยังไม่เพิ่มมั่นคงที่จะปรากฏลักษณะของความสงบ เพราะฉะนั้น ที่จะไม่ให้ทุกขเวทนาเกิดเพราะฌานจิตเกิด จึงเป็นสิ่งที่ยากที่จะเป็นไปได้
ข้อ ๙๕๘
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า โทมนัสเวทนาย่อมเกิดไม่ได้ในทุติยฌาน ปีติย่อมเกิดไม่ได้ในตติยฌาน สุขเวทนาย่อมเกิดไม่ได้ในจตุตถฌาน เพราะว่าความสงบของจิตประณีตขึ้นเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น เวทนาที่จะเกิดไม่ได้ ก็ต้องแล้วแต่ประเภทของเวทนานั้นๆ ตามขั้นของฌานนั้นๆ
ข้อ ๙๖๑
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว อุเปกขินทรีย์เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า อุเปกขินทรีย์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา และอุเปกขินทรีย์นั้นมีนิมิต มีเหตุ มีเครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่า อุเปกขินทรีย์นั้นไม่ต้องมีนิมิต ไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้
เธอย่อมรู้ชัดอุเปกขินทรีย์ เหตุเกิดแห่งอุเปกขินทรีย์ ความดับแห่งอุเปกขินทรีย์ และข้อปฏิบัติเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งอุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็อุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่ไหน
ฌานแต่ละขั้นดับเวทนาซึ่งไม่สามารถจะเกิดขึ้นในฌานนั้นๆ ได้ ตั้งแต่ปฐมฌาน ทุกขเวทนาไม่สามารถเกิดได้ โทมนัสไม่สามารถเกิดได้ในทุติยฌาน ปีติไม่สามารถเกิดได้ในตติยฌาน แม้สุขเวทนาก็ไม่สามารถเกิดในจตุตถฌาน อุเบกขายังเกิดในจตุตถฌาน แต่ว่า อุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่ไหน
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวงแล้ว เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ อุเปกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่เหลือในที่นี้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้รู้แล้วซึ่งความดับแห่งอุเปกขินทรีย์ และน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น.
จบ สูตรที่ ๑๐
จบ สุขินทริยวรรคที่ ๔
ถ้าไม่ได้ฌาน อย่าคิดที่จะดับเวทนาหนึ่งเวทนาใด เพราะแต่ละเวทนาย่อมอาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น ก็ย่อมมีทั้ง ๕ เวทนา แล้วแต่ว่าจะเป็นปัจจัยให้เวทนาไหนเกิดขึ้นทางไหน ในขณะไหน แต่พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้แจ้งธรรมทั้งปวง ก็ได้ทรงแสดงการดับของเวทนาสำหรับผู้ที่อบรมเจริญฌานสมาบัติ จนกระทั่งสามารถดับเวทนาได้ในขณะที่เป็นนิโรธสมาบัติ ซึ่งในขณะนั้นจิตไม่เกิดเลย นามธรรมทั้งหมดทั้ง ๔ ขันธ์ ทั้งจิตและเจตสิกไม่เกิด ในขณะที่เป็นนิโรธสมาบัติ แต่ว่าผู้ที่จะถึง นิโรธสมาบัติได้ คือ พระอนาคามีบุคคลหรือพระอรหันต์ ซึ่งสามารถอบรมความสงบของจิตจนกระทั่งถึงอรูปฌานที่ ๔ ได้ คือ ถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
เพราะฉะนั้น ท่านผู้ฟังซึ่งเป็นผู้ที่มีกำลังน้อย คงจะสามารถอบรมเจริญ สติปัฏฐานระลึกรู้ลักษณะของเวทนา ไม่ว่าจะเป็นเวทนาประเภทหนึ่งประเภทใด หรือว่ามีท่านผู้ใดใคร่ที่จะเจริญฌาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ยาก แม้เพียงความสงบที่เป็นกุศลจิตที่จะให้เกิดขึ้น ก็ยังยากที่จะให้มั่นคง
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ข้อ ๒๑๙ มีข้อความว่า
ชื่อว่าสมถพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวเพราะนิวรณ์ ด้วยปฐมฌาน
ข้อ ๒๒๑
ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวเพราะนิจจสัญญา ด้วย อนิจจานุปัสสนา ไม่หวั่นไหวเพราะสุขสัญญา ด้วยทุกขานุปัสสนา ไม่หวั่นไหวเพราะ อัตตสัญญา ด้วยอนัตตานุปัสสนา
จะต้องอบรมเจริญไป จนกว่าจะถึงความไม่หวั่นไหวที่จะระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เพราะบางท่านอาจจะเลือกบางอารมณ์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ในขณะนั้นหวั่นไหว ถ้าไม่หวั่นไหวจริงๆ ไม่ว่าสภาพธรรมใดกำลังปรากฏทางไหน ระลึกรู้ทันที โดยไม่คิดว่า สภาพธรรมนี้ไม่ควรรู้ หรือว่าสภาพธรรมนี้รู้ไม่ได้ แต่ที่ปัญญาจะเจริญขึ้น เพราะรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามปกติตามความเป็นจริงได้
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ข้อ ๗๘ ญาณกถา มีข้อความว่า
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงควรทำให้แจ้ง ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งทั้งปวงควรทำให้แจ้งคืออะไร คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ควรทำให้แจ้งทุกอย่าง หู เสียง ฯลฯ จมูก กลิ่น ฯลฯ ลิ้น รส ฯลฯ กาย โผฏฐัพพะ ฯลฯ ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือแม้ อทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ควรทำให้แจ้งทุกอย่าง ฯ
เพราะฉะนั้น เว้นไม่ได้ สภาพธรรมที่ปรากฏเป็นปกติในชีวิตประจำวัน ถ้าไม่สังเกตจะไม่ทราบเลยว่า ต่างกันออกไปเป็นแต่ละอย่างๆ แม้ว่าจะเป็น ๖ ทาง คือ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ แต่ว่าสำหรับคนหนึ่งๆ ก็ต่างจากบุคคลอื่น และแม้ในบุคคลเดียวกัน ในแต่ละวัน แต่ละขณะ ก็ยังต่างออกไปตามเหตุตามปัจจัย
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค ญาณกถา ข้อ ๑๘๔ มีข้อความว่า
ความต่าง ๙ ประการ ความต่างแห่งผัสสะอาศัยความต่างแห่งธาตุเกิดขึ้น
มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ๖ ทาง แต่ที่สภาพธรรมใดจะเกิดขึ้นทางไหน ต้องอาศัยความต่างแห่งผัสสะ บางท่านกำลังคิดนึกเรื่องราวต่างๆ บางท่านกำลังได้ยินเสียงหนึ่งเสียงใด บางท่านกำลังรู้สึกเป็นสุขทางกาย หรือว่าเป็นทุกข์ทางกาย เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า ความต่าง ๙ ประการ คือแล้วแต่ว่าจะเป็นธาตุไหน ทางทวารไหน นอกจากนั้นแล้ว
ความต่างแห่งเวทนาอาศัยความต่างแห่งผัสสะเกิดขึ้น
ที่เวทนาจะวิจิตรต่างๆ ไป ก็เพราะผัสสะ
ท่านผู้ฟังเคยคิดถึงเรื่องในอดีตนานมาแล้วบ้างไหม น่าจะลืมไปแล้ว แต่เมื่อมีปัจจัยทำให้ผัสสะเกิดกระทบกับเรื่องนั้น ก็เป็นปัจจัยให้เวทนาประเภทนั้นเกิดขึ้น แม้ว่าเป็นเรื่องเก่า บางท่านอาจนึกขึ้นมาด้วยความโกรธ ด้วยความขุ่นใจ ถ้าไม่นึกก็ไม่ขุ่นใจ แต่จะทำอย่างไรได้ เมื่อเวทนาอาศัยความต่างของผัสสะเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น เวทนาแต่ละขณะที่จะเป็นไป ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องอดีต หรือในเรื่องปัจจุบัน ทางตา หรือทางหู หรือทางจมูก หรือทางลิ้น หรือทางกาย หรือทางใจ ก็ต้องเป็นไปตามความต่างแห่งผัสสะ
ความต่างแห่งสัญญาอาศัยความต่างแห่งเวทนาเกิดขึ้น
อย่าลืม สภาพที่จำอาศัยความต่างแห่งเวทนาเกิดขึ้น ถ้าไม่เคยรู้สึกเป็นสุขอย่างนั้นๆ จะจำว่าความสุขอย่างนั้นๆ เป็นอย่างนั้นได้ไหม ก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้น แม้ความต่างแห่งสัญญาก็อาศัยความต่างแห่งเวทนาเกิดขึ้น
ความต่างแห่งความดำริอาศัยความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้น
แต่ละท่านที่คิด แสนวิจิตรต่างๆ ตามความต่างของสัญญา ท่านที่ทำอาหารเก่ง ท่านดำริโดยอาศัยความต่างแห่งสัญญาของรสต่างๆ ทำให้เกิดความคิดต่างๆ ในเรื่องการที่จะปรุงอาหารต่างๆ แต่ในชีวิตประจำวันของแต่ละคนไม่ใช่มีแต่เรื่องอาหาร ยังมีเรื่องวิชาการต่างๆ อีก ซึ่ง ความต่างแห่งความดำริอาศัยความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้น ประการหนึ่ง
ความต่างแห่งฉันทะอาศัยความต่างแห่งความดำริเกิดขึ้น
เมื่อคิดแล้ว ก็ยังต้องแล้วแต่ฉันทะของแต่ละคนจะเป็นไปในทางใด ซึ่งก็ย่อมต่างไปตามความดำริที่เกิดขึ้น
ความต่างแห่งความเร่าร้อนอาศัยความต่างแห่งฉันทะเกิดขึ้น
ความต่างแห่งการแสวงหาอาศัยความต่างแห่งความเร่าร้อนเกิดขึ้น
เวลาที่แสวงหาสิ่งหนึ่งสิ่งใด อาจจะลืมว่า ขณะนั้นมีความเร่าร้อนด้วยฉันทะเกิดขึ้น จึงได้แสวงหาสิ่งนั้น เพราะฉะนั้น การที่แสวงหาสิ่งต่างๆ ก็เพราะอาศัยความต่างแห่งความเร่าร้อนเกิดขึ้น เป็นเหตุให้
ความต่างแห่งการได้ (รูปเป็นต้น) อาศัยความต่างแห่งการแสวงหาเกิดขึ้น
ความต่าง ๙ ประการนี้ ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรม ๙ ประการ เป็นธรรมนานัตตญาณ ฯ
นี่คือชีวิตประจำวันของแต่คน ซึ่งไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้น สติจะต้องระลึกตรงลักษณะของสภาพธรรมของแต่ละคนจริงๆ
ชีวิตประจำวันซึ่งปัญญาจะต้องรู้ชัดในความต่างเหล่านี้ด้วย เพราะสติระลึก ถ้าสติไม่ระลึกจะไม่รู้เลยว่า ขณะนี้มีฉันทะอย่างไร มีความดำริอย่างไร มีความ เร่าร้อนอย่างไร มีการแสวงหาอย่างไร
ข้อความในพระสูตรไม่ได้ประมวลอินทรีย์ ๒๒ ไว้ในสูตรเดียว แต่ได้แสดงอินทรีย์ ๒๒ แต่ละหมวดในพระสูตรต่างๆ คือ
อินทรีย์ ๖ คือ จักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายินทรีย์ ๑ มนินทรีย์ ๑ แสดงใน สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค สุทธกสูตร ข้อ ๙๐๑
อินทรีย์ ๓ คือ อิตถินทรีย์ ๑ ปุริสินทรีย์ ๑ ชีวิตินทรีย์ ๑ แสดงใน ชีวิตินทริยสูตร ข้อ ๘๙๗
เวทนินทรีย์ ๕ คือ สุขินทรีย์ ๑ ทุกขินทรีย์ ๑ โสมนัสสินทรีย์ ๑ โทมนัสสินทรีย์ ๑ อุเปกขินทรีย์ ๑ แสดงใน สุทธกสูตร ข้อ ๙๑๔
อินทรีย์ ๕ อีกหมวดหนึ่ง คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ แสดงใน สุทธิกสูตร ข้อ ๘๔๓
และอินทรีย์ ๓ ที่เป็นอริยะ คือ อนัญญาตัญญัสสามีตินทริยะ ๑ อัญญินทริยะ ๑ อัญญาตาวินทริยะ ๑ แสดงใน อัญญาตาวินทริยสูตร ข้อ ๘๙๘
รวมเป็นอินทรีย์ ๒๒ ซึ่งแสดงไว้ในสูตรต่างๆ ใน สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ฉฬินทริยวรรคที่ ๓
ที่ท่านผู้ฟังถามว่า ขณะที่อ่านหนังสือช้าๆ และรู้ว่าขณะที่เห็นไม่ใช่ขณะที่คิด ความรู้อย่างนั้นเป็นปริยัติใช่ไหม ซึ่งถ้าตอบเพียงสั้นๆ คงจะไม่ทำให้หมดความสงสัย เพราะว่าคำถามนี้นำไปสู่ความเข้าใจเรื่องของการอบรมอินทรีย์ ๕ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ และปัญญินทรีย์
การพิสูจน์ธรรมไม่ยาก คือ ในขณะนี้เอง มีการเห็น สติระลึกลักษณะสภาพรู้ ที่กำลังเห็นจริงๆ หรือเปล่า หรือว่าฟังเรื่องของการเห็นและจำได้ว่า สภาพที่เห็นเป็นสภาพรู้ แต่ในขณะที่กำลังเห็นนี้เอง กำลังคิดเรื่องการเห็นเป็นสภาพรู้ หรือว่ากำลังระลึกในอาการเห็นซึ่งกำลังเป็นลักษณะรู้ ซึ่งสภาพธรรมทั้งหมดจะค่อยๆ ปรากฏกับสติ แต่อย่าลืมว่า ต้องเป็นการละคลายการยึดถือสภาพธรรมนั้นว่า เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตนด้วย ซึ่งไม่ใช่จะเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว แต่จะทราบว่า ในขณะที่ระลึกและรู้ในลักษณะของสภาพของนามธรรมหรือรูปธรรม วันหนึ่งจะมีการละคลายการที่ยึดถือสภาพนั้นว่า เป็นเราที่กำลังเห็น เพราะว่าเป็นเพียงสภาพรู้ หรืออาการรู้ ที่กำลังเห็น
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๑๑๘๑ – ๑๑๙๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1141
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1142
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1143
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1144
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1145
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1146
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1147
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1148
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1149
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1150
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1151
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1152
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1153
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1154
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1155
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1156
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1157
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1158
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1159
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1160
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1161
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1162
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1163
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1164
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1165
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1166
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1167
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1168
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1169
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1170
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1171
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1172
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1173
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1174
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1175
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1176
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1177
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1178
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1179
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1180
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1181
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1182
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1183
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1184
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1185
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1186
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1187
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1188
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1189
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1190
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1191
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1192
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1193
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1194
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1195
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1196
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1197
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1198
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1199
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1200