แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1234
ครั้งที่ ๑๒๓๔
สาระสำคัญ
อัตตสัญญาคือ สัญญาความทรงจำที่ผิด
สภาพธรรมคือไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใด เป็นธรรมแต่ละอย่าง
สนทนาธรรม ณ พระวิหารเชตวัน เขตพระนครสาวัตถี (ต่อ)
วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๒๖
ถ. สมมติว่า ผมมองไปข้างหน้าเห็นต้นโพธิ์ ที่รู้ว่าเป็นต้นโพธิ์เป็นบัญญัติ หรือว่าปรมัตถ์
สุ. มีอะไรปรากฏทางตา
ถ. มีสี
สุ. อะไรเป็นของจริง
ถ. สีเป็นของจริง
สุ. ก็เป็นคำตอบแล้ว เห็นอะไร
ถ. สี
สุ. ถ้าไม่ใช้คำว่า สี เห็นอะไร มีสิ่งที่กำลังปรากฏ เดี๋ยวนี้เอง ก็จะพูดอย่างนี้ไป นึกอย่างนี้ไป ระลึกอย่างนี้ไป เป็นกัป จนกว่าจะถอนความเป็นตัวตน เป็นต้นโพธิ์ เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดออกจากสิ่งที่เพียงปรากฏทางตา ซึ่งคนตาบอดไม่เห็น
ถ. และที่ว่า พิจารณาต่อไปว่า รู้เป็นนาม รู้เป็นรูป
สุ. ไม่ใช่ให้ท่อง ให้ระลึกถึงลักษณะ เพราะฉะนั้น จึงใช้คำว่า สภาพรู้ ธาตุรู้ อาการรู้ ลักษณะรู้ ไม่ใช่ให้ท่อง แต่ให้น้อมมารู้ว่า ที่กำลังเห็นทางตาในขณะนี้ ที่มีสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาได้ เพราะมีลักษณะรู้ ธาตุรู้ อาการรู้ สิ่งที่ปรากฏทางตาจึงปรากฏได้ในขณะนี้
ถ. ทางอื่นก็เช่นเดียวกัน ใช่ไหม
สุ. เหมือนกัน ถ้าเลื่อนจักขุปสาทออกไปจากตรงกลางตานิดหนึ่ง การเห็นจะอยู่ที่ไหน เวลานี้ทุกคนเห็น เวลาที่มองตรงไป เห็น เพราะว่าจักขุปสาทไม่ได้อยู่ที่หางตา เพราะฉะนั้น ถ้าจักขุปสาทเลื่อนจากตรงกลางตาออกไป การเห็นจะอยู่ตรงไหน แสดงให้เห็นว่า การเห็นในขณะนี้ซึ่งมีอยู่ทุกวันเป็นธรรมชาติเกือบจะไม่รู้เลยว่าเกิดที่ไหน เห็นที่ไหน แต่ตามความเป็นจริงแล้ว เพียงแต่เลื่อนจักขุปสาทออกไปจากกลางตา จะมองเห็นสิ่งที่อยู่ข้างหน้านี้ไหม ก็เห็นไม่ได้ แสดงว่าการเห็นในขณะนี้เกิดขึ้นเพราะปัจจัย เพียงชั่วขณะ คำว่า ชั่วขณะ นี่เล็กน้อยที่สุด สั้นที่สุด แต่ขณะนี้การเห็น หรือสิ่งที่ปรากฏทางตา เกินกว่าที่จะใช้คำว่าเล็กน้อยหรือสั้น เพราะว่านานแล้วใช่ไหมที่เห็น แต่ตามความเป็นจริงเล็กน้อยและสั้นมากตามปัจจัยที่เกิดดับ จักขุปสาทเกิดที่นั่น ดับที่นั่น การเห็นเกิดที่นั่น ดับที่นั่น
การเห็นจะไม่เข้าไปถึงข้างในตา ไม่ทะลุสมอง ไม่เข้าไปถึงข้างหลัง เพราะว่า บางและฉาบทาอยู่ตรงกลางตานิดเดียวเท่านั้นเอง นั่นเป็นลักษณะของจักขุปสาทซึ่งเป็นรูป แต่การเห็นแท้ๆ ก็เป็นเพียงธาตุรู้ ซึ่งไม่มีรูปใดๆ เจือปน
จะได้ยินคำนี้ไป ท่องไป ระลึกไป จนกว่าลักษณะของธาตุรู้ซึ่งไม่มีรูปใดๆ เจือปนอยู่จะปรากฏ เพราะเวลานี้ทางตาเห็น มีสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาเจือปน ทางหูได้ยิน มีเสียงเจือปน ยังไม่มีลักษณะอาการซึ่งเป็นธาตุรู้ สภาพรู้ล้วนๆ ที่ไม่มี สิ่งใดๆ เจือปน
เพราะฉะนั้น คำที่ทรงแสดงจะสั้นหรือจะยาวก็คือเรื่องเดียวกัน แล้วแต่ความสามารถที่จะเข้าใจ และหยั่งลงถึงลักษณะนั้นทันทีพร้อมสติ หรือต้องอาศัย การฟังและการพิจารณาอีกมาก เพราะว่าสติไม่ค่อยจะเกิด หรือว่าเกิดแล้วแต่ปัญญายังไม่ค่อยเกิด ก็เป็นเรื่องที่จะต้องอบรม ต้องอาศัยกาลเวลาและขันติเป็นตบะอย่างยิ่ง
ข้อสำคัญ สัญญา ความทรงจำที่ผิด คือ อัตตสัญญา ไม่ลืมเลยว่า กำลังมีตัวเราที่นั่งอยู่ เป็นเราที่เห็น และในขณะเดียวกันก็เป็นเราที่ได้ยิน แต่ถ้าอัตตสัญญาค่อยๆ เลือน คือ เวลาที่สติระลึกลักษณะของสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ไม่มีลักษณะอื่นปรากฏด้วย จนกว่าจะเป็นอย่างนั้น อัตตสัญญาจึงจะค่อยๆ เลือนไป และลักษณะของอารมณ์ที่ปรากฏจึงจะค่อยๆ ชัดเจนขึ้นว่า ไม่มีสิ่งอื่นเลย นอกจากสิ่งนั้นสิ่งเดียว
เพราะฉะนั้น ผู้ที่อบรมเจริญปัญญารู้ว่า ขณะที่อัตตสัญญาค่อยๆ เลือนไป จะต้องอาศัยประพฤติปฏิบัติอย่างไร คือ สติจะต้องระลึกได้ และการสังเกต การพิจารณาซึ่งไม่ใช่ขั้นนึกคิด จะค่อยๆ น้อมรู้ทีละเล็กน้อยที่สุด คำว่า เล็กน้อยที่สุด ต้องเป็นการแสดงถึงความอดทนเมื่อยังไม่ชัด ยังไม่รู้ เพราะปัญญาจะค่อยๆ เกิด น้อยที่สุดจนกว่าจะคมกล้าจริงๆ ที่จะรู้ได้
ถ. ที่อาจารย์กล่าวว่า โน้มไป น้อมไป ช่วยอธิบาย
สุ. สติระลึกที่ไหน
ถ. ระลึกที่กำลังรู้สึก
สุ. ลักษณะของความรู้สึก หรือลักษณะของรูปที่ปรากฏ
ถ. ลักษณะของความรู้สึกมากกว่า
สุ. สติกำลังระลึกความรู้สึก และความรู้สึกนั้นเป็นความรู้สึกชนิดไหน ดีใจ หรือเสียใจ หรือเฉยๆ
ถ. สมมติว่า
สุ. ไม่สมมติ
ถ. ขณะนี้ดีใจ
สุ. ถ้าระลึกแล้วต้องมีลักษณะ แม้ความรู้สึกก็ต้องบอกได้ว่า ความรู้สึก ในขณะนั้นมีลักษณะอย่างไร จึงจะเป็นความรู้สึก ใช่ไหม มิฉะนั้นจะเป็นแต่ชื่อว่า ระลึกที่ความรู้สึก โดยที่ลักษณะของความรู้สึกไม่ได้ปรากฏ เพราะฉะนั้น เวลาที่สติระลึกต้องมีลักษณะจริงๆ ซึ่งจะต้องใคร่ครวญว่า สภาพที่กำลังปรากฏในขณะนั้นสามารถจะบอกได้ว่า สิ่งที่สติกำลังระลึกเป็นอะไร เป็นความรู้สึก หรือว่ารูปชนิดหนึ่งชนิดใด
ช่วยบอกอีกครั้งว่า ขณะนี้ที่สติเกิดระลึก ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏเป็นลักษณะของสภาพธรรมอะไร
ถ. ของเสียงที่ได้ยิน
สุ. ของเสียง น้อมไปรู้ลักษณะของเสียง เมื่อสติระลึกแล้ว น้อมไปที่จะรู้ในสภาพที่เป็นเสียง ในขณะนั้นที่จะละอัตตสัญญาได้ คือ ลืมสิ่งอื่น ไม่มีสิ่งอื่นในขณะที่เสียงปรากฏเลย จนกว่าจะเป็นอย่างนั้นจริงๆ เพราะว่าศึกษามาแล้ว จิตเกิดขึ้นทีละขณะ รู้อารมณ์ทีละอย่าง นามธรรมและรูปธรรมใดก็ตามซึ่งไม่ปรากฏ นามธรรมนั้นรูปธรรมนั้นเกิดแล้วดับแล้วจึงไม่ปรากฏ นี่เป็นการแสดงลักษณะที่จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ ทีละขณะ อบรมเจริญไปจนกว่าจะเป็นอย่างนี้ จึงจะละอัตตสัญญาได้
เพราะฉะนั้น ที่ว่าน้อมไป ก็คือน้อมไปศึกษาลักษณะของอารมณ์ที่กำลังปรากฏ
ถ. ถ้าเสียงนกนั้นกำลังเป็นอารมณ์ ภาพกาตัวดำๆ ก็ปรากฏขึ้นในใจ ใช่ไหม
สุ. ไม่จำเป็น ไม่มีใครเคยเห็นนกตัวนี้เลย แต่ว่าเสียงปรากฏแล้ว จะนึกภาพได้อย่างไร
ถ. ขณะที่ระลึกนั้น ภาพมักจะปรากฏ
สุ. ยังไม่เคยเห็นนกตัวนี้ ได้ยินแต่เสียง จะนึกภาพอะไร เมื่อเป็น เสียงยังไม่ต้องมีภาพ แต่ถ้าเป็นเสียงอย่างหนึ่งอย่างใด ในขณะนั้นมีความทรงจำในอัตตสัญญาว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่ใช่เป็นแต่เพียงสภาพธรรมที่ปรากฏแล้วหมดไป
เมื่อเป็นธรรม คือ ธรรมชาติแต่ละลักษณะ จึงไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใด นี่เป็นเครื่องอัดเทป เป็นสิ่งหนึ่ง นี่เป็นกระเป๋า เป็นสิ่งหนึ่ง นี่เป็นเสื่อ เป็นสิ่งหนึ่ง แต่เมื่อเป็นสภาพธรรม แข็ง ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใด เพราะฉะนั้น ต้องรู้ความหมายของสภาพธรรม คือ รู้ว่าเป็นธรรม เป็นลักษณะของสิ่งที่มีจริงเท่านั้น ไม่ใช่สิ่งหนึ่งคือเครื่องอัดเทป ไม่ใช่สิ่งหนึ่งคือกระเป๋า ไม่ใช่สิ่งหนึ่งคือนก
แม้แต่คำก็ต้องรู้ว่า เมื่อยึดถือสิ่งที่ปรากฏว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่ใช่รู้ว่า เป็นสภาพธรรม นี่แยกกันแล้ว เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด กับเป็นสภาพธรรม
บางทีแม้แต่คำก็ยากที่จะเข้าใจ เพราะฉะนั้น ต้องอาศัยการฟังบ่อยๆ และการพิจารณาอรรถของคำนั้นจริงๆ
ถ้าใช้คำว่า ธรรม ต้องรู้ว่าไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน แต่ถ้าหมายความถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่สภาพธรรม
ถ. ปกติประจำวัน โดยเฉพาะตัวของกระผมมาที่นี่คิดว่า สติไม่ค่อยจะเกิด เป็นเรื่องของความคิดนึกตลอดเวลา อะไรจะเป็นปัจจัยทำให้สติมีโอกาสเกิดขึ้นได้บ้าง
สุ. ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระอานนท์ ท่านพระอุบาลี ท่านพระมหากัสสปะ เคยฟังธรรมอย่างนี้จากพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ เพราะฉะนั้น ในขณะที่ท่านยังไม่ได้ฟังพระธรรมจาก พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นี้ ในครั้งที่ท่านเหล่านั้นฟังเรื่องของสภาพธรรมจากพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ นั้น ท่านหวังหรือเปล่าว่าเมื่อฟังแล้วสติของท่านจะเกิดมากบ่อยๆ เนืองๆ จนกระทั่งรู้แจ้งอริยสัจธรรม หรือท่านรู้ว่า เป็นสิ่งที่จะต้องอบรมไป ฟังไป จากอีกหลายๆ พระองค์ สติก็ระลึกไปอีกหลายๆ พระองค์ จนกว่าปัญญาของท่านจะถึงการรู้แจ้งอริยสัจธรรมในสมัยของ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นี้
เพราะฉะนั้น เครื่องวัดตรวจสอบแต่ละบุคคลตามความเป็นจริง คือ เมื่อได้ฟังพระธรรมแล้ว เข้าใจในอรรถถี่ถ้วนละเอียดจริงๆ หรือยัง ถ้ายังมีความสงสัยอยู่ สติไม่สามารถที่จะระลึกลักษณะของสภาพธรรมหลังจากที่เพียงได้ฟังครั้งหนึ่ง ๒ ครั้ง ๑๐ ครั้ง ๑๐๐ ครั้ง ๑๐๐๐ ครั้ง หรือหลังจากเริ่มเข้าใจลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมแล้ว ก็ไม่ได้หวังว่าวันนี้สติจะเกิดมาก ปีหน้าสติจะเกิดเพิ่มขึ้นอีกเท่านั้นเท่านี้ แต่เป็นเรื่องของการที่จะต้องเข้าใจจริงๆ ว่า ขณะที่สติเกิด ก็มีปัจจัยปรุงแต่งให้เกิด ขณะที่หลงลืมสติ ก็มีปัจจัยที่จะหลงลืมสติ
ถ. เพียงแต่เห็น เพียงแต่ได้ยิน เพียงแต่ได้กลิ่น หมายความว่า มีสติแล้ว
สุ. สติเกิดขึ้น สภาพของสติเป็นสภาพที่ระลึก รู้ว่ามีสิ่งที่กำลังปรากฏ จริงๆ เช่น ทางตากำลังมีจริง แล้วแต่สติว่าจะระลึกหรือเปล่า หรือว่ายังระลึกไม่ได้ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ทางหูในขณะนี้ก็มีจริง แล้วแต่สติอีกว่า สติจะระลึกหรือยัง หรือ สติยังไม่ระลึก แต่การที่สติจะระลึก ไม่ได้ระลึกลักษณะอื่นเลย แต่ระลึกรู้ พยายามที่จะรู้ความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาหรือทางหูเท่านั้นเอง คือ ขณะที่สติเกิด ในขณะนั้นพยายามที่จะรู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏว่า ลักษณะนั้นเป็นสภาพรู้ เป็นอาการรู้ที่กำลังเห็น และสิ่งที่ปรากฏทางตาก็มีจริง และเพียงเห็น เพราะว่าขณะนั้นสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นสภาพธรรมที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน
เพราะฉะนั้น แม้แต่การที่เราบอกว่า สติระลึกและรู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏทางตา แค่นี้ ก็นานเหลือเกินกว่าจะเป็นแค่นี้ ฟังมากเท่าไรจนเป็นพหูสูต แต่ที่จะให้ปัญญารู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่ได้ยินได้ฟังพร้อมกับสติในขณะที่ระลึก นั่นเป็นเรื่องของการอบรมอีกนาน ซึ่งนานกว่าการฟัง ถ้าอบรมแล้วต้องรู้ตามความเป็นจริงเพิ่มขึ้นๆ แต่ถ้ายังไม่อบรม จะให้คนที่เพิ่งฟังเหมือนกันกับคนที่อบรมแล้ว ก็ไม่ได้
ถ. รู้ไม่ตรง หมายความว่า ยังมีความเป็นตัวเป็นตน ใช่ไหม
สุ. สติเกิดหรือเปล่า สติระลึกอะไร
ถ. สิ่งที่ปรากฏ
สุ. สิ่งที่ปรากฏ ลักษณะของรูปหรือลักษณะของนาม นี่คือคำตอบที่จะตอบคุณธงชัย ถ้าไม่รู้ว่าเป็นรูป ขณะนั้นก็ไม่ตรงลักษณะของรูป ถ้าไม่รู้ว่าเป็นนาม ก็ไม่ตรงลักษณะของนาม และถึงแม้ว่าระลึกลักษณะที่เป็นนาม ก็จะค่อยๆ เพิ่มทีละนิดเดียว ไม่ใช่จะไปประจักษ์แจ้งลักษณะของนามธรรมทันที เพียงแต่เริ่มจะรู้เป็น เงาๆ ว่า นี่คืออาการรู้เท่านั้น นิดเดียวเท่านั้นเอง ไม่ใช่การประจักษ์แจ้ง เพราะว่า ฟังไปๆ ก็ฟังมาตลอดว่า เห็นเป็นธาตุรู้ อาการรู้ เหมือนกับว่าจะง่าย แต่ไม่ง่ายเลยที่จะรู้ว่า ลักษณะของธาตุรู้ อาการรู้ที่แยกจากรูปธรรมนั้นเป็นอย่างไร
ถ้าไม่คิดที่จะรู้มาก หรือว่ารู้ชัด หรือว่ารู้แจ้ง เพียงแต่คิดที่จะอบรมเจริญปัญญา ค่อยๆ รู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมไปเรื่อยๆ เท่าที่มีปัจจัยปรุงแต่ง ในแต่ละภพแต่ละชาติ จะดีไหม
ซึ่งนั่นคือเหตุที่ถูกต้องที่สุด และเวลาที่ผลเกิดขึ้นจะตกใจว่า ทำไมจึงเป็นไปได้ ใช่ไหม เพราะว่าไม่ได้หวัง เมื่อเหตุสมบูรณ์เมื่อไรผลก็เกิดเมื่อนั้น แต่ถ้ารอวันรอคืน ไม่มีทาง เพราะว่าไม่ได้อบรมเจริญความรู้ในลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมตามปกติจริงๆ ไปเรื่อยๆ
ถ. ... (ได้ยินไม่ชัด)
สุ. ในเมื่อเข้าใจว่า สภาพธรรมอะไรกำลังมีจริงที่กำลังปรากฏ และสติระลึกลักษณะของสภาพธรรมนั้น ไม่ได้ไปทำอะไรให้พิเศษขึ้นมาต่างหากจากปกติธรรมดาของสภาพธรรม ต้องเป็นของที่ถูก เพราะว่าเป็นผู้ที่มีปกติระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังเกิดตามความเป็นจริงตามปัจจัยที่ปรุงแต่ง เพียงแต่ว่าสติยังไม่ชำนาญ ยังไม่คล่องแคล่ว และปัญญายังไม่เจริญพอที่จะเห็นลักษณะของสภาพธรรมได้ว่า ลักษณะใดเป็นนามธรรม ลักษณะใดเป็นรูปธรรม แต่ก็ต้องอาศัยการอบรม ซึ่งต้องใช้เวลาไม่ใช่โดยเร็ว
ถ้าอ่านประวัติของพระพุทธสาวกแต่ละองค์ จะเห็นได้ว่า ท่านได้ฟังพระธรรมอย่างนี้มาตั้งแต่สมัยพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ไหนบ้าง
ถ. หลายพระองค์เชียวหรือ
สุ. ถ้าพระองค์เดียวก็คงจะเก่งที่สุด หนทางเดียวที่จะไม่ต้องคอยหลายๆ พระองค์ คือ ฟังธรรมไปเรื่อยๆ และมีความมั่นคง พิจารณาเหตุผลอย่างรอบคอบ เป็นผู้ที่ไม่ประมาท อบรมเจริญปัญญาตามปกติ ซึ่งอย่างนี้ก็ยังไม่ทราบว่า จะกี่พระองค์ เหมือนกับพระสาวกในอดีตท่านก็ไม่ทราบว่า ท่านจะต้องอาศัยการอบรมเจริญและการฟังพระธรรมจากพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ากี่พระองค์ แต่ต้องอาศัยจริงๆ ไม่ใช่อาศัยแต่เพียงชื่อ พระองค์หนึ่งแล้ว รออีกพระองค์หนึ่งไปเรื่อยๆ แต่ไม่ว่าจะรอหรือไม่รอ ก็เป็นผู้ที่อบรมเจริญปัญญาไปเรื่อยๆ
ถ. พระอสีติมหาสาวกทั้งหลาย กว่าจะได้เป็นอย่างนั้นต้องตั้งความปรารถนาไม่รู้ว่ากี่พระองค์
สุ. แต่ท่านก็เป็นตัวอย่างของขันติ ความอดทน
ถ. ที่พระเชตวันพระผู้มีพระภาคประทานพระธรรมเทศนาแต่สติปัฏฐานอย่างเดียว หรือว่าอย่างอื่นด้วย
สุ. อย่างอื่นด้วย ในพระสูตรมีหลายอย่าง
ในอดีต เวลาเย็นประชาชนชาวสาวัตถีจะหลั่งไหลมาสู่พระวิหารเชตวัน พร้อมด้วยเครื่องสักการบูชา เพื่อฟังพระธรรมเป็นประจำ ท่านอนาถบิณฑิกะก็มาที่ พระวิหารเชตวันของท่านวันละ ๓ ครั้ง
ถ. พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ตรงนี้ที่พระคันธกุฎี ใครมาก็ต้องผ่าน
สุ. พระคันธกุฎี คือ ที่ประทับของพระผู้มีพระภาค ที่ใช้คำพิเศษว่า คันธะ เพราะว่ามีกลิ่นหอม ทุกแห่งที่ประทับ
ถ. จากเครื่องบูชา
สุ. เครื่องสักการะทั้งของเทวดาและมนุษย์ เป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่า ไม่ใช่กุฎีของพระอรหันต์อื่น แต่เป็นกุฎีของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงใช้คำว่า พระคันธกุฎี ถ้าใช้คำว่าพระคันธกุฎีแล้ว จะไม่ใช่ที่อยู่ของพระอรหันต์องค์อื่น
ถ. ที่กล่าวว่า การเจริญมหาสติปัฏฐาน กาย เวทนา จิต ธรรม ธรรม ในที่นี้มีความหมายกว้างขวางแค่ไหน
สุ. ทุกอย่างเป็นธรรมทั้งหมด รูป เสียง กลิ่น รส
ถ. เกิดที่กายนี้เหมือนกัน ใช่ไหม
สุ. ถ้าไม่เกิดที่กาย มีไหม ต้องคิด ถ้าไม่คิด อาจจะเป็นคำตอบซึ่งเราไม่ชัดเจนตลอดเวลา
ถ. ที่กายนี้เป็นที่ตั้ง ที่รวม เมื่อมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมากระทบจะเป็นเย็น ร้อน หรือเสียง หรือกลิ่น สิ่งเหล่านี้ก็เป็นธรรมทั้งหมด
สุ. ธรรมส่วนใด ซึ่งยึดถือว่าเป็นตัวหรือเป็นร่างกาย ธรรมส่วนนั้นเป็น กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ลักษณะของจิตทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาพรู้ เป็นอาการรู้ เมื่อสติระลึกก็รู้ในลักษณะของจิต จึงเป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ลักษณะของความรู้สึกทั้งหมด เมื่อสติระลึก จึงเป็นการระลึกรู้ในความรู้สึก เป็นเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ส่วนธรรมอื่นทั้งหมด มีจริง เป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในส่วนใดที่ไม่ได้ยึดถือว่าเป็นร่างกาย
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๒๓๑ – ๑๒๔๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1201
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1202
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1203
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1204
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1205
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1206
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1207
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1208
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1209
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1210
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1211
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1212
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1213
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1214
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1215
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1216
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1217
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1218
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1219
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1220
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1221
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1222
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1223
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1224
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1225
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1226
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1227
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1228
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1229
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1230
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1231
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1232
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1233
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1234
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1235
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1236
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1237
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1238
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1239
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1240
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1241
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1242
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1243
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1244
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1245
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1246
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1247
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1248
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1249
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1250
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1251
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1252
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1253
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1254
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1255
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1256
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1257
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1258
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1259
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1260