แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1237
ครั้งที่ ๑๒๓๗
สาระสำคัญ
ประโยชน์ของการรู้ว่า เป็นอนัตตา
ความคิดนึก
กลัวผี
สนทนาธรรมที่โรงแรม เขตประเทศเนปาล
วันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๒๖
สุ. คุณณพวรรณ เวลานี้มีอัตตสัญญาไหม
ผู้ฟัง มี
สุ. รู้ว่ามี นี่ถูก เพราะถ้าไม่รู้ก็คิดว่า เราไม่ต้องอบรมเจริญปัญญาอะไร แต่ถ้ารู้ว่ามี เราจึงรู้ว่า สิ่งที่เรารู้ตรงกันข้ามกับการตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาค เพราะพระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา แต่เมื่อเราเห็นว่าเป็นอัตตา ก็ต้องไกลกันลิบ จนกว่าปัญญาจะค่อยๆ อบรมเจริญ และค่อยๆ รู้ตามทีละเล็ก ทีละน้อย เริ่มจากการฟัง แต่อย่างน้อยที่สุดก็เข้าใจความหมายของอัตตสัญญาถูกต้องแล้วว่า มีอัตตสัญญาเต็ม ไม่ว่าจะทางตาที่เห็น ทางหูที่ได้ยิน ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เพียบหนักมาก เวลาฟังนิดหนึ่ง เข้าใจหน่อยหนึ่ง เหมือนกับว่าคลายไปนิดเดียว แต่ของหนักของเพียบยังเต็มที่ เหมือนคนไข้หนักกำลังรอการเยียวยา แต่ยานี้นานๆ ได้ที ทีละหยดสองหยด ข้อสำคัญที่สุด คือ คนที่เป็น ไข้หนัก ไม่รู้ว่าตนกำลังเป็นไข้หนัก
ถ. นิมิต กับอนุพยัญชนะ เหมือนกันไหม
สุ. นิมิตหมายความถึงรูปร่างสัณฐานใหญ่ๆ อนุพยัญชนะหมายความถึงส่วนละเอียด อย่างคนก็มีตา ๒ ข้าง มีหู ๒ มีปาก มีจมูก มีแขน นี่คือ นิมิต รูปร่างสัณฐาน แต่ส่วนละเอียดของแต่ละคนไม่เหมือนกันเลย แม้แต่ตาก็ไม่เหมือน แววตาก็ไม่เหมือน นี่คือส่วนละเอียด อนุพยัญชนะ
ถ. ... (ได้ยินไม่ชัด)
สุ. ทุกอย่าง ที่ขณะนั้นไม่ใช่ลักษณะของสภาพธรรม แต่เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด นั่นคือ อัตตสัญญา
ถ. คำว่า สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่กล่าวนี้ หมายถึงทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ
สุ. รวมหมดทุกอย่าง
ถ. คำว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด หมายความว่าเป็นอัตตสัญญา
สุ. เพราะฉะนั้น ธรรมบางทีสั้น แต่คลุมหมด ถ้าเราเข้าใจหรือเราพิจารณา อย่างคำว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา จะทิ้งอันไหนไม่ได้เลย ถ้าเราเข้าใจจริงๆ และพยายามที่จะเข้าใจให้ชัด
เห็นเป็นอนัตตาไหม เป็น เสียงเป็นอนัตตาไหม เป็น ทุกอย่าง เมื่อกล่าวว่า ธรรมทั้งหลาย คือ เว้นไม่ได้เลย ไม่ว่าจะถามอะไรขึ้นมาต้องเป็นอนัตตาทั้งนั้น อากาศเป็นอนัตตาไหม ก็ต้องเป็น นิพพานเป็นอนัตตาไหม ก็ต้องเป็น คือ ทุกอย่างหมดต้องเป็นอนัตตา เพียงแต่ว่าเราจะเข้าใจความหมายของอนัตตาอย่างไร ใช่ไหม อย่างความรู้สึกดีใจ ทำไมว่าเป็นอนัตตา
ใครสร้างความรู้สึกได้ แต่ความรู้สึกเกิดเองโดยเหตุปัจจัยจนชิน จนกระทั่งเหมือนกับว่าเราสามารถทำให้เกิดความรู้สึกดีใจได้ มีความเป็นตัวตนว่าเราทำได้ คือ เมื่อไรเราเห็นสิ่งที่เราพอใจ หรือได้สิ่งที่เราพอใจ เมื่อนั้นเราจะรู้สึกดีใจ คล้ายๆ กับว่าเราทำให้ความรู้สึกดีใจเกิดขึ้น แต่แท้ที่จริงความรู้สึกไม่มีใครสร้างได้เลย เป็นสภาพที่เกิดพร้อมกับจิต ถ้าจิตไม่เกิด ความรู้สึกก็เกิดไม่ได้ ที่ไหนที่มีจิตเกิด ที่นั่นมีความรู้สึก
เกิดร่วมกับจิต เพราะฉะนั้น ไม่มีใครสร้างความรู้สึกขึ้นมาได้ ความโกรธก็ไม่มีใครสร้างได้ ความโลภก็ไม่มีใครสร้างได้ ความสุข ความทุกข์ ทุกอย่าง ไม่มีใครสร้างได้ เป็นสภาพธรรมซึ่งเกิดตามเหตุตามปัจจัยจริงๆ
นี่คือความหมายของอนัตตา
ใครจะห้ามสิ่งที่กระทบกันไม่ให้เกิดเสียงได้ แต่เมื่อตั้งใจทำให้เสียงหนึ่งเสียงใดเกิดโดยเอาของมากระทบกัน ก็คิดว่าเราทำให้เสียงเกิดได้ ลืมความเป็นอนัตตา และชีวิตของแต่ละคนก็เป็นอนัตตาจริงๆ แล้วแต่เหตุปัจจัย อย่างที่คุณหมอเหยียบหนาม ก็เป็นอนัตตา ทำไมคนอื่นไม่เหยียบ
ผู้ฟัง เพราะเดินเท้าเปล่า
สุ. และก็มีเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้น เวทนาความรู้สึกก็ต้องเกิดตามเหตุปัจจัย
ถ. ทุกสิ่งทุกอย่างบังคับบัญชาไม่ได้ เกิดเพราะเหตุปัจจัย
สุ. แน่นอน รวมถึงนิพพานซึ่งเป็นธรรมที่ไม่เกิดก็เป็นอนัตตา ทุกอย่าง ไม่มีอะไรเหลือเลย เพราะถ้ามี ต้องมีตัวตนขึ้นมาทันทีใช่ไหม ซึ่งตัวตนก็ไม่มี มีแต่ความเห็นผิดที่ยึดถือสภาพธรรมที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยว่า เป็นตัวตน
เพราะฉะนั้น ถ้าเห็นว่าเป็นอัตตา ผิดแน่ แต่กว่าจะรู้ว่าเรามีความเห็นผิด ก็ต้องฟังพระธรรม จึงจะรู้ว่า เรามีอัตตสัญญา ประโยชน์ของการรู้ว่าเป็นอนัตตา ดีไหม ดี
ผู้ฟัง ดิฉันได้รับอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่ทราบว่าเรียกว่า อนัตตา
สุ. อนัตตามีประโยชน์แล้ว ใช่ไหม และอนิจจัง มีประโยชน์ไหม ความ ไม่เที่ยงมีประโยชน์ไหม ถ้าเป็นของจริงแล้วมีประโยชน์ทั้งนั้น เพราะทำให้เรารู้ว่า สภาพธรรมแท้ๆ เป็นอย่างนี้
ถ. สมมติว่า เราจัดโปรแกรมไว้ เหมือนกับว่าเรากะไว้ให้เป็นอย่างนั้น
สุ. นี่เป็นปัญหาที่มีคนถามมากว่า ดีไหม หรือว่าเราจำเป็นต้องทำอย่างนั้นไหม ถ้าไม่ทำจะได้หรือ ใช่ไหม ในการกะรายการต่างๆ ที่จะทำ เป็นชีวิตธรรมดาประจำวัน คือ ความคิดนึก แต่ถ้าเราพิจารณาจริงๆ เรากะแล้วจะเป็นอย่างที่เรากะหรือเปล่า ถ้าเป็นไปตามที่กะ เราก็เชื่อมั่นว่าเป็นตามที่เรากะใช่ไหม แต่เมื่อไม่เป็น เราก็จะคิดว่า นั่นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย
ถ. การที่กะอะไรๆ ไว้ก่อน ทางธรรมเรียกว่าอะไร
สุ. คิดนึก
ถ. ความคิดนึกทั้งหมดเลย
สุ. เหมือนที่คุณศุกลถามว่า พรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร เราจะคิดถึงพระพุทธคุณหรือว่าจะอย่างไรเวลาที่ไปนมัสการสถานที่ประสูติ ก็บอกได้แต่เพียงว่า ขณะนี้กำลังคิดเป็นปัจจุบัน แต่เมื่อถึงที่นั่นจริงๆ ใครจะคิดอะไร ยับยั้งไม่ได้เลย
ถ. เหมือนกับเราจัดโปรแกรมไว้ แต่จะเป็นไปหรือไม่เป็นไป ก็ตามแต่เหตุการณ์
สุ. เพราะฉะนั้น ง่ายที่สุด คือ ไม่ว่าจะคิดอะไร สติระลึกลักษณะของสภาพธรรมในขณะที่กำลังปรากฏอย่างนั้น ไม่ต้องตระเตรียมอะไรเลยว่า จะระลึก ทางตา หรือทางหู หรือว่าจะคิดถึงอะไร เพราะว่าสภาพของสติ คือ ระลึกลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ จึงจะรู้ความจริงว่า เกินกว่าที่จะคิดหวังว่าจะคิดอะไร
และทุกคน เป็นความจริงใช่ไหม เวลาที่นมัสการแต่ละแห่ง ไม่ใช่ว่าเราจะระลึกถึงพระพุทธคุณได้ตลอดไป เดี๋ยวคิดอย่างอื่นแล้ว เพราะฉะนั้น สติปัฏฐานจึงระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏเท่านั้น จะพยายามคิดล่วงหน้าว่า จะระลึกถึงพระพุทธคุณ ก็อาจจะไม่ได้ระลึกถึงก็ได้ นี่คือ อนัตตา อนิจจัง
เมื่อกี้เราพูดถึงประโยชน์ของการรู้เรื่องอนัตตา และประโยชน์ของการรู้เรื่องอนิจจัง ต่อไปประโยชน์ของการรู้ทุกข์ จะดีไหม
ผู้ฟัง ... (ได้ยินไม่ชัด)
สุ. ทุกข์นี่ไม่กลัวหรือ หรือว่าไม่กลัวทุกข์ชนิดไหน ทุกข์มีหลายอย่าง ทุกข์ที่อยากจะพบเป็นทุกข์ชนิดไหน
ผู้ฟัง ไม่มีใครอยากพบหรอก
ผู้ฟัง ไม่กลัวทุกข์ที่ยังไม่เกิด พบก็ดี
สุ. ทุกข์อะไรที่พบก็ดี
ผู้ฟัง เตรียมรับไว้ ถ้าพบ เราสู้ เราระลึกรู้ในขณะนั้น ก็ทำให้ทุกข์เบาบางลง
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ถามว่า ไม่กลัวทุกข์หรือ หมายความว่า ไม่ว่าจะเป็นทุกข์อะไรก็ตามไม่กลัวหรือ ทำนองนั้นใช่ไหม
ผู้ฟัง ฟังอาจารย์แล้วไม่ค่อยจะกลัว เบาบางไป
ผู้ฟัง ไม่ใช่ไม่กลัวเสียเลย หลอกตัวเองอยู่บ้าง มีแว๊บๆ บ้าง แต่นึกแล้วก็ว่าไม่มีอะไร นอกจากเราหลอกตัวเราเอง
ผู้ฟัง กลัวความหมายนี้ คนละอย่างกับที่ท่านอาจารย์ถาม คนละกลัวแล้ว
ผู้ฟัง จากคำถามของคุณหมออำนวยที่พระวิหารเชตวันเมื่อวานนี้ที่บอกว่า การเจริญทางธรรมมักจะสวนทางกับความเจริญทางโลก หมายความว่า บางครั้งคิดจะขยับขยายกิจการให้ใหญ่โตกว้างขวาง แต่เมื่อคิดว่า เราจะทำไปเพื่ออะไร นึกถึงเรื่องการศึกษาธรรม ทำให้ความคิดที่อยากขยายให้ใหญ่โตหมดไป ทำให้เข้าใจว่า เมื่อศึกษาธรรมแล้วทำให้ความหวังในความเจริญก้าวหน้าทางโลกนั้นน้อยไป ผมคิดว่า ในขณะนั้นอาจจะไม่ใช่ธรรม แต่ถ้าจะพูดถึงธรรม คงเป็นธรรมฝ่ายอกุศลมากกว่า เพราะถ้าเป็นกุศลแล้วต้องดี
สุ. คุณหมอคงหมายความว่า เวลาที่โลภะของคุณหมอน้อยลง ก็ไม่ไปคิดเรื่องการทำงาน
คุณหมอ ที่ผมถามนั้น เพราะผมมีเพื่อนอยู่คนหนึ่งเป็นนายธนาคาร เขาสนใจธรรมมาก คุยแต่เรื่องธรรมทั้งนั้น ในที่สุดเขาไม่รู้จะไปคุยกับใคร ไปคุยกับคนนี้คนโน้น ก็ไม่มีใครอยากจะคุยด้วย ในที่สุดเขาก็มาคุยกับผม คุยแล้วเข้ากันดี รู้สึกว่าสังคมของเขาแคบเข้า นี่เป็นจุดที่ผมถาม เขาก็คุยกับผมเรื่องความมีตัวตน ไม่มีตัวตน คุยไปคุยมา ก็มีคนบอกว่า ที่เราคุยกันอย่างนี้ใครๆ เขานึกว่าเราบ้า นี่ผมใช้ศัพท์อย่างที่เขาคุยกับผม เขาก็ว่า ถ้าจะจริงนะ คนอื่นเขาไม่คุยกันอย่างนี้ สังคมของเราพูดอย่างหนึ่ง ของคนอื่นเขาพูดอีกอย่างหนึ่ง ปัญหาอย่างนี้ผมจึงมาเรียนถาม หมายความว่า ทางโลกกับทางธรรม บางครั้งไปด้วยกันยาก บางทีเรา พวกธรรมก็ต้องคุยกันกับพวกธรรมด้วยกัน พวกทางโลกก็คุยกับพวกทางโลกด้วยกัน จึงจะเข้ากันได้เหมาะสม จุดนี้ที่ผมคิดถึงเพื่อนของผม ส่วนผมไม่มีอะไร
ผู้ฟัง คุยกันในหมู่นี้ ก็ไม่เป็นไร
สุ. แต่ดิฉันคิดว่า เราจะไม่คุยเรื่องนี้กับคนที่เขาไม่สนใจ ไม่ใช่ว่าไปงานสนุกสนาน เราจะคุยเรื่องที่เรากำลังคุยกันอย่างเดี๋ยวนี้ ต้องดูว่าใครสนใจหรือไม่สนใจ
ผู้ฟัง ถ้าเขาสนใจ
สุ. ก็ต้องเลือกโอกาสที่จะคุยด้วย
ผู้ฟัง เพื่อนทางโลกก็เอาไว้พวกหนึ่ง เพื่อนทางธรรมก็เอาไว้อีกพวกหนึ่ง
สุ. ถูก ถ้าเราทำตัวอย่างนั้นได้ เราก็เป็นผู้มีธรรมในขณะที่เราอยู่ในโลก หมายความว่าเรารู้กาลเทศะและบุคคล
ผู้ฟัง เราทำได้ ไม่แปลก ไม่เป็นไร
คุณหมอ เพื่อนผมเขามีสภาพอย่างนี้ สำหรับผมนั้นยังไปเฮฮาได้
สุ. แต่ดิฉันคิดว่า ทุกคนเป็นตัวเอง ยามที่เราต้องการธรรม เราก็มาอย่างนี้ ยามที่เราต้องการเพื่อนสนุกสนาน ก็ไปอีกอย่างหนึ่งได้
ผู้ฟัง ลินก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน เพื่อนลินมาก แต่ลินก็ไม่ทิ้งอาจารย์ ถึงเวลาธรรม เราก็ไปธรรม เราก็ไปเรียน เวลาไปกับเพื่อนก็ไป
คุณหมอ อาชีพของเขาตื่นเช้ามามีแต่จะไปทวงเงิน แต่อาชีพหมอเป็นกุศล ของเขาเป็นอกุศล เขาเอามาเทียบกัน เขาว่าอาชีพของผมยังดี ใจเป็นกุศล
สุ. แต่ใครก็หนีอกุศลไม่พ้น นอกจากจะพ้นด้วยความเป็นพระอริยบุคคล ก็พ้นอกุศลไปเป็นขั้นๆ แต่ถ้ายังไม่ใช่พระอริยบุคคลก็ยังไม่พ้น ทุกคนมีอิสระ ในเรื่องของความเชื่อ ความคิด
ผู้ฟัง เมื่อก่อนเคยไปด้วยกันกับครอบครัว สนุกสนานด้วยกัน แต่เมื่อเราเรียนธรรมแล้ว แทนที่จะสนุกสนาน เขาหัวเราะ เราก็เฉย เขาเศร้าโศก เราก็เฉย เขาบอกว่า เราเปลี่ยนไป เราก็บอกว่า เราไม่ได้เปลี่ยน ก็ไปร่วมด้วยทุกครั้ง จะไปทานอาหาร จะไปฟังเพลง จะไปดูภาพยนตร์ แต่เขาก็บอกว่า เราเปลี่ยน
สุ. แต่ก็เปลี่ยนดีขึ้น ใช่ไหม
ผู้ฟัง ผมก็เจริญสติ ความรู้สึกของผม ผมก็ว่าผมดีขึ้น แต่เขาว่าผมเปลี่ยนไป ชอบกลๆ อยู่
ผู้ฟัง ลินก็เป็นตัวของลินอยู่ ไม่เห็นมีใครว่าลินเปลี่ยนเลย
ผู้ฟัง คือ เราเคยดูรายการสนุกๆ เราก็ไม่ดู เขาก็เลยว่าเรา เดี๋ยวนี้ทีวีก็ไม่ดู เขากังวลกันมาก
สุ. แต่ดิฉันว่าดี เป็นคำชมทางอ้อม ฟังธรรม และมุ่งที่จะรู้จักตัวเอง อบรมเจริญปัญญาเพื่อจะละกิเลส เป็นผู้ตรงยิ่งขึ้นต่อตัวเองและต่อคนอื่น มิฉะนั้น บางคนมักจะหลอกตัวเอง อะไรๆ ก็แก้ตัวให้ตัวเอง
ผู้ฟัง พยายามทำให้เห็นว่าตัวเองถูกให้ได้
ผู้ฟัง เราต้องรู้ตัวว่า เราผิด
สุ. แต่ดิฉันคิดว่า ในขณะนั้นหิริเกิดขึ้น ความละอายต่อการที่จะคิดว่า เราต้องถูก ใช่ไหม
กระทบสัมผัสทุกสิ่งทุกอย่าง แต่เวลาที่สติเกิด สิ่งที่กำลังปรากฏจะเป็นเพียงสภาพปรมัตถธรรม คือ ถ้าเป็นแข็ง เราจะต้องศึกษาจนรู้ลักษณะของแข็งซึ่งต่างกับสภาพที่กำลังรู้แข็ง เพื่อที่จะเอาความเป็นเราออกจากทั้ง ๒ อย่าง ถ้าเรารู้เพียงแข็ง ยังมีตัวเราที่กำลังรู้ว่าแข็ง ใช่ไหม ก็ยังเป็นตัวตนอยู่ และตัวตนที่รู้แข็งนี้ออกยากมาก เพราะว่าลักษณะของสภาพรู้ ธาตุรู้ เป็นเพียงอาการรู้ ซึ่งไม่มีรูปใดๆ มาเจือปนทั้งสิ้น แต่ติดกับรูป ใช่ไหม คือ เมื่อแข็งปรากฏ มีสภาพรู้แข็งติดกับแข็ง ไม่ติดกับอย่างอื่นในขณะนั้น
ในขณะที่เสียงปรากฏ มีสภาพที่รู้เสียง จะว่าติดกับเสียงก็ได้ เพราะว่าในขณะนั้น ธาตุรู้ อาการรู้ กำลังรู้เสียง ไม่มีอย่างอื่นมาคั่นกลางระหว่างธาตุรู้เสียง กับเสียง เพียงแต่ว่าลักษณะต่างกัน คือ เสียงปรากฏ แต่ลักษณะรู้ ไม่มีอะไรที่จะเป็นรูปร่างให้ปรากฏ เพราะเป็นแต่เพียงอาการรู้เสียง
เหมือนกับกำลังเห็น เกิดมาก็มีเห็น มีอาการรู้ มีสภาพรู้ กำลังเห็นสิ่งที่ปรากฏ ก็แยกไม่ออกอีก เพราะสิ่งที่ปรากฏเราบอกได้ว่าเป็นอะไรเพราะมีสัณฐานปรากฏ แต่สภาพรู้ ที่กำลังรู้สัณฐานด้วย รู้ส่วนละเอียดด้วย รู้ทุกสิ่งทุกอย่างด้วย ยากที่จะปรากฏให้รู้ว่าเป็นเพียงธาตุรู้ อาการรู้ ซึ่งเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ
รู้เสียง ก็ไม่ใช่ขณะที่รู้แข็ง เพราะฉะนั้น ต้องอาศัยสติจริงๆ ที่จะค่อยๆ ระลึกไป ซึ่งในขณะที่กำลังระลึก ศึกษา สังเกตลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏจะไม่มี ผีแทรกเข้ามาเลย
ผู้ฟัง ใช่ แต่สติไม่ได้เกิดติดต่อกัน ถ้าเกิดติดต่อกันก็ไม่มีผีเข้ามาแทรก
สุ. นั่นก็เป็นลักษณะของจริง ที่สติจะต้องระลึกจนทั่ว แม้แต่ในขณะนั้น ถ้าสติระลึก ผีก็เข้ามาไม่ได้อีกเหมือนกัน
นี่คือเห็น กำลังสว่างๆ อย่างนี้ สมมติว่า ผีเดินเข้ามา ก็เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา ถ้ารู้อย่างนี้จริงๆ เราอาจจะไม่กลัว ไม่ตกใจ อาจจะคุย อาจจะถามก็ได้
ผู้ฟัง ขอให้สว่าง ไม่กลัว อยู่คนเดียวได้
สุ. อยู่คนเดียวได้ถ้าสว่าง แต่เรายังไม่ได้เจริญสติที่จะรู้ว่า ขณะนั้นเป็นเพียงความคิด เพราะฉะนั้น ถ้าสติเจริญ ผีจะไม่มีทางแทรกเข้ามาเลย เราอาจจะ ฝันร้าย เราอาจจะตกใจ เราอาจจะกลัว แต่แม้ในขณะนั้นถ้าสติจะเกิด ก็ยังเกิดได้ ถ้าสติไม่เกิด ตื่น โดยมากคนฝันร้ายก็จะตื่น หลังจากที่ตื่นแล้วสติก็ยังเกิดได้ เพราะฉะนั้น ผีจะไม่มีทางเข้ามา ถ้าเจริญสติปัฏฐาน
ถ. ถ้าเขามาให้เห็น
สุ. ก็เป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๒๓๑ – ๑๒๔๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1201
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1202
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1203
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1204
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1205
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1206
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1207
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1208
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1209
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1210
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1211
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1212
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1213
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1214
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1215
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1216
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1217
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1218
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1219
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1220
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1221
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1222
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1223
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1224
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1225
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1226
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1227
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1228
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1229
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1230
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1231
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1232
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1233
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1234
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1235
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1236
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1237
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1238
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1239
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1240
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1241
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1242
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1243
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1244
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1245
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1246
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1247
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1248
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1249
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1250
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1251
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1252
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1253
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1254
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1255
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1256
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1257
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1258
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1259
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1260