แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1206
ครั้งที่ ๑๒๐๖
สาระสำคัญ
สนทนาธรรมที่สถานีวิทยุ ว.ป.ถ. ๒ จ. เชียงใหม่
พิจารณาเหตุผลและประพฤติปฏิบัติตาม
พระธรรมเป็นเรื่องสภาพธรรมที่มีจริง
สภาพของจิตที่สงบต้องเป็นกุศล
สภาพจิตที่สงบต่างกับจิตที่ไม่สงบ ถ้าไม่รู้ก่อน จะเจริญความสงบไม่ได้
สนทนาธรรมที่สถานีวิทยุ ว.ป.ถ. ๒ จ. เชียงใหม่
วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๖
พ.อ.ธงชัย สรุป คือ การเจริญวิปัสสนาไม่มีวิธีการ แต่การฟังบ่อยๆ และการศึกษาปริยัติจนเกิดความเข้าใจ สติจะเกิดขึ้นเอง เนื่องจากสติจะต้องมีเหตุมีปัจจัย จึงต้องสร้างเหตุสร้างปัจจัย คือ การฟังมากๆ ซึ่งวันหนึ่งท่านจะมีสติเกิดขึ้น และเมื่อสติเกิดขึ้นแล้ว ยังต้องใช้เวลาอีกเพื่อให้เกิดปัญญา
สุ. ท่านผู้ฟังอยากจะเป็นพระโสดาบันชาตินี้ไหม อยากหรือไม่อยาก ถ้าอยาก ก็ไม่ได้เป็น ต้องแล้วแต่เหตุปัจจัย อบรมไป เจริญไป จนกว่าจะถึง แต่ต้องเป็นความเข้าใจถูก การปฏิบัติถูก เป็นสัมมาสติที่ระลึกถูก ส่วนการที่จะเป็น พระโสดาบัน ขอให้ยืดออกไปจนกว่าปัญญาจะค่อยๆ รู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมเพิ่มขึ้นๆ และไม่ต้องคอยหรือหวังว่า วันไหนจะเป็น เมื่อเหตุสมบูรณ์วันไหน วันนั้นก็ต้องเป็น ไม่มีใครบังคับได้ จะเป็นชาติไหน กัปไหน ไม่ต้องห่วง ถ้าเป็นหนทางที่ถูก
เพราะฉะนั้น ข้อที่ควรคิดที่สุด คือ อย่าปฏิบัติผิด อย่าเข้าใจผิด และอย่า ยึดมั่นในหนทางที่ผิด เพราะถ้าผิดชาตินี้แล้ว ไม่ใช่ผิดชาตินี้ชาติเดียว ชาติหน้าก็จะ มีความโน้มเอียงที่ต้องการเร็วอีก ต้องการผิดอีก
ถ. ... (ได้ยินไม่ชัด)
สุ. ขอประทานโทษ ขณะนี้ท่านผู้ฟังไม่รู้เพราะกำลังอยู่ในโลกนี้ จึงไม่สามารถรู้โลกหน้าได้ เหมือนกับชาติก่อน ท่านผู้ฟังก็ไม่รู้ว่าชาติหน้าท่านผู้ฟังจะเป็นใคร ไม่มีทางรู้ได้เลยว่าจะเกิดเป็นใคร ที่ไหน อย่างไร แต่ท่านผู้ฟังจะรู้จักโลกหน้าทันทีที่ท่านตาย
ถ. ... (ได้ยินไม่ชัด)
สุ. ก็นี่ยังไม่ตาย เพราะฉะนั้น ตราบใดที่ยังอยู่โลกนี้ ก็รู้จักโลกนี้ แต่ทันทีที่ตาย ท่านผู้ฟังจะรู้จักโลกหน้า
ถ. ... (ได้ยินไม่ชัด)
สุ. เดี๋ยวนี้อยู่โลกนี้ จะรู้จักโลกหน้าได้อย่างไร อยู่โลกไหนก็รู้จักโลกนั้น
ผู้ฟัง ในชาตินี้ ขณะที่เราพยายามฝึกเจริญสติอยู่เสมอ จิตที่ดับไปจะเป็นเหตุทำให้จิตดวงใหม่อยู่ในหนทางที่ถูกต้องยิ่งขึ้น แต่บางทีก็สะดุดและออกไปนอกทางได้
ถ. ที่ได้มาสนทนาธรรมกับอาจารย์ รู้สึกว่ามีความคิดคนละทิศละทาง เนื่องจากสำนักอบรมสั่งสอนมีมาก แม้แต่ในกรุงเทพ ฯ เองก็มีหลายแห่ง ทำให้ความเข้าใจในการปฏิบัติมีต่างๆ กันไป ขอถามว่า มีวิธีใดที่จะให้สำนักต่างๆ สอนให้ตรงกันกับพุทธพจน์อย่างที่อาจารย์ได้บรรยายมา อาตมารู้สึกว่า บรรยายได้ถูกต้องตามหลักสติปัฏฐานและเป็นพระพุทธวจนะ
แต่อาตมาหนักใจว่า จะทำอย่างไร แม้ลำพูน เชียงใหม่ แต่ละวัด แต่ละสำนัก ก็ไม่เหมือนกัน จะมีวิธีอย่างไรที่จะทำให้ศาสนาของเรานั้น เข้าถึงแก่นในทางปฏิบัติ
สุ. ผู้เดียวคงไม่พอ คงต้องอาศัยผู้ฟังทุกท่าน เป็นผู้ที่ฟังพระธรรมและพยายามพิจารณาเหตุผล และประพฤติปฏิบัติตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง จากบุคคลหนึ่งไปสู่อีกบุคคลหนึ่ง จากส่วนน้อยไปสู่ส่วนใหญ่ ทีละเล็กทีละน้อย แต่การที่หวังให้ทั้งหมดมีความเห็นอย่างเดียวกัน คงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ แต่จะเป็นไปได้เพิ่มขึ้นตามจำนวนของผู้ที่ฟังแล้วตรึกตรอง และน้อมประพฤติปฏิบัติในเหตุในผลจริงๆ
พ.อ.ธงชัย ผมเองก็อยากจะให้ความหวังว่า การเผยแพร่ธรรมตามแนวนี้ ผมจะพยายามเผยแพร่ให้ทั่วประเทศ ซึ่งขณะนี้ก็ได้ออกอากาศหลายสถานี และ ทุกแห่งได้รับการสนใจมาก จนกระทั่งผมคาดไม่ถึง มีผู้ที่สนใจมาก และบางท่านก็ไปเปิดพระไตรปิฎกตรวจสอบตามที่อาจารย์บรรยาย หลายท่านที่ท่านมีความรู้ ท่านก็ยอมรับว่า อัศจรรย์จริง คำบรรยายเหล่านี้ถูกต้องละเอียดครบถ้วนตามพระไตรปิฎก แต่ถ้าจะให้สำนักอื่นเข้าใจนั้น คงไม่ใช่ของง่าย บางท่านได้ศึกษาตามวิธีการอื่น ท่านก็แน่ใจว่าวิธีการของท่านถูกต้อง ก็เหมือนเรา เราก็คิดว่าของเราถูกต้อง แต่อย่างไร ก็ตาม เราเป็นพุทธศาสนิกชน อย่าเชื่อง่ายๆ ผมไม่ค่อยยอมเชื่อง่ายๆ และใจกว้างคือ ศึกษาทุกอาจารย์ อย่าคิดว่าอาจารย์นี้ถูกต้องและศึกษาอาจารย์เดียวเรื่อยไป ใครมาพูดก็ไม่ฟัง ผมว่าไม่ถูกต้อง ต้องศึกษาหมด มีหนังสือของอาจารย์ไหน อ่านให้หมด และอาจารย์ใดมีเหตุผล มีหลักฐานอ้างอิง อย่างนั้นเราจึงจะเชื่อ และลองปฏิบัติดูว่าได้ผลจริงไหม สติเกิดได้จริงหรือเปล่า ถ้าไม่จริงแสดงว่า ที่อาจารย์บรรยายมานั้น ... แต่ก็ต้องให้เวลา ไม่ใช่ฟังแล้วสติเกิดได้ทันที
สุ. ข้อสำคัญที่สุด คือ พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงเป็นเรื่องของ สภาพธรรมที่มีจริงและทนต่อการพิสูจน์ อย่างเช่น เห็น มีจริง และทนต่อการพิสูจน์ คือ ถ้าใครพิสูจน์ได้ก็จะรู้ว่า สภาพที่เห็นเป็นอย่างไร ไม่ใช่ตัวตนอย่างไร สภาพได้ยิน หรือเสียง ทุกอย่างที่เป็นชีวิตประจำวัน เป็นสิ่งที่มีจริงและทนต่อการพิสูจน์ ไม่ต้องสร้างหรือทำอะไรขึ้นเพื่อจะรู้ แต่รู้ว่าสภาพธรรมที่เกิดในขณะนี้ ต้องเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยทั้งสิ้น จึงไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน
ที่ห้องประชุมตึกสภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย
วันอาทิตย์ที่ ๒๐ มกราคม - วันอาทิตย์ที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๖
ถ. มีบางคนตำหนิว่า อาจารย์ไม่ให้คนเข้าวัด
สุ. และท่านผู้ฟังเข้าใจอย่างนั้นด้วยหรือเปล่า
ถ. ไม่ได้เข้าใจอย่างนั้น ที่เขาพูดอย่างนั้นเพราะเขาไม่เข้าใจ ผมพยายามอธิบายว่า ธรรมของอาจารย์ต้องคนมีปัญญาและศึกษามากหน่อยจึงจะเข้าใจ ถ้าเขากำลังปฏิบัติด้านสมถะอยู่ อาจารย์ไปตำหนิว่าผิด เขาก็ไม่พอใจและจะไม่ฟัง
สุ. นี่เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ในเรื่องการเกื้อกูลต่อผู้ปฏิบัติธรรม ถ้าเขาไม่พอใจที่จะทราบว่าสิ่งที่เขากำลังปฏิบัติอยู่ผิด ซึ่งถ้าเป็นผู้ที่พิจารณาเหตุผลจริงๆ พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงทั้งหมด เพื่ออุปการะเกื้อกูลให้มีความเห็นถูก ให้เป็นผู้ละเอียดรอบคอบ ให้เป็นผู้เจริญกุศลทุกขั้น แม้แต่ในเรื่องการเจริญสมถะ คือ ความสงบ ก็จะต้องเป็นการเจริญสมถภาวนาที่ถูกต้อง แต่ถ้าเป็นมิจฉาสมาธิ หรือว่าไม่ใช่กุศลจิต ไม่สงบเลย แต่เข้าใจผิดว่าสงบ ควรที่จะเกื้อกูล ควรที่จะแสดงธรรมที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงแล้ว หรือว่าไม่ควร
เพราะฉะนั้น การที่บุคคลหนึ่งบุคคลใดจะมองหรือวิจารณ์ในแง่ไหน ไม่สำคัญเท่ากับการได้มีโอกาสเกื้อกูลบุคคลนั้นด้วยเหตุผล ถ้าเขาเป็นผู้ที่รับฟัง อย่างข้อปฏิบัติที่ท่านผู้ฟังกล่าวว่า เป็นการเจริญสมถภาวนา ทำอย่างไร
ถ. เขาก็ได้รับความสงบ ถ้าทำให้จิตอยู่ในอารมณ์เดียวได้ และพิจารณาเห็นจิตในสภาวะที่ไปปรุงแต่ง จะปรากฏชัด ถ้าพิจารณาอย่างของอาจารย์ จะต้องศึกษาพระอภิธรรม และต้องมีความเข้าใจหลายอย่าง ต้องเข้าใจสภาพของรูปธรรมและนามธรรมว่าเป็นอย่างไร แต่ส่วนมากที่ทำสมถะ ไม่ค่อยได้เรียนอภิธรรม
สุ. เพราะฉะนั้น มุ่งที่จะเห็นจิต ใช่ไหม แทนที่จะระลึกรู้ลักษณะของจิต ซึ่งกำลังเกิดดับในขณะนี้ตามปกติตามความเป็นจริง
ในขณะนี้จิตกำลังเห็น จิตกำลังได้ยิน จิตกำลังคิดนึก ถ้าสติไม่ระลึกในขณะที่เห็นเพื่อที่จะได้รู้ว่า ที่ชื่อว่าจิต ที่เคยเข้าใจกันนั้น ในขณะที่กำลังเห็นนั้นจิตคืออย่างไร ซึ่งก็คือสภาพรู้ ธาตุรู้ ต่างกับสิ่งที่ปรากฏทางตาอย่างไร ถ้าไม่อบรมเจริญความรู้ความเข้าใจอย่างนี้ มุ่งจะไปหาจิต มุ่งจะไปจับจิต มุ่งจะไปให้สงบและจะได้เห็นจิต แต่ถ้าไม่มีความเข้าใจในลักษณะของจิตจะรู้ได้อย่างไรว่า จิตเป็นอย่างไร จะเห็นจิตได้อย่างไร โดยวิธีไหนไม่ทราบ
ถ. โดยวิธีที่ทำให้จิตใจให้สงบ คล้ายๆ กับฌาน
สุ. เริ่มตั้งแต่ทำจิตใจให้สงบ ทำอย่างไรจิตใจจะสงบ ปัญหาจะมาเรื่อยๆ ต้องเป็นผู้ที่ละเอียดจริงๆ ไม่ใช่ใครว่าสงบ ก็สงบด้วย แต่จะต้องเป็นผู้ที่พิจารณาว่า การที่จะให้จิตสงบนั้น ทำอย่างไร
ถ. ต้องทำให้จิตอยู่ในอารมณ์เดียว
สุ. ถ้าทำให้จิตอยู่ในอารมณ์เดียวด้วยความพอใจ ด้วยความต้องการ อย่างนั้นสงบหรือเปล่า
ถ. อย่างนั้นยังไม่สงบ
สุ. มีความต้องการให้จิตอยู่ที่เดียว มีอารมณ์เดียว จะกล่าวว่า สงบได้อย่างไร
ถ. ในขณะที่จิตอยู่ที่อารมณ์เดียว ก็สงบนะ แต่สงบด้านที่ยังไม่เกิดปัญญา
สุ. มิได้ การที่จิตจดจ่ออยู่ที่หนึ่งที่ใดนานๆ จะชื่อว่าสงบได้อย่างไร ในเมื่อเป็นความต้องการที่จะให้จิตจดจ่ออยู่ที่อารมณ์เดียว เป็นความต้องการ
เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจความหมายของสงบหรือลักษณะที่สงบก่อนว่า สภาพของจิตที่สงบ ต้องเป็นกุศลประเภทหนึ่งประเภทใด ถ้าขณะนั้นไม่ใช่กุศลจิตไม่ชื่อว่า สงบ อาจจะเข้าใจว่า ในขณะที่จิตจดจ่ออยู่ที่อารมณ์เดียวนั้นสงบ เพราะว่าไม่เห็น ไม่ได้คิดถึงเรื่องอื่น แต่จะรู้ได้อย่างไรว่า ขณะนั้นไม่ใช่กุศลจิต
ถ. อย่างนี้ก็พูดยาก ต้องคนปฏิบัติแล้วจึงรู้เอง
สุ. ผู้ปฏิบัติรู้เอง ผู้ปฏิบัติผิดมีไหม
ถ. มี
สุ. มี และจะรู้ได้อย่างไร เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะรู้เอง ควรจะได้พิจารณาข้อปฏิบัติก่อนว่า ข้อปฏิบัติอย่างไรถูก ข้อปฏิบัติอย่างไรผิด แม้แต่ลักษณะของจิตที่สงบ ถ้าสติสัมปชัญญะไม่ระลึกรู้ลักษณะของจิต จะแยกสภาพจิตที่สงบกับจิตที่ไม่สงบออกจากกันได้ไหม และในวันหนึ่งๆ ขณะไหนบ้างที่จิตสงบ ขณะไหนบ้างที่จิต ไม่สงบ ถ้าไม่รู้ก่อนจะเจริญความสงบไม่ได้
เพราะฉะนั้น วันนี้ มีขณะไหนบ้างที่จิตสงบ ถ้าสติสัมปชัญญะไม่ระลึก ลักษณะสภาพที่สงบของจิต ย่อมเจริญความสงบไม่ได้ ไม่ใช่ว่าปฏิบัติไปๆ แล้วรู้เอง แต่จะปฏิบัติอย่างไร
ถ. ก็ต้องต่างกัน คนที่ถึงความสงบแล้วยังไม่รู้ ก็เป็นมิจฉาสมาธิ
สุ. จึงควรได้พิจารณาว่า อย่างไรเป็นมิจฉาสมาธิ อย่างไรเป็นสัมมาสมาธิ ถ้าแยกจากกันไม่ได้ เจริญไปต้องเป็นมิจฉาสมาธิ และจะแยกอย่างไรจึงรู้ว่า สัมมาสมาธิต่างกับมิจฉาสมาธิ
ถ. ถ้าจิตสงบก็รู้ว่าจิตสงบ
สุ. แต่จะรู้ได้อย่างไรว่า จิตที่สงบนั้นขณะไหน
ถ. ในขณะที่เจริญใหม่ๆ ยังไม่สงบ
สุ. เจริญใหม่ๆ เจริญอย่างไร
ถ. จะระลึกถึงพระพุทธคุณ หรือจะระลึกถึงพระธรรมคุณ
สุ. ท่านผู้ฟังระลึกถึงพระพุทธคุณขณะนี้ได้ไหม
ถ. ได้
สุ. ระลึกอย่างไร
ถ. ระลึกว่า ท่านมีพระมหากรุณาคุณมาก
สุ. ขณะนี้จิตสงบไหม
ถ. ขณะนี้ยังไม่สงบ
สุ. ระลึกถึงพระพุทธคุณแล้วจิตยังไม่สงบ เมื่อไรจะสงบ
ถ. ต้องแนบแน่นกว่านี้
สุ. ลองกระทำให้แนบแน่น ที่จะระลึกให้สงบซิ
ถ. อย่างนั้นต้องฌาน ต้องสงบเป็นวสีแล้ว
สุ. ยัง ยังไม่ถึงฌาน ยังไม่ถึงวสีอะไรเลย เพียงแต่ขั้นตั้งต้นที่จะอบรมเจริญความสงบในชีวิตประจำวันจริงๆ แต่ที่จะไม่ใช่มิจฉาสมาธิต้องรู้ว่า ขณะที่เป็นกุศล จึงสงบ
ถ. ที่ผมพูดนี้ในทางปริยัติ สภาวะที่เกิดความสงบกับผม ผมยังไม่เคยเห็น แต่ขณะที่เกิด จะต้องใช้อารมณ์นานพอสมควร แล้วแต่ใครจะสามารถทำได้ แล้วแต่บุคคล แต่ถ้าจะสงบชั่วเดี๋ยวเดียวนิดหน่อยแล้วหายไป อย่างนั้นได้ แต่ไม่ได้นาน คือ สงบไม่นาน
สุ. วันนี้สงบบ้างหรือยัง
ถ. วันนี้ผมยังไม่สงบเลย
สุ. เวลาที่ฟังพระธรรม เคยฟังวิทยุรายการธรรมใช่ไหม ขณะที่เข้าใจ พระธรรม ขณะนั้นสงบไหม
ถ. สงบ แต่ยังไม่แนบแน่น เป็นเพียงจินตา
สุ. ไม่ได้กล่าวถึงแนบแน่น จะแนบแน่นทันทีไม่ได้ แต่ปัญญาต้องรู้ก่อนว่า ขณะใดจิตสงบ ขณะใดจิตไม่สงบ ที่ท่านผู้ฟังกล่าวว่า สงบนิดเดียว เป็นความจริง เพราะว่าลักษณะของกุศลจิตเกิดสั้นมาก และสภาพของอกุศลก็เกิดสืบต่อทันทีอย่างรวดเร็วตามวิสัยของผู้ที่มีอวิชชาและมีกิเลสสะสมมามาก เพราะฉะนั้น ในวันหนึ่งๆ กุศลจิตเกิดบ้าง ข้อนี้เป็นความจริง แต่ถ้าสติสัมปชัญญะไม่เกิด ไม่ระลึกรู้สภาพความสงบในขณะที่เป็นกุศล ก็ไม่สามารถที่จะสงบยิ่งขึ้น
เพราะฉะนั้น ก่อนอื่น ต้องเป็นปกติในชีวิตประจำวัน และสติสัมปชัญญะระลึกได้ในลักษณะของจิตที่สงบก่อน ไม่ใช่ไปทำอย่างอื่นขึ้นมาด้วยความต้องการและคิดว่า ในขณะที่จิตจดจ่ออยู่ที่อารมณ์เดียวนั้น สงบ
นี่เป็นความต่างกัน เพราะการอบรมเจริญสมถภาวนา และการอบรมวิปัสสนาภาวนานั้น ต้องประกอบด้วยสติสัมปชัญญะและปัญญา ถ้าปราศจากปัญญา ความสงบจะมั่นคงยิ่งขึ้นไม่ได้เลย ถ้าไม่รู้ว่าลักษณะของจิตที่สงบคือขณะไหน ก็ไม่สามารถที่จะเจริญความสงบให้มั่นคงขึ้นได้
ถ. ข้อนี้จริง ต้องมีปัญญา และปัญญาที่จะรู้ความสงบนี้ละเอียดมาก ถ้าหากเกิดการหลงจะยึดติดในความสงบทันทีเลย
สุ. เคยปฏิบัติมามากแล้ว ใช่ไหม
ถ. ก็เคยปฏิบัติมาพอสมควร
สุ. และเวลาสงบเป็นอย่างไร
ถ. จิตของเราถ้ารวมตัวได้ เราจะขยายให้จิตเป็นนิมิตอะไรก็แล้วแต่ จะบังคับจิตได้ในเวลานั้น คือ จิตจะนิ่ง จะบังคับ จะทำอะไร จะขยายเล็กขยายใหญ่ก็ได้ ที่เขาเรียกปฏิภาคนิมิต
สุ. ขยายอะไร
ถ. ขยายนิมิต
สุ. ขณะนั้นนิมิตของท่านผู้ฟังเป็นอะไร
ถ. นิมิตก็มีต่างๆ เช่น ถ้าเราเพ่งรูปร่างกายของเรา จะทำให้รูปร่างกายของเราเล็กหรือใหญ่ก็ได้ นี่พูดถึงเพ่งที่รูปร่างกายของเรา ขอพูดแค่นี้ เรื่องกสิณผมไม่ชำนาญเท่าไหร่ ส่วนมากผมสนใจเรื่องปฏิบัติมาก
สุ. ท่านผู้ฟังสนใจเจริญสติปัฏฐานไหม
ถ. สนใจ
สุ. ถ้าเจริญสติปัฏฐานแล้ว สติจะระลึกรู้อะไร
ถ. ขณะนี้ ถ้าหากว่ามีสติไว ก็ระลึกที่กายที่เคลื่อนไหว ทางตาบ้าง ทางหูบ้าง นี่หลักของท่านอาจารย์ ผมก็ทำอย่างนี้ แต่ว่ายังไม่เห็นการขาดตอน ยังไม่สงบ คือ ไม่สงบเหมือนตอนที่เคยทำสมาธิ
สุ. สติปัฏฐาน คือ การระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ตามปกติในขณะนี้ตามความเป็นจริง และเพิ่มความรู้ในลักษณะที่เป็นนามธรรม เพื่อที่จะละการยึดถือนามธรรมว่าเป็นเรา รู้ในลักษณะของรูปธรรมเพื่อจะรู้ว่า รูปธรรมไม่ใช่เรา เท่านั้นเอง ไม่ต้องไปสงบ ที่ท่านผู้ฟังจะขยายนิมิตหรืออะไรทั้งสิ้น
ถ. นั่นพูดถึงด้านสมถะ
สุ. เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นผู้ที่สนใจในการเจริญสติปัฏฐาน ก็ไม่สนใจจะไปขยายนิมิต ใช่ไหม
ถ. ใช่ แต่ที่ผมพูด ผมพูดถึงตอนที่ผมเริ่มปฏิบัติใหม่ๆ ว่า สิ่งที่เคยปรากฏเป็นอย่างนี้ ตอนที่ผมเริ่มฟังใหม่ๆ
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๑๒๐๑ – ๑๒๑๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1201
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1202
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1203
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1204
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1205
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1206
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1207
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1208
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1209
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1210
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1211
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1212
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1213
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1214
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1215
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1216
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1217
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1218
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1219
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1220
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1221
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1222
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1223
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1224
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1225
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1226
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1227
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1228
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1229
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1230
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1231
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1232
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1233
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1234
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1235
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1236
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1237
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1238
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1239
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1240
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1241
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1242
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1243
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1244
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1245
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1246
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1247
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1248
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1249
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1250
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1251
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1252
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1253
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1254
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1255
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1256
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1257
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1258
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1259
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1260