แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1291
ครั้งที่ ๑๒๙๑
สาระสำคัญ
กรรมที่ได้กระทำแล้วทำให้ปฏิสนธิจิตเกิดต่อจากจุติจิต
ที่ห้องประชุมตึกสภาการศึกษา มหามกุฏราชวิทยาลัย
วันอาทิตย์ที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๗
ถ. ขณะนี้เรากำลังพูดถึงจุติจิต ซึ่งทุกคนกลัวความตายกันทุกคน อยากจะไปเกิดใหม่ให้ดีกว่าเดิม หรืออย่างน้อยก็ไม่ตกต่ำ ตามความรู้เดิมที่ผมทราบมา สติปัฏฐานช่วยได้ คือ ให้มีความรู้สึก มีสติอยู่ตลอดเวลา แต่ก่อนที่จุติจิตจะเกิด หรือก่อนที่จะถึงกาละ เวทนาจะเกิดขึ้น ตามเรียนมา
ผมเคยไปคุยกับพระว่าท่านบวชเพื่ออะไร บางรูปก็บอกว่า ทำงานเพื่อความตาย ก่อนจะตายก็พิจารณากายานุปัสสนาสติปัฏฐานอยู่ตลอดเวลา และก่อนที่ท่านจะมรณะ ผมอยู่ใกล้ชิดด้วย เห็นเวทนาที่ท่านมี คือ อาการครางฮือๆ จิตมันส่าย มันกระเพื่อม ผมเชื่ออย่างนั้นแน่ บางครั้งท่านก็เป็นภวังคจิต บางครั้งสติก็คืนมา ผมเรียนถามท่านว่า หลวงพ่อ การปฏิบัติการงานของจิตหลวงพ่อทำมา ๔๐ – ๕๐ ปีแล้ว น่าจะทำให้จิตหลวงพ่อนิ่งได้ ท่านบอกว่า นิ่งได้เหมือนกัน แต่ต้องมีเวลาตั้งตัว เช่น เอาจิตไปแขวนไว้ที่นั่นที่นี่ เวทนากก็จะไม่เกิด แต่ถ้าเวทนาโหมรุนแรงจะไม่ให้โอกาสเราเลย ท่านว่าอย่างนั้น
ผมขอเรียนท่านอาจารย์ว่า จะมีเล่ห์หรืออุบายทางใดไหมที่จะทำให้เรา ลดเวทนาก่อนที่จะถึงจุติจิต
สุ. ท่านผู้ฟังเป็นห่วงว่า เมื่อใกล้จุติเวทนาจะมีกำลัง แต่สภาพธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตาจริงๆ สิ่งที่ห่วงแสนที่จะห่วง อาจจะไม่เกิดขึ้นเป็นไปอย่างนั้นก็ได้ ถึงเวลาจริงๆ บางท่านอาจจะเหมือนกับหลับและก็ตื่น ความตายเร็วยิ่งกว่า กระพริบตา เพราะเป็นจิตขณะเดียวเท่านั้น แต่การที่จะกระพริบตา จิตต้องเกิดซ้ำกันหลายขณะ รูปจึงจะทำการไหวเป็นการกระพริบตาได้ เพราะฉะนั้น จุติจิตจริงๆ ไม่น่ากลัวเลย
ถ. ผมไม่ได้กลัวจุติจิต แป๊บเดียวผมทราบ แต่เกรงว่าชนกกรรมหรือ อาสันนกรรมที่จะให้ไปสู่ที่ดีที่เป็นกุศลนั้น จิตจะต้องมีสมาธิเพียงพอ ใช่ไหม
สุ. เจริญกุศลเพื่อให้กุศลหนึ่งเป็นปัจจัย แต่ว่ากุศลนั้นจะเป็นปัจจัยหรือไม่ไม่สามารถบังคับบัญชาได้ ตราบใดที่ยังไม่ใช่พระโสดาบันบุคคล ถ้ามีหนทางอย่างที่ว่า พระผู้มีพระภาคต้องทรงพระมหากรุณาช่วยทุกคนว่า ก่อนที่จะจุติให้ทำอย่างนี้ เพื่อที่จะไม่ต้องไปสู่อบายภูมิ
ถ. การที่เราถือสืบต่อกันมาว่า ให้นึกถึงพระอรหันต์ หรืออะไรบ้างก่อนตาย ไม่ใช่วิธีที่ถูกหรือ
สุ. เป็นแต่เพียงหนทางที่อาจจะทำให้ผู้ที่ใกล้จะตายมีกรรมนิมิตอารมณ์เกิดขึ้น เพราะเสียงนั้นเตือนให้ระลึกถึงพระอรหันต์ เตือนให้ระลึกถึงสิ่งที่จะทำให้ กุศลจิตเกิด
ถ. คือ สตินั่นเอง
สุ. แล้วแต่ว่าสติของบุคคลนั้นจะเกิดหรือไม่เกิด ซึ่งย่อมแล้วแต่กรรม
ถ. ถ้าสติเกิดเพราะคำว่าอรหันต์ ก็เป็นผลดี ฉะนั้น จรรยาแพทย์ ควรที่จะเปลี่ยนหรือยัง เพราะทุกคนห่วงคนป่วยว่าจะตาย ก็ให้แพทย์เยียวยาทุกครั้งที่มีอาการหนักขึ้นมา แพทย์ก็เอาเข็มฉีดยาทิ่มแทงตามเส้นโลหิตต่างๆ ผู้ป่วยก็พยายามสงบสติอารมณ์เพราะเรียนพุทธศาสนามาบ้าง แต่ทุกครั้งที่เข็มแทงก็มีการกระเพื่อมของกาย ซึ่งนั้นหมายถึงว่าจิตต้องกระเพื่อมด้วย คำว่า พุทโธก็ดี ธัมโม สังโฆก็ดี ก็ไม่น่าจะเกิดผล แบบนี้แพทย์ควรจะเปลี่ยนวิธีการไหม
สุ. เป็นเรื่องของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น และเมื่อถึงเวลานั้นจริงๆ ความสับสน ความวุ่นวาย ทุกสิ่งทุกอย่างอาจจะเกิดขึ้นเป็นไปอย่างนั้น หรือไม่เป็นอย่างนั้นก็ได้ ตามกรรมจริงๆ แต่ข้อสำคัญ คือ มรณาสันนวิถีซึ่งเป็นชวนจิตสุดท้ายก่อนจุติจิตจะเกิด เร็วมาก ไม่มีใครสามารถที่จะรู้ได้ว่า ในขณะนั้นจะเป็นกุศลจิตหรืออกุศลจิต แม้แต่ผู้หนึ่งผู้ใดจะกล่าวคำว่าอรหันต์ หรือจะมีพระพุทธรูปตั้งอยู่ หรือจะมีกลิ่นธูป กลิ่นดอกไม้หอมๆ เพื่อที่จะให้กุศลจิตเกิด แต่ต้องย่อมแล้วแต่กรรมที่จะเป็น ชนกกรรมของบุคคลนั้นว่าจะเป็นกรรมใด
ถ้าเป็นอกุศลกรรม จะมีอารมณ์ที่ทำให้จิตเศร้าหมองเกิดขึ้น จิตเศร้าหมองใน ทีนี้หมายความว่า อกุศลจิตเกิดขึ้น แล้วแต่ว่าจะเป็นโลภมูลจิต หรือโทสมูลจิต หรือโมหมูลจิตก็ตาม ทำให้ปฏิสนธิในอบายภูมิ
แต่ถ้ากุศลกรรมเป็นชนกกรรม แม้ว่ากำลังถูกเข็มแทงเจ็บปวด แต่กรรมนั้นก็ยังทำให้จิตที่เป็นชวนจิตสุดท้ายก่อนจุติจิตผ่องใสเป็นกุศล
เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะตายจริงๆ ไม่อยู่ในอำนาจของใครทั้งสิ้นนอกจากอำนาจของชนกกรรม ซึ่งเป็นกรรมเดียวเท่านั้นที่ทำให้อารมณ์หนึ่งอารมณ์ใด เกิดปรากฏ และจิตที่กำลังมีอารมณ์นั้นจะเป็นกุศลจิตหรืออกุศลจิต ก็เพราะเป็นผลของชนกกรรม
ไม่ใช่จะเตรียมตัวไว้ พยายามให้จิตเป็นกุศลหมดเมื่อใกล้จะตาย เป็นไปไม่ได้ เพราะนิมิตต่างๆ หรืออารมณ์ ที่ใช้คำว่า กรรมอารมณ์ กรรมนิมิตอารมณ์ หรือ คตินิมิตอารมณ์ หมายความถึงอารมณ์ที่ปรากฏ จะเป็นทางตา หรือทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ทางหนึ่งทางใดก็ได้แล้วแต่ประเภทของอารมณ์นั้น เช่น ถ้าเป็นกรรมอารมณ์ ใครจะพูดว่าอรหังๆ หรือใครจะเอาเข็มแทง แต่จิตของบุคคลนั้นมีกรรมที่ได้เคยกระทำแล้วซึ่งเป็นชนกกรรมที่จะทำให้ปฏิสนธิจิตเกิดต่อจากจุติจิต ชนกกรรมนั้นเองจะทำให้จิตของบุคคลนั้นนึกถึงกรรมที่เป็นกุศลที่ได้กระทำแล้ว แม้ว่ากำลังถูกเข็มแทง หรือกำลังได้ยินคำว่าอรหังก็ตาม ถ้าเป็นกุศลกรรมก็จะทำให้บุคคลนั้นระลึกถึงกรรมที่ได้กระทำแล้วที่เป็นกุศล และกุศลจิตก็เกิด
นี่เป็นประเภทหนึ่งของอารมณ์ที่แสดงว่า จะเป็นอารมณ์ของปฏิสนธิจิตต่อจากจุติจิต
ตามปกติก่อนที่จุติจิตจะเกิด มีสีขณะนี้เป็นอารมณ์ได้ มีเสียงทางหูเป็น อารมณ์ได้ มีกลิ่นเป็นอารมณ์ได้ มีรสเป็นอารมณ์ได้ มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์ได้ กำลังคิดนึกรู้เรื่องต่างๆ ทางใจได้ แต่ไม่ใช่คำว่า กรรมอารมณ์ หรือกรรมนิมิตอารมณ์ หรือคตินิมิตอารมณ์ เพราะเหตุใด เพราะ ๓ อารมณ์นี้ เป็นอารมณ์ของจิตใกล้จะจุติ และจะเป็นอารมณ์ของปฏิสนธิจิตสืบต่อจากจุติจิตเท่านั้นเอง แต่ก็คือสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาอย่างนี้
ถ้าจุติจิตจะเกิดต่อจากจักขุทวารวิถี ก็คือกำลังเห็นเดี๋ยวนี้สบายๆ และจุติจิต ก็เกิดทำกิจเคลื่อนจากความเป็นบุคคลนี้ เพราะฉะนั้น สิ่งที่ปรากฏทางตาในขณะนี้เป็นกรรมนิมิตอารมณ์ หรืออาจจะเป็นเสียงทางหูที่กำลังได้ยินเรื่องของธรรมก็ได้ และจุติจิตก็เกิด เพราะฉะนั้น ขณะนั้นบุคคลนั้นกำลังมีเสียงเป็นอารมณ์ เป็นกรรมนิมิตอารมณ์ที่จะทำให้ปฏิสนธิจิตมีเสียงนี้เป็นอารมณ์ และทำให้ปฏิสนธิในสุคติภูมิ ถ้ากุศลจิตเกิด
เพราะฉะนั้น กรรมนิมิตอารมณ์ ก็คือชีวิตประจำวันธรรมดาๆ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนั่นเอง หรือสำหรับผู้ที่ได้ฌาน ก็มีกสิณนิมิตเป็นอารมณ์ ซึ่ง ก็คือกรรมนิมิตนั่นเอง เพราะว่าเป็นนิมิตที่จะทำให้เขาเกิดในพรหมภูมิชั้นต่างๆ
ถ. ผมอยากจะเล่าประสบการณ์ที่ผมเคยป่วยหนักมาครั้งหนึ่ง ยังจำได้มาถึงทุกวันนี้ เป็นมาประมาณ ๓๐ กว่าปีมาแล้ว คือ ผมป่วยจนขยับเขยื้อนไม่ได้ รู้สึกเจ็บปวดและมีความร้อนในนั้น เวลามีความรู้สึกอีกที ความรู้สึกเจ็บปวดหมด เหลือแต่ความเย็น คล้ายๆ มีเหงื่อแตกออกมา ผมได้สติว่า คนโบราณเล่าว่า คนจะตายต้องธาตุไฟแตก ผมสังเกตดู ตอนนั้นไม่หลงลืมสติ ความเย็นนั้นหายไป ไม่รู้สึกเลย ต่อมาตามองอะไรไม่เห็น ผมคิดว่า น่ากลัวจะใกล้แล้ว ต่อมาหูก็ไม่ได้ยินอะไรเลย แต่สติผมยังดีอยู่ สุดท้ายรู้สึกลมหายใจเข้าออกๆ และหมดสติ คือ ไม่รู้สึกอะไรเลย รู้สึกว่าจะเป็นอย่างนี้
วันนั้นประมาณสักสามโมงเย็น คนที่บ้านก็ไม่อยู่ ผมไม่รู้สึกตัว ตื่นขึ้นอีกทีประมาณสองยาม เห็นผู้คนมากันเต็มบ้าน มีพระมา ความรู้สึกเป็นอย่างนี้ ผมจำได้มาจนกระทั่งเดี๋ยวนี้
เพราะฉะนั้น ที่เข้าใจว่าคนเราเวลาเจ็บไข้ได้ป่วยแล้วจะขาดสติ จะมีอาการอย่างนี้ คือ ความเย็น ความร้อน ความเคลื่อนไหวอะไรจะไม่รู้สึก จะหมดความรู้สึก ไม่รู้สึกเลย ประสาทจะไม่รับรู้เลย ต่อมาตามองไม่เห็น หูไม่ได้ยิน รู้สึกแต่ลมเท่านั้น แค่หายใจเข้าออก ต่อจากนั้นก็ไม่รู้สึก แต่ผมไม่ขาดสติ เพราะรู้หมด
อีกอย่างที่คุณบอกว่า อรหังๆ เวลาคนจะตายเป็นการบอกหนทาง ผมว่า อย่างอาจารย์ว่า คนเราถ้าไม่รู้เลยว่าพระอรหันต์คืออะไร บอกไปก็ป่วยการ อย่างที่เขาเล่ากันจะเป็นจริงอย่างไรไม่ทราบ คือ คนมีอาชีพขายปลาจะตาย ก่อนหน้านั้นแกหาปลาแล้วมาตากเป็นปลาเค็มขาย และขายปลาสดบ้าง ตอนหลังทำไม่ไหว ลูกก็ทำต่อ แกมีหน้าที่ขาย เมื่อแกใกล้จะตาย ลูกก็บอก อรหังๆ แกก็ว่า สามหางบาท สามหางบาท อย่างนี้ เป็นต้น เพราะจิตเคยคิดแต่จะขาย ไม่รู้ว่าพระอรหันต์เป็นอย่างไร
อีกเรื่องเจอมากับตัว แกจะตายแล้วลูกก็บอกว่า พระอรหัง พ่อ แกก็ว่า ไปให้พ้น รู้หรือเปล่าว่าพระอรหันต์เป็นอย่างไร อย่ามาทำให้หนวกหู จะทำจิต ให้สบาย ผมเคยเห็นมาแล้ว
สุ. เป็นเรื่องที่เห็นได้ว่า เวลาที่จุติจิตจะเกิดจริงๆ ไม่มีใครสามารถรู้ได้ว่าจะคิดอะไร จะนึกอย่างไร จะมีอารมณ์อะไรที่ปรากฏก่อนที่จะจุติ และเป็นไปอย่างรวดเร็วโดยที่จำไม่ได้ ชาติก่อนหมดไปแล้ว แต่อารมณ์ใกล้จะตายของชาติก่อนก็เป็นอารมณ์ของปฏิสนธิจิตในชาตินี้ และจะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ในสังสารวัฏฏ์
ข้อสำคัญ คือ กิเลส ยังห่วงใย ยังผูกพันในภพนี้ชาตินี้มากมายสักแค่ไหน ซึ่งควรที่จะเห็นได้จริงๆ ว่า แต่ละคนจะเป็นบุคคลนี้อยู่อีกไม่นานก็จะสิ้นสภาพของความเป็นบุคคลนี้แล้ว เพราะฉะนั้น ควรที่จะเจริญกุศลเพื่อละคลายความติดในการเป็นบุคคลนี้ เพราะการติดในแต่ละภพแต่ละภูมิของการเป็นแต่ละบุคคลนั้น มีมากมายหลายประการที่จะทำให้อกุศลเพิ่มพูนขึ้น บางคนก็มีมานะมากในชาตินี้ ในความเป็นคนคนนี้ ซึ่งข้อความในอรรถกถามีว่า มานะก็เหมือนกับลูกโป่งซึ่งเต็ม ไปด้วยลม ลอยไป ก็เท่านั้นเอง พองขึ้นก็เพราะลม นั่นคือลักษณะของมานะ ความสำคัญตน แต่ที่จริงแล้วไม่มีอะไร ก็ต้องหมดสิ้นไป หมดไป เพราะฉะนั้น ใครที่มีมานะเพิ่มมากขึ้น ก็คิดถึงลูกโป่งซึ่งกำลังพองขึ้นด้วยลม และก็กำลังจะลอยขึ้นๆ เท่านั้นเอง
ถ. พูดถึงเรื่องจุติกับปฏิสนธิ ผมคิดว่าหลายท่านคงได้ยินเรื่องการระลึกชาติได้ของพระภิกษุรูปหนึ่งที่กล่าวว่า ในอดีตเป็นพี่ชายของมารดาในปัจจุบัน จะเป็นพระหรือเป็นฆราวาส ก็ไม่แน่ใจ ตายไปแล้วก็มีคนมางานศพมากมาย แต่สำคัญว่าตนเองยังมีชีวิตอยู่ ไปทักทายคนอื่นเขา ก็ไม่มีใครพูดด้วย จำได้ว่าเป็นห่วงน้องสาวมาก ในขณะที่กระสับกระส่าย เป็นภวังค์ เวลาที่มีสติก็นึกถึงน้องสาว ซึ่งช่วงนั้นน้องสาวกำลังใกล้คลอดหรือคลอดแล้วผมไม่แน่ใจ แต่เมื่อท่านรู้สึกตัว ปรากฏว่าเป็นลูกของน้องสาวแล้ว และก็รู้ตัวเองด้วยขณะที่ยังแบเบาะ แต่พูดไม่ได้
ผมสงสัยว่า เด็กที่อยู่ในครรภ์ของมารดาต้องมีปฏิสนธิจิตแล้ว ส่วนผู้ที่ระลึกชาติได้ที่เกิดเป็นลูกของน้องสาวนั้น ปฏิสนธิจิตของเขาซ้อนกับปฏิสนธิจิตของเด็ก ได้หรือไม่
สุ. ซ้อนไม่ได้แน่ๆ
ถ. แต่มีประจักษ์พยานว่าเป็นความจริง ตอนนั้นเด็กคลอดแล้ว ขณะที่คนป่วยยังกระสับกระส่ายอยู่ใกล้จะตาย จะมีคติของตัวที่จะออกไปแสวงหาที่เกิดได้ไหม และที่เกิดเผอิญไปอยู่กับเด็ก ซึ่งจะค้านกับที่อาจารย์สอน แต่หลายคนก็พิสูจน์ว่า สิ่งที่ผู้ระลึกชาติได้กล่าวถึงเป็นเรื่องจริง
สุ. การระลึกชาติเป็นเรื่องที่ยากต่อการพิสูจน์ว่า ที่ระลึกนั้นถูกต้องแค่ไหน มีใครพิสูจน์ได้ แต่ข้อพิสูจน์ คือ จิตเกิดซ้อนกันไม่ได้
ถ. ... (ได้ยินไม่ชัด)
สุ. วิญญาณเก่าไปไหน หมายความว่าให้จุติไปก่อน และให้วิญญาณใหม่ปฏิสนธิต่อ แอบแฝงอยู่ คนนี้อยู่ได้นิดเดียว ไปไหนแล้ว และคนอื่นก็มาอยู่ต่อ อย่างนั้นหรือ แต่ตามความจริง ปฏิสนธิจิตเกิดพร้อมกับกัมมชรูป ซึ่งกรรมที่เป็น ชนกกรรมทำให้วิบากจิตและเจตสิกเกิดพร้อมกับกัมมชรูปของบุคคลนั้น
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๑๒๙๑ – ๑๓๐๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1261
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1262
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1263
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1264
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1265
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1266
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1267
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1268
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1269
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1270
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1271
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1272
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1273
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1274
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1275
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1276
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1277
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1278
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1279
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1280
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1281
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1282
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1283
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1284
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1285
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1286
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1287
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1288
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1289
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1290
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1291
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1292
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1293
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1294
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1295
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1296
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1297
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1298
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1299
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1300
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1301
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1302
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1303
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1304
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1305
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1306
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1307
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1308
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1309
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1310
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1311
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1312
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1313
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1314
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1315
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1316
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1317
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1318
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1319
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1320