แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1294
ครั้งที่ ๑๒๙๔
สาระสำคัญ
ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง
ผลของการบูชาผิด
เรื่องของมโนกรรม (ไม่ใช่เพียงอยู่เพียงใจ)
เรื่องของความเห็นผิด
ที่ห้องประชุมตึกสภาการศึกษา มหามกุฏราชวิทยาลัย
วันอาทิตย์ที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๗
ถ. เซ่นเจ้าก็ดี เซ่นวิญญาณคนตายก็ดี รวมอยู่ในคำว่า เซ่นสรวง ด้วยหรือเปล่า
สุ. แล้วแต่การเข้าใจความหมายของคำว่า มงคลกิริยา คือ กิริยาที่เป็นมงคล ซึ่งไม่ใช่ดูถูกดูหมิ่น อาจจะเป็นการเคารพ อ่อนน้อม ระลึกถึงคุณ
ถ้าเป็นความเข้าใจถูก มารดาบิดามีคุณ ใช้คำว่า เซ่นสรวง ก็หมายความถึง มีมงคลกิริยาอาการที่แสดงถึงความนอบน้อม ความเคารพ การระลึกถึงพระคุณ แต่ต้องเข้าใจถูก อย่าเข้าใจผิดคิดว่า ต้องเซ่น ต้องสรวง ต้องกิน ต้องใช้ หรือว่า ต้องบริโภคใช้สอยเหมือนอย่างคนที่ยังมีชีวิตอยู่
โดยมากถ้าใช้คำว่า เซ่นสรวง มักจะใช้กับผู้ที่ไม่ใช่มนุษย์ในโลกนี้ แต่เป็นผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจให้ถูกต้องด้วย ถ้าเป็นเพียงมงคลกิริยา จะด้วยอาการใดๆ ก็แล้วแต่ความเชื่อ ความคิด ความเลื่อมใส แต่ในขณะนั้น บุคคลนั้นมีมงคลกิริยาที่นอบน้อม เคารพ อ่อนน้อมต่อผู้มีคุณ และเป็นการกระทำเพื่อระลึกถึงพระคุณ ก็ไม่ผิด แต่ต้องมีความเข้าใจถูกว่า ไม่ใช่ให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วไปบริโภค ใช้สอยเหมือนกับผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่
สำหรับข้อที่ว่า การบูชาไม่มีผล ก็โดยนัยเดียวกัน การเคารพ การนับถือ ความเลื่อมใส การบูชา มี และขณะใดที่กระทำกรรมทางกาย ทางวาจา ซึ่งเป็นการบูชา ขณะนั้นต้องพิจารณาว่า เป็นกุศลจิตหรืออกุศลจิต ถ้าเลื่อมใสผิด นับถือผิด ขณะนั้นก็เป็นอกุศลจิต ไม่ใช่กุศลจิต เพราะฉะนั้น เพียงการบูชาอย่างเดียวก็ต้องพิจารณาว่า บูชาถูกหรือบูชาผิด ถ้าบูชาผิด เพราะอะไร ก็เพราะมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด ทำให้บูชาผิดๆ และผลของการบูชาผิดต้องมี คือ มีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก เพราะเป็นผลของอกุศลกรรม ไม่ใช่เป็นผลของกุศลกรรม
ถ. อภิชฌาหมายถึงจิตคิดขโมย ใช่ไหม
สุ. หมายความถึงเจตนา ที่จะเอาทรัพย์ของบุคคลอื่นมาเป็นของตน
ถ. สมมติว่า ผมเห็นเก้าอี้ตัวนี้ นึกอยากได้มาเป็นของตน ขณะนั้น …
สุ. โดยทางสุจริตหรือทุจริต ต้องการซื้อหา ต้องการขอ หรือต้องการลัก ต้องการขโมย
ถ. ยังไม่คิด เพียงแต่อยากได้
สุ. ยังไม่คิด ไม่เป็นอกุศลกรรม เป็นโลภมูลจิต ถ้าเข้าไปในร้านใหญ่ๆ เห็นของสวยๆ งามๆ แล้วอยากได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ ขณะนั้นไม่ใช่อกุศลกรรม
ถ. ผมเคยอ่านในอัฏฐสาลินีว่า แท้จริงขณะที่จิตโลภเกิดขึ้นโดยมีวัตถุอื่น ขณะนั้นกรรมบถยังไม่ขาด ตราบที่ยังไม่คิดว่า ไฉนหนอสิ่งนี้พึงเป็นของของเรา เพราะฉะนั้น ผมคิดว่าคงมีความหมายว่า ต้องการสิ่งนี้
สุ. ไฉนหนอสิ่งของนั้นพึงเป็นของเรา โดยทางทุจริต
ถ. ไม่ได้กล่าวไว้อย่างนั้น
สุ. ต้องกล่าวไว้ เพราะเป็นหัวข้อเรื่องของอกุศลกรรมบถ ต้องดูหัวข้อ แม้แต่ในเรื่องของสมาธินิทเทส เช่น ในวิสุทธิมรรค ชื่อหนังสือบอกแล้ว วิสุทธิมรรค หนทางแห่งความบริสุทธิ์ เพราะฉะนั้น แม้แต่สมาธินิทเทสก็ต้องเป็นสัมมาสมาธิ จะไม่กล่าวถึงเรื่องของมิจฉาสมาธิเลยในหมวดนั้นตอนนั้น ฉันใด ในเรื่องของอกุศลกรรมบถก็เหมือนกัน
ถ. ถ้าเป็นอย่างนั้น แสดงว่าโดยทางทุจริต นั่นคือ จิตคิดจะขโมย
สุ. คิดที่จะได้สิ่งนั้นมาเป็นของตนจะโดยวิธีใดก็ตาม แต่ในทางทุจริต
ถ. เป็นอทินนาทานที่ไม่ครบองค์ แต่เป็นอภิชฌาที่ครบองค์ไปแล้ว เพราะอทินนาทานอย่างน้อยที่สุดต้องมีจิตคิดจะขโมยแน่ๆ
สุ. เรื่องของมโนกรรม ไม่ใช่อยู่เพียงในใจ คิดไปทั้งวันทั้งคืน แต่ไม่ได้กระทำกรรมตามที่คิด ก็ไม่สำเร็จ เช่น อยากจะได้ของของคนอื่น และก็นึกไป อยากจะได้ของของเขาๆ จะทำให้ได้ของของบุคคลอื่นอย่างไร นั่งคิดไปๆ ไม่มีวันที่ของของคนอื่นจะมาเป็นของท่านได้ สำหรับผู้ที่คิดอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ต้องมีการล่วงออกไปทางกาย หรือทางวาจา
แต่สำหรับการกระทำทางกายที่ไม่เป็นมโนกรรมนั้น มี เป็นแต่เพียงกายกรรม เช่น เห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด อาจจะเป็นของที่ไม่ทราบว่าเจ้าของอยู่ที่ไหน และเห็นว่า เป็นสิ่งที่เล็กน้อย ไม่ได้คิดมาก่อนด้วยว่าต้องการของสิ่งนี้ แต่เมื่อผ่านไปเห็นเข้า เช่น ดอกไม้ในสวนหรืออะไรก็ตามแต่ ของในป่าหรืออะไรอย่างนั้น และคิดว่าต้องการ สิ่งนั้น ก็เด็ดไป ถือไป จะเป็นผลไม้หรือดอกไม้ก็ตาม ถ้ามีผลไม้ที่หล่นอยู่ใต้ต้น เมื่อมีความอยากได้ก็เก็บเอาไป ขณะนั้นก็เป็นกายกรรม ไม่เป็นมโนกรรม
เพราะฉะนั้น กายกรรม ไม่เป็นมโนกรรม วจีกรรม ไม่เป็นมโนกรรม ที่แสดงเรื่องของกรรม ๓ เพื่อที่จะแยกให้เห็นว่า กายกรรมไม่ใช่มโนกรรม วจีกรรมไม่ใช่มโนกรรม และสำหรับมโนกรรม คิดอยู่ในใจเฉยๆ ไม่ได้ล่วงไปทางกายทางวาจานั้น ก็ไม่สามารถจะสำเร็จลงไปได้
ต่างกับกายกรรมและวจีกรรมที่ว่า มโนกรรมมีความตั้งใจเกิดขึ้นทางใจก่อน จึงจัดเป็นมโนกรรม ถ้าโกรธคนหนึ่งและคิดที่จะฆ่าคนนั้น และจ้างคนอื่นไปฆ่าคนนั้น ขณะนั้นการฆ่าที่สำเร็จลงไปเป็นมโนกรรม แม้ว่าเป็นปาณาติบาตซึ่งเป็นข้อของกายกรรมก็จริง แต่กรรมนั้นสำเร็จลงเพราะมโนกรรม ไม่ใช่เพียงกายกรรม
แต่ถ้าโกรธระงับไม่อยู่เลย เกิดประทุษร้ายคนนั้น และคนนั้นตาย ขณะนั้นก็เป็นกายกรรม เพราะไม่มีความผูกพยาบาทคิดมาก่อนเลยว่า ต้องการที่จะฆ่าคนนั้น แต่เกิดบันดาลโทสะ หรือป้องกันตัว หรืออะไรก็ตามแต่ ทำให้บุคคลนั้นตายไป ขณะนั้นเป็นกายกรรม ไม่ใช่มโนกรรม
เพราะฉะนั้น องค์ของมโนกรรมก็ดี หรือองค์ของกายกรรมวจีกรรมก็ดี เป็น การแสดงให้เห็นว่า ผลที่เกิดขึ้นจากกาย จากวาจานั้นๆ เป็นกายกรรม หรือเป็นวจีกรรม หรือเป็นมโนกรรม
ถ. มีคนๆ หนึ่งเดือดร้อน มาขอความกรุณา ดิฉันก็ไปพูดกับเพื่อนให้ เพื่อนก็ให้เงินคนที่เดือดร้อนไป ต่อมาคนที่ยืมนั้นมาบอกกับดิฉันว่า เขาไม่มีเงินใช้คืน แต่ดิฉันก็ไม่ได้ไปบอกกับเพื่อนที่ให้เงินมา ดิฉันเฉยเสีย คล้ายๆ กับสงสารคนที่รับเงินไป ดิฉันจะตกในกรรมอะไร ข้อไหน
สุ. ไม่ได้ทำอะไร ก็ไม่ตก
ถ. ไปรับเงินมาให้ผู้ที่เดือดร้อน ต่อมารู้ว่าคนนั้นไม่มีเงินจะใช้คืน แต่เราไม่ได้มาบอกกับผู้ที่ให้ เราเฉยเสีย
สุ. หมายความว่า รู้อยู่แล้วว่าคนนี้ไม่มีทางจะใช้คืน
ถ. ตอนแรกไม่รู้ มารู้ตอนหลัง แต่ก็เฉย
สุ. เรื่องไม่รู้ ก็เป็นเรื่องไม่รู้
ถ. แต่ตอนนี้รู้แล้วว่าคนนี้ไม่มีเงินที่จะใช้คืน และมีการป้องกันตัวเรียบร้อยเลยว่าจะไม่ใช้คืน ซึ่งดิฉันไม่ได้เอาเรื่องนี้ไปบอกกับเพื่อนที่ดิฉันไปรับเงินมาให้ ดิฉันจะตกอยู่ในความผิดข้อไหน
สุ. เป็นกรรมของคนซึ่งตั้งใจจะไม่ใช้คืน
ถ. แต่ดิฉันไม่ได้ไปบอกกับเจ้าของเงินที่ดิฉันเอามา ดิฉันผิดไหม
สุ. ควรพิจารณาดูว่า ควรบอกหรือไม่ควรบอก เพราะบางคนกลัวจริงๆ เรื่องอะไรก็จะไม่พูดเสียเลย ทุกสิ่งทุกอย่าง โดยลืมว่าถ้าไม่พูดจะยิ่งเดือดร้อน เพราะฉะนั้น เรื่องของแต่ละบุคคล เป็นเรื่องที่แต่ละบุคคลจะวินิจฉัยจริงๆ เพราะเป็นผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์นั้น รู้จักบุคคลทั้งสองอย่างดีว่าสิ่งใดควร สิ่งใดไม่ควร คนอื่นไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์นั้น ก็ยากที่จะบอกได้
ถ. แต่ตัดสินใจแล้วว่า ไม่บอก
สุ. เพราะอะไร
ถ. เพราะสงสารคนที่มีทุกข์ ดิฉันจะมีบาปไหม
สุ. ถ้าสงสารก็ไม่ใช่บาป แต่ต้องพิจารณาด้วยว่า ควรอย่างไร ถ้าสงสารก็อย่าสงสารฝ่ายเดียว ต้องสงสารทั้งสองฝ่าย
ถ. อีกฝ่ายหนึ่งมีเงินแน่
สุ. เขาอาจจะยกหนี้ให้ก็ได้ ถ้าเขารู้ว่าฝ่ายนั้นอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถ จะใช้หนี้จริงๆ อาจจะเกิดความเห็นใจ เข้าใจ ซึ่งจะช่วยให้กรรมของคนที่เป็นหนี้นั้นลดน้อยลงได้ ถ้ามีข้อตกลงกันที่จะทำให้ลูกหนี้สบายใจขึ้น เจ้าหนี้ก็รับรู้ และหาทางที่จะทำให้ทุกข์ของลูกหนี้เบาบาง แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับสภาพจิตของเจ้าหนี้
ถ. กรรมทั้งหมดจะไม่ตกกับดิฉันหรือ เพราะดิฉันเป็นคนก่อตั้งแต่เริ่มแรก
สุ. ถ้าไม่ใช่คำหยาบก็ไม่ใช่อกุศลกรรม ถ้าไม่ใช่คำส่อเสียดก็ไม่ใช่อกุศลกรรม ถ้าไม่ใช่คำเพ้อเจ้อก็ไม่ใช่อกุศลกรรม
ถ. เจ้าของเงินเขายืนยันเลยว่า ถ้าไม่ใช่พี่ เขาจะไม่ให้เลย
สุ. หมายความว่า เวลานี้กลัวว่าจะทำให้เจ้าของเงินเดือดร้อนแล้วใช่ไหม
ถ. เจ้าของเงินไม่เดือดร้อน
สุ. ถ้าไม่เดือดร้อน จะเล่าให้เขาฟัง เขาก็ยังไม่เดือดร้อน ใช่ไหม
ถ. ไม่เดือดร้อน เพราะเขาเป็นคนมีเงิน
สุ. เห็นควรว่าจะเล่าก็เล่า แล้วแต่จะตัดสินใจ ถ้าเล่าแล้วเขาไม่เดือดร้อน เห็นควรที่จะเล่าก็เล่า
ถ. เขาฟ้องไปแล้ว ดิฉันอยากจะทราบว่า กรรมนี้จะตกอยู่กับใคร
สุ. ใครฟ้องใคร
ถ. เจ้าของเงินฟ้องคนที่ดิฉันเป็นนายหน้ายืมเงินให้
สุ. หมายความว่า เจ้าของเงินรู้แล้วว่าไม่ใช้หนี้ เรื่องก็จบไปแล้วโดยการฟ้อง
ถ. ไม่จบแค่นั้น ยังมีปัญหาต่อไปอีก ดิฉันก็เงียบไว้หมด ไม่บอกให้ใครรู้ นี่ดิฉันมุสา รู้แล้วไม่แจ้งหรือเปล่า เพราะเราเป็นคนไปก่อเรื่องขึ้น คนที่รับเงินไปก็มาเล่าให้ฟังว่า เขาหาทางป้องกันแล้ว แต่ดิฉันไม่ได้ไปบอกคนที่ดิฉันไปรับเงินมาให้เขา ดิฉันจะตกอยู่ในลักษณะไหน
สุ. เป็นเรื่องยาก และเป็นเรื่องเฉพาะเหตุการณ์ เฉพาะบุคคล ขอเรียนให้พิจารณาให้รอบคอบ และพิจารณาจิตของตนเองว่า ขณะไหนเป็นกุศล ขณะไหนเป็นอกุศล และก็ทำสิ่งที่เป็นกุศล
ถ. ดิฉันกำลังตัดสินใจว่า จะบอกเจ้าของเงินดีหรือไม่บอกดี
สุ. ถ้าไม่รู้เรื่องละเอียด ยากที่จะวินิจฉัย
ถ. เวลาที่เกิดอกุศลจิต เช่น โลภมูลจิตหรือโทสมูลจิต แต่ไม่ได้ล่วงออกมาทางกาย ทางวาจา เสียหายมากน้อยแค่ไหน
สุ. แล้วแต่ว่าจะถึงขั้นรุนแรงแค่ไหน บางคนด่าในใจ มีไหม ก็ยังดีกว่า ล่วงออกมาดังๆ ดีกว่านิดหน่อยก็ยังดี
ถ. การสอนธรรมที่ผิดๆ เป็นการทำทุจริตหรือเปล่า
สุ. เป็นโทษ
ถ. แต่ผู้สอนเข้าใจว่าคำสอนนั้นเป็นคำสอนที่ถูก และมีความปรารถนาดี มีความเมตตาต่อผู้อื่นจึงสอน
สุ. ขอให้แยกกัน ขณะที่หวังดี ปรารถนาดีนั้นเป็นส่วนหนึ่ง แต่ขณะที่เข้าใจธรรมผิด เป็นอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นมโนกรรม ถ้าเข้าใจธรรมผิด เพราะฉะนั้น ไม่ได้อยู่เพียงแค่ความเข้าใจผิดของตนเองผู้เดียว ยังขยายไปถึงบุคคลอื่นทำให้บุคคลอื่นเข้าใจผิดด้วย
ถ. ขณะที่สอนอย่างนั้น เป็นวจีทุจริตใช่ไหม
สุ. ใช่ และต้องแล้วแต่ผู้ฟังด้วย ที่จะช่วยผู้พูดธรรมไม่ให้ได้รับโทษมาก คือ พิจารณาสิ่งที่ได้ฟัง และเลือกเชื่อสิ่งที่ถูกต้อง ก็เป็นการช่วยผู้ที่พูดธรรมคลาดเคลื่อน หรือเข้าใจผิด เพราะเรื่องของวจีกรรมเมื่อได้กล่าวไปแล้ว โทษมากหรือน้อยย่อมขึ้นอยู่กับการทำลายประโยชน์ของผู้ฟัง เมื่อผู้ที่ได้ฟังเชื่อมาก เสียประโยชน์มาก ก็เป็นโทษมาก แต่ถ้าได้ยินได้ฟังและพิจารณาในเหตุในผล เลือกเชื่อในสิ่งที่ มีเหตุมีผล สิ่งที่ไม่เป็นเหตุเป็นผลก็ไม่เชื่อ ทำให้ผู้ที่มีความเห็นผิด ที่กล่าวผิดได้รับโทษจากความเห็นผิดของตนเองเพียงผู้เดียว เพราะฉะนั้น ผู้ที่พิจารณาแล้ว และเลือกเชื่อในสิ่งที่มีเหตุผล ก็ช่วยบรรเทาผลหรือโทษของผู้กล่าวผิดนั้นได้
เช่นเดียวกับเรื่องของมุสาวาท ถ้าใครพูดสิ่งที่ไม่จริง และทำให้คนอื่นเชื่อ เกิดความเข้าใจผิด เสียหายมาก ก็เป็นโทษมาก ตรงกันข้าม แม้เขาจะพูดสิ่งที่ไม่จริง แต่คนฟังไม่เชื่อ โทษก็น้อยกว่าการที่ทำให้คนอื่นเชื่อ
สำหรับเรื่องของความเห็นผิดที่ว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ผลของวิบากแห่งกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้า ไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี
เป็นไปได้ไหมที่จะเห็นผิดอย่างนี้ ทุกคนรู้ว่า ทุกคนมีมารดาบิดา แต่เข้าใจว่าสิ่งใดๆ ที่กระทำต่อท่าน ไม่ว่าจะเป็นทางกายหรือทางวาจานั้นไม่มีผล ไม่ใช่หมายความว่าคนนั้นจะไม่รู้ว่าคนนี้เป็นมารดาบิดา หรือไม่ย่อมเชื่อว่านี่เป็นมารดาบิดา เพราะทุกคนต้องมีมารดาบิดา เพราะฉะนั้น ทุกคนย่อมรู้ว่ามีมารดาบิดา แต่บางคนอาจจะคิดว่า การกระทำสิ่งใดๆ ต่อท่าน ทั้งทางกาย ทางวาจานั้นไม่มีผล ซึ่ง ความจริงแล้ว ย่อมมีผล
และผู้ที่เห็นผิดก็เชื่อว่า สัตว์ผู้เป็นอุปปาติกะไม่มี หรือว่าสมณพราหมณ์ ผู้ดำเนินไปโดยชอบ ผู้ปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และปรโลกให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม ไม่มีในโลก คือ ไม่เชื่อในพระปัญญาคุณของ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก อย่างนี้แล
ใครจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม การกระทำทางกายทางวาจาก็มีเป็นประจำทุกวัน แล้วแต่ว่าจะเป็นกุศลหรืออกุศลขั้นไหน
ข้อความต่อไป
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล เพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล หรือเพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงาน ทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล
แสดงให้เห็นว่า โลกหน้ามี โลกอื่นมี และผลของอกุศลกรรมต้องมีด้วย เพราะสัตว์ทั้งหลายเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง ทางวาจา ๔ อย่าง และทางใจ ๓ อย่าง
แต่อย่าลืม พระผู้พระภาคตรัสว่า สัตว์ทั้งหลายเมื่อตายไป เพราะฉะนั้น ที่จะให้เห็นนรก เห็นสวรรค์เดี๋ยวนี้ ยังเห็นไม่ได้ จนกว่าเมื่อตายไป จะรอถึงเวลานั้นและพิสูจน์ก็ได้ ไปพิสูจน์กันที่โน่น แต่ไม่ใช่พิสูจน์กันที่นี่
ถ. ช่วยอธิบายคำว่า ทุคติ วินิบาต
สุ. ทุคติในที่นี้หมายถึงดิรัจฉาน วินิบาตหมายถึงเปรต เพราะใช้คำว่า อบาย ทุคติ วินิบาต นรก
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๑๒๙๑ – ๑๓๐๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1261
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1262
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1263
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1264
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1265
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1266
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1267
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1268
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1269
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1270
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1271
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1272
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1273
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1274
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1275
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1276
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1277
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1278
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1279
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1280
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1281
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1282
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1283
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1284
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1285
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1286
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1287
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1288
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1289
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1290
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1291
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1292
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1293
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1294
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1295
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1296
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1297
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1298
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1299
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1300
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1301
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1302
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1303
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1304
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1305
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1306
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1307
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1308
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1309
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1310
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1311
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1312
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1313
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1314
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1315
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1316
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1317
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1318
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1319
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1320