แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1343
ครั้งที่ ๑๓๔๓
สาระสำคัญ
องฺ.ทสก.ทิฏฐิสูตร - ผู้ที่มีความเห็นผิด
ที่ห้องประชุมตึกสภาการศึกษา มหามกุฏราชวิทยาลัย
วันอาทิตย์ที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๒๗
เมื่อท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว ปริพาชกคนหนึ่งได้กล่าวกะท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า
ดูกร คฤหบดี เรามีทิฏฐิอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ฯ
สองพันห้าร้อยกว่าปีมาแล้วในสมัยที่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงพระธรรมด้วยพระองค์เอง ผู้ที่เป็นอริยสาวกก็มีมาก แต่ผู้ที่มีความเห็นผิดก็มีมากตั้งแต่ในสมัยโน้นและก่อนสมัยโน้น แม้ในสมัยนี้และต่อไปข้างหน้าก็ย่อมจะมี ผู้ที่มีความเห็นผิดต่างๆ ด้วย เพราะฉะนั้น การฟังพระธรรมก็เพื่อประโยชน์ที่จะได้เข้าใจสภาพธรรมถูกต้อง เพื่อที่จะได้ไม่เป็นเดียรถีย์ปริพาชก
ปริพาชกอีกคนหนึ่งได้กล่าวกะอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า
ดูกร คฤหบดี เรามีทิฏฐิอย่างนี้ว่า โลกไม่เที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า
แม้ปริพาชกอีกคนหนึ่งได้กล่าวกะอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า โลกมีที่สุด ...
อีกคนหนึ่งพูดว่า โลกไม่มีที่สุด ...
อีกคนหนึ่งพูดว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ...
อีกคนหนึ่งพูดว่า ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง ...
อีกคนหนึ่งพูดว่า สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมเป็นอีก ...
อีกคนหนึ่งพูดว่า สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก ...
อีกคนหนึ่งพูดว่า สัตว์เมื่อตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็มี ไม่เป็นอีกก็มี ...
ฟังแล้วดูไม่น่าจะเข้าใจเลย แต่ยังยึดถือเป็นความเห็นได้ มีหนังสือหลายเล่ม ซึ่งพวกชาวต่างประเทศไม่มีคำสอนในพระพุทธศาสนาจากพระไตรปิฎกของเถรวาท เพราะฉะนั้น ท่านเหล่านั้นก็ได้อาศัยเพียงตำราที่เขียนขึ้นในยุคนี้สมัยนี้ และมีท่าน ผู้หนึ่งนำหนังสือเล่มหนึ่งมาขอสนทนาธรรมด้วย และถามว่าข้อความตอนนี้หมายความว่าอย่างไร ดิฉันจึงเรียนให้ทราบว่า ไม่เข้าใจ คือ สิ่งใดก็ตามที่บรรทัดที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ไม่เข้าใจ บรรทัดต่อๆ ไปจะให้เข้าใจเรื่องของบรรทัดต้นๆ ก็เป็นไปไม่ได้ เพราะไม่มีคำอธิบายสภาพธรรมตามความเป็นจริง แต่จะเป็นเหมือนประเภทที่ว่า โลกไม่เที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า หรือว่าโลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด หรือชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ซึ่งไม่ได้เป็นเรื่องของสภาพธรรมที่สามารถจะพิสูจน์ได้หรือเข้าใจได้เหมือนพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดง
เมื่อพวกปริพาชกกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีได้กล่าวกะปริพาชกเหล่านั้นว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ท่านผู้มีอายุได้กล่าวอย่างนี้ว่า ดูกร คฤหบดี เรามีทิฏฐิอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ทิฏฐิของท่านผู้มีอายุนี้ เกิดขึ้นเพราะเหตุแห่งการกระทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายของตน หรือเพราะการโฆษณาของผู้อื่นเป็นปัจจัย ก็ทิฏฐินั้นเกิดขึ้นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อันปัจจัยก่อขึ้นแล้ว เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อันปัจจัยก่อขึ้นแล้ว เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ ท่านผู้มีอายุนั้นเป็นผู้ติดสิ่งนั้นแหละ ท่านผู้มีอายุนั้นเข้าถึงสิ่งนั้นแหละ แม้ท่านผู้มีอายุรูปใดกล่าวอย่างนี้ว่า โลกไม่เที่ยงสิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ... ชีพอย่างหนึ่ง สรีระก็อย่างหนึ่ง ... สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมเป็นอีก ... สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก ... สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ... สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า
ทิฏฐิของท่านผู้มีอายุนี้ เกิดขึ้นเพราะเหตุแห่งการกระทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายของตน หรือเพราะการโฆษณาของผู้อื่นเป็นปัจจัย ก็ทิฏฐินั้นเกิดขึ้นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อันปัจจัยก่อขึ้นแล้ว เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อันปัจจัยก่อขึ้นแล้ว เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย สิ่งนั้น ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ ท่านผู้มีอายุนั้นเป็นผู้ติดสิ่งนั้นแหละ ท่านผู้มีอายุนั้นเข้าถึงสิ่งนั้นแหละ
ท่านกล่าวชัดเจนว่า พวกเดียรถีย์ปริพาชกเป็นผู้ที่ยึดมั่นติดในความเห็นต่างๆ เหล่านั้น ซึ่งแม้ความเห็นนั้นก็เป็นสังขารขันธ์ เป็นสังขารธรรม เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยปรุงแต่ง เมื่อมีปัจจัยจึงเกิดขึ้น เช่น ความเห็นผิด เพราะไม่ได้พิจารณาเหตุผลโดยแยบคาย หรือว่าเพราะการโฆษณาของผู้อื่นเป็นปัจจัย
เมื่อท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว ปริพาชกเหล่านั้นได้กล่าวกะท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า
ดูกร คฤหบดี พวกเราทั้งหมดบอกทิฏฐิของตนแล้ว ขอท่านจงบอก ท่านมีทิฏฐิอย่างไร ฯ
เป็นการถามความเห็นของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี ซึ่งท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีก็กล่าวว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อันปัจจัยก่อขึ้นแล้ว เกิดขึ้นแล้วเพราะอาศัยปัจจัย สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ ข้าพเจ้ามีความเห็นสิ่งนั้นอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯ
แม้ว่าจะเป็นสิ่งซึ่งเกิดขึ้นแล้วเพราะเหตุปัจจัย ผู้ที่มีความเห็นผิดก็ยึดติดใน สิ่งนั้นได้ แต่ผู้ที่มีความเห็นถูกเช่นท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีท่านกล่าวว่า ข้าพเจ้ามีความเห็นสิ่งนั้นอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา
เมื่อได้ฟังท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว ปริพาชกกล่าวต่อไปว่า
ดูกร คฤหบดี สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อันปัจจัยก่อขึ้นแล้ว เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ ท่านเป็นผู้ติดสิ่งนั้นแหละ ท่านเข้าถึงสิ่งนั้นแหละ ฯ
ใช้คำพูดเดียวกับที่ท่านอนาถบิณฑิกะกล่าวว่า พวกปริพาชกติดในความเห็นของตนๆ เพราะฉะนั้น พวกปริพาชกก็ย้อนกลับว่า แม้ท่านอนาถบิณฑิกะจะกล่าวว่า สิ่งใดเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย สิ่งนั้นไม่เที่ยง ซึ่งท่านอนาถบิณฑิกะมีความเห็นสิ่งนั้นอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา แต่ปริพากชกก็ยังกล่าวว่า ท่านเป็นผู้ติดสิ่งนั้นแหละ ท่านเข้าถึงสิ่งนั้นแหละ
ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีกล่าวว่า
ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว อันปัจจัยก่อขึ้นแล้ว เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัย สิ่งนั้นไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ ข้าพเจ้าเห็นสิ่งนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ทั้งรู้ชัดอุบายเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งสิ่งนั้นอย่างยอดเยี่ยมตามเป็นจริง ฯ
ต้องกล่าวด้วยว่า เป็นปัญญาอันชอบที่เห็นสิ่งนั้นตามความเป็นจริง และยังรู้ชัดอุบายเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งสิ่งนั้นอย่างยอดเยี่ยมตามเป็นจริงด้วย ไม่ใช่เป็นแต่เพียงผลว่า ไม่ยึดถือสภาพธรรมเป็นตัวตน แต่ต้องพิจารณาข้อปฏิบัติให้ถูกต้องด้วยว่า ข้อปฏิบัติที่จะทำให้ประจักษ์แจ้งในสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยนั้นเป็นอย่างไร จึงจะเป็นผู้ที่ ทั้งรู้ชัดอุบายเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งสิ่งนั้นอย่างยอดเยี่ยมตามเป็นจริง
ข้อความต่อไปมีว่า
เมื่อท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว ปริพาชกเหล่านั้นพากันนั่งนิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา โต้ตอบไม่ได้ ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีทราบปริพาชกเหล่านั้นเป็นผู้นิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา โต้ตอบไม่ได้ แล้วลุกจากอาสนะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลถึงเรื่องที่สนทนากับอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นทั้งหมดแด่พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบทุกประการ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดีละๆ คฤหบดี ท่านพึงข่มขี่พวกโมฆบุรุษเหล่านั้นให้เป็นการข่มขี่ด้วยดี โดยกาลอันควร โดยชอบธรรมอย่างนี้แล
ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีให้เห็นชัด ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีอัน พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ลุกจากที่นั่งถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป
เมื่อท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีหลีกไปไม่นาน พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดแลเป็นผู้มีธรรมอันไม่หวั่นไหวในธรรมวินัยตลอดกาลนาน ภิกษุแม้นั้นพึงข่มขี่อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นให้เป็นการข่มขี่ด้วยดี โดยชอบธรรมอย่างนี้ เหมือนท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีข่มขี่แล้ว ฉะนั้น ฯ
จบ สูตรที่ ๓
แม้จะได้ฟังท่านอนาถบิณฑิกะกล่าวอย่างนี้และโต้แย้งไม่ได้เลย แต่ก็ไม่ได้เกิดความสนใจที่จะซักถามในข้อที่ถูก ในสิ่งที่เป็นเหตุผล เพื่อจะได้ละทิ้งความเห็นผิด เพราะฉะนั้น บางคนยังยึดติดในความเห็นผิดอยู่ ไม่ยอมที่จะพิจารณาสอบทาน สนทนาแลกเปลี่ยนความเห็นกับท่านผู้อื่นเพื่อที่จะได้ทราบว่า ความเห็นที่ท่านมีนั้น ควรที่จะทิ้งไปหรือว่ายังควรที่จะเก็บไว้
ถ. ข่มขี่ในที่นี้หมายความว่าอะไร
สุ. หมายความว่า แสดงธรรมที่ถูกโดยชอบเพื่อให้ผู้อื่นพิจารณา เมื่อพิจารณาโดยชอบก็ย่อมเห็นได้ว่า สิ่งใดเป็นสิ่งที่มีเหตุผล และสิ่งใดไม่มีเหตุผล ไม่ได้ใช้คำที่ก้าวร้าวรุนแรง แต่กล่าวถึงเหตุผลของธรรมที่ถูกต้อง
ถ. เพราะฉะนั้น ความหมายของพยัญชนะคงไม่ใช่ข่มขู่
สุ. ไม่ใช่ โดยชอบ หมายความว่า ด้วยกุศลจิต ด้วยเหตุด้วยผล ซึ่งพร้อมที่จะให้อัญญเดียรถีย์ปริพาชกแสดงความคิดเห็นและซักถามได้
ถ. คำว่า สังขารธรรม มีขอบเขตครอบคลุมไปถึงไหน
สุ. หมายความถึงสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเพราะมีปัจจัยปรุงแต่งและดับไป ได้แก่ จิตทั้งหมด เจตสิกทั้งหมด รูปทั้งหมด เป็นสังขารธรรม
ถ. อย่างวิทยาการทั้งหลายในโลกนี้ เป็นสังขารธรรมได้ไหม
สุ. วิทยาการทั้งหลายต้องแสดงออกมาว่า เป็นสภาวธรรมที่ปรากฏทางตา หรือทางหู หรือทางจมูก หรือทางลิ้น หรือทางกาย หรือทางใจ ซึ่งไม่พ้นไปจากตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ถ. คือ วิทยาการทั้งหลายในโลกนี้เป็นสังขารธรรมทั้งหมด ใช่ไหม
สุ. เป็นความคิดนึก ใช่ไหม ขณะนั้นก็เป็นนามธรรมที่เกิดขึ้นและดับไป จึงเป็นสังขารธรรมด้วย สภาพธรรมที่มีจริงซึ่งไม่ใช่สังขารธรรมมีอย่างเดียว คือ พระนิพพาน เป็นวิสังขารธรรม
ถ. สรุปแล้ววิทยาการทั้งหลายที่ชาวโลกเรียนเป็นธรรมทั้งนั้น ถูกไหม
สุ. เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นและดับไป
ถ. อาจจะมีทั้งกุศลและอกุศล
สุ. ขณะที่กำลังศึกษาวิชาการอย่างหนึ่งอย่างใดให้ทราบว่า ขณะนั้น มีตาเห็น จิตเห็นดับ เกิดขึ้นและก็ดับ ขณะที่กำลังฟังเป็นจิตที่ได้ยิน เกิดขึ้นและก็ดับ ขณะที่กำลังคิดนึกเรื่องที่เรียน ก็เป็นจิตแต่ละขณะที่เกิดขึ้นและก็ดับ เพราะฉะนั้น สภาพของจิตที่คิดนึกหรือกำลังศึกษาวิชาหนึ่งวิชาใด ขณะนั้นก็เป็นสังขารธรรม เพราะไม่ใช่ตัวตน เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยปรุงแต่งและดับไป
ถ. ทำไมในธัมมายตนะจึงมีรูปด้วย มีเจตสิก ๕๒ มีรูป ๑๖ และมีนิพพาน ที่จริงธัมมารมณ์ไม่น่าจะมีรูป
สุ. รูปทั้งหมดมี ๒๘ รูป รูปที่ปรากฏทางตา ๑ รูป ปรากฏทางหู ๑ รูป ปรากฏทางจมูก ๑ รูป ปรากฏทางลิ้น ๑ รูป ปรากฏทางกาย ๓ รูป รวม ๗ รูป เป็นโคจรรูป ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย รูปอื่นที่เหลือทั้งหมดปรากฏทาง มโนทวาร ไม่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย
ถ. ที่บอกว่า รูปอื่นปรากฏทางใจ ผมเข้าใจว่าต้องเป็นวิปัสสนาญาณ เท่าที่ปฏิบัติมาคงยังรู้ไม่ได้ ใช่ไหม
สุ. สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ปรากฏ ๒ ทวาร คือ ปรากฏทางจักขุทวาร ดับไปแล้ว ภวังคจิตคั่น มโนทวารวิถีจิตเกิดต่อ รู้รูปเดียวกับรูปที่ปรากฏทางตาที่เพิ่งดับไป ขณะที่โสตทวารวิถีจิตทั้งหมดเกิดขึ้นได้ยินเสียงที่ยังไม่ดับ เมื่อเสียงดับ โสตทวารวิถีจิตทั้งหมดก็ดับ ภวังคจิตเกิดคั่น และมโนทวารวิถีจิตเกิดขึ้นรู้เสียงที่ทางโสตทวารวิถีเพิ่งได้ยินแล้วดับไปต่อ เพราะฉะนั้น เสียงปรากฏ ๒ ทวาร กลิ่นก็ปรากฏ ๒ ทวาร รสก็ปรากฏ ๒ ทวาร โผฏฐัพพะก็ปรากฏ ๒ ทวาร
เพราะฉะนั้น ตามปกติในวันหนึ่งๆ ที่กำลังเห็นในขณะนี้ปรากฏและสืบต่อ ทางมโนทวาร ที่กำลังได้ยินในขณะนี้ทางหู จิตทางมโนทวารก็เกิดสืบต่อรู้เสียงที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น ทางมโนทวาร ในชีวิตประจำวัน คือ รู้สี รู้เสียง รู้กลิ่น รู้รส รู้โผฏฐัพพะต่อจากทางตา หู จมูก ลิ้น กายนั่นเอง
มีใครรู้รูปอื่นอีกไหมทางใจ แต่ว่าในขณะนี้ ทั้งๆ ที่ทางโสตทวารวิถีดับไปแล้วทางมโนทวารวิถีเกิดต่อ ก็ไม่รู้ เพราะยังไม่ได้อบรมเจริญปัญญาที่จะรู้ชัดในความต่างกันของทางปัญจทวารและมโนทวาร ซึ่งทางมโนทวารต้องรู้อารมณ์ต่อจากทางปัญจทวาร
ชวนะที่เกิดทางปัญจทวาร ถ้าเป็นโลภมูลจิต ๗ ขณะดับไป ภวังคจิตเกิดคั่น มโนทวาราวัชชนจิตเกิดทางมโนทวารและดับไป โลภมูลจิตจะเกิดซ้ำอีก ๗ ขณะ เพราะฉะนั้น ชวนะที่เกิดทางปัญจทวารจะเกิดซ้ำอีกทางมโนทวาร ไม่ว่าจะเป็น โลภมูลจิต โทสมูลจิต โมหมูลจิต หรือกุศลจิตก็ตาม เพราะฉะนั้น ทางปัญจทวาร แต่ละทวารจะมีมโนทวารเกิดสืบต่ออย่างรวดเร็ว โดยไม่มีใครสามารถยับยั้งได้เลย
ให้ทราบว่า วิถีจิตทางจักขุทวารดับ ภวังค์คั่น วิถีจิตทางมโนทวารเกิดสืบต่อ วิถีจิตทางโสตทวารทั้งหมดดับ ภวังค์คั่น วิถีจิตทางมโนทวารเกิดสืบต่อ คู่กันไปอย่างนี้ทุกครั้งอย่างรวดเร็ว ใครจะรู้หรือไม่รู้ก็ตามว่า ขณะไหนเป็นทางจักขุทวารหรือ มโนทวาร ขณะไหนเป็นทางโสตทวารหรือมโนทวาร แต่สภาพธรรมก็เกิดขึ้นเป็นไปอย่างนี้ ตามเหตุตามปัจจัย
ถ. ขณะที่เราเห็น ต้องปรากฏที่มโนทวารชวนจิต ใช่ไหม หมายความว่า ขณะนั้นที่เห็นจะมีภาพปรากฏขึ้นเลยทันที แต่การที่เราไม่เจริญสติปัฏฐานจึงไม่สามารถกำหนดรู้ว่าภาพนั้นเกิด ใช่ไหม
สุ. สิ่งที่ปรากฏทางตา
ถ. ใช่ ความจริงปรากฏเป็นภาพขึ้นมา แต่เพราะเราไม่สังเกต คือ เราไม่นำสติไปกำหนด
สุ. ขณะนี้เอง มีมโนทวารวิถีคั่นทางจักขุทวารวิถี คิดดู ซึ่งมโนทวารวิถีไม่ใช่จักขุทวารวิถี แต่มีสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นอารมณ์ต่อจากทางปัญจทวารวิถี
ถ. อาจจะเป็นภาพในใจ ที่เรียกว่าภาพพจน์ได้ไหม
สุ. ขณะนี้เลย เหมือนอย่างนี้ สภาพธรรมที่จะพิสูจน์ คือ เหมือนอย่างนี้ เป็นอย่างนี้
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๓๕ ตอนที่ ๑๓๔๑ – ๑๓๕๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1321
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1322
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1323
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1324
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1325
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1326
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1327
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1328
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1329
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1330
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1331
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1332
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1333
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1334
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1335
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1336
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1337
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1338
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1339
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1340
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1341
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1342
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1343
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1344
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1345
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1346
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1347
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1348
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1349
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1350
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1351
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1352
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1353
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1354
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1355
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1356
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1357
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1358
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1359
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1360
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1361
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1362
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1363
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1364
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1365
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1366
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1367
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1368
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1369
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1370
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1371
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1372
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1373
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1374
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1375
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1376
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1377
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1378
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1379
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1380