แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1351
ครั้งที่ ๑๓๕๑
สาระสำคัญ
อส.จิตตุปปาทกัณฑ์ - ที่ชื่อว่า ปัญญัติ เพราะให้รู้ได้ โดยประการนั้นๆ
อส.นิกเขปกัณฑ์ - อธิบายผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์
บัญญัติปิดบังลักษณะของปรมัตถธรรม
ที่ห้องประชุมตึกสภาการศึกษา มหามกุฏราชวิทยาลัย
วันอาทิตย์ที่ ๙ กันยายน ๒๕๒๗
ธัมมารมณ์ ๖ คือ ๑. ปสาทรูป ๒. สุขุมรูป ๓. จิตทั้งหมด ๔. เจตสิกทั้งหมด ๕. นิพพาน ๖. บัญญัติ
นิพพานยังไม่ปรากฏ เพราะปัญญายังไม่ได้อบรมที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ถูกต้องตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น ควรเข้าใจธัมมารมณ์อีกประเภทหนึ่ง คือ บัญญัติ ซึ่งทุกท่านมีบัญญัติเป็นอารมณ์อยู่ตลอดเวลาแต่ไม่รู้ว่านั่นคือบัญญัติ
หลักที่ควรทราบว่า ความหมายของบัญญัติคืออะไร คือ ขณะใดสิ่งที่ปรากฏไม่ใช่ปรมัตถธรรม ขณะนั้นเป็นบัญญัติอารมณ์ ซึ่งใน อัฏฐสาลินี จิตตุปปาทกัณฑ์ มีคำอธิบายว่า
ที่ชื่อว่าบัญญัติ (ปญฺญตฺติ) เพราะให้รู้ได้โดยประการนั้นๆ
ไม่ว่าจะเป็นทางตา หรือทางหู หรือทางจมูก หรือทางลิ้น หรือทางกาย หรือทางใจ ขณะที่มีบัญญัติเป็นอารมณ์ คือ ที่ชื่อว่าบัญญัติ เพราะให้รู้ได้โดยประการนั้นๆ
ทางตา มีสิ่งที่กำลังปรากฏเป็นรูปารมณ์ เป็นสิ่งที่แน่นอนว่า จักขุทวารวิถีจิตทุกดวงต้องรู้รูปารมณ์ที่ยังไม่ดับ คือ ตั้งแต่ปัญจทวาราวัชชนจิต จักขุวิญญาณ สัมปฏิจฉันนจิต สันตีรณจิต โวฏฐัพพนจิต ชวนจิต ตทาลัมพนจิต ต้องรู้รูปารมณ์ ที่ยังไม่ดับ
ทางหู ปัญจทวาราวัชชนจิต โสตวิญญาณ สัมปฏิจฉันนจิต สันตีรณจิต โวฏฐัพพนจิต ชวนจิต ตทาลัมพนจิต รู้เสียงที่ยังไม่ดับ
ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย โดยนัยเดียวกัน
เพราะฉะนั้น บัญญัติมาเมื่อไร ทางตา ทันทีที่จักขุทวารวิถีจิตดับ ภวังคจิตเกิดคั่น มโนทวารวิถีจิตวาระแรกมีสีหรือสิ่งที่ปรากฏทางตาที่เพิ่งดับเป็นอารมณ์ เปลี่ยนไม่ได้เลย มิฉะนั้นจะไม่มีการรู้เลยว่า สิ่งที่เห็น บัญญัติเป็นอะไร เพียงเท่านี้ก็ทราบถึงความไม่รู้ในวันหนึ่งๆ ได้ใช่ไหมว่า เต็มไปด้วยความไม่รู้เรื่องของสภาพธรรมที่ปรากฏทางตาและต่อไปถึงทางใจ ว่าเมื่อไรจะเป็นบัญญัติ
มโนทวารวาระที่ ๑ ยังไม่ใช่บัญญัติอารมณ์ เพราะต้องเป็นปรมัตถอารมณ์ มโนทวารวาระที่ ๑ เริ่มด้วยมโนทวาราวัชชนจิต ๑ ขณะ และชวนจิต ๗ ขณะ ดับไปภวังคจิตเกิดคั่น ซึ่งไม่ทราบเลยว่าคั่นนานเท่าไร และมโนทวารวิถีจิตก็เกิดต่อ ที่จะมีบัญญัติเป็นอารมณ์ คือ ถ้าถามว่าเห็นอะไร ตอบว่าเห็นคน เห็นวัตถุ เห็นสิ่งต่างๆ ในขณะนั้นคือบัญญัติทั้งหมด ไม่ใช่ปรมัตถธรรม
ปรมัตถธรรม คือ สิ่งที่มีจริง ปรากฏทางตาเท่านั้น ส่วนความคิดที่ว่า เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นวัตถุ เป็นสิ่งต่างๆ นั่นคือบัญญัติของสิ่งที่เห็น มิฉะนั้น จะไม่สามารถรู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร แต่บัญญัติไม่ใช่ปรมัตถธรรม
เพราะฉะนั้น ที่กล่าวตั้งแต่ต้นว่า สภาพธรรมที่เป็นปรมัตถธรรม ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน อย่าลืมว่าจะต้องสอดคล้องกันตลอดไป เมื่อไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ขณะที่เห็นเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน เป็นวัตถุ เป็นสิ่งต่างๆ จึงเป็นบัญญัติ
ให้ทราบลักษณะของบัญญัติว่า ในขณะที่เห็นเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ขณะนั้นไม่ใช่เป็นปรมัตถ์ เนื่องจาก ที่ชื่อว่าบัญญัติ เพราะให้รู้ได้โดยประการนั้นๆ
ถ้าเห็นรูปเขียนขององุ่นกับผลองุ่น อะไรเป็นบัญญัติ
ชีวิตประจำวัน สภาพธรรมทั้งหมดไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ขณะที่เห็นรูปเขียนของผลไม้ชนิดหนึ่ง จะเป็นเงาะ มังคุด หรืออะไรก็ได้ กับผลไม้จริงๆ อะไรเป็นบัญญัติ
ถ้าเป็นภาพวาด มีภูเขา มีทะเล มีต้นไม้ แต่รู้ว่าเป็นรูปเขียน ไม่ใช่ภูเขา ไม่ใช่ทะเล ไม่ใช่ต้นไม้จริงๆ กับเวลาที่ไปที่ภูเขา เห็นภูเขา เห็นทะเล เห็นต้นไม้ อะไรเป็นบัญญัติ
ท่านผู้ฟังบอกว่า ชื่อเป็นบัญญัติ
ยังไม่ต้องเรียกชื่อก็มีบัญญัติแล้ว ไม่จำเป็นต้องรู้ว่าภาษาไหน แต่มีบัญญัติในสิ่งที่ปรากฏแล้ว มิฉะนั้นจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร ที่รู้ว่าเป็นอะไรก็เพราะขณะนั้นเป็นบัญญัติ เพราะให้รู้ได้โดยประการนั้นๆ โดยยังไม่ต้องเรียกชื่อ เพียงเห็นรูปเขียนของผลไม้ กับผลไม้จริงๆ อะไรเป็นบัญญัติ
ทั้งสองอย่างเป็นบัญญัติ ไม่ใช่ปรมัตถ์
มีความต่างอะไรระหว่างผลไม้จริงๆ กับรูปเขียนผลไม้ในขณะที่เห็นทางตา เพราะสิ่งที่ปรากฏทางตา ต้องไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่องุ่น ไม่ใช่อะไรทั้งหมด แต่เวลาเห็นรูปเขียนองุ่นกับผลองุ่นอาจจะเข้าใจว่า เฉพาะรูปเขียนเป็นบัญญัติ ผลองุ่นไม่ใช่บัญญัติ ซึ่งความจริงแล้วทั้งรูปเขียนและผลองุ่นที่ปรากฏทางตาเป็นบัญญัติ เพราะทางจักขุทวารวิถีจะเห็นแต่เพียงสิ่งที่ปรากฏ ส่วนทางมโนทวารวิถี มีบัญญัติเพราะให้รู้ได้โดยประการนั้นๆ คือ ให้รู้ได้ว่านี่คือองุ่น จะเป็นผลองุ่นหรือเป็นรูปเขียนองุ่นก็ตามแต่ แต่ให้รู้ได้ว่าเป็นองุ่น
เพราะฉะนั้น ทางตาในขณะที่กำลังเห็น ท่านผู้ฟังต้องพิจารณาจริงๆ ขณะนี้ เวลาที่กำลังเป็นคนนั้นคนนี้ ให้ทราบว่า เหมือนกับภาพเขียนที่เป็นบัญญัติแล้ว ยากที่จะถ่ายถอนออกไปได้ เห็นเก้าอี้ กระทบสัมผัสแข็งอย่างหนึ่ง และก็เห็น บัญญัติที่จะทำให้รู้ได้โดยประการนั้นๆ ว่า เป็นสิ่งที่จะนั่งลงไปได้
ถ. ตอนนี้เห็นปากกา ท่านอาจารย์บอกว่า ถ้าเห็นแล้วเป็นปากกาอย่างนี้ แสดงว่าข้ามทางปัญจทวารไปแล้ว
สุ. รู้ได้ว่าเป็นปากกา นั่นคือบัญญัติ
ถ. ครั้งแรกที่เห็นปากกา แสดงว่าข้ามทางปัญจทวารไปสู่ทางมโนทวารแล้ว
สุ. ถูกต้อง
ถ. จะมีการศึกษาหรือปฏิบัติอย่างไรที่จะไม่ให้ข้ามทางปัญจทวาร
สุ. ต้องฟังจนกระทั่งเข้าใจจริงๆ ว่า คำว่า บัญญัติ นี่เมื่อไร และเป็นบัญญัติจริงๆ หรือเปล่า หรือว่าเป็นปรมัตถ์ในขณะที่กำลังเห็น ถ้าเป็นปรมัตถธรรม จะไม่มีใครเลย และจะว่าตัวคนเดียวก็ยังไม่ถูก เพราะยังมีตัวอยู่ ก็ยังคงเป็นสัตว์ เป็นบุคคลอยู่
ถ้าเป็นปรมัตถธรรมจริงๆ คือ จิตเกิดขึ้นขณะเดียว และมีสิ่งที่กำลังปรากฏอย่างเดียว เพราะฉะนั้น เวลานี้สภาพธรรมเกิดดับสืบต่อกันอย่างรวดเร็วจนทำให้เห็นเหมือนกับพัดลมกำลังหมุน นี่ต้องต่อกันหลายรูปที่จะทำให้เห็นเป็นการเคลื่อนไหวได้ แม้แต่การยกมือ ก็ต้องมีรูปที่ปรากฏเป็นเหมือนรูปที่ปรากฏนิดหนึ่งและดับก่อนที่จะยกขึ้น เพราะฉะนั้น บัญญัติมากมายจนกระทั่งปิดกั้นปรมัตถธรรม ไม่ให้เห็น ปรมัตถธรรมตามความเป็นจริง
ถ. ถ้าอย่างนั้น จะเอาคำว่า บัญญัติ ไปทิ้งไว้ที่ไหน
สุ. ไม่ต้องทิ้ง แต่ให้รู้ว่า ทางมโนทวารรู้
ถ. เป็นสภาพนึกคิดคำ ใช่ไหม
สุ. เป็นบัญญัติ ไม่ใช่ปรมัตถ์ นี่คือสิ่งที่จะต้องรู้จริงๆ จึงจะประจักษ์การเกิดขึ้นและดับไปของปรมัตถธรรมได้
ทุกท่านบอกว่า เก้าอี้ไม่เห็นจะดับเลย ก็เป็นเก้าอี้ เป็นบัญญัติอยู่อย่างนั้น จะดับได้อย่างไร ยังไม่ได้แยกลักษณะของปรมัตถธรรมออกแต่ละทางเลย
อย่างองุ่นที่เป็นภาพเขียนกับผลองุ่น กระทบสัมผัสต่างกันไหมทางกายทวาร ก็แข็ง ไม่เหมือนกันหรือ
ถ. แข็งไม่เหมือนกัน
สุ. ใช่ แข็งมีหลายอย่าง เกิดจากสมุฏฐานหลายอย่างก็จริง แต่แข็งไม่ได้เปลี่ยนลักษณะเป็นอย่างอื่น แต่ไม่ว่าจะแข็งประการใดๆ ก็ตาม แข็งมาก แข็งน้อย อ่อนมาก อ่อนน้อย ตึงมาก ตึงน้อยก็ตาม ก็เป็นสภาพธรรมที่ปรากฏทางกาย แต่ สิ่งซึ่งองุ่นที่เป็นภาพเขียนไม่มี คือ รส รสขององุ่นไม่มี เพราะฉะนั้น แยกรสออกไป จึงจะไม่มีองุ่น ตราบใดที่ยังมีองุ่นอยู่ก็เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เหมือนกับรูปหลายๆ รูปรวมกันพร้อมจิตเจตสิกก็เป็นคน เป็นสัตว์ เหมือนกับรถยนต์ทั้งคัน ถอดชิ้นส่วนแต่ละส่วนออก ความเป็นรถยนต์ก็ไม่มีฉันใด แม้แต่องุ่นผลหนึ่ง ซึ่งเข้าใจว่าเป็นผลองุ่น แต่ที่จริงแล้วเป็นรส เป็นกลิ่น เป็นเย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว เมื่อรวมกันและเกิดดับอย่างรวดเร็วแต่ละขณะทำให้บัญญัติเกิดขึ้นหมายรู้ได้โดยประการนั้นๆ ว่า นี่คือสิ่งนี้ แต่ตามความเป็นจริงเป็นปรมัตถธรรมแต่ละลักษณะจริงๆ ซึ่งปรากฏแต่ ละทาง และดับอย่างรวดเร็ว
รูปที่ผลองุ่น ไม่ว่าเย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็งก็ดับ รสก็ดับ ทุกๆ ขณะ เพราะฉะนั้น สภาพธรรมจะมีอายุอยู่เพียง ๑๗ ขณะจิตเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นรสอะไร ไม่ว่าเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา สีสันวัณณะอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นเสียงอะไร ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นอะไร ทั้งหมดมีอายุเท่ากัน คือ ๑๗ ขณะ และต้องแตกย่อยฆนสัญญาออก จนไม่ใช่บัญญัติว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใด เป็นแต่เพียงปรมัตถธรรมแต่ละลักษณะซึ่งรวมกัน เมื่อรวมกันแล้ว ทางมโนทวารจึงหมายรู้โดยประการนั้นๆ คือ โดยบัญญัติ
ถ. ถ้าทางมโนทวารทราบว่าเป็นปากกา ผิดหรือถูก
สุ. ไม่ผิด เพราะขณะนั้นมีธัมมารมณ์ คือ บัญญัติ เป็นอารมณ์ แต่ปัญญาต้องรู้ถูกต้องว่า ชั่วขณะที่เป็นมโนทวารวิถีต่างกับขณะที่เป็นจักขุทวารวิถี แต่ ผู้ที่ไม่ได้อบรมเจริญปัญญาก็รวมกันเลย ทั้งทางจักขุทวารวิถีและทางมโนทวารวิถี
ถ้าเป็นอาหาร ก็รวมกันเลย ทั้งจักขุทวารวิถี ชิวหาทวารวิถี และกายทวารวิถี เป็นอาหารประเภทต่างๆ รสต่างๆ แต่ที่จะไม่เป็นสัตว์ ไม่เป็นบุคคล ไม่เป็นตัวตน ไม่เป็นวัตถุสิ่งหนึ่งสิ่งใด ก็ต่อเมื่อแยกย่อยรูปที่เกิดดับ ๑๗ ขณะอย่างรวดเร็ว แต่ละขณะที่ปรากฏออก
ท่านผู้ฟังชอบอะไร โลภะชอบ ชอบอะไร ชอบทุกอย่าง รวมทั้งอะไร รวมทั้งบัญญัติด้วย เต็มไปด้วยบัญญัติทั้งหมด ปฏิเสธไม่ได้ว่าปรมัตถธรรมก็ชอบ บัญญัติ ก็ชอบ ท่านผู้ฟังชอบสิ่งหนึ่งสิ่งใด ขณะนั้นเป็นบัญญัติ ไม่ใช่แต่เฉพาะปรมัตถ์ ถูกไหม
ถ. ถูก
สุ. ถ้ามีเข็มขัด ๑ เส้น สีที่ปรากฏทางตาก็ชอบ
ถ. และชอบยี่ห้อด้วย
สุ. ทั้งหมดเลย เพราะฉะนั้น ชอบหมด ถ้าบอกว่าชอบสี สีอะไร สีที่ เป็นคิ้ว เป็นตา เป็นจมูก เป็นปาก ถ้าไม่มีสีปรากฏ จะมีคิ้ว มีตา มีจมูก มีปาก ได้ไหม ก็ไม่ได้ แต่เวลาเห็นสี สีก็เป็นสีอยู่นั่นเอง ไม่ว่าจะแดง เขียว ฟ้า น้ำเงิน ขาว แต่แม้กระนั้นก็ยังชอบคิ้ว ชอบตา ชอบจมูก ชอบปาก นั่นคือชอบอะไร
ถ. ชอบบัญญัติ
สุ. ชอบบัญญัติ เพราะฉะนั้น ปรมัตถธรรมมีจริง แต่ขณะใดที่เป็นบัญญัติ คือ ขณะที่รู้ได้ในสิ่งที่กำลังปรากฏและมีความพอใจในสิ่งนั้น ชื่อว่ากำลังมีความพอใจในบัญญัติด้วย
อัฏฐสาลินี นิกเขปกัณฑ์ อธิบายนิทเทสอินทริยอคุตตทวารตาทุกะ ข้อ ๑๓๕๒ อธิบายในนิทเทสแห่งความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีข้อความว่า
คำว่า เป็นผู้ถือนิมิต คือ ย่อมถือนิมิตว่าหญิง ชาย
ใช้คำว่า นิมิต เวลาที่ถือว่าเป็นหญิง เป็นชาย แสดงว่าไม่ใช่ปรมัตถธรรม เพราะฉะนั้น ทุกท่านเห็นหญิงเสมอ เห็นชายเสมอ ให้ทราบว่า ในขณะนั้นถือนิมิตหรือบัญญัติของสิ่งที่ปรากฏทางตา ไม่ใช่เพียงแต่สี คือ ปรมัตถธรรม แต่ว่ามีบัญญัติของสิ่งที่ปรากฏ คือ นิมิต
คือ ย่อมถือนิมิตว่าหญิง ชาย หรือนิมิตอันเป็นวัตถุแห่งกิเลส มีสุภนิมิต เป็นต้น ด้วยอำนาจฉันทราคะ
ถ้าชอบบัญญัติ คือ เข็มขัด หมายความว่าเข็มขัดนั้นมีสุภนิมิต จึงเกิดความชอบด้วยอำนาจฉันทราคะ ถ้าเข็มขัดไม่สวย ไม่ใช่สุภนิมิต ก็ไม่ชอบ ใช่ไหม เพราะฉะนั้น สีเท่านั้น แต่เป็นบัญญัติด้วยนิมิตต่างๆ ไม่ดำรงอยู่ในรูปารมณ์เพียงแค่เห็นเท่านั้น นี่เป็นสิ่งซึ่งสติปัฏฐานจะต้องเจริญจริงๆ จนสามารถรู้ความต่างกันของปรมัตถธรรมและบัญญัติได้
ข้อความต่อไปมีว่า
คำว่า เป็นผู้ถืออนุพยัญชนะ คือ ถืออาการอันต่างด้วยมือ เท้า การยิ้ม การหัวเราะ การเจรจา การมองไป และการเหลียวซ้ายแลขวา เป็นต้น ซึ่งได้โวหารว่า อนุพยัญชนะ เพราะเป็นเครื่องปรากฏของกิเลส คือ กระทำกิเลสให้ปรากฏ
อนุพยัญชนะนี่ไม่ยากที่จะรู้ได้ เพราะเป็นเครื่องปรากฏของกิเลส คือ กระทำกิเลสให้ปรากฏ
ที่ว่าชอบเข็มขัด เพราะนิมิตและอนุพยัญชนะด้วย ใช่ไหม ถ้าทุกคนเห็นเข็มขัดเหมือนกันหมด ไม่ต้องทำให้วิจิตรต่างๆ ก็ไม่ต้องมีอนุพยัญชนะ แต่เข็มขัดมีมากมายหลายประเภท ต่างกันด้วยอนุพยัญชนะ เพราะฉะนั้น สำหรับอนุพยัญชนะนั้น เป็นเครื่องปรากฏของกิเลส
ขณะใดที่กำลังมีอนุพยัญชนะ และขณะนั้นไม่ใช่โมหมูลจิต ให้ทราบว่า ในขณะนั้นอนุพยัญชนะนั้น กระทำกิเลสให้ปรากฏ แล้วแต่ว่าจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม
ถ. ถ้าไม่ให้ติดในบัญญัติ ก็จะไม่ทราบว่านี่คือปากกา
สุ. นั่นผิด ไม่ใช่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงว่า สิ่งที่ปรากฏทางตาปรากฏแล้วดับไป และการรู้บัญญัติทางมโนทวารก็เกิดต่อ นี่เป็นชีวิตตามความ เป็นจริง
เพราะฉะนั้น ปัญญาต้องรู้ตามความเป็นจริงก่อน คือ รู้ว่ารูปารมณ์ทาง ปัญจทวารเป็นอย่างไร ต่างกับบัญญัติอย่างไร จึงสามารถที่จะละคลายการยึดถือ รูปารมณ์ที่กำลังปรากฏว่า เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นวัตถุ เป็นที่ตั้งของความพอใจ และรู้ว่าในขณะที่เห็นเป็นหญิง เป็นชาย เป็นสัตว์ เป็นบุคคลต่างๆ นั้น เป็นนิมิตหรือบัญญัติทางมโนทวาร และอาศัยปัญญาที่สามารถรู้ความจริงของปรมัตถธรรม ทำให้สามารถรู้ได้ว่า เวลาที่รู้ว่าวัตถุสิ่งนั้นบัญญัติอย่างไร เป็นอะไร ขณะนั้นไม่ใช่ ทางจักขุทวาร หรือทางปัญจทวาร แต่เป็นทางมโนทวาร
ยังไม่ต้องไปประจักษ์การเกิดดับของจิตหรือของรูปอะไร ถ้ายังไม่ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามปกติ ตามความเป็นจริงให้ถูกต้อง แต่จะ ต้องอบรมเจริญปัญญาไปเรื่อยๆ
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๑๓๕๑ – ๑๓๖๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1321
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1322
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1323
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1324
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1325
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1326
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1327
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1328
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1329
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1330
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1331
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1332
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1333
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1334
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1335
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1336
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1337
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1338
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1339
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1340
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1341
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1342
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1343
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1344
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1345
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1346
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1347
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1348
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1349
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1350
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1351
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1352
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1353
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1354
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1355
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1356
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1357
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1358
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1359
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1360
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1361
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1362
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1363
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1364
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1365
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1366
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1367
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1368
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1369
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1370
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1371
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1372
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1373
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1374
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1375
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1376
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1377
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1378
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1379
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1380