แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1357
ครั้งที่ ๑๓๕๗
สาระสำคัญ
ที่ตั้งให้เกิดมานะ ประเภทต่างๆ
กุศลวิบากเป็นปัจจัยให้อกุศลเกิดขึ้น
ขุ.มหา. พึงกำหนดรู้มานะด้วยปริญญา ๓
อถ.อภิณหปัจจเวกขณธัมมสูตรที่ ๘ - มานะของคฤหัสถ์และบรรพชิต
ที่ห้องประชุมตึกสภาการศึกษา มหามกุฏราชวิทยาลัย
วันอาทิตย์ที่ ๑๖ กันยายน ต่อวันอาทิตย์ที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๒๗
มานะ ๔ อย่าง ได้แก่ บุคคลให้มานะเกิดเพราะลาภ ๑ ให้มานะเกิดขึ้น เพราะยศ ๑ ให้มานะเกิดเพราะสรรเสริญ ๑ ให้มานะเกิดเพราะสุข ๑
สิ่งที่เป็นกุศลวิบากก็เป็นปัจจัยให้อกุศลเกิดขึ้น สำคัญตนในกุศลวิบากที่ได้รับ โดยลาภบ้าง ยศบ้าง สรรเสริญบ้าง สุขบ้าง
เพราะฉะนั้น คนที่ได้รับสรรเสริญบ่อยๆ ควรจะต้องระวังตัวจริงๆ ว่า ในขณะที่ได้ยินได้ฟังคำสรรเสริญนั้น มีความทะนงตน มีความสำคัญตนเกิดขึ้น หรือเปล่า ขณะที่ได้รับคำสรรเสริญ คำยกย่อง และมีความสำคัญตน มีความ ทะนงตนขึ้น คุ้มกันไหมกับการที่จะได้รับคำสรรเสริญ ซึ่งคำสรรเสริญก็เป็นเพียง กุศลวิบากที่เกิดขึ้นทางหู เป็นผลของอดีตกรรมที่ได้ทำแล้วทำให้มีการได้ยินเสียงชมเชย เสียงสรรเสริญต่างๆ เท่านั้นเอง ชั่วขณะที่เสียงปรากฏและคิดนึกถึง คำสรรเสริญนั้น และก็ดับไป
สภาพของขันธ์ ๕ เกิดขึ้นและดับไป นามขันธ์ ๔ ที่เกิดและดับไป จะไม่พบ หรือเจอกันกับขันธ์ที่เกิดสืบต่อเลย แต่ด้วยความไม่รู้ ด้วยความสำคัญตนในขันธ์ ๕ ซึ่งเกิดดับสืบต่อตลอดเวลา แม้จะเป็นเพียงกุศลวิบากที่เกิดขึ้น ก็เป็นปัจจัยให้เกิดความสำคัญตน ความทะนงตนขึ้น ซึ่งไม่คุ้มกันเลยกับการเพิ่มพูนความสำคัญตน จากลาภบ้าง ยศบ้าง สรรเสริญบ้าง หรือสุขบ้างที่ได้รับ
มานะ ๕ อย่าง ได้แก่ บุคคลให้มานะเกิดว่าเราได้รูปที่ชอบใจ ๑ ให้มานะเกิดว่าเราได้เสียงที่ชอบใจ ๑ ให้มานะเกิดว่าเราได้กลิ่นที่ชอบใจ ๑ ให้มานะเกิดว่าเราได้รสที่ชอบใจ ๑ ให้มานะเกิดว่าเราได้โผฏฐัพพะที่ชอบใจ ๑
ทั้ง ๕ ทวาร คือ ทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย เป็นทางที่จะให้เกิดมานะได้หมดเมื่อได้สิ่งที่ชอบใจ เราได้ คนอื่นไม่ได้ หรือเราได้ดีกว่า คนอื่นได้ไม่ดีเท่ากับเรา ไม่ว่าจะเป็นรูป หรือเสียง หรือกลิ่น หรือรส หรือโผฏฐัพพะก็ตาม
มานะ ๖ อย่าง ได้แก่ บุคคลให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งจักษุ ๑ ให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งหู ๑ ให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งจมูก ๑ ให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งลิ้น ๑ ให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งกาย ๑ ให้มานะเกิดเพราะความถึงพร้อมแห่งใจ ๑
ตลอดไปจนกระทั่ง ๖ ทวาร ไม่ใช่แต่เฉพาะทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย เท่านั้น
มานะ ๗ อย่าง ได้แก่ ความถือตัว ๑ ความดูหมิ่น ๑ ความถือตัวและความดูหมิ่น ๑ ความถือตัวต่ำ ๑ ความถือตัวสูง ๑ ความถือตัวว่าเรามั่งมี ๑ ความถือตัวผิด ๑
เป็นเรื่องของความถือตัว ซึ่งทุกคนมีมากน้อยต่างกันว่า จะเป็นผู้ที่ทะนงตน เย่อหยิ่ง หรือถือตัวมากแค่ไหน
มานะ ๘ อย่าง ได้แก่ บุคคลให้ความถือตัวเกิดเพราะลาภ ๑ ให้ความถือตัวต่ำเกิดเพราะความเสื่อมลาภ ๑ ให้ความถือตัวเกิดเพราะยศ ๑ ให้ความถือตัวต่ำเกิดเพราะความเสื่อมยศ ๑ ให้ความถือตัวเกิดเพราะความสรรเสริญ ๑ ให้ความถือตัวต่ำเกิดเพราะความนินทา ๑ ให้ความถือตัวเกิดเพราะสุข ๑ ให้ความถือตัวต่ำเกิดเพราะทุกข์ ๑
นี่ยิ่งแสดงให้เห็นว่า ไม่ใช่แต่เฉพาะโลกธรรมฝ่ายดีเท่านั้นที่ทำให้เกิดมานะ แม้ขณะที่ประสบโลกธรรมฝ่ายไม่ดีก็เกิดมานะด้วย เช่น ให้ความถือตัวเกิดเพราะลาภ ๑ ให้ความถือตัวต่ำเกิดเพราะความเสื่อมลาภ ๑ เวลาต่ำแล้วยังถือตัวได้ว่าเราต่ำแล้ว สมัยนี้ไม่เหมือนสมัยก่อน เป็นต้น ในขณะนั้นก็เป็นมานะ
มานะ ๙ อย่าง ได้แก่ มานะว่าเราดีกว่าคนที่ดี ๑ มานะว่าเราเสมอกับคนที่ดี ๑ มานะว่าเราเลวกว่าคนที่ดี ๑
มานะว่าเราดีกว่าคนที่ดี มีไหม มี ถึงเขาดี เราก็ดีกว่า ถึงเขาเก่ง เราก็ เก่งกว่าได้ เพราะฉะนั้น มานะ ๙ อย่าง ได้แก่
มานะว่าเราดีกว่าคนที่ดี ๑ มานะว่าเราเสมอกับคนที่ดี ๑ มานะว่าเราเลวกว่าคนที่ดี ๑ มานะว่าเราดีกว่าผู้เสมอกัน ๑ มานะว่าเราเสมอกับผู้เสมอกัน ๑ มานะว่าเราเลวกว่าผู้เสมอกัน ๑ มานะว่าเราดีกว่าผู้เลว ๑ มานะว่าเราเสมอกับผู้เลว ๑ มานะว่าเราเลวกว่าผู้เลว ๑
เลวด้วยกัน เราก็เลวกว่า ไม่ว่าจะเลวด้วยวัตถุประการใดๆ ก็ตาม นั่นคือ มานะว่าเราเลวกว่าผู้เลว ต่อไปคือ
มานะ ๑๐ อย่าง ได้แก่ บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังมานะให้เกิดเพราะชาติบ้าง เพราะโคตรบ้าง
ชาติ คือ กำเนิด แต่โคตร คือ สกุล แล้วแต่ว่าเป็นสกุลใหญ่ตั้งแต่ครั้ง อดีตกาลนานมาแล้ว แต่กำเนิดของบุคคลนั้น เป็นผู้ที่เกิดอย่างไร ในฐานะใด ในโคตรนั้น
เพราะความเป็นบุตรแห่งสกุลนั้นบ้าง เพราะความเป็นผู้มีผิวพรรณงามบ้าง เพราะทรัพย์บ้าง เพราะการเชื้อเชิญบ้าง
มีไหม มานะเพราะการเชื้อเชิญ เมื่อไรท่านผู้นั้นจะเชื้อเชิญเรา เขาเชิญเราแล้ว หรือว่าท่านผู้นั้นได้เชิญเราแล้ว ก็มีความสำคัญแม้แต่ในการเชื้อเชิญได้
เพราะบ่อเกิดแห่งการงานบ้าง เพราะบ่อเกิดแห่งศิลปะบ้าง เพราะฐานะแห่งวิชาบ้าง เพราะการศึกษาเล่าเรียนบ้าง เพราะปฏิภาณบ้าง เพราะวัตถุอื่นๆ บ้าง
คือ มากเสียจนไม่สามารถกล่าวได้โดยทั่วจริงๆ แล้วแต่ว่าในขณะนั้นจะมีสภาพธรรมใดเป็นวัตถุเป็นที่ตั้งให้เกิดมานะ แต่ถ้าพิจารณาจริงๆ จะรู้ได้ว่า สภาพของจิตในขณะนั้นเป็นความสำคัญตน
ข้อความต่อไปมีว่า
คำว่า พึงกำหนดรู้มานะ ความว่า พึงกำหนดรู้มานะด้วยปริญญา ๓ คือ ญาตปริญญา ตีรณปริญญา ปหานปริญญา
เป็นเรื่องของวิปัสสนาญาณขั้นต่างๆ ถ้าไม่ใช่เป็นผู้ที่มีปกติเจริญสติปัฏฐาน ย่อมไม่สามารถรู้ลักษณะของมานะได้ เพราะเพียงแต่เข้าใจเรื่องของมานะ และเวลาที่มานะเกิดขึ้นในขณะนั้นก็นึกถึงเรื่องของมานะ แต่ไม่ใช่รู้ลักษณะแท้ๆ ของมานะ ที่กำลังเกิด ถ้าเป็นการรู้ลักษณะแท้ๆ ของมานะที่กำลังเกิด ต้องเพราะสติระลึกลักษณะของมานะที่ปรากฏในขณะนั้นด้วยญาตปริญญา หรือตีรณปริญญา หรือ ปหานปริญญา
ญาตปริญญา เป็นไฉน
นรชนย่อมรู้จักมานะ คือ ย่อมรู้ ย่อมเห็นว่า นี้เป็นมานะอย่างหนึ่ง ได้แก่ ความฟูขึ้นแห่งจิต
คือ ความสำคัญตนมีในขณะใด ขณะนั้นเป็นลักษณะของมานะ ซึ่งลักษณะของมานะสามารถจะเกิดปรากฏให้สติระลึกได้จริงๆ ในวันหนึ่งๆ และถ้าถึงขนาดที่ว่าแข็งราวกับผ้าแข็ง หรือว่ากระด้างราวกับผ้าที่หยาบกระด้าง ขณะนั้นก็รู้ได้เลยว่า เป็นลักษณะของมานะ นอกจากนั้น คือ มานะแต่ละอย่าง ที่ว่า มานะ ๒ อย่าง มานะในการยกตน มานะในการข่มผู้อื่น ฯลฯ และเมื่อรู้ญาตปริญญา คือ ลักษณะของมานะอย่างนี้แล้ว ก็พิจารณามานะโดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ นั่นชื่อว่าเป็นการพิจารณาโดยตีรณปริญญา
ตีรณปริญญา เป็นไฉน
นรชนรู้อย่างนี้แล้ว ย่อมพิจารณามานะโดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ ฯลฯ โดยอุบายเป็นเครื่องสลัดทุกข์ นี้ชื่อว่าตีรณปริญญา
ปหานปริญญาเป็นไฉน
นรชนพิจารณาอย่างนี้แล้ว ย่อมละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มีซึ่งมานะ นี้ชื่อว่าปหานปริญญา
ถ้าฟังเพียงเท่านี้ ดูเหมือนว่าจะหมดกิเลสเร็ว เพราะว่าด้วยญาตปริญญาอย่างไร ด้วยตีรณปริญญาอย่างไร ด้วยปหานปริญญาอย่างไร แต่นี่เป็นการอบรมเจริญขึ้นของวิปัสสนาญาณแต่ละขั้น ซึ่งต้องเริ่มจากสติที่เกิดขึ้นระลึกลักษณะสภาพของมานะที่กำลังปรากฏจริงๆ ในขณะนั้น พิจารณาในสภาพที่ไม่ใช่ตัวตน คือ เป็นแต่เพียงนามธรรมชนิดหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นและดับไป และไม่ใช่พิจารณาเฉพาะมานะอย่างเดียว แม้สภาพธรรมอื่นๆ ซึ่งเป็นนามธรรมและรูปธรรม สติก็ต้องระลึกจนกว่าจะทั่ว ไม่ใช่มุ่งที่จะรู้ลักษณะของมานะอย่างเดียว เพราะการรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตนได้จริงๆ สติจะต้องระลึกและพิจารณาลักษณะของนามธรรมอื่นๆ และรูปธรรมอื่นๆ ด้วย
เพราะฉะนั้น ในชีวิตประจำวันจริงๆ การที่จะละคลายมานะ ไม่ใช่สติจะเกิดขึ้นได้บ่อยๆ ในวันหนึ่งๆ จึงต้องอาศัยการฟังพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงมากๆ โดยประการทั้งปวงที่จะทำให้ไม่หลงลืมที่จะพิจารณาลักษณะของสภาพธรรม
อรรถกถา อภิณหปัจจเวกขณธรรมสูตรที่ ๘ มีข้อความว่า
เพศที่ต่างกันนั้นมี ๒ อย่าง คือ ความมีเพศต่างโดยสรีระ ๑ ความมีเพศต่างโดยบริขาร ๑
การอบรมเจริญปัญญาที่จะดับกิเลสในเพศคฤหัสถ์ สามารถรู้แจ้งอริยสัจธรรมถึงความเป็นพระอรหันต์ได้จริง แต่เมื่อเป็นพระอรหันต์แล้ว จะไม่มีการครองเรือนอีกต่อไป เพราะฉะนั้น ผู้ที่รู้แจ้งอริยสัจธรรมที่จะดำรงเพศความเป็นคฤหัสถ์อยู่ได้ ต้องเป็นพระอริยะขั้นพระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี แต่ผู้ที่บวช ในครั้งที่พระผู้มีพระภาคยังไม่เสด็จดับขันธปรินิพพาน ก็เพื่อให้ถึงความเป็น พระอรหันต์และดำรงอยู่ในเพศบรรพชิต เพราะฉะนั้น ความมีเพศต่างกันของคฤหัสถ์และบรรพชิตมี ๒ อย่าง คือ
ความมีเพศที่ต่างกันนั้นมี ๒ อย่าง คือ ความมีเพศต่างโดยสรีระ ๑ ความมีเพศต่างโดยบริขาร ๑
ความมีเพศที่ต่าง ๒ อย่างนั้น ความมีเพศที่ต่างโดยสรีระ พึงทราบได้ด้วยการปลงผมและหนวด ก็ก่อนบวชแม้นุ่งผ้าก็ต้องใช้ผ้าดีเนื้อละเอียด ย้อมสีต่างๆ แม้บริโภคก็ต้องกินรสอร่อยต่างๆ ใส่ภาชนะทองและเงิน แม้นอน นั่ง ก็ต้องที่นอนที่นั่งอย่างดีในห้องสง่างาม แม้ประกอบยาก็ต้องใช้เนยใสเนยข้นเป็นต้น ตั้งแต่บวชแล้ว จำต้องนุ่งผ้าขาด ผ้าปะ ผ้าย้อมน้ำฝาด จำต้องฉันแต่ข้าวคลุกในบาตรเหล็กหรือบาตรดิน จำต้องนอนแต่บนเตียงลาดด้วยหญ้าเป็นต้น ในเสนาสนะมีโคนไม้เป็นอาทิ จำต้องนั่งบนท่อนหนังและเสื่อลำแพนเป็นต้น จำต้องประกอบยาด้วยน้ำมูตรเน่า เป็นต้น พึงทราบความมีเพศต่างโดยบริขารในข้อนี้ ด้วยประการฉะนี้
ก็บรรพชิตพิจารณาอยู่อย่างนี้ย่อมละโกปะ ความขัดใจ และมานะ ความถือตัวเสียได้
คฤหัสถ์พิจารณาแล้วเห็นความต่างกันไหม ระหว่างเพศของคฤหัสถ์และ เพศของบรรพชิต คฤหัสถ์ใส่เสื้อขาดได้ไหม ใส่เสื้อปะ คงจะไม่สบายใจ แต่สำหรับผู้ที่เป็นบรรพชิต ก่อนบวชแม้นุ่งผ้าก็ต้องใช้ผ้าดีเนื้อละเอียด ย้อมสีต่างๆ แต่เวลาที่บวชแล้ว จำต้องนุ่งผ้าขาด ผ้าปะ ผ้าย้อมน้ำฝาด แสดงว่ามานะลดต่ำลงไปได้ไหม ด้วยบริขาร
ปกติเวลาเป็นคฤหัสถ์ไม่ยอมนุ่งผ้าขาด ผ้าปะ จะต้องย้อมสีต่างๆ และต้องเป็นผ้าดีเนื้อละเอียด แต่เวลาที่เป็นบรรพชิต ผ้าขาด ผ้าปะทั้งนั้น เย็บเป็นชิ้นๆ ต่อกันหมด และเป็นผ้าที่ย้อมน้ำฝาดด้วย ลองเปรียบเทียบดูระหว่างเพศคฤหัสถ์กับ เพศบรรพชิตว่า เป็นเพศบรรพชิตและพิจารณาเนืองๆ บ่อยๆ ย่อมทำให้ละมานะ ความถือตัวเสียได้ ซึ่งแต่ก่อนไม่เคยเป็นอย่างนี้ ผ้าปะ ผ้าขาดใส่ไม่ได้ แต่เมื่อเป็นบรรพชิตแล้ว ผ้าขาด ผ้าปะ ผ้าย้อมน้ำฝาดใส่ได้ แสดงให้เห็นว่า เพศคฤหัสถ์เวลาที่มีบริขาร เครื่องใช้ต่างๆ เป็นทางที่จะทำให้เกิดความสำคัญตน แต่เมื่อบวชแล้ว ย่อมสละความสำคัญตนลงได้แม้ด้วยบริขาร คือ ด้วยจีวรที่ครองอยู่
แม้บริโภคในสมัยที่เป็นคฤหัสถ์ ก็ต้องกินรสอร่อยต่างๆ เลือกแล้วเลือกอีก กว่าอาหารที่อร่อยจะเสร็จ อย่าลืม อกุศลจิตเกิดเท่าไร ใส่ภาชนะทองและเงิน ภาชนะทองและเงินนั้นกว่าจะเป็นภาชนะทองและเงินที่ใส่อาหาร อกุศลจิตเกิดเท่าไร ที่จะให้เป็นภาชนะทองและเงินที่สวยๆ งามๆ สำหรับใส่อาหารบริโภค แต่เมื่อเป็นบรรพชิตแล้ว จำต้องฉันแต่ข้าวคลุกในบาตรเหล็กหรือบาตรดิน
เพราะฉะนั้น ให้นึกถึงสภาพของผู้ที่กำลังฉันข้าวคลุกในบาตรเหล็กหรือ บาตรดินว่า ความสำคัญตนในที่นั้นจะลดน้อยลงไปจากเพศของคฤหัสถ์จนกระทั่งสามารถฉันข้าวที่คลุกในบาตรเหล็กหรือบาตรดินได้
คฤหัสถ์ลองสักวันได้ไหม จานธรรมดาๆ จานสังกะสี หรือจานกระเบื้องธรรมดา และเป็นข้าวคลุก คล้ายๆ กับอาหารในบาตร จะขัดใจ โกปะ โกรธ มานะว่า นี่ตัวฉัน และจานข้าวอย่างนี้หรือ นั่นคือลักษณะของมานะ
ลองคิดดูว่า อยากจะดับมานะไหม ถ้าไม่อยาก ก็เพียบพร้อมไปด้วยมานะอย่างเดิม และเพิ่มพูนขึ้นด้วย แต่ถ้าสามารถพิจารณา และไม่เห็นความสำคัญอะไรกับการที่จะบริโภคอย่างไร หรือว่าละคลายเครื่องประดับตบแต่งหรือการที่จะสำคัญตนในสิ่งหนึ่งสิ่งใดแม้แต่ในเพศของคฤหัสถ์ ย่อมเป็นการสะสมการละคลายมานะ แม้ว่ายังไม่ใช่เพศบรรพชิต
ขอให้ทุกท่านพิจารณาสำรวจเพศคฤหัสถ์ นอน นั่ง ก็ต้องที่นอนที่นั่งอย่างดี ในห้องสง่างาม ถ้าไม่บอก ก็ไม่คิดว่าเป็นมานะที่จำต้องมีอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ทำไมจำต้องมีอย่างนั้นอย่างนี้ เพราะอะไร ก็เพราะมานะนั่นเองที่จำต้องมีอย่างนั้นอย่างนี้ในห้องสง่างาม แต่ว่าเวลาที่เป็นบรรพชิต จำต้องนอนแต่บนเตียงลาดด้วยหญ้าเป็นต้น ในเสนาสนะมีโคนไม้เป็นอาทิ จำต้องนั่งบนท่อนหนังและเสื่อลำแพนเป็นต้น
ถ้าสติเกิดจริงๆ ระลึกลักษณะสภาพแข็งในห้องสง่างาม หรือว่าโคนไม้ หรือว่าบนท่อนหนัง หรือเสื่อลำแพน เหมือนกันไหมลักษณะที่แข็ง ไม่มีความต่างกันเลย เพราะฉะนั้น อย่าลืม บัญญัติที่ทำให้รู้ว่าสิ่งที่ปรากฏนั้นเป็นอะไร ทำให้เป็นวัตถุที่ตั้ง ที่เกิดของมานะด้วย แต่ถ้าเป็นปรมัตถธรรม ไม่ว่าจะเป็นห้องที่สง่างาม หรือว่า เป็นท่อนหนัง เสื่อลำแพน ลักษณะที่ปรากฏ คือ แข็ง เท่านั้นเอง
สำหรับยาของคฤหัสถ์ ต้องใช้เนยใสเนยข้นอย่างดีเป็นต้น แต่ว่าสำหรับบรรพชิต จำต้องประกอบยาด้วยน้ำมูตรเน่าเป็นต้น
น้ำมูตร คือ น้ำปัสสาวะ แม้ว่าเป็นของใหม่สดก็ชื่อว่าเน่า เพราะกลิ่น ที่ว่า น้ำมูตรเน่า ไม่ได้หมายความว่าเอาไปดองไปทำให้เน่า แม้เป็นน้ำปัสสาวะใหม่ ก็ชื่อว่าน้ำมูตรเน่า เพราะกลิ่นที่ไม่สะอาด จึงชื่อว่าน้ำมูตรเน่า
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๑๓๕๑ – ๑๓๖๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1321
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1322
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1323
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1324
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1325
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1326
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1327
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1328
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1329
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1330
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1331
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1332
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1333
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1334
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1335
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1336
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1337
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1338
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1339
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1340
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1341
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1342
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1343
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1344
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1345
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1346
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1347
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1348
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1349
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1350
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1351
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1352
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1353
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1354
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1355
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1356
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1357
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1358
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1359
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1360
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1361
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1362
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1363
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1364
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1365
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1366
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1367
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1368
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1369
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1370
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1371
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1372
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1373
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1374
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1375
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1376
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1377
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1378
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1379
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1380