แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1358
ครั้งที่ ๑๓๕๘
สาระสำคัญ
ขุ.มหา.ชราสุตตนิทเทสที่ ๖ - มานะเป็นสิ่งที่ควรละ
ฟังให้เข้าใจไม่ใช่ว่าทำอย่างไร
ที่ห้องประชุมตึกสภาการศึกษา มหามกุฏราชวิทยาลัย
วันอาทิตย์ที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๒๗
บรรพชิตพึงพิจารณาอย่างนี้ว่า ความเป็นอยู่ด้วยปัจจัย ๔ จำต้องเกี่ยวเนื่องในผู้อื่น อิริยาบถก็สมควร อาชีวะ การเลี้ยงชีพก็บริสุทธิ์ ทั้งเป็นอันเคารพยำเกรงบิณฑบาต ชื่อว่าเป็นผู้บริโภคไม่พิจารณาในปัจจัย ๔ ก็หามิได้
เพราะฉะนั้น คฤหัสถ์ยังไม่ถึงเพศบรรพชิตก็จริง แต่ละคลายความสำคัญตนลงได้มากเท่าไร ก็ยิ่งเป็นประโยชน์แก่ตนเองเท่านั้น
ขุททกนิกาย มหานิทเทส ชราสุตตนิทเทสที่ ๖ ข้อ ๑๙๑
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
บุรุษย่อมสำคัญเบญจขันธ์ใดว่า นี้ของเรา เบญจขันธ์นั้นอันบุรุษนั้นย่อมละไปแม้เพราะความตาย
ที่สำคัญทั้งหมดว่าเรา ด้วยโลภะหรือตัณหา คือ พอใจในสิ่งที่มี หรือว่า เราด้วยมานะ ด้วยความสำคัญตนก็ตาม ทุกคนย่อมละไปด้วยความตาย คือ อย่างไรๆ ก็ต้องจากสิ่งที่เคยสำคัญตน หรือสิ่งที่เคยเป็นที่พอใจว่าของเรา
ข้อความต่อไปมีว่า
พุทธมามกะผู้เป็นบัณฑิต รู้เห็นโทษแม้นั้นแล้ว ไม่ควรน้อมไปเพื่อความยึดถือว่าของเรา ... ฯลฯ
โภคสมบัติทั้งหลายย่อมละทิ้งสัตว์ไปก่อนบ้าง สัตว์ย่อมละทิ้งโภคสมบัติเหล่านั้นไปก่อนบ้าง ดูกร โจรราชผู้ใคร่กาม พวกชนเป็นผู้มีโภคสมบัติมิได้เที่ยง เพราะฉะนั้น เราจึงไม่เศร้าโศกในเวลาเศร้าโศก ดวงจันทร์ย่อมขึ้น ย่อมเต็มดวง ย่อมเสื่อมสิ้นไป ดวงอาทิตย์อัสดงคตแล้ว ย่อมจากไป ดูกร ศัตรู โลกธรรมทั้งหลายเรารู้แล้ว เพราะฉะนั้น เราจึงไม่เศร้าโศกในเวลาโศก
ซึ่งความจริงยังไม่ต้องถึงกับจะจากไปด้วยความตาย แต่ทุกขณะที่พลัดพรากจากไป คือ ดับสิ้นไป ก็จากขันธ์ คือ สิ่งที่ยึดถือว่าเป็นเรา เมื่อกี้นี้ยึดถือขันธ์ใดว่าเป็นเราด้วยความพอใจ ขันธ์นั้นดับแล้ว เมื่อสักครู่นี้ยึดถือขันธ์ใดด้วยมานะ ความสำคัญตน ขันธ์นั้นดับแล้ว เพราะฉะนั้น ขันธ์ที่เกิดก่อนก็ดี ขันธ์ที่เกิดในภายหลังก็ดี มิได้เห็นกันและกันในกาลไหนๆ
จักขุวิญญาณที่ดับไป ก็ไม่ได้พบเห็นกับจักขุวิญญาณที่กำลังเห็นในขณะนี้เลย ฉะนั้น ชีวิตจึงชื่อว่าเป็นของน้อย เพราะมีกิจน้อยอย่างนี้ คือ เกิดขึ้นเพียงชั่วขณะเดียวและดับไป เกิดขึ้นกระทำกิจอย่างใดอย่างหนึ่งและดับไป ไม่ว่าจะเป็นกิจเห็น กิจได้ยิน กิจได้กลิ่น กิจลิ้มรส กิจรู้สิ่งที่กำลังกระทบสัมผัส กิจคิดนึก ก็ดับหมดสิ้นไป แต่ละขันธ์ๆ ที่เกิดร่วมกัน ก็ดับไปพร้อมกัน
และอย่าลืมที่จะพิจารณาว่า ขันธ์ที่เกิดก่อนก็ดี ขันธ์ที่เกิดในภายหลังก็ดี มิได้เห็นกันและกันในกาลไหนๆ เพราะฉะนั้น ชีวิตดำรงอยู่เพียงชั่วขณะจิตเดียว เท่านั้นเอง สำหรับทุกคน
ข้อ ๑๙๖
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
บุรุษตื่นแล้วย่อมไม่เห็นสิ่งที่มาประจวบด้วยความฝัน แม้ฉันใด ใครๆ ก็ไม่เห็นชนที่รักซึ่งตายจากไปแล้ว แม้ฉันนั้น
ชนที่รัก มีมารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่สาว น้องสาว บุตร ธิดา มิตรสหาย พวกพ้อง และญาติ เป็นต้น
ข้อ ๒๐๑
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ชนทั้งหลายที่เห็นกันก็ดี ที่ได้ยินชื่อเรียกกันก็ดี ชนเหล่านั้นที่จากไปแล้ว ยังเหลือแต่ชื่อเท่านั้นที่พูดถึงกันอยู่
มีแต่ชื่อจริงๆ ขันธ์ไม่มีแล้ว เพราะทันทีที่จุติจิตดับ ปฏิสนธิจิตเกิดต่อเป็นบุคคลใหม่มีชื่อใหม่แล้ว เพราะฉะนั้น เพียงชื่อเก่าเท่านั้นที่ยังเหลืออยู่ ที่ทำให้พูดถึงบุคคลนั้นบุคคลนี้ได้ ก็เป็นแต่เพียงชื่อของบุคคลนั้นบุคคลนี้เท่านั้น
มีใครที่ยังคิดว่า มานะเป็นสิ่งที่ดีบ้างไหม
ขณะที่ให้ทาน ซึ่งท่านผู้ฟังท่านหนึ่งเคยบอกว่า มักจะมีการเปรียบเทียบก่อนว่า เรามีมากกว่าหรือเราดีกว่าแล้วจึงให้ แต่ตามความเป็นจริง คิดถึงกรรมแทนที่จะคิดว่าเราดีกว่า ได้ไหม คือ ไม่ว่าจะเห็นอะไรก็ตาม ที่เป็นการได้ลาภ หรือเสื่อมลาภก็ตามแต่ ก็ระลึกถึงกรรมว่า ขณะที่ใครได้ลาภ ก็เป็นเพราะผลของกุศลกรรมของบุคคลนั้น ขณะใดที่ใครเสื่อมลาภ ก็เห็นว่ากำลังตกทุกข์ได้ยาก เป็นผู้ที่ควรแก่การสงสาร ควรที่จะเกื้อกูล ในขณะนั้นก็เป็นการพิจารณาถึงกรรมว่า เมื่ออกุศลกรรมให้ผล ก็ต้องเป็นอย่างนี้ๆ แทนที่จะคิดว่าเราดีกว่า หรือเรามีมากกว่า แต่ระลึกถึงกรรมที่ทำให้วิบากของกรรมนั้นปรากฏในขณะนั้น และสงเคราะห์ช่วยเหลือเกื้อกูล ดีกว่า ที่จะเกิดการเปรียบเทียบว่า เราดีกว่า
เราดีกว่านี่ จะดีกว่าอีกนานสักเท่าไร ไม่มีใครสามารถที่จะรับรองได้ว่า จะเป็นกี่วัน กี่เดือน กี่ปี เพราะธรรมทุกอย่างไม่เที่ยง เกิดขึ้นและดับไป
ถ. ที่อาจารย์กล่าวว่า มีมานะถือว่าเราเลวกว่าเขา จะกล่าวได้ไหมว่า เป็นการถ่อมตัว
สุ. สภาพธรรมที่ตรงกันข้ามกับมานะ คือ ความอ่อนน้อม ซึ่งต่างจาก การเปรียบเทียบและมีความสำคัญตนเกิดขึ้นว่า เราเลวกว่าเขา มีความรู้สึกสำคัญ ในตน เป็นอัสมิมานะว่าเรา และในขณะที่มีความสำคัญตนเป็นอัสมิมานะว่าเรา ก็มีการเปรียบเทียบว่า เราเลวกว่าคนนั้น ซึ่งในขณะนั้นมีลักษณะของอัสมิมานะอยู่ และยังเปรียบเทียบทำให้เกิดมานะอื่นต่อๆ ไป เช่น โอมานะ ว่าเราต่ำกว่า หรืออติมานะ ว่าเราสูงกว่า
เห็นลักษณะของสภาพที่อ่อนน้อม ที่ตรงกันข้ามกับมานะไหม
ถ. เห็น
สุ. ไม่ใช่การเปรียบเทียบ
ถ. สมมติว่า ทานอาหาร เราคิดว่า เราไม่ใช่คนมั่งมีอย่างเขา เราทานอย่างนี้ก็แล้วกัน เป็นมานะไหม
สุ. เป็น ทำไมต้องคิดว่า เราไม่มั่งมีอย่างเขา เราจะรับประทานอะไร เรา ก็รับประทานเลยไม่ได้หรือ
ถ. เพื่อเตือนตัวเองว่า อย่าได้ฟุ้งเฟ้อทำตัวแบบเขา
สุ. มิได้ ถ้าเรามีน้อย และเราก็ใช้น้อยด้วยความสบายใจ เป็นผู้ที่ไม่คิดเปรียบเทียบกับคนนั้นคนนี้ ถ้าเห็นคนตกทุกข์ได้ยาก แม้เราจะเป็นคนที่มีน้อยและ มีทุกข์เหมือนกัน เราก็ยังจะเห็นกรรมของคนอื่นได้ โดยไม่เปรียบเทียบ
ถ. อดไม่ได้ที่จะเปรียบเทียบ
สุ. เมื่ออดไม่ได้ ก็รู้ว่าอัสมิมานะเป็นมูล เป็นเหตุของมานะอื่นๆ ทั้งหมด เพราะฉะนั้น พยายามสังเกตลักษณะของอัสมิมานะก่อน คือ ความสำคัญว่าเรา ในขันธ์ ๕ คือ ในนามธรรมและรูปธรรมที่ภายในของเราเอง บางครั้งไม่มีคนอื่นเปรียบเทียบเลย แต่ว่ามีความเป็นเรา โดยที่ยังไม่ได้นึกถึงว่าเลวกว่า หรือดีกว่า หรือเสมอกัน แต่ในขณะนั้นเกิดความสำคัญว่าเป็นเราขึ้นได้ บางคนอาจจะบอกว่า เราเป็นใคร นั่นมานะหรือเปล่า ยังไม่ได้เปรียบเทียบเลย แต่ว่าเราเป็นใคร ก็คือมานะ
ถ. สรุปแล้ว ทุกฝีก้าวเลย
สุ. ไม่ควรจะเป็นทุกฝีก้าว เพราะผู้ที่อ่อนน้อมมี ผู้ที่สะสมความเป็นผู้ที่อ่อนโยนมี ผู้ที่สะสมความเป็นผู้มีเมตตา คือ ความสนิทสนมโดยไม่มีช่องว่างจริงๆ ด้วยความจริงใจ มีไมตรีกับบุคคลทุกระดับ ทุกชั้น ทุกขั้น ไม่ว่าผู้ที่สูง หรือผู้ที่ ปานกลาง หรือผู้ที่ต่ำ ก็สามารถที่จะเป็นมิตรจริงๆ
ขอยกตัวอย่างคนในบ้าน ถ้าเป็นผู้ที่ช่วยทำกิจการงานในบ้าน ซึ่งบางท่านอาจจะเรียกว่า ผู้รับใช้ ในอดีตจะใช้คำว่า ทาสกรรมกร แต่อีกสังคมหนึ่ง เช่น ชาวต่างประเทศ ไม่ชอบคำนี้เลย จะใช้คำว่า ผู้ช่วย เพราะเขามีความรู้สึก ความเสมอกันมากในเรื่องของความเป็นอยู่ ในเรื่องของความรู้ต่างๆ
ซึ่งฟังดูก็รู้สึกว่าเป็นการดี แทนที่จะคิดว่าเป็นผู้รับใช้ ก็คิดว่าเป็นผู้ช่วย จริงๆ แล้วในพระไตรปิฎกใช้คำว่า ผู้อนุเคราะห์ เพราะถ้าขาดเขา เราไม่มีสุขแน่ เขาเป็นผู้ที่อนุเคราะห์ทำความสุขให้แก่เรามากมายหลายอย่าง ทำให้เรามีโอกาส เจริญกุศลด้านอื่นๆ ด้วยความสะดวกสบาย เพราะฉะนั้น ถ้ามีเมตตาจริงๆ และรู้ว่าอกุศลกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดทำให้ผู้นั้นตกทุกข์ได้ยาก เพราะการเกิดเป็นมนุษย์เป็นผลของกุศลกรรมแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นอย่างอ่อน อย่างกลาง อย่างประณีตก็ตาม ถ้าเป็นกุศลกรรมอย่างอ่อน เกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว ก็เป็นโอกาสที่จะให้อกุศลกรรมมาเบียดเบียนได้ตั้งแต่เป็นผู้ที่พิกลพิการตั้งแต่กำเนิด ซึ่งนั่นไม่ใช่ผลของกุศล แต่เป็นผลของอกุศลที่ตามมาเบียดเบียนทำให้เป็นผู้ที่พิการตั้งแต่กำเนิดได้ หรือถ้าไม่เป็นผู้พิการตั้งแต่กำเนิด ก็เป็นผู้ที่ขาดทรัพย์ ขาดวิชาความรู้ ขาดอะไรหลายๆ อย่าง นั่นก็เป็นกรรมซึ่งแต่ละคนกระทำมา ซึ่งทุกท่านเองก็มีอกุศลกรรมอย่างนั้น เพียงแต่ว่ายังไม่ได้ให้ผล
เพราะฉะนั้น ถ้าพิจารณากรรมแล้ว คนอื่นก็คือตัวท่านในอดีตหรือในอนาคต ซึ่งปัจจุบันนี้ท่านยังไม่ได้เป็นอย่างนั้น ก็จะมีความเห็นใจ มีความเข้าใจ และ มีความเป็นมิตรสนิทสนมจริงๆ ซึ่งอย่างนั้นก็ไม่ใช่มานะ ไม่ใช่หมายความว่า ทุกคนจะต้องมีมานะอยู่เรื่อยๆ มากๆ แต่ต้องสังเกต เวลาที่มานะเกิดขึ้นเมื่อไร ให้รู้ทันที และรู้ได้ว่าขณะนั้นเป็นความสำคัญตน ว่าเรา
ถ้าเป็นผู้ที่ยังติดในลาภ ในยศ ในสุข ในสรรเสริญ และเป็นผู้ที่ได้ลาภ ได้ยศ ได้สุข ได้สรรเสริญ แต่เพิ่มมานะ ก็น่าเสียดายจริงๆ เพราะแทนที่จะระลึกถึงกรรม และเป็นผู้ที่ขัดเกลาไม่ให้ติด กุศลวิบากต่างๆ กลับเป็นปัจจัยให้อกุศลเพิ่มพูนขึ้น เพราะฉะนั้น ต้องเป็นผู้ละเอียดที่จะแยกในเรื่องของวิบาก ซึ่งเป็นผลของกรรม และ ในเหตุปัจจุบัน ที่จะต้องละคลายอกุศลต่างๆ ด้วย
ถ. เวลาเราทำงาน เป็นหน้าที่ เพื่อเราจะได้มียศศักดิ์ มีตำแหน่ง อย่างนี้ถือว่าเป็นกิเลสหรือเปล่า
สุ. และมีมนุษย์สัมพันธ์ได้ไหม ไม่ว่าหน้าที่การงานจะใหญ่โตอย่างไร ก็มีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นในทางที่เหมือนญาติสนิทก็ได้ อย่างนั้นก็ไม่เป็นมานะ
พระอรหันต์ย่อมเห็นโทษแม้เพียงเล็กน้อยของอกุศล โลภะสักนิดสักหน่อย หรือโทสะที่เป็นแต่เพียงความหงุดหงิด ความรำคาญใจแม้เล็กน้อย ผู้ที่เป็น พระอริยบุคคลย่อมเห็นว่า อกุศลธรรมเป็นอกุศลธรรม เป็นธรรมที่ต้องละให้หมดสิ้น แต่สำหรับผู้ที่ยังเป็นปุถุชน เพราะปัญญายังไม่ได้รู้แจ้งแทงตลอดในลักษณะของ สภาพธรรมตามความเป็นจริง และอกุศลธรรมในสังสารวัฏฏ์ก็สะสมมามากมาย ทุกอย่าง เพราะฉะนั้น สิ่งใดที่พระอรหันต์ หรือพระอนาคามี พระสกทาคามี พระโสดาบัน ซึ่งเป็นพระอริยบุคคล ท่านเห็นว่าควรอบรมเจริญเพื่อละ เพื่อดับเป็นสมุจเฉท ปุถุชนก็ยังเห็นว่า เป็นสิ่งที่ไม่สามารถละหรือเลิกได้ ต้องอาศัยการฟัง พระธรรมและอบรมเจริญปัญญาจริงๆ จนกว่าปัญญาที่รู้แจ้งสภาพธรรมตามความเป็นจริงจะเกิดขึ้น จึงจะดับกิเลสได้ แต่ไม่ใช่ว่าจะพยายามดับกิเลสด้วยวิธีอื่นโดย ไม่อบรมเจริญปัญญา
และมักจะมีคำถามว่า ทำอย่างไรจะดับกิเลสบ้าง จะทำปัญญาบ้าง ซึ่ง ดิฉันก็เรียนว่า ต้องฟัง ผู้นั้นก็คงจะคิดว่า การฟังไม่ได้เกี่ยวกับการทำสักนิดเดียว ถามว่าทำอย่างไร กลับบอกให้ฟัง
แต่ถ้าไม่ฟังก่อน จะเข้าใจอะไรได้ เมื่อเข้าใจไม่ได้ สติปัฏฐานหรือปัญญาจะเกิดเจริญขึ้นได้อย่างไร ไม่ใช่บอกให้ทำสติ เพราะไม่มีตัวตนที่จะทำสติ แต่ต้องเข้าใจว่าสติคืออะไร ลักษณะของสติเป็นอย่างไร
สติจะเกิดได้ก็โดยอาศัยความเข้าใจลักษณะของสิ่งที่สติจะระลึกให้ถูกต้องก่อน จึงจะเป็นสังขารขันธ์ที่ปรุงแต่งให้สัมมาสติระลึกได้ เพราะฉะนั้น เหตุจริงๆ คือ การฟังเพื่อให้เข้าใจ เพื่อเป็นสังขารขันธ์ปรุงแต่งให้สัมมาสติระลึก และปัญญาศึกษา จนกว่าปัญญาจะเจริญขึ้น
เพราะฉะนั้น เหตุจริงๆ คือ ฟังให้เข้าใจ ไม่ใช่ว่าทำอย่างไร ถ้าใครยังถามว่า ทำอย่างไร หมายความว่ายังไม่เข้าใจพระธรรมที่ทรงแสดงว่า สภาพธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา สภาพธรรมทุกอย่างที่จะเกิดขึ้นก็เป็นเพราะเหตุปัจจัย แม้แต่ปัญญาตามลำดับขั้น ก็จะต้องอาศัยการอบรมเจริญตามลำดับขั้น ซึ่งเริ่มจากการฟังให้เข้าใจจริงๆ
ในคราวก่อนเป็นเรื่องของมานะซึ่งทุกคนมี เว้นแต่พระอรหันต์บุคคลเท่านั้นที่ ไม่มีมานะ แต่ไม่ใช่เห็นว่าผู้ใดที่ยังไม่ใช่พระอรหันต์ยังละมานะไม่ได้ ก็มีมานะไป ไม่ใช่อย่างนั้น เพราะถ้าได้เข้าใจลักษณะของมานะ และเริ่มเห็นโทษของมานะ จะ ทำให้กุศลธรรมอื่นๆ เจริญขึ้น เพื่อที่จะลด คลายมานะลง
สำหรับมานะ คือ ความสำคัญตน ความเย่อหยิ่ง ความทะนง การยกตน การข่มบุคคลอื่นด้วยการกระทำทางกาย ทางวาจา หรือแม้ด้วยใจ ย่อมมีอัสมิมานะเป็นมูล
คำว่า อัสมิ คือ เรา ซึ่งความรู้สึกว่าเป็นเรา เป็นไปด้วยตัณหา ความพอใจ ก็ได้ เป็นไปด้วยมานะ ความสำคัญตนก็ได้ เป็นไปด้วยทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดก็ได้ เพียงแต่มีความรู้สึกว่าเราเกิดขึ้น แต่ถ้าพิจารณาจะเห็นได้ว่า บางครั้งเป็นเราเพราะ โลภะ บางครั้งเป็นเราเพราะมานะ บางครั้งเป็นเราเพราะทิฏฐิ
ทุกคนเกิดมาแล้ว มีโลภะในธรรมภายในและธรรมภายนอก ธรรมภายใน คือ ที่ตัว มีความพอใจในขันธ์ที่เป็นของเรา มีใครไม่ต้องการบ้างไหม นามธรรมและรูปธรรมที่ตัวที่ถือว่าเป็นของเรา บางคนพอใจแม้แต่ชื่อ ก็ของเราด้วย ชื่อเป็นแต่เพียงบัญญัติให้รู้ว่าหมายความถึงขันธ์ ๕ ที่สมมติว่าเป็นบุคคลใดเท่านั้นเอง มีทั้งชื่อเล่น มีทั้งชื่อจริง มีทั้งชื่อที่คนอื่นตั้งสมัญญาให้ แต่แม้อย่างนั้นเพียงบัญญัติโลภะก็ยังพอใจได้ในชื่อว่า เป็นชื่อเรา
เพราะฉะนั้น ความสำคัญตนด้วยโลภะ มีทั้งปรมัตถธรรมในภายในที่ตัวเอง มีทั้งบัญญัติ และมีทั้งภายนอกด้วย
สำหรับความสำคัญตน หรือเราด้วยมานะ เป็นเฉพาะภายใน คือ ที่ตัวเรา หรือว่าแต่ละบุคคลเท่านั้น
สำหรับความเห็นผิดว่า นั่นเป็นตัวเรา ก็มีทั้งภายในและภายนอกด้วย
สำหรับมานะอื่นๆ นอกจากอัสมิมานะ มีสมบัติและวิบัติของคนอื่นเป็นวัตถุ คือ เป็นสิ่งที่ทำให้เกิด แต่สำหรับอัสมิมานะนั้น มีโลภมูลจิตเป็นเหตุใกล้ให้เกิด เพราะเป็นความสำคัญตนในนามธรรมและรูปธรรมที่เกิดขึ้น
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๑๓๕๑ – ๑๓๖๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1321
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1322
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1323
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1324
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1325
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1326
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1327
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1328
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1329
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1330
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1331
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1332
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1333
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1334
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1335
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1336
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1337
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1338
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1339
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1340
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1341
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1342
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1343
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1344
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1345
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1346
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1347
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1348
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1349
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1350
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1351
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1352
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1353
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1354
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1355
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1356
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1357
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1358
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1359
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1360
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1361
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1362
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1363
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1364
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1365
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1366
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1367
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1368
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1369
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1370
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1371
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1372
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1373
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1374
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1375
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1376
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1377
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1378
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1379
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1380