รวมสติปัฎฐาน ตอนที่ 041


    ตอนที่ ๔๑

    ท่านอาจารย์ วิการรูปมีอะไรบ้าง วิการรูป ได้แก่ รูปที่เบา รูปที่อ่อน รูปที่ควรแก่การงานของมหาภูตรูปทั้ง ๔ ถ้าไม่มีมหาภูตรูป อุปาทายรูปทั้ง ๒๔ รูปจะมีไม่ได้เลย อุปาทายรูปเป็นรูปที่อาศัยเกิดกับมหาภูตรูปบ้าง หรือเป็นอาการอ่อน อาการเบา อาการควรแก่การงานของมหาภูตรูปบ้าง

    อย่างเช่น ทองแข็งๆ พอไปถูกไฟเข้าก็อ่อน แยกความอ่อนออกจากทองได้ไหม ไม่ได้ ฉันใด วิการรูปก็ฉันนั้น เป็นลักษณะอาการของธาตุดิน น้ำ ไฟ ลม ที่บางครั้งเกิดจากจิต บางครั้งเกิดจากอาหาร บางครั้งเกิดจากอุตุ มีความเบา มีความอ่อน มีความควรแก่การงาน แต่ไม่ใช่แยกออกไปจากมหาภูตรูปเลย เป็นอาการของมหาภูตรูป (แม้ทองจะเปลี่ยนสภาพเป็นอ่อน แต่ทองก็ไม่มีวิการรูป เพราะวิการรูป ๓ เป็นรูปที่เกิดภายในสัตว์บุคคลเท่านั้น) แล้วที่กล่าวว่ารูปนั่ง นอน ยืน เดิน เป็นวิการรูปนั้น ลักษณะของวิการรูปบอกแล้วว่า ลักษณะที่อ่อน ลักษณะที่เบา ลักษณะที่ควรของมหาภูตรูปในขณะนั้น เวลานี้ถ้าใครจะแยกกระจายมหาภูตรูปที่อยู่รวมกันติดๆ กันย่อยกระจายออกไปเป็นส่วนเล็กๆ ก็ยังปรากฏลักษณะให้รู้ได้คือ ธาตุดินที่มีลักษณะอ่อน หรือแข็ง ถึงจะแยกออกไป กระจัดกระจายไม่ให้ทรงรวมตั้งอยู่ในลักษณะที่นั่ง หรือนอน หรือยืน หรือเดินก็ตาม รูปนั้นยังมีลักษณะอ่อน หรือแข็ง เวลานี้ที่ทุกท่านก็เห็นว่าการที่รูปมาประชุมรวมกันที่จะทรงอยู่ในลักษณะที่นั่ง ไม่ใช่รูปเดียวใช่ไหม ต้องมีรูปมากมายหลายรูป มาประชุมรวมกัน ตั้งอยู่ ทรงอยู่ในลักษณะหนึ่ง ก็สมมติรู้ว่าลักษณะนั้นเป็นลักษณะที่นั่ง ไม่ว่าจะเป็นคน หรือเป็นโต๊ะเป็นเก้าอี้ก็ได้ จับเก้าอี้นอนลงไป คนนอนลงไป ก็ต้องเป็นสิ่งที่มันประชุมรวมกัน แล้วก็ทรงอยู่ ตั้งอยู่ ในลักษณะที่เข้าใจว่าลักษณะนั้นเป็นการนั่ง ตั้งอยู่ ลักษณะนั้นเป็นการนอน แต่ถ้าย่อยแตกกระจายรูปทุกรูปที่รวมกันอยู่ออกแล้วลักษณะแข็งก็ยังมีที่รูป ลักษณะเย็นก็ยังมีที่รูป คือธาตุดินน้ำไฟลมก็ยังมีลักษณะของตนปรากฏอยู่ สีกลิ่นรสโอชาก็ยังมีรวมอยู่ในรูปนั้นๆ แต่ว่ารูปนั้นจะกล่าวได้ไหมว่านั่ง หรือนอน หรือยืน หรือเดิน เมื่อแยกย่อยรูปออกไปให้ละเอียดแล้ว ยังจะกล่าวได้ไหมว่า รูปนั้นนั่ง รูปที่แข็ง หรืออ่อน ร้อน หรือเย็นนั่นแหละ แยกกระจายออกไปละเอียดแล้วกล่าวได้ไหมว่านั่งอยู่ ไม่ได้กล่าวได้ไหมว่านอน ไม่ได้ กล่าวได้ไม่ว่ายืน ไม่ได้ กล่าวได้ไหมว่าเดิน ไม่ได้ ก็เป็นรูปที่มองเห็นอยู่ หมายความว่า รูปมีลักษณะของตนปรากฏเป็นของจริง ก็ปรากฏลักษณะนั้น อย่างธาตุดินนน้ำไฟลม ความอ่อนความแข็ง ความเย็นความร้อน เครื่องเคร่งตึงไหวเหล่านี้ มีลักษณะจริงๆ ถึงจะย่อยแตกออกไป ไม่มาเกาะกลุ่มรวมกันอยู่ที่จะทำให้เข้าใจว่าเป็นอิริยาบถหนึ่ง อิริยาบถใด รูปนั้นก็มีลักษณะจริงๆ ปรากฏ เพราะฉะนั้นความเบา ความอ่อน ความควรของมหาภูตรูปที่กายที่ประชุมรวมกัน ทรงอยู่ ตั้งอยู่ ไม่ว่าจะเป็นอิริยาบถใดก็ตาม ก็เป็นลักษณะของมหาภูตรูปที่เบา ที่อ่อน ที่ควรแก่การงาน

    ผู้ฟัง ที่ท่านกล่าวถึงวิการรูป ท่านอาจจะหมายถึงว่า รูปทั้งหมดที่ประชุมรวมกันอยู่นี้ เพราะวิการรูปนี้เองจึงทำให้รูปนี้สามารถจะทรงอยู่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง คือ เดิน นั่ง นอน หรือยืนอย่างนี้เป็นต้น จะถูกต้องไหม

    ท่านอาจารย์ เก้าอี้ก็อยู่ในท่านั่ง หรือรูปนั่ง มีวิการรูปไหม ไม่มี เพราะฉะนั้น เป็นผู้รู้ลักษณะของรูปที่ต่างกันว่า ธาตุดินบางส่วนไม่มีความเบา ไม่มีความอ่อน ไม่มีความควรแก่การงาน มหาภูตรูปส่วนใดไม่มีลักษณะที่อ่อน ที่เบา ที่ควร เป็นการรู้ชัดในลักษณะของมหาภูตรูปก่อนแล้วก็รู้ชัดในลักษณะที่เบา ที่อ่อน ที่ควรแก่การงาน เคยเข้าใจผิดยึดถือรูปที่ประชุมรวมกันทรงอยู่ในท่าหนึ่งท่าใดเป็นวิการรูป ไม่ได้ ลองกระจายรูปออกไปสิ รูปก็เป็นลักษณะของรูปที่ปรากฏให้รู้ได้ สัมผัสได้ กระทบได้ แต่นั่งนอนยืนเดินไม่มี ในนามรูปปริจเฉทญาณนั้น ความที่เคยเห็นผิดยึดถือว่าเป็นตัวตนนั่งอยู่ ไม่มี นอนยืนเดินทั้งหมด ไม่มี จะเห็นชัดจริงๆ ว่าความที่เคยเข้าใจผิดว่าสิ่งนั้นมี สิ่งนั้นกลับไม่มี แต่ว่ามีสิ่งที่ปรากฏลักษณะจริงๆ ที่ไม่ปรากฏติดต่อกันทั้ง ๖ โลกเหมือนอย่างโลกที่กำลังปรากฏในขณะนี้ ที่เคยเข้าใจยึดถือรูปที่ประชุมรวมกันทรงอยู่ในท่าหนึ่งท่าใดคิดว่าท่านั้นมี แต่ว่าในนามรูปปริจเฉทญณนั้นไม่มี เพราะเหตุว่า มีลักษณะของรูปแต่ละรูปที่ปรากฏแต่ละลักษณะโดยสภาพที่ไม่ใช่ตัวตน แล้วแต่ว่าผู้นั้นจะประจักษ์ลักษณะของนามกี่ชนิด รูปกี่ชนิด สืบต่อกันทีละ ๑ ชนิด โดยลักษณะที่ไม่ใช่ตัวตน ที่ไม่ใช่มาประชุมกันอย่างนั้น

    ผู้ฟัง มีที่ท่านบอกว่า ดูเพียงรูปนั่งอย่างเดียวอย่างนี้ตลอดไป ก็ย่อมสามารถจะทำให้มีสติรู้รูปนามได้ชัดเจน แต่ผมก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ เคยถามว่าถ้าดูรูปนั่งอยู่อย่างเดียวอยู่อย่างนี้ จะไม่เป็นสมาธิ หรือ ท่านบอกไม่เป็น เพราะเหตุว่าเมื่อดูรูปนั่งอยู่อย่างนี้ มีสภาวะของรูปรับรองอยู่ก็ไม่เป็นสมาธิ ตรงนี้ก็ไม่ค่อยเข้าใจชัดอีกเหมือนกัน

    ท่านอาจารย์ ที่เคยมีท่านผู้ฟังท่านหนึ่งถามว่า ตามที่ได้ยินมาว่า ถ้ารับประทานเกลือเม็ดเดียวแล้วก็สามารถที่จะรู้ว่าเกลือก้อนอื่นๆ ก็เค็มเหมือนกันหมดไม่จำเป็นที่จะต้องไปชิมหมดทุกเม็ดทุกเม็ดก็คงจะเป็นคำอุปมาที่ว่าถ้าเพียงแต่ระลึกรู้ลักษณะของรูปรูปเดียวก็จะทำให้ปัญญารู้แจ้งรู้ชัดในลักษณะของนาม และรูปทั้งปวงได้ เข้าใจว่าเป็นอย่างนั้นใช่ไหม ทางตาก็มีสีที่ปรากฏเป็นรูป ทางหูที่ได้ยินกันทุกวันก็มีเสียงปรากฏ ทางจมูกก็มีกลิ่น ทางลิ้นมีใครบ้างไม่ได้รับประทานอาหารไม่มีใช่ไหม รสก็ปรากฏ ทางกายเย็นร้อนอ่อนแข็งที่เป็นรูปก็ปรากฏ เป็นของที่มีจริงมีลักษณะปรากฏให้รู้ แต่ไม่รู้ตามความเป็นจริง แล้วไปคิดว่ารู้ในสิ่งที่ไม่มีลักษณะ ในพระไตรปิฎกไม่ได้แสดงเรื่องของรูปนั่งนอนยืนเดินเลย แล้วก็เหตุผลอย่างที่ได้เรียนให้ทราบแล้ว เพราะฉะนั้นไปดูทำไม

    เพราะฉะนั้น ท่านผู้ฟังควรจะคิดเป็นขั้นๆ ว่า ท่านรู้รูปรู้นามถูกต้องตามลักษณะของรูป ถูกต้องตามลักษณะของนาม หรือไม่ เพื่อปัญญาของท่านเองที่จะรู้ชัดขึ้น ชินขึ้น ละคลายการไม่รู้ในขณะที่เห็น ในขณะที่ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส คิดนึก ทุกอย่าง ว่าสติกระลึกรู้ลักษณะของนามค่อยๆ รู้ขึ้น มากขึ้น เพิ่มขึ้น ชัดขึ้น รู้ลักษณะของรูปทางไหนบ้าง ทีละเล็กทีละน้อย จนกว่าจะชิน จนกว่าจะชัด จนกว่าจะคลาย เพราะเหตุว่าญาณแต่ละขั้นนั้นขอเรียนให้ทราบว่า ถ้าท่านไม่ได้อบรมการเจริญสติปัฏฐานเป็นปกติในชีวิตประจำวันแล้วยากเหลือเกินที่จะเกิดขึ้นได้ ถ้าเป็นญาณขั้นต่ำที่เกิดความไม่รู้ หรือว่าความต้องการ หรือการที่เคยจงใจยึดถือในนามหนึ่งนามใด รูปหนึ่งรูปใด จะทำให้ปัญญาของท่านนั้นไม่สามารถที่จะละคลายต่อไปถึงขั้นอื่นๆ ได้ เป็นเรื่องที่ละเอียดมากทีเดียว ที่ปัญญาของผู้นั้นเองจะรู้ว่าในขณะนั้นมีอะไรกั้นปัญญาขั้นต่อไปอีก หรือไม่ การพิจารณายังไม่พอ หรือว่าความรู้สึกความคิดที่ไม่เคยประจักษ์ในลักษณะของนามนั้นรูปนั้น ทำให้เกิดการจดจ้องต้องการรู้ขึ้นมาบัง หรือว่าไม่สามารถที่จะละคลายได้ เพราะว่าไม่เคยเป็นผู้ที่มีปกติเจริญสติจนรู้ทั่ว จนรู้ชัด จนชิน จนเป็นปกติ สามารถที่จะแทงตลอดไม่ว่าญาณใดจะเกิดขึ้นติดต่อกัน การที่ไม่ยึดถือว่าเป็นตัวตนละคลายได้ก็สามารถจะช่วยทำให้ท่านสามารถที่จะรู้แจ้งเป็นญาณขั้นสูงกว่านั้นต่อไปได้ การเจริญสติปัฏฐานรู้สิ่งที่ปรากฏเป็นปกติทุกอย่างตามปกติในชีวิตประจำวันนั้น เป็นหนทางเดียวที่จะทำให้ปัญญาของท่านเพิ่มขึ้น แล้วก็ละคลายการที่เคยพอใจยึดถือที่จะพิจารณาสภาพบางนาม บางรูป หรือว่าบางสถานที่ แต่ข้อสำคัญที่สุดก็คือว่า ต้องมีลักษณะให้ท่านรู้ เพื่อละความไม่รู้ ไม่ใช่ไปจ้อง ไปหวัง เหมือนอย่างไปจ้องไปหวังจะดูรูปนั่ง แล้วก็ยึดถือรูปนั้นรูปเดียว หรือว่านั่งนอนยืนเดินเพียงแค่ ๔ อย่าง แล้วก็พยายามให้เป็นท่าเป็นทางที่นั่งที่เดิน ที่ยืน ที่นอน โดยที่ไม่มีลักษณะของรูปที่จะทำให้ท่านรู้ชัดขึ้นแล้วก็ละคลายตามปกติธรรมดา ไม่ว่าเย็นจะปรากฏ ร้อนจะปรากฏ ปัญญารู้ชัดขึ้น คลายมากขึ้น ที่ท่านกล่าวว่ารู้รูปนั่งรูปเดียวแล้วก็จะทำให้เกิดปัญญารู้ชัดในลักษณะของนามในลักษณะของรูป ทุกอย่างต้องเป็นเหตุ และผล ผลคือการรู้ชัดในลักษณะของนาม และรูปก็ต้องมาจากเหตุที่ถูกต้อง เวลาที่ท่านพยายามที่จะรู้อยู่ที่รูปนั่งรูปเดียว ท่านบังคับสติ หรือว่าท่านเจริญสติ ก็ไม่ใช่การเจริญสติปัฏฐาน เป็นการบังคับสติ เจริญสติแล้วก็สติก็ย่อมเกิด บ่อยๆ เนืองๆ ตามปกติ วันหนึ่งๆ ตามปกติของทุกชีวิตก็มีเห็น มีได้กลิ่น มีรู้รส มีการรู้สิ่งที่มากระทบสัมผัส มีการคิดนึก เป็นสุขเป็นทุกข์ต่างๆ นี่เป็นชีวิตจริงๆ ถ้าเป็นการเจริญสติก็ย่อมระลึกในลักษณะของสิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจที่ปรากฏจริงๆ นี่ไม่ใช่การบังคับสติ แต่ถ้าเป็นการที่จะไปเองอยู่ที่รูปนั่งรูปเดียว รูปนั่งก็ไม่มี แล้วก็มีความเห็นผิดต้องการบังคับสติให้อยู่ที่เดียว นั่นไม่ใช่การเจริญสติปัฏฐานเลย เป็นอัตตาที่บังคับสติ แล้วก็จะทำให้สติเจริญขึ้นปัญญาเจริญขึ้นได้อย่างไร ไม่ใช่เป็นการเจริญสติปัฏฐาน ไม่ใช่เป็นการเจริญปัญญาให้รู้ยิ่ง ให้รู้ชัด ให้รู้ทั่ว ให้รู้จริงคือรู้สิ่งที่กำลังปรากฏตามปกติธรรมดา จึงจะชื่อว่ารู้จริง เพราะว่ามีแล้วปรากฏแล้ว ถ้ารู้สิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ก็เป็นการรู้จริงๆ

    เพราะฉะนั้นท่านที่เข้าใจถูกในมหาสติปัฏฐาน การเจริญสติปัฏฐาน คือ การระลึกรู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจที่กำลังปรากฏเป็นอารมณ์ปัจจุบัน ตรวจสอบได้ในมหาสติปัฏฐาน มีรูปใดที่ปรากฏในตาหูจมูกลิ้นกายใจไม่เป็นมหาสติปัฏฐานบ้าง มีนามใดไม่ว่าจะเป็นโลภะ โทสะ โมหมูลจิต หรือว่าจิตเห็น จิตได้ยิน ที่จะไม่เป็นมหาสติปัฏฐานบ้าง ไม่มี เมื่อเป็นมหาสติปัฏฐาน ทุกอย่างที่กำลังปรากฏเป็นอารมณ์ปัจจุบัน ใช่ หรือไม่ เพราะฉะนั้นถ้าท่านฟังธรรมแล้วไม่พิสูจน์ ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ท่านก็อาจจะเข้าใจคลาดเคลื่อนแล้วก็ขัดแย้งกันในตัว เช่น ถ้ากล่าวว่าทางตาถือเป็นปัจจุบัน เห็นไม่ใช่ปัจจุบันเพราะว่าต้องดับไปก่อนใช่ไหม แล้วก็จิตที่เกิดภายหลังเป็นสติ เป็นมหากุศลระลึกรู้ว่าที่กำลังเห็นเป็นนามธรรม เพราะว่า จิตจะเกิดขึ้นทีละหนึ่งขณะเท่านั้น จะเกิดตอนพร้อมกัน ๒ - ๓ ขณะไม่ได้เลย อาจจะรู้สึกว่าทั้งเห็นแล้วก็ได้ยิน แล้วก็เข้าใจเรื่องที่กำลังฟังด้วย และตาก็ยังเห็นอยู่ด้วย แล้วก็เกิดชอบไม่ชอบ สุขทุกข์ เย็นร้อนพร้อมกันทีเดียว รู้สึกว่าเป็นอย่างนี้ด้วยความรวดเร็วของจิต โดยสภาพตามความเป็นจริงแล้ว จิตเกิดดับสืบต่อกันอย่างรวดเร็วมาก เวลาที่โลภมูลจิตเกิดแล้วก็ดับไป แล้วสติระลึกลักษณะของโลภมูลจิตซึ่งเกิดสลับกับสติ จึงปรากฏเป็นลักษณะของโลภมูลจิต หรือว่าเป็นจิตที่ประกอบด้วยโลภะ หรือว่ากำลังเห็นในขณะนี้สีก็มีปรากฏ ได้ยินก็มีแล้วก็รู้เรื่องด้วย ทางตาก็ยังเห็นอยู่ เพราะฉะนั้นผู้เจริญสติปัฏฐานไม่ใช่ไปพยายามจับให้ทัน จับไว้ไม่ปล่อย นี่ไม่ใช่การเจริญสติปัฏฐานที่จะไปพยายามจับอารมณ์ปัจจุบัน เพราะเหตุว่า อารมณ์ปัจจุบันนั้นรวดเร็วมาก เกิดแล้วก็ดับ แต่ว่าตราบใดที่ปรากฏ สิ่งที่กำลังปรากฏนี้เป็นปัจจุบันอารมณ์ มหาสติปัฏฐาน ถ้ามิฉะนั้นแล้ว ถ้ากล่าวว่าไม่ใช่อารมณ์ปัจจุบัน ในมหาสติปัฏฐานต้องตัดทิ้งออกหมดเหลือเพียง ๒ - ๓ อารมณ์เท่านั้นใช่ไหม แต่ในมาหาสติปัฏฐาน จิตทุกประเภทเป็นอารมณ์ของสติได้ เป็นอารมณ์ของสติปัฏฐานได้ แม้ว่าจิตมันดับไปแล้วก็จริง แต่เมื่อมีการเกิดสืบต่อสลับปรากฏให้รู้ได้ให้พิจารณาได้ว่าเป็นลักษณะของนามแต่ละชนิด เช่นเห็นก็ไม่เหมือนกับได้ยิน ไม่เหมือนกับคิดนึก ไม่เหมือนกับลักษณะที่เป็นสุขเป็นทุกข์ สิ่งเหล่านี้สามารถที่จะปรากฏให้รู้ได้ในขณะที่เกิดขึ้นปรากฏสืบต่อกันอยู่เรื่อยๆ สติก็เกิดแทรกระลึกรู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ ทุกอย่างที่ปรากฏเป็นอารมณ์ปัจจุบันตรงตามมหาสติปัฏฐาน แต่ถ้าผู้ใดคิดว่า สิ่งใดที่ดับไป อย่างเช่น จิตเห็นก็ต้องดับก่อน มหากุศลจิตที่มีสติเกิดร่วมด้วยเป็นการระลึกรู้ลักษณะของจิตที่เห็น เป็นจิตที่เกิดภายหลัง เพราะฉะนั้นจิตเห็นไม่ใช่ปัจจุบัน อย่างนั้นก็ไม่ถูก เพราะอะไร ก็เห็นเกิดสืบต่อปรากฏอยู่เรื่อยๆ เพื่อให้สติระลึกรู้บ่อยๆ เนืองๆ จนกว่าจะละว่า ที่กำลังเห็นนี้เป็นตัวตนที่เห็น ถ้าเป็นสีที่เห็น ก็เป็นปัจจุบันกำลังปรากฏทางตา ก็เป็นสิ่งที่ระลึกรู้ โดยนัยที่กล่าว สีเป็นปัจจุบันกล่าวว่าอย่างนี้ใช่ไหม ทางตา สีเป็นปัจจุบัน แต่ไม่ให้ระลึกรู้ ไปให้ระลึกรู้นามเห็น ก็ค้านกันหมดสิอย่างนี้

    ผู้ฟัง บางทีท่านก็ให้กำหนดว่า เห็นทางตานี้เอาเฉพาะที่เห็น ให้กำหนดเห็นอย่างเดียว ก็จะหมายความว่าสิ่งที่เห็นนั้น ไม่เป็นเหตุให้เกิดตัณหาเข้าครอบงำได้ แต่เห็นต่างหากเป็นเหตุให้เกิดตัณหาเข้าครอบงำได้

    ท่านอาจารย์ ก็ถ้าไม่เห็นแล้วจะชอบอะไร ก็ต้องชอบในสิ่งที่เห็น จะมีตัณหาโดยที่ว่าไม่มีอะไรปรากฏให้ชอบได้ไหม ก็เป็นของธรรมดา ก็จะต้องพิจารณารู้ เพราะฉะนั้นขอให้ท่านผู้ฟังพิจารณาให้ดี ท่านจะเข้าใจคำว่า อารมณ์ปัจจุบัน ในลักษณะใด ทางตาอะไรเป็นอารมณ์ปัจจุบัน ท่านจะกล่าวว่า ทางตาไม่ควรรู้สี ควรรู้ “เห็น” เพราะฉะนั้นสำหรับท่าน ทางตา “เห็น” เป็นอารมณ์ปัจจุบันใช่ไหม สีไม่ใช่อารมณ์ปัจจุบันใช่ไหม หรือว่าเป็นอารมณ์ปัจจุบันแต่ไม่ควรจะรู้ ที่จะรู้ได้ก็คือสิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นสำหรับผู้ที่กล่าวว่า ทางตาการเจริญสติปัฏฐานให้รู้ “เห็น” หมายความว่าท่านรับรองว่าเห็นเป็นอารมณ์ปัจจุบันใช่ไหม จึงกล่าวว่าให้รู้ “เห็น” เพราะท่านทราบกันทุกคนว่า ในการเจริญสติปัฏฐานนั้นจะต้องรู้อารมณ์ปัจจุบัน

    ผู้ฟัง รูปที่ยืนนี้ต้องอาศัยมหาภูตรูป ๔ ที่นี้ได้แก่ ธาตุดิน เพราะธาตุดินนี้เป็นประธาน ลม น้ำ ไฟ ก็อาศัยซึ่งกัน ถ้านั่ง รูปยืนก็ดับไปแล้ว ถ้าลงนอนลักษณะของรูปนั่งก็ดับไปแล้ว รูปนอนก็ปรากฏ ถ้าเดิน รูปยืนก็ดับไป รูปเดินก็ปรากฏ อย่างนี้ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ที่เคยเรียนให้ทราบแล้วว่าในรูป ๒๘ รูป ไม่มีรูปนั่งรูปนอนรูปยืนรูปเดิน “โต๊ะ” ตั้งเอาไว้ยืน หรือเปล่า มีวิการรูปอะไรไหม กระจัดกระจายออกได้ก็ไม่มีการที่จะตั้งอยู่ใช่ไหม วิการรูปนั้นคือลักษณะที่อ่อน ที่เบา ที่ควรแก่การงาน ซึ่งเกิดจิต เกิดขึ้นเพราะอุตุ เกิดขึ้นเพราะอาหาร แต่โต๊ะนั้นไม่ได้รับประทานอาหาร และไม่มีรูปเบารูปอ่อนรูปที่ควรแก่การงาน ก็มีแต่เพียงธาตุดินน้ำไฟลม เหมือนกับรูปที่กาย เพราะฉะนั้นการประชุมกันของรูปทรงอยู่ ตั้งอยู่ จะไม่เรียกว่านั่งนอนยืนเดินก็ได้ ทรงอยู่ตั้งอยู่เท่านั้นเองในลักษณะนั้น แต่ว่าปัญญาจะต้องรู้ลักษณะของแต่ละรูปจึงจะละความยึดถือรูปที่ประชุมรวมกันในลักษณะนั้น ว่าเป็นตัวตน ถ้ายังประชุมรวมกันเป็นนั่ง ไม่สามารถที่จะละการยึดถือรูปนั้นว่าเป็นตัวตน การที่จะละการยึดถือรูปว่าเป็นตัวตนเพราะรู้ลักษณะที่ปรากฏจริงๆ ว่าลักษณะอ่อนไม่สามารถจะยึดถือว่าเป็นตัวตนได้ ลักษณะแข็งที่ปรากฏภายในภายนอกเหมือนกัน ไม่สามารถจะยึดถือว่าเป็นตัวตนได้ เย็น หรือร้อนที่ปรากฏภายในภายนอกก็เหมือนกัน ไม่สามารถจะยึดถือว่าเป็นตัวตนได้ ต้องมีลักษณะของรูปจริงๆ ปรากฏไม่ใช่เอามารวมกันเป็นท่าแล้วก็เข้าใจว่ารู้แล้ว ในการฟังธรรม หรือว่าในการกล่าวธรรมก็ตาม ขอให้ท่านพิจารณาจากพระไตรปิฎก ถ้าท่านจะค้านตอนหนึ่งตอนใดเป็นต้นว่า รูปนั่งนอนยืนเดินก็ตาม ขอให้ท่านไปสอบผ่านดูในรูป ๒๘ รูปพร้อมทั้งความเป็นจริงด้วยว่า รูปแต่ละรูปนั้นสามารถที่จะย่อยแตกกระจัดกระจายออกแล้วไม่เหลือความเป็นรูปนั่ง รูปนอน รูปยืน รูปเดินเลย แต่ว่ามีลักษณะของรูปนั้นๆ คงอยู่ คือความอ่อนก็อ่อนอยู่ ความเย็นก็เย็นอยู่ ความแข็งก็แข็งอยู่ เป็นลักษณะของรูปที่มีจริงๆ แต่ว่าจะบัญญัติเรียกว่านั่งนอนยืนเดินไม่ได้ เพราะว่าแตกย่อยกระจายออกไป หรือว่าแม้แต่ในขณะที่กำลังพูดในพระไตรปิฎก กายานุปัสสนาสติปัฏฐานก็กล่าวว่าเป็นผู้เจริญสติ มีสติในขณะที่กำลังพูด ถ้าท่านผู้ใดจะค้านก็ขอให้ค้านกับพระไตรปิฎก เหตุผลว่าพระไตรปิฎกบรรทัดนั้นไม่ถูกต้องทั้งอรรถ พยัญชนะ มีความหมายที่สุขุม ลึกซึ้งกว่านั้น อย่างไร ประการใด ท่านก็แสดงเหตุผล ไม่ใช่เป็นการค้านบุคคลเพราะเหตุว่าท่านค้านกับพระไตรปิฎก ถ้าพระไตรปิฎก รูปนั่งนอนยืนเดินไม่มี มีวิการรูปความเบา ความอ่อน ความควรแก่การงาน ท่านก็รู้ได้ว่า ธาตุดินน้ำไฟลมเหล่านั้นบางรูปก็มีลักษณะที่อ่อน เบา ที่ควรแก่การงานด้วย อุปมาเหมือนกับทองเวลาที่ถูกความร้อน ทองนั้นก็มีความอ่อน แต่ก็ไม่ได้แยกจากทองนั่นเอง ก็ยังเป็นลักษณะอาการของทองที่มีความอ่อน เพราะฉะนั้นทุกอย่างก็ขอให้ถือว่า ท่านมีความคิดความเห็นอย่างไร ท่านก็แสดงเหตุผล ถ้าท่านจะค้านกับพระไตรปิฎก ท่านก็กล่าวถึงความคิดความเข้าใจของท่านว่าควรจะคั้นเพราะเหตุใด หรือว่า ควรจะตัดควรจะทิ้งออกไป อย่างอารมณ์ปัจจุบัน ถ้าท่านผู้ใดไม่มีความเข้าใจเรื่องมหาสติปัฏฐาน ท่านก็ต้องตัดทุกสิ่งออกไปเยอะแยะเหลือเพียงบางรูปที่ท่านต้องการให้รู้น้อยมาก แล้วก็ไปเป็นรูปนั่ง รูปนอน รูปยืน รูปเดิน ซึ่งก็ไม่มีในรูป ๒๘ รูปเลย

    ผู้ฟัง ได้ยินที่พูดท่านก็อธิบายว่า จะยืนจะเดินจะนั่งจะนอนก็ให้มีสติรู้ รู้ลักษณะที่กำลังยืนเดินนั่งนอน

    ท่านอาจารย์ รูปที่เดินมีลักษณะอย่างไร ลักษณะใน ๒๘ รูป ลักษณะที่ว่าเดินในพระไตรปิฎกไม่มี

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ได้กรุณาอธิบายไปแล้วเรื่องกายในกาย กระผมได้ยินมาอีกทางหนึ่ง กายในกายท่านหมายถึงว่าในกายานุปัสสนาสติปัฏฐานเป็นหัวข้อใหญ่ ทีนี้หัวข้อย่อยๆ ที่อยู่ภายในกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน


    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 9
    20 ธ.ค. 2566

    ซีดีแนะนำ