รวมสติปัฎฐาน ตอนที่ 055
ตอนที่ ๕๕
นี่จึงจะเป็นการเจริญสติปัฏฐาน เป็นการเจริญปัญญา เพื่อความรู้จริง รู้แจ้ง แล้วก็สามารถที่จะละคลายความไม่รู้ได้
สำหรับอุเบกขาอาศัยเรือนกับไม่อาศัยเรือน มีข้อความว่า
ใน ๓๖ ประการนั้น อุเบกขาอาศัยเรือน ๖ เป็นไฉน คือ
เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้นแก่ปุถุชนคนโง่เขลา ยังไม่ชนะกิเลส ยังไม่ชนะวิบาก ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับ เป็นคนหนาแน่น อุเบกขาเช่นนี้นั้น ไม่ล่วงเลยรูปไปได้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัยเรือน
เพราะฟังเสียงด้วยโสตะ เพราะดมกลิ่นด้วยฆานะ เพราะลิ้มรสด้วยชิวหา เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย เพราะรู้ธัมมารมณ์ด้วยมโน ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้นแก่ปุถุชนคนโง่เขลา ยังไม่ชนะกิเลส ยังไม่ชนะวิบาก ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับ เป็นคนหนาแน่น อุเบกขาเช่นนี้นั้นไม่ล่วงเลยธัมมารมณ์ไปได้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัยเรือน ๖
โดยมากท่านที่เห็นโทษของทุกขเวทนา โทมนัสเวทนา สุขเวทนาโสมนัสเวทนา ว่าเป็นสิ่งที่ทำให้จิตใจไม่สงบ เร่าร้อน เดี๋ยวก็สุขนิดหนึ่ง เดี๋ยวก็ทุกข์อีก เดี๋ยวก็สุขอีก เดี๋ยวก็ทุกข์อีก ก็พยายามที่จะวางใจเป็นอุเบกขาใช่ไหมเฉยๆ ไม่ยินดียินร้าย อย่าสุข อย่าทุกข์ เข้าใจว่าอุเบกขาเวทนานั้นดีใช่ไหม ต้องการการใช้ไหม ไม่ให้ยินดียินร้าย แต่ถ้าไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ก็เป็นอุเบกขาอาศัยเรือนอยู่นั่นเอง ไม่ใช่เป็นการรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมตามความเป็นจริง ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้นแก่ปุถุชนคนโง่เขลา ยังไม่ชนะกิเลส ยังไม่ชนะวิบาก ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับ เป็นคนหนาแน่น การเจริญสติจึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์และสำคัญมาก
ในสฬายตนะวิภังคสูตร กล่าวโดยนัยของการปฏิบัติ ที่เป็นการเจริญวิปัสสนา ไม่ใช่เรื่องของการเจริญสมถภาวนา ดันในข้อความในปปัญจสูทนี ว่า เคหจิตฺตานิ ได้แก่ อาศัยกามคุณ ยังเป็นผู้ที่แสวงหา ยังเป็นผู้ที่ใคร่ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ในธรรมารมณ์ซึ่งก็ได้แก่ สุขเวทนาหรือโสมนัสเวทนา เพราะเหตุว่าถึงแม้ว่าเวทนาจะมี ๓ แต่ทุกท่านต้องการโสมนัสเวทนาแน่ เพราะฉะนั้นก็ใคร่หรือแสวงหา อยากจะให้ทางตาเกิดโสมนัส วันหนึ่งบ่อยๆ เนืองๆ ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจก็เหมือนกัน ผู้เจริญสติต้องทราบว่า ในขณะที่โสมนัสประเภทนั้นเกิดขึ้น ยังเป็นโสมนัสที่เป็นไปกับความยินดี ไม่ได้ละคลายความยินดีต้องการในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ยังจะต้องเป็นเชื้อเป็นปัจจัยให้เกิดวัฏฏะ ไม่ใช่โสมนัสที่อาศัยในเนกขัมมะ ถ้าเป็นโสมนัสที่อาศัยเนกขัมมะแล้ว คือในขณะที่สติระลึกรู้สภาพของนามธรรมและรูปธรรม แล้วก็มีวิปัสสนาญาณคมกล้าขึ้นเกิดจากความเกิดขึ้นและดับไปของนามธรรมและรูปธรรม แล้วความรู้สึกโสมนัสตีติก็เกิดขึ้นในการที่ได้ประจักษ์สภาพความจริงของธรรมนั้นๆ แต่จะมีโสมนัสที่อาศัยเนกขัมมะได้ก็จะต้องอาศัยการเจริญสติ ซึ่งโดยมากผู้หลงลืมสติในวันหนึ่งๆ เวลาโสมนัส สติเกิดไม่บ่อย ว่าสภาพความรู้สึกโสมนัสนั้น ก็เป็นแต่เพียงนามธรรมชนิดหนึ่ง โสมนัสชั่วนิดเดียว เปลี่ยนแล้ว เป็นอุเบกขา อทุกขมสุข หรือว่าเปลี่ยนแล้วเป็นโทมนัสเวทนา เป็นทุกขเวทนา เวทนาความรู้สึกในวันหนึ่งๆ เกิดดับสืบต่อ เปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ แต่ว่าผู้ใดไม่ระลึกรู้สภาพธรรมในขณะที่โสมนัสเวทนาเกิดเป็นไปในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ก็ย่อมไม่มีโอกาสที่จะวิปัสสนาญาณณแก่กล้าประจักษ์การเกิดดับ แล้วก็มีโสมนัสที่อาศัยเนกขัมมะ เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ แยกไม่เกี่ยวกับการเจริญสมถภาวนา ถ้าเจริญสมถภาวนา ไม่ได้ละคลายการยึดถือว่าเป็นตัวตน ก็ยังคงเป็นผู้ที่ยินดีในธรรมารมณ์อยู่นั่นเอง
ข้อความในสฬายตนวิภังคสูตร ที่มีข้อความว่า
ปฏิสังยุตต์ด้วยโลกามิสนั้น หมายถึง ปฏิสังยุตต์ด้วยตัณหา
บทว่า อนิจฺจตํ ได้แก่ ไม่เที่ยง
วิปรินามวิราคนิโรธํ ได้ชื่อว่า เปลี่ยนแปรเพราะละปกติ
ชื่อว่าวิราค เพราะ ไปปราศ
ชื่อว่า นิโรธ เพราะ ดับ
สำหรับ เนกฺขมฺมนิสิตฺตโสมนสฺส มีข้อความว่า
พิจารณาความแตก ความทำลายแห่งสังขารทั้งหลาย เมื่อวิปัสสนาญาณแก่กล้าเป็นไปในสังขตธรรมที่เกิดขึ้นเรียกว่า โสมนัสอาศัยเนกขัมมะ
ซึ่งข้อนี้ไม่ใช่ความยินดีที่นิสัยของมนุษย์สามัญจะพึงได้ มนุษย์สามัญที่นี้หมายถึงผู้ที่ไม่ได้เจริญสติ ต้องเป็นผู้ที่ประจักษ์ความเกิดดับของนามและรูป
ต่อไปเป็น อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ
ใน ๓๖ ประการนั้น อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖ เป็นไฉน คือ
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลายและความดับของรูปทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูปในก่อนและในบัดนี้ ทั้งหมดนั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้น อุเบกขาเช่นนี้นั้นไม่ล่วงเลยรูปไปได้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ
สำหรับข้อความต่อไปเป็นเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธัมมารมณ์ ซึ่งมีข้อความว่า
บุคคลเมื่อทราบความไม่เที่ยง ความแปรปรวน ความคลายและความดับของธัมมารมณ์ทั้งหลายนั่นแล แล้วเห็นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า ธัมมารมณ์ในก่อนและในบัดนี้ ทั้งหมดนั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ย่อมเกิดอุเบกขาขึ้น อุเบกขาเช่นนี้นั้นไม่ล่วงเลยธัมมารมณ์ไปได้ ดังนั้นเราจึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ เหล่านี้ อุเบกขาอาศัยเนกขัมมะ ๖
ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงทราบทางดำเนินของสัตว์ ๓๖ นั่น เราอาศัยทางดำเนินดังนี้กล่าวแล
สำหรับอุเบกขาที่อาศัยเรือน หมายความถึง อัญญาณอุเบกขา
อัญญาณะ หมายความว่า ไม่ใช่ญาณ ไม่ประกอบด้วยญาณ ไม่ประกอบด้วยปัญญานั่นเอง
ในเวทนาทั้งหมด โสมนัสเวทนา เป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล ถึงแม้จะเป็นโสมนัสเวทนาที่อาศัยเรือน อย่างเวลาที่ตาเห็นแล้ว ถ้าเป็นโสมนัส ก็เป็นโลภมูลจิต จิตที่ประกอบด้วยความชื่นชม ยินดี พอใจ ต้องการในรูปที่เห็น เพราะเวทนาเป็นโสมนัส ไม่ใช่โทสมูลจิต ไม่ใช่โมหมูลจิต ถ้าเป็นอกุศลแล้วต้องเป็นโลภมูลจิตที่ชื่นชมพอใจในสิ่งที่เห็นในขณะนั้น ทางฝ่ายกุศลก็ได้ ขณะที่ทำบุญกุศลมีการเห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เช่นเห็นพระพุทธรูปแล้วก็น้อมระลึกถึงพระพุทธคุณ เกิดความปิติ โสมนัสขึ้น เป็นกุศลจิตที่ประกอบด้วยโสมนัส แต่ยังไม่ใช่โสมนัสที่อาศัยเนกขัมมะ เพราะไม่ใช่โสมนัสที่ประกอบกับญาณที่รู้ความเกิดขึ้นและดับไป ยังเป็นไปกับภพชาติ ถึงแม้ว่าจะเป็นกุศลจิต ถึงแม้ว่าจะเป็นกุศลกรรม ไม่ใช่กรรมที่ดับภพชาติ เป็นกุศลกรรมที่ทำให้เกิดวนเวียนต่อไป ถ้าเป็นฝ่ายกุศลก็เกิดในสุคติภูมิ ถ้าเป็นอกุศลก็เกิดในทุคติภูมิ ดังนั้นโสมนัสที่อาศัยเรือนเป็นได้ทั้งอกุศลและกุศล แต่โสมนัสเป็นฝ่ายกุศลเพราะเหตุว่าประกอบกับญาณ
อุเบกขาเวทนาก็โดยนัยเดียวกัน อุเบกขาเวทนาที่เป็นอกุศลก็มี เกิดกับโลภมูลจิตก็มี โมหมูลจิตก็มี อุเบกขาเวทนาที่เกิดกับฝ่ายกุศลก็มีด้วย ไม่ใช่ไม่มี เวลาที่เจริญกุศลแต่จิตใจไม่ถึงกับเป็นโสมนัส ไม่ว่าจะเป็นเห็นสิ่งที่เป็นกุศลทางตา หรือได้ยินเสียงที่เป็นกุศลทางหู ได้กลิ่นที่ทำให้เกิดกุศลจิตทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย แต่เวทนาไม่ขณะนั้นไม่ถึงกับปลาบปลื้มเป็นโสมนัส ก็เป็นแต่เพียงอุเบกขาเวทนาฝ่ายกุศลก็ได้ แต่แม้กระนั้นก็เป็นอุเบกขาที่อาศัยเรือน เพราะเหตุว่าไม่ใช่อุเบกขาเวทนาที่เกิดร่วมกับญาณ เพราะฉะนั้นอุเบกขาที่อาศัยเรือน อุเบกขาในที่นี้หมายถึง อัญญาณอุเบกขา
ข้อความใน ปปัญจสูทนีย์ ได้แสดงความต่างกันของความรู้สึกอทุกขมสุขของปุถุชนกับผู้ที่เป็นพระอรหันต์ ว่าต่างกัน ท่านอาจจะคิดว่า ท่านเฉยๆ ไม่ยินดี ยินร้าย ฝึกหัดเข้าบ่อยๆ คงจะเป็นปัญญาที่สามารถละภพละชาติได้ แต่ถ้าตราบใดที่ญาณปัญญาไม่เกิดรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง อุเบกขานั้นก็ยังเป็นอัญญาณอุเบกขา
ใน ปปัญจสูทนีย์ มีข้อความว่า
พระขีณาสพชื่อว่า โอทิชินะ หมายถึง ผู้ข้ามห้วงกิเลส ทะเลกิเลส เพราะชำนะห้วงน้ำ คือ กิเลส ดำรงอยู่ เพราะฉะนั้น ปุถุชนชื่อว่า อขีณาสวะ เพราะเหตุว่า ลักษณะของปุถุชนตรงกันข้ามกับขีณาสพ
พระอรหันต์ท่านมีความรู้สึกไม่ยินดียินร้าย ไม่ว่าจะประสบกับอารมณ์ที่น่าพอใจหรือไม่น่าพอใจ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ท่านเป็นผู้ที่หมดกิเลสเพราะว่าประจักษ์สภาพธรรมตามความเป็นจริง ไม่เหมือนกับปุถุชน ถึงแม้ว่าจะรู้สึกเฉยๆ แต่เพราะเหตุว่ายังไม่ประจักษ์สภาพธรรมตามความเป็นจริง ก็ยังเป็นผู้ที่ยังไม่ชนะห้วงกิเลส ในขณะที่เห็นไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงทาตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในวันหนึ่งๆ สติไม่ระลึกรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ไม่ใช่ผู้ที่ชนะห้วงน้ำคือกิเลสเลย เพราะยังต้องเป็นไปด้วยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อุเบกขาเวทนาบ้าง โสมนัสเวทนาบ้าง โทมนัสเวทนาบ้าง อุเบกขาเวทนาบ้าง แต่ถึงแม้ว่าอุเบกขาเวทนา ก็ไม่ใช่ประกอบด้วยญาณ เป็นไปตามอารมณ์ซึ่งไม่ถึงกับทำให้เกิดความปลาบปลื้มโสมนัสปีติ หรือว่าไม่ใช่อารมณ์ที่ทำให้ถึงกับโทมนัส เพราะฉะนั้นผู้ที่เป็นปุถุชนต้องรู้จักตัวเองตามความเป็นจริง ถึงแม้ว่าท่านผู้ใดจะไม่ค่อยดีใจเท่าไหร่นัก ไม่ค่อยเสียใจเท่าไหร่นัก แต่ท่านไม่ใช่พระอรหันต์
ข้อความต่อไป แสดงความต่างกันของพระอรหันต์กับปุถุชนว่า
พระขีณาสพชื่อว่า ผู้ชนะวิบาก เพราะชนะวิบาก ดำรงอยู่ เพราะฉะนั้น ปุถุชนชื่อว่า อขีณาสวะ เพราะไม่ชนะวิบาก ไม่เห็นโทษ ไม่สดับ ไม่ศึกษา
ไม่เห็นโทษ คือ ไม่เห็นโดยความเป็นโทษ
โทษของรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ คืออะไร ถ้าเป็นรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ดี ก็เป็นสิ่งที่ทำให้จิตใจสบาย มีความสุข ทำไมว่าเป็นโทษ ปุถุชนนั้นไม่เห็นโทษ ไม่สดับ ไม่ศึกษา ไม่เห็นโทษคือไม่เห็นโดยความเป็นโทษ ถ้าเห็นด้วยความเป็นโทษก็ทราบว่า ไม่ว่าจะเป็นรูป ไม่ว่าจะเป็นเสียง เป็นกลิ่น เป็นรส เป็นโผฏฐัพพะ เป็นธรรมารมณ์ ปรากฏเกิดขึ้นเพียงนิดเดียวแล้วก็หมดสิ้นไป ผู้ที่จะรู้ได้คือผู้ที่เจริญสติเท่านั้น ถ้าสติระลึกรู้ลักษณะของเสียง เสียงก็ปรากฏนิดเดียวแล้วก็ดับไป ได้ยินปรากฏนิดเดียวเท่านั้นแล้วก็ดับไป เป็นสภาพรู้ทางหู ไม่ใช่เสียง ผู้ที่เจริญสติที่เป็นผู้ทราบขณะที่เล็กน้อยของรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพารมณ์ ทั้งที่ดีที่น่าปรารถนาน่าใคร่น่าพอใจรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพารมณ์นั้นก็ไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ปุถุชนผู้ไม่เห็นโทษไม่สดับ ไม่ศึกษา ก็ย่อมไม่เห็นโทษคือไม่เห็นสภาพธรรมโดยความเป็นโทษนั่นเอง สำหรับปุถุชนที่ไม่สดับ ไม่ศึกษา ขอให้พิจารณาคำนี้ด้วย พระอริยะบุคคลเป็นผู้สดับ เป็นผู้ศึกษา ขณะที่ปฏิบัติ ศึกษาหรือเปล่า เสขบุคคลหรือ เสกขบุคคล เป็นการศึกษาโดยการปฏิบัติ ไม่ใช่ศึกษาโดยขั้นปริยัติเท่านั้น ผู้เจริญสติปัฏฐานทุกท่าน ท่านเป็นผู้ที่กำลังศึกษาสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนั้น ให้รู้ชัดเจนตามความเป็นจริง ถ้าท่านศึกษาอยู่โดยขั้นของปริยัติ ไม่ได้เจริญสติ ท่านไม่ใช่ผู้ปฏิบัติ ท่านไม่ใช่ผู้ศึกษาโดยการปฏิบัติ แต่ว่าผู้ที่เป็นอริยบุคคล ถ้ายังไม่ใช่พระอรหันต์ชื่อว่าพระเสขบุคคล ผู้ที่ศึกษาโดยที่สติระลึกรู้ลักษณะสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ศึกษาให้เกิดความรู้พร้อมกับสติในขณะนั้นเพื่อการรู้แจ้งชัดในลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง
โดยมากผู้ที่เจริญวิปัสสนาต้องการจะดูเท่านั้น เพื่อให้เห็นใช่ไหม เมื่อไหร่จะเกิดขึ้น เมื่อไหร่จะดับไป ต้องการเท่านั้นเอง แต่ท่านลืมพยัญชนะคือ เสขะ หรือ เสกขะ คือผู้ที่ศึกษา โดยสติเกิดขึ้นระลึกรู้ลักษณะสภาพของสิ่งที่กำลังปรากฏ ศึกษาจากสิ่งที่กำลังปรากฏ เพื่อให้เกิดความรู้ที่ชัดเจนถูกต้องตามความเป็นจริงของสภาพธรรมในขณะนั้น ไม่ใช่ผู้ที่ไปนั่งจ้องคอยว่าเมื่อไหร่สภาพธรรมที่กำลังจ้องนั้นจะเกิดแล้วก็จะดับ เพราะเหตุว่าไม่ได้รู้ลักษณะของนามธรรมรูปธรรมทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ซึ่งเกิดปรากฏเป็นปกติในชีวิตประจำวัน
สภาพของสังขารทั้งหลายเกิดขึ้นนิดเดียวเท่านั้น ปรากฏและก็ดับไป มีใครทราบบ้าง ถ้าไม่เจริญสติ ไม่ทราบ เจริญสติเป็นต้นว่ากำลังระลึกรู้ลักษณะสภาพที่อ่อนหรือแข็งที่ส่วนหนึ่งส่วนใดที่กาย นิดเดียวใช่ไหม ระลึกได้นิดเดียว แล้วก็ไปรู้ที่อื่นอีกแล้ว นั่นแสดงว่าจิตหรือสติที่ระลึกรู้ลักษณะอ่อนหรือแข็งที่กาย สติที่ระลึกรู้นั้นนิดเดียว แล้วก็ดับ แล้วก็เปลี่ยนเป็นระลึกรู้ลักษณะของนามอื่นรูปอื่นแล้ว โดยมากผู้ที่เจริญสติปัฏฐานไม่เข้าใจว่า การที่สติเกิดขึ้นระลึกรู้ลักษณะของนามหรือรูปทางตา หรือทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ แม้เพียงชั่วขณะเล็กๆ น้อยๆ คือชั่วขณะช้างกระดิกหู หรือ ไก่ปรบปีก ความจริงในขณะนั้น สภาพธรรมเกิดขึ้นและดับไปจริงๆ แต่เพราะเหตุว่าท่านยังพิจารณาไม่ทั่ว ยังรู้ไม่ชัด ดังนั้นตัวตนก็เข้ามาแทรก (เวลาที่สติระลึกรู้ลักษณะที่อ่อนหรือที่แข็งนิดเดียว) ว่า ทำไมถึงรู้น้อย ไม่รู้มากๆ ทำไมถึงเวลานั้นไม่รู้ เวลานี้ไม่รู้ มีความเป็นตัวตนเพราะว่ายังไม่ได้พิจารณานามและรูปทั่วจริงๆ แต่ขอให้ท่านคิดดูว่า แม้แต่เพียงในตอนเริ่มต้น สภาพธรรมก็เป็นสภาพธรรมตามปกติ คือเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปสืบต่อกันอย่างรวดเร็ว แต่ปัญญายังไม่ทั่ว ปัญญายังไม่ทัน ตัวตนจึงเข้ามาแทรกได้ แต่ถ้าท่านพิจารณาไม่ว่าจะเป็นนามธรรมและรูปธรรมทางตา หรือทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทั้งกาย ทางใจ ละเอียดจริงๆ ทั่วจริงๆ ไม่หวั่นไหว ไม่ว่าจะเป็นนามอะไรรูปอะไร เกิดขึ้นปรากฎแล้วก็หมดไป
อย่างเช่นความคิดนึก ถ้าระลึกได้ ความคิดนึกนั้นก็ดับ และเวลาที่คิดขึ้นมาใหม่ ก็ทราบว่าสภาพที่คิดนี้เกิดขึ้นทีละขณะ จะเกิดขึ้นพร้อมกันหลายๆ อย่าง หลายๆ คำไม่ได้ เป็นของธรรมดาซึ่งถ้าไม่หวั่นไหว ไม่ว่าจะหยุดคิดแล้วมีการเห็นทางตา ก็รู้นามตาไม่หวั่นไหว ถ้าสติเกิดขึ้นระลึกรู้เสียงกับได้ยินที่ปรากฏทางหู ก็เป็นนามเป็นรูปไม่หวั่นไหว ถ้าเป็นกลิ่นปรากฏ สติก็ระลึกรู้ลักษณะของกลิ่นที่ปรากฏชั่วนิดเดียวแล้วก็ดับไป ไม่หวั่นไหว วันหนึ่งๆ ก็จะมีลักษณะสภาพของนามธรรมและรูปธรรมแต่ละชนิด ขณะสั้นๆ เกิดขึ้นและก็ดับไปอย่างรวดเร็ว แต่ว่าปัญญาของท่านจะละคลาย และมีความสมบูรณ์ เป็นญาณที่คมกล้า ก็แล้วแต่เหตุปัจจัย ที่จะสมบูรณ์ในวันไหน หรือว่าในขณะไหน แต่ว่าสภาพธรรมทุกอย่างเป็นปกติธรรมดา เป็นอริยสัจจะ ขณะที่เห็นนี้ เดี๋ยวนี้เอง ก็เป็นอริยสัจจะสำหรับผู้ที่อบรมเจริญสติเจริญปัญญาพร้อมที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม หรือว่าอ่อนแข็งที่กำลังปรากฏที่ส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย เป็นของจริง เป็นอริยสัจธรรมสำหรับผู้ที่พร้อมที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมในขณะนั้น
เพราะฉะนั้นทุกอย่างเป็นปกติ สติระลึกรู้ลักษณะของนามธรรมบ้าง รูปธรรมบ้าง เรื่อยๆ เนืองๆ บ่อยๆ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ จนกว่าจะชิน แต่ถ้าไม่เป็นอย่างนี้ ถึงแม้จะเป็นโสมนัสเวทนา โทมนัสเวทนา อุเบกขาเวทนา เป็นไปในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ในธรรมารมณ์ เป็นกุศลหรือเป็นอกุศลก็ตาม ก็ยังเป็นไป ปฏิสังยุตต์ด้วยโลกามิสคือด้วยตัณหา หรือว่าด้วยความพอใจ ไม่ใช่เป็นอุเบกขาที่เกิดพร้อมกับญาณ
ข้อความอธิบาย อุเบกขาอาศัยเรือน ๖ มีว่า
เมื่ออิฏฐารมณ์นั้นมาสู่คลองในทวารทั้ง ๖ หมายความถึง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อุเบกขาไม่ล่วงเลยรูปเป็นต้นเกิดขึ้น ก็ข้องติดอยู่ในรูปเป็นต้นเหล่านั้น เหมือนแมลงวันจับอยู่ที่ก้อนน้ำอ้อย พึงทราบว่า อุเบกขาอาศัยเรือน ๖
- รวมสติปัฎฐาน ตอนที่ 041
- รวมสติปัฎฐาน ตอนที่ 042
- รวมสติปัฎฐาน ตอนที่ 043
- รวมสติปัฎฐาน ตอนที่ 044
- รวมสติปัฎฐาน ตอนที่ 045
- รวมสติปัฎฐาน ตอนที่ 046
- รวมสติปัฎฐาน ตอนที่ 047
- รวมสติปัฎฐาน ตอนที่ 048
- รวมสติปัฎฐาน ตอนที่ 049
- รวมสติปัฎฐาน ตอนที่ 050
- รวมสติปัฎฐาน ตอนที่ 051
- รวมสติปัฎฐาน ตอนที่ 052
- รวมสติปัฎฐาน ตอนที่ 053
- รวมสติปัฎฐาน ตอนที่ 054
- รวมสติปัฎฐาน ตอนที่ 055
- รวมสติปัฎฐาน ตอนที่ 056
- รวมสติปัฎฐาน ตอนที่ 057
- รวมสติปัฎฐาน ตอนที่ 058
- รวมสติปัฎฐาน ตอนที่ 059
- รวมสติปัฎฐาน ตอนที่ 060
- รวมสติปัฎฐาน ตอนที่ 061
- รวมสติปัฎฐาน ตอนที่ 062
- รวมสติปัฎฐาน ตอนที่ 063
- รวมสติปัฎฐาน ตอนที่ 064
- รวมสติปัฎฐาน ตอนที่ 065
- รวมสติปัฎฐาน ตอนที่ 066
- รวมสติปัฎฐาน ตอนที่ 067
- รวมสติปัฎฐาน ตอนที่ 068
- รวมสติปัฎฐาน ตอนที่ 069
- รวมสติปัฎฐาน ตอนที่ 070
- รวมสติปัฎฐาน ตอนที่ 071
- รวมสติปัฎฐาน ตอนที่ 072
- รวมสติปัฎฐาน ตอนที่ 073
- รวมสติปัฎฐาน ตอนที่ 074
- รวมสติปัฎฐาน ตอนที่ 075
- รวมสติปัฎฐาน ตอนที่ 076
- รวมสติปัฎฐาน ตอนที่ 077
- รวมสติปัฎฐาน ตอนที่ 078