แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1471
ครั้งที่ ๑๔๗๑
สาระสำคัญ
ตติยคิลานสูตร ข้อ ๔๒๕
อส.รูปกัณฑ์ พระบาลีคันธายตนนิทเทส ข้อ ๖๒๔ - รูปที่เรียกว่า คันธายตนะ
ส.ส.ปทุมบุบผสูตร
ที่ห้องประชุมตึกสภาการศึกษา มหามกุฏราชวิทยาลัย
วันอาทิตย์ที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๒๘
แม้พระผู้มีพระภาคเอง ข้อความใน ตติยคิลานสูตร ข้อ ๔๒๕ มีว่า
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถานใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงประชวร ไม่ทรงสบาย ทรงเป็นไข้หนัก
ครั้งนั้น ท่านพระมหาจุนทะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระมหาจุนทะว่า
ดูกร จุนทะ โพชฌงค์จงแจ่มแจ้งกะเธอ
ท่านพระมหาจุนทะกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกร จุนทะ โพชฌงค์ดีนัก ดูกร จุนทะ โพชฌงค์ดีนัก
ท่านพระมหาจุนทะได้กล่าวไวยากรณภาษิตนี้แล้ว พระผู้มีระภาคทรง พอพระทัย พระผู้มีพระภาคทรงหายจากประชวรนั้น และอาพาธนั้นอัน พระผู้มีพระภาคทรงละแล้ว ด้วยประการฉะนี้แล
นี่คือประโยชน์ของเสียง เวลาที่กล่าวถึงธรรมที่สามารถพิสูจน์ได้ นำความ เอิบอิ่มใจทำให้จิตตชรูปเกิดขึ้นผ่องใส และทำให้หายจากโรคนั้นๆ ได้ แต่ต้องเป็น ผู้เกิดปีติเพราะเข้าใจและประจักษ์แจ้งในลักษณะของโพชฌงค์นั้นๆ ไม่ใช่เพียงความหวังว่า ถ้าได้ฟังเสียงสวดแล้วจะหาย แต่ต้องเข้าใจจริงๆ เนื่องจากเวลาที่จิต ซึ่งเป็นมหากุศลญาณสัมปยุตต์เกิด ย่อมเป็นจิตที่ดีกว่ามหากุศลญาณวิปปยุตต์
ถ. สัททารมณ์ที่เป็นอดีต เป็นจิตที่เคยได้ยินเสียงแล้วดับไปแล้ว ใช่ไหม
สุ. เคยนึกถึงอดีตสัททารมณ์อะไรบ้างหรือเปล่า
ถ. เคย
สุ. ยังสงสัยอะไร
ถ. เวลาที่ได้ยินเสียง มีโสตวิญญาณได้ยินเสียง และขณะนั้นก็จำได้ สัญญาเจตสิกเกิดจำได้ และเวลาที่ระลึกถึงเสียงนั้น จิตขณะนั้นก็มีโสตวิญญาณที่ดับไปแล้วเป็นอารมณ์ ไม่ทราบจะถูกไหม
สุ. ไม่ใช่
ถ. แต่ขณะนั้นเสียงไม่มีจริงๆ
สุ. ไม่มี แต่ว่าสัญญา ความจำเสียง และวิตกที่ตรึกถึงลักษณะของเสียง ก็เสมือนปรากฏ ยังก้องอยู่ในหู ยังเป็นเสียงนั้นอยู่
ถ. สัททารมณ์ที่เป็นอดีต สัททารมณ์นั้นต้องเป็นรูปธรรม ใช่ไหม ถ้าไม่ใช่นามธรรม
สุ. ที่ใช้คำว่า อดีตสัททารมณ์ เพียงแต่แสดงให้รู้ว่า ในขณะนั้นกำลังมีอะไรเป็นอารมณ์ แต่ไม่ได้หมายความถึงโดยขณะ หรือโดยสันตติ เพียงแต่แสดงให้เห็นว่าในขณะนั้นไม่ใช่คิดถึงเรื่อง อย่างข้อความที่ว่า สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน กำลังอ่านอย่างนี้ ไม่ได้มีเสียงมาเข้าหูเลย ใช่ไหม แต่เป็นสัญญา ความจำในเสียง ไม่มีเสียงใดๆ ในขณะนั้นที่เป็นอดีตสัททารมณ์เลย ซึ่ง นั่นคือการนึกถึงเรื่อง แสดงว่าขณะนั้นไม่ใช่มีเสียงหรือสัททะเป็นอารมณ์
แต่ขณะใดที่นึกถึงเสียงที่เคยได้ยิน ขณะนั้นมีอดีต ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่ใช่ปัจจุบันสัททารมณ์ และในขณะนั้นไม่ได้นึกถึงเรื่อง แต่กำลังมีเสียงที่เคยได้ยินเป็นอารมณ์ จึงใช้คำว่า เสียงที่เป็นอดีต
ถ. อย่างนี้ เวลาที่สติระลึกก็จะเป็นสภาพของนามธรรมทั้งหมด
สุ. เพราะว่าเสียงขณะนั้นไม่ใช่เสียงที่กระทบโสตปสาทและดับ จึงต้องระลึกที่สภาพที่เป็นนามธรรมที่กำลังคิดนึก
ถ้าใครยังไม่ได้คิดถึงเสียงที่เป็นอดีตสัททารมณ์ ก็ไม่จำเป็นต้องไปพยายามคิด เพราะถ้าพยายาม ก็คิดไม่ออก
จะให้คิดถึงกลิ่นดอกกุหลาบในเวลานี้ จะพยายามสักเท่าไร ถ้าไม่มีจิตที่เกิดตรึกนึกถึงจริงๆ จนกระทั่งเสมือนว่ากลิ่นนั้นกำลังกระทบปรากฏที่จมูก ความรู้สึกว่า มีกลิ่นนั้นเป็นอารมณ์ ก็เกิดขึ้นไม่ได้
วิบาก คือ ผลของกรรม ไม่ได้ทำให้มีเพียงปฏิสนธิจิตเกิดขึ้น และเป็นภวังค์สืบต่อดำรงภพชาติ และมีจักขุวิญญาณ ๒ ดวง เป็นกุศลวิบาก ๑ ดวง อกุศลวิบาก ๑ ดวง โสตวิญญาณ ๒ ดวง เป็นกุศลวิบาก ๑ ดวง อกุศลวิบาก ๑ ดวง แต่กรรมยังให้ผลมากกว่านั้นอีก คือ ทำให้มีการได้กลิ่น ซึ่งเป็นฆานวิญญาณกุศลวิบาก ๑ ดวง อกุศลวิบาก ๑ ดวง ขณะใดที่ได้กลิ่นที่ดี ขณะนั้นก็เป็นกุศลวิบาก ขณะใดที่ ได้กลิ่นไม่ดี ขณะนั้นก็เป็นอกุศลวิบาก
อวินิพโภครูป คือ รูป ๘ รูป ซึ่งไม่แยกจากกันเลย ได้แก่ มหาภูตรูป ๔ และ อุปาทายรูป ๔
มหาภูตรูป ๔ ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ
อุปาทายรูป ๔ ได้แก่ สี กลิ่น รส โอชา
รูปทั้ง ๘ รูป กระทบกับปสาทเป็นบางรูป เช่น ธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลม เป็นมหาภูตรูป ๓ เป็นโผฏฐัพพะ กระทบกับกายปสาทเท่านั้น จะไม่กระทบกับ ปสาทอื่นเลย
เพราะฉะนั้น สุขทุกข์ในวันหนึ่งๆ ทางกาย ก็เพราะกรรมเป็นปัจจัยให้ กายปสาทเกิดขึ้นกระทบกับโผฏฐัพพะ คือ ธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลม ถ้าธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลมที่สม่ำเสมอ กระทบสัมผัสแล้วสบาย ขณะนั้นเป็นกุศลวิบาก แต่ถ้ากระทบสัมผัสแล้วไม่สบาย ซึ่งความรู้สึกใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นและอยากจะให้ความรู้สึกนั้นหมดสิ้นไปโดยเร็ว ขณะนั้นเป็นทุกขเวทนาทางกาย ที่อาศัยการกระทบกันของ กายปสาทและโผฏฐัพพะ
และในอวินิพโภครูป ๘ ซึ่งเป็นกลาปหรือกลุ่มของรูปที่เล็กที่สุด ยังมีสี มีกลิ่น มีรส มีโอชา สำหรับสี กลิ่น รส โอชาซึ่งเป็นอุปาทายรูป เป็นรูปที่อาศัยมหาภูตรูปเกิด เป็นรูปที่ติดอยู่กับมหาภูตรูป แยกออกจากมหาภูตรูปไม่ได้เลย และแม้ว่ามี ๔ รูปก็จริง แต่ที่จะกระทบกับปสาทได้มีเพียง ๓ รูป คือ สี ๑ กลิ่น ๑ รส ๑ สำหรับโอชาไม่สามารถกระทบได้
เพราะฉะนั้น มหาภูตรูป ๔ มีมหาภูตรูป ๓ ที่กระทบกับปสาทได้ และ อุปาทายรูป ๔ ที่เป็นอวินิพโภครูปนั้น ก็มีอุปาทายรูป ๓ ที่กระทบกับปสาทได้ แต่ อุปาทายรูปรูปหนึ่งกระทบกับปสาทไม่ได้ เพราะฉะนั้น ในอวินิพโภครูป ๘ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ สี กลิ่น รส โอชา มี ๒ รูปที่ไม่กระทบกับปสาทใดๆ คือ ธาตุน้ำ กับโอชา นอกจากนั้น คือ ดิน ลม ไฟ กระทบกับกายปสาท สีกระทบกับจักขุปสาท กลิ่นกระทบกับฆานปสาท และรสกระทบกับชิวหาปสาท
นี่คือการรับผลของกรรม มหาภูตรูปและอุปาทายรูปเกิดร่วมกัน และเป็นรูปที่กระทบกับปสาทที่ทำให้วิบากจิตเกิดขึ้น แล้วแต่ว่ารูปที่กระทบนั้นจะเป็นอิฏฐารมณ์ คือ น่าพอใจ หรืออนิฏฐารมณ์ คือ ไม่น่าพอใจ
ในกลุ่มที่เล็กที่สุด ที่เป็นอวินิพโภครูป ๘ เฉพาะรูปสีรูปเดียวกระทบกับ จักขุปสาท โดยมีแสงสว่างเป็นปัจจัย เวลาที่รูปสีกระทบกับจักขุปสาท และมี แสงสว่างเป็นปัจจัย จะปรากฏสภาพของสี ของวัตถุ คือ มหาภูตรูปนั้นๆ ต่างๆ กันออกไป
มีมหาภูตรูปจริง แต่ถ้าแสงสว่างไม่มี สีไม่กระทบกับจักขุปสาท สภาพ สีสันวัณณะของวัตถุนั้นๆ ก็ปรากฏไม่ได้ เพราะฉะนั้น เมื่อมีแสงสว่าง ทำให้สีกระทบกับจักขุปสาท ก็ปรากฏสภาพของสีของวัตถุคือมหาภูตรูปนั้นต่างๆ กันออกไป เป็นรูปร่าง เป็นสัณฐานต่างๆ ที่น่าพอใจบ้าง ไม่น่าพอใจบ้าง
เพราะฉะนั้น สีซึ่งเป็นอุปาทายรูปที่เกิดกับมหาภูตรูป ก็มีลักษณะสภาพที่เป็นอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ แล้วแต่ว่าจะกระทบกับบุคคลใด ถ้าเป็นบุคคลที่มี กุศลกรรม อิฏฐารมณ์ที่เป็นสีก็กระทบกับจักขุปสาทของบุคคลนั้นทำให้จักขุวิญญาณกุศลวิบากเกิดตามกรรมที่ได้กระทำแล้ว นี่เป็นการรับผลของกรรมทางตา
สำหรับเสียง เกิดขึ้นโดยอาศัยจิตเป็นสมุฏฐานบ้าง หรืออุตุเป็นสมุฏฐานบ้าง ก็ปรากฏสภาพเป็นเสียงที่น่าพอใจหรือไม่น่าพอใจ แล้วแต่วิบากของบุคคลใดจะกระทบกับเสียงที่น่าพอใจในขณะใด หรือเสียงที่ไม่น่าพอใจในขณะใด
แต่ในอวินิพโภครูป ๘ ก็ยังมีรูปกลิ่น ซึ่งทุกคนพิสูจน์ได้ว่า มีกลิ่นที่น่าพอใจและมีกลิ่นที่ไม่น่าพอใจ เวลาที่กระทบแล้วบางครั้งรู้สึกว่าทนไม่ได้ และรูปกลิ่นนี้ เมื่อกระทบกับฆานปสาท ก็เป็นปัจจัยทำให้เกิดฆานวิญญาณซึ่งเป็นวิบากจิต
อัฏฐสาลินี รูปกัณฑ์ พระบาลีคันธายตนนิทเทส ข้อ ๖๒๔ มีข้อความว่า
รูปที่เรียกว่า คันธายตนะ เป็นไฉน
กลิ่นใดเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ (คือ กระทบกับฆานปสาทรูป) ได้แก่ กลิ่นรากไม้ กลิ่นแก่นไม้ กลิ่นเปลือกไม้ กลิ่นใบไม้ กลิ่นดอกไม้ กลิ่นผลไม้ กลิ่นบูด กลิ่นเน่า กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น หรือกลิ่นแม้อื่นใดซึ่งอาศัยมหาภูตรูป ๔ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้มีอยู่ สัตว์นี้ดมแล้ว หรือดมอยู่ หรือจักดม หรือ พึงดมซึ่งกลิ่นใดอันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้ด้วยฆานะ อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ นี้เรียกว่า คันธายตนะบ้าง คันธธาตุบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า คันธายตนะ
ขณะที่เห็น บังคับบัญชาไม่ให้เห็นก็ไม่ได้ เมื่อมีจักขุปสาทก็ต้องเห็น ขณะที่ ได้ยิน จะบังคับให้ไม่ได้ยินก็ไม่ได้ เมื่อมีโสตปสาทก็ต้องมีการได้ยิน นอกจากนั้น ยังต้องมีการดมกลิ่น หรือได้กลิ่น ซึ่งจะไม่ให้ได้กลิ่นก็ไม่ได้ เมื่อมีฆานปสาท
บางคนอาจจะรู้สึกว่า อยากได้กลิ่นหอมๆ จึงทำให้มีการแสวงหากลิ่นที่หอม แต่ควรจะพิจารณาว่า แม้ไม่แสวงหา เมื่อเป็นผลของกรรมแล้ว ต้องมีการได้กลิ่นเกิดขึ้น ซึ่งบางครั้งเป็นกลิ่นที่น่าพอใจ บางครั้งเป็นกลิ่นที่ไม่น่าพอใจ สำหรับกลิ่นที่ ไม่น่าพอใจ ทุกคนไม่ปรารถนา แต่เมื่อมีกรรมที่ได้กระทำแล้ว ย่อมเป็นปัจจัยทำให้ฆานวิญญาณเกิดขึ้นรู้กลิ่นที่กระทบกับฆานปสาท
ข้อความต่อไปในอรรถกถามีว่า
พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งคันธายตนะต่อไป
บทว่า มูลคันโธ (กลิ่นรากไม้) ได้แก่ กลิ่นที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยรากไม้อย่างใดอย่างหนึ่ง แม้ในกลิ่นที่แก่นเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน
กลิ่นผักดองเป็นต้นที่ยังไม่ได้ที่ หรือได้ที่แล้วไม่ดี ชื่อว่าอามคันโธ (กลิ่นบูด)
กลิ่นเกล็ดปลา กลิ่นเนื้อเน่า กลิ่นเนยใสเสียเป็นต้น ชื่อว่าวิสคันโธ (กลิ่นเน่า)
บทว่า สุคันโธ (กลิ่นหอม) ได้แก่ กลิ่นที่น่าปรารถนา
บทว่า ทุคคันโธ (กลิ่นเหม็น) ได้แก่ กลิ่นที่ไม่น่าปรารถนา
ด้วยบททั้ง ๒ คือ กลิ่นหอมและกลิ่นเหม็นนี้ ย่อมเป็นอันว่ากลิ่นแม้ทั้งหมดทรงถือเอาแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้กลิ่นแม้ทั้งหมดที่ไม่ได้มาในพระบาลี มีกลิ่นช่อฟ้า และกลิ่นผ้าเก่าเป็นต้น พึงทราบว่า รวมอยู่ในกลิ่นที่ชื่อว่าเยวาปนกะ คือ กลิ่นแม้ อื่นใดที่ไม่ได้กล่าวถึง ด้วยประการฉะนี้ กลิ่นนี้แม้ต่างกันโดยเป็นกลิ่นที่รากไม้เป็นต้น ว่าโดยลักขณาทิจตุกะ (คือ ลักษณะ ๔) แล้ว ไม่แตกต่างกันเลย
ไม่ว่ากลิ่นใดๆ ก็ตาม
สพโพปิ เจโส ฆานปฏิหนนลักขโณ คันโธ ก็กลิ่นแม้ทั้งหมดมีการกระทบ ฆานะเป็นลักษณะ
ฆานวิญญาณัสสะ วิสยภาวรโส มีความเป็นอารมณ์ของฆานวิญญาณเป็นรส
คือ เป็นกิจ
ตัสเสวะ โคจรปัจจุปัฏฺฐาโน มีความเป็นโคจรของฆานวิญญาณนั้นนั่นแหละเป็นปัจจุปัฏฐาน
สำหรับฆานวิญญาณ เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย และขณะที่เกิด ย่อมเกิดพร้อมสัมปยุตตธรรม คือ เจตสิก ๗ ดวง เท่านั้น
สำหรับปัจจัยที่จะให้เกิดฆานวิญญาณ คือ
อสัมภินนัตตา ฆานัสสะ เพราะฆานปสาทยังไม่แตกดับ
หรือบางแห่งใช้คำว่า ไม่ปะปนกัน คือ ถ้าดับไปแล้วก็หมดสภาพความเป็นฆานปสาท ก็ปะปนกับรูปอื่นๆ ที่เป็นธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ
อาปาถคตัตตา คันธานัง เพราะกลิ่นมาสู่คลอง
คือ กระทบจมูก ถ้าใครจะได้กลิ่นในขณะนี้คงจะยับยั้งไม่ได้ ใช่ไหม เพราะกระทบจมูกแล้ว
วาโยสันนิสสิตัง อาศัยวาโย อธิบายว่า เมื่อลมพากลิ่นไปสู่ช่องจมูกนั่นเอง ฆานวิญญาณจึงเกิด เมื่อลมไม่มี ฆานวิญญาณก็ไม่เกิด
ในที่นี้ไม่ใช่ไม่มีกลิ่น กลิ่นต้องมีแน่ๆ เพราะว่าอวินิพโภครูป ๘ ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ สี กลิ่น รส โอชา เพราะฉะนั้น ในกลุ่มที่เล็กที่สุดก็มีกลิ่น แต่เมื่อยังไม่กระทบจมูกขณะใด ขณะนั้นฆานวิญญาณก็ไม่เกิด
มนสิการเหตุกัง มีมนสิการ
หมายถึงปัญจทวาราวัชชนจิต ซึ่งเป็นวิถีปฏิปาทกมนสิการ คือ เป็นวิถีจิตแรก เมื่อเกิดขึ้นและดับไป เป็นปัจจัยทำให้ฆานวิญญาณเกิด
ขณะนี้ จะเห็นได้ว่า สีกระทบตาอยู่ บ่อยกว่ากลิ่น ใช่ไหม และเสียงกระทบหูบ่อยกว่ากลิ่น ทั้งๆ ที่ที่ใดมีมหาภูตรูป ๔ ที่นั้นต้องมีกลิ่น แต่กลิ่นก็กระทบฆานปสาทน้อยกว่าทางจักขุปสาทและโสตปสาท
เวลาที่ได้กลิ่น ถ้าสติปัฏฐานไม่เกิด จะทำให้หวั่นไหวไปเพราะกลิ่นที่กระทบกับฆานปสาท เพราะถ้าเป็นกลิ่นที่หอมก็ติด และแสวงหามาก เป็นต้นว่า ดอกไม้ นานาชนิด บางท่านชอบปลูกต้นไม้ที่มีดอกหอมๆ แสดงว่ามีความพอใจในกลิ่น นอกจากนั้นยังปรุงเครื่องหอมต่างๆ เช่น น้ำหอมกลิ่นต่างๆ แสดงให้เห็นว่า ทางตาติดสีสันที่ปรากฏ ทางหูติดในเสียงที่ได้ยิน และยังติดในกลิ่น ไม่ได้ลดน้อยลงไปเลย เพราะถ้าได้กลิ่นที่น่าพอใจ ก็ต้องพอใจ และบางท่านที่มีความพอใจมากก็แสวงหากลิ่นต่างๆ ที่น่าพอใจเพิ่มขึ้นๆ
ตรงกันข้ามกับกลิ่นเหม็น ไม่มีผู้ใดต้องการ และเวลากระทบก็ไม่ได้รู้เลยว่า ขณะนั้นเวทนาที่เกิดร่วมกับฆานวิญญาณเป็นเพียงอุเบกขาเวทนา เพราะว่า ความไม่แช่มชื่น ความไม่พอใจในกลิ่นนั้นมีมาก จนทำให้รู้สึกว่าไม่สามารถทนกลิ่นนั้นๆ ได้ เช่น กลิ่นขยะอย่างแรง บางท่านอาจจะต้องอุดจมูก หรือวิ่งหนีไป แสดงให้เห็นว่า แม้อุเบกขาเวทนาจะเกิดกับฆานวิญญาณที่ได้กลิ่น แต่โทมนัสเวทนา ความ ไม่แช่มชื่น ความไม่สบายใจที่เกิดร่วมกับโทสมูลจิตซึ่งเกิดหลังจากฆานวิญญาณ ปิดบังลักษณะของอุเบกขาเวทนาที่เกิดกับฆานวิญญาณ
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๔๘ ตอนที่ ๑๔๗๑ – ๑๔๘๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1441
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1442
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1443
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1444
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1445
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1446
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1447
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1448
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1449
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1450
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1451
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1452
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1453
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1454
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1455
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1456
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1457
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1458
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1459
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1460
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1461
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1462
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1463
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1464
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1465
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1466
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1467
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1468
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1469
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1470
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1471
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1472
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1473
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1474
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1475
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1476
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1477
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1478
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1479
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1480
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1481
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1482
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1483
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1484
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1485
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1486
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1487
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1488
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1489
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1490
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1491
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1492
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1493
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1494
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1495
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1496
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1497
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1498
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1499
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1500