แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1505
ครั้งที่ ๑๕๐๕
สาระสำคัญ
จดหมายจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จ.ฉะเชิงเทรา
ท่านอาจารย์ตอบว่า อิทธิปาฏิหาริย์มีจริง - เหตุสมควรแก่ผล
ที่ห้องประชุมตึกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
วันอาทิตย์ที่ ๙ มีนาคม ๒๕๒๙
๔. ทำให้หายไปก็ได้ หมายความว่า ทำกิเลสในจิตให้ดับสูญ ให้หายไป ให้หมดไป ทำความไม่ติดกุศล ทำความไม่หลงยึดในผลดีที่เราก่อให้หายไป คือ ดับปีติวิสัย ไม่ใช่ว่าเป็นการเสกสิ่งนั้นสิ่งนี้ให้หายไป (วัตถุต่างๆ ) หรือทำการล่องหนหายตัว ดังที่ได้เข้าใจกันอยู่ในผู้ที่งมงาย
๕. ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ หมายความว่า แม้กิเลสตัณหาอุปาทาน หรือนิวรณธรรมใดจะหนาเท่าฝา จะแข็งแรงเท่ากำแพง จะเป็นเครื่องปิดกั้นขนาดภูเขา ผู้มีอิทธิวิธีแท้ก็จะต้องรู้แจ้งแทงทะลุ และไม่ติดไม่ยึดได้โดยไม่ยาก ได้โดยง่าย ไม่ข้องอยู่ ไม่ขัดอยู่ เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ทำความเป็นพระอริยะปรากฏขึ้นมาได้อย่างง่ายดาย ไม่ติดขัด
๖. ผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ หมายความว่า เรื่องที่ไม่น่าจะทำให้เกิดได้เป็นได้ก็เกิดได้เป็นได้อย่างน่าอัศจรรย์ ทำได้ราวปาฏิหาริย์ การทำตนให้มีอำนาจจิตอยู่เหนือความคิด อยู่เหนือความติดความยึดเดิมๆ เรียกว่า เก่งเหนือธรรมชาติ เช่น ตัดกิเลสราคะ ไม่ต้องสมสู่สืบพันธุ์ เป็นความเก่งเหนือสัญชาตญาณ ซึ่งเป็นธรรมชาติดั้งเดิม ซึ่งเหนือคนธรรมดา สามารถทำสิ่งที่ยากให้ง่ายได้ เป็นผู้ที่ฆ่ากิเลสได้ง่ายดาย สามารถทำธาตุดินที่แข็งให้เป็นของเหลวเหมือนน้ำได้ จึงสามารถ ดำดินได้ราวปาฏิหาริย์
๗. เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ หมายความว่า เป็นเรื่องที่เก่งสามารถยิ่งขึ้นไปอีก แม้จะอยู่ในสิ่งแวดล้อมสัมผัสที่จัดจ้านอย่างยิ่ง ก็สามารถทำให้ง่ายให้สบายได้ เหมือนก้อนน้ำแข็งกลางเตาหลอมเหล็ก สามารถทำธาตุน้ำให้แข็งได้ จึงเดินบนน้ำได้อย่างแสนสะดวกสบายเหลือเชื่อ
๘. เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ หมายความว่า ทำจิตให้ว่างเบาสบาย ปราศจากกิเลสนิวรณ์ เป็นจิตอิสระ ปราศจากเครื่องดึงเครื่องถ่วง ล่องลอยไปไหนๆ ก็ได้ สุดแสนสะดวกสบาย เบา เหมือนนกน้อยมีปีกแข็ง จะไปไหนก็ไปได้ด้วยปีกของตนทั้ง ๒ ข้าง มีจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย มีบาตรเป็นเครื่องบริหารท้อง เป็นการเหาะได้โดยไม่ต้องเหาะ เป็นผู้ที่มีคุณธรรมอันปรากฏเด่น เห็นง่าย สะอาด บริสุทธิ์ ชัดเจน มิใช่งมงายมุ่งหวังที่จะทำตนให้เหาะให้ล่องลอยไปได้ในอากาศ ปฏิบัติเพื่อพิสูจน์ให้เห็นชัดได้ยาก เป็นการเดินเลี้ยว มิใช่เป็นการเดินตรงเพื่อเข้าหาพระนิพพาน
๙. ลูบคลำพระอาทิตย์พระจันทร์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ หมายความว่า เป็นผู้มีปัญญายิ่งยอด รู้ลึกซึ้งแทงทะลุในนามรูปทุกอย่าง แม้จะลึกลับไกลเกินรู้สุดยากสุดยิ่งขนาดไหน ทั้งเล็กเป็นปรมาณูธุลีละออง (โลกน้อย) และใหญ่โตมโหฬารเป็นดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ (โลกใหญ่) อันไกลสุดแสนไกลเท่าใดๆ ก็สามารถรู้ได้ไล่ถึง จับลูบเล่นได้อย่างเช่นในฝ่ามือนั่นทีเดียว แต่ใครอื่นจะรู้ด้วยนั้นแสนยาก พระอริยเจ้าผู้มีอิทธิวิธีแท้นั้นท่านย่อมรู้เอง สัมผัสเอง อย่างลูบคลำด้วยฝ่ามือได้จริงๆ
๑๐. ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ หมายความว่า เป็นผู้สามารถ รู้ได้หรือเข้าใจทะลุแจ่มแจ้งไปตลอดในสภาพจิตที่เรียกว่าพรหมโลกได้ กี่ลักษณะ กี่ระดับ กี่ชั้นเชิง ก็แยกออกแบ่งถูก กำหนดสภาพ กำหนดสถานภาพของแต่ละพรหมได้ถูกฝาถูกตัว
ทั้งหมดนี้ข้าพเจ้าได้กล่าวมา ล้วนเป็นอิทธิวิธญาณ ซึ่งเป็นความเก่งในการทำจิตให้ปราศจากกิเลสนิวรณ์ เป็นอิทธิวิธีซึ่งเป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นสามัญญผลที่ผู้ปฏิบัติ ตามหลักอปัณณกธรรม ๓ จะได้รับ จะเป็นผลธรรมดาของผู้ปฏิบัติธรรมที่มีความสำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖ คือ มีสติปัฏฐาน ๔ เป็นสิ่งที่มีได้ ปฏิบัติได้ยาก ตามที่ผู้มีมิจฉาทิฏฐิบางท่านได้กล่าวไว้ ซึ่งเป็นปาฏิหาริย์งมงายที่พวกฤาษีพยายามพากันปฏิบัติเพื่อให้มีให้เป็นในตัวของตัว
ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงเห็นว่า ผู้ที่มีสัมมาปฏิบัติอยู่ กำลังจะมีมิจฉาทิฏฐิ คือ มีความเห็นคล้อยไปในทางผิด เห็นเป็นดังเช่นปาฏิหาริย์เช่นพวกฤๅษีเห็น เป็นความเห็นที่นอกทางนิพพาน ข้าพเจ้าจึงได้ชี้แจงมายังท่าน เพื่อให้ท่านได้ทบทวนใน สิ่งที่ท่านได้เห็นและได้บรรยายออกไปยังผู้ที่สนใจใฝ่ธรรมทั้งหลาย ในเมื่อทิฏฐิท่าน เป็นมิจฉาเสียแล้ว สังกัปปะวาจา กัมมันตะ อาชีวะ วายามะ สติ สมาธิ ก็จะเป็นมิจฉาตามมา จนเป็นเหตุให้การศึกษาและปฏิบัติยิ่งออกนอกเขตพุทธะ นอกเขต พระนิพพานยิ่งๆ ขึ้น ข้าพเจ้าเห็นว่า นี่เป็นสิ่งร้ายแรงมาก จึงได้ทำการท้วงติงมาเพื่อเป็นประโยชน์ของท่านเอง และเป็นประโยชน์ของผู้อื่นด้วย ถ้าท่านได้บอกและอธิบายต่อๆ ไป จะเป็นการช่วยจรรโลงชีวิตพระพุทธศาสนาให้สืบทอดต่อๆ ไป คือ จะมีผู้ที่ปฏิบัติได้ และมีผู้ปฏิบัติตามกันมาอีก เพราะศาสนาพุทธนั้นเป็นศาสนาวิทยาศาสตร์ มิใช่เป็นศาสนาที่งมงายเหมือนอย่างลัทธิฤๅษีเดียรถีย์ใดๆ ที่ไม่สามารถปฏิบัติตามได้ พิสูจน์ให้เห็นตามได้
ท้ายนี้ ข้าพเจ้าขออนุโมทนาสาธุในสิ่งที่ท่านได้กระทำอยู่ ขอความดีที่ท่านได้กระทำจงเป็นเหตุให้ท่านได้มีดวงตาเห็นธรรม เดินกลับมาสู่ทางที่เป็นสัมมาทิฏฐิ เพื่อท่านจะได้ไม่หลุดล่วงจากกระแสแห่งนิพพาน จงฟังธรรมแล้วเอาไปทำ อย่าฟังธรรมแล้วเอาไปทิ้ง ธรรมใดๆ ก็ไร้ค่า ถ้าไม่ทำ
ขอเจริญในธรรมแก่ญาติสัมมาปฏิบัติ
พุทธายาโธ
สุ. ไม่ทราบท่านผู้ฟังมีความเห็นว่าอย่างไรบ้าง เพราะว่าท่านที่อ่านพระไตรปิฎกสมัยนี้ โดยที่ไม่ได้ศึกษาโดยละเอียดย่อมคิดว่า ปาฏิหาริย์เป็นเรื่องที่เหลวไหล ซึ่งในยุคนี้สมัยนี้ไม่ใช่แต่เฉพาะในพระพุทธศาสนาเท่านั้นที่ดูเสมือนว่า กำลังมีการทำปาฏิหาริย์ แม้ในประเทศอื่นและศาสนาอื่น ก็มีการกระทำที่ดูเสมือนว่า เป็นปาฏิหาริย์ แต่ความจริงแล้วไม่ใช่ปาฏิหาริย์เหมือนปาฏิหาริย์ที่พระผู้มีพระภาคและพระอริยสาวก หรือผู้ที่ได้บำเพ็ญฌานสมาบัติในครั้งโน้นสามารถที่จะกระทำได้จริงๆ เพราะฉะนั้น นี่เป็นความต่างกัน
สำหรับสิ่งที่คนยุคนี้เข้าใจว่า เป็นการทำปาฏิหาริย์ ไม่ว่าจะเป็นในพุทธศาสนาหรือว่าศาสนาอื่น เช่น ผู้ที่สามารถรักษาโรคให้หายได้ด้วยการจับถูกต้อง ไม่ใช่แต่เฉพาะที่เมืองไทย มีท่านผู้หนึ่งท่านอยู่ต่างประเทศ ท่านบอกว่า มีผู้ที่ชักชวนให้ท่านนับถือศาสนาอื่น เพราะเขาสามารถรักษาโรคให้หายได้เพียงด้วยการจับมือ เพราะฉะนั้น ท่านก็คิดว่า ท่านยังไม่เข้าใจพระพุทธศาสนา แต่ถ้าท่านจะนับถือศาสนาอื่นและได้รับประโยชน์อย่างนั้น ก็คงจะไม่เป็นการเสียหายประการใด
ทุกคนต้องพิจารณาว่า สิ่งที่กำลังกระทำกันอยู่ในสมัยนี้ และเข้าใจว่าเป็นปาฏิหาริย์นั้น ไม่เหมือนกับปาฏิหาริย์ที่พระผู้มีพระภาคและผู้ที่ได้ฌานสมาบัติใน ครั้งนั้นทำ เพราะว่าปาฏิหาริย์จริงๆ ย่อมมีได้ แต่เป็นสิ่งที่ยากมาก และต้องเป็นการกระทำที่สมควรแก่เหตุ ถ้าเหตุไม่สมควรแก่ผลแล้วจะกล่าวว่า สิ่งนั้นๆ เป็นปาฏิหาริย์ไม่ได้
สำหรับในสมัยนี้ ดิฉันเองไม่ได้ตื่นเต้นกับสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือการกระทำ อย่างหนึ่งอย่างใดที่มีคนบอกว่าเป็นปาฏิหาริย์ต่างๆ แต่เมื่อได้ศึกษาพระธรรมโดยละเอียดแล้วเห็นว่า ปาฏิหาริย์เป็นสิ่งที่มีได้ แต่เป็นสิ่งที่ยากมากที่จะเกิดขึ้นได้ แม้ ในสมัยก่อนซึ่งเป็นกาลสมบัติ ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนสามารถได้ฌานสมาบัติ และกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ได้
ยิ่งในสมัยนี้ เป็นสมัยที่ไม่มีการพิจารณาธรรมในเรื่องเหตุและผลโดยละเอียด ก็ย่อมเป็นการยากที่จะมีผู้หนึ่งผู้ใดแม้เพียงที่จะบรรลุฌานสมาบัติ ยังไม่ต้องถึงจะกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ เพียงแต่จะอบรมความสงบของจิตจนกระทั่งความสงบนั้นเพิ่มขึ้นจนกระทั่งลักษณะความสงบนั้นเป็นความสงบที่มั่นคงถึงความเป็นสมาธิขั้น ต่างๆ จนถึงอัปปนาสมาธิซึ่งปฐมฌาน คือ อัปปนาสมาธิจิตขณะแรกที่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นขณะเดียว ก็ยังประกอบด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ซึ่งเป็นเจตสิก ๕ องค์ ที่กระทำกิจละนิวรณธรรม ซึ่งถ้าไม่มีการละธรรมที่เรียกว่านิวรณ์ คือ เครื่องเศร้าหมองของจิตให้ค่อยๆ คลายลงไปแล้ว ฌานจิตจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย
และเมื่อผู้นั้นบรรลุปฐมฌานแล้ว ด้วยสภาพที่เป็นอัปปนาสมาธิจิต ซึ่งเป็นสภาพของจิตที่ไม่ใช่กามาวจรจิตที่เคยเกิด เป็นจิตอีกระดับขั้นหนึ่ง เป็นขั้นรูปาวจรจิตที่เป็นปฐมฌาน องค์ของฌานจะต้องปรากฏสำหรับให้ผู้ที่ได้บรรลุพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะจริงๆ พิจารณาองค์ของฌานทั้ง ๕ คือ พิจารณาลักษณะของ วิตกเจตสิก พิจารณาลักษณะของวิจารเจตสิก พิจารณาลักษณะของปีติเจตสิก พิจารณาสุขเวทนา และพิจารณาเอกัคคตาเจตสิก ซึ่งถ้าไม่ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะสมบูรณ์จริงๆ ลักษณะขององค์ทั้ง ๕ จะปรากฏให้พิจารณาไม่ได้
เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ว่าใครก็ตามที่เห็นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดแล้วก็เข้าใจว่าเป็นอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งความจริงไม่ใช่ เป็นแต่เพียงผลของสมาธิเล็กๆ น้อยๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นเพราะว่าเคยสะสมมาในชาติก่อนๆ จึงมีสิ่งที่ผิดบ้างถูกบ้าง แต่ไม่ใช่ปาฏิหาริย์ที่แท้จริง และไม่ใช่ฌานจิตด้วย เพราะว่าผู้ที่จะอบรมฌานจิต ต้องศึกษาเรื่องสมถกัมมัฏฐาน อารมณ์ ๔๐ ที่จะทำให้จิตสงบโดยละเอียดจริงๆ โดยรู้ความต่างกันของอารมณ์ทั้ง ๔๐ ว่า อารมณ์ใดจะทำให้จิตสงบได้ขั้นใด เพราะว่าอารมณ์บางอารมณ์ไม่สามารถทำให้ถึงปฐมฌานได้ เช่น พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ
ผู้ที่จิตสงบเพราะระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ระลึกถึงศีล ระลึกถึงจาคะ ระลึกถึงคุณธรรมของเทวดา จะสงบได้เพียงขั้นอุปจารสมาธิ ถ้าผู้นั้นเป็นพระอริยบุคคล แต่ถ้ายังไม่ได้เป็นพระอริยบุคคล ที่จะให้จิตสงบจนกระทั่งถึง อุปจารสมาธิด้วยอนุสสติเหล่านี้ เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
เพราะฉะนั้น การอบรมเจริญสมถภาวนาเป็นเรื่องที่ละเอียด และต้องพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะที่รู้ความต่างกันของกุศลจิตและอกุศลจิตในขณะที่จิตกำลังสงบ มิฉะนั้นแล้วย่อมไม่สามารถกันหรือละอกุศลจิตได้ เพราะในขณะนี้กุศลจิตก็ดี หรืออกุศลจิตก็ดี ที่จะเกิดทางทวารหนึ่งทวารใด ก็ดับไปอย่างรวดเร็วและสลับกันมาก
ถ้าขณะนี้ได้ยินเสียง เป็นเสียงที่ไม่น่าพอใจ ไม่มีใครสามารถยับยั้งโทสมูลจิต ความไม่แช่มชื่นของจิตแม้เพียงเล็กน้อยซึ่งเกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็ว ยังไม่ทันจะสังเกตว่าเป็นความไม่แช่มชื่นของจิต แต่ความไม่แช่มชื่นของจิตก็เกิดขึ้นตามเหตุ ตามปัจจัยและก็ดับไป สลับกับขณะที่กำลังฟังธรรม ซึ่งเป็นกุศลจิต เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า ถ้าในขณะนี้ไม่มีสติสัมปชัญญะที่จะพิจารณารู้ว่า ขณะที่เป็นอกุศลแม้เพียงเล็กน้อย ก็ไม่ใช่ในขณะที่กำลังเป็นกุศลในขณะที่กำลังฟังพระธรรม ถ้าไม่มีความละเอียดอย่างนี้ อบรมสมถภาวนาไม่ได้ เพราะว่าการอบรมเจริญสมถภาวนานั้น ต้องประกอบด้วยปัญญา จิตที่กำลังเจริญนั้นก็เป็นมหากุศลญาณสัมปยุตต์ด้วย
อิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ ในยุคนั้นสมัยนั้น คือ ในสมัยพระผู้มีพระภาค ซึ่งเป็น สมัยของกาลสมบัติ มีผู้ที่อบรมเจริญปัญญา และสามารถบรรลุฌานจิตถึงขั้นที่สามารถกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ ได้ แม้ไม่ใช่ผู้ที่เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นอัญญเดียรถีย์คือผู้ที่นับถือศาสนาอื่น ก็ยังสามารถอบรมความสงบของจิตจนกระทั่งสามารถกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ได้ แต่แม้กระนั้น ก็ไม่มีผู้ใดที่สามารถกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ได้เสมอพระผู้มีพระภาค
เพราะฉะนั้น เรื่องของอิทธิปาฏิหาริย์มีจริง แต่ไม่เหมือนกับสิ่งที่คนในยุคนี้เข้าใจว่าเป็นอิทธิปาฏิหาริย์ แสดงให้เห็นว่า การศึกษาพระธรรม การอ่านหรือการฟัง บางทีบางท่านเปรียบพระธรรมหรือวัดพระธรรมด้วยความคิดความเข้าใจของท่านเอง คือ ถ้าท่านมีความเข้าใจในเรื่องหนึ่งเรื่องใดแล้ว ท่านอ่านพระไตรปิฎกหรืออรรถกถา ท่านก็อาจจะคิดว่า เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะเปรียบกับความคิดของตนเองว่า ไม่น่าเป็นไปได้ แต่ถ้าคิดว่า ปัญญาของบุคคลในครั้งนั้นสามารถดับกิเลสได้เป็นสมุจเฉทบรรลุความเป็นพระอริยเจ้า ในขณะที่คนในสมัยนี้ยังต้องฟังเรื่องของนามธรรมและรูปธรรมบ่อยๆ เนืองๆ เพื่ออุปการะให้สติระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ นี่ก็เป็นความต่างกันแล้ว
เพราะฉะนั้น ควรที่จะเกิดศรัทธาพร้อมด้วยปัญญา ไม่ใช่เข้าใจว่าตนเองเป็น ผู้ที่มีปัญญา และขาดศรัทธาในการที่จะฟังและอ่านพระไตรปิฎก และคิดเปรียบเทียบว่า ถ้าท่านคิดว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ บุคคลอื่นก็ย่อมทำไม่ได้ แต่ควรที่จะได้ศึกษาถึงเหตุว่า เหตุที่จะให้การกระทำนั้นๆ เกิดขึ้นสมควรแก่ผลหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุที่ไม่สมควรแก่ผล คือ เพียงนั่งสมาธิ และบอกว่าเหาะได้ ก็เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ หรือนั่งสมาธิ นิดๆ หน่อยๆ และบอกว่า มีจักขุทิพย์ เห็นสิ่งต่างๆ ได้ ก็เป็นสิ่งที่ไม่สมควรแก่เหตุ
ผู้ฟัง ขอแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับจดหมายฉบับเมื่อกี้ คือ ในฐานะที่ผมศึกษาธรรม และติดตามฟังธรรมของท่านอาจารย์มาถึงปัจจุบันนี้ก็ ๔ ปีแล้ว ได้ติดตามฟังทั้งทางวิทยุตอนเช้า ตอนค่ำ และอัดเทปไว้ เปิดฟังกลับไปกลับมาในสมัยที่ยังไม่ค่อยเข้าใจ ฟังทางวิทยุทั้งเอฟ.เอ็ม. และ เอ.เอ็ม.ด้วย และติดตามมาฟังที่นี้ด้วย และคงจะติดตามฟังไปอีกเรื่อยๆ นอกจากนั้นยังถอดคำบรรยายของ ท่านอาจารย์เป็นตัวอักษรด้วย และยังศึกษาตรวจสอบกับหลักฐาน เพราะ ท่านอาจารย์เวลาอธิบายธรรมจะมีหลักฐานอ้างอิงเสมอ คือ ตั้งแต่ผมศึกษามา ตั้งแต่ได้เริ่มฟังและมีความเข้าใจ ยังไม่เคยเห็น ไม่เคยได้ยิน แม้เพียงคำพูดเพียง คำเดียวของท่านอาจารย์ที่จะเป็นคำที่ผิด คือ ผิดทั้งจากหลักฐานและเหตุผลด้วย
เมื่อได้ศึกษามา ก็ได้รับความกรุณาจากท่านอาจารย์ที่บรรยายธรรม บางครั้งสติก็มีเกิดบ้างเล็กๆ น้อยๆ ก็ยิ่งแน่ใจว่า ธรรมของท่านอาจารย์เป็นธรรมที่ตรงแท้ และเป็นธรรมที่บริสุทธิ์จริงๆ เมื่อได้ยินจดหมายฉบับเมื่อกี้ก็ทำให้ระลึกได้ว่า กิเลสดับได้ยากเหลือเกิน ขออนุโมทนาในการเผยแพร่ธรรมของท่านอาจารย์ ที่เผยแพร่ออกไปกว้างขวางยิ่งขึ้น ผมมีความคิดเห็นเท่านี้
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๕๑ ตอนที่ ๑๕๐๑ – ๑๕๑๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1501
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1502
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1503
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1504
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1505
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1506
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1507
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1508
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1509
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1510
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1511
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1512
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1513
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1514
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1515
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1516
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1517
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1518
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1519
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1520
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1521
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1522
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1523
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1524
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1525
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1526
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1527
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1528
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1529
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1530
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1531
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1532
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1533
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1534
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1535
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1536
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1537
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1538
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1539
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1540
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1541
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1542
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1543
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1544
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1545
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1546
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1547
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1548
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1549
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1550
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1551
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1552
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1553
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1554
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1555
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1556
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1557
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1558
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1559
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1560