แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1558
ครั้งที่ ๑๕๕๘
สาระสำคัญ
ตอบปัญหาธรรมที่กุรุน้อย ราชบุรี
ยอดของพระธรรมในพระพุทธศาสนา (สภาพธรรมทั้งหลายไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน)
ถ้าไม่มีจิตที่คิดเรื่องราวต่างๆ ก็ไม่มี
ปัญญาไม่ใช่จะทำ (เรื่องเข้าใจ อบรมให้รู้ สิ่งที่กำลังปรากฏ)
มิจฉาสมาธิ และสัมมาสมาธิ
โยนิโสมนสิการ - พิจารณาด้วยความแยบคาย
ที่กุรุน้อย ราชบุรี
วันเสาร์ที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๒๙
สุ. โดยมากคำถามทั้งหลายมักจะเป็นเหตุการณ์หนึ่งเหตุการณ์ใดและ เกิดสงสัยขึ้น แต่ถ้าคิดว่าสภาพธรรมที่มีจริงมี ๒ อย่าง คือ นามธรรมและรูปธรรม และทำไมต้องรู้ว่าสภาพธรรมมีเพียง ๒ อย่าง คือ นามธรรมและรูปธรรม ก็เพราะว่าไม่ใช่ตัวตน จะต้องมาถึงคำว่า ไม่ใช่ตัวตน
ยอดของพระธรรมในพระพุทธศาสนา คือ สภาพธรรมทั้งหลายไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะไปคิดถึงเหตุการณ์ต่างๆ เรื่องต่างๆ แทนที่จะคิดอย่างนั้น ขณะนี้ แทนที่จะเป็นเวทนาของคุณที่นั่งอยู่ข้างๆ นี้เป็นอย่างไร นั่งมานานแล้วจะปวดจะเมื่อยหรือเปล่า หรือท่านที่ต้องนั่งคุกเข่า เวทนาจะเป็นอย่างไร นั่นคือเรื่องคิด แต่ความคิดก็เกิดขึ้น ยับยั้งไม่ได้ ทุกคนมีสิทธิคิดตามเหตุตามปัจจัย บังคับว่าไม่ให้คิด ก็ย่อมไม่ถูก เพราะว่าสภาพธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา
เพราะฉะนั้น แทนที่จะคิดถึงว่า ถ้าเห็นคนเจ็บป่วย ซึ่งขณะนั้นอาจจะเป็น ครั้งหนึ่ง หรือเร็วๆ นี้ ยังคงพยายามที่จะรู้ว่า ขณะนั้นเวทนาเป็นอย่างไร ก็ลืมเสียเถิด เพราะว่าผ่านไปแล้ว และขณะนี้ก็ไม่ใช่คนป่วยคนเจ็บ แต่จะเรียกว่า ไม่ป่วยไม่เจ็บก็ไม่ได้ ถ้าเขาเกิดเมื่อย ก็เหมือนกัน คือ ให้เข้าใจว่า ทุกเหตุการณ์เหมือนกันหมด ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน กำลังเห็นจริงๆ หรือกำลังอ่านเรื่องความปวดเจ็บของคนอื่นๆ หรือถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ความเจ็บปวดขั้นนั้น เพียงแต่ระลึกนึกถึงความเจ็บปวด ก็ย่อโลกที่กว้างใหญ่เต็มไปด้วยคนต่างๆ เหตุการณ์ต่างๆ ลงมาถึง ขณะเดียว คือ เดี๋ยวนี้
กำลังคิดถึงคนป่วย ต้องเข้าใจว่า จุดเริ่มต้นหรือจุดที่ปรากฏของความคิดหรือของเรื่องราวอยู่ที่ไหน ถ้าไม่มีจิตซึ่งเป็นนามธรรมที่คิด จะมีเรื่องของคนป่วย ความรู้สึกของเขาเป็นอะไรไม่ได้
นี่คือความคิดซึ่งเดินไปไกลแล้ว คือ จากขณะที่กำลังเห็นอย่างนี้ กำลังนั่ง คุยกันอย่างนี้ แต่ความคิดไปถึงคนปวดเจ็บ และอยากจะรู้ว่าเวทนาเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้น ก็ไม่พ้นจากความคิดนึก ไม่ว่าจะคิดนึกเรื่องอะไร ต้องย้อนกลับมา ที่ลักษณะของสภาพคิด เพราะว่าคำตอบทั้งหมดต้องอยู่ที่ขณะนี้ ถ้าขณะนี้ ไม่สามารถรู้ความจริงว่าเป็นนามธรรมหรือเป็นรูปธรรม จะไม่สามารถรู้ได้ เพราะเหตุการณ์อื่นๆ เรื่องอื่นๆ จะมีมาอีก และเราก็ต้องไปนั่งคิดยาว เป็นเรื่อง ซึ่งความคิดไปไกลกว่าในขณะนี้
เพราะฉะนั้น สภาพธรรมในขณะนี้จริงๆ ที่จะตัดปัญหาอื่นๆ ได้ทั้งหมด ถ้าสามารถรู้ความจริงของขณะนี้ได้ว่า แท้ที่จริงแล้วก็คือขณะที่กำลังคิด ถ้าจิตที่ คิดเรื่องนั้นดับ เรื่องนั้นก็ไม่มี กำลังเห็น เดี๋ยวนี้ เรื่องนั้นไม่มีแล้ว
เพราะฉะนั้น การที่จะรู้จักโลก รู้จักตัวเองตามความเป็นจริง ไม่พ้นจากขณะนี้ที่จะต้องรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม ซึ่งนามธรรมเป็นสภาพรู้ เป็นสภาพคิด ส่วนเรื่องราวต่างๆ เป็นแต่เพียงความนึกคิดจากการที่เคยเห็น เคยได้ยิน เท่านั้นเอง และไม่ใช่ของจริง คือ ไม่ใช่ปรมัตถธรรม เพราะว่าขณะนี้ไม่มี
ขณะนี้มีสีกำลังปรากฏทางตา ทุกคนปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นของจริง ไม่ได้มี คนป่วยเจ็บอะไรที่ไหนเลย ใช่ไหม เพราะฉะนั้น ก็รู้ความจริงในขณะที่กำลังเห็น ถ้าเกิดจะคิดขึ้นมาอีกถึงคนเจ็บป่วยก็รู้ว่า ขณะที่คิดไม่ใช่ขณะที่กำลังเห็น ก็เป็น สภาพนามธรรมชั่วขณะหนึ่งๆ ซึ่งเกิดดับสลับไป ทางตาบ้าง ทางหูบ้าง ทางจมูกบ้าง ทางลิ้นบ้าง ทางกายบ้าง ทางใจบ้าง และขณะใดที่เป็นสมมติสัจจะ ก็คือขณะที่ไม่ได้สังเกตพิจารณาลักษณะของสภาพปรมัตถธรรมที่ปรากฏ ซึ่งไม่ใช่เรื่องราว แต่มีลักษณะจริงๆ แท้ๆ ที่กำลังปรากฏทางหนึ่งทางใด เช่น สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ในขณะนี้ เป็นปรมัตถธรรม ในขณะที่ไม่ใช่เรื่องราว ไม่ใช่มีคนนั้นคนนี้กำลังนั่งอยู่ที่นี่ กำลังทำอย่างนั้นอย่างนี้ ถ้าเป็นในลักษณะนั้นแสดงว่า นั่นคือโลกของสมมติแล้ว
โลกของปรมัตถธรรมจริงๆ ไม่ใช่เรื่องราว ให้รู้ว่าขณะใดที่ไม่ใช่เรื่องราว และ มีลักษณะของสภาพธรรมปรากฏ ซึ่งสติสามารถระลึกจนกว่าจะรู้ชัดในลักษณะของปรมัตถธรรมนั้น จึงจะเป็นวิธีที่ทำให้รู้ว่า ชีวิตในวันหนึ่งๆ ไม่มีอะไรเลย นอกจากนามธรรมและรูปธรรม และสามารถจะแยกมโนทวาร ความคิดนึก ออกจากสิ่งที่ปรากฏจริงๆ ได้ ซึ่งความคิดนึกก็มีจริง และสติจะต้องระลึกรู้ด้วยว่า เป็นชั่วขณะหนึ่งที่คิด ไม่ใช่ขณะที่เห็น ไม่ใช่ขณะที่ได้ยิน
ถ้าสติระลึกลักษณะของสภาพธรรมได้ทั้ง ๖ ทวารเมื่อไร ความยึดถือใน สิ่งต่างๆ ว่า เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน จะค่อยๆ ละคลายลง แต่ว่าเป็นไปอย่างน้อยมากตามลำดับขั้นของปัญญา ตราบใดที่ยังเห็นและรู้ว่าเป็นความคิดนึก เข้ามาเจือเพราะเห็นเป็นคนทันที ก็แสดงว่า ปัญญาจะต้องอบรมเจริญอีกมาก โดยอาศัยการฟัง แต่ไม่ใช่ด้วยอาศัยวิธีที่จะทำว่า ตอนรับประทานอาหารจะทำอย่างไร ตอนอาบน้ำจะทำอย่างไร ตอนเดินจะทำอย่างไร ตอนเขียนหนังสือจะทำอย่างไร นั่นเป็นเรื่องจะทำ ไม่ใช่เป็นเรื่องเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง
เพราะฉะนั้น ปัญญาไม่ใช่จะทำได้ แต่ปัญญาจะต้องพัฒนา หรืออบรมจากขั้นของความเข้าใจในลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมในขณะนี้ ถ้าเป็นในขณะนี้ เรื่องอื่นจะไม่ถามอีกแล้ว ใช่ไหม ความเจ็บไข้ได้ป่วย เวทนาของคนอื่น ขณะนั้น เป็นเรื่องคิดนึกทั้งนั้น
ถ. ผมอยากจะทราบว่า ปสาทตาเป็นสิ่งที่ควรระลึกรู้ด้วยหรือเปล่า
สุ. ข้อสำคัญที่สุดที่จะต้องเข้าใจ คือ สภาพธรรมทุกอย่างที่เกิดขึ้นปรากฏ สิ่งนั้นสติควรจะระลึก และอย่างเร็วด้วย เพราะว่าดับไปอีกแล้ว ใช่ไหม ไม่รอเลย ไม่ใช่เรื่องที่ว่า เมื่อสิ่งใดไม่ปรากฏ ก็พยายามที่จะไปสร้าง พยายามที่จะไปทำ เพื่อรู้สิ่งนั้น ซึ่งเป็นการเสียเวลา ในเมื่อสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้เกิดแล้ว เพราะเหตุปัจจัยตามความเป็นจริง คือ เกิดและดับไปเลยอย่างรวดเร็วที่สุด นี่เป็นเหตุที่ทุกท่านที่หวังผลกล่าวว่า ไม่ทันใจเลย เมื่อไรจะรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมที่กำลังปรากฏ นั่นก็เพราะไม่รู้ว่านามธรรมและรูปธรรมเกิดเร็ว ดับเร็ว และสติ ก็ไม่ได้ระลึก แต่มานั่งคิดว่า เมื่อไรจะรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม ใช่ไหม
ถ้ารู้ว่านามธรรมและรูปธรรมเกิดและดับไปอย่างรวดเร็ว และก็เกิดอีก และก็ดับไปอย่างรวดเร็วอีก เพราะฉะนั้น สติ คือ สิ่งใดเกิดขึ้นปรากฏ ระลึกสิ่งนั้น ไม่ใช่ให้ใครเลือกเลยว่า สิ่งนั้นจะต้องรู้ไหม สิ่งนี้จะต้องรู้ไหม
สิ่งที่จะต้องรู้ คือ สิ่งที่กำลังปรากฏ ไม่ว่าจะเป็นทางหนึ่งทางใดใน ๖ ทาง
ถ. ผมไม่ค่อยเข้าใจเรื่องสัมมาสมาธิ คนต่างจังหวัดโดยมากไม่ค่อยทราบ มีอาจารย์นั้นมาสอนให้ทำอย่างนั้น อาจารย์นี้มาสอนให้ทำอย่างนี้ สอนในวิชานั้นบ้าง วิชานี้บ้าง อะไรอย่างนี้ แต่ก็ไม่ค่อยเข้าใจว่า สมาธินั้นจะเป็นสัมมาสมาธิหรือ มิจฉาสมาธิ ซึ่งอาจารย์เคยกล่าวว่า มีทั้งมิจฉาสมาธิกับและสัมมาสมาธิ สัมมาสมาธิที่อาจารย์เคยสอนไว้นั้นคืออย่างไร
อ. ถ้าเป็นสัมมาสมาธิ ต้องเป็นสมาธิที่ถูกต้องที่เกิดกับกุศลจิต ไม่ว่าจะเป็นกุศลจิตขั้นไหน เพราะว่าทุกครั้งที่กุศลจิตเกิดขึ้นต้องมีสมาธิเกิดขึ้น และเป็นสัมมาสมาธิในขณะนั้น ถ้าพูดถึงการเจริญสติปัฏฐาน ก็ขณะที่สติเกิดขึ้นระลึกรู้ สิ่งที่กำลังปรากฏ ในขณะนั้นก็มีสมาธิเหมือนกันที่เป็นสัมมาสมาธิ เป็นสมาธิที่เป็นกุศลขั้นเจริญสติปัฏฐาน
คนที่อยากเจริญสติปัฏฐาน ต้องมุ่งถึงสติและปัญญา สำหรับสัมมาสมาธิ จะเกิดขึ้นเอง ถ้าเข้าใจถูกต้องในเรื่องลักษณะของสติและลักษณะของปัญญา สมาธิจะเกิดขึ้นเองในขณะนั้นซึ่งต้องเกิดอยู่แล้ว และเป็นสัมมาสมาธิด้วย สำหรับคนที่สนใจอยากจะเจริญสมถภาวนาซึ่งเป็นคนละแนว ก็ต้องศึกษามากจริงๆ และเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะว่าคนที่เจริญสมถภาวนาไม่รู้เรื่องการเจริญสติปัฏฐานก็เป็นได้ และผลที่เขาจะได้ คือ การเจริญความสงบอย่างเดียว แต่คนนั้นไม่สามารถละกิเลสได้ เพราะเขายังไม่รู้หนทางเจริญสติปัฏฐาน ซึ่งเป็นหนทางเดียวที่จะละกิเลสได้
เพราะฉะนั้น สิ่งที่สำคัญกว่าการที่จะรู้เรื่องของสมาธิ คือ รู้เรื่องของสติว่า ลักษณะของสติเป็นอย่างไร เพราะถ้าเข้าใจแล้วว่าสติเป็นอย่างไร เข้าใจถูกต้อง ในลักษณะของสติ และศึกษานามธรรมและรูปธรรมในลักษณะต่างๆ ก็สามารถที่จะเจริญสติปัฏฐานได้แล้วในชีวิตประจำวัน จะเร็วหรือช้าก็อีกเรื่องหนึ่ง ขึ้นอยู่กับ แต่ละคนว่า เขาเคยสะสมมาในอดีตชาติและในชาตินี้มากน้อยแค่ไหน
ถ. จากการติดตามฟังเทปของท่านอาจารย์มา ๒ ปีแล้ว เมื่ออาจารย์มาคราวที่แล้ว ตอนนั้นผมยังใหม่ มาคราวนี้พอจะรู้เรื่องบ้างนิดๆ หน่อยๆ แต่ติดใจอยู่คำหนึ่งในเทปของท่านอาจารย์ ที่พูดเป็นภาษาบาลีว่า อาตาปี สัมปชาโน สติมา ซึ่งฟังครั้งแรกก็รู้สึกว่าฟังไปเรื่อยๆ เมื่อได้ศึกษาต่อมาๆ ที่ผมเข้าใจอย่างนี้จะถูก หรือเปล่าไม่ทราบ คือ อาตาปี แปลว่า ความเพียร ความเพียรชนิดที่เผากิเลสเลย เพียรจริงจัง เพียรกันอย่างโบราณ อย่างสมัยที่ดาบสเขาเพียรกัน คือ เอาจริง และต่อมาก็สัมปชาโน คือ การเกิดความรู้สึกตัวหรือปัญญา และตัวสุดท้าย คือ สติ
ทั้ง ๓ ตัวนี้ ผมรู้สึกว่า ถ้าหากเราจะเสริมสร้างกำลังใจที่จะปฏิบัติต่อไป ผมว่ามีประโยชน์มาก แต่ผมสารภาพได้เลยในขณะนี้ว่า ตัวเพียรนี้ยังไม่เข้าขั้น อย่างฟังเทปท่านอาจารย์ ผมก็ตามอย่างขนาดหนัก ขนาดว่าขณะที่เปิดเทปก็เตรียมสมุดขึ้นมาย่อ แต่ยังไม่ได้ทันครึ่งหน้าก็มีอันเป็นไป มันเหงาๆ ง่วงๆ ปวดศีรษะบ้าง อะไรบ้าง จึงต้องฟังอย่างเดียว ขอให้อาจารย์วิจารณ์ทีว่า ผมจะไปรอดไหม
สุ. โดยมาก ทุกอย่างอยู่ในตำรา และการเรียนนี้บางทีเรียนแบบข้ามไป ถึงจุดสุดยอดเลย ใช่ไหม อย่าง อาตาปี แปลว่า ความเพียรเผากิเลส ก็อยากจะ เผาเสียเดี๋ยวนี้เลย แต่ว่าสอบทานความคิด ความถูกต้องหรือเปล่าว่า จะเผาอะไร ถ้ายังไม่ได้พิจารณาโดยละเอียดจริงๆ ไม่ได้เผา เพราะว่าเผาไม่ถูก ไม่รู้จะเผาอะไร ที่ไหน เพราะฉะนั้น คำตอบต้องมาแต่ตอนต้น
ผู้อบรมเจริญปัญญาต้องมีปัญญา คือ เหตุผล ตั้งแต่ขั้นต้น ถ้าจะเผา ไม่ใช่ให้นั่งเพียรกัน หรือทำความเพียรกันเป็นการใหญ่ เพราะคิดว่านั่นคือการเผา แต่ต้องเข้าใจว่า จะเผาอะไร
ถ. ที่อาจารย์ตอบมานี้ ความคิดผมคงยังไม่ถึงขั้นนั้น
ส. ก็ยังทำไม่ได้
ถ. แต่บังเอิญไปฟังที่อาจารย์กล่าว ก็นำมาพิจารณาดู และมาเรียนถาม แต่ตามเนื้อหาที่เราปฏิบัติทุกวันนี้ ก็เพียรไปพอสมควร
ส. เพียรทำอะไร
ถ. ก็ฟัง
ส. เพื่ออะไร
ถ. เพื่อความเข้าใจ
ส. ข้อนี้ถูกต้อง
ถ. เรื่องการปฏิบัติ ที่จะให้รู้สึกว่า การมีสติหรือการหลงลืมสตินั้น ต่างกันอย่างไร ผมก็พยายามทำอย่างนั้น แต่จะนอกลู่นอกทางหรือเปล่าไม่ทราบ คือ ผมคิดว่า คำว่า สติ เมื่อยุงมากัด หรือมดมากัด จะเกิดสติขึ้นมาว่า มีความรู้สึกเกิดขึ้น
สุ. ทำไมจะต้องยุงกัด มดกัด ก็จะกลายเป็นยุงกัดมดกัดเป็นเรื่องดี เวลานี้กำลังมีสิ่งที่กำลังปรากฏ ทางตาก็เห็น ทางหูก็ได้ยิน แต่รู้เลยว่าหลงลืมสติ จนกว่าสติจะเกิด และที่จะรู้ว่าสติเกิด คือ อารมณ์กำลังปรากฏตามปกติ ยุงจะกัด มดจะกัด หรือยังไม่กัด ก็ไม่เป็นไรเลย เพราะว่าสิ่งที่กระทบกายก็อ่อนหรือแข็ง อย่างปกติ เย็นหรือร้อนตามปกติ ถ้าจะมีการตึงหรือไหว ก็ตามปกตินั่นเอง
ทางตาก็ตามปกติอย่างนี้ ทางหูก็เสียงตามปกติอย่างนี้ ทางจมูก ทางลิ้น โดยนัยเดียวกัน แต่ขณะที่สติไม่เกิด สภาพธรรมมีปัจจัยเกิดขึ้นแล้วดับไปเลย ไม่คอยใคร เกิดขึ้นแล้วดับไปๆ เพราะฉะนั้น ขณะที่สติไม่เกิดจึงไม่ได้ศึกษา ไม่ได้สังเกต ไม่ได้พิจารณาลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ
เวลานี้ถ้าสติจะเกิด ก็หมายความว่า เห็นตามปกติ แต่ว่าเริ่มพิจารณา อ่อนแข็งตรงไหน อย่างกระทบสัมผัสแล้วคิดเรื่องอื่นไปเลย นั่นคือขณะที่สติไม่เกิด ก็อ่อนก็แข็งตามธรรมดา จับถ้วยแก้ว จับช้อนส้อมธรรมดา แต่ขณะที่สติเกิด คือ ตรงแข็งนั้น ซึ่งแข็งอย่างปกติเหมือนทุกวันที่เคยจับช้อนส้อม แต่กำลังระลึกตรงนั้นเพื่อที่จะรู้ลักษณะที่ไม่ใช่ตัวตน โดยรู้ว่าลักษณะที่แข็ง ไม่ใช่ลักษณะที่รู้แข็ง แข็งจะปรากฏไม่ได้เลยถ้าไม่มีอาการรู้แข็ง ลักษณะรู้แข็ง ซึ่งทุกคนก็กำลังรู้แข็งขณะที่จับ แต่เป็นเราที่กำลังรู้แข็ง
เพราะฉะนั้น สติเกิด คือ แข็งอย่างเดิม รู้อย่างเดิม แต่เริ่มสังเกตรู้ตรงแข็ง เพื่อที่จะพิจารณาว่า แข็งนั้นไม่ใช่สภาพที่รู้แข็ง
เป็นปกติจริงๆ แต่ลักษณะของสติ คือ ระลึกตรงสภาพที่กำลังปรากฏ โดยที่ว่าไม่มีการคิดนึกมาก่อนว่าจะทำอย่างนี้ จะทำอย่างนั้น หรือจะรู้สิ่งนั้น จะรู้สิ่งนี้ โดยนัยนี้จะเห็นความเป็นอนัตตาของสติ แม้ในขณะนี้เอง แข็งมี ระลึกตรงนั้นเมื่อไร เริ่มที่จะใส่ใจตรงนั้นเมื่อไรเพื่อที่จะรู้ในสภาพที่เป็นอาการรู้ว่าไม่ใช่สิ่งที่แข็ง ขณะนั้น คือ การเริ่มต้นของสติปัฏฐาน
ถ. คำว่า โยนิโสมนสิการในรูป ในเสียง เขาโยนิโสกันอย่างไร
สุ. ตำราทั้งหมดเลย จะต้องเข้าใจว่า ตามความเป็นจริงแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้เพื่อให้เราพิจารณา แต่ถ้าเราไปติดอยู่ที่คำ เราก็เข้าใจยากหน่อย
มนสิการ คือ การพิจารณา โยนิโส คือ ด้วยความถูกต้อง ด้วยความแยบคาย เพราะฉะนั้น ขณะใดที่เป็นอกุศล ก็เพราะขณะนั้นไม่ได้ใส่ใจพิจารณาด้วยความ แยบคาย แต่ไม่ใช่ว่ามีเราเป็นอีกคนหนึ่งที่จะไปทำการพิจารณาให้แยบคายขึ้น ไม่ใช่อย่างนั้นเลย แต่เป็นการที่ทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่เกิดจนโต จนตาย ก็คือสภาพธรรม
เพราะฉะนั้น ขณะใดที่เป็นอกุศล ขณะนั้นเป็นอโยนิโสมนสิการ และขณะใด ที่เป็นกุศล ขณะนั้นเป็นโยนิโสมนสิการ ใครจะรู้หรือไม่รู้ สภาพธรรมก็ทำกิจของ สภาพธรรมไปแต่ละอย่างๆ จิตแต่ละประเภท เจตสิกแต่ละชนิด วิริยะ อิสสา มัจฉริยะ หรือปัญญา หรือสติ หรือศรัทธา มีปัจจัยเกิดขึ้นเมื่อไรก็เป็นไป ไม่ใช่ว่า มีใครต้องไปทำขึ้นมา แต่เป็นการรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยตามความเป็นจริง มีแล้ว เกิดแล้ว
ถ้าขณะใดที่จิตเป็นกุศลเกิดขึ้น คิดช่วยเหลือใครขณะใด ต้องมานั่งคิดไหม โยนิโสมนสิการมีลักษณะอย่างไร ในเมื่อขณะนั้นเป็นกุศล เพราะโยนิโสมนสิการเกิด จึงเป็นกุศล ถ้าโยนิโสมนสิการไม่เกิดก็ไม่เป็น ไม่ใช่ว่าให้เราไปทำโยนิโสมนสิการ เพียงแต่ให้เข้าใจว่า ขณะใดเป็นโยนิโส ขณะใดเป็นอโยนิโส คือ ขณะใดเป็นอกุศลจิต ขณะนั้นอโยนิโสเกิดแล้ว ทำหน้าที่ของมนสิการโดยไม่ถูกต้อง โดยไม่แยบคายแล้ว และขณะใดที่กุศลจิตเกิด ขณะนั้นก็เป็นโยนิโส เช่น ขณะที่จะฟังธรรม หรือขณะที่กำลังพิจารณาแล้วเกิดความเข้าใจ ขณะนั้นไม่ต้องไปนั่งทำอีก เลิกเรื่องจะทำ แต่ เริ่มเรื่องการเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยที่กำลังปรากฏ
หายสงสัยหรือยัง คือ โดยมากคิดว่า ธรรมทั้งหมดจะต้องไปทำกันใหม่ หรือว่าต้องไปทำ แต่ความจริงไม่ใช่ เป็นเรื่องการเริ่มเข้าใจสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ตามปกติ ตามธรรมดาในชีวิตประจำวัน ขณะใดที่เป็นกุศล ขณะนั้นโยนิโสมนสิการทำกิจของโยนิโสมนสิการเสร็จสรรพเรียบร้อยแล้ว ไม่ต้องมีใครไปคิดจะทำอะไรอีก
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๕๖ ตอนที่ ๑๕๕๑ – ๑๕๖๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1501
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1502
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1503
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1504
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1505
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1506
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1507
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1508
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1509
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1510
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1511
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1512
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1513
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1514
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1515
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1516
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1517
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1518
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1519
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1520
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1521
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1522
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1523
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1524
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1525
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1526
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1527
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1528
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1529
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1530
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1531
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1532
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1533
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1534
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1535
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1536
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1537
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1538
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1539
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1540
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1541
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1542
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1543
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1544
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1545
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1546
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1547
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1548
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1549
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1550
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1551
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1552
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1553
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1554
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1555
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1556
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1557
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1558
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1559
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1560