แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1559
ครั้งที่ ๑๕๕๙
สาระสำคัญ
ตอบปัญหาธรรมที่กุรุน้อย ราชบุรี
เรื่องของการแผ่เมตตา (การอบรมเจริญกุศลจิค ไม่ใช่เรื่องท่อง)
ลักษณะของสติ
เหตุที่จะให้สติระลึก
ที่กุรุน้อย ราชบุรี
วันเสาร์ที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๒๙
ถ. จากเทปของท่านอาจารย์ เรื่องการแผ่เมตตา คือ หลังจากผมสวดมนต์ไหว้พระ ในตอนท้ายก็ถนัดกันอย่างที่ว่า คือ พูดเป็นคำบาลีว่า สัพเพ สัตตา ... จนจบ แต่เมื่อฟังท่านอาจารย์บรรยายทางวิทยุ ผมจับความได้เพียงว่า การแผ่เมตตาไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายหรืออะไรก็ตามแต่ ตัวเองยังไม่มีอะไรแก่กล้าที่จะแผ่เมตตา ไปได้ เพราะฉะนั้น ถ้าหากผมซึ่งยังไม่มีอำนาจอะไรต่างๆ นานา แต่ยังต้องทำ ก็ พูดเป็นภาษาไทยโดยนึกในใจ คือ ขอให้ความปรารถนาดีของผมเท่าที่ผมได้สวดมนต์ ไหว้พระ ปฏิบัติธรรมมาบ้าง ถ้าหากเป็นไปได้ที่จะเป็นกุศลหรือประโยชน์แก่ ผู้มีพระคุณ หรือสรรพสัตว์ทั้งหลาย ถ้าท่านได้รับทราบ ก็ขอให้เป็นประโยชน์แก่ ท่านด้วย ผมพูดทำนองนี้ ถ้าพูดภาษาบาลีก็เหมือนท่อง ฟังไม่รู้เรื่อง ขอเรียนถามว่า หลังจากสวดมนต์แล้ว จะมีวิธีปฏิบัติอย่างไรในการแผ่เมตตา
สุ. ถ้าจะแผ่ส่วนกุศล อุทิศส่วนกุศลให้ก็ดี คือ ต้องเข้าใจว่า เมตตานี้ หมายความถึงความเป็นมิตร ความไม่ใช่ศัตรู ขณะใดที่หวังเกื้อกูล คิดถึงประโยชน์ของคนอื่น ขณะนั้นเป็นจิตที่เมตตา ซึ่งเมื่อจิตเมตตาเกิดขึ้นแล้ว เวลาที่กุศลจิตเกิด ย่อมมีทางของกุศล คือ กายบ้าง วาจาบ้าง ขณะที่เมตตาเกิดจริงๆ กายจะเป็นกุศลจริงๆ ช่วยเหลือได้ทันที ไม่อิดเอื้อน หรือไม่รู้สึกว่าไม่ใช่ธุระ หรืออะไรอย่างนั้น หรือทางวาจาที่เมตตา คำพูดก็จะต่างกับขณะที่ไม่เมตตา เป็นคำพูดที่คำนึงถึงผู้ฟัง ไม่ทำให้เขาเกิดความเสียใจ
พระธรรมนี่ละเอียดมาก แม้แต่การเพียงที่จะย้อนเพื่อน ขณะนั้นก็รู้ว่า ที่กำลังย้อนนั้นไม่ใช่เพื่อน คนละขณะกับที่เป็นเพื่อนแล้ว จิตขณะนั้นเป็นอกุศลปราศจากเมตตาแล้ว เพราะฉะนั้น การที่ได้ศึกษาธรรมโดยละเอียด จะทำให้กายวาจาเพิ่มความระมัดระวัง และเป็นกุศลขึ้นที่ประกอบด้วยเมตตา
ถ้าวันหนึ่งๆ โกรธคนอื่น และเต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว มีวาจาที่บาดหูคนฟัง แต่เวลาค่ำๆ ก็ท่องเมตตา ก็เป็นสิ่งที่ไม่เป็นความจริงใจ เป็นเพียงแต่การคิดว่า เป็นกุศล ก็อยากจะได้ จะต้องทำ เหมือนกับว่าทำแล้วจะได้กุศล แต่ลืมว่า จริงๆ แล้ว กุศล คือ จิตใจที่ปราศจากโลภะ โทสะ โมหะ
วันหนึ่งๆ ทุกคนต้องคิดถึงคนอื่นบ้าง ใช่ไหม ญาติก็มี พี่น้องก็มี คนที่ ตกทุกข์ได้ยากก็มี คนเจ็บไข้ได้ป่วยก็มี คนที่สุขสบายก็มี และจิตขณะที่คิด ถ้าสติเกิดก็จะรู้ว่า คิดด้วยความเมตตา หรือคิดที่จะเบียดเบียน ไม่ต้องท่องเลย แต่รู้ลักษณะของจิต และอบรมเจริญเมตตา โดยการที่ขณะใดที่จิตไม่ได้ประกอบด้วยเมตตา เมื่อสติระลึกรู้ ก็รู้ว่าเป็นสิ่งที่ไม่สมควร เกิดหิริ ความละอาย ความรังเกียจในสภาพที่ เป็นอกุศล และมีเมตตาต่อบุคคลที่คิด
เวลาอ่านหนังสือพิมพ์นี่เห็นชัด ใช่ไหม เป็นเครื่องสอบเมตตา หวั่นไหวไปกับเรื่องราวต่างๆ คนนั้นทำดี คนนี้ทำชั่ว ขณะที่คิดว่าคนนี้ทำไม่ดี จิตเป็นอย่างไร ยังไม่ต้องไปแผ่ที่ไหนเลย เพียงเรื่องที่ได้รับฟัง ได้อ่าน ได้พบ ได้เห็น ได้พูดถึง จิตในขณะนั้นประกอบด้วยเมตตาหรือเปล่า นี่คือการที่จะอบรมเจริญกุศล
ถ. หลังจากสวดมนต์แล้ว …
สุ. อุทิศส่วนกุศลดีที่สุด เมตตานี่ไม่ต้องมานั่งพูด ทำเลย จะเมตตาใคร ก็ทำเลย จะพูดกับใครก็พูดด้วยเมตตาเลย จะช่วยใครก็ช่วยเลย ไม่ต้องมานั่งท่องกัน
ถ. ถือปฏิบัติมา ครูบาอาจารย์บอกต่อๆ มา ก็ทำตาม …
สุ. เวลาจะช่วยคนอื่นนี่ต้องท่องไหม สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ ... และถึงจะช่วยหรือเปล่า ก็ไม่เลย
ถ. มีในบทเมตตาที่พระผู้มีพระภาคทรงสอนว่า ให้ภิกษุเจริญเมตตาแม้เพียงลัดนิ้วมือเดียว ที่มีกล่าวว่า เป็นผู้ไม่ว่างจากฌาน เป็นผู้ทำตามคำสอน จะ กล่าวไปใยถึงการเจริญเมตตาให้มากเล่า อยากทราบว่า การเจริญเมตตานี้เท่ากับเจริญสติปัฏฐานหรือเปล่า
สุ. ถ้าขณะนี้ไม่มีเมตตา ก็ควรมี นั่นคือตรงกับคำสอน เป็นผู้เจริญเมตตา คือ ขณะนี้มีหรือเปล่า ถ้าขณะนี้ไม่มีเมตตา ก็มีเมตตาเดี๋ยวนี้ เพื่อที่จะเจริญให้ มากขึ้น ไม่ใช่ไปคอยท่อง เห็นคนแปลกหน้า ขณะนั้นมีเมตตาหรือเปล่า นั่นคือ เจริญจริงๆ ไม่ใช่นั่งท่อง ขณะได้กลิ่นไม่สะอาด มีเมตตาได้ไหม หรือว่ามีความ ดูหมิ่น ดูถูก อาหารรสไม่อร่อย มีเมตตาได้ไหม หรือโกรธทันทีว่า เอาอาหารอย่างนี้มาให้รับประทาน นี่คือเจริญเมตตา ถ้าไม่มี ก็มีเดี๋ยวนี้ ในขณะที่ทางตาเห็น ทางหู ได้ยิน ทางจมูกได้กลิ่น ทางลิ้นลิ้มรส ทางกายรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ไม่รังเกียจ
ถ. พระผู้มีพระภาคเป็นผู้ที่มีพระมหากรุณาสูงส่ง ถ้าบุคคลหนึ่งไม่มีผ้านุ่ง มาขอจีวรพระผู้มีพระภาคที่กำลังห่มอยู่ พระองค์จะทรงทำอย่างไร
สุ. เรื่องสมมตินี่ไม่บังควรจริงๆ เพราะสิ่งนั้นจะเกิดขึ้นได้อย่างไร และถ้าเหตุการณ์จะเกิดขึ้นจริงๆ ก็ต้องมีทางที่เหมาะที่สมควร ไม่ใช่ว่าจะ คิดคาดคะเนเอาเอง
ถ. ที่ถามเมื่อกี้ว่า การเจริญเมตตา คือ การเจริญสติปัฏฐาน อันเดียวกันหรือเปล่า
สุ. มิได้ สติปัฏฐานหมายความถึงขณะใดที่ศึกษาลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏเพื่อเข้าใจว่าลักษณะนั้นเป็นนามธรรมหรือรูปธรรม เพื่อที่จะไม่มีตัวเรา ไม่มีตัวตนในขณะที่กำลังเห็น กำลังได้ยิน กำลังได้กลิ่น กำลังลิ้มรส กำลังรู้ส่งที่ กระทบสัมผัส กำลังคิดนึก นั่นคือสติปัฏฐาน แต่ขณะใดที่ไม่รู้อย่างนี้ เป็นกุศล ขั้นอื่นได้
ถ. ถ้าอย่างนั้นการเจริญเมตตา หมายความว่าเป็นเพียงกุศลขั้นหนึ่ง
สุ. ทุกขั้นควรเจริญ ไม่ใช่ว่าคนเจริญสติปัฏฐานแล้วไม่ทำอะไรเลย ไม่มีแม้แต่เมตตาก็ไม่ใช่ ขณะที่กำลังเป็นเมตตา สติก็ระลึกรู้ว่าขณะนั้นไม่ใช่เรา เป็นลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นเมตตา
ถ. ผมอ่านหนังสือของท่านอาจารย์ ติดอยู่คำหนึ่ง คือ คำว่า สหรคต
สุ. เป็นภาษาที่ทางธรรมใช้ ซึ่งใช้กันมาแต่โบราณ เข้าใจว่าไม่ใช่ ภาษาบาลี คงเป็นภาษาสันสกฤต เพราะภาษาบาลีใช้คำว่า สหคตัง มากกว่า แต่ท่านนิยมที่จะเขียนคำว่า สหรคต ซึ่งก็เหมือนกับความหมายของสหคตัง คือ เกิดร่วมกัน นี่ก็เป็นเรื่องของภาษาที่นิยมที่จะเขียนอย่างนั้น
ถ. ขอทราบลักษณะของสติ
สุ. สติเป็นสภาพที่ระลึกได้ ขณะนี้มีสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาบ่อย สลับกับทางหูที่ได้ยิน สลับกับทางใจที่คิดนึก ขณะนี้สิ่งที่ปรากฏทางตาก็ปรากฏ ระลึกได้ไหม ที่จะศึกษาพิจารณาลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ ถ้าระลึกได้เมื่อไร ขณะนั้นไม่ใช่เรา แต่เป็นสติเกิดจึงระลึก เพราะลักษณะของสติเป็นสภาพที่ระลึก วันหนึ่งๆ ทุกคนตื่นมาก็มีแต่ความพอใจต้องการที่จะทำอย่างนั้นอย่างนี้ ขณะใดที่เกิดกุศลที่เป็นทาน ขณะนั้นคือระลึกได้ เป็นสติที่ระลึกเป็นไปในทาน ไม่ใช่เรา เป็นลักษณะของสภาพที่ระลึกเป็นไปในกุศลธรรม
ถ. เหตุที่จะให้สติระลึก
สุ. ถ้าเป็นสติปัฏฐานก็หมายความถึงสิ่งที่กำลังปรากฏ แต่ต้องอาศัยหลายอย่าง อาศัยการฟัง อาศัยการสอบถาม อาศัยการพิจารณา นั่งอยู่เฉยๆ อย่างไร สติก็ไม่เกิดแน่ ต้องมีการเข้าใจเรื่องลักษณะของสติ ถ้าเป็นในขั้นสติปัฏฐาน
ถ. ดิฉันเพิ่งหันมาสนใจ ก็เลยยังงงๆ อยู่
อ. มีโอกาสฟังบ้าง มีโอกาสอ่านหนังสือบ้าง ฟังแล้วพิจารณา อ่านแล้วพิจารณาหรือเปล่า หรือว่าฟังเฉยๆ อ่านเฉยๆ
ถ. เมื่อได้อ่าน ได้ฟัง แต่ทำไมจึงไม่มีสติเท่าที่ควร คือ เกิดบ่อยๆ
อ. เมื่อกี้บอกเองว่าเพิ่งเริ่มต้น ใช่ไหม และก็พูดว่า น่าจะมีมากกว่านี้ เพราะอะไรจึงคิดว่า ควรจะมีมากกว่านี้ หรือจำเป็นต้องมีมากๆ ทำไมคิดอย่างนั้น
ถ. เพราะคิดว่าเป็นสิ่งที่ดี อ่านบ้างและฟังบ้าง ก็คิดว่าการมีสติจะทำให้เรารู้สึกหรือระลึกอยู่ตลอดเวลา แต่เราก็ไม่ค่อยจะมีบ่อยๆ
อ. อยากมี แต่อยากไม่ใช่เหตุปัจจัยที่ทำให้สติเกิดขึ้นได้ ไม่เกี่ยว ถ้า อยากตลอดเวลา สติยิ่งไม่มีโอกาสเกิดเลย เพราะมีแต่อยากๆ อยากให้มีมาก ทุกครั้งที่นึกว่า ทำไมไม่มี ควรจะมีมากกว่านี้ ตลอดเวลานั้นที่กำลังอยากมี ก็ไม่มีสติ เพราะมีแต่อยาก คือ มีสิ่งที่สามารถระลึกได้ตลอดเวลา เดี๋ยวนี้มีสีปรากฏทางตา เช่นเคย ทุกครั้งที่อยากให้สติเกิดขึ้น มีสีตรงหน้านั่นเองที่ยังไม่ได้ระลึกรู้ แทนที่จะหวังว่า ให้มีสติมากกว่าที่เคยมี ก็ระลึกรู้ตรงสีที่ปรากฏทางตาจะดีกว่าไหม
และที่อยากได้ อยากได้ก็ไม่ใช่ตัวตนที่อยากได้ อยากได้เป็นนามธรรมชนิดหนึ่งที่ไม่สามารถจะระงับไม่ให้เกิดขึ้นเลยได้ ถ้ามีเหตุปัจจัยทำให้เกิดอยาก อยากก็ต้องเกิด แต่เมื่ออยากเกิดแล้วควรรู้ว่า สภาพอยากก็เป็นสภาพธรรม ไม่ใช่เรา เป็นนามธรรมชนิดหนึ่ง ที่มีสิทธิเกิดขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ควรจะระลึกรู้ว่า ไม่ใช่ตัวตน เป็นลักษณะของนามธรรมชนิดหนึ่ง เป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานในขณะนั้น แทนที่จะหวัง แทนที่จะเสียใจที่ไม่มีสติเกิดขึ้น ก็ระลึกรู้ทันทีว่านั่นคือนามธรรม มีสติได้ในขณะนั้นเอง ถ้ากล้า ถ้าเห็นประโยชน์จริงๆ จะไม่ลังเล จะไม่นั่งหวัง นั่งอยากอยู่ แต่จะเจริญแทน เพราะว่าเข้าใจพอแล้วที่จะเจริญแทน
คิดว่า คงฟังอยู่ อ่านอยู่ ก็ดี แต่ต้องนาน ต้องบ่อย ต้องมีขันติ รู้สึกว่า เรื่องของการเจริญสติปัฏฐานเป็นเรื่องของขันติจริงๆ ต้องอดทนมากๆ
ถ. คือ ไม่มีวิธีทำอย่างอื่น
อ. มี เช่น สนทนาธรรมหรือสอนพระธรรม
ถ. เราไม่มีความรู้ที่จะสอนใคร
อ. แต่เรากำลังสนทนากันตรงนี้ ไม่ต้องฟังอย่างเดียว ถามได้ หรือพยายามอธิบายให้คนอื่นฟัง เพราะว่าคนที่เริ่มต้นก็น่าจะช่วยคนที่ยังไม่ได้เริ่มต้นได้บ้าง นิดๆ หน่อยๆ แนะนำให้ฟังรายการ แนะนำหรืออธิบายประโยชน์ที่ตัวเองได้มาจากการเจริญสติปัฏฐาน หรืออธิบายประโยชน์ของกุศลขั้นต่างๆ ที่ตัวเอง เข้าใจดีแล้ว นี่ก็ช่วยได้มาก และการเจริญกุศลทุกขั้นทุกประเภทก็มีประโยชน์มากๆ ในการเจริญสติปัฏฐาน เป็นการอุดหนุนให้สติเกิดขึ้นได้
การรักษาศีล การให้ทาน ไม่ว่าจะเป็นกุศลขั้นไหน สามารถช่วยให้สติ เกิดขึ้นได้ถ้าหากเราเริ่มเข้าใจลักษณะของสติแล้ว แต่ถ้าเราไม่สนใจที่จะฟัง ที่จะอ่าน ที่จะพิจารณา จะให้ทานสักเท่าไรก็คงไม่ได้ช่วยให้สติเกิด เพราะว่าตัวเองยังไม่ได้สนใจ ยังไม่ได้รู้เรื่องของสติ แต่ถ้ารู้เรื่องแล้ว ฟังต่อ ฟังเรื่อยๆ พิจารณาต่อไปเรื่อยๆ การเจริญกุศลทุกขั้นย่อมสามารถช่วยให้สติเกิดขึ้นได้
ถ. ต้องใช้ขันติมากๆ
อ. ไม่ทราบว่าเราสามารถใช้ขันติได้หรือไม่ แต่ถ้ามีขันติ ก็รู้สึกว่า ค่อยยังชั่วหน่อย
ถ. ความจริง อย่างโลภก็เป็นอกุศล ใช่ไหม แต่ถ้าเราโลภในสิ่งที่ดี จะเป็นอกุศลหรือเปล่า
อ. คิดว่า แทนที่จะโลภในสิ่งที่ดี ก็ทำสิ่งที่ดี พูดสิ่งที่ดี และคิดสิ่งที่ดี ดีกว่า แทนที่จะโลภอย่างนั้น เพราะใครๆ ก็โลภได้ แต่ไม่ทราบว่าโลภแล้วจะได้สิ่งที่โลภหรือเปล่า ถ้าไม่เข้าใจว่าสิ่งนั้นมีประโยชน์มากน้อยแค่ไหนและเหตุปัจจัยที่จะทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น ก็คงได้แต่โลภเฉยๆ คงไม่ช่วยเลย ก็โลภไปเรื่อยๆ แต่ไม่ได้สักที
ถ. โลภในการศึกษาด้านธรรมอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จะเป็นอกุศลไหม
อ. จะต้องมีโลภะก่อนจึงจะศึกษาธรรมหรือ
ถ. ดิฉันรู้สึกว่า ดิฉันมีความโลภในการศึกษา คือ อยากจะทราบโน่น ทราบนี่ อย่างนี้เป็นโลภะหรือเปล่า
อ. อยากจะทราบ ถาม และก็ฟัง ก็ดี แต่ถ้าอยากแล้วไม่ถาม อยากแล้วไม่ฟัง ไม่ดี ข้อสำคัญอยู่ที่โลภแล้วถามหรือเปล่า โลภแล้วฟังหรือเปล่า ถ้าถามแล้ว ฟังแล้ว ก็ o.k
ที่ถามว่าเป็นอกุศลหรือเปล่า ตัวเองเท่านั้นที่รู้ คนอื่นบอกไม่ได้ว่ามีโลภะหรือเปล่า
ถ. ก็ตัวเองไม่ทราบ
อ. ไม่ใช่ตัวเอง คือ ปัญญาเกิดขึ้นทราบ รู้จักลักษณะของโลภะ เพราะ โลภะเกิดขึ้น บางทีตัวเองรู้ใช่ไหม ปัญญาเกิดขึ้นรู้ รู้ว่ายังไม่เคยรู้ลักษณะของโลภะเลยตลอดชีวิต แต่เคยสังเกตบ้างแล้วใช่ไหมว่าเป็นโลภะ และไม่สงสัยว่าเป็นหรือ ไม่เป็น คือ เป็นบางครั้งที่เห็นชัดว่านี่เป็นโลภะ
ถ. ไม่กระจ่างแน่นอนลงไปว่า โลภอย่างนี้เป็นกุศลหรืออกุศลกันแน่ ดิฉันเพิ่งเริ่มศึกษา เพราะฉะนั้น ก็ยังไม่รู้ลึกซึ้ง
อ. เห็นแก่ตัว เคยสังเกตบ้างไหม สังเกตบ้างหรือยัง ลักษณะเห็นแก่ตัว นั่นก็โลภะ ใช่ไหม โลภเจตสิก ก็รู้ลักษณะของโลภเจตสิกบ้างแล้ว เมื่อรู้บ้างแล้ว ก็เป็นเหตุปัจจัยที่จะทำให้รู้ชัดขึ้นๆ เรื่อยๆ ได้ หรือถ้าสนใจโลภะมากๆ ก็ควรจะศึกษาเรื่องของโลภะในพระไตรปิฎก เพราะว่ามีมากเหมือนกันว่าโลภะเกิดขึ้นเพราะอะไร เป็นอย่างไร มีโทษอย่างไร สามารถทำให้ปัญญาเกิดขึ้นระลึกรู้และเข้าใจลักษณะของโลภะดีขึ้นเรื่อยๆ แต่ไม่มีคนอื่นบอกได้ว่าเป็นหรือไม่เป็น ตัวเองต้อง มีสติเกิดขึ้นในขณะนั้น รู้ลักษณะของโลภะในขณะนั้น แต่ความจริงไม่จำเป็นต้องรู้เฉพาะลักษณะของโลภะ รู้อย่างอื่นด้วย อะไรก็ได้ทั้งนั้น เพราะว่าสิ่งที่ปรากฏ ต้องเป็นความจริงทั้งนั้น
ถ. เมื่อกี้ดิฉันถามว่า มีวิธีทางใดบ้างที่จะทำให้เกิดสติ แต่คุณถามว่า มีโลภะไหม จึงต้องย้อนถามว่า ความโลภนั้นคืออะไร
อ. โลภก็มีหลายขั้น
ถ. ถ้าเช่นนั้นก็ถือว่าดิฉันโลภ
อ. ดิฉันโลภ หรือว่าเป็นโลภะที่มีลักษณะอย่างนั้น เพราะว่าความโลภ ก็เป็นนามธรรมชนิดหนึ่งที่ไม่มีรูปร่าง เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยทำให้เกิดขึ้น และต่างกับลักษณะของสภาพธรรมอื่นๆ ด้วย ซึ่งสามารถที่จะระลึกรู้ได้
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๕๖ ตอนที่ ๑๕๕๑ – ๑๕๖๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1501
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1502
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1503
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1504
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1505
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1506
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1507
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1508
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1509
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1510
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1511
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1512
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1513
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1514
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1515
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1516
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1517
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1518
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1519
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1520
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1521
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1522
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1523
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1524
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1525
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1526
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1527
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1528
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1529
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1530
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1531
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1532
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1533
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1534
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1535
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1536
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1537
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1538
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1539
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1540
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1541
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1542
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1543
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1544
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1545
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1546
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1547
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1548
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1549
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1550
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1551
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1552
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1553
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1554
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1555
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1556
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1557
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1558
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1559
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1560