แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1583
ครั้งที่ ๑๕๘๓
สาระสำคัญ
องฺ.สตฺตก.นครสูตร - ธรรมเครื่องป้องกัน ๗ ประการ และอาหาร ๔
สัทธรรม ๗ ประการ
ผู้ที่มีปกติเจริญสติปัฏฐาน (บรรลุนิพพานโดยไม่ต้องอบรมฌาน)
ที่ห้องประชุมตึกสภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย
วันอาทิตย์ที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๒๙
ข้อความต่อไปมีว่า
อีกประการหนึ่ง มีการสะสมข้าวสาลีและข้าวเหนียวไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชนภายในและป้องกันอันตรายภายนอก
ซึ่งได้แก่ ทุติยฌาน
อีกประการหนึ่ง มีการสะสมงา ถั่วเขียว ถั่วทอง และอปรัณชาติไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชนภายในและป้องกันอันตรายภายนอก
ความสงบจากรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ มั่นคงขึ้น ประณีตขึ้น ก็เหมือนกับฌานจิตขั้นต่างๆ เช่น ปฐมฌาน เปรียบเหมือนกับการสะสมหญ้า ไม้และน้ำ ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็น ทุติยฌานก็สะสมสิ่งที่ทำให้สงบสบายเพิ่มขึ้น ได้แก่ การสะสมข้าวสาลี ข้าวเหนียวไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว
สำหรับตติยฌาน ก็เพิ่มสิ่งที่ทำให้ไม่เดือดร้อน สงบ สบาย สะดวกยิ่งขึ้น คือ สะสมงา ถั่วเขียว ถั่วทอง และอปรัณชาติไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชนภายในและป้องกันอันตรายภายนอก
และสำหรับจตุตถฌาน ข้อความมีว่า
อีกประการหนึ่ง มีการสะสมเภสัชไว้มาก คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เกลือ เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชนภายในและป้องกันอันตรายภายนอก
ปัจจันตนคร หาอาหาร ๔ ประการได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดปัจจันตนครของพระราชาป้องกันไว้ดีด้วยเครื่องป้องกัน ๗ ประการนี้ และอาหาร ๔ ประการได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ในกาลนั้นเรากล่าวว่า ศัตรูหมู่ปัจจามิตรไม่ทำอันตรายได้
ขอให้คิดดูว่า ประเทศที่อุดมสมบูรณ์ด้วยอาหาร ข้าว น้ำ ทุกอย่าง และมีเครื่องป้องกันนครครบทุกอย่าง คนที่อยู่ในนครนั้นจะมีความสบายใจ ไม่เดือดร้อน สักแค่ไหน และคิดถึงจิตของผู้ที่มีโสภณธรรม เช่น ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ พหูสูต ความเพียร สติ ปัญญา ซึ่งเป็นเครื่องป้องกันที่คุ้มครองให้พ้นจากภัยอันตราย และ ยังมีข้าวปลาอาหารที่อุดมสมบูรณ์ เพราะฉะนั้น ย่อมไม่เดือดร้อน แต่จิตใจของท่านเป็นไปในระดับไหน
วันนี้เดือดร้อนด้วยอกุศลประเภทใด ก็แล้วแต่ว่าจะมีเครื่องป้องกันน้อยมากประการใด และมีความสมบูรณ์ของอาหารมากน้อยแค่ไหน หรือขณะนี้เป็นผู้อดอยาก ได้รับทุกข์ทรมานเพราะไม่ได้สะสมเสบียงไว้เพียงพอ มีความหิวโหยอยู่ตลอด ด้วยความต้องการ ด้วยโลภะ และเดือดร้อนเวลาที่ไม่ได้สิ่งที่ต้องการ และด้วยโทสะ ก็มีความคิดเบียดเบียน โกรธเคืองบุคคลอื่น ซึ่งเป็นภัยของตนเอง ทำให้จิตของตนเองเดือดร้อน
ข้อความต่อไป พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ในกาลใดอริยสาวกประกอบพร้อมด้วยสัทธรรม ๗ ประการ และเป็นผู้มีปกติได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบากซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้น เรากล่าวว่า มารผู้มีบาปทำอันตรายอริยสาวกไม่ได้
สัทธรรม ๗ ประการเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาเครื่องตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ฯลฯ เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชามีเสาระเนียดขุดหลุมฝังลึกไม่หวั่นไหว สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีศรัทธาเปรียบเหมือนเสาระเนียด ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เป็นสัทธรรมประการที่ ๑ ฯลฯ
นี่คือประโยชน์ของพระธรรม ซึ่งทุกครั้งจะเตือนให้ระลึกถึงสภาพธรรมที่ เกิดกับตน เพื่อที่จะละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ สำหรับสัทธรรมประการต่อๆ ไป ก็โดยนัยเดียวกัน
ถ. ผู้ที่เจริญสมาธิภาวนาจนได้ฌาน และทำฌานนั้นให้เป็นบาท แห่งวิปัสสนา สงสัยว่า ทำอย่างไร
สุ. ทำไม่ได้ ตอบได้เลยว่า ทำไม่ได้
ถ. ทำฌานให้เป็นบาทไม่ได้
สุ. ทำไม่ได้ ไม่มีใครทำได้
ถ. และที่ว่า เจริญฌานเป็นบาทแห่งวิปัสสนา เป็นอย่างไร
สุ. ถ้าไม่เคยเจริญสติปัฏฐานเลย ทำอย่างไรที่จะให้ฌานนั้นเป็นบาท เพราะก่อนการตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคก็มีผู้ที่ได้ฌานเป็นอันมาก และผู้ที่เกิดเป็นพรหมปุถุชน คือ ผู้ที่ไม่ได้รู้แจ้งอริยสัจธรรมก็มีมาก ซึ่งท่านเหล่านั้นทำอย่างไรจึงจะให้ฌานนั้นเป็นบาท ถ้าท่านไม่ใช่เป็นผู้ที่มีปกติเจริญสติปัฏฐาน
และสำหรับผู้ที่มีปกติเจริญสติปัฏฐาน คำว่า ปกติเจริญสติปัฏฐาน แสดงว่า ไม่ใช่การทำ แต่เป็นปกติของบุคคลนั้น
ปกติของผู้ที่ไม่เคยเจริญสมถภาวนาจนกระทั่งฌานจิตเกิด คือ ระลึกรู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏและศึกษา คือ พิจารณา น้อมไปรู้ในลักษณะที่ไม่ใช่ตัวตน คือ ลักษณะที่เป็นอาการรู้ สภาพรู้ หรือลักษณะที่ไม่ใช่สภาพรู้ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ นั่นสำหรับผู้ที่ไม่ได้ฌานจิต ต้องเป็นผู้ที่มีปกติอย่างนั้น
สำหรับผู้ที่เคยอบรมเจริญสมถภาวนาจนกระทั่งฌานจิตเกิด เมื่อเป็นผู้ที่มีปกติเจริญสติปัฏฐาน ถ้าท่านผู้นั้นไม่ใช่เป็นผู้มีวสี คือ ความชำนาญอย่างยิ่ง จนกระทั่งสามารถที่จะนึกถึงฌานได้ทันที ณ สถานที่ใดก็ได้ ในกาลไหนก็ได้ สามารถเข้าฌานได้ทันที ณ สถานที่ใดก็ได้ กาลใดก็ได้ สามารถออกจากฌานได้ทันทีในกาลไหนก็ได้ ณ สถานที่ใดก็ได้ สามารถพิจารณาองค์ฌานได้ทันทีในกาลไหนก็ได้ ณ สถานที่ใดก็ได้ ถ้าไม่มีวสีอย่างนี้ สติปัฏฐานจะไม่ระลึกลักษณะของสภาพของฌานจิตซึ่งเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย เช่นเดียวกับในขณะนี้ เห็น ไม่ใช่ตัวตน เป็นสภาพธรรมซึ่งเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย คนที่มีจักขุปสาทและลืมตาขึ้น จะไม่ให้เห็น ไม่มีใครสามารถทำได้ คนที่มีโสตปสาท เมื่อเสียงกระทบหูแล้ว จะไม่ให้ได้ยิน ไม่มีใครสามารถทำได้
เพราะฉะนั้น ถ้าผู้นั้นเป็นผู้ที่มีปกติเจริญสติปัฏฐาน มีวสี มีความชำนาญ ที่ฌานจิตมีปัจจัยจะเกิด จึงจะเป็นผู้มีปกติระลึกลักษณะของฌานที่เกิดขึ้นในขณะนั้นเป็นบาทให้พิจารณาได้ ไม่ใช่มีความจงใจต้องการที่จะทำฌานและยกขึ้นสู่วิปัสสนา นั่นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น จึงมีผู้ที่ได้ฌานจิตเป็นจำนวนมากที่ ไม่ได้รู้แจ้งอริยสัจธรรม แม้ว่าเป็นผู้ที่มีปกติเจริญสติปัฏฐานแล้ว
แม้ในครั้งที่พระผู้มีพระภาคยังไม่ได้ปรินิพพาน ผู้ที่เป็นพระอริยบุคคลที่ ไม่มีฌานจิตเป็นบาทซึ่งเป็นปัญญาวิมุตติ ก็มีมากกว่าเจโตวิมุตติ เพราะว่าต้องเป็น ผู้ที่มีปกติเจริญสติปัฏฐาน จึงจะเห็นว่าสภาพธรรมทั้งหลายทั้งหมดเป็นอนัตตา เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย มิฉะนั้นแล้วไม่สามารถละคลายความติด ความจงใจ ความพอใจ ในนามธรรมและรูปธรรมบางประเภทได้
ถ้ายังมีการเลือก ยังมีความพอใจที่จะระลึกลักษณะของนามธรรมเฉพาะอย่าง รูปธรรมเฉพาะอย่าง ก็ไม่สามารถประจักษ์ว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เกิดขึ้นและ ดับไป ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เพราะฉะนั้น จึงทำไม่ได้ เพราะว่าทุกอย่างต้องเกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย และปัญญาต้องรู้เหตุปัจจัยของสภาพธรรมที่เกิดขึ้น จึงจะละการยึดถือสภาพธรรมนั้นว่า เป็นเรา เป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคลได้
ถ. หมายความว่า ผู้ที่ได้ฌาน ถ้าไม่เข้าใจในเรื่องการเจริญวิปัสสนา หรือไม่เคยเจริญวิปัสสนา ก็ไม่สามารถที่จะทำฌานให้เป็นบาทอะไรได้ทั้งนั้น
สุ. แน่นอน
ถ. เพราะฉะนั้น ในขณะที่เป็นฌาน ถ้าเข้าใจวิปัสสนาถูกต้อง ก็อาศัยอารมณ์ของฌานนั้นเองเจริญวิปัสสนา
สุ. เมื่อได้ฌานแล้ว จะต้องการให้ฌานจิตเกิดเพื่อสติปัฏฐานจะได้ระลึกไม่ได้ ต้องการอย่างนั้นไม่ได้ แล้วแต่ว่าเมื่อมีวสี มีความชำนาญ การคิดนึกของทุกคน ห้ามไม่ได้ใช่ไหม คนที่ไม่ได้ฌานจะนึกถึงสภาพของฌานจิตไม่ได้ว่า ฌานจิตนั้น มีลักษณะอย่างไร แต่คนที่ไม่ได้ฌานนึกถึงรูปได้ นึกถึงเสียงได้ นึกถึงกลิ่นได้ นึกถึงรสได้ นึกถึงเรื่องราวบัญญัติต่างๆ ได้ นึกถึงสุข นึกถึงทุกข์ได้ นี่คือผู้ที่ไม่ได้ฌาน ต้องตามเหตุตามปัจจัย ไม่ใช่ว่าอยากจะนึกเรื่องไหนก็นึกขึ้นมาได้
สำหรับคนที่ไม่ได้ฌาน จิตยังนึกตามใจชอบไม่ได้ และแม้ผู้ที่ได้ฌานจิตแล้ว ก็นึกตามใจชอบไม่ได้เหมือนกัน ต้องแล้วแต่วสี คือ ความชำนาญ เมื่อมี ความชำนาญในการนึกบ่อยๆ เกิดนึกถึงฌาน และสติปัฏฐานเกิด สติปัฏฐานก็ระลึกลักษณะสภาพของฌาน หรือว่าลักษณะของจิตที่คิดถึงฌาน ก็รู้ว่าเป็นแต่เพียงนามธรรมที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน
เรื่องของการเจริญสติปัฏฐานทั้งหมด เป็นเรื่องละ ไม่ใช่เรื่องติด ตราบใดที่ยังมีความต้องการสิ่งหนึ่งสิ่งใด รู้ได้ว่านั่นไม่ใช่หนทาง หิริ โอตตัปปะต้องเกิดที่จะพิจารณารู้ว่า ในขณะนั้นเป็นโลภะ เป็นความต้องการ ไม่ใช่เป็นหนทางที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเกิดความยินดีพอใจในนามใดรูปใด
ถ. ผมได้ยินอยู่เสมอว่า ผู้ที่ได้สมาธิหรือได้ฌานแล้ว จะเจริญวิปัสสนา ต้องถอยออกจากสมาธิหรือฌานก่อน คือ ออกจากฌานแล้วจึงจะเจริญวิปัสสนาต่อ
สุ. ใครถอย
ถ. เขาอธิบายอย่างนี้
สุ. มิได้ ต้องคิดถึงสภาพธรรม ในขณะที่คิดจะถอย ใครถอย
ถ. ก็ตัวตน
สุ. ตัวตนถอย ก็ตัวตนทำอยู่ตลอด เดี๋ยวถอยออก เดี๋ยวถอยเข้า ถอยไปถอยมา เป็นตัวตนทั้งหมด ก็ไม่ใช่การละ
ถ. การอธิบายอย่างนี้ ไม่ถูกต้อง
สุ. ในพระไตรปิฎกมีข้อความว่า พิจารณาฌาน เพราะว่าสติปัฏฐานระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามเหตุตามปัจจัย
ถ. ส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า การเจริญวิปัสสนาจะต้องทำจิตให้เป็นสมาธิก่อน และยกจิตนั้นขึ้นสู่วิปัสสนา ผมเห็นว่า ยังไม่ถูกต้อง ไม่ทราบว่าจะยกแบบไหน จะยกอย่างไร ถ้ายกได้ก็ไม่จำเป็นต้องเข้าใจอะไรมาก เพียงทำใจให้เป็นสมาธิและ ยกใจนั้นขึ้นสู่วิปัสสนา ซึ่งผมก็อึดอัดใจอยู่ตลอดเวลาเมื่อได้ยิน ไม่สามารถเชื่อได้ แต่อย่างที่อาจารย์บรรยาย ก็หมายความว่า ผู้ที่ได้ฌาน ถ้าหากไม่มีความเข้าใจในเรื่องเจริญวิปัสสนาเลย และไม่เคยมีสติระลึก ก็เจริญวิปัสสนาไม่ได้
บางคนบอกว่า ผู้ที่ได้ฌานนั้น เวลาจะเจริญวิปัสสนาก็ทำจิตให้ตกภวังค์ จิตตกภวังค์เมื่อไร ก็เรียกว่าขณะนั้นไม่ใช่ฌาน ฌานจิตไม่มี ขณะนั้นก็เจริญวิปัสสนา ซึ่งขณะที่จิตเป็นภวังค์นั้น ไม่ทราบว่าใครจะระลึกได้ ผมยังไม่เข้าใจ
สุ. ท่านผู้นั้นคงไม่ได้หมายความว่า ให้ระลึกในขณะที่เป็นภวังค์ แต่ คงหมายความว่า เมื่อฌานจิตดับแล้ว เป็นภวังค์คั่น วิถีจิตทางมโนทวารก็เกิดขึ้นพิจารณาฌานจิตนั้น
ถ. อย่างนี้ได้ ใช่ไหม
สุ. เป็นธรรมชาติตามปกติของบุคคลนั้น ไม่ใช่ว่าจะทำอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ผู้ที่ได้ฌาน ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเป็นพระอริยสาวกพร้อมกับองค์ฌาน หรือโดยพิจารณาฌานเป็นบาท ไม่ใช่อย่างนั้น
ถึงแม้ว่าจะได้ฌานคล่องแคล่ว แต่เวลาที่โลกุตตรจิตจะเกิด ไม่ได้พิจารณาฌานเป็นบาทก็ได้ และบางท่านที่ได้ถึงฌานที่ ๕ แต่เวลาที่โลกุตตรจิตจะเกิด ขณะนั้นพิจารณาตติยฌาน หรือทุติยฌาน หรือปฐมฌานก็ได้ แล้วแต่ว่าฌานใดจะเกิด เพราะเหตุปัจจัยที่สติระลึกในขณะนั้นและรู้ในความไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตนในขณะนั้น ไม่ใช่เลือกตามใจชอบว่า จะเอาฌานนี้ ขั้นนั้น ยกขึ้นมาสู่วิปัสสนา ถ้าโดยลักษณะนั้น ก็เป็นอัตตา
ถ. ถ้าเอาฌานเป็นบาทของวิปัสสนาได้ ผู้ที่จะได้บรรลุก่อน คือ ท่านอาฬารดาบส ท่านอุทกดาบส และฤๅษีดาบสทั้งหลาย ซึ่งสมัยนั้นรู้สึกว่า จะได้ฌานกันมาก แต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีผู้ใดสำเร็จมรรคผลนิพพาน ก็หมายความว่า ผู้ที่เข้าใจว่าการเจริญวิปัสสนาต้องทำสมาธิให้ได้ฌานเสียก่อน ก็เป็นการสันนิษฐาน …
สุ. และเมื่อไรจะได้ฌาน ชาตินี้จะได้ไหม ไม่ใช่ว่าจะได้โดยง่าย โดยมาก อยากจะได้สิ่งที่ไม่รู้จัก คือ ยังไม่รู้จักว่าฌานคืออะไรและเจริญอย่างไร แต่ก็อยากได้ฌานแล้ว
ถ. เมื่อกี้อาจารย์กล่าวว่า ฆ่าความโกรธเสียได้อยู่เป็นสุข สมมติว่า มีคนๆ หนึ่งเขาฆ่าความโกรธได้และอยู่เป็นสุขจริง ขณะที่เป็นสุขนั้นเป็นสุขวิปลาส หรือเปล่า
สุ. แล้วแต่ระดับขั้นของบุคคล สุขเล็กๆ น้อยๆ ชั่วขณะที่โทสะไม่เกิด ยังไม่เป็นพระอริยบุคคลก็ได้
ผู้ฟัง สุขในที่นี้คงเป็น นิพพานัง ปรมัง สุขัง ไม่ใช่สุขอย่างที่วิปลาส
สุ. โดยมากท่านผู้ฟังไม่ได้คิดถึงระดับขั้นต่างๆ ของสภาพธรรม แต่ละประเภท ซึ่งความจริงแม้แต่ความหมายของคำว่า สุข ก็ต้องมีหลายขั้นด้วย อย่างสุขของพระโสดาบันกับสุขของปุถุชนก็ต่างกัน สุขของพระสกทาคามีกับ พระโสดาบันก็ต่างกัน สุขของพระอนาคามีกับพระสกทาคามีก็ต่างกัน สุขของ พระอรหันต์กับสุขของพระอนาคามีก็ต่างกันด้วย
ผู้ฟัง พิจารณาฌานในที่นี้ ฌานเป็นอารมณ์ได้ คือ ถ้าปรากฏทางใจ เพราะฉะนั้น ต้องใช้คำว่าพิจารณาฌานอย่างที่อาจารย์ว่า ในพระไตรปิฎกก็บอกว่าพิจารณาฌาน ไม่ใช่ยกฌานขึ้นสู่อารมณ์วิปัสสนาอย่างที่เข้าใจกันทั่วๆ ไปและ พูดกันมากจนกระทั่งทำให้ผู้ที่เรียนธรรมไขว้เขว เพราะฉะนั้น ผมยืนยันและสนับสนุนที่อาจารย์บรรยายมาทั้งหมด
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๕๙ ตอนที่ ๑๕๘๑ – ๑๕๙๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1561
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1562
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1563
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1564
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1565
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1566
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1567
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1568
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1569
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1570
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1571
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1572
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1573
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1574
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1575
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1576
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1577
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1578
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1579
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1580
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1581
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1582
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1583
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1584
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1585
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1586
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1587
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1588
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1589
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1590
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1591
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1592
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1593
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1594
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1595
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1596
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1597
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1598
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1599
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1600
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1601
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1602
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1603
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1604
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1605
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1606
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1607
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1608
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1609
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1610
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1611
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1612
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1613
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1614
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1615
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1616
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1617
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1618
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1619
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1620