แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1604
ครั้งที่ ๑๖๐๔
สาระสำคัญ
กรรม (ลักษณะของเจตนาเจตสิก)
อัฏฐสาลินี จิตตุปาทกัณฑ์ -วิญญาณ ๕ - ความต่างกันของมโนกรรม กับมโนกรรมที่เป็นกรรมบถ
องฺ.จตุกฺก. เจตนาสูตร
ที่ห้องประชุมตึกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
วันอาทิตย์ที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๓๐
สำหรับขณะที่ไม่ใช่วิบากและขณะที่ไม่ใช่กิริยา คือ ขณะที่ทุกชีวิตเมื่อ เกิดมาแล้ว ปฏิสนธิจิตเกิดแล้ว ดับแล้ว ภวังคจิตเกิดต่อ และตั้งแต่เกิดมาจนถึง ทุกวันนี้ จะมีภวังคจิตเกิดมากเวลาที่หลับสนิท ขณะนั้นภวังคจิตเกิดพร้อมกับ เจตนาเจตสิกทำกิจของเจตนา เจตนาเจตสิกเกิดพร้อมจิต ดับพร้อมจิต ขณะนั้น ไม่ได้เป็นอกุศลหรือกุศล ขณะที่นอนหลับสนิท
เพื่อเข้าใจถึงลักษณะของมโนกรรม ควรเข้าใจตั้งแต่ขณะที่หลับสนิท ไม่ใช่กุศลและอกุศล และเวลาที่ตื่น ถ้ากล่าวถึงชวนจิต โดยไม่พูดถึงเรื่องของวิบาก คือ จักขุวิญญาณ สัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ ไม่พูดถึงกิริยา คือ ปัญจทวาราวัชชนะ โวฏฐัพพนะ หรือมโนทวาราวัชชนะ แต่พูดถึงขณะที่รู้สึกตัวและเกิดความชอบ หรือไม่ชอบสิ่งหนึ่งสิ่งใดในชีวิตประจำวัน ถ้าขณะใดเป็นอกุศล เจตนาที่เกิดร่วมกับอกุศลจิตก็เป็นอกุศลกรรม พูดอย่างนี้ ได้ไหม
นี่คือเรื่องที่ไม่ติดในศัพท์ แต่ต้องเข้าใจความหมายจริงๆ ว่า ขณะที่อกุศลจิตเกิดขึ้น เวลาลืมตาก็มีความต้องการที่จะกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด ในขณะนั้นเป็นอกุศลจิต เพราะฉะนั้น เจตนาซึ่งเป็นกรรมที่เกิดร่วมกับอกุศลจิต ในขณะนั้นเป็นอกุศลกรรม ได้ไหม
ธรรมเป็นเรื่องของเหตุผล เป็นเรื่องของความเข้าใจ เป็นอกุศลกรรม แต่ไม่ถึงอกุศลกรรมบถ คือ ไม่ใช่เป็นทางหรือเป็นเหตุที่จะให้เกิดการกระทำที่เป็นกรรม ที่เป็นอกุศลทางกาย หรือทางวาจา
ทุกคนตื่นขึ้นมามีโลภะเป็นปกติ อาบน้ำ แต่งตัว บริโภคอาหาร ทำงาน ขณะที่ไม่ใช่เป็นความรู้สึกขุ่นเคืองใจ ไม่พอใจ ขณะนั้นส่วนใหญ่เป็นโลภมูลจิต
ขณะที่บริโภคอาหาร เจตนาเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยกระทำกรรม คือ การเคลื่อนไหวพร้อมกับโลภมูลจิตที่เกิด แต่ไม่ใช่อกุศลกรรมบถ เจตนานั้นเป็นอกุศลกรรมแต่ไม่ถึงกับอกุศลกรรมบถ เพราะว่าในขณะนั้นยังไม่มีการกระทำทุจริต ทางกาย ทางวาจา และขณะนั้นเจตนาที่เกิดกับอกุศลจิตนั้น เป็นมโนกรรมได้ไหม
นี่คือเรื่องที่ถ้าจะแสดงธรรมโดยย่อ ก็ย่อ คือ กล่าวถึงเรื่องของเจตนาที่ เป็นกรรม และเรื่องของกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม แต่ถ้าจะพิจารณาให้ละเอียดถึงจิตทุกๆ ขณะเพื่อให้เข้าใจจริงๆ โดยไม่ติดศัพท์ จะต้องเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมว่า ขณะนั้นเป็นมโนกรรมได้ไหม
ขณะที่ตาเห็น ขณะหนึ่งขณะใดก็ตาม ก่อนที่จะเกิดการเห็นขึ้น เป็นภวังคจิต และเมื่อรูปารมณ์กระทบกับจักขุปสาท กระทบกับอตีตภวังค์ ดับไปแล้ว ภวังคจลนะเกิดต่อและดับไป ภวังคุปัจเฉทะก็เกิดต่อและดับไป ปัญจทวาราวัชชนจิตเกิดต่อ และดับไป จักขุวิญญาณเกิดและดับไป สัมปฏิจฉันนจิตเกิดต่อและดับไป สันตีรณจิตเกิดต่อและดับไป โวฏฐัพพนจิตเกิดต่อและดับไป ชวนจิตเกิดขึ้นเป็นโลภมูลจิต ๗ ขณะ เป็นกรรมหรือเปล่า
ถ้าจะพูดถึงเรื่องของกรรม ก็พูดให้ละเอียดไปเลยว่า เป็นกรรมไหม เจตนา ที่เกิดร่วมกับโลภมูลจิตทางปัญจทวารวิถี เป็นกรรมไหม เป็น แต่ไม่ใช่อกุศลกรรมบถ เป็นกรรมอะไร กายกรรม หรือวจีกรรม หรือมโนกรรม ถ้ากล่าวว่าเป็นกรรมก็ สามารถที่จะแสดงได้ว่าเป็นกรรมใด เป็นมโนกรรม ถูกหรือผิด
นี่เป็นเรื่องที่จะต้องคิดจริงๆ ถ้าถูกก็ถูก ไม่ต้องเกรงว่าจะผิดจากพยัญชนะ เพราะว่าพยัญชนะที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงเป็นภาษาบาลี เพื่อให้เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมเท่านั้นเอง แต่เมื่อผู้ที่ฟังเป็นคนไทย ก็ใช้ภาษาที่ทำให้เข้าใจ ในลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ
อัฏฐสาลินี จิตตุปปาทกัณฑ์ อธิบายวิญญาณ ๕ มีข้อความว่า
พึงทราบว่า เจตนาซึ่งเกิดขึ้นตามทวาร ๕ ดังกล่าว ไม่เป็นกายกรรม ไม่เป็นวจีกรรม เป็นแต่มโนกรรมอย่างเดียว
เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจถึงความต่างกันของมโนกรรมกับมโนกรรมที่ถึง ความเป็นกรรมบถ ถ้าขณะใดที่เจตนาเจตสิกเกิดกับกุศลจิตหรืออกุศลจิตซึ่ง ไม่ใช่เป็นไปในทางกาย หรือทางวาจา ขณะนั้นเป็นมโนกรรม และถ้าไม่ใช่เป็นไป ในอกุศลกรรมบถ ๑๐ หรือกุศลกรรมบถ ๑๐ ขณะนั้นก็ไม่ถึงความเป็นกรรมบถ หรือไม่ถึงความเป็นมโนกรรมที่เป็นกรรมบถ
ขณะที่กำลังบริโภคอาหาร แต่งตัวธรรมดา ทำกิจการงานตามปกติ มี เจตนาเจตสิกเกิดกับอกุศลจิตนั้นๆ แต่ไม่ใช่กายกรรมวจีกรรมที่เป็นอกุศลกรรมบถ แม้ที่เกิดกับปัญจทวารก็เป็นมโนกรรม ไม่ใช่กายกรรมและวจีกรรม
วันหนึ่งๆ ทำอะไรบ้าง หยิบช้อนส้อม จับถ้วยแก้ว กวาดถู ซักรีด เป็นอกุศลกรรมบถหรือเปล่า ไม่เป็น เจตนาที่เกิดกับจิตนั้นๆ เป็นอกุศลกรรม หรือเปล่า เป็น
ข้อสำคัญ คือ อย่าคิดมากที่จะเป็นความวุ่นวายสับสน ยากแก่การที่จะเข้าใจสภาพธรรมโดยชื่อ แต่สามารถเจริญสติระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ และจะเริ่มเข้าใจในสภาพที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตนขึ้น
พอไหมเท่านี้ ที่จะรู้ว่าเป็นนามธรรมหรือเป็นรูปธรรม เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่เรา ก่อนที่จะเข้าใจความละเอียดของสภาพธรรมต่างๆ ที่ทรงแสดงไว้เป็นอันมากโดยชื่อ ซึ่งอาจจะทำให้ถ้าสติไม่เกิด ปัญญาไม่เจริญ ก็ไม่สามารถเข้าใจในสภาพธรรมนั้นๆ ที่ทรงแสดงไว้
ถ. มโนกรรมที่ถึงความเป็นกรรมบถเป็นอย่างไร
สุ. อกุศลกรรมบถทางมโนกรรมมี ๓ คือ อกุศลกรรมบถ ๑๐ มี กายกรรม ๓ วจีกรรม ๔ มโนกรรม ๓
ถ. ถ้าเป็นแต่เพียงคิด เจตนาที่เกิดกับกุศลจิตและอกุศลจิตที่เป็นแต่เพียงคิดเรื่องอกุศล กุศล ก็เป็นมโนกรรมเฉยๆ ไม่ถึงความเป็นกรรมบถ
สุ. ถ้าไม่เป็นไปในอกุศลกรรมบถที่เป็นมโนกรรม ๓ หรือกุศลกรรมบถ ที่เป็นมโนกรรม ๓ ก็ไม่ใช่กรรมบถ อกุศลกรรมที่เป็นมโนกรรม ๓ คือ ความเห็นผิด มิจฉาทิฏฐิ อภิชฌา พยาบาท นี่เป็นฝ่ายอกุศลกรรมบถที่เป็นมโนกรรม
ถ. ถ้าไม่ถึงเป็นอภิชฌา ไม่ถึงเป็นพยาบาท ไม่ถึงเป็นมิจฉาทิฏฐิ ก็ไม่จัดเป็นอกุศลกรรมบถ
สุ. ไม่เป็นอกุศลกรรมบถ แต่เป็นมโนกรรม มโนกรรมนี่ไม่ใช่จะเกิดง่าย ที่จะเป็นอกุศลกรรมบถ แต่ที่ไม่ถึงอกุศลกรรมบถมีเป็นประจำ
ถ. แค่ไหนที่จะเป็นอภิชฌา อย่างเช่น เดินผ่านร้านเพชรที่พาหุรัด เห็นเพชรสวย กลับมาบ้านก็คิดถึง อยากได้ อย่างนี้เป็นอกุศลกรรมบถหรือยัง
สุ. เป็นทุจริตหรือเปล่า
ถ. ไม่เป็น แต่ยังอยากได้อยู่ แต่ไม่ได้ทำอะไร
สุ. แต่เป็นทุจริตหรือเปล่า ถ้าเป็นอกุศลกรรมบถ ต้องเป็นทุจริตกรรม
ถ. อภิชฌา ต้องเป็นทุจริต
สุ. ต้องเป็นทุจริต
ถ. อยากได้เฉยๆ ไม่เป็น
สุ. วันนี้อยากได้อะไรบ้าง แต่ละคนก็อยากได้ไปคนละอย่าง แต่ก็ไม่ได้กระทำทุจริตกรรมอะไร ก็เป็นมโนกรรมได้ เพราะว่ายังไม่ใช่กายกรรม ยังไม่ใช่วจีกรรม หลักคือ แม้แต่ชวนจิต คือ อกุศลทางปัญจทวารก็เป็นมโนกรรม เพราะว่า ยังไม่ได้กระทำวจีกรรมหรือกายกรรม และไม่ใช่กรรมบถ ยังไม่ถึงขั้นที่จะเป็นทาง หรือเป็นคลองของธรรมที่จะทำให้เกิดผล คือ วิบาก
ปถ คือ คลอง ทาง หนทางที่จะทำให้เกิดผล คือ วิบาก
อกุศลกรรมบถที่เป็นมโนกรรม ไม่ใช่ว่าจะง่าย อย่างเช่น มิจฉาทิฏฐิ มีใครที่จะมีความเห็นว่า บุญไม่มี บาปไม่มี กรรมไม่มี บ้างไหม บางคนก็บอกว่า ไม่รู้ ไม่รู้ก็ไม่ใช่ว่าเห็นผิด แต่เป็นความไม่รู้ เมื่อไม่รู้ก็บอกว่าไม่รู้ แต่ถ้ามีความเชื่อมั่น เห็นว่า ไม่มี ขณะนั้นเป็นความเห็นผิด เพราะฉะนั้น การที่จะมีความเห็นผิดต่างๆ ไป ก็ไม่ใช่ว่าจะง่ายนัก แต่ก็ไม่ยากสำหรับผู้ที่สะสมความโน้มเอียงที่จะเห็นผิดและขาดการพิจารณา
ทางฝ่ายความเห็นถูกที่เป็นมโนกรรม คือ สัมมาทิฏฐิ ก็ไม่ง่าย ใช่ไหม
ถ้าไม่มีการได้ยินได้ฟังธรรมที่สมบูรณ์พร้อมด้วยเหตุผล ก็ยากนักยากหนา ที่จะละความเห็นของตัวเองได้ ก็ย่อมเข้าใจว่า สิ่งที่ตนเองคิดนั้นถูกต้องแล้ว และถ้าศึกษาโดยขาดการพิจารณาก็อาจจะทำให้เข้าใจผิดในสภาพธรรม และมีข้อประพฤติปฏิบัติที่ผิดด้วย เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า สัมมาทิฏฐิที่เป็นมโนกรรม ไม่ง่าย ต้องอาศัยการศึกษาและการพิจารณาให้ถูกต้องจริงๆ
เป็นมโนกรรมไหม ขณะที่กำลังฟัง กำลังศึกษา กำลังพิจารณา ไม่ได้อาศัยกายทำอย่างอื่นเลย และไม่ได้อาศัยวาจา หรือวจีด้วย แต่ในขณะนั้นกำลังพิจารณาในเหตุในผลของสิ่งที่ได้ฟัง เพราะฉะนั้น จึงเป็นมโนกรรมที่เป็นกุศลกรรมบถ
ถ. ถ้าผ่านร้านเพชรพลอย เราอยากได้ และนึกว่า ทำอย่างไรเราจึงจะได้ แต่ยังไม่ได้ลงมือทำอะไร นึกว่าจะต้องหาวิธี เงินจะซื้อก็ไม่มี ต้องหาวิธีว่า จะทำอย่างไร จะขโมย หรือปล้นเอาเพชรนั้นมา คิดอย่างนี้ แต่ยังไม่ได้มีการกระทำ ถือเป็นมโนกรรมหรือยัง
สุ. เป็น เพราะว่าคิดทุจริต ไม่ใช่คิดธรรมดา ความคิดมี ๒ อย่าง ใช่ไหม คิดที่เป็นทุจริตกับคิดที่เป็นสุจริต ถ้าคิดสุจริตจะคิดอย่างไร ไปซื้อ ถ้าคิดทุจริตก็ไม่ซื้อ
ถ. คิดหาวิธีได้มาด้วยหนทางอันไม่ชอบ เช่น ปล้น หรือหาโอกาสขโมย
สุ. นี่ก็เป็นอีกข้อหนึ่ง ซึ่งถ้ารู้ลักษณะของจิตที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย แม้ว่าจะเป็นอกุศลหรือกุศล ก็ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน พยายามที่จะรู้สภาพลักษณะความเป็นอนัตตาและละการยึดถือสภาพธรรมทั้งหลายว่า เป็นตัวตน ดีกว่าจะไปค้นคว้าด้วยชื่อและพยายามจะรู้ว่านี่เป็นอะไร โดยที่ว่าลักษณะของสภาพธรรมนั้นก็ดับไปแล้ว
เพราะฉะนั้น อย่าคิดมาก ถ้าทำให้สับสนยุ่งยาก แต่ควรที่จะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม ยังไม่ต้องไปถึงกรรมบถอะไร หรือมโนกรรม หรือทวารไหน หรือ อะไรก็ตาม เพียงแต่ให้รู้ลักษณะที่เป็นนามธรรมและรูปธรรมจริงๆ
จากการที่ได้ยินได้ฟังเรื่องของนามธรรม ไม่ทราบว่ากี่ชาติมาแล้ว นามธรรมเป็นธาตุรู้ เป็นสภาพรู้ รูปธรรมไม่รู้อะไรเลย ไม่ใช่สภาพรู้ ลักษณะของธรรม ทั้ง ๒ อย่าง ก็มีปรากฏที่จะให้ศึกษา จนกว่าจะค่อยๆ รู้ขึ้นในสภาพที่ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เพราะฉะนั้น การที่จะรู้ว่าเป็นทวารไหน บางคนก็ขณะนี้ที่เห็นเป็นจักขุทวารวิถีหรือมโนทวารวิถี แค่นี้ก็ไม่ใช่สิ่งที่พึงจะกระทำ เพราะ เมื่อไม่สามารถรู้การเกิดดับสืบต่ออย่างรวดเร็วของจักขุทวารวิถีและมโนทวารวิถี โดยการคิดเอา ก็ควรที่จะศึกษาลักษณะที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน ในขณะที่กำลังเห็น และสิ่งที่ปรากฏก็เป็นแต่เพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งปรากฏตั้งแต่เกิดจนกระทั่ง ตายไป แต่สามารถจะรู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏทางตาเพิ่มขึ้นบ้างไหมในชาติหนึ่งๆ ว่า ไม่ใช่ใครเลยทั้งสิ้น เป็นแต่เพียงสภาพธรรมที่สามารถกระทบกับจักขุปสาทเท่านั้นและก็ปรากฏ และก็ไม่ยั่งยืน นี่เป็นสิ่งที่จะต้องอบรมจนกว่าปัญญาจะรู้ชัด
สำหรับมโนกรรม คงจะไม่มีปัญหาอะไรแล้ว และถ้าต้องการความละเอียด ก็มีในพระไตรปิฎกและในอรรถกถา ที่กล่าวถึงทั้งเรื่องของกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม หรือว่ากายทวาร วจีทวาร มโนทวาร เพราะถ้าจะให้ละเอียดจริงๆ ที่ ทรงแสดงไว้ อย่างเช่นใน มโนรถปูรณี อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต จตุตถปัณณาสก์ พรรณนาสัญเจตนิยวรรคที่ ๓ เจตนาสูตร ข้อ ๑๗๑ มีข้อความว่า
ในบทเป็นต้นว่า กายสญฺเจตนาเหตุ ความว่า การสำเร็จแห่งเจตนา ในกายทวาร ชื่อว่ากายสัญเจตนา
ที่ได้ยินกันบ่อยๆ คือ มโนสัญเจตนา ซึ่งเมื่อเป็นมโนสัญเจตนาแล้ว ย่อมจะต้องมีกายสัญเจตนา และวจีสัญเจตนาด้วย
เจตนาเป็นสภาพธรรมที่จงใจขวนขวายที่จะกระทำ ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นกับจิต และดับไป ก็ไม่หยุด ยังเกิดอีกกับจิตขณะต่อไป และก็ดับไป เพราะฉะนั้น ย่อมมีการจงใจขวนขวายที่จะกระทำกรรมทางกายและทางวาจาด้วย ไม่ใช่เพียงแต่เป็น มโนกรรมอยู่เรื่อยๆ ใช่ไหม
เจตนาเกิดกับจิต ขณะที่ไม่ได้เป็นไปทางกาย ทางวาจา เป็นมโนกรรม แต่ จะไม่ยุติเพียงเท่านั้น ยังจะต้องมีการจงใจขวนขวายที่จะกระทำต่อไปอีกทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง เพราะฉะนั้น ถ้าการสำเร็จแห่งเจตนาในทางกายทวารเกิดขึ้น ขณะนั้นก็เป็นกายสัญเจตนาหาร แสดงว่าเจตนาที่จะกระทำทางกาย ได้กระทำสำเร็จ จึงเป็นกายสัญเจตนาหาร
สำหรับเจตนาที่จะกระทำทางวาจา ที่จะกล่าวคำพูดใดๆ ก็ตามให้สำเร็จ ได้กระทำสำเร็จแล้ว ก็เป็นวจีสัญเจตนาหาร จะไม่อยู่เพียงแค่มโนสัญเจตนาหารเท่านั้น
เพราะฉะนั้น ถ้าจะกล่าวโดยประเภท จำนวนของจิต กายสัญเจตนา คือ เจตนาที่กระทำการสำเร็จของเจตนาตามที่ตั้งใจทางกาย มี ๘ อย่าง ด้วยสามารถ มหากุศลจิต ๘ และกายสัญเจตนานั้นมี ๑๒ อย่าง ด้วยสามารถอกุศลจิต ๑๒
แสดงว่าเวลาที่อกุศลจิต ๑๒ เกิดขึ้น จะมีความจงใจขวนขวายที่จะกระทำให้สำเร็จตามเจตนานั้นทางกายด้วย เพราะฉะนั้น ทางกาย ก็มีการขวนขวายกระทำอกุศลกรรมบถให้สำเร็จลงไปทางกาย เป็นกายสัญเจตนา
มีไหมในวันหนึ่งๆ ที่เป็นอกุศล ที่เป็นกายสัญเจตนา เห็นสิ่งที่ไม่พอใจ บางท่านอาจจะทำลายสิ่งนั้น เช่น ฆ่ามด ตบยุง หรืออะไรก็แล้วแต่ ขณะนั้นเป็น การสำเร็จของเจตนาที่เป็นไปทางกาย ถ้าไม่มีเจตนา จะฆ่าสัตว์เล็กสัตว์น้อยไหม ฆ่าไม่ได้เลยถ้าเจตนาไม่เกิด แต่เวลาที่มีการกระทำการฆ่า หรืออกุศลกรรมทางกายเกิดขึ้น ให้ทราบว่า มีเจตนาที่จะกระทำกรรมนั้นให้สำเร็จทางกาย ซึ่งอกุศลกรรม ทางกาย ๓ ได้แก่ การฆ่าสัตว์ที่มีชีวิต ๑ การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ๑ และการประพฤติผิดในกาม ๑
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๖๑ ตอนที่ ๑๖๐๑ – ๑๖๑๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1561
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1562
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1563
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1564
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1565
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1566
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1567
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1568
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1569
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1570
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1571
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1572
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1573
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1574
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1575
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1576
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1577
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1578
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1579
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1580
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1581
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1582
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1583
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1584
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1585
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1586
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1587
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1588
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1589
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1590
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1591
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1592
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1593
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1594
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1595
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1596
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1597
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1598
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1599
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1600
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1601
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1602
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1603
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1604
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1605
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1606
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1607
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1608
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1609
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1610
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1611
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1612
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1613
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1614
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1615
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1616
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1617
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1618
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1619
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1620