แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1642
ครั้งที่ ๑๖๔๒
สาระสำคัญ
สิ่งที่ปรากฏทางตา (ไม่ใช่นิมิตและอนุพยัญชนะ)
การเพิกถอนอัตต-สัญญา
สติปัฏฐานเกิดเมื่อมีเหตุปัจจัย
ลักษณะที่แท้จริงของเสียง
ที่ห้องประชุมตึกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
วันอาทิตย์ที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๓๐
อนัตตสัญญา สัญญาที่จำว่า สิ่งที่ปรากฏทางตาไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่วัตถุใดๆ เลย เพียงฟัง ไม่สามารถทำให้สิ่งที่เคยเห็นว่าเป็นคน เป็นสัตว์ กลายเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น ทั้งๆ ที่โดยสภาพตามความเป็นจริง ถ้าจะน้อมพิจารณาทีละเล็กทีละน้อย เช่น ถ้าหลับตา สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ในขณะนี้ไม่ปรากฏ
นี่เป็นความจริง แต่ทำอย่างไรเวลาที่ไม่หลับตา เห็นก็เป็นคนนั้น คนนี้ เป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้อยู่เสมอ
เพราะฉะนั้น การฟังธรรม การศึกษาธรรม จะต้องพิจารณาบ่อยๆ เนืองๆ พิจารณาแล้ว พิจารณาอีก พิจารณาละเอียดจนกระทั่งเข้าใจแม้แต่คำที่ใช้เพื่อที่จะ ให้เข้าใจลักษณะของสภาพธรรม เช่น สิ่งที่ปรากฏทางตา คำนี้เป็นคำที่ถูกต้องที่สุด ธรรมชนิดหนึ่งซึ่งปรากฏได้ทางตา บางคนอาจจะคิดว่า ในขณะนี้เห็นสีต่างๆ เป็นความจริงหรือเปล่า ไม่ว่าจะเป็นสีแดง สีเขียว สีฟ้า สีเหลือง ต้องปรากฏ เมื่อกระทบกับจักขุปสาท
นี่เป็นสิ่งที่จริง เห็นสี บางคนก็บอกว่าเห็นสี แต่ขอให้เข้าใจว่า สีคืออะไร สี คือ สิ่งที่ปรากฏทางตา ต้องไม่ลืมอีก มิฉะนั้นจะเกิดการเพ่งเล็งนิมิตและ อนุพยัญชนะ คือ รูปร่างสัณฐานและส่วนละเอียดจากสีต่างๆ ลืมที่จะพิจารณาว่า ไม่ว่าเป็นสีอะไรทั้งหมด ลักษณะจริงๆ เป็นธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งธาตุชนิดนั้นที่ปรากฏเป็นสีต่างๆ ตามความเป็นจริงแล้ว เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น เพราะฉะนั้น เวลาที่เกิดอัตตสัญญาขึ้น ก็ไม่รู้ว่าเพราะอะไรจึงได้เห็นว่าเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นวัตถุต่างๆ จากสิ่งที่ปรากฏทางตา แต่จะต้องพิจารณาให้ละเอียดว่า เพราะสนใจ ในสีต่างๆ
ขณะใดก็ตามที่มีความสนใจในสีต่างๆ จะทำให้เกิดความทรงจำใน รูปร่างสัณฐานขึ้น เพราะว่าในคนหนึ่งที่เห็นว่าเป็นคน มีหลายสี มีสีดำ มีสีขาว มีสีเนื้อ มีสีหลายๆ สี ถ้าไม่ใส่ใจในสี จะไม่เกิดรูปร่างสัณฐานขึ้น
ขณะใดก็ตามที่มีความเห็น หรือความสนใจ ความติด ความเพลินใน นิมิตรูปร่างสัณฐานและในอนุพยัญชนะส่วนละเอียดของสิ่งที่ปรากฏ ให้ทราบว่า ในขณะนั้นเพราะสีจึงทำให้เกิดสัณฐานขึ้น แต่ถ้าในขณะนี้เอง ไม่ว่าจะเป็นสีสันอะไร ก็ตาม เป็นกี่สีก็ตาม แต่ปัญญาเริ่มพิจารณาที่จะไม่สนใจในนิมิตอนุพยัญชนะ คือ ในสีต่างๆ แต่รู้ว่าไม่ว่าจะเป็นสีอะไรก็ตาม ก็เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา
นี่คือการเริ่มเข้าถึงลักษณะของสภาพธรรมที่ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคลทางตาที่กำลังปรากฏ ซึ่งเคยยึดถือเป็นอัตตสัญญา เป็นความทรงจำว่ามีตัวตน
ที่จะเพิกถอนอัตตสัญญาได้ต้องรู้เหตุด้วยว่า ที่มีอัตตสัญญาเพราะสนใจ ในสีที่ปรากฏ จึงทรงจำสัณฐานต่างๆ คือ นิมิต และส่วนละเอียดต่างๆ คือ อนุพยัญชนะ เพราะฉะนั้น หนทางที่จะรู้ว่า สิ่งที่ปรากฏทางตาแม้ว่าจะเป็นสีต่างๆ ก็ตาม แต่โดยสภาพความจริงของสิ่งนั้น คือ เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น
ถ้าเป็นอย่างนี้ คือ สติเกิดและระลึกเนืองๆ บ่อยๆ จะเข้าใจในความหมายที่ว่า ไม่ติดในนิมิตอนุพยัญชนะ และเริ่มที่จะละคลายอัตตสัญญาในสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา
เป็นชีวิตประจำวันจริงๆ ซึ่งจะต้องรู้ว่า ไม่ว่าพระไตรปิฎกจะกล่าวถึง ข้อความใด พยัญชนะใด ก็เป็นเรื่องของสภาพธรรมที่สติจะต้องระลึกและพิจารณา ให้เข้าใจ พร้อมกันนั้นเวลาที่สติเกิดทางตา ก็ต้องศึกษาให้รู้ลักษณะของสภาพ ที่แท้จริงของสิ่งที่ปรากฏ จึงจะถ่ายถอนความสำคัญหมายว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตนทีละเล็กทีละน้อย โดยการรู้ว่า แม้สิ่งที่ปรากฏทางตาก็ปรากฏเพียง ชั่วขณะที่ไม่ได้ยินเสียงทางหู
เป็นเรื่องที่ค่อยๆ ฟังไป ค่อยๆ พิจารณาไปตามปกติ โดยเป็นชีวิตจริงๆ เพราะว่ายังไม่สามารถดับโลภะ หรือโทสะ หรือโมหะ ซึ่งหลายคนอยากจะละเหลือเกิน คือ ไม่อยากจะมีโลภะ ไม่อยากจะมีโทสะ แต่ต้องรู้ว่า จะไม่มีได้ก็ต่อเมื่อดับสักกายทิฏฐิ คือ การยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ
เพราะฉะนั้น เป็นเรื่องที่จะต้องอบรม ไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะมุ่งหน้ารีบร้อน ทำเป็นวัน หรือหลายๆ วัน โดยไม่เข้าใจในเหตุปัจจัยว่า สติที่เป็นสัมมาสติจะเกิดได้ ต้องอาศัยความเข้าใจจริงๆ แม้แต่ลักษณะของสภาพสิ่งที่ปรากฏทางตา เพื่อที่ว่า สติจะระลึกได้ และศึกษาพิจารณาให้ถูก เพื่อรู้ลักษณะของสภาพธรรมแต่ละทาง ตามความเป็นจริง
สำหรับทางตา ในขณะนี้เอง หรือขณะไหนก็ตามที่มีการเห็น สติเกิดได้ทั้งนั้น ที่จะระลึกว่า เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ และเมื่อระลึกว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ จะสังเกตได้ว่า ขณะนั้นไม่ได้สนใจในสี เพราะไม่ได้ดูเลยว่า สีเหลือง สีฟ้า สีน้ำเงิน สีแดงนั้นเป็นโต๊ะ หรือเป็นเก้าอี้ หรือเป็นหนังสือ เพราะว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา
ผู้ฟัง สิ่งที่ปรากฏทางตา ธรรมที่ปรากฏทางตาได้เท่านั้น ฟังแล้วฟังอีก ก็ไม่เบื่อ ได้ความหมาย ได้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น แม้กระทั่งเมื่อกี้ที่อาจารย์บรรยายไป ก็ได้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นมาอีก ทั้งๆ ที่ฟังแล้วฟังอีก ฟังแล้วฟังเล่า
ผมพูดได้เลยว่า ผมสนใจที่สุดในเรื่องสิ่งที่ปรากฏทางตา
สุ. เป็นสิ่งสำคัญ เพราะว่ามีการเห็นเนืองๆ บ่อยๆ ตลอดชีวิต เพราะฉะนั้น หนทางเดียว คือ สติเกิด และเข้าใจจริงๆ ว่า สิ่งที่ปรากฏทางตานั้น คือ ขณะที่ไม่ได้สนใจในสี ซึ่งถ้าสนใจขณะใด ขณะนั้นจะเป็นรูปร่างสัณฐานทันที เมื่อเป็นรูปร่างสัณฐาน ก็จะมีอัตตสัญญา ความทรงจำว่า สัณฐานนั้นเป็นอะไรเพราะฉะนั้น เป็นหนทางที่จะคลายอัตตสัญญา แม้ในขณะที่ฟังก็เริ่มได้แล้ว สำหรับสติที่จะเกิด เมื่อมีเหตุปัจจัยก็เกิด และรู้ว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น และจะรู้ได้ว่า เพราะละคลายความสนใจในสี
ถูกหรือผิด ลองดู ขณะนี้ ไม่ได้สนใจในสีสันเลย เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น ค่อยๆ เข้าใจว่า นี่เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง และไม่มีการบังคับสติ
สติปัฏฐานจะเกิดเมื่อมีเหตุปัจจัย คือ ความเข้าใจเรื่องของนามธรรมและรูปธรรมทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจยิ่งขึ้น
ถ. ผมเองมีการพิจารณาอย่างนี้ ขอให้ท่านอาจารย์ช่วยวิเคราะห์ด้วยว่า เป็นหนทางซึ่งคลาดเคลื่อนไปหรือเปล่า คือ ตั้งแต่ได้ฟังว่า สิ่งที่ปรากฏทางตานั้นคือสีเท่านั้น ผมก็แปลกใจว่าเป็นไปได้อย่างไร ใช้สติปัญญานั่งไตร่ตรองอยู่นานจนกระทั่งวันหนึ่งมีโอกาสมองทะลุหน้าต่างไป เห็นใบไม้ตัดกับท้องฟ้าซึ่งเป็นสีขาว ทำให้ได้พิจารณาตอนนั้นว่า การเห็นจะปรากฏได้ต่อเมื่อมีสีตัดกันอย่างน้อย ๒ สี เช่น ผมมองไปข้างหน้าเวลานี้จะเห็นได้ชัดว่า ที่ผนังเป็นสีเขียวสีเดียว และมีเส้นสีดำตัดเป็นแนวอยู่ เพราะการตัดของ ๒ สีนี้ เราจึงเห็นว่ามีวัตถุปรากฏขึ้น
ผมก็พิจารณาว่า คงจะเป็นเช่นนี้ที่เรียกว่า เห็นแต่สีเท่านั้น เพราะถ้าเป็น สีเดียวแล้ว เราจะไม่เห็นอะไรเลย ไม่มีอะไรปรากฏเลย นอกจากสีนั้นเท่านั้น เราจะเห็นรูปสัณฐานอื่นๆ ได้ ต้องมีสีปรากฏอย่างน้อย ๒ สีตัดกัน และการตัดกัน ในรูปลักษณะต่างๆ ทำให้เราเห็นเป็นสัณฐานของสิ่งนั้นเกิดขึ้น
สรุปได้ว่า เป็นเพราะมีสีมาประกอบหลายๆ สี เราจึงเห็นเป็นลวดลาย เป็นสัณฐาน เป็นสัตว์ เป็นบุคคลขึ้นมาได้ และการเคลื่อนไหวนั้นเราก็เห็นว่า สิ่งนี้ มีชีวิต สิ่งนี้ไม่มีชีวิต ผมพิจารณาเช่นนั้น ไม่ทราบว่าถูกต้องหรือเปล่า
หลักของการเห็น ผมจำได้ไม่หมด คือ มีแสงสว่าง ๑ มีสี ๑ มีเจตนาที่จะดู ๑ ซึ่งผมจับได้ตรงนี้ว่า การเห็นจะปรากฏต้องมีสีซึ่งต่างกัน ๒ สี ไม่อย่างนั้นไม่มีอะไรปรากฏ
สุ. ต้องมีจักขุปสาท และมีรูปารมณ์ ซึ่งในพระไตรปิฎกจริงๆ จะไม่แสดงเรื่องของอาโลกะ คือ แสงสว่าง จะมีเพียง ๓ ปัจจัยเท่านั้น คือ จักขุปสาท รูปารมณ์ และมนสิการ ซึ่งได้แก่ ปัญจทวาราวัชชนจิต ที่เป็นวิถีปฏิปาทกมนสิการ แสดงไว้โดยตรงว่า ไม่ใช่ได้แก่เจตนา แต่ได้แก่ปัญจทวาราวัชชนจิต ซึ่งต้องเกิดก่อน จักขุวิญญาณ ถ้าปัญจทวาราวัชชนจิตไม่เกิด จักขุวิญญาณเกิดไม่ได้
ถ้าคิดถึงสภาพธรรมที่ปรากฏทางตา โดยที่ว่าจะเป็นสีสันอะไรก็ตามแต่ สิ่งที่สามารถกระทบกับจักขุปสาทและปรากฏ ถ้าไม่นึกถึงการตัดกันของท้องฟ้า กับใบไม้ ก็จะไม่มีใบไม้ จะไม่มีท้องฟ้า ซึ่งขณะที่เป็นใบไม้เป็นอัตตสัญญา
ในวันหนึ่งๆ จะเห็นได้ว่า การที่เรานึกว่า เป็นคน เป็นวัตถุ เป็นสิ่งใดก็ตาม ขณะนั้นต้องมีการใส่ใจสนใจในสีซึ่งเป็นรูปร่างสัณฐาน โดยที่ขณะนั้นสติไม่ได้ระลึกว่า เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา เพราะฉะนั้น ลึกลงไปของสภาพธรรมที่ปรากฏเป็นสี และลักษณะที่แท้จริงของสีเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา
หรือลักษณะที่แท้จริงของเสียง อย่างเสียงทุกคนก็รู้ เป็นสภาพที่ปรากฏทางหู ทำไมต้องอบรมเจริญปัญญาที่จะค่อยๆ รู้ว่า เป็นแต่เพียงธาตุชนิดหนึ่ง หรือเป็น รูปชนิดหนึ่ง เป็นสภาพธรรมชนิดหนึ่งซึ่งปรากฏเมื่อกระทบกับโสตปสาท ซึ่งเวลาที่ สติเกิดจริงๆ ไม่ใช่ระลึกยาวอย่างนี้ แต่การที่สติจะเกิดระลึกที่เสียงได้ก็เมื่อรู้ว่า เสียงไม่ใช่การคิดเป็นคำๆ เสียงเป็นแต่เพียงสิ่งที่จะใช้คำว่า ดัง หรือว่าสูงๆ ต่ำๆ ก็ได้ เพราะฉะนั้น ทางหูมีเสียงสูงๆ ต่ำๆ มากมายหลายเสียง ทำให้เกิดภาษาต่างๆ แม้แต่ภาษาเดียว คำต่างๆ ก็ต้องใช้เสียงต่างๆ แสดงให้เห็นถึงความต่างของเสียง ซึ่งโสตวิญญาณได้ยินเสียง แต่โสตวิญญาณไม่ได้รู้ความหมายของเสียงสูงๆ ต่ำๆ นั้น ฉันใด ทางตาซึ่งปรากฏเป็นสีมากมายหลายสี ขณะใดที่ใส่ใจสนใจในสีต่างๆ ขณะนั้นจะทำให้เกิดอัตตสัญญา การจำหมายในสัณฐานว่า สีต่างๆ นั้นเป็นอะไร
เช่นเดียวกับทางหู การที่ใส่ใจในเสียงสูงๆ ต่ำๆ ก็ทำให้เข้าใจในอรรถ ในความหมายของเสียงสูงๆ ต่ำๆ ว่า เสียงสูงๆ ต่ำๆ นั้นมีความหมายว่าอะไร เพราะว่าภาษาหนึ่งกับอีกภาษาหนึ่ง ทั้งๆ ที่เสียงก็มีเพียงแค่สูงๆ ต่ำๆ ซึ่งก็คงมี ไม่กี่เสียงเท่าไร แต่ก็ออกมาเป็นภาษาต่างๆ ความหมายต่างๆ ได้จากเสียงสูงๆ ต่ำๆ ทำให้เกิดการยึดถือเรื่องราวที่ได้ยินได้ฟังขึ้น เป็นเรื่องของบุคคลต่างๆ เป็นเหตุการณ์ต่างๆ ทางหู ฉันใด ทางตาก็เพราะสีต่างๆ นั่นเอง จึงทำให้มีความสนใจ ซึ่งเวลาที่สนใจในสี ก็ทำให้เกิดความทรงจำในรูปร่างสัณฐาน
ต่อไปนี้ ก็มีทางที่จะละคลายการยึดถือสภาพธรรมที่ปรากฏทางตาว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด โดยไม่ใส่ใจในนิมิตและอนุพยัญชนะ คือ ในสีต่างๆ
เพราะฉะนั้น ที่จะไม่เป็นนิมิตอนุพยัญชนะได้ คือ ไม่ใส่ใจในสีต่างๆ เพราะ รู้ความจริงว่า ไม่ว่าจะเป็นสีอะไรก็ตาม ก็เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น และ สิ่งที่ปรากฏทางตาก็เกิดดับสลับเร็วมากจึงทำให้ปรากฏเหมือนกับว่าเป็นคนเดิน หรือเป็นการเคลื่อนไหว เป็นพัดลมหมุน เป็นสิ่งที่กำลังเคลื่อนไหวต่างๆ แต่โดยสภาพความจริงแล้ว เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา
การที่เห็นเป็นพัดลมหมุน ก็ต้องเป็นการสนใจในสีต่างๆ ในขณะนั้นเหมือนกัน จึงทำให้เกิดเป็นอัตตสัญญาขึ้น
ถ. ผมขอเรียนว่า สิ่งที่ปรากฏทางตายังไม่บังเกิดกับผมเลยที่จะเป็นรูปธรรมหรือนามธรรม แต่ว่ามีบางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับสิ่งที่ปรากฏทางตานี้เกิดขึ้นกับผมหลายครั้ง แต่ยังไม่เป็นรูปธรรมนามธรรม ยกตัวอย่างเมื่อครู่นี้ขณะที่สวดมนต์ เนื่องจากเป็นผู้เคยนั่งสมาธิมาก่อน ในขณะที่สวดมนต์นั้นสติก็เกิด ปากก็สวดมนต์ แต่ใจก็คิดเรื่องอะไรไป ตามองเห็นอะไรก็คิดไปว่า พระพุทธรูปอย่างนั้น องค์นั้น สีนั้น ปางนั้น จึงหลับตาเพื่อจะได้มีสมาธิในการสวดมนต์ จะได้ระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ หรือน้อมเคารพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในขณะที่หลับตานั้น ผมคิดว่า สติเกิดว่า ในขณะนี้โลภะตามมาแล้ว หลับตาเพื่อที่จะให้มีสมาธิมั่นคง จะได้เจริญกุศลมากๆ มีสมาธิ มีสติที่จะสวดมนต์ หรือระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ได้มากๆ อาจารย์คิดว่า ในขณะนั้นเป็นสติอย่างหนึ่ง แต่ไม่ใช่รูปธรรมนามธรรม ใช่ไหม
สุ. เป็นโลกของความคิด สติมีหลายระดับขั้น ถ้าความคิดนั้นเป็นการตรึกที่เป็นสัมมาสังกัปปะ คือ เป็นกุศล ขณะนั้นเป็นระดับขั้นของความคิดที่เป็นกุศลจิต ที่ไม่ใช่สัมมาสังกัปปะในมรรคมีองค์ ๘
การเจริญสติปัฏฐาน จะทำให้เริ่มรู้จักลักษณะที่ต่างกันของโลกปรมัตถธรรมกับโลกของความคิดนึก เราจะใช้คำว่า บัญญัติธรรม หรือสมมติสัจจะ หรืออะไรก็ได้ แต่ให้ทราบว่า ที่ทุกคนมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ จริงๆ แล้วมีแต่นามธรรมและรูปธรรม ซึ่งเป็นปรมัตถ์ แต่มีนามธรรมชนิดหนึ่งที่คิดหลังจากเห็น คิดหลังจากได้ยิน คิดหลังจากได้กลิ่น คิดหลังจากลิ้มรส คิดหลังจากกระทบสัมผัส และคิดถึงเรื่องราวต่างๆ อย่างเวลาที่เห็นพระพุทธรูป ขณะนั้นคิดถึงปางต่างๆ นี่เป็นโลกของความคิดซึ่งมากกว่าโลกของปรมัตถธรรม เพราะที่จริงแล้ว เห็นนั้นดับ สิ่งที่ปรากฏทางตาก็ดับ แต่ความคิดเรื่องพระพุทธรูปปางต่างๆ ยาวกว่าการเห็นทางตาและสิ่งที่ปรากฏทางตาซึ่งดับไปแล้ว
จะเห็นได้ว่า ที่ปรากฏเป็นโลก ประกอบด้วยบุคคลมากหน้าหลายตา แม้แต่พระพุทธรูปก็มีปางต่างๆ นั้น เป็นโลกของความคิดนึก ซึ่งความจริงแล้วเป็นเพียง ชั่วขณะจิตที่เกิดขึ้นหลังจากเห็น
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๖๕ ตอนที่ ๑๖๔๑ – ๑๖๕๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1621
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1622
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1623
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1624
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1625
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1626
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1627
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1628
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1629
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1630
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1631
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1632
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1633
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1634
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1635
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1636
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1637
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1638
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1639
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1640
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1641
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1642
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1643
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1644
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1645
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1646
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1647
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1648
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1649
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1650
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1651
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1652
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1653
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1654
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1655
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1656
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1657
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1658
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1659
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1660
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1661
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1662
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1663
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1664
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1665
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1666
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1667
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1668
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1669
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1670
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1671
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1672
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1673
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1674
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1675
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1676
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1677
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1678
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1679
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1680
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1681
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1682
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1683
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1684
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1685