แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1662
ครั้งที่ ๑๖๖๒
สาระสำคัญ
เห็นเป็นนามธรรม - ลักษณะรู้ อาการรู้ (ไม่ใช่เราที่กำลังเห็น)
ปฏิบัติธรรม คือ มรรคมีองค์ ๘ (เจตสิก ๘ ชนิดเกิดขึ้นปฏิบัติกิจของเจตสิกนั้นๆ)
สติมีหน้าที่ระลึก (เราไม่มีทางที่จะไประลึก)
ปัญญาที่ค่อยๆ เกิดจากการฟัง
เป็นผู้มีปกติเจริญสติปัฏฐาน
ฌานจิตเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย (จึงคลายความยินดีพอใจในฌานจิตว่า ไม่ใช่เรา)
สนทนาธรรมระหว่างไปนมัสการสังเวชนียสถานที่ประเทศอินเดีย
เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๓๐
สุ. กำลังเห็นขณะนี้ อะไรเป็นนามธรรม
ร. เห็นเป็นนาม
สุ. ใช่ อาการรู้ และอะไรเป็นรูป
ร. สิ่งที่ปรากฏทางตา
สุ. นี่ทฤษฎี ใช่ไหม ควรอาศัยการฟังให้เข้าใจก่อนว่า นามธรรม เป็นลักษณะรู้ อาการรู้ เพื่อที่จะไม่ใช่เราที่กำลังเห็น ซึ่งจะเป็นการเอาโมหะออก เพราะว่าแต่ก่อนนี้เป็นเราเห็น แต่เมื่อเป็นปัญญา คือ ไม่ใช่เรา เป็นสภาพรู้ชนิดหนึ่ง และกว่าที่สติจะระลึกว่าเป็นอาการรู้ ก็ไม่ใช่ปุ๊บปั๊บ ต้องฟังอีกนานกว่าจะรู้ลักษณะ ที่เป็นอาการรู้ เพราะว่าติดกันแล้วระหว่างสิ่งที่ปรากฏทางตากับสภาพที่กำลังเห็น
เราเรียกสภาพรู้สิ่งที่ปรากฏทางตาว่า เห็น ถ้าไม่มีสภาพรู้ สิ่งที่ปรากฏทางตาขณะนี้ก็ปรากฏไม่ได้ แต่เมื่อมีสิ่งที่ปรากฏทางตาก็แสดงชัดลงไปว่า เพราะมีสภาพรู้ สิ่งที่ปรากฏทางตาจึงได้ปรากฏกับสภาพรู้นั้น
ที่เราเรียกว่า เห็น เพราะว่าสภาพรู้มีหลายทาง ทางตาเราเรียกว่า เห็น ทางหู เราเรียกว่า ได้ยิน ทางตาเราจะไม่เรียกว่า ได้ยินเสียง แต่เราจะพูดว่า เห็นสิ่งที่ปรากฏ เห็นคืออาการรู้ ลักษณะรู้นั่นเอง
นี่ขั้นทฤษฎี ต้องฟังไปจนกว่าสังขารขันธ์จะปรุงแต่งจนกระทั่งเป็นสัมมาสติ คือ ระลึกได้ตรงลักษณะนั้น แต่ไม่ใช่มีใครที่จะถามว่า ทำอย่างไรๆ เพราะเป็นสังขารขันธ์จะมีอัตตาไปทำได้อย่างไร ก็ต้องทิ้งให้เป็นหน้าที่ของสังขารขันธ์
ถ. นี่เป็นทฤษฎี
สุ. แน่นอน จนกว่าสังขารขันธ์ที่ฟังจนกระทั่งเข้าใจแล้วเข้าใจอีกจะปรุงแต่งให้เกิดสติระลึกได้ว่า เคยได้ยินมาว่านี่เป็นสภาพรู้ทางตา
เพราะฉะนั้น สัมมาสติจะระลึกที่ลักษณะซึ่งเป็นอาการรู้ โดยไม่ใช่เรา นี่คือปฏิบัติธรรม คือ มรรคมีองค์ ๘ ได้แก่ เจตสิก ๘ ชนิด เกิดขึ้นปฏิบัติกิจของเจตสิก นั้นๆ ไม่มีตัวตนเลย อย่างโลภะ หน้าที่ของเขาคือข้องติด โลภะเกิดทีไรจะไม่สละ ไม่ปล่อย ไม่วาง โทสะก็มีลักษณะที่หยาบกระด้าง เกิดขึ้นขณะใดก็ผิดปกติเลย เคยสบายๆ เคยอ่อนโยน เคยสนุกสนาน ก็กลายเป็นแข็งกระด้างขึ้นมาทันที นั่นคือลักษณะของโทสะ
เจตสิกหรือนามธรรมแต่ละชนิดจะมีกิจเฉพาะของเขาๆ สติมีหน้าที่ระลึกได้ เราไม่มีทางที่จะไประลึก หรือไปทำอะไรเลยทั้งสิ้น จนกว่าสติเกิดเมื่อไร สตินั่นเอง เป็นสภาพที่ระลึกรู้
ผู้ฟัง ระลึกรู้สิ่งที่รู้ว่าเป็นนาม ระลึกรู้สิ่งที่ปรากฏว่าเป็นรูป
สุ. ตั้งแต่เกิดจนตายไม่มีอะไรนอกจากนามธรรมและรูปธรรม กำลังเห็นเป็นนามธรรมอย่างไร เป็นรูปธรรมอย่างไร กำลังได้ยินเป็นนามธรรมอย่างไร เป็นรูปธรรมอย่างไร นี่คือสิ่งที่จะต้องจากชาติหนึ่งไปอีกชาติหนึ่งๆ จนกว่าจะ แทงตลอด ปรากฏลักษณะสภาพที่ไม่ใช่ตัวตนจริงๆ ทีละอย่าง แยก ๖ โลกซึ่งติดกันสนิทแน่นออกเป็นสภาพธรรมทีละอย่าง จึงจะประจักษ์การเกิดและดับได้
เวลานี้ติดกันอย่างนี้ ไม่มีทางประจักษ์การเกิดดับ เพราะว่าสภาพธรรมที่ดับ มีสภาพธรรมอื่นเกิดต่อ ไม่ให้เห็นว่าอันเก่าดับแล้ว อย่างได้ยินแท้ๆ กับเสียงดับแล้ว อันใหม่ก็เกิดต่อ ไม่เห็นการดับของอันก่อนก็ไม่มีทางที่จะประจักษ์ จนกว่าจะแยกออกเป็นแต่ละลักษณะ ๖ อย่างไม่เกี่ยวข้องกันตราบใด เมื่อนั้นจึงจะค่อยๆ ปรากฏสภาพที่ไม่ใช่ตัวตน นี่คือปัญญาที่ค่อยๆ เกิดจากการฟัง
ถ. ที่ว่าไม่เกี่ยวข้องกัน คืออย่างไร
สุ. อย่างทางตาเป็นโลกหนึ่ง ไม่เกี่ยวกับทางหู ต้องให้ขาดกันออกมา ไม่ให้ต่อเป็นอันเดียวกัน เหมือนไฟคนละกองๆ
ถ. บางครั้งก็ต้องต่อ เห็น ยังไม่ทันจะจบ ได้ยินเสียแล้ว
สุ. แต่ไม่ประจักษ์การดับไปของเห็น ก่อนที่การได้ยินจะเกิด
ถ. และจะมีการประจักษ์ไหม
สุ. ถ้าไม่ประจักษ์ก็ไม่เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และจะไม่ ทรงแสดงว่า ขณะนี้สังขารธรรมเกิดและดับทันที มีปัจจัยเกิดขึ้นและดับไปๆ ทุกขณะ เพราะว่าการเป็นพระอริยบุคคลต้องประจักษ์แจ้งลักษณะของอริยสัจจ์ ๔ ทั้ง ๔ ด้วย คือ ประจักษ์ทุกขอริยสัจจะ ได้แก่ สภาพธรรมที่เกิดขึ้นและดับไป เวลานี้ต่อกันสนิทจนไม่ปรากฏว่าดับ เพราะฉะนั้น เป็นพระอริยบุคคลไม่ได้ และเมื่อประจักษ์ การเกิดขึ้นและดับไปแล้วยังรู้ถึงสมุทัย เหตุที่จะให้เกิด และยังต้องประจักษ์ลักษณะของนิพพานซึ่งเป็นธรรมอย่างเดียวที่ดับกิเลส
ต่อให้กำลังประจักษ์ลักษณะเกิดดับของนามธรรมรูปธรรม ก็ดับกิเลสไม่ได้ ถ้ายังไม่ประจักษ์ลักษณะของนิพพาน เป็นการแสดงถึงความเหนียวแน่นหนาแน่นของความเป็นตัวตน แม้ว่าสภาพธรรมนั้นเกิดและดับแท้ๆ ก็ยังดับความเป็นตัวตนไม่ได้
แต่นี่ยังไม่ทันประจักษ์ความเกิดขึ้นและดับไปเลย จะบอกว่าไม่มีตัวตนแล้ว ก็เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ และถ้าจะไปใช้วิธีอื่น พยายามโดยวิธีอื่น ก็ดับไม่ได้ เป็นแค่ คิดๆ ไปเรื่อยๆ ไม่มีทางจะดับได้
คิดกันเสมอ ถ้ายังไม่ถึงสติปัฏฐานก็เป็นขั้นคิด เพราะฉะนั้น จึงได้กล่าวว่า ปัญญามีหลายระดับขั้น ถ้าได้เข้าใจจริงๆ จะเห็นพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิ์คุณ และพระมหากรุณาคุณว่า สามารถประจักษ์ได้ ทั้งๆ ที่เมื่อทรงแสดงธรรม ใครพิจารณาก็เข้าใจได้ แต่ยังไม่ประจักษ์ จนกว่าจะอบรมเจริญปัญญาถึงขั้นนั้น แต่เพียงขั้นเข้าใจก็ต้องเชื่อแล้วว่า ทุกอย่างที่ว่าไม่เที่ยง ไม่ใช่ว่าเกิดมาแล้วแก่ จึงจะไม่เที่ยง เจ็บแล้วจึงจะไม่เที่ยง ตายแล้วจึงจะไม่เที่ยง แต่เกิดและดับไปทันที นั่นคือไม่เที่ยงสำหรับผู้ที่ประจักษ์แจ้ง และทรงแสดงหนทางให้ประจักษ์ด้วย
อย่างปฐมเทศนาที่ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะท่านได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน เป็นการยืนยันการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เพราะถ้าพระองค์ทรงตรัสรู้เพียง พระองค์เดียว คนอื่นไม่รู้ตาม จะเชื่อได้อย่างไร รู้คนเดียว คนอื่นจะไปรู้ด้วยก็ไม่ได้ จะบอกว่ารู้จริง ก็บอกไม่ได้ แต่เมื่อมีคนอื่นรู้ตาม ยืนยันได้เลยว่า ที่คนนั้นรู้นั้น เป็นความจริง เพราะคนอื่นสามารถประจักษ์อย่างนั้นได้ด้วย นี่คือพระอริยสาวก คือ ต้องประจักษ์แจ้งอริยสัจจ์ ๔ ซึ่งจะต้องอบรมตั้งแต่ขั้นการฟังจริงๆ ให้เข้าใจ ถ้าขณะนี้ฟังแล้วไม่เข้าใจ ไม่มีทางที่จะรู้ได้
ถ. สมัยนั้นท่านก็ฟังกัน ...
สุ. ท่านอบรมปัญญามาขนาดที่จะเป็นพระอัครสาวก พระมหาสาวก พระโสดาบัน พระสกทาคามี พร้อมที่จะได้เป็นสาวกของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างมาก เป็นกาลสมบัติ
ถ. ท่านเทศน์โปรดอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
สุ. โดยรู้อัธยาศัยด้วยว่า คนนั้นอบรมมาแค่ไหน ถ้าง่ายๆ เวลาที่ ทรงตรัสรู้แล้วจะไม่ทรงน้อมพระทัยที่จะไม่ทรงแสดง แสดงว่าธรรมละเอียดและลึกซึ้ง ยากที่จะรู้ได้ แต่คนที่เคยอบรมบารมีมาแล้วมี จึงทรงแสดงธรรมเพื่อให้เขาสามารถระลึกได้ในสิ่งที่เขาเคยอบรมมาแล้ว พร้อมที่จะประจักษ์ได้ เพราะเขาเคยอบรมมาแล้ว ไม่ใช่หนทางอื่นเลย ต้องเป็นสติปัฏฐานทางเดียว
ถ. ได้มาคุยกับอาจารย์ก็ดีขึ้นมาก คือ เปลี่ยนแนวว่าควรจะเป็นอย่างนี้ เป็นสิ่งที่ดี แต่ที่ทำนั่นก็ช่วยให้เรามีการสำรวมกาย วาจา ใจ ให้อยู่ในรูปในร่าง ไม่กระจัดกระจายไป ทำให้ความคิดเข้าหาสติปัฏฐานได้เร็วดี
สุ. แต่ยังไม่ถึงขั้นดับกิเลส จากปุถุชนไปเป็นความเป็นพระอริยะ พระอริยะท่านก็มาจากปุถุชน
ถ. ในสมัยพุทธกาล ปุถุชนเป็นพระอริยบุคคลง่าย
สุ. เราว่าเขาง่าย เพราะเขาบำเพ็ญมา สมมติว่าเราเตาะแตะอยู่กัปที่ ๑ ของเขาอยู่กัปที่ ๙๒ พอพี่ไปถึงกัปที่ ๙๒ ก็ง่ายเหมือนกัน แต่ก่อนจะถึงกัปที่ ๙๒ ท่านพระสารีบุตรท่านก็ต้องตั้งต้นอย่างนี้
ถ. แต่สมัยนั้นพระพุทธองค์ท่านโปรดอยู่ สมัยนี้ ...
สุ. เพราะว่าท่านพร้อมแล้วที่จะเป็นพระอัครสาวก ก็ต้องเกิดมาพร้อมกัน
ถ. เมื่อกี้ฟังท่านอาจารย์พูดเรื่องบุคคลที่เจริญฌาน เขาจะเจริญฌานได้ ก็ต่อเมื่อเขารู้ในขณะนั้นว่า อย่างเขาเห็นโต๊ะว่าเป็นโต๊ะ และเกิดความทุกข์ ความติด เขาต้องรู้ จึงสามารถเจริญฌานได้ หมายความว่าเขาสามารถรู้ลักษณะของโลภะ โทสะ โมหะด้วย
สุ. ถ้าเขาไม่รู้ นิวรณธรรม ๕ นั้นออกไปไม่ได้เลย กามฉันทนิวรณ์ ถ้า เขาไม่รู้ว่าขณะนั้นอกุศลเกิดแล้ว พอใจแล้ว จะมีหนทางใดที่จะระงับอกุศลนั้น
ถ. ผู้ที่เจริญสมถะ ถ้าไม่รู้ว่าขณะไหนจิตเป็นกุศล ขณะไหนจิตเป็นอกุศล ก็เจริญไม่ได้เลย
สุ. ต้องมหากุศลญาณสัมปยุตเท่านั้นที่เจริญได้ ไม่ใช่เอาใครมานั่งๆ อย่างเด็กตัวเล็กๆ ก็ทำสมาธิแล้วได้ฌานกันเป็นแถว ไม่ใช่ ต้องเป็นกุศล ที่ประกอบด้วยปัญญา พร้อมด้วยสติสัมปชัญญะที่จะรู้สภาพของจิต
ถ. และเห็นโทษด้วย
สุ. ต้องรู้ว่าขณะนั้นเป็นอกุศล
ถ. ที่นั่งๆ กันทั่วไป ก็เป็นการสูญเปล่า
สุ. เป็นมิจฉาสมาธิ ถ้าไม่ใช่สัมมาสมาธิ ต้องเป็นมิจฉาสมาธิ ถ้า ในพระไตรปิฎกไม่ใช้คำว่า มิจฉาสมาธิ มีแต่สัมมาสมาธิ เราก็ควรจะคิดว่า มิจฉาสมาธิไม่มี แต่ในพระไตรปิฎกมีทั้งมิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ ทำไมต้องทรงแสดงไว้
ทรงแสดงไว้เพื่อให้รู้ว่า อย่างไรเป็นมิจฉาสมาธิ อย่างไรเป็นสัมมาสมาธิ มิฉะนั้นคนจะเข้าใจว่า ขึ้นชื่อว่าเป็นสมาธิแล้วเป็นสัมมาสมาธิทั้งหมด
ผู้ฟัง อย่างนี้น่ากลัว ที่ไปนั่งและไม่รู้ว่าขณะนี้จิตเป็นกุศลหรือเปล่า เป็นอกุศลหรือเปล่า ทำไปๆ สุดท้ายก็เป็นมิจฉาสมาธิไป
สุ. เป็นตั้งแต่เริ่มต้นแน่นอน ไม่ประกอบด้วยปัญญา ถ้าไม่ประกอบด้วยปัญญาจะบอกว่าเป็นสัมมาสมาธิ เป็นไปไม่ได้เลย สำหรับการเจริญสมถภาวนา วิปัสสนาภาวนา ต้องประกอบด้วยปัญญา ต้องเป็นมหากุศลญาณสัมปยุตต์
ถ. อย่างพระในครั้งพุทธกาลที่ท่านเจริญอัฏฐิกกัมมัฏฐาน พิจารณา ไตรลักษณ์ ก็สามารถบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ ขณะที่ท่านเจริญอัฏฐิกกัมมัฏฐานก็เป็นสมถภาวนา แต่เพราะอะไรท่านถึงจะสามารถบรรลุพระอรหันต์ได้
สุ. พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่าการเจริญปัญญาที่จะดับกิเลสได้ มีกี่ทาง
ถ. มีทางเดียว
สุ. ก็เป็นคำตอบอยู่แล้ว
ถ. ที่อ่านมานี่ ผมสงสัยว่าท่านเจริญอย่างไร มีวิธีการ มีแนวทางอย่างไร หลังจากเจริญอย่างนั้นแล้ว พิจารณาอย่างไรจึงบรรลุได้
สุ. คนที่ได้ฌานถึงขั้นปัญจมฌานก็ตาม เวลาที่เจริญสติปัฏฐาน ไม่ได้หมายความว่าท่านจะได้ฌานพร้อมกับโลกุตตระเสมอไป เพราะอะไร ก็เพราะว่า ฌานจิตกำลังเกิด เป็นฌานจิตตลอดเวลาอยู่เดี๋ยวนี้ จะบรรลุมรรคผลได้อย่างไร
ถ. ต้องพิจารณาสภาพธรรมตามความเป็นจริง
สุ. ใช่ และขณะนั้นเขาจะพิจารณาอะไร
ถ. ผมไม่ทราบ
สุ. ต้องพิจารณานามธรรมรูปธรรม และทางตา ถ้าเขาไม่พิจารณา เขาจะรู้ไหมว่าเป็นนามธรรม ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย แม้แต่ใจที่กำลังเป็นฌานจิตเกิดขึ้น สติปัฏฐานก็จะต้องระลึกจึงจะรู้ว่าไม่ใช่ตัวตน
เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ว่าเขาทำสมถะมาอย่างเดียว และถึงเวลาก็ยกขึ้นมา เป็นวิปัสสนา ในเมื่อทางตายังไม่ได้พิจารณา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ตามปกติยังไม่ได้พิจารณา และเขาจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นนามธรรม
ถ. เพราะว่าสมถภาวนาไม่ใช่หนทางที่จะทำให้ละกิเลสเป็นสมุจเฉทได้ และบุคคลที่เจริญฌานอย่างเดียว เป็นไปไม่ได้ ฉะนั้น เขาต้องศึกษาและเจริญวิปัสสนา
สุ. เจริญสติปัฏฐานเป็นปกติด้วย คำว่า เป็นผู้มีปกติเจริญสติปัฏฐาน ทิ้งไม่ได้เลย คำนี้ยืนยันว่า ไม่ผิด ต้องเป็นผู้ที่มีปกติเจริญสติปัฏฐาน คุณสมนึก ได้ฌานหรือเปล่า
ถ. ไม่ได้
สุ. เพราะฉะนั้น เป็นผู้มีปกติเจริญสติปัฏฐานของคุณสมนึกพิจารณาอะไร
ถ. ผมยังคงไม่ถึงสติปัฏฐาน
สุ. คุณสมนึกไม่ได้ฌาน ใช่ไหม เพราะฉะนั้น การเป็นผู้มีปกติเจริญ สติปัฏฐานของคุณสมนึกจะพิจารณาอะไร
ถ. พิจารณาสภาพธรรม
สุ. นามธรรมและรูปธรรมตามปกติ คือ เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส คิดนึกซึ่งไม่ใช่ฌานจิต สมมติคุณธนิตได้ปัญจมฌาน และคุณธนิตเป็นผู้มีปกติเจริญ สติปัฏฐาน คุณธนิตจะพิจารณาอะไร
ธ. พิจารณาลักษณะที่ปรากฏที่สติระลึกได้ ไม่ว่าจะเป็นทางไหน
สุ. คำตอบที่ถูกต้อง คือ เป็นผู้มีปกติระลึกรู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ เห็นทางตาต้องรู้ไหม ในเมื่อเป็นผู้มีปกติเห็น เพราะฉะนั้น ต้องระลึกรู้เห็น ในเมื่อเป็น ผู้มีปกติได้ยิน จะต้องพิจารณาได้ยินไหม
ฌานจิตของคุณธนิตที่เคยได้มา ถ้าเป็นผู้ที่มีความชำนาญ มีวสี คือ สามารถนึกถึงฌานจิตขณะไหนที่ไหนก็ได้ จึงจะชื่อว่าวสี อยู่ที่ไหนก็ตาม ขณะไหนก็ตาม นึกถึงฌานจิตได้ดังปรารถนาจึงจะเป็นวสี นี่วสีเดียว แต่ต้องทั้ง ๕ วสี คือ ๑. ระลึกลักษณะของฌาน ๒. สามารถอธิษฐานเข้าขณะไหนก็ได้ เมื่อไรก็ได้ คิดดู ต้องเป็นผู้ชำนาญแค่ไหน กำลังนั่งฟังอย่างนี้ ขณะไหนก็ได้ ที่ไหนก็ได้ เข้าได้ จึงจะเป็นวสีที่ ๒ วสีที่ ๓. จะให้เป็นฌานอยู่นานเท่าไรก็ได้ตามที่ปรารถนา วสีที่ ๔. ออกจากฌานเมื่อไรก็ได้ตามที่ต้องการ ขณะไหนก็ได้ ที่ไหนก็ได้ วสีที่ ๕. พิจารณาองค์ของฌานทั้ง ๕ ไม่ว่าจะเป็นวิตก วิจาร ขณะไหนก็ได้ ที่ไหนก็ได้
เมื่อมีความชำนาญคือวสี ๕ อย่างนี้ ไม่ต้องห่วงที่จะเป็นผู้มีปกติที่ว่า ฌานจิตจะเกิดหรือไม่เกิด แล้วแต่จะเกิดหรือไม่เกิด ถ้ามีความคล่องแคล่ว ที่จะเกิดเขาก็เกิด เหมือนกับความคล่องแคล่วที่จะคิดถึงเรื่องอื่น ชำนาญทางไหน ก็คิดได้เร็วในทางนั้น
เมื่อเขาเป็นผู้ที่มีความชำนาญในวสี ๕ ความคล่องแคล่วของฌานที่จะเกิด เหมือนปกติของเราที่ชำนาญในการที่จะคิดเรื่องที่เราชำนาญ เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ตัวตน เขารู้เลยว่าฌานจิตเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย จึงคลายความยินดีพอใจในฌานจิตนั้น ได้ว่าไม่ใช่เรา
ผู้ฟัง ที่จะเจริญวิปัสสนาได้ ต้องรู้ต้องเข้าใจว่า สมถะเป็นอย่างไร วิปัสสนาเป็นอย่างไร
สุ. ปัญญาทั้งนั้นเลย ปัญญาต่างขั้น
ผู้ฟัง ที่จะไปอาศัยสมถะล้วนๆ เจริญไปแล้วปัญญาจะรู้แจ้งเป็นวิปัสสนาต่อไปนั้น เป็นไปไม่ได้
สุ. เพราะวิปัสสนาก็ยืนคำแล้วว่า เป็นผู้มีปกติ นี่เป็นเหตุที่ว่าทำไมได้ถึงฌาน ๕ แล้ว แต่เวลาโลกุตตรจิตเกิดไม่ประกอบด้วยฌานเลยก็ได้ เพราะไม่ชำนาญ
ผู้ฟัง มีหลักฐานว่า อาฬารดาบสและอุทกดาบสท่านได้ถึงสมาบัติ ๗ สมาบัติ ๘ แล้ว แต่ถึงอย่างนั้นท่านก็ไม่สามารถบรรลุมรรคผลได้ เพราะว่าท่าน ไม่เข้าใจ ไม่รู้ว่าวิปัสสนาเป็นอย่างไร
สุ. ถ้าท่านผู้นั้นเป็นผู้เจริญอัฏฐิกสัญญาเป็นปกติของท่าน มีวสี สามารถเห็นความเป็นอนัตตาของฌานจิต แล้วก็รู้ว่าฌานจิตเกิดเพราะเหตุปัจจัย เหมือนกับจิตอื่นๆ จึงจะละความยึดถือฌานจิตนั้นได้
ถ. แต่สติปัฏฐานมีเหตุปัจจัยพร้อมที่จะเกิดได้อย่างไร ก็ ...
สุ. นี่เป็นของแน่นอน เพราะเป็นผู้มีปกติ
ถ. และถึงเวลาที่ต้องบรรลุเป็นพระอรหันต์ ท่านก็บรรลุเป็นพระอรหันต์
ผู้ฟัง บางอาจารย์ก็เข้าใจว่า จะต้องเจริญสมถะก่อน
สุ. แต่เจริญสมถะเจริญอย่างไรก็ไม่รู้ ไม่รู้ตั้งแต่ต้น คือ ไม่ได้มีปัญญาเกิดร่วมด้วยเลย และเข้าใจว่าตัวเองกำลังทำสมาธิ กำลังทำสมถะ กำลังยกขึ้นสู่นั่นสู่นี่
ผู้ฟัง ผู้ที่ทำอย่างนั้น ที่ท่านกล่าวไว้ในตำรา แสดงว่าท่านรู้หมดแล้ว คือ ท่านเข้าใจแล้วว่าอะไรเป็นสมถะ อะไรเป็นวิปัสสนา ไม่ใช่ท่านจะไปหาเอาเมื่อ ได้สมถะ
สุ. และท่านยังกล่าวว่า ต้องเป็นมหากุศลญาณสัมปยุตต์จึงจะเจริญได้ แต่เราเอาคำนี้ไปทิ้งไว้ที่ไหน
ผู้ฟัง ถ้าจะอ้างถึงหลักฐานในพระไตรปิฎก เช่น ท่านพระทัพพมัลลบุตร ท่านบรรลุถึงความเป็นพระอรหันต์เมื่ออายุ ๗ ขวบ ยังเป็นเด็ก
สุ. ใครก็ตามแต่ วิสาขาก็ ๗ ขวบเหมือนกัน ขอให้ปัญญารู้ลักษณะของ สิ่งที่กำลังปรากฏ เขาไม่ได้จำกัดเลยว่า ใคร อายุเท่าไร แต่ปัญญาต้องรู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏตามความเป็นจริง ไม่ใช่วิสาขา ๗ ขวบ และไม่รู้สิ่งที่ปรากฏ ก็เป็น พระโสดาบันได้ อายุเท่าไรไม่สำคัญ ปัญญาสามารถรู้สิ่งที่กำลังปรากฏตาม ความเป็นจริง และเราจะเป็นคนตรงไหมว่า เรารู้อย่างนั้นหรือเปล่า เราต้องอบรม จึงจะรู้ได้
ผู้ฟัง สำหรับคำว่า อบรม ผู้สอนปฏิบัติก็บอกว่า ขณะที่กำลังนั่งนั่นเอง เป็นการอบรมแล้ว
สุ. อบรมอะไร
ผู้ฟัง อบรมเพื่อให้สงบ เป็นสมถภาวนา
สุ. ระลึกอะไร ปัญญาเกิดอย่างไรจึงเป็นสมถะ
ผู้ฟัง ก็คงจะมีอารมณ์เดียว
สุ. อารมณ์เดียวและสงบเพราะระลึกอย่างไร เป็นกุศลอย่างไร
ผู้ฟัง คือ ระลึกถึงพุทโธๆ
สุ. และปัญญาเกิดอย่างไรขณะที่ระลึกถึงพุทโธ ถ้าเป็นมหากุศลญาณสัมปยุตต์จึงจะเจริญได้ เอาปัญญาไปทิ้งไว้ที่ไหน ทั้งหมดต้องมาลงที่ปัญญา ถ้าไม่มีปัญญาเจริญความสงบไม่ได้ เป็นความต้องการที่จะจดจ้อง ไม่ใช่ความสงบ
ผู้ฟัง เป็นการเจริญโลภะ
สุ. เป็นมิจฉาสมาธิ มิจฉามรรค เป็นโลภมูลจิตแล้ว เรียนก็ต้องเรียน อย่างชนิดที่รอบคอบด้วย ละเอียดด้วย ประมาทไม่ได้เลย
ทำสมาธิแล้วยกขึ้นสู่วิปัสสนา ตัวตนหรือเปล่าที่ยก ก็เห็นชัดๆ อยู่แล้ว โดยคำพูดว่าเป็นตัวตน จะเป็นปัญญาได้อย่างไร
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๖๗ ตอนที่ ๑๖๖๑ – ๑๖๗๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1621
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1622
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1623
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1624
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1625
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1626
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1627
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1628
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1629
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1630
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1631
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1632
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1633
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1634
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1635
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1636
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1637
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1638
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1639
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1640
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1641
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1642
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1643
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1644
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1645
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1646
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1647
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1648
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1649
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1650
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1651
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1652
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1653
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1654
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1655
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1656
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1657
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1658
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1659
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1660
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1661
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1662
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1663
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1664
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1665
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1666
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1667
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1668
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1669
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1670
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1671
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1672
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1673
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1674
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1675
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1676
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1677
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1678
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1679
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1680
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1681
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1682
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1683
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1684
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1685