แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1664
ครั้งที่ ๑๖๖๔
สาระสำคัญ
ศึกษาธรรมด้วยความเคารพ
ผู้ปฏิบัติค้องเข้าใจข้อปฏิบัติและเหตุผล
ประโยชน์สูงสุดของการฟังพระธรรม (เพื่อสติระลึกลักษณะของสภาพธรรม)
จดหมายจาก จ.ฉะเชิงเทรา (เรื่องการปฏิบัติ)
จดหมายจาก จ. สุพรรณบุรี (เรื่องปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน)
สนทนาธรรมระหว่างไปนมัสการสังเวชนียสถานที่ประเทศอินเดีย
เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๓๐
สุ. บอกเขาได้อย่างไร
นิ. เขาไปลือกัน มีคนมาเล่าให้ผมฟัง ผมก็บอกให้ไปบอกเขาว่า ไม่จริง ตัวเองก็ยังกลัวผีอยู่ อย่าไปสนับสนุน ถ้าเขาเข้าใจผิดจะเป็นบาปเป็นกรรมใหญ่โต ผมไม่ได้รับเอา ไม่ได้นิ่ง คือ ถ้าไปรับเอาหรือนิ่ง ผมคงดังไปตั้งแต่ตอนนั้นแล้ว
ผู้ฟัง ลูกน้องจะหารายได้ให้
นิ. ตอนหลังผมเข้ากรุงเทพ ไปอยู่ที่วัดปากน้ำ ๓ ปี จะเอาธรรมกาย แต่ไม่ได้ กลับมาอยู่วัดมหาธาตุอีก และปฏิบัติแบบขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ
สุ. ตอนลมหายใจปฏิบัติแบบใคร
นิ. แบบพุทธทาส แต่ผมไม่เคยไปหาพุทธทาสนะ เคยแต่อ่านหนังสือ ผมบวชพระได้ ๗ พรรษา แต่เป็นเณรตั้งแต่อายุ ๑๑ ปี โตมาพ่อก็ให้เป็นเด็กวัด คือ ไปเรียนในวัด และบวชเป็นเณรเป็นพระต่อมาเรื่อย จนกระทั่งสึก สรุปแล้วก็เข้าตำราที่ว่า ฟังไม่ดี ศึกษาไม่ดีนั่นเอง ทำให้เข้าใจหลักของพระพุทธศาสนาไม่ตรง คลาดเคลื่อน และไม่สอบสวนให้ดี ทั้งๆ ที่เคยเทศน์ เคยสอนชาวบ้าน แต่สรุปแล้วเราไม่เข้าใจ สอนก็สอนไปอย่างนั้น จำได้ก็พูดไปตามเท่าที่จำ บางทีก็คาดคะเน เอาเองบ้าง นึกคิดเอาด้วยตนเองบ้าง ซึ่งผมเห็นแล้วว่า การศึกษา การเล่าเรียน แบบนี้เป็นอันตรายจริงๆ ทั้งแก่ตัวเอง แก่พระพุทธศาสนา และแก่คนอื่นด้วย ถ้าเขาเชื่อเรา ทำไปผิดๆ จะเป็นอันตราย
เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรม ต้องศึกษาด้วยความเคารพ ด้วยความระมัดระวัง และด้วยความรอบคอบจริงๆ ไม่อย่างนั้นแล้วเราจะไม่เข้าใจพระพุทธศาสนา
หลังจากผมปฏิบัติอยู่ที่วัดมหาธาตุเกือบ ๕ เดือน ผมก็บอกท่านเจ้าคุณ เจ้าอาวาสว่า ผมไม่มีทางสำเร็จหรอกชาตินี้ อยู่ป่าก็อยู่มาแล้ว ปฏิบัติก็ปฏิบัติแล้ว ไม่เห็นได้อะไร ผมออกแล้ว ไม่อยู่แล้วกัมมัฏฐาน ผมก็ออกจากห้องปฏิบัติซึ่งทำ เป็นห้องๆ ตอนแรกๆ มีไม่กี่ห้อง ตอนหลังนี่เต็มไปหมด ผมก็สิกขาลาเพศไป
เรื่องวัด เรื่องพระพุทธศาสนานี่ คล้ายๆ กับลืมไปชั่วขณะหนึ่งเลย ไม่ได้สนใจ และมานึกดูว่า การศึกษาธรรมที่ผ่านๆ มา คงจะไม่ถูกทาง ไม่ตรง ทำให้ไม่เข้าใจ ผมคิดว่า ผมต้องเข้าใจธรรมให้ได้ ผมปรารถนาอยู่ในใจเสมอว่า ขอให้ข้าพเจ้าได้ รู้แจ้งเห็นจริงในธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประกาศไว้แล้ว แต่ไม่ใช่ รู้ทั่วๆ ไปที่ไม่จริง ก็บังเอิญท่านกิตติวุฑโฒท่านตั้งสถานีวิทยุและนำเอาเทปของ ท่านอาจารย์ไปออกอากาศ ผมเปิดวิทยุเจอพอดี ก็ฟังมาเรื่อยๆ
ฟังตอนแรกผมสงสัยว่า ผู้หญิงคนนี้เป็นใคร นึกไม่ออก ซึ่งตอนบวชผมก็เรียนอภิธรรมด้วย ก็ติดตามฟังมาเรื่อยๆ เพราะเห็นว่าพูดมีหลักมีเกณฑ์ มีเหตุมีผล แต่ ยังแยกไม่ออก ยังฟังคนอื่นด้วย ฟังมาตั้งแต่ปี ๒๕๑๐ ฟังมาเรื่อย ยังไม่เข้าใจแต่ชอบ มีเหตุมีผล ผมเพิ่งฟังท่านอาจารย์เข้าใจเมื่อไม่กี่ปีเอง ไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่ใช่เรื่องธรรมดา แต่คนอื่นที่มีปัญญาบารมีดีอาจจะฟังเข้าใจง่าย หนสองหนเขาอาจจะเข้าใจ ไม่ใช่เป็นเหมือนอย่างผมหมดทุกคน บางคนอาจจะฟังน้อยแต่เข้าใจได้ อย่างผมนี่เรียกว่า ปัญญาแย่มาก
ผู้ฟัง ก็ยังดีที่ออกมาได้ บางคนก็จมอยู่อย่างนั้น ไม่ยอมเปลี่ยน
นิ. นี่แหละที่ผมโมโหพรรคพวก สรุปแล้ว ไม่หนีจากการศึกษาที่ถูกต้อง คือ ถ้ารู้อะไรที่ไม่ถูกจะเป็นอันตราย เมื่อเรียนแล้วอย่าเพิ่งเชื่อ อย่าไปทำตามทันที โดยที่ยังไม่เข้าใจเหตุผล
ผู้ฟัง ที่คุณนิภัทรปฏิบัติมา มีเรื่องที่ทำให้ผู้ปฏิบัติเดือดร้อนบ้างไหม
นิ. ผู้ปฏิบัติด้วยกันเป็นบ้าก็มี ผมเป็นผู้ดูแลท่านหลายรูป ผมไปเที่ยวหาซื้อยา และบังคับให้กินยา
เช่น บางท่านนั่งแล้วสั่น ชี้หน้าคนนั้นคนนี้ ก็ต้องให้ท่านพักผ่อนให้มากที่สุด ต้องให้กินยาเพื่อให้หลับ อีกรูปก็เตะลูกที่บวชเป็นเณรจนซี่โครงหัก เขาต้องจับไปโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา
ผู้ฟัง ที่บ้านี่ ปฏิบัติแบบไหน
นิ. ก็ปฏิบัติแบบเข้าห้องปฏิบัติ ซ้ายย่างหนอ ขวาย่างหนอ แต่ท่านบอกว่าท่านไม่ต้องกำหนดแล้วเรื่องรูปนาม ... รูปก็ตัวเขาที่เดิน นามก็คือชื่อเขานี่แหละ เมื่ออาละวาดพาเข้าโรงพยาบาล ก็ถูกบุรุษพยาบาลเตะจนซี่โครงหักเหมือนกัน ที่ผมเล่านี้ก็เป็นเรื่องสัพเพเหระ ไม่ค่อยเกื้อกูลต่อการปฏิบัติ
สุ. แต่เป็นประโยชน์ คือ อย่างน้อยคนจะได้รู้ว่า สำนักที่ดังๆ หรือว่าน่าสนใจนั้น เราต้องพิจารณาถึงข้อปฏิบัติและเหตุผล เพราะคนที่ปฏิบัติแล้ว ไม่ประกอบด้วยเหตุผล ก็มีผลเสีย
นิ. ข้อปฏิบัติที่ถูกต้องที่มีเหตุผลสมบูรณ์ ผู้ที่ศึกษาเล่าเรียนเข้าใจ ถูกต้องแล้ว เรื่องจะปฏิบัติผิดๆ จนเป็นบ้าสติฟั่นเฟือนรับรองว่าไม่มีเด็ดขาด มีแต่ผู้ที่ เป็นบ้ามาแล้วจะหายถ้าเข้าใจ อย่างนางปฏาจาราที่เสียใจเพราะพ่อแม่ตาย ผัวตาย ลูกตายจนเสียจริต เมื่อได้พบและฟังธรรมจากพระพุทธองค์ จิตใจก็เป็นปกติ
ผู้ฟัง ต้องได้อาจารย์ดี พบทางที่ถูก
นิ. เป็นบุญของผม ที่ไม่ทำให้ผมจมปลักอย่างเพื่อนฝูงทั้งหลาย สามารถแยกออกมาได้ ใครจะว่าผมอย่างไร ผมก็ไม่สนใจ
สุ. บางคนจะติดหมู่คณะ แยกไม่ได้ หมู่คณะทำอย่างไร ก็ต้องทำอย่างนั้น ไปวัดอย่างไร ก็ต้องไปอย่างนั้น
ผู้ฟัง ผมกลัวจริงๆ เรื่องติดหมู่คณะ ติดอาจารย์ ถ้าอาจารย์ถูกก็เห็นด้วย แต่บางทีอาจารย์ผิด ลูกศิษย์ก็รู้ แต่ยังติดอยู่ อันตราย
นิ. ติดอย่างนี้มีหลายแบบ ติดอย่างผู้ที่ตั้งตัวเป็นอาจารย์ ทิฏฐิของอาจารย์มีเกิดขึ้นแล้ว ที่จะไปยอมเชื่อคนง่ายๆ หรือยอมฟังใคร หรือเป็นลูกศิษย์ใคร ยอมไม่ได้แล้ว
ที่ห้องประชุมตึกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
วันอาทิตย์ที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๓๐
สุ. ไม่ทราบว่าวันนี้ท่านผู้ใดมีข้อสงสัยอะไรบ้างหรือเปล่า ในเรื่องการ เจริญสติปัฏฐานที่ได้รับฟังในคราวก่อน
ไม่ว่าจะฟังธรรมเรื่องใดๆ ก็ตาม หรือจะศึกษามากสักเท่าไรก็ตาม ก็เพื่อให้เกิดสติระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ ซึ่งเป็นประโยชน์สูงสุดจริงๆ เพราะว่าทุกคนต้องจากโลกนี้ไป โดยที่ไม่ทราบว่า จะเป็นวันไหน เพราะฉะนั้น ควรที่จะขวนขวายศึกษาให้เข้าใจลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏในขณะนี้ เพื่อจะได้ละคลายการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน ซึ่งเคยยึดถือมานานแสนนานในสังสารวัฏฏ์
ถ้าไม่ฟังพระธรรม ไม่พิจารณาเพื่อที่จะให้สติเกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ ก็จะยังคงยึดถือสภาพธรรมที่ปรากฏในชาตินี้ว่า เป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล ซึ่งยากแก่การที่จะละคลาย ถ้าปัญญาไม่เจริญขึ้น จริงๆ
ขออ่านจดหมายซึ่งเกี่ยวกับคำถามในเรื่องการปฏิบัติให้ท่านผู้ฟังได้รับฟัง ถ้าท่านผู้ฟังมีความคิดเห็นประการใด ขอให้กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย
เขียนมาจากโรงเรียนบ้านท่าซุง หมู่ ๓ ตำบลลาดกระทิง อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา
วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๓๐
เรียน อาจารย์สุจินต์
ผมเพิ่งสนใจธรรมและเริ่มปฏิบัติธรรม ได้ฟังคำบรรยายของอาจารย์เป็นประจำ แต่มีความรู้สึกขัดแย้งในใจเรื่องหนึ่ง คือ เกี่ยวกับสวรรค์ นรก ภพชาติ คือ เท่าที่ ได้ฟังคำบรรยายของอาจารย์รู้สึกว่า มีนรก สวรรค์ เป็นตัวตน เหมือนใน ไตรภูมิพระร่วง มีการเกิดใหม่ มีวิญญาณ แต่เมื่อผมได้อ่านหนังสือปฏิจจสมุปบาทและนรกสวรรค์ของท่านพุทธทาสภิกขุ และหนังสือลำธารชีวิตของพระโพธิรักษ์ แห่งสันติอโศก ต่างมีลักษณะที่ว่า สวรรค์นรกต่างอยู่ในจิตใจ เป็นชาติปัจจุบันเท่านั้น
การเกิดเป็นเทวดา เปรต ยักษ์ สัตว์ก็เป็นในชาติปัจจุบัน เป็นจิตใจ โดยเฉพาะท่านพุทธทาสท่านได้นำบาลีเดิมมาตีความตามในหนังสือปฏิจจสมุปบาทว่าคืออะไร โดยมีลักษณะที่ว่า หลักธรรมในปัจจุบันมีการผสมปะปนกับศาสนาพราหมณ์ จนปิดบังแก่นของพระพุทธศาสนา ในฐานะที่ผมเป็นผู้ที่ไม่รู้ จึงใคร่จะให้ท่านอาจารย์พิจารณาหนังสือดังกล่าว และให้แนวทางที่ถูกต้องแก่ผมด้วยครับ เพราะในหนังสือดังกล่าวก็รู้สึกให้เหตุผลที่ดีมาก
ด้วยความเคารพ
สุ. ขอเรียนให้ทราบว่า การศึกษาพระธรรมต้องศึกษาต่อไปอีกเรื่อยๆ ไม่ว่าจะอ่านหนังสือเล่มไหนอย่างไร ก็ควรจะได้พิจารณาเหตุผลในหนังสือนั้นๆ เพื่อที่จะได้พิจารณาสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ถ้าทำให้สามารถเข้าใจลักษณะของธรรมในขณะนี้ตามความเป็นจริงได้ก็เป็นประโยชน์ เพราะว่าเป็นปัญญาที่เพิ่มขึ้น
อีกท่านหนึ่ง จะเห็นได้ว่า การศึกษาพระธรรมเท่านั้นที่จะช่วยทำให้เข้าใจ ธรรมทั้งหลายที่เคยคิด หรือเคยสงสัย ซึ่งบางท่านก็มีมาก
ท่านเขียนมาจากบ้านเลขที่ ๒๓๑ หมู่ ๘ หนองขุย ตำบลบ่อสุพรรณ อำเภอ สองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๓๐
เรียน อาจารย์สุจินต์ที่เคารพ
ดิฉันต้องกราบขออภัยอาจารย์ไว้ล่วงหน้าที่มีจดหมายมารบกวนอาจารย์ หลายข้อ เพราะดิฉันมีความข้องใจมากเกี่ยวกับเรื่องปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ดิฉันจึงอยากขอคำแนะนำจากอาจารย์
ปัญหามีดังนี้
ขณะทานอาหารจะต้องกำหนดตรงไหนเป็นรูปนาม และในขณะทานจะต้องกำหนด (ท่องในใจ) ว่าอย่างไร
ก่อนจะพูดต้องกำหนด (ท่องในใจ) ว่าอย่างไร และขณะพูดจะเจริญสติ อารมณ์ปัจจุบันรูปนามว่าอย่างไร
เวลานั่งหรือนอนเฉยๆ โดยไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย จะต้องกำหนดอะไรบ้าง ปัจจุบันรูปนาม ถ้าเรายืนอยู่ แต่มือถือสายยางสูบน้ำ จะต้องกำหนดท่าไหน เวลากวาดบ้าน อาบน้ำ ซักผ้า หุงข้าว ตำน้ำพริก และอื่นๆ จะต้องกำหนดอะไร เป็นรูปนาม
เอาละค่ะ ดิฉันรบกวนอาจารย์มามากแล้ว ขอความกรุณาตอบให้ทราบด้วย ขอกราบขอบพระคุณอย่างสูง
สุ. ไม่ทราบท่านผู้ฟังมีความคิดเห็นประการใด หรือคิดว่าจะเกื้อกูล ท่านผู้ฟังท่านนี้ หรืออีกท่านหนึ่ง ทั้งสองท่าน ในข้อไหนบ้าง
ผู้ฟัง สำหรับท่านแรก ผมจะใช้อย่างพระพุทธองค์ที่ปิงคลพราหมณ์ เคยมาถามพระพุทธเจ้าเรื่องครูทั้ง ๖ ว่า ใครผิดใครถูกอย่างไร ซึ่งพระพุทธเจ้าไม่ตรัสถึงครูทั้ง ๖ แต่ให้ปิงคลพราหมณ์ฟังธรรมจากพระพุทธองค์
จดหมายฉบับแรก ผมจะไม่วิจารณ์ถึงท่านทั้งสองที่ในจดหมายนั้นเอ่ยนามมา พระพุทธองค์ตรัสให้ฟังธรรม ก็อย่างอาจารย์ที่ว่า ให้เจริญสติปัฏฐาน ทางตา เป็นอย่างไร ทางหูเป็นอย่างไร เพราะสังเกตจากจดหมายดูแล้ว พูดถึงเรื่องเหตุผลจากปฏิจจสมุปบาท และพูดถึงเรื่องนรก สวรรค์ ซึ่งเป็นเรื่องใส่ความคิดเห็นส่วนตัว ลงไป ฉะนั้น โอกาสที่จะผิดก็มีมาก
สำหรับจดหมายฉบับที่ ๒ เป็นคำถามทั่วๆ ไป เรียกว่าแบบในสมัยนี้เลย ไปที่ไหนก็จะเจอคำถามเหล่านี้ คือ เรื่องกำหนด ยุบหนอพองหนอ สัมมาอรหัง เราก็คงจะไม่ไปกล่าวถึง คงให้เจริญสติปัฏฐานเป็นปกติในชีวิตประจำวัน เห็นเป็นอย่างไร ได้ยินเป็นอย่างไร ระลึกไปอย่างนั้นจะถูกต้องกว่า
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๖๗ ตอนที่ ๑๖๖๑ – ๑๖๗๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1621
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1622
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1623
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1624
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1625
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1626
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1627
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1628
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1629
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1630
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1631
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1632
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1633
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1634
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1635
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1636
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1637
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1638
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1639
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1640
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1641
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1642
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1643
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1644
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1645
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1646
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1647
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1648
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1649
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1650
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1651
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1652
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1653
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1654
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1655
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1656
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1657
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1658
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1659
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1660
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1661
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1662
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1663
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1664
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1665
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1666
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1667
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1668
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1669
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1670
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1671
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1672
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1673
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1674
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1675
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1676
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1677
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1678
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1679
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1680
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1681
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1682
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1683
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1684
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1685