แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1685
ครั้งที่ ๑๖๘๕
สาระสำคัญ
ผู้มีปกติอบรมเจริญสติปัฏฐานในชีวิตประจำวัน
สะสมการระลึกรู้ การสังเกต การพิจารณา (ไม่ใช่สะสมอย่างอื่น)
การรักษาศีลที่ถูกต้องที่สุด (จุดประสงค์ก็คือเพื่อขัดเกลากิเลส)
มนุษย์เป็นสัตว์รกชัฏ เป็นผู้ที่หนาแน่นด้วยกิเลส
สนทนาธรรมที่กุรุน้อย จังหวัดราชบุรี
วันเสาร์ที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๓๐
ถ. ขณะนั้นพระอธิบายว่า ศีล ๕ เป็นศีลของคฤหัสถ์ อย่างน้อยคฤหัสถ์ทุกคนควรมีเป็นปกติ แต่คำว่า ปกติ พระท่านไม่ได้เน้นว่าต้องเอาไปใช้ทุกวัน อาจจะรับศีลไปเหมือนเป็นสิ่งของ
สุ. แม้ในขณะนั้นก็ยังไม่ได้เข้าใจเลยว่า รับ หมายความว่าอย่างไร ใช่ไหม ก็เป็นเรื่องของความไม่เข้าใจทั้งนั้น แต่ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นเรื่องละเอียด และเป็นเรื่องที่ทำให้ปัญญาของผู้ฟังเองเจริญขึ้นในทุกด้าน แต่ต้องเป็นผู้ที่มีเหตุผล ไม่ใช่ว่าเพียงฟังเฉยๆ หรือรับมาเฉยๆ แม้แต่คำว่า รับมา เข้าใจความหมายนั้น หรือยัง รับอะไรมา
ถ. คล้ายๆ เหมือนรับคำสั่งว่า ต้องทำอย่างนี้ๆ นะ ๕ ข้อล่วงละเมิดไม่ได้ และรู้สึกว่าเป็นเรื่องของกายกับวาจาเท่านั้น เพราะว่าศีล ๕ เป็นเรื่องของกายกับวาจา ส่วนใจท่านไม่ได้เน้นอะไร จึงมีความคิดว่าบริสุทธิ์ เพราะไม่ได้ล่วงละเมิดอะไรเลย สักข้อหนึ่งใน ๕ ข้อที่ท่านให้มา ครบจนถึง ๓ วัน ๗ วัน รู้สึกว่าได้บุญเหลือเกิน
อ. If you live on the desert island , you can have รักษาศีล ๘ ตลอดเวลา ไม่ยาก เพราะว่าไม่มีโอกาสละเมิด ใช่ไหม ไม่มีสุราให้ดื่ม ถ้าตั้งใจไม่พูดเลย ก็คงไม่มีโอกาสพูดอะไรไม่ดี แต่เมื่อออกจากวัดแล้ว ไม่มีใครบังคับให้ไม่พูด อยากพูดอะไรเมื่อไรก็พูดได้
ถ. คำว่า อบรม โดยทั่วไปพวกเรามักจะเข้าใจว่า ต้องทำให้เป็นประจำ เหมือนกับฝึก บางครั้งได้ยินเสียงท่านอาจารย์พูดคำว่า อบรม กับคำว่า ฝึก ตอนแรกดิฉันเข้าใจว่า อบรมกับฝึกนี่เราต้องมาทำเป็นประจำ ได้ยินว่า ลักษณะเย็น ร้อน อ่อน แข็งก็ให้รู้ ดิฉันก็มาทำใหญ่เลย ใหม่ๆ บางครั้นนั่งจะนึกขึ้นมาเอง แต่ทำไมเราไม่รู้สึกว่ามันแข็ง ลืมไป เพราะฉะนั้น ลองนั่งใหม่ ลองดูใหม่ว่า ทำไมเราจึงไม่รู้สึกแข็ง และลองมาจับดูจึงรู้ว่าแข็ง
นี่เป็นความเข้าใจผิดในครั้งแรกๆ ที่ดิฉันได้ยินจากท่านอาจารย์บรรยาย ดิฉันฟังต่อมาเรื่อยๆ จึงรู้ว่าตัวเองเข้าใจผิดไปมากมาย แต่เมื่อใหม่ๆ ก็ทำเลย บางทีตื่นขึ้นตอนเช้า ที่ว่าสิ่งที่ปรากฏทางตา ความที่เรานึกถึงคำบรรยายของท่านอาจารย์บ่อยๆ ตื่นขึ้นมาทำไมเรายังไม่รู้สิ่งที่ปรากฏทางตา เราไม่รู้เรื่องเลย ก็พยายามทำอีก
เมื่อฟังท่านอาจารย์นานๆ เข้า ก็เข้าใจว่า คำว่า อบรม หรือ ฝึกฝน คงเป็นการฟัง ต้องฟังไปมากๆ ฟังนานๆ จนกระทั่งสติเกิดขึ้นเอง โดยที่เราไม่ได้ทำให้ สติเกิด คือ จากฟังบ่อยๆ นานๆ จะทำให้สติเกิดขึ้นเอง อย่างนี้ดิฉันเข้าใจผิดไหม
สุ. ไม่ผิด เพราะฉะนั้น เรื่องที่จะเข้าใจผิดมีได้ ซึ่งแต่ละคนที่ปฏิบัติจะรู้เอง ผู้ที่เป็นพระโสดาบันละสีลัพพตปรามาสกายคันถะ คือ การประพฤติข้อปฏิบัติที่คลาดเคลื่อนด้วยปัญญาของตัวเองที่รู้ว่า ขณะไหนผิด ก็เลิก ทิ้งข้อปฏิบัติที่ผิดนั้น แต่ตอนแรกๆ จะผิดก่อน โดยความที่มีตัวตนที่จะทำ
ต้องเข้าใจให้ถูกว่า ไม่มีการทำ สภาพธรรมขณะนี้เป็นของจริงเกิดแล้ว เพียงแต่สติระลึก เวลาที่สติเกิดก็ระลึก และศึกษาสังเกตพิจารณาเท่านั้นเอง สะสมการระลึกรู้ การสังเกต การพิจารณา ไม่ใช่สะสมอย่างอื่น
ถ. ความจริงการรักษาศีลของแต่ละท่านน่าจะมีจุดมุ่งหมาย และมีจุดประสงค์ เพราะเท่าที่มีโอกาสได้ยินได้ฟังว่า เวลาที่มีการสมาทานหรือ รักษาศีลที่เป็นศีล ๕ หรือศีล ๘ นั้น เมื่อสามารถรักษาได้ครบ ก็มีความดีใจว่า ได้กุศลมาก แต่บางครั้งก็อาจจะมีการล่วงศีล ก็เกิดความทุกข์ใจ
ในเมื่อศีลเป็นสิ่งที่ควรประพฤติปฏิบัติ จุดมุ่งหมายและจุดประสงค์ในการรักษาศีลเพื่ออะไร และควรเป็นปกติอย่างไร ถ้าหากเป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันจริงๆ คงไม่ต้องรอถึงวันพระหรือวันอะไร แต่ควรเป็นปกติ ถ้าสามารถรักษาได้ โดยเห็นประโยชน์ ฉะนั้น ขอให้ท่านอาจารย์ช่วยอธิบายถึงจุดประสงค์และประโยชน์ที่ควรแก่การประพฤติปฏิบัติด้วย
สุ. จุดประสงค์ คือ เพื่อขัดเกลากิเลสที่จะเกิดขึ้นทางกาย ทางวาจา ข้อสำคัญที่สุด คือ พระธรรมสอนให้ทุกคนรู้จักตัวเองตามความเป็นจริง ดีไหมที่จะรู้จักตัวเอง ซึ่งแท้ที่จริงแล้วมักจะเข้าใจว่า รู้จักคนอื่นดี รู้จักคนอื่นมาก รู้จักคนอื่นทะลุปรุโปร่ง แต่ลืมว่ารู้จักตัวเองบ้างหรือยัง และรู้จักอะไรจะเป็นประโยชน์กว่ากัน รู้จักคนอื่น หรือรู้จักตัวเองจะมีประโยชน์กว่า
ใครก็ตามที่เริ่มรู้จักตัวเองแล้ว ขอเรียนถามให้ตอบอย่างจริงใจที่สุดเลยว่า ตัวเองดีมากน้อยแค่ไหน หรือว่าไม่ดีมากมายเลย
ต้องเป็นผู้ที่กล้า และรู้จักตัวเองตามความเป็นจริง จึงจะได้ประโยชน์จากความรู้นั้น ถ้าเห็นว่าตัวเองดีแล้ว ก็ไม่มีทางที่จะทำอะไรอีกต่อไป เพราะว่าดีแล้ว แต่เมื่อใดก็ตามที่รู้ว่าตัวเองไม่ดี เมื่อนั้นเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะว่าคนอื่นไม่สามารถละความไม่ดีนั้นได้ นอกจากปัญญาของตัวเอง
เพราะฉะนั้น ยิ่งรู้จักตัวเองมากเท่าไรก็จะเข้าใจตัวเองชัดเจนขึ้นว่า มีกิเลส ทั้งอย่างหยาบ ทั้งอย่างกลาง และอย่างละเอียดด้วย มีใครบ้างที่ไม่มีกิเลสอย่างนั้น
พระโสดาบันบุคคลเป็นผู้ที่ไม่ล่วงศีล ๕ แต่ผู้ที่ยังไม่ใช่พระโสดาบันบุคคล ไม่แน่นอน วันหนึ่งวันใดอาจจะล่วงศีลข้อหนึ่งข้อใดก็ได้ เพราะฉะนั้น การรู้จักตัวเองตามความเป็นจริง เป็นผู้ที่เห็นกิเลสของตัวเอง ผู้นั้นเป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้ประเสริฐ เพราะว่าทุกคนที่มีกิเลสหนาแน่น ย่อมทำผิดทางกายบ้าง ทางวาจาบ้างทั้งนั้น แต่ใครเป็นคนรู้ บางคนทำผิดทางกายทางวาจาแล้วก็ไม่รู้ กับคนที่แม้ทำผิดแล้ว ยังระลึกได้ ยังรู้ว่าสิ่งใดควร สิ่งใดไม่ควร เพราะฉะนั้น ใครจะดีกว่ากัน
ทุกคนมีกิเลสเหมือนกัน เท่ากัน แต่คนที่รู้ ย่อมดีกว่าคนที่ไม่รู้
เพราะฉะนั้น ประโยชน์ของการรักษาศีลก็หมายความว่า ผู้นั้นต้องรู้จักตัวเอง และเห็นว่าตัวเองไม่ดี จึงเพียรขัดเกลาตัวเองขึ้น ไม่ว่าจะด้วยทาน หรือด้วยศีล หรือด้วยความสงบ หรือด้วยการเจริญสติปัฏฐาน แต่ต้องเป็นผู้ตรงที่จะรู้จักตัวเอง ตามความเป็นจริงว่า เป็นผู้ที่ยังมีกิเลสมาก
มนุษย์เป็นสัตว์รกชัฏ ข้อความนี้ได้กล่าวถึงในอาทิตย์ คือ เป็นผู้ที่หนาแน่นด้วยกิเลส สัตว์ตื้นแต่ว่ามนุษย์รกชัฏ
สัตว์ตื้น เพราะว่าสัตว์ไม่มีการปิดบังซ่อนเร้นเท่ามนุษย์ จะแสดงกิริยาอาการคดโกงอย่างไรก็ปรากฏให้เห็นซื่อๆ อย่างช้างโกง ข้อความในอรรถกถาแสดงถึง อาการของช้าง และคนที่ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเป็นนายควาญช้าง เพราะฉะนั้น เขาก็เห็นกิริยาอาการที่โกง ที่คด ที่งอของช้าง เมื่อเทียบกับการโกง การคด การงอของคน เพราะฉะนั้น ของคนรกชัฏ แต่ของสัตว์ตื้น เพราะว่ากิเลสที่มีมากมาย ซ่อนเร้นแฝงอยู่ในใจยากที่จะรู้ได้ว่า ขณะไหนเป็นอกุศล
ต้องเป็นผู้ที่ตรง ประโยชน์ของศีลสำหรับผู้ที่รู้ว่าตัวเองไม่ดี แม้แต่บรรพชิต ทำไมท่านจึงบวช ท่านต้องเห็นอกุศล ใช่ไหม เพราะถ้าดีแล้วไม่ต้องบวช
ถ. บางครั้งเราเห็นว่าตัวเองทำไม่ดีหลายๆ อย่าง ก็มาเศร้าหมอง อย่างนี้ก็ยังไม่ถูก
สุ. ถ้าเห็นว่าทำไม่ดีแล้ว ปัญญาคืออะไร ก็ต้องรู้ว่าจะไม่ทำอีก แทนที่จะไปเศร้าหมอง เศร้าหมองมีประโยชน์อะไร สิ่งนั้นผ่านไปแล้ว อกุศลเกิดเพราะเหตุปัจจัย และเพราะไม่รู้ว่าอกุศลนั้นไม่ดี แต่ถ้าเป็นปัญญา สิ่งที่ทำแล้ว ก็แล้วไปแล้ว และจะไม่ทำอีก จะทำแต่สิ่งที่ดี ใครจะสอนเราได้นอกจากตัวเราเอง ทุกอย่างต้อง ไปลงที่ขัดเกลากิเลส ไม่ว่าจะเป็นศีล หรือสมาธิ หรือปัญญา
ผู้ฟัง สติระลึก ก็เป็นสติขั้นการฟัง ๔ ปีแล้วที่ฟังท่านอาจารย์มา คิดว่า เป็นสติขั้นการฟัง เช่น เราลำเอียงกับหลาน เวลาได้ฟังท่านอาจารย์ ก็รู้ว่าเรา มีความลำเอียงในหลาน เป็นอกุศล แต่ละวันๆ รู้ได้ว่า เราทำอย่างนี้เป็นกุศล อย่างนี้เป็นอกุศล และสำหรับกุศล ดิฉันก็ยังไม่แน่ใจว่าเป็นกุศลจริงๆ เพราะว่ามีโลภะปน อยู่มากในบางขณะ บางครั้งก็รู้ว่าสิ่งนี้ผ่านไปแล้ว เพียงแต่รู้ว่าวันหนึ่งๆ มีจิตเป็นกุศล หรือทำสิ่งใดก็ตามเป็นกุศลหรืออกุศล เพียงแค่นี้ก็ยังรู้ได้ไม่ทั่ว รู้ได้ไม่ตลอด มีบางครั้งที่นึกได้บ้างเท่านั้นเอง ยิ่งเรื่องลักษณะ ดิฉันว่ายากแสนยาก คิดเท่าไรก็ ไม่เคยจะนึกถึงเลย เพียงแค่กุศลกับอกุศลก็ยากแล้ว คงไปไม่ถึงเรื่องลักษณะหรอก
สุ. ที่จริงแล้วกุศลกับอกุศลไม่ได้ปนกัน อกุศลก็ต้องเป็นอกุศล ปนกับกุศลไม่ได้ และกุศลก็ต้องเป็นกุศล ปนกันไม่ได้ แต่เพราะว่าอกุศลกับกุศลเกิดสลับกัน และสติปัฏฐานไม่ได้ระลึกลักษณะของสภาพธรรมแต่ละอย่างและสังเกตพิจารณา จนเห็นความต่างกัน เมื่อไม่สังเกตความต่างกันก็มักจะถามว่า นี่เป็นกุศลไหม นั่นเป็นอกุศลไหม ถามกันอยู่อย่างนี้ ซึ่งคำตอบจะชัดเจนออกมาไม่ได้ เพราะว่า ใครจะรู้จิตของแต่ละคนได้ แม้แต่ขณะที่รักหลานและลำเอียงซึ่งเป็นอกุศล ขณะที่รู้สึกตัวว่าขณะนั้นลำเอียง ก็ยังสามารถรู้ได้ว่าเป็นอกุศล แต่แม้กระนั้นก็ยังไม่ชัดพอที่จะรู้ว่า ขณะไหนแน่ที่เป็นกุศล และขณะไหนเป็นอกุศล จนกว่าสติปัฏฐานจะเจริญขึ้น
เพราะฉะนั้น พระธรรมที่ทรงแสดงจากพระปัญญาที่ทรงตรัสรู้ลักษณะของสภาพธรรมแต่ละอย่างๆ ตรง ชัดเจน ไม่ใช่เพียงนึก คาดคะเน จึงสามารถแสดงลักษณะของสภาพธรรมแต่ละอย่างๆ ได้ โดยลักษณะ โดยรสะ คือ โดยกิจ โดยปัจจุปัฏฐานะ คือ อาการที่ปรากฏ และโดยเหตุใกล้ให้เกิด แต่ผู้ที่สติปัฏฐาน ยังไม่เจริญก็มีแต่ความสงสัยว่า ขณะนี้เป็นอะไรแน่ เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล ซึ่ง ตามความเป็นจริงแล้ว กุศลเป็นกุศล อกุศลเป็นอกุศล และสามารถรู้ได้จริงๆ เมื่อ สติปัฏฐานเจริญพอ
ถ. ลักษณะของกุศลและอกุศล โดยทั่วไปแล้วอกุศลก็หนัก กุศลก็เบา ใช่ไหม
สุ. แต่ถ้าไม่เจริญสติปัฏฐาน จะไม่เห็นความต่างกัน เพราะว่าชอบอกุศล เช่น เมื่อสักครู่นี้ทุกคนคงจะยอมรับว่า อาหารอร่อยมาก
ถ. ในขณะนั้นผู้ที่เจริญสติปัฏฐานจะทราบได้ว่า เป็นอกุศล ใช่ไหม ถ้า ไม่เจริญสติปัฏฐานก็ไม่ทราบ
สุ. ไม่มีทางเลย เพราะว่าเป็นที่ชอบใจ สิ่งที่น่าพอใจ ใครจะไม่ชอบ ทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ แสวงหาอยู่แล้ว พอใจอยู่แล้ว เท่าไรไม่พออยู่แล้ว
ที่จะเห็นว่าเป็นอกุศล ต้องคิดดูว่า ปัญญาต้องระลึกลักษณะของสภาพธรรม และตรงที่จะรู้ว่าลักษณะนี้เป็นสภาพที่ไม่ผ่องใส การที่ติด การที่พอใจสิ่งหนึ่งสิ่งใด ในขณะนั้น เป็นสภาพที่ไม่ผ่องใส เทียบได้กับขณะที่เราไม่ติด เราจะรู้สึกว่า สบายขึ้นมาก ไม่ต้องกังวล ไม่ต้องแสวงหาสารพัด
ทดลองเป็นอย่างๆ ก็ได้ เพียงแค่สักทวารหนึ่ง อย่างน้ำหอม ไม่มีความจำเป็น แต่ความติดความพอใจเราก็แสวงหา ถ้าเราจะละสัก ๑ ทาง เราจะรู้สึกว่าสบายมาก ไม่ต้องเดินเที่ยวหากลิ่น และดมไป ซื้อไป อะไรต่ออะไรหลายๆ อย่าง เพียงทางหนึ่งเรายังเห็นความเบาของการที่จะไม่สนใจ หรือเครื่องเพชรนิลจินดาก็เหมือนกัน ถ้าตราบใดที่เรายังเห็นสีสว่างๆ เขียวๆ แดงๆ นั้น เราก็แสวงหาอยู่เรื่อยๆ กับการที่ไม่สนใจอีกเลย ความสบายใจก็ต้องมากกว่า แต่ในขั้นที่ไม่ใช่การรู้ลักษณะของ สภาพธรรม ก็เป็นเพียงขั้นที่ไม่ได้ประจักษ์ว่าขณะใดจริงๆ ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้นและ ดับไป และขณะใดที่เป็นกุศลเกิดขึ้นและดับไป แต่อย่างไรก็ตาม กุศลต้องเป็นกุศล อกุศลต้องเป็นอกุศล ไม่ปนกัน
ถ. ความไม่ผ่องใสเป็นอย่างไร
สุ. ต้องสติระลึกลักษณะของกุศล และขณะที่สติระลึกลักษณะของอกุศล จะรู้ ถ้าอย่างเดียวยากที่จะรู้ แต่เมื่อเริ่มรู้ลักษณะที่เป็นกุศล และเวลาที่อกุศลเกิด ก็ระลึกลักษณะที่เป็นอกุศล จะรู้ได้
ที่ห้องประชุมตึกสภาการศึกษา มหามกุฏราชวิทยาลัย
วันอาทิตย์ที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๓๐
ถ. เมื่อวานนี้จากการสนทนามีคำถามว่า การเจริญสติปัฏฐาน ทางตา ก็มีสิ่งที่ปรากฏทางตากับเห็น ไม่สงสัย มีการระลึกบ้างเล็กๆ น้อยๆ ตามเหตุ ตามปัจจัย และทางหู ทางจมูก ทางลิ้น แต่เมื่อถึงทางกาย มีเย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว ก็มีผู้หนึ่งบอกว่า ตึงกับไหวไม่เคยปรากฏเลย ตั้งแต่ฟังอาจารย์มา สติเริ่มระลึกแล้วทางอื่น แต่ตึงกับไหวไม่เคยปรากฏ เพราะฉะนั้น โอกาสที่จะเกิด นามรูปปริจเฉทญาณก็คงไม่มี ใช่ไหม
สุ. ถ้าไม่กังวลถึงนามรูปปริจเฉทญาณ และอบรมเจริญปัญญารู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏไปเรื่อยๆ จะดีกว่าการคิดถึงว่า ถ้าอย่างนั้น ถ้าอย่างนี้ไหม เอาความรู้ ไม่ต้องคิดถึงญาณ เพราะว่าญาณคือความสมบูรณ์ของปัญญา เพราะฉะนั้น ก่อนจะถึงความสมบูรณ์ได้ ปัญญาต้องเกิดรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏเพิ่มขึ้น ชัดขึ้น มั่นคงขึ้น
ถ. ชัดขึ้น ก็ไม่ชัดสักที ยิ่งเลวไปกว่านั้น คือ บางทวารก็ไม่เกิด อย่าง เย็น ร้อน มี อ่อน แข็ง มีบ้าง แต่ตึง ไหว ไม่เคยมีเลย
สุ. ขณะนี้ตึงไหวปรากฏหรือเปล่า
ถ. ไม่ปรากฏ
สุ. และอะไรปรากฏ
ถ. ส่วนมากเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา
สุ. รู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ และท่านที่กล่าวว่า ท่านไม่เคยรู้ลักษณะของตึงหรือไหวเลย เป็นความจริงหรือ ถ้าไม่พูดถึงเรื่องการเจริญสติปัฏฐาน ชีวิตปกติประจำวันไม่เคยรู้สึกตึงเลยบ้างหรือ
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๖๙ ตอนที่ ๑๖๘๑ – ๑๖๙๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1621
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1622
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1623
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1624
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1625
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1626
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1627
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1628
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1629
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1630
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1631
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1632
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1633
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1634
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1635
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1636
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1637
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1638
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1639
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1640
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1641
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1642
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1643
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1644
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1645
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1646
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1647
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1648
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1649
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1650
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1651
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1652
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1653
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1654
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1655
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1656
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1657
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1658
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1659
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1660
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1661
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1662
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1663
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1664
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1665
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1666
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1667
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1668
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1669
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1670
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1671
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1672
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1673
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1674
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1675
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1676
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1677
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1678
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1679
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1680
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1681
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1682
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1683
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1684
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1685