แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1696
ครั้งที่ ๑๖๙๖
สาระสำคัญ
อัฏฐสาลินี นิกเขปกัณฑ์ นิทเทสสติสังขารพลทุกะ - กำลังคือภาวนา
ขุ. ปฏิ. อานาปานกถา - การเจริญสติปัฏฐาน (“น้อมไป” คำว่า “อบรม”)
กถาวัตถุปกรณ์ - อากาศกถา (อัษฎากาศกับปริจเฉทรูป)
ที่ห้องประชุมตึกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
วันอาทิตย์ที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๓๐
ถ. ใช้กับคนชั้นเริ่มต้นมั้ง
สุ. ทั่วๆ ไป แต่ต้องรู้ว่าโดยปรมัตถ์ไม่มีสิ่งใดที่จะพึงยึดถือว่าเป็นเรา
ถ. ท่านพูดอย่างนั้น เป็นปรมัตถ์หรือเป็นสมมติ
สุ. พระธรรมมีทั้งที่เป็นปุคคลาธิษฐาน คือ สมมติบัญญัติสภาพธรรมที่มี เป็นสัตว์ เป็นบุคคลต่างๆ เป็นภพภูมิต่างๆ แต่โดยปรมัตถธรรมแล้วทุกอย่าง ที่เกิดขึ้นและดับไป ไม่กลับมาอีกเลย ตัวตนอยู่ที่ไหน
ถ. ไม่มี
สุ. ไม่มีขั้นคิด แต่จะต้องถึงไม่มีในขั้นประจักษ์แจ้ง นี่เป็นเหตุที่ทุกคนยังคงฟังเรื่องของปรมัตถธรรม เรื่องของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ จนกว่าจะซึมซาบจริงๆ โดยสติเกิด ค่อยๆ อบรม ค่อยๆ ศึกษา ค่อยๆ พิจารณาระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
ถ. เข้าใจแล้ว ขอขอบพระคุณที่กรุณาให้ความสว่างแก่ผม
สุ. ต้องไม่ลืม ภาวนาคืออะไร อาเสวนาคืออะไร
พระบาลีนิทเทส ปฏิสังขานพลทุกะ ใน อัฏฐสาลินี นิกเขปกัณฑ์ แสดงกำลังคือการพิจารณาว่า
กำลังคือภาวนาเป็นไฉน คือ อาเสวนา การเสพ ภาวนา การเจริญ พหุลีกัมมัง การทำให้มากซึ่งกุศลกรรมทั้งหลายอันใด นี้เรียกว่า กำลังคือภาวนา
ไม่ใช่ให้ไปทำอะไรเป็นวัน เป็นเดือน เป็นปี ไม่หลับไม่นอน ไม่ใช่อย่างนั้น แต่ขณะที่กำลังศึกษา กำลังเข้าใจเพิ่มขึ้นทีละเล็กทีละน้อย เป็นการสะสมอบรมไปเรื่อยๆ
ถ. คำว่า อนัตตา คือ ไม่ใช่ตัวตน หรือไม่มีตัวตน อยากให้อาจารย์นิยามว่า อรรถอย่างไรจึงบัญญัติสิ่งนั้นว่าเป็นอนัตตา
สุ. สภาพสังขารธรรมเกิดขึ้นและดับไป จะเป็นตัวตนได้อย่างไร
ถ. เราอาศัยคำอ้างที่ว่า เกิดขึ้นและดับไป
สุ. สังขารธรรมที่เกิดและดับ จะเป็นตัวตนได้อย่างไร ตัวตนจะอยู่ที่ไหน ถ. วิสังขารธรรมก็เป็นอนัตตา แต่ไม่ได้อธิบายด้วยคำว่า เกิดขึ้นตั้งอยู่ และดับไป
สุ. แม้ไม่เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป ก็เป็นอนัตตา เพราะว่าธรรมทั้งหลาย ไม่เว้นเลย เป็นอนัตตา
ถ. วิสังขารที่ว่า ...
สุ. ทั้งสังขารและวิสังขารเป็นอนัตตา เพราะว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา
ถ. คำว่าสังขารธรรม เกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไป จึงเป็นอนัตตา …
สุ. เพราะว่าขณะนี้สังขารธรรมกำลังปรากฏ จึงได้กล่าวถึงสังขารธรรม ก่อนที่จะรู้แจ้งลักษณะของวิสังขารธรรม ต้องรู้ลักษณะของสังขารธรรมก่อน ถ้ายังเห็นสังขารธรรมเป็นตัวตน ไม่มีทางที่จะประจักษ์แจ้งวิสังขารธรรม
สำหรับคำที่ท่านผู้ฟังได้ยินบ่อยๆ ในการเจริญสติปัฏฐาน คือ คำว่า น้อมไป ใน ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค อานาปาณกถา มีข้อความว่า
คำว่า อนุฏฺฐิตา ความว่า จิตน้อมไปด้วยอาการใดๆ สติก็หมุนไปตาม คือ ระลึกรู้อยู่ด้วยอาการนั้นๆ ก็หรือว่าสติหมุนไปด้วยอาการใดๆ จิตก็น้อมไปด้วยอาการนั้นๆ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า น้อมไป ฯ
นี่คือการเข้าใจลักษณะของสัมมาสติ ซึ่งเป็นสภาพที่ระลึกรู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ แต่ขณะที่สติกำลังระลึกของสภาพธรรมที่ปรากฏนั้น ปัญญายังไม่ได้รู้แจ้ง ในลักษณะที่ต่างกันของนามธรรมและรูปธรรม
เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ให้คิดว่า เห็นเป็นนาม สีเป็นรูป หรือว่าได้ยินเป็นนาม เสียงเป็นรูป การคิดอย่างนี้ไม่ใช่การรู้ลักษณะ แต่ขณะนั้นกำลังเป็นการคิดคำ ไม่ได้พิจารณาสังเกตรู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ
เวลาที่สติระลึกลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ ยังไม่สามารถรู้ในสภาพที่เป็นนามธรรมและรูปธรรมได้ จนกว่าจะค่อยๆ สังเกต ซึ่งการค่อยๆ สังเกตนี้ คือ การน้อมไปทีละเล็กละน้อยโดยไม่คิด ตามข้อความที่ว่า
คำว่า อนุฏฺฐิตา ความว่า จิตน้อมไปด้วยอาการใดๆ สติก็หมุนไปตามด้วยอาการนั้นๆ
ขณะนี้กำลังเห็น สติระลึกรู้ตาม ขณะที่กำลังเห็นนี่เอง พิจารณาด้วยการสังเกตที่จะรู้ว่า ขณะนี้เป็นสภาพรู้ เป็นธาตุรู้ นั่นคือ จิตน้อมไปสู่อารมณ์ด้วยอาการใดๆ สติก็หมุนไปตาม คือ ระลึกรู้ตามจิตที่กำลังรู้อารมณ์นั้นๆ ในขณะนั้น ก็หรือว่าสติหมุนไปด้วยอาการใดๆ จิตก็น้อมไปด้วยอาการนั้นๆ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า น้อมไป เพราะฉะนั้น ต้องเป็นในขณะที่พิจารณารู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏนั่นเอง
สำหรับคำว่า อบรม มีข้อความว่า
คำว่า ปริจิตา ความว่า อบรม ด้วยอรรถว่าถือเอารอบ ด้วยอรรถว่ารวมไว้ ด้วยอรรถว่าเต็มรอบ คือ ภิกษุกำหนดถือเอาด้วยสติ ย่อมชำนะอกุศลธรรมอัน ลามกได้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อบรม ฯ
ทุกคนมีอกุศลมากมายถ้ารู้ คนที่ไม่รู้ก็บอกว่าเขามีกุศลมาก แต่ถ้าคนรู้จะ บอกว่า ตัวเองมีอกุศลมากเหลือเกิน เพราะฉะนั้น ผู้ที่รู้อย่างนี้ก็อบรม ด้วยอรรถว่า ถือเอารอบ ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ
ถือ คือ สมาทานด้วยการที่สติระลึกศึกษาลักษณะของสภาพธรรมนั้น รวมไว้เต็มรอบจนกว่าจะสมบูรณ์ด้วยการเจริญสติปัฏฐาน ย่อมชำนะอกุศลธรรมอันลามกได้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า อบรม
ไม่ใช่ว่ามีใครคิดจะชนะอกุศลในวันนี้ก็ชนะได้ แต่ต้องอาศัยการฟัง การพิจารณาจนกระทั่งเป็นความเข้าใจจริงๆ จึงจะค่อยๆ อบรมเจริญปัญญาไปตามลำดับขั้นในชีวิตประจำวัน
ถ. ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา แต่ที่อธิบายว่า อาศัยการเกิดดับจึงชื่อว่า อนัตตา ...
สุ. นั่นหมายความถึงความหมายของสังขารธรรมอย่างเดียว ซึ่งอนัตตาไม่ได้หมายเฉพาะสังขารธรรม เพราะฉะนั้น ถ้ากล่าวว่า ธรรมที่เป็นอนัตตาเพราะว่าเกิดดับ หมายเฉพาะสังขารธรรม
ถ. เป็นไปได้จริงหรือที่ว่า เกิดดับแล้วจึงชื่อว่าเป็นอนัตตา
สุ. ความหมายของอนัตตาคืออะไร
ถ. ไม่ใช่ตัวตน
สุ. ถ้าสิ่งที่เกิดแล้ว และดับไปแล้ว ตัวตนอยู่ที่ไหน
ถ. ก็ไม่ได้อยู่ที่ไหน
สุ. ก็ไม่มี แต่ที่เข้าใจกันว่ามีตัวตน เพราะว่ายังไม่ประจักษ์การเกิดขึ้นและดับไปของสภาพธรรมนั้นๆ จึงยังคงยึดถือสภาพธรรมนั้นๆ ว่าเป็นตัวตน
ถ. การเกิดดับของสังขารธรรมหรือสังขตสังขาร ผมพิจารณาว่า ยังไม่สามารถอธิบายคำว่าอนัตตาได้ อย่างน้อยที่สุดก็ไม่ได้ครอบคลุมไปถึง วิสังขารธรรม เพราะฉะนั้น เกิดดับจะอธิบายอนัตตาได้อย่างไร
รูปทั้งหมดเป็นอนัตตา ที่อาจารย์เคยรับรองไว้ รูป ๒๘ เป็นอนัตตา แต่ใน ๒๘ รูป มี ๑๐ รูปที่เป็นข้อสงสัย เช่น วิการรูป ลักษณรูป วิญญัติรูป หรือปริจเฉทรูป เป็นอนัตตาได้อย่างไร เมื่อไปดูในคัมภีร์จะพบว่า รูปเหล่านี้ไม่มีไตรลักษณ์ เป็นรูปที่พิจารณาไตรลักษณ์ไม่ได้ เมื่อเป็นรูปที่ไม่มีไตรลักษณ์ คัมภีร์บ่งไว้ จะเรียกว่า รูปทั้งหมดเป็นอนัตตาได้อย่างไร
สุ. นี่คือคำถาม ใช่ไหม ถ้าตอบโดยพระพุทธพจน์ที่ว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา
ถ. ถูกต้อง
สุ. ถ้าถูกต้อง ก็จบ
ถ. ผมกำลังพูดถึงประเด็นการเกิดดับเท่านั้น ผมไม่ได้ปฏิเสธว่า ธรรมทั้งหลายไม่ได้เป็นอนัตตา เพราะอาจารย์อธิบายว่า เกิดดับนี่อธิบายอนัตตา
สุ. เฉพาะสังขารธรรม
ถ. รูปที่เหลือ ๑๐ รูปเกิดดับหรือเปล่า ถ้าไม่ได้เกิดดับ จะบอกว่าเกิดดับอธิบายอนัตตาได้อย่างไร
สุ. มีอะไรบ้างที่เกิดแล้วไม่ดับ
ถ. ก็ไม่มี มีแต่ไม่เกิดจึงไม่ดับ แต่ทำไมจึงเรียกรูปทั้งหมดว่าเป็นอนัตตา
สุ. ทำไมต้องสงสัย ถ้าเข้าใจว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ก็ไม่เหลืออะไรเลย
ถ. ข้อสรุปไม่สงสัย แต่ที่สงสัย คือ เกิดดับอธิบายอนัตตาได้จริงๆ หรือ ผมเห็นว่า รูป ๑๐ รูปนั้นไม่ได้เกิดดับ และเมื่อพิจารณาเกิดดับไม่ได้ ทำไมบอกว่า เป็นอนัตตา
สุ. สิ่งใดไม่เกิด สิ่งนั้นจะมีปรากฏได้ไหม
ถ. อย่างนิพพานไม่เกิด แต่ก็เป็นอารมณ์ของเราได้ ทำไมมีได้ จะบอกว่าการเกิดดับเป็นอนัตตาเท่านั้น การเกิดดับจริงๆ มีอยู่ แต่เรียกว่าอนิจจตาเฉยๆ ทำไมบอกว่าเป็นอนัตตา เพราะอนิจจตาก็ไม่ใช่อนัตตา
สุ. ไม่มีหรอกที่อนิจจตาจะไม่ใช่อนัตตา
ถ. ทำไมเป็นอย่างนั้น
สุ. ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา เพราะฉะนั้น ไม่มีอะไรที่จะพ้นจากอนัตตาได้เลย
ถ. ผมไม่ได้ว่าไม่ใช่อนัตตา แต่ผมสงสัยว่า การเกิดดับอธิบายอนัตตา ได้จริงๆ หรือไม่ เพราะอย่างน้อยที่สุดก็อธิบายวิสังขารธรรมไม่ได้อยู่แล้ว
สุ. ถ้าเข้าใจความหมายว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา อย่าหมายเฉพาะแต่สังขารธรรม ที่พูดมาทั้งหมดนี่หมายความว่าข้องใจแต่เพียงว่า ทำไมกล่าวถึงแต่ลักษณะของสังขารธรรมเท่านั้นที่ว่าเป็นอนัตตา แม้ว่าวิสังขารธรรมก็เป็นอนัตตาด้วย ใช่ไหม
หมดความสงสัยไปได้เลย ในเมื่อธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ก็ต้องทั้ง สังขารธรรมและวิสังขารธรรม
ถ. ไม่ได้สงสัยอย่างนั้น แต่สงสัยว่า ทำไมจึงอธิบายอนัตตาด้วยคำว่า เกิดดับ ซึ่งผมพยายามย้ำให้เห็นว่า สิ่งที่ไม่เกิดดับก็เป็นอนัตตาได้ ทั้งๆ ที่เป็น สังขารธรรม
สุ. สังขารธรรมที่ไม่เกิดดับมีหรือ
ถ. อนิปผันนรูป มีการเกิดดับให้เราเห็นได้หรือ
สุ. วิการรูปเกิดหรือเปล่า มีสมุฏฐานอะไร มีกี่สมุฏฐาน เมื่อมีสมุฏฐาน ก็หมายความว่าต้องเกิด เพราะว่าสมุฏฐานเป็นธรรมที่ก่อตั้งให้รูปเกิด
ถ. และวิการรูปยังอธิบายว่า พิจารณาเห็นไตรลักษณ์ไม่ได้ หมายความว่า เราเห็นไม่ได้จริงๆ ต้องเห็นทางอ้อมโดยในคัมภีร์บอกว่า ต้องอาศัยมหาภูตรูป คือ มีนิปผันนรูปเป็นตัวให้อาศัย เมื่อตัวมันอาศัยอยู่ ตัวที่มันอาศัยเกิดดับ มันก็คง เกิดดับตามไปด้วย เพราะต้องอาศัยรูปเหล่านี้เกิด
แต่มีอยู่รูปหนึ่ง คือ ปริจเฉทรูป เป็นช่องว่างระหว่างรูป หมายถึงความว่างนั่นเอง หรือเรียกว่าอากาศก็ได้ อากาศคือความว่างเปล่าเป็นรูปขึ้นมาได้ จึงสงสัยว่า อากาศนี่เกิดดับหรือ จึงชื่อว่าเป็นอนัตตา เป็นอนัตตาแน่นอน แต่ถ้าอาศัยการเกิดดับอธิบายอนัตตา สงสัยว่า อากาศเกิดดับได้หรือ จึงเรียกว่าเป็นอนัตตา
สุ. ปริจเฉทรูปอยู่ที่ไหน
ถ. อยู่ระหว่างรูป
สุ. อยู่ระหว่างกลุ่มหรือกลาปของรูป มีสมุฏฐานไหม
ถ. มี
สุ. เพราะฉะนั้น ต้องมีสมุฏฐานที่ทำให้อากาศธาตุเกิดคั่นระหว่าง กลาปต่างๆ ด้วย อากาศที่เป็นปริจเฉทรูปเป็นสังขตะ เพราะว่าเกิดจากสมุฏฐานทั้ง ๔ ทีละสมุฏฐาน
ถ. แต่เคยอ่านว่า พระโมคคัลลีบุตรบอกว่า อากาศเป็นบัญญัติอย่างเดียว ในอรรถกถามีทั้งสังขตะและอสังขตะ บัญญัติไม่มีอสังขตะ
สุ. โดยมากจะมีความกระจ่างชัดขึ้น ถ้าจะหยิบยกข้อความนั้นมาโดยตรง และจะต้องวินิจฉัยถึงความหมายอรรถของพยัญชนะนั้นด้วยว่า หมายความถึงอากาศอะไร และในคัมภีร์ไหน ขอความกรุณานำมาด้วย ทุกท่านที่จะวินิจฉัยข้อความ ในธรรม จะมีประโยชน์มากถ้าจะได้นำข้อความนั้นมาโดยตรง
ถ. ถ้าจะว่าเป็นการกล่าวตู่ ผมไม่ตู่แน่ ยืนยัน ผมขออัญเชิญมาก่อนว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นของเที่ยงไม่แปรผันนั้นมี ๒ ประการ ๒ ประการนั้นเป็นไฉน คือ อากาศและนิพพาน
เมื่อคืนนี้ผมฟังวิทยุยานเกราะ เกี่ยวกับพระนาคเสนไขปัญหาพระยามิลินท์ ท่านบอกว่า อสังขตะมีอยู่ ๓ อย่าง คือ อากาศ บัญญัติ และนิพพาน และบอกว่า อสังขตะที่ประเสริฐที่สุด คือ วิราคธรรม จึงสงสัยว่า เอาอย่างไรกันแน่ เพราะ พระพุทธพจน์ก็บอกว่า อากาศนั้นเป็นอสังขตะ เมื่อเป็นอสังขตะจะมีปริจเฉทรูป...
สุ. อย่าปนอากาศที่เป็นอัชฎากาศกับปริจเฉทากาศ อากาศที่เป็น ปริจเฉทรูปอยู่ในกลุ่มของรูปซึ่งเกิดเพราะสมุฏฐานต่างๆ ทำให้กลาปที่เกิดเพราะสมุฏฐานนั้นๆ แยกขาดจากกัน ไม่มีสมุฏฐานใดเลยที่จะทำให้รูปเกิดเป็นแผ่นใหญ่โต โดยที่ไม่มีอากาศธาตุคั่น แม้แต่รูปที่เกิดจากกรรม หรือรูปที่เกิดจากจิต รูปที่เกิดจากอุตุ รูปที่เกิดจากอาหาร แม้แต่ไม้ที่เราเห็นเป็นโต๊ะ เป็นเก้าอี้ เป็นรูปซึ่งเกิดจากอุตุ แม้กระนั้นในแต่ละกลาปซึ่งอุตุเป็นสมุฏฐานก็มีปริจเฉทรูปกั้นคั่นอยู่ระหว่างกลาป แต่ละกลาป ต้องไม่ปนกับอัชฎากาศ ซึ่งเป็นอากาศที่โล่งแจ้ง …
ถ. ไม่ได้ปน แต่สงสัยว่า อากาศอยู่ที่ไหนเกิดดับได้
สุ. เพราะว่าปนอากาศที่เป็นอัชฎากาศกับปริจเฉทรูป
ถ. ถ้าสรุปอย่างนั้นก็ง่าย แต่ผมสงสัยว่าเกิดดับจริงๆ หรือ จะเป็นช่องว่างตรงไหนก็แล้วแต่ หรือช่องว่างขนาดนี้ พอขยายใหญ่จึงเกิดดับ เปลี่ยนแปลง เป็นอย่างนั้นหรือเปล่า
สุ. เพราะว่ากลุ่มของรูปที่เกิด กรรมก็ดี จิตก็ดี อุตุก็ดี อาหารก็ดี ทำให้เกิดขึ้น ไม่ได้ทำให้เกิดขึ้นเป็นแผ่นโตๆ โดยที่ไม่มีอากาศแทรกคั่น
ถ. หมายถึงทั้งหมด ทั้งรูปด้วย รวมทั้งอากาศ
สุ. นั่นเป็นสังขตะ
ผู้ฟัง ผมมีความเห็นว่า ที่ทรงแสดงไว้เป็นพุทธวิสัย เรื่องที่พูดเมื่อกี้เป็น พุทธวิสัยแน่นอน ถ้าเป็นปุถุชนและพยายามไปเปรียบเทียบพุทธวิสัย เอาเข้ามาในโลกปัจจุบัน จะไปเอากว้าง เอายาว ผิดแน่นอน
สุ. ที่จริงข้อความต่างๆ ที่กล่าวถึง ปรากฏในคัมภีร์ต่างๆ แต่ต้องเข้าใจโดยละเอียด แม้แต่ในกถาวัตถุปกรณ์ อากาสกถา ก็มีข้อความเรื่องอากาศ ที่มีคำถามคำตอบ เพราะว่าเป็นกถาวัตถุ หรือแม้แต่ในธรรมสังคณีปกรณ์ ก็มีคำอธิบายว่า รูปเป็นอากาศธาตุเป็นไฉน หรือธรรมที่เป็นอสังขตะเป็นไฉน แต่ไม่ควรศึกษาด้วยความสับสน หรือด้วยการไม่พยายามเข้าใจพยัญชนะให้เป็น ตอนๆ ให้ถูกต้อง
ถ้ากล่าวว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ก็ต้องรับฟัง และพิจารณาว่า เป็นความจริงอย่างนั้นไหม ในเมื่อธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา
คำว่า อัตตา คือ ยึดถือว่าเป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพราะฉะนั้น ความหมายของอนัตตาก็ตรงกันข้าม คือ ไม่ใช่สภาพธรรมที่จะพึงยึดถือรวมกันเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน และถ้าคิดว่ามีอัตตาก็คิดว่าจะบังคับบัญชาได้ เพราะว่ามีเราเป็นเจ้าของ แต่ถ้ารู้ว่าสภาพธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ก็เป็นอนัตตา คือ ไม่มีใครสามารถไปบังคับบัญชาได้ คือ พยายามที่จะศึกษา พระธรรม และพิจารณาให้เข้าใจเป็นลำดับขั้นตอน
และอนัตตานี่รวมหมด ธรรมทั้งหลายที่เป็นอนัตตาหมายความถึงปรมัตถธรรม ในบางแห่งจะกล่าวว่า ธรรมทั้งหลาย ธรรมทั้งปวง หมายถึงธรรมที่เป็นปรมัตถ์
เราจะต้องเข้าใจและพยายามศึกษาพิจารณาเป็นตอนๆ จนกระทั่งถึงเรื่องของสังขารธรรม ได้แก่ ปรมัตถธรรม ๓ คือ จิต เจตสิก รูป เป็นสังขารธรรม เพราะว่าเป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยและก็ดับ แต่ส่วนที่จะไปแยกเป็นรูปนั้นรูปนี้เป็นความละเอียดต่อไป แต่ก็ต้องรวมอยู่ในธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา
ถ้าเป็นโดยลักษณะนี้ คือ ศึกษาตามลำดับ และพยายามเข้าถึงอรรถนั้นจริงๆ จะไม่เคลือบแคลงสงสัย แม้แต่ข้อความที่กล่าวเรื่องของอสังขตะ ๓ นั้น ก็จะไม่สงสัยเลยว่า ถ้าพูดถึงอากาศในลักษณะนั้นแล้ว ไม่ได้หมายถึงอากาศที่เป็นปริจเฉทรูป แต่ต้องหมายความถึงอัชฎากาศที่เป็นอากาศธาตุ ซึ่งไม่มีปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้นเลย ต้องพยายามศึกษาไปตามลำดับจริงๆ
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๗๐ ตอนที่ ๑๖๙๑ – ๑๗๐๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1686
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1687
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1688
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1689
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1690
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1691
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1692
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1693
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1694
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1695
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1696
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1697
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1698
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1699
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1700
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1701
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1702
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1703
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1704
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1705
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1706
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1707
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1708
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1709
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1710
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1711
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1712
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1713
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1714
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1715
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1716
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1717
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1718
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1719
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1720
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1721
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1722
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1723
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1724
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1725
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1726
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1727
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1728
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1729
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1730
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1731
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1732
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1733
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1734
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1735
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1736
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1737
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1738
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1739
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1740
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1741
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1742
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1743
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1744
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1745
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1746
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1747
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1748
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1749
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1750
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1751