แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1706
ครั้งที่ ๑๗๐๖
สาระสำคัญ
อรรถกถา องฺ.ทุก.อธิกรณวรรคที่ ๒ - ธรรมเทศนา ๒ อย่าง
มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ และ มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ
วิปัสสนาญาณขั้นที่ ๕ - ภังคญาณ
ที่ห้องประชุมตึกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
วันอาทิตย์ที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๓๐
พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงโดยละเอียด มีอุปการะเกื้อกูลเป็นอันมาก
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต อธิกรณวรรคที่ ๒ สูตรที่ ๔ ข้อ ๒๖๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า ธรรมเทศนามี ๒ เท่านั้น คือ ธรรมเทศนาโดยสังเขป ธรรมเทศนาโดยพิสดาร
เทศนาที่ตรัสแสดงเฉพาะหัวข้อ ชื่อเทศนาโดยสังเขป เทศนาที่ตรัสแสดงอธิบายโดยละเอียด ชื่อเทศนาโดยพิสดาร
ในเทศนา ๒ อย่างนั้น เทศนาโดยสังเขปตรัสแก่บุคคลที่มีปัญญามาก เทศนาโดยพิสดารตรัสแก่บุคคลที่มีปัญญาน้อย เพราะเทศนาโดยพิสดารย่อม เป็นเหมือนเนิ่นช้าอย่างยิ่งแก่ผู้มีปัญญามาก เทศนาโดยสังเขปย่อมเป็นเหมือนกระต่ายกระโดดแก่ผู้มีปัญญาน้อย ไม่อาจจับต้นชนปลายได้
อนึ่ง เทศนาโดยสังเขปตรัสแก่บุคคลประเภทอุคฆฏิตัญญูบุคคล เทศนา โดยพิสดารตรัสแก่บุคคล ๓ ประเภทนอกนี้ คือ ตรัสแก่วิปัญจิตัญญูบุคคล เนยยบุคคล และปทปรมบุคคล พระไตรปิฎกทั้งสิ้นย่อมนับเข้าในข้อนี้ว่า เทศนาโดยสังเขป เทศนาโดยพิสดารนั่นแล
ท่านผู้ฟังคงเคยมีบางท่านที่กล่าวว่า ขอให้พูดธรรมย่อๆ นิดๆ หน่อยๆ เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นไม่ทราบว่า แท้ที่จริงแล้วเทศนาโดยสังเขปตรัสแก่บุคคล ผู้มีปัญญามาก โดยเฉพาะตรัสแก่บุคคลประเภทอุคฆฏิตัญญู คือ ผู้ที่เพียงแสดงธรรมด้วยพระคาถาสั้นๆ ก็บรรลุคุณธรรมเป็นพระโสดาบัน เป็นพระอริยบุคคล
สำหรับธรรมที่ทรงแสดงโดยพิสดาร โดยละเอียด ตรัสแก่บุคคล ๓ ประเภท คือ วิปัญจิตัญญูบุคคล ผู้ที่ต้องแสดงธรรมละเอียดกว่าหัวข้อจึงจะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ และเนยยบุคคล คือ ผู้ที่ต้องฟังมาก พิจารณามาก ศึกษามาก สอบถามมาก ใคร่ครวญมาก สนทนาธรรมมาก แสดงธรรมมาก จึงจะบรรลุ และปทปรมบุคคล คือ แม้จะได้ฟังสักเท่าไร พิจารณาสักเท่าไร ศึกษาสักเท่าไร สอบถามสนทนาธรรม สักเท่าไร ในชาตินั้นก็ไม่บรรลุ
เพราะฉะนั้น ท่านผู้ฟังที่กล่าวว่า ขอให้แสดงธรรมนิดๆ หน่อยๆ หรือ โดยย่อๆ เท่านั้น ต้องเป็นผู้ที่สำคัญผิดคิดว่า สามารถเข้าใจพระธรรมได้เพียงการแสดงหรือการกล่าวธรรมโดยย่อ แต่การที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมโดยละเอียด ก็เพื่อเกื้อกูลต่อผู้ที่ไม่ใช่อุคฆฏิตัญญูบุคคล กว่าปัญญาจะเจริญขึ้นจนทั่วจริงๆ
ขอกล่าวถึงข้อความต่อไปใน ญาณกถา
ข้อ ๒๖๖
ทุกขญาณเป็นไฉน
มีแต่ชื่อญาณนั้นเลย เพราะว่าเป็นเรื่องของปัญญา และบางญาณก็ชินหู เช่น ทุกขญาณ คือ ปัญญาที่ประจักษ์ทุกข์คือไตรลักษณ์ ไม่ใช่ทุกข์อื่น แต่ทุกข์ที่เป็น การเกิดขึ้นและดับไป เพราะฉะนั้น จึงเป็นอุทยัพพยานุปัสสนาญาณ
ทุกขญาณเป็นไฉน ความรู้ทั่ว
อย่าข้ามพยัญชนะ พิจารณาตามไปด้วยว่า กว่าจะถึงต้องเป็นอย่างนั้นจริงๆ
ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด ความเลือกเฟ้น ความค้นคว้า ความสอดส่องธรรม ความกำหนดดี ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ความเป็นบัณฑิต ความเป็นผู้ฉลาด ความเป็นผู้ละเอียด
ฉลาดยังไม่พอ ยังต้อง ความเป็นผู้ละเอียด
ความแจ่มแจ้ง ความคิด ความพิจารณา ปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน ปัญญาอันทำลายกิเลส ปัญญาอันนำไปรอบ ความเห็นแจ้ง ความรู้ทั่วพร้อม ปัญญาดังปะฏัก ปัญญาเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นกำลัง ปัญญาดังศาตรา ปัญญาดังปราสาท ปัญญาเป็นแสงสว่าง ปัญญาเป็นรัศมี ปัญญารุ่งเรือง ปัญญาดังรัตนะ ความไม่หลง ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิที่ปรารถทุกข์เกิดขึ้น นี้ท่านกล่าวว่า ทุกขญาณ
นอกจากนั้น ก็ปรารภทุกขสมุทัย ปรารภทุกขนิโรธ ปรารภทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ซึ่งไม่มีอะไรต่างไปจากการเป็นผู้ที่มีปกติเจริญสติปัฏฐาน จนกว่าปัญญาจะ รู้ทั่วอย่างนั้นจริงๆ
ทุกท่านรู้จักตนเองตามความเป็นจริง หรืออาจจะมีบางท่านที่ไม่รู้จักตนเอง ตามความเป็นจริงก็ประมาทว่า การอบรมเจริญปัญญาคงจะไม่นานเท่าไรก็สามารถ รู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ นั่นสำหรับผู้ที่ประมาท แต่ถ้าเป็นผู้ที่รู้จักตัวเองตามความ เป็นจริงจะรู้ว่า ขณะนี้ทางตาสติปัฏฐานเกิดไหม รู้หรือยัง ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ทั้งรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ สติปัฏฐานจะต้องระลึกจนทั่ว
สำหรับผู้ที่ยังไม่รู้จักตัวเอง อินทริยปโรปริยัตตญาณของพระตถาคตเป็นไฉน ข้อ ๒๖๙ มีข้อความว่า
ในอินทริยปโรปริยัตตญาณของพระตถาคตนี้ พระตถาคตย่อมทรงเห็น สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการชั่ว พึงให้รู้แจ้งได้โดยง่าย พึงให้รู้แจ้งได้โดยยาก บางพวกมีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บางพวกมิได้เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย
จะเลือกอยู่ฝ่ายไหน ถ้าเป็นผู้ที่รู้จักตัวเองตามความเป็นจริง ซึ่งได้ทรงแสดงไว้โดยละเอียดว่า
คำว่า มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ ความว่า บุคคลผู้มีศรัทธา เป็นคนมีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เป็นคนมีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ
เริ่มจากศรัทธา ในขณะที่ท่านผู้ฟังได้ยินได้ฟังพระธรรม มีความสนใจที่จะเข้าใจในพระธรรมยิ่งขึ้น เป็นผู้ที่กำลังสะสมปัญญา เพราะฉะนั้น บุคคลผู้มีศรัทธา เป็นคนมีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เป็นคนมีกิเลสธุลีมาก ในปัญญาจักษุ
หลายท่านบอกว่า มีญาติสนิทมิตรสหายอีกมากซึ่งชักชวนให้เห็นคุณประโยชน์ของการฟังพระธรรมก็ยังไม่เห็น เพราะฉะนั้น ก็เป็นการเปรียบเทียบได้ระหว่าง ระดับของผู้มีกิเลสธุลีน้อย กับผู้ที่มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ
บุคคลผู้ปรารภความเพียร เป็นคนมีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้ เกียจคร้าน เป็นคนมีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ
การที่จะฟังพระธรรมต้องเป็นคนขยัน ใช่ไหม ถ้าเป็นคนที่เกียจคร้านก็จะ มีข้ออ้างหลายอย่างที่ทำให้ไม่ฟังพระธรรม เพราะฉะนั้น บุคคลผู้ปรารภความเพียรเป็นคนมีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้เกียจคร้าน เป็นคนมีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ
ยังไม่พอ ข้อความต่อไปมีว่า
บุคคลผู้มีสติตั้งมั่น เป็นผู้มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีสติหลงลืม เป็นคนมีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ
ท่านผู้ฟังเทียบเคียงความเป็นผู้มีกิเลสธุลีน้อยกับความเป็นผู้มีกิเลสธุลีมาก แต่ละขั้นๆ ได้ เพราะขั้นนี้มาถึง ผู้มีสติตั้งมั่น เป็นผู้มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ ผู้มีสติหลงลืม เป็นผู้มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ
บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น เป็นผู้มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่นเป็นผู้มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีปัญญา เป็นผู้มีกิเลสธุลีน้อยใน ปัญญาจักษุ บุคคลผู้มีปัญญาทราม เป็นผู้มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ
ส่วนคำว่า มีอินทรีย์แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการชั่ว พึงให้ รู้แจ้งได้โดยง่าย พึงให้รู้แจ้งได้โดยยาก บางพวกมีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย บางพวกมิได้เห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัย ก็โดยนัยเดียวกัน
สำหรับ ชื่อว่าโทษ คือ กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง อภิสังขารทั้งปวง กรรมอันเป็นเหตุให้สัตว์ไปสู่ภพทั้งปวง เป็นโทษ ความสำคัญในโลกนี้และโทษนี้ ว่าเป็นภัยอันแรงกล้า ปรากฏแล้วด้วยประการฉะนี้
สำหรับผู้ที่ปัญญาอบรมเจริญสูงขึ้นไปจากขั้นอุทยัพพยญาณ วิปัสสนาญาณขั้นที่ ๕ คือ ภังคญาณ แต่ก่อนที่จะถึงขั้นนั้น ต้องเข้าใจว่า ปัญญาต้องอบรมจนสามารถรู้ทั่วในนามธรรมและรูปธรรมตามปกติในชีวิตประจำวันทั้ง ๖ ทวาร และไม่ว่าจะเป็นรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ใดๆ ก็สามารถที่จะระลึกรู้ได้ในสภาพที่ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคลของสภาพธรรมนั้นๆ
ผู้ฟัง ธรรมเทศนาโดยสังเขปแสดงกับอุคฆฏิตัญญู ธรรมโดยพิสดาร แสดงกับวิปัญจิตัญญู เนยยบุคคล และปทปรมะ อย่างพวกเรา ธรรมเทศนาที่แสดง โดยพิสดารก็ยังไม่สามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ ก็ยิ่งกว่าปทปรมะ
สุ. ก็ฟังไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น ต้องค้นคว้าจึงจะเป็นปัญญาที่รู้ทั่ว ต้องคิด ต้องพิจารณา จนกว่าจะสามารถระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ ตามปกติได้จริงๆ
ถ. อย่างในธรรมบทที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเทศนา กับท่านจูฬปันถก ผมคิดว่าเป็นธรรมเทศนาโดยสังเขป ที่ให้ภาวนาว่า ผ้าเปื้อนธุลี ผ้าเปื้อนธุลี ท่านเป็นอุคฆฏิตัญญูแน่นอนไม่สงสัย แต่ก่อนที่ท่านจะได้ดวงตาเห็นธรรม ท่านมหาปัณถกก็ติเตียนท่านว่า ท่านท่องอะไรไม่ได้เลย ดูเสมือนว่าท่านไม่ใช่ อุคฆฏิตัญญู ฉะนั้น ถ้ามองว่าท่านไม่ใช่อุคฆฏิตัญญู คงมองผิดแน่ ใช่ไหม
สุ. อุคฆฏิตัญญู คือ สามารถฟังแล้วบรรลุได้ทันที แต่ถ้ายังไม่ทันที ต้องเป็นวิปัญจิตัญญูบุคคล เนยยบุคคล
ถ. ที่อาจารย์บรรยายตอนแรก อุทยัพพยญาณต้องเป็นปัญญาที่ ประจักษ์แจ้งสภาพธรรมที่เป็นปัจจุบันทั้งเกิดขึ้นและดับไป ใช่ไหม ขณะที่สภาพธรรมปรากฏเป็นปัจจุบันกับปัญญานั้น คือ ตอนแรกไม่มี และก็มีขึ้น และดับไป ต้องเห็นทั้ง ๒ อย่าง ใช่ไหม
สุ. ต้องเห็นการเกิดขึ้นและดับไปด้วย
ถ. เมื่อสภาพธรรมยังไม่เคยเกิดขึ้นเลย และเกิดขึ้นกับอุทยัพพยญาณแล้วอุทยัพพยญาณก็ต้องเห็นทั้งเกิดขึ้น และทั้งดับไป
สุ. จึงชื่อว่าอุทยัพพยญาณ
ถ. ในสภาพธรรมอย่างเดียวที่กำลังปรากฏ
สุ. อย่างเดียว เพราะว่าธรรมดาของสัมมสนญาณจะประจักษ์การ เกิดดับๆ อย่างรวดเร็วตามปกติ แต่ในขณะนั้นปัญญาประจักษ์การเกิดดับอย่างรวดเร็ว จึงไม่มีกำลังพอที่จะเห็นโทษของการเกิดขึ้นและดับไปที่ชัดเจนแจ่มแจ้งยิ่งกว่านั้น คือ ใกล้เข้าไปให้ชิดยิ่งกว่าที่จะเพียงเกิดดับๆ เพราะถ้าเป็นลักษณะที่เกิดขึ้นและดับไปๆ สภาพการเกิดขึ้นสืบต่อของธรรมแม้ว่าจะเป็นอาการที่เกิดดับ แต่ก็ยังไม่สามารถทำให้เกิดการละคลายได้มากเท่ากับการที่ปัญญาใกล้ชิดโดยการที่ว่า ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นปัจจุบันเกิดปรากฏและดับไปโดยขาดตอน คือ มีการ ขาดตอนของการเกิดดับแจ่มแจ้งกว่าสัมมสนญาณ
ถ. ขณะที่ปัญญาขั้นสูงๆ เกิด ฟังดูคล้ายๆ กับว่า สภาวธรรมเกิดให้เห็น ช้าลง อย่างสัมมสนญาณเห็นไม่ชัด ไม่ปรากฏชัด คล้ายๆ กับว่า เกิดดับอย่างรวดเร็วเกินไป แต่เวลาอุทยัพพยญาณเกิดขึ้น เห็นชัด แสดงว่าสภาวธรรมหรือรูปธรรมนามธรรมเกิดดับช้าลงหรืออย่างไร
สุ. ไม่ใช่อย่างนั้น สภาพธรรมเกิดดับ ไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลง ความรวดเร็วของสภาพธรรมที่เกิดดับได้ แต่ปัญญาคมขึ้นจึงได้ประจักษ์ชัดลงไปในการเกิดแล้วดับๆ สืบต่อกันที่เป็นสัมมสนญาณ แต่ยังไม่เท่ากับปัญญา ขั้นอุทยัพพยญาณ ซึ่งนามธรรมและรูปธรรมเกิดดับเท่าเดิม เหมือนเดิม รวดเร็วอย่างเดิม แต่ปัญญาคมกล้าที่จะแทงตลอดใกล้ชิดไปยิ่งกว่านั้นอีก
ถ. ญาณนี่เกิดแล้วเกิดอีกได้หรือเปล่า
สุ. ได้
ถ. อย่างญาณแรกเกิดแล้ว ชาติหน้าเกิดได้อีกหรือเปล่า
สุ. แล้วแต่เหตุปัจจัย บางท่านสงสัยว่า วิปัสสนาญาณ เช่น นามรูปปริจเฉทญาณเกิดแล้วจะเกิดอีกไหม แต่วิปัสสนาญาณที่ ๑ คือ นามรูปปริจเฉทญาณ ปัญญาที่ประจักษ์การแยกขาดจากกันของนามธรรมและรูปธรรม ซึ่งถ้าเป็นวิปัสสนาญาณที่ ๒ คือ ปัจจยปริคคหญาณ จะกล่าวว่าไม่มี นามรูปปริจเฉทญาณในขณะที่สภาพนามธรรมและรูปธรรมปรากฏ และปัญญาประจักษ์ถึงปัจจัยที่ทำให้สภาพธรรมนั้นเกิดขึ้นได้ไหม
เพราะฉะนั้น วิปัสสนาญาณ เหมือนกันโดยตลอด คือ เป็นการปรากฏของสภาพธรรมทางมโนทวารทีละอย่างและก็ดับไปเหมือนเดิม แต่ปัญญาไม่เท่ากัน เพราะว่านามรูปปริจเฉทญาณเป็นปัญญาที่เพียงประจักษ์แจ้งในลักษณะของนามธรรม ซึ่งไม่เคยปรากฏทางมโนทวาร และลักษณะของรูปธรรมซึ่งไม่ปรากฏทางมโนทวารด้วย เพราะฉะนั้น เมื่อนามรูปปริจเฉทญาณเกิดขึ้นปรากฏ ประจักษ์แจ้งลักษณะของ สภาพธรรมทางมโนทวาร วิปัสสนาญาณอื่นๆ จะขาดวิปัสสนาญาณต้นๆ ได้ไหม เพราะว่าลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมก็ต้องปรากฏชัดอย่างนั้น แต่เพราะว่าปัญญาเพิ่มขึ้น การใส่ใจ เนื่องจากว่าได้พิจารณามาแล้วโดยตีรณปริญญา ซึ่งถ้า พูดถึงวิปัสสนาญาณก็ต้องพูดถึงปริญญา ๓ ด้วย เพราะต้องสัมพันธ์กัน
สำหรับนามรูปปริจเฉทญาณ เป็นญาตปริญญา คือ ปัญญาที่รู้ลักษณะของสภาพนามธรรมและรูปธรรมตามลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมนั้นๆ ที่ว่า มีลักขณาทิจตุกะของสภาพธรรมแต่ละอย่างเป็นอย่างไร ลักษณะนั้นๆ ก็ปรากฏ แล้วแต่ว่าปัญญาสามารถรู้ในลักษณะของสภาพธรรมนั้นทั่วถึงแค่ไหน แต่ก็เป็นการประจักษ์ลักษณะที่เป็นประเภทต่างๆ ของนามธรรมและรูปธรรม
เพราะฉะนั้น เมื่อถึงวิปัสสนาญาณขั้นต่อไปทางมโนทวาร ลักษณะของ สภาพนามธรรมและรูปธรรมก็ต้องปรากฏชัดเจนอย่างนั้น แต่ปัญญาพิจารณารู้ถึงปัจจัย เช่น เวลาที่พิจารณาลักษณะของสภาพนามธรรมที่ได้ยินก็รู้ว่า เสียงเป็นปัจจัยที่ทำให้ผัสสะกระทบและโสตวิญญาณก็เกิดขึ้นได้ยิน และไม่ใช่ว่าต้องไปนึกเป็นคำๆ อย่างนี้ แต่การเกิดปรากฏของนามธรรมแต่ละอย่างทำให้รู้ความต่างกันของเหตุปัจจัยที่ทำให้นามธรรมนั้นๆ ต่างกัน เป็นนามธรรมที่รู้สิ่งที่ปรากฏทางตาบ้าง เป็นนามธรรมที่รู้เสียงที่ปรากฏทางหูบ้าง เป็นนามธรรมที่คิดนึกบ้าง
ถ. ก่อนจะถึงภังคญาณ ขอเรียนถามเรื่องเดิมก่อน พระโยคาวจรเจริญปัญญาจนได้อุทยัพพยญาณแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้เห็นการเกิดดับในปัจจุบันของรูปนาม เรียนถามว่า ตามปกติในชีวิตประจำวันของปุถุชน เราเห็นสิ่งต่างๆ เป็นการเห็น การเกิดหรือไม่
สุ. เดี๋ยวนี้เห็นไหม
ถ. ดับผมไม่เห็น
สุ. เกิดเห็นหรือเปล่า
ถ. จึงได้เรียนถามว่า อย่างเราที่เห็นอะไรต่างๆ เห็นการเกิดหรือเปล่า
สุ. ธรรมทุกท่านพิสูจน์ได้ด้วยตัวเอง เพราะฉะนั้น ทุกท่านตอบได้ตามความเป็นจริงว่า ในขณะนี้ที่กำลังเห็นก็ตาม หรือกำลังได้ยินก็ตาม กำลังคิดนึกก็ตามประจักษ์การเกิดขึ้นของปรมัตถธรรมหรือเปล่า เพราะว่าปัญญาที่เป็นวิปัสสนาญาณต้องประจักษ์การเกิดขึ้นและดับไปของปรมัตถธรรม ไม่ใช่ของเรื่องราว
อย่างเวลานี้มีการได้ยิน และนึกว่าได้ยินเมื่อกี้ดับแล้ว หรือกำลังเห็นก็คิดว่า ในขณะที่กำลังได้ยิน เห็นต้องดับ ซึ่งนี่ไม่ใช่การประจักษ์ลักษณะของปรมัตถธรรม วิปัสสนาญาณเป็นการรู้ลักษณะปรมัตถธรรม แยกบัญญัติธรรมออกจากปรมัตถธรรม จึงจะรู้ความต่างกันของสัมมติสัจจะ กับปรมัตถสัจจะ
เพราะฉะนั้น ในขณะนี้ถ้ายังไม่รู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมตามความเป็นจริงว่า ธาตุรู้ชนิดหนึ่งเกิดขึ้นเห็นสิ่งที่ปรากฏ และธาตุรู้อีกชนิดหนึ่งเกิดขึ้น ได้ยินเสียงที่ปรากฏ ถ้าไม่น้อมพิจารณาจนกระทั่งประจักษ์แจ้งจริงๆ ในลักษณะที่เป็นอาการรู้ จะไม่สามารถบรรลุถึงญาณขั้นไหนเลย
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๗๑ ตอนที่ ๑๗๐๑ – ๑๗๑๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1686
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1687
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1688
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1689
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1690
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1691
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1692
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1693
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1694
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1695
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1696
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1697
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1698
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1699
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1700
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1701
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1702
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1703
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1704
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1705
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1706
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1707
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1708
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1709
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1710
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1711
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1712
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1713
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1714
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1715
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1716
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1717
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1718
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1719
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1720
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1721
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1722
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1723
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1724
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1725
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1726
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1727
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1728
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1729
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1730
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1731
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1732
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1733
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1734
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1735
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1736
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1737
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1738
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1739
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1740
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1741
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1742
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1743
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1744
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1745
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1746
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1747
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1748
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1749
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1750
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1751