แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1707
ครั้งที่ ๑๗๐๗
สาระสำคัญ
ปรมัตถธรรมไม่ใช่บัญญัติธรรม
ศึกษาขั้นฟังให้เข้าใจ (ศึกษาลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรม)
ปัจจยปริคคหญาณ (ปัญญาที่ประจักษ์สภาพที่เป็นปัจจัยของธรรมที่ปรากฏ)
สัมมสนญาณ (ปัญญาประจักษ์การเกิดดับสืบต่ออย่างรวดเร็วของนามธรรมและรูปธรรม)
ที่ห้องประชุมตึกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
วันอาทิตย์ที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๓๐
ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า สติปัฏฐาน คือ การที่ปัญญาพิจารณาลักษณะของปรมัตถธรรมจนกระทั่งรู้ว่า ปรมัตถธรรมไม่ใช่บัญญัติธรรมที่เคยคิดเคยเข้าใจ และเมื่อลักษณะของปรมัตถธรรมปรากฏแล้ว ก็เป็นนามรูปปริจเฉทญาณ ซึ่งจะต้องอบรมเจริญปัญญาต่อไป
ถ้าเป็นผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐานจริงๆ ปัญญาที่ค่อยๆ เกิด จะค่อยๆ ละคลายความสงสัยในลักษณะของสภาพธรรม แม้แต่คำว่า สภาพรู้ ซึ่งเป็นนามธรรม ไม่ใช่ว่าใครก็สามารถรู้ได้โดยการประจักษ์เพียงขั้นที่สติเริ่มระลึก เพราะถ้าพูดถึง สภาพรู้ ทุกคนก็คงจะคิดว่า ใช่ มีสภาพรู้ มีลักษณะรู้ มีอาการรู้ แต่ข้อที่จะพิสูจน์ว่า เป็นการประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมแล้วหรือยัง คือ ในขณะนี้เองที่กำลังเห็น สามารถรู้ได้ไหมว่า ไม่ใช่ตัวตน เป็นแต่เพียงอาการรู้ หรือลักษณะรู้ ซึ่งกำลังเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา และไม่ใช่ในขณะที่กำลังคิดนึกเรื่องรูปร่างสัณฐานของสิ่งที่ปรากฏด้วย
นี่คือการที่จะละคลายการสงสัย การไม่รู้ลักษณะของนามธรรม ซึ่งในชีวิต ก็มีแต่นามธรรมและรูปธรรม เพราะฉะนั้น ถ้าจะพิจารณานามธรรมก็เว้นไม่ได้ ในขณะที่คิดถ้าไม่พิจารณาก็ไม่รู้ว่าสภาพที่คิดนั้นก็คือนามธรรมชนิดหนึ่ง ต่างกับสภาพที่กำลังเห็นซึ่งเป็นสภาพนามธรรมชนิดหนึ่ง ต่างกับสภาพที่ได้ยินซึ่งเป็นนามธรรมชนิดหนึ่ง
เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นผู้ที่เข้าใจความหมายของการศึกษาจะรู้ว่า มีการศึกษาขั้นฟังให้เข้าใจ ซึ่งถ้าขั้นนี้ไม่มี สติปัฏฐานไม่สามารถเกิดขึ้นระลึกศึกษาลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรม และถ้าสติไม่เกิด ไม่ระลึก ไม่ศึกษาลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรม ปัญญา ที่จะประจักษ์แจ้งโดยสภาพธรรมนั้นปรากฏโดยความเป็นอนัตตาก็ปรากฏไม่ได้
ถ. สิ่งที่เราเห็นนั้น เราเห็นการเกิดดับหรือไม่ พระโยคาวจรผู้ปฏิบัตินั้นย่อมเห็น เราไม่ได้ปฏิบัติแต่ผมคิดว่า ผมก็เห็น การดับนั้นผมไม่เห็น แต่การเกิด ผมคิดว่า ต้องเห็น
สุ. ทำไมไปถึงการเกิดก่อนที่จะรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม อย่างนามรูปปริจเฉทญาณ ...
ถ. สมมติผมมอง ผมเห็นความแตกต่างระหว่างช่องว่างกับสิ่งที่ไม่ใช่ช่องว่าง สิ่งที่ไม่ใช่ช่องว่างผมรู้ว่านั่นเป็นปรมัตถธรรม และกำลังเกิดอยู่ ผม ไม่ได้พิจารณาเป็นสติปัฏฐานอะไร ผมคิดว่า ดับแล้วไม่เห็น แต่เราเห็นการเกิดได้
สุ. นั่นเป็นตัวเราที่คิด
ถ. ที่เราเห็นนี้ เราเห็นการเกิดขึ้นของปรมัตถธรรมไม่ใช่หรือ
สุ. ไม่ใช่การรู้ว่า ขณะเห็นเป็นสภาพรู้ เป็นนามธรรม เป็นปรมัตถ์ แต่ เป็นการคิดเรื่องการเห็น เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจลักษณะของสติปัฏฐาน ถ้าไม่ใช่ สติปัฏฐาน ก็เป็นการนึก
ถ. อย่างขณะนี้ ผมเห็นอะไร ผมนึกว่าผมเห็นหรือ
สุ. มีทั้ง ๒ อย่าง คือ ถ้าไม่เห็นก็ไม่นึกถึงสิ่งที่เห็น ใช่ไหม
ถ. ผมกำลังพูดถึงตัวอารมณ์ เห็นแล้วนึกว่าเป็นตัวตนหรือไม่เป็นตัวตนนั้นอย่าเพิ่งพูด ผมคิดว่าสิ่งที่ผมเห็นนั้นต้องเป็นปรมัตถ์แน่นอนที่กำลังเกิดอยู่ แต่ดับนี่ ผมไม่เห็น ถ้าไม่เกิด ผมจะเห็นอะไร
สุ. กำลังเกิด ก็ไม่ใช่หมายความว่าจะประจักษ์ในขณะที่กำลังเกิด แต่เมื่อเกิดแล้วปรากฏก็นึกถึงลักษณะที่กำลังปรากฏว่า ลักษณะนั้นต้องเกิดแล้ว
ถ. ที่ผมเห็นอะไรต่างๆ นั้น กลายเป็นว่า เห็นแต่สิ่งที่ดับไปแล้วหรือ
สุ. มิได้ หมายความว่าขณะนี้มีสิ่งที่เกิดแล้วปรากฏ และก็นึกถึงลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ ซึ่งสิ่งนั้นก็กำลังเกิดดับ แต่ขณะนั้นเมื่อไม่ประจักษ์การเกิดและดับ ก็นึกถึงการเกิดดับเท่านั้นเอง
ถ. ดับผมไม่ได้นึก แต่ผมเห็นว่า ต้องเกิดขึ้นให้เราเห็นจริงๆ
สุ. อย่างนั้นก็หมายความว่า แม้ไม่เจริญสติปัฏฐานก็สามารถรู้การเกิดขึ้นของปรมัตถธรรมได้หรือ
ถ. ตามหลักการตอบว่า ไม่ได้ ตามความเป็นจริงก็ไม่ได้ แต่ที่ถามนี่หมายถึงว่า ถ้าเราเห็นแล้วบอกว่าเป็นการนึกของเราที่เห็น อย่างผมเห็นสิ่งต่างๆ เฉพาะหน้า เช่น ผมเห็นรูปที่บัญญัติว่าเป็นกระดานดำ กระดานดำนี่คิด และผม หันไปและนึกถึงกระดานดำ การที่ผมหันไปและนึกถึงกระดานดำ หรือเห็นสิ่งที่เป็นกระดานดำจริงๆ หรือเห็นสิ่งที่เป็นรูปารมณ์อยู่ จะเหมือนกันหรืออย่างไรที่ว่าเป็นนึก
สุ. สภาพธรรมต่างกัน แต่การยึดถือว่าเป็นเราเห็นและเราคิดยังมีอยู่ ทำอย่างไรถึงจะลอกการที่เคยยึดถือเห็นที่ว่าเป็นเราเห็นกระดานดำออกได้
ถ. ถ้าเห็นแล้วไปนึกเอา นั่นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ขณะที่เห็นสิ่งต่างๆ เราไม่ได้นึกอะไร ผมก็มานึกว่า ดับแล้วไม่เห็น เราก็ต้องเห็นการเกิด ถ้าไม่เห็นการเกิดแล้ว จะเห็นอะไร
สุ. ขณะนี้กำลังคิด ใช่ไหม ที่พูดเมื่อกี้ตามที่คิด ใช่ไหม ยังไม่ได้ประจักษ์การเกิด เพียงแต่ว่าสิ่งนี้ปรากฏ จึงทำให้เกิดความคิดอย่างนี้ขึ้น
ถ. ผมพูดว่า กำลังเห็นอยู่ ก็พูดไม่ได้ เพราะกำลังพูดอยู่ ฉะนั้น พูดทีไร ก็พูดถึงตอนที่ผมเห็นไปแล้ว
สุ. ถ้ายังไม่รู้ว่า เป็นนามธรรมและรูปธรรม เป็นปรมัตถธรรม ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ที่จะประจักษ์การเกิดขึ้น จะต้องเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เช่น ได้ยิน ก็เป็นเราได้ยิน ทั้งๆ ที่เมื่อกี้ไม่ได้ยิน แต่เวลาเกิดได้ยินขึ้น ก็เป็นเราที่กำลังได้ยินอยู่ และคิดว่าที่กำลังได้ยินนี้ต้องเกิดด้วย แต่ก็ยังคงเป็นตัวตนอยู่นั่นเอง เพราะฉะนั้น ทำอย่างไรจึงจะละการที่ยึดถือสภาพที่ได้ยินว่า เป็นเราได้ยิน
ถ. หมายความว่า ที่เห็นนั้นไม่ได้เห็นการเกิดของมันจริงๆ อย่างในวิปัสสนาญาณ ถ้าอย่างนั้นสิ่งที่เราเห็นนั้นเป็นอะไร
สุ. เป็นสิ่งที่กำลังปรากฏ เป็นปรมัตถธรรม แต่ไม่รู้ว่าปรมัตถธรรมคือสภาพที่กำลังรู้นั้นไม่ใช่เรา และสิ่งที่ปรากฏก็ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล
ถ. ไม่ใช่เราแน่ ขอถามอีกนิดว่า ถ้าขณะเห็นนี่ไม่ใช่เป็นขณะเกิดของรูป ที่เป็นอารมณ์ของเรา จะเป็นอะไร
สุ. ถ้าเป็นขณะเกิด ก็ต้องเป็นวิปัสสนาญาณ
ถ. และเราก็เห็นสิ่งที่ไม่ใช่ขณะเกิด
สุ. ท่านผู้ฟังสามารถบอกได้ไหมว่า ขณะที่ท่านผู้ฟังเข้าใจว่ากำลังเห็นเกิด แท้จริงอันนั้นเกิดแล้วก็ดับ และก็เกิดแล้วก็ดับ และก็เกิดแล้วก็ดับ เพราะว่าเป็นไปอย่างเร็วมาก ในเมื่อสิ่งใดก็ตามเกิดแล้วดับแล้วอย่างเร็วมาก เพราะฉะนั้น เราจึงไม่เห็นทั้งการเกิดขึ้นและการดับไป เพียงเห็นลักษณะที่ปรากฏเมื่อเกิดแล้วและยังไม่ดับ
ถ. เมื่อเกิดแล้ว ผมจะเห็นได้อย่างไร
สุ. ก็เร็วมากอย่างนี้ เวลานี้สิ่งที่ปรากฏทางตาเกิดแล้วก็ดับเร็วมาก อ่อนหรือแข็งที่กระทบสัมผัสกายก็เกิดดับอยู่เร็วมาก แต่ทำไมไม่ปรากฏอาการเกิด และดับ คำถามมีว่า และสิ่งที่กำลังปรากฏคืออะไร
ก็หมายความว่า สิ่งใดที่ยังไม่เกิด สิ่งนั้นปรากฏไม่ได้ สิ่งใดที่ดับไปแล้ว สิ่งนั้นก็ปรากฏไม่ได้ เพราะฉะนั้น สภาพธรรมขณะใดที่กำลังปรากฏ ก็คือ สภาพธรรมนั้นเกิดแล้วยังไม่ดับ แต่การเกิดดับเป็นไปอย่างเร็วมาก เพราะฉะนั้น ในช่วงขณะที่เกิดแล้วยังไม่ดับปรากฏให้เห็น และก็ดับไป และก็เกิดอีก และก็ปรากฏให้เห็น และก็ดับไป และก็เกิดอีก และก็ปรากฏให้เห็น และก็ดับไป แต่ความรวดเร็วทำให้เห็นเสมือนว่าไม่ได้ดับเลย
เพราะฉะนั้น การจะไปคิดเอาว่า ขณะนี้ต้องเกิดแล้วก็ดับ นั่นเป็นเพียงความคิด ไม่ใช่การประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นวิปัสสนาญาณ
ถ. ผมเพียงแต่คิดว่า ดับไม่เห็น เห็นแต่เกิดตลอดเวลา
สุ. เกิดก็ไม่เห็น เห็นช่วงขณะเกิดแล้ว
ถ. แล้วที่เห็นนี่ เห็นอะไร
สุ. สิ่งใดที่ไม่ปรากฏ สิ่งนั้นไม่เกิด ใช่ไหม เพราะฉะนั้น สิ่งใดที่ปรากฏ สิ่งนั้นเกิดแล้วจึงปรากฏ และสิ่งนั้นต้องยังไม่ดับไปด้วยจึงปรากฏ เพราะฉะนั้น สิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้เกิดแล้วและยังไม่ดับจึงปรากฏ แต่การเกิดดับของ สภาพธรรมเร็วมาก ทำให้การเกิดสืบต่อปิดบังไม่ให้เห็นการดับของสิ่งที่ดับไปแล้ว เพราะฉะนั้น ในขณะนี้สิ่งที่ปรากฏต้องเป็นสิ่งที่เกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ แต่จะไม่ประจักษ์ทั้งการเกิดและการดับ ถ้าไม่ใช่วิปัสสนาญาณ
ถ. ผมบอกแล้วว่า ดับผมไม่เห็น จะชื่อว่าเห็นแต่เกิดได้ไหม
สุ. เกิด ก็ไม่เห็นเหมือนกัน
ถ. สิ่งที่ยังไม่เกิด ก็ยังไม่เกิดขึ้น
สุ. กำลังเกิดนี่เห็นไหม สีขณะนี้กำลังเกิดเห็นไหม เพราะว่าขณะนี้สิ่งที่ปรากฏทางตาต้องกำลังเกิดดับๆ เพราะฉะนั้น ขณะนี้ปรากฏการเกิดของสีไหม ถ้าปรากฏก็หมายความว่า เมื่อสิ่งนั้นดับแล้ว เกิดจึงประจักษ์ได้ แต่นี่ไม่ได้ดับ ยังคงเสมือนว่าปรากฏอยู่ อาการที่ดับไปไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้น จะปรากฏการเกิดขึ้นได้อย่างไร ในเมื่อไม่ได้ปรากฏว่าดับไป ถ้าปรากฏว่าดับไปแล้ว และเกิดขึ้นให้เห็น อย่างนั้นจึงจะชื่อว่าประจักษ์การเกิด แต่นี่ไม่มี หมายความว่าปรากฏอยู่เสมือน ไม่เกิดดับ
ถ. เกิดก็ไม่เห็น ดับก็ยังไม่เห็น
สุ. ถูกต้อง
ถ. ผมคิดว่า สิ่งที่ยังไม่เกิดก็ไม่เห็น สิ่งที่เกิดดับไปแล้วก็ไม่เห็น ปรากฏว่าเราไม่ได้เห็นอะไรเลย
สุ. มิได้ สิ่งที่กำลังปรากฏเกิดแล้ว ยังไม่ดับด้วย จึงได้ปรากฏ แต่เกิด และดับเร็วมาก เพราะฉะนั้น สิ่งที่เกิดต่อ ไม่ประจักษ์ขณะเกิดแต่เมื่อปรากฏ คือ เกิดแล้ว และดับไปอีก
ถ. ผมเข้าใจแล้ว หมายความว่าสิ่งที่เราเห็นนั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องของการเห็นการเกิดดับซึ่งเป็นอาการ ใช่ไหม
สุ. ถูกต้อง
ถ. ถ้ามีรูปเป็นอารมณ์ เราเห็นอะไรเกิดก่อนแล้วดับ
สุ. ต้องเข้าใจลำดับขั้นของวิปัสสนาญาณด้วย นามรูปปริจเฉทญาณ คงไม่มีข้อสงสัย เพราะว่าได้กล่าวถึงหลายครั้งแล้ว ปัจจยปริคคหญาณ คือ ปัญญา ที่ประจักษ์สภาพที่เป็นปัจจัยของธรรมที่ปรากฏในขณะนั้น หมายความว่าขณะนี้มี การได้ยิน ถ้าเป็นวิปัสสนาญาณที่ปรากฏทางมโนทวาร ขณะนั้นปัญญาจะแทงตลอดลักษณะที่ปรากฏว่าเกิดเพราะปัจจัย นี่เป็นเหตุทำให้มีการละคลายการยึดถือ สภาพธรรมไปเรื่อยๆ มิฉะนั้นแล้วจะคิดว่าเราสามารถทำได้ สามารถคิดอย่างนั้น สามารถทำอย่างนี้ แต่ถ้าประจักษ์ปัจจยปริคคหญาณแล้วจะทำให้รู้ว่า ไม่มีสัก ขณะจิตเดียวที่ใครจะสามารถทำอะไรได้ เพราะว่าสติสัมปชัญญะในขณะนั้นสามารถพิจารณาถึงลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมที่เกิดว่า เกิดเพราะปัจจัยต่างๆ กัน ทำให้คลายการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน นั่นคือปัจจยปริคคหญาณ ซึ่งบางแห่งใช้คำว่า ธัมมัฏฐิติญาณ หมายความถึงปัญญาที่ประจักษ์ปัจจัยที่ทำให้ สภาพธรรมนั้นเกิด
สำหรับญาณต่อไป คือ สัมมสนญาณ หมายถึงปัญญาที่สามารถประจักษ์ การเกิดดับสืบต่ออย่างรวดเร็วของนามธรรมและรูปธรรม อย่างในขณะนี้ไม่มีปัญหาสำหรับวิปัสสนาญาณที่จะรู้ว่า แม้แข็งที่กำลังปรากฏเสมือนไม่ดับ ก็ปรากฏลักษณะ ที่เป็นธาตุชนิดหนึ่งซึ่งไม่มีตัวตน ไม่มีเรา ไม่มีโลก ไม่มีวัตถุอย่างอื่นเลย มีแต่ลักษณะนั้นที่กำลังปรากฏทางมโนทวารซึ่งกำลังเกิดขึ้นและดับไป เกิดขึ้นและดับไป นั่นคือสัมมสนญาณ แต่เป็นตรุณวิปัสสนา ทั้งนามรูปปริจเฉทญาณ ปัจจยปริคคหญาณ และสัมมสนญาณ ซึ่งหมายความว่าการที่จะให้ปัญญามั่นคง ขึ้นอีก ต้องอาศัยการอบรมเจริญอีกมากที่จะเป็นพลววิปัสสนา เพราะว่าต้องเป็น ขันติญาณ คือ เป็นปัญญาที่อดทนที่จะพิจารณาลักษณะของสภาพธรรม ทุกสถานการณ์ ทุกขณะ ทุกโอกาส ไม่ใช่ว่าจะเลือกเฉพาะบางสถานที่
เพราะฉะนั้น แล้วแต่ว่าสติปัฏฐานจะเกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรมของ อารมณ์ใด ในขณะนั้นขันติญาณไม่เปลี่ยน หรือไม่หวาดหวั่นที่จะพิจารณารู้ว่า ขณะนั้นก็เป็นเพียงนามธรรมชนิดหนึ่ง เป็นรูปธรรมชนิดหนึ่ง ไม่มีการเจาะจง ไม่มีการเลือกอารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้น จึงทำให้ละคลายการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล โดยที่ว่าเมื่อปัญญาพิจารณาละเอียดขึ้น ย่อมพิจารณาถึง การเกิดขึ้นและดับไปของสภาพธรรมนั้นละเอียดขึ้นด้วย
อย่างในขณะนี้ ถ้าเป็นสติสัมปชัญญะที่มีกำลังขึ้น จะสามารถพิจารณา เห็นชั่วขณะ และพิจารณาได้ยินชั่วขณะ และพิจารณาคิดนึกชั่วขณะ ไม่ว่าจะเป็นเวทนาอาจจะเป็นโสมนัสเวทนาเกิดขึ้นเบาบางเพียงนิดหน่อย สติสัมปชัญญะก็สามารถที่จะระลึกรู้ชั่วขณะ และเวลาที่กระทบสัมผัสอ่อนหรือแข็ง ความทุกข์กายหรือสบายกายเกิดขึ้น สติปัฏฐานก็ระลึกรู้ลักษณะของเวทนานั้นชั่วขณะ หมายความว่า ขันติญาณเป็นญาณที่อดทนต่อการที่จะพิจารณาสภาพธรรมไม่ว่าจะทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ จนทั่ว
เมื่อทั่วแล้ว ย่อมน้อมไปถึงลักษณะที่เกิดขึ้นและดับไปของสภาพธรรม แต่ละอย่าง ซึ่งเป็นตีรณปริญญา จนกว่าปัญญาถึงความสมบูรณ์ที่จะเป็น อุทยัพพยญาณเมื่อไร เลือกไม่ได้เลย ไม่ใช่ว่ามีการตระเตรียมพร้อมที่สถานที่นั้น กำลังเป็นนามนั้นรูปนี้ แต่อาจจะเกิดขึ้นขณะไหนอย่างไรก็ได้ ด้วยสติสัมปชัญญะที่พร้อมสมบูรณ์ ก็จะประจักษ์การเกิดขึ้นและดับไปของนามธรรมและรูปธรรมทีละอย่างทางมโนทวาร
เพราะฉะนั้น จึงมีความชัดเจน คมกล้ามากกว่าสัมมสนญาณ เพราะว่า สัมมสนญาณเป็นการประจักษ์การเกิดดับสืบต่ออย่างเร็วๆ ถ้าเราจะพลิกหนังสืออะไรดูสักอย่างหนึ่งอย่างเร็วๆ เราก็เห็นเหมือนกัน ไม่ใช่ไม่เห็น แต่ไม่เห็นความละเอียด เพราะฉะนั้น ถ้าสติสัมปชัญญะมั่นคง และพิจารณาทั่วขึ้น ละเอียดขึ้น ซึ่งจะเป็น พลววิปัสสนา ก็ทำให้สติสัมปชัญญะคมขึ้นที่จะประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดและก็ดับ เกิดและก็ดับ ใกล้ชิดกว่าสัมมสนญาณ แต่ต้องอาศัยการพิจารณา ในชีวิตประจำวัน และน้อมระลึกถึงความไม่เที่ยง เกิดขึ้นและดับไปของสภาพธรรมที่ปรากฏ จึงจะสามารถถึงอุทยัพพยญาณได้
ถ. ถ้าเห็นนามเกิดดับ จิตเห็นตัวเองเกิดดับได้หรือเปล่า
สุ. ไม่ใช่ตัวเอง จิตที่เป็นอารมณ์ ไม่ใช่เรื่องที่จิตไปรู้ตัวจิตดับ แต่เป็นปัญญา คือ มหากุศลญาณสัมปยุตต์ ที่กำลังพิจารณานามใด ก็ประจักษ์การเกิด และดับไปของนามนั้น พิจารณารูปใดก็ประจักษ์การเกิดขึ้นและดับไปของรูปนั้น
ถ. เห็นด้วยปัญญา พิจารณานามใด หมายถึงนามใดล่ะ มีนามอื่นที่ ...
สุ. ขณะนี้กำลังเห็น เป็นนามธรรม ใช่ไหม โดยปริยัติทราบว่า เป็นจักขุวิญญาณ จักขุวิญญาณไม่มีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วย จักขุวิญญาณเป็น อเหตุวิบากจิต เพราะฉะนั้น สติปัฏฐานไม่ได้เกิดกับจักขุวิญญาณ แต่ในขณะนี้ ที่เสมือนหนึ่งว่าเห็นด้วย ได้ยินด้วย คิดนึกด้วย รู้รูปร่างสัณฐานของสิ่งที่ปรากฏด้วย รู้ความหมายของเสียงด้วย พร้อมกันทันที สติปัฏฐานสามารถแยกบัญญัติธรรมออก ระลึกรู้ลักษณะของปรมัตถธรรมและรู้ว่า สภาพรู้คือธาตุรู้ในขณะที่กำลังเห็น ไม่ใช่ตัวตน เพราะว่าเป็นแต่เพียงสภาพรู้ชนิดหนึ่ง นี่คือมหากุศลญาณสัมปยุตต์ ซึ่งเกิดหลังจากที่จักขุวิญญาณเกิดดับๆ ให้พิสูจน์ ให้ศึกษา ให้พิจารณาในสภาพ ที่กำลังเห็น รู้ว่าเป็นแต่เพียงอาการเห็น หรือเป็นธาตุรู้อย่างหนึ่ง
ถ. สงสัยว่า จักขุวิญญาณดับไปแล้ว ก็ไม่เป็นปัจจุบันให้จิตดวงต่อมาที่มีปัญญาเห็น ...
สุ. คำว่า ปัจจุบัน มีหลายความหมาย ปัจจุบันโดยขณะไม่ใช่แน่ แต่หมายความว่า ไม่ใช่เมื่อวานนี้ ไม่ใช่พรุ่งนี้ แต่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้เอง
ถ. โดยไม่มีอารมณ์อื่นมาคั่น
สุ. นี่คือปัจจุบัน
ผู้ฟัง ที่ผมเรียนถามอาจารย์คราวที่แล้ว คือ ผมสงสัยว่า ขณะที่เป็นอุทยัพพยญาณประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดขึ้นและดับไปนั้น เมื่อ สภาพธรรมใดสภาพธรรมหนึ่งเกิดขึ้น และปัญญาที่เป็นวิปัสสนาญาณขั้น อุทยัพพยญาณเกิดขึ้นนั้น จะพิจารณาเห็นสภาพธรรมที่กำลังเกิดขึ้นทั้งเกิดขึ้นและ ทั้งดับไปหรือไม่ ซึ่งผมได้เรียนถามท่านอาจารย์แล้ว และท่านอาจารย์ก็ได้ตอบแล้วว่า ถ้าเป็นอุทยัพพยญาณ ต้องเห็นชัดทั้งเกิดและทั้งดับ
สุ. จึงเป็นอุทยัพพยญาณตามชื่อ อุทยะ คือ เกิด วยะ คือ ดับ หรือเสื่อม หรือแตกไป
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๗๑ ตอนที่ ๑๗๐๑ – ๑๗๑๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1686
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1687
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1688
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1689
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1690
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1691
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1692
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1693
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1694
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1695
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1696
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1697
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1698
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1699
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1700
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1701
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1702
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1703
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1704
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1705
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1706
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1707
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1708
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1709
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1710
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1711
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1712
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1713
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1714
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1715
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1716
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1717
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1718
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1719
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1720
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1721
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1722
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1723
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1724
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1725
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1726
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1727
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1728
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1729
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1730
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1731
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1732
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1733
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1734
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1735
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1736
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1737
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1738
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1739
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1740
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1741
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1742
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1743
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1744
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1745
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1746
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1747
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1748
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1749
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1750
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1751