แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1711
ครั้งที่ ๑๗๑๑
สาระสำคัญ
สติเกิดต่างกับหลงลืมสติอย่างไร
โลกของความคิดนึก
การประพฤติปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน
ธรรม คำเดียว (คำสอนทั้งหมดของพระพุทธศาสนา)
อนัตตา เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา
ที่ห้องประชุมตึกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
วันอาทิตย์ที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๓๐ ต่อ
ตอบปัญหาธรรมที่โรงเรียนนายทหารชั้นผู้บังคับฝูง ทหารอากาศ ดอนเมือง
วันพุธที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๓๐ สิงหาคม
ถ. สมมติเราคิดว่า ถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลรางวัลที่ ๑ สักทีก็ดี และเกิดมี สติขึ้นมานิดหนึ่ง ต่อจากนั้นจะเป็นการคิดเรื่องธรรมทั้งหลายเชื่อมโยงกันว่า เราจะถูกได้อย่างไร เราคงไม่ได้ทำบุญมาแต่ปางก่อน คือ เราเป็นผู้สังเกต อย่างที่อาจารย์เคยสอนให้สังเกต ให้สำเหนียก ดิฉันก็พยายามสังเกตทุกอิริยาบถ เวลาสติเกิดขึ้น นิดหนึ่งกั้นโลภะ จะเป็นสติปัฏฐานหรือเปล่า
สุ. สติมีหลายขั้น
ถ. แต่ตอนนั้นวิ๊บหนึ่ง ไม่มีทั้งสัตว์ ทั้งบุคคล และต่อมาอีกนิดหนึ่งก็คิดว่าเราจะถูกได้อย่างไร เราไม่เคยได้ทำบุญ คือ มันติดต่อกัน
สุ. ข้อสำคัญที่สุด โดยมากบางคนจะบอกว่า มีสติขึ้นมานิดหนึ่งและ รู้สึกว่า ไม่มีตัวตน ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล
ถ. เป็นแบบนี้ล่ะ ดิฉันอยากจะทราบว่า เป็นสติปัฏฐานหรือเปล่า จะได้ไม่คิดผิดเข้าใจผิดอย่างที่อาจารย์บอก
สุ. ถ้าไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ไม่มีตัวตน ...
ถ. ตอนนั้นไม่มี วิ๊บเดียว เหมือนอย่างที่อาจารย์อธิบายว่า ผ้าไหมเนื้อดี ที่ลูบภูเขา ดิฉันก็คิดๆ ดิฉันเข้าใจว่าเป็นสติปัฏฐาน อยากจะทราบว่าใช่หรือเปล่า กลัวจะเข้าใจผิด
สุ. ถ้าในขณะนั้นไม่มีความรู้สึกว่าเป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล ขณะนั้นมีอะไรที่กำลังปรากฏ
ถ. วิ๊บเดียวของสติ
สุ. สติเป็นสภาพที่ระลึกรู้ ต้องมีสิ่งที่สติระลึกรู้ เพราะฉะนั้น ในขณะที่กล่าวว่า มีความรู้สึกว่าไม่มีเรา ไม่มีตัวตน ไม่มีสัตว์บุคคล ขณะนั้นมีอะไรปรากฏ
ถ. สมมติกำลังคิดนึกว่า ถ้าเราถูกสลากกินแบ่งรัฐบาลรางวัลที่ ๑ และเราก็เกิดสติขึ้นมานิดหนึ่ง คือ อธิบายไม่ถูก
สุ. ถ้าอธิบายไม่ถูก ยังไม่ใช่ปัญญา
ถ. คล้ายๆ มีความรู้มาคั่นอยู่ว่า นี่โลภะกำลังเกิดแก่เรา
สุ. เรารู้ว่า โลภะกำลังเกิดกับเรา
ถ. และเราก็หยุด และก็มาคิดอีก
สุ. เพราะฉะนั้น เป็นเราหยุด และเราก็คิด ก็ยังคงมีเราอยู่ เพราะว่า ในขณะนั้นไม่ใช่สติปัฏฐาน ถ้าเป็นสติปัฏฐาน ต้องมีลักษณะสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ที่สติกำลังระลึกรู้ตรงลักษณะนั้น
ทางตาก็เห็นกันอยู่ทุกวัน ถ้าสติปัฏฐานเกิดไม่ได้หมายความว่า ไม่มีความ เป็นตัวตน ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคลในขณะที่เห็น แต่หมายความว่า สิ่งที่เห็นมี และ สติระลึกตรงลักษณะของสภาพธรรมนั้น และปัญญาเริ่มสังเกตพิจารณาที่จะรู้ว่า ลักษณะที่ปรากฏนั้นเป็นอะไร คือ รู้ความจริงว่าเป็นอะไร
ก่อนที่สติปัฏฐานจะเกิด เป็นคน เห็นคน เป็นโต๊ะ เป็นเก้าอี้ เป็นถ้วย เป็นจาน เป็นอาหาร เป็นหนังสือ เป็นวัตถุสิ่งต่างๆ เป็นวิทยุ เป็นโทรทัศน์ เป็นคนกำลังร้องเพลง เป็นหนังสือพิมพ์ เป็นเรื่องราวต่างๆ นี่คือขณะที่สติปัฏฐาน ไม่เกิด ในขณะที่เห็น เพราะฉะนั้น ในขณะที่เห็น ที่จะเป็นสติปัฏฐาน คือ มีสิ่งที่กำลังปรากฏ และปัญญาเริ่มพิจารณาที่จะรู้ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร
ถ. เราก็พิจารณา ต่อจากนั้น …
สุ. ยังไม่ต่อ ต่อไม่ได้เลย คือ จะต้องรู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ อย่าไปต่อ สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา สติเกิดเป็นอย่างไร ต่างกับหลงลืมสติอย่างไร ขณะที่ หลงลืมสติ เป็นสัตว์ เป็นบุคคลมากหน้าหลายตามากมาย ขณะที่สติปัฏฐานเกิด เริ่มรู้ความจริงว่า ไม่มีใครเลย มีแต่สิ่งที่ปรากฏได้เฉพาะทางตา เคยเป็นคนที่รู้จัก แต่ว่าลักษณะจริงๆ แท้ๆ ของคนไม่มี มีแต่สิ่งที่กำลังปรากฏทางตาให้เห็น
เพราะฉะนั้น สิ่งที่กำลังปรากฏทางตาจะเป็นลักษณะของคนได้ไหม เพราะว่าลักษณะจริงๆ ของสิ่งที่ปรากฏทางตานั้นปรากฏทางตา ลักษณะแท้จริง คือ เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งซึ่งปรากฏทางตา และเรานึกเอาเองว่าสิ่งนั้นเป็นใคร เป็นอะไร จึงไม่ใช่ในขณะที่สิ่งนั้นกำลังปรากฏทางตาจริงๆ
วันหนึ่งๆ เวลาที่สติปัฏฐานเกิด และระลึกศึกษาลักษณะของสภาพธรรม ทั่วทั้ง ๖ ทาง ไม่ว่าจะเป็นทางตา หรือทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ปัญญาสามารถแยกโลกของความคิดนึกออกจากปรมัตถธรรมที่ปรากฏและรู้ได้จริงๆ ว่า ปรมัตถธรรมที่ปรากฏสั้นมาก เพียงเล็กน้อย เพียงนิดเดียว แต่เรื่องราวที่คิดมากมาย เพราะฉะนั้น วันหนึ่งๆ เป็นโลกของความคิดนึกของแต่ละคนที่สลับกับ สิ่งที่ปรากฏทางตา เสียงที่ปรากฏทางหู กลิ่นที่ปรากฏทางจมูก รสที่ปรากฏทางลิ้น และสิ่งที่กระทบสัมผัสกาย
การที่ปัญญาเริ่มรู้ว่า แท้ที่จริงแล้วเป็นโลกของความนึกคิดมากมาย เรื่องราวที่คิดนึกไม่จริง เป็นเพียงชั่วขณะที่จิตเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น เมื่อเป็นเรื่อง ทั้งหมดไม่จริง ก็เป็นสิ่งที่ไม่มีสาระ ในขณะที่สิ่งที่เป็นสาระซึ่งจะรู้ได้ว่าเกิดดับก็ผ่านไปทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย แต่ความคิดนึกปิดบังหมดเพราะไม่ได้รู้ความจริงว่า สิ่งไหนเป็นสิ่งซึ่งปัญญาจะต้องรู้ และสภาพธรรมนั้นเป็นสิ่งที่มีลักษณะที่เกิดดับ ให้ปัญญาประจักษ์แจ้งได้
ถ. มีผู้บอกว่า อิริยาบถ ๔ ไม่มี แต่ผู้นั้นไม่เชื่อ อาจารย์เคยสอนว่า ให้พิจารณาอิริยาบถ ๔ เขามาปรารภกับหนู ทำอย่างไรจึงจะให้เขาเข้าใจข้อนี้
สุ. เราเข้าใจแล้ว ใช่ไหม คนอื่นไม่เข้าใจ ยากที่จะช่วย ถ้าได้อธิบายให้เขาฟังแล้ว เขายังไม่เห็นด้วย ก็หมายความว่า เขาสะสมมา เขามีฉันทะมีอัธยาศัย ที่จะคิดอย่างนั้น เข้าใจอย่างนั้น ไม่ใช่แต่เฉพาะในชาตินี้ชาติเดียว ต้องมีชาติก่อนๆ ที่ทำให้เขาสะสมโน้มเอียงที่จะไม่พิจารณาธรรมโดยละเอียด
ถ. จะเปลี่ยนแปลงให้เขาเข้าใจได้ไหม
สุ. ก็พยายามอธิบายเหตุผลเพื่อให้เขารับฟังว่า สิ่งไหนเป็นเหตุผล สิ่งไหนไม่ใช่เหตุผล เพราะว่าพระธรรมทรงแสดงไว้โดยละเอียด ไม่ว่าจะยกพระธรรมข้อไหนขึ้นมาก็ควรให้เขาเปรียบเทียบพิจารณาดูว่า ความคิดเห็นของเขาค้านกับพระธรรม หรือเปล่า
ถ. แต่เขาอ้างสติปัฏฐานข้ออิริยาบถ ...
สุ. ถ้าอ้างสติปัฏฐานข้ออิริยาบถ แล้วข้อลมหายใจ อานาปาน
ถ. เขาไม่ได้ยึดอานาปาน
สุ. มิได้ สติปัฏฐานไม่ใช่มีแต่อิริยาปถบรรพ มีบรรพอื่นด้วย เช่น ปฏิกูลมนสิการบรรพ การพิจารณาเห็นความเป็นปฏิกูลของขน ผม เล็บ ฟัน หนัง สิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตามซึ่งเนื่องกับกายที่เคยยึดถือว่าเป็นร่างกาย ทั้งหมดรวมอยู่ใน กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน แม้แต่ลมหายใจ เพราะฉะนั้น การที่จะนึกเอาว่ามีท่าทาง เพราะว่าเป็นอิริยาปถบรรพ แล้วผม ขน เล็บ ฟัน หนัง จะว่าอย่างไร ในเมื่อเป็น กายานุปัสสนาสติปัฏฐานเหมือนกัน
นี่เป็นเหตุที่ไม่ศึกษาพระธรรมให้สอดคล้องกันว่า เหตุใดพระผู้มีพระภาคจึงได้ทรงแสดงปรมัตถธรรมหรืออภิธรรมด้วย ถ้าปัญญาไม่ประจักษ์ลักษณะของ ปรมัตถธรรม ความเป็นตัวตนก็ต้องมี ผมก็ต้องเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่เกิดดับแน่ เล็บ ฟัน หนัง ก็ต้องเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดซึ่งเกิดดับไม่ได้ เพราะไม่ได้รู้ลักษณะของปรมัตถธรรม
สำหรับการอบรมเจริญสติปัฏฐานจนกว่าปัญญาจะสมบูรณ์ถึงการประจักษ์แจ้ง รู้ชัดในลักษณะของสภาพนามธรรมและรูปธรรมที่ปรากฏ จะต้องปฏิบัติคู่กันไปกับ การฟังพระธรรม ไม่ใช่ว่าแยกกัน เพราะชีวิตประจำวันเป็นนามธรรม เป็นรูปธรรมอย่างไร การฟังเรื่องของนามธรรมและรูปธรรมที่กำลังมีในขณะนี้ที่กำลังปรากฏ ก็เพื่อให้เข้าใจชัด และถ้ามีปัจจัยเพียงพอสติปัฏฐานก็เกิด ระลึกรู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ แม้แต่ในขณะกำลังฟังนี้เอง เพราะว่าเป็นนามธรรมและรูปธรรมทั้งนั้น
เพราะฉะนั้น อาศัยการฟังพระธรรมมากๆ เป็นพหูสูต จะทำให้ปัญญาที่เข้าใจพระธรรมยิ่งขึ้นนั้นน้อมไปสู่การระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ไม่ว่าจะขณะที่กำลังฟังหรือในขณะอื่น จนกว่าจะถึงกาลที่ปัญญาที่ได้ฟังมามากนั้นจะเป็นสังขารขันธ์ปรุงแต่งให้วิปัสสนาญาณเกิดขึ้น แต่ถ้าไม่ฟังพระธรรมเลย ไม่สามารถมีเครื่องลับปัญญาให้คมกล้า เพราะว่าพระธรรมที่ได้ยินได้ฟัง ที่ให้พิจารณา อย่างละเอียดนั้น เปรียบเสมือนเครื่องลับปัญญาให้คมกล้า ถ้าไม่มีเครื่องลับ ปัญญาจะคมไม่ได้เลย ไม่สามารถเข้าใจความละเอียดของลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏตั้งแต่เกิดจนตาย เพราะอวิชชาปิดบังไม่ให้รู้ความจริงของสภาพธรรมนั้น เมื่อไม่ได้ฟังพระธรรม
และชีวิตของผู้ที่ฟังพระธรรมและอบรมเจริญสติปัฏฐาน ก็ดำเนินไปตามปกติ ไม่มีการผิดปกติใดๆ เลยทั้งสิ้น เพราะว่าทุกชีวิตก็ยังต้องเป็นเรื่องของการดำรงชีพ การประกอบกิจการงาน การติดต่อกับบุคคลที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน ต้องประสบกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และการคิดนึกต่างๆ ซึ่งเป็นไปกับโลภะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อิสสาบ้าง มัจฉริยะบ้าง มานะบ้าง หรือฝ่ายกุศลก็เป็น ความเมตตาบ้าง ความกรุณาบ้าง เป็นต้น
นอกจากนั้น สำหรับผู้ที่อาจจะมีการศึกษาน้อย หรือการฟังน้อย การพิจารณาน้อย เพิ่งจะมีโอกาสได้รับฟัง ก็ยังมีความสงสัยในสภาพธรรม ในพระรัตนตรัย เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นต้องมีพระธรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันด้วย มิฉะนั้นใครเลยที่จะปฏิบัติอบรมเจริญปัญญาได้ ถ้าไม่มีพระธรรมที่จะเกื้อกูลให้ชีวิตดำเนินไปโดยสะดวกในวันหนึ่งๆ
เพื่อให้ท่านผู้ฟังได้มีโอกาสรับฟังข้อสงสัยและความคิดของผู้ที่สนใจในพระธรรม ขอนำเทปตอบปัญหาธรรมที่โรงเรียนผู้บังคับฝูงทหารอากาศดอนเมือง เมื่อวันพุธ ที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๓๐ ออกอากาศให้ท่านผู้ฟังได้รับฟังด้วย ซึ่งในการตอบปัญหาครั้งนี้ ทางโรงเรียนผู้บังคับฝูงทหารอากาศดอนเมืองก็ได้เชิญ คุณอลัน ไดร์เวอร์ เป็นผู้ร่วมตอบปัญหาธรรมด้วย
สำหรับการตอบปัญหาที่โรงเรียนนายเรืออากาศเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๓ สิงหาคมปีนี้ คือ ก่อนคราวนี้ประมาณ ๒ สัปดาห์นั้น ทางโรงเรียนนายเรืออากาศ ก็ได้เชิญคุณอลัน ไดร์เวอร์ ร่วมตอบปัญหาธรรมด้วย แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ห้องเสียงเข้าใจผิดได้อัดเทปเรื่องอื่นลบเสียงของเทปตลับนั้น ทำให้ไม่สามารถนำออกอากาศได้ เพราะเสียงจากเครื่องอัดเทปเครื่องอื่นไม่ชัดเจนพอ
ถ. นายทหารนักเรียนหรือท่านผู้มีเกียรติที่มาร่วมรับฟังในวันนี้ ถ้ามีปัญหาถามก็ขอให้ยกมือ จะมีเจ้าหน้าที่ของเรานำไมโครโฟนไปให้ท่านถาม ถ้าไม่สะดวกจะเขียนมาถามก็ได้
สำหรับคำถามหนึ่ง คือ ในเมื่อพวกเราเป็นทหาร มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสงครามซึ่งดูเหมือนเป็นบาปหนัก ทำอย่างไรเราจึงจะปฏิบัติธรรมในภาวะที่ต้องเกี่ยวข้องกับการสงคราม อย่างพวกนักบินก็ต้องต่อสู้กับผู้ก่อการร้ายที่เป็นศัตรู เราก็ไม่มีโอกาสที่จะปฏิบัติธรรมได้เลย ใช่ไหม
อัลลัน ทำไมต้องรอจนบินไปสงครามกว่าจะเริ่มปฏิบัติธรรม วันนี้กำลังนั่งอยู่ มีโอกาสได้ฟังธรรม พิจารณาธรรม จำธรรมไว้ และนำไปพิจารณาอีก หลังจากนั้นนำไปใช้บ้าง ทุกวันไม่ว่าอยู่ที่ไหน มีโอกาสที่จะปฏิบัติธรรมได้
ถ. จะปฏิบัติอย่างไร คงจะไม่มีเวลาไปหาที่นั่งทำสมาธิเงียบๆ อยู่ห้อง แคบๆ หรือสวดมนต์นานๆ เพราะว่ามีภาระหน้าที่อยู่ทุกวัน จะปฏิบัติธรรมอย่างไรจึงจะชื่อว่า ปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน
อ. ทำหน้าที่ประกอบด้วยเมตตาบ้าง แทนที่จะทำหน้าที่แบบอื่น คือ แบบโมโหแต่ทำไป แบบไม่พอใจที่จะต้องทำบางสิ่งบางอย่างแต่ทำไป รู้สึกว่า บางสิ่งบางอย่างต่ำ เราไม่ควรจะทำแต่เราต้องทำ ก็ทำด้วยความไม่พอใจ มีโอกาส ที่จะปฏิบัติธรรมตอนนี้ ทุกเวลา ทุกวินาที ถ้ารู้เรื่องของจิตใจว่า จิตใจเป็นกุศล หรือจิตใจเป็นอกุศล และที่จะรู้ได้ว่าจิตใจเป็นกุศลหรืออกุศล ก็ต้องศึกษาจิต ถ้ามีโอกาสศึกษาจิตได้ทุกเมื่อ และการศึกษาจิตเป็นการปฏิบัติธรรม เดี๋ยวนี้มีโอกาสที่จะศึกษาจิตใจได้ว่า ตอนนี้จิตใจเป็นอย่างไร ตอนนี้ฟังแล้วรู้สึกว่าชอบหรือไม่ชอบ เข้าใจหรือไม่เข้าใจ ไม่เห็นด้วยหรือว่าไม่รู้เรื่อง ถ้าไม่รู้เรื่องก็เป็นโมหะ เป็นอกุศล ถ้า ไม่เคยรู้ก็เริ่มรู้เดี๋ยวนี้ว่า ตอนที่ไม่รู้เรื่องเป็นอกุศล เป็นสิ่งที่มีอันตราย มีภัย เพราะว่าทุกครั้งที่จิตใจเป็นโมหะ เป็นอวิชชา เป็นความไม่รู้ ก็สะสมๆ จนกระทั่งในที่สุด ยากมากที่จะขจัดความไม่รู้ออกจากจิตใจได้
การศึกษาสภาพธรรมในชีวิตประจำวัน คือ สภาพจิตและสภาพรูปธรรมด้วย และสภาพต่างๆ ที่เรียกว่า เจตสิก ที่ทำให้จิตใจเป็นอย่างนี้ เป็นอย่างนั้น มีประโยชน์ทั้งนั้น และทุกคนมีโอกาสทุกเมื่อที่จะศึกษา ถ้ากำลังบินไปสงคราม ไม่ใช่ว่า บินไปแล้วจะทิ้งจิตใจไว้ที่บ้าน เราไปที่ไหนจิตก็เกิดที่นั่น เราบินไปจิตเกิดขึ้นทุกขณะ ก็มีโอกาสที่จะศึกษาจิตใจได้ทุกขณะด้วยปัญญาที่เป็นกุศลธรรม รู้จักตัวเองดีขึ้น รู้ความจริงดีขึ้น และเมื่อรู้ว่าอะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศลกับตัวเอง ก็สามารถจะเจริญจิตใจที่เป็นกุศลได้ เพราะรู้ประโยชน์ของกุศล และรู้ว่าอกุศลไม่มีประโยชน์ ยิ่งกว่านั้นอันตรายด้วย ความจริงมีธรรมหลายอย่างที่สามารถจะปฏิบัติได้ถ้าฟัง ถ้าศึกษา ถ้าถามปัญหา ถ้าฟัง ถ้าพิจารณา และค่อยๆ เข้าใจ
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๗๒ ตอนที่ ๑๗๑๑ – ๑๗๒๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1686
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1687
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1688
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1689
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1690
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1691
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1692
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1693
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1694
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1695
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1696
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1697
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1698
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1699
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1700
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1701
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1702
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1703
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1704
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1705
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1706
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1707
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1708
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1709
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1710
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1711
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1712
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1713
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1714
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1715
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1716
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1717
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1718
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1719
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1720
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1721
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1722
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1723
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1724
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1725
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1726
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1727
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1728
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1729
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1730
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1731
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1732
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1733
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1734
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1735
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1736
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1737
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1738
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1739
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1740
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1741
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1742
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1743
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1744
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1745
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1746
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1747
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1748
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1749
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1750
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1751