แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1746
ครั้งที่ ๑๗๔๖
สาระสำคัญ
จุดประสงค์ของการศึกษาพระธรรม และจุดประสงค์ของสติปัฏฐาน
นามธรรมเป็นสภาพรู้ คือ อาการรู้
ที่ห้องประชุมตึกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
วันอาทิตย์ที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๓๐
การฟังพระธรรม เพื่อให้เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ และที่ชื่อว่าอภิธรรม ก็เพราะเป็นธรรมส่วนละเอียดที่จะทำให้เห็นจริงว่าสภาพธรรมเหล่านี้ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ซึ่งก่อนฟังพระธรรมก็ยึดถือสภาพธรรมทั้งหมดว่าเป็นเรา เป็นตัวตน ที่กำลังเห็นก็เป็นเราเห็น ที่กำลังได้ยิน ก็เป็นเราได้ยิน ที่กำลังคิดนึกก็เป็นเราคิดนึก ที่กำลังเป็นสุขเป็นทุกข์ก็เป็นเรา นี่เป็นความเห็นผิด จึงศึกษาพระธรรมส่วนละเอียดที่เป็นพระอภิธรรมเพื่อให้เข้าใจ จริงๆ ว่า ไม่มีสักขณะเดียวที่เป็นตัวตน เป็นแต่เพียงสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเพราะ เหตุปัจจัย
นี่คือขั้นฟัง ขั้นศึกษาให้เข้าใจจริงๆ แต่ไม่ใช่ขั้นประจักษ์แจ้ง
สำหรับการประจักษ์แจ้ง เป็นปัญญาที่ไม่ใช่เพียงขั้นการฟัง แต่เป็นปัญญาที่เจริญขึ้นจนสามารถแทงตลอดลักษณะเกิดดับของสภาพธรรมในขณะนี้ได้ ซึ่งจะต้องอาศัยสติปัฏฐานที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยการฟังและเข้าใจจุดประสงค์ของการศึกษา พระธรรมว่า ศึกษาเพื่อประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรม
เมื่อเข้าใจอย่างนี้สติปัฏฐานจึงจะเกิดได้ มิฉะนั้นแล้วสติปัฏฐานก็เกิดไม่ได้ ถ้าไม่เข้าใจจุดประสงค์ของการศึกษาและจุดประสงค์ของสติปัฏฐาน ด้วยเหตุนี้ สติปัฏฐานจึงเป็นขณะที่สติเกิดระลึกได้ตามที่ได้ยินได้ฟัง โดยระลึกตรงลักษณะของสภาพที่กำลังเป็นนามธรรมชนิดหนึ่งชนิดใด หรือรูปธรรมชนิดหนึ่งชนิดใด
จะตรงไหมกับการศึกษา ถ้าเป็นโดยลักษณะนี้
มิฉะนั้นแล้วการศึกษาเรื่องของสภาพธรรมทั้งหมดจะมีประโยชน์อะไร ศึกษาเรื่องจิตจะมีประโยชน์อะไรถ้าไม่รู้ลักษณะของจิต ศึกษาเรื่องรูปจะมีประโยชน์อะไรถ้าจะไม่รู้ลักษณะของรูป การศึกษาทั้งหมดก็จะไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลในการ ที่จะประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรม
ในขณะนี้ที่ทุกท่านกำลังฟังเรื่องของสภาพธรรม ก็เพื่อเป็นปัจจัยให้ สติปัฏฐานเกิดระลึกรู้ลักษณะของของนามธรรมและรูปธรรมที่กำลังปรากฏ จนกว่าปัญญาจะรู้ชัดประจักษ์แจ้งได้ในสภาพธรรมที่กำลังเกิดดับในขณะนี้ นี่คือจุดประสงค์ของการศึกษา
หรือจะมีท่านผู้ใดศึกษาโดยที่ไม่มีจุดประสงค์ คือ ศึกษาไปเฉยๆ เรื่อยๆ เพื่อเป็นความรอบรู้เท่านั้น หรือศึกษาเพื่อที่จะได้พิจารณาลักษณะของสภาพธรรม ตรงตามที่ได้ยินได้ฟัง แม้ในขณะนี้เองถ้าจะพูดเรื่องจิต แต่ละท่านก็เข้าใจความหมาย ลักษณะ อรรถของจิตว่า คือ สภาพที่รู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏ เพื่อจะได้รู้ว่า ขณะนี้ที่กำลังเห็นเป็นจิต นี่คือจุดประสงค์ของการศึกษา จนกว่าจะประจักษ์แจ้งว่า ขณะที่กำลังเห็นก็ไม่เที่ยง เกิดขึ้นและดับไป
ถ. การศึกษาก็เพื่อรู้แล้วละ รู้แล้วพยายามละให้ได้ เมื่อกี้ท่านที่มาถามว่า เวลาไปเจริญสติปัฏฐาน ใช้อารมณ์ปัจจุบัน อนาคต อดีตก็ได้ ใช่ไหม ซึ่งคำตอบก็คล้ายๆ กับว่า ต้องเป็นปัจจุบัน ผมมีความเห็นว่า เวลาเราไปเจริญสติปัฏฐาน ตัวอารมณ์คือนามรูปนั้นไม่เปลี่ยนแปลงแน่ เวลาไปเจริญสติปัฏฐานต้องมีทั้งอดีต และอนาคต คือ มีนามรูปที่เป็นอดีตและอนาคตเป็นอารมณ์ของการเจริญสติปัฏฐาน ก่อน และเรามีหน้าที่พยายามจับอารมณ์ที่เป็นปัจจุบันให้ได้ ต้องจับให้ได้
ถ้าถามถึงตัวอารมณ์ ตัวอารมณ์คือนามรูปแน่นอน เวลาที่เราเจริญสติปัฏฐานเราไม่เห็นอารมณ์ปัจจุบันแน่นอน อยู่ๆ จะเอาอารมณ์ปัจจุบันมาเจริญได้ก็ดี แต่อารมณ์คือนามรูปทั้งอดีตและอนาคตมันมั่วกันอยู่เป็นอารมณ์ของสติปัฏฐาน ซึ่งขณะที่เราเจริญไปนั้น เรามีหน้าที่พยายามให้เป็นปัจจุบันเท่านั้น
ถ้าจะบอกว่าเวลาเราไปเจริญสติปัฏฐานต้องปัจจุบันเท่านั้น ผมว่าไม่ถูก เพราะอยู่ๆ จะเป็นปัจจุบันได้อย่างไร เราก็ต้องเอาทั้งอดีตและอนาคตเป็นอารมณ์ก่อน และเราก็เจริญให้เป็นปัจจุบัน ถอยมาเป็นปัจจุบันให้ได้
นี่เป็นการแสดงความคิดเห็น แต่การแสดงความคิดเห็นอีกอย่างหนึ่งซึ่งน่าจะเป็นคำถามได้ คือ สมมติว่าผมกำลังนึกถึงบัญญัติ ผมอยากทราบว่าบัญญัตินั้น เป็นปัจจุบันอารมณ์ได้หรือไม่
สุ. เวลานี้รู้สึกว่า เรื่องของการเจริญสติปัฏฐานที่กำลังสนทนากันอยู่ ในขณะนี้ไม่ได้เป็นไปตามลำดับ เพราะฉะนั้น เราควรจะพิจารณาเป็นลำดับดีไหม คือ ก่อนอื่นที่กล่าวเมื่อกี้ว่า เวลาจะไปเจริญสติปัฏฐาน ควรพิจารณาว่าถูกหรือผิด ถ้าถูกต้องถูกตั้งแต่ต้น ถ้าผิดก็ต้องผิดตั้งแต่ต้น เพราะฉะนั้น ขอทราบความเห็น ที่กล่าวว่า เวลาจะไปเจริญสติปัฏฐาน ถูกหรือผิด
ถ. คงเป็นเรื่องของคำพูดมากกว่า เวลาจะไปเจริญสติปัฏฐาน ทำไมต้องกำลังจะไป ความจริงก็เจริญได้ทุกขณะ
สุ. เพราะฉะนั้น ที่กล่าวว่า เวลาจะไปเจริญสติปัฏฐาน ไม่ถูก ใช่ไหม
ถ. ประเด็นนั้นผมยอมรับ สมมติว่าเราเจริญสติปัฏฐานในตอนนี้ เช่น ผมกำลังพูด ผมได้ยินเสียงผมพูด เสียงเป็นรูป ตัวรู้ก็เป็นนาม เจตนาที่จะพูดก็เป็นนาม พูดออกไปแล้วก็เป็นรูป จะเป็นอารมณ์ปัจจุบันได้อย่างไร แต่ผมก็รู้ว่า ผมกำลังพิจารณารูปนั่นแหละ คงจะเป็นทั้งอดีตและปัจจุบัน
สุ. เรายังไม่ไปไกลถึงขั้นนั้น ขอความกรุณาพิจารณาไปตามลำดับ คือ ถ้ากล่าวว่า จะไปเจริญสติปัฏฐาน ไม่ถูก เพราะว่าสติเป็นอนัตตา เช่นเดียวกับได้ยิน ได้ยินจะเกิดเมื่อไรไม่มีใครรู้ ฉันใด สติปัฏฐานจะเกิดเมื่อไรก็มีเหตุปัจจัยที่สติปัฏฐานจะเกิดเมื่อนั้น โดยไม่ใช่ต้องไปเจริญสติปัฏฐาน นี่ถูกต้อง ใช่ไหม ที่ว่าสติปัฏฐาน จะเกิดในขณะไหนก็แล้วแต่เหตุปัจจัย
และเมื่อสติปัฏฐานเกิด มีอะไรเป็นอารมณ์ นี่สำคัญที่สุด เพราะว่าปัญญา ต้องรู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง ยังไม่ต้องพูดถึงอดีต ปัจจุบัน อนาคต เพียงแต่ว่าเวลาที่สติปัฏฐานเกิด สติปัฏฐานมีอะไรเป็นอารมณ์ จะได้ทราบว่า ขณะใดเป็นความเห็นถูก ขณะใดเป็นความเห็นผิด
มีท่านผู้ใดจะให้ข้อคิดเห็นบ้างไหมในเรื่องนี้
ถ. ก็คงจะมีนามรูปเป็นอารมณ์
สุ. คงจะ หรือว่ามีนามรูปเป็นอารมณ์
ถ. ถ้าจะตอบให้ชัด ก็ต้องมีนามรูปเป็นอารมณ์เท่านั้น
สุ. มีนามธรรมหรือรูปธรรมเป็นอารมณ์ ทำไมต้องมีนามธรรมและรูปธรรมเป็นอารมณ์ เพราะอะไร
ถ. เพราะเป็นปรมัตถ์ที่มีจริง
สุ. เป็นสิ่งที่มีจริงๆ ที่เคยยึดถือว่าเป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล
ถ. นอกนั้นไม่มี
สุ. เพราะฉะนั้น ถึงแม้จะได้ยินได้ฟังเรื่องนามธรรมมานานหรือรูปธรรม มานาน เป็นเรื่องของนามธรรมและรูปธรรมทั้งนั้น จนกว่าสติปัฏฐานจะเกิดระลึก ตรงลักษณะของนามธรรม แต่ความรู้ก็ยังไม่ได้เจริญพอที่จะรู้ว่านั่นเป็นนามธรรม ถูกไหม
ถ. ถ้าจะรู้ว่านั่นเป็นนามธรรม ต้องเป็นปัจจุบัน
สุ. เพียงแต่สติเกิดครั้งเดียวจะให้รู้ว่าลักษณะนั้นเป็นสภาพรู้ เป็นธาตุรู้ เป็นอาการรู้ ไม่ใช่ตัวตน เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย ต้องอาศัยสติเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพนามธรรมเนืองๆ บ่อยๆ เช่น ขณะนี้ ไม่ต้องเป็นขณะอื่นเลย ในขณะนี้ปัญญารู้ชัดหรือยังว่าขณะที่กำลังเห็นเป็นสภาพรู้ เป็นธาตุรู้ ขณะที่กำลังได้ยิน เป็นสภาพรู้ เป็นธาตุรู้ ทั้งๆ ที่เวลาศึกษาก็ทราบว่าเป็นวิถีจิตทางจักขุทวาร ได้แก่ ปัญจทวาราวัชชนจิต จักขุวิญญาณ สัมปฏิจฉันนจิต สันตีรณจิต โวฏฐัพพนจิต ชวนจิต ตทาลัมพนจิต ล้วนแล้วแต่เป็นจิตที่กำลังมีสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นอารมณ์ ฉันใด ทางหู วิถีจิตต่างๆ ก็มีเสียงเป็นอารมณ์ฉันนั้น
เพราะฉะนั้น เมื่อยังไม่ประจักษ์แจ้ง และการที่จะประจักษ์ได้ ก็โดยการที่สติระลึกตรงลักษณะนั้นและพิจารณาน้อมไปรู้ว่าลักษณะนั้นที่เป็นสภาพรู้ คือ อาการรู้ นี่คือสติปัฏฐานที่ระลึกลักษณะของนามธรรม จนกว่าลักษณะของนามธรรมจะปรากฏ โดยสภาพที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ฉันใด รูปแต่ละรูปที่กำลังปรากฏ ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ก็ฉันนั้น
นี่คือการอบรมเจริญสติปัฏฐาน เพราะฉะนั้น สติปัฏฐานต้องมีนามธรรมหรือรูปธรรมเป็นอารมณ์ จนกว่าจะประจักษ์ชัดในลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม
ถ. อาจารย์กำลังพูดถึงตัวอารมณ์ คือ ขณะที่มีสติระลึกเราก็มีนามรูปเป็นอารมณ์ แต่เรายังหาปัจจุบันไม่ได้ เพราะถ้าพูดถึงอารมณ์ บอกว่านามรูปเป็นทั้งปัจจุบัน อนาคตที่เรานึกถึงมัน แต่ยังไม่เป็นปัจจุบัน
สุ. ไม่ใช่นึก การเจริญสติปัฏฐานไม่ใช่นึก แต่มีลักษณะของปรมัตถธรรมกำลังปรากฏให้พิจารณา เช่น แข็ง ไม่ใช่ไปนึกถึงความแข็ง แต่มีลักษณะที่แข็งกำลังปรากฏให้พิจารณาว่า ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย นอกจากรูปแข็ง และเมื่อปัญญา สมบูรณ์ขึ้น จะประจักษ์การเกิดขึ้นและดับไปของรูป ของนาม ตามความสมบูรณ์ ของปัญญา ซึ่งเป็นวิปัสสนาญาณแต่ละขั้น
ถ. เราต้องพยายามจับเป็นปัจจุบันอารมณ์ เพื่อที่จะเป็นปรมัตถธรรม
สุ. ไม่ใช่เราพยายามจับ ต้องพยายามฟังให้ละเอียด และให้เข้าใจด้วยว่า ไม่ใช่พยายามจับ เมื่อสติเกิด คือ ระลึกรู้ลักษณะของสภาพปรมัตถธรรมที่กำลังปรากฏ และไม่ใช่ทำอย่างอื่น แต่พิจารณาเพื่อที่จะรู้ว่า ลักษณะรู้คืออย่างนี้ที่กำลัง รู้แข็ง ลักษณะที่รู้แข็งเป็นลักษณะของสภาพรู้ชนิดหนึ่ง ลักษณะของสภาพที่กำลังเห็นทางตาก็เป็นลักษณะรู้ สภาพรู้อย่างหนึ่ง ไม่ใช่ไปพยายามจับปัจจุบัน แต่เป็นการพิจารณา
ถ. ผมพูดถึงความเพียร
สุ. ความเพียร คือ เพียรที่จะรู้ลักษณะของรูปธรรม และเพียรที่จะรู้ลักษณะของนามธรรม แต่ไม่ใช่ไปเพียรจับปัจจุบัน
ถ. ผมกำลังได้ยินเสียงอาจารย์พูด ผมก็ทราบว่า เสียงอาจารย์เป็นรูป ตัวรู้ที่รู้เสียงที่เกิดครั้งแรกเป็นนาม ผมอยากทราบว่า ตอนนี้เป็นปัจจุบันแล้ว ใช่ไหม
สุ. ปกติก่อนที่จะเจริญสติปัฏฐาน เข้าใจความหมายของปัจจุบันว่าอย่างไร เข้าใจความหมายของอดีตว่าอย่างไร เข้าใจความหมายของอนาคตว่าอย่างไร ก่อนที่จะเจริญสติปัฏฐาน
ถ. ปัจจุบันหมายความว่า สติระลึกรู้ว่า รูปเกิดขึ้นและดับไป หรืออย่างไร
สุ. ไม่ใช่ ก่อนที่จะเจริญสติปัฏฐาน เข้าใจคำว่าอดีตว่าอย่างไร เข้าใจ คำว่าปัจจุบันว่าอย่างไร เข้าใจอนาคตว่าอย่างไร
ถ. อดีต คือ สิ่งที่มันผ่านไปแล้ว
สุ. ผ่านไปแล้ว ไม่ปรากฏแล้ว ใช่ไหม และอนาคต
ถ. ก็ยังไม่เกิดขึ้น
สุ. เพราะฉะนั้น ปัจจุบันคืออะไร
ถ. ขณะที่ตั้งอยู่
สุ. ปัจจุบัน คือ ขณะที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น ขณะนี้กำลังเห็น เป็นปัจจุบัน หรือเป็นอดีต หรือเป็นอนาคต
ถ. ถ้าไม่ใช่การรู้สติปัฏฐาน ก็ไม่ใช่เป็นปัจจุบัน
สุ. เมื่อกี้บอกแล้วว่า อดีตเป็นสิ่งที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว ไม่ปรากฏแล้ว ดับไปแล้ว และอนาคตคือสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้น ในขณะที่ กำลังได้ยินเสียงก็ดี กำลังเห็นก็ดี กำลังคิดนึกก็ดี กำลังรู้ว่าเย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็งก็ดี กำลังเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ก็ดี ขณะนั้นเป็นอะไร
ถ. พูดโดยทั่วๆ ไป ก็เป็นปัจจุบัน
สุ. ก็เป็นปัจจุบันที่สติจะต้องระลึกเท่านั้นเอง ก่อนที่จะเจริญสติปัฏฐาน เข้าใจว่าอดีตคืออย่างไร อนาคตคืออย่างไร ปัจจุบันคืออย่างไร เวลาที่สติปัฏฐานเกิด ก็คือเมื่อสิ่งใดกำลังปรากฏ ก็ระลึกตรงลักษณะนั้น
ถ. สนใจลักษณะของสภาพรู้ อยากจะศึกษาเข้าถึงอรรถ คือ ขณะใดที่อารมณ์ทุกๆ อารมณ์ปรากฏขึ้น เช่น เสียงก็ดี หรือคิดนึกก็ดี ขณะที่สติเกิดขึ้นระลึกศึกษา ขณะนั้นบางครั้งเป็นความคิดเกิดขึ้นว่า อะไรเป็นรูป อะไรเป็นนาม ขณะนั้นรู้สึกว่าเป็นเรื่องของความคิดซึ่งไม่ใช่สติที่ระลึกตรงสภาวะ แต่บางครั้งสติเกิดขึ้นและน้อมที่จะศึกษาว่า อะไรก็ตามแต่กำลังปรากฏขึ้น ขณะนั้นต้องมีลักษณะของสภาพรู้กำลังรู้อยู่ จะเป็นเสียงก็ดี หรือจะเป็นเรื่องราวคิดนึกถึงอะไรก็ตาม จะเป็นลักษณะของสภาพหนึ่งที่กำลังคิดเรื่องอยู่ ฉะนั้น ลักษณะของสภาพรู้ คือ การรู้เรื่องต่างๆ ใช่ไหม
สุ. ถูกต้อง
ถ. บางครั้งมีความอยากที่จะระลึก เป็นเรื่องคิดถึงนามธรรมก็มี คิดว่าตลอดเวลาจะเป็นสติทุกครั้งก็ไม่ใช่
สุ. ไม่มีใครมีสติปัฏฐานอยู่ตลอดเวลาโดยไม่หลงลืมสติ นอกจาก พระอรหันต์
ถ. แต่ต้องรู้ว่าขณะใดเป็นสติ ขณะใดเป็นคิดนึก
สุ. ขณะที่เป็นสติปัฏฐาน คือ กำลังมีลักษณะของปรมัตถธรรมปรากฏ และสติระลึกที่ลักษณะที่เป็นนามธรรมหรือรูปธรรม แม้ปัญญายังไม่รู้ชัดว่า ลักษณะนั้นเป็นนามธรรม แต่ขณะนั้นเมื่อนามธรรมกำลังรู้สิ่งใดก็รู้ว่า ลักษณะรู้ สภาพรู้นั้นเป็นนามธรรมที่ไม่ใช่ตัวตน เช่น เสียงเมื่อกี้ ถ้าสติปัฏฐานของใครจะเกิด จะรู้ได้จริงๆ ว่า ขณะนั้นเป็นสภาพรู้เสียงยาวๆ หรือเป็นสภาพที่กำลังรู้เสียงที่เกิด
ลักษณะรู้ หรืออาการรู้ กำลังรู้เสียงนั้น ซึ่งขณะนี้ลักษณะรู้เสียงนั้นดับไปแล้ว แต่มีสภาพรู้ทางตา คือ กำลังเห็น
ถ. ถ้ารู้ได้อย่างนั้นก็ไม่ใช่เรา สิ่งนั้นเป็นสภาพอย่างหนึ่งเกิดขึ้นรู้ และ หมดหน้าที่ในสภาพนั้นที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์เช่นเสียงเมื่อกี้ที่ตอนนี้ไม่มีแล้ว
สุ. ความเป็นเรานี่ยึดถือนามธรรมและรูปธรรมมานานแสนนาน เพราะฉะนั้น การที่สติปัฏฐานเกิดเพียงเล็กน้อย และกำลังศึกษาลักษณะของอาการรู้ หรือสภาพรู้ ยังดับการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเราไม่ได้ แต่ขณะนั้นเป็น มหากุศลญาณสัมปยุตต์ที่กำลังศึกษา และกำลังเริ่มเข้าใจลักษณะของสภาพรู้ จนกว่าวันหนึ่งจะละการยึดถือสภาพนั้นว่าเป็นตัวตนได้ แต่ต้องอาศัยสติปัฏฐานที่เกิดระลึกรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมนั่นเอง
ถ. อีกเรื่องหนึ่ง ขณะนี้เห็นเป็นคน ถ้าสติไม่เกิดระลึกศึกษาลักษณะที่ปรากฏทางตา จิตที่คิดนึกถึงรูปร่างสัณฐานก็มีด้วยในขณะนั้น
สุ. แน่นอน เพราะฉะนั้น จะทิ้งรูปที่ปรากฏทางตาที่เคยเห็นว่าเป็นคนออกไปทันทีเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ แต่เพราะอาศัยการฟังแล้วฟังอีกเรื่องของรูปารมณ์ จนกระทั่งเข้าใจเพิ่มขึ้น และสติปัฏฐานระลึกเพิ่มขึ้น การละคลายการยึดถือสิ่งที่ปรากฏทางตาว่าเป็นตัวตนก็จะค่อยๆ ละคลายไป แต่ไม่ใช่ว่าจะหมดไปทีเดียว เช่น ทุกท่านลองหลับตา ไม่ทราบว่าขณะนี้จะมีอะไรปรากฏบ้างหรือเปล่า
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๗๕ ตอนที่ ๑๗๔๑ – ๑๗๕๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1686
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1687
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1688
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1689
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1690
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1691
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1692
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1693
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1694
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1695
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1696
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1697
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1698
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1699
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1700
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1701
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1702
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1703
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1704
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1705
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1706
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1707
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1708
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1709
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1710
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1711
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1712
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1713
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1714
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1715
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1716
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1717
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1718
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1719
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1720
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1721
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1722
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1723
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1724
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1725
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1726
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1727
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1728
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1729
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1730
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1731
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1732
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1733
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1734
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1735
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1736
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1737
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1738
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1739
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1740
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1741
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1742
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1743
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1744
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1745
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1746
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1747
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1748
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1749
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1750
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1751