แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1762
ครั้งที่ ๑๗๖๒
สาระสำคัญ
วิปัสสนาญาณที่ ๑๑ (สังขารุเปกขาญาณ)
เพียรฟังพระธรรม เพียรพิจารณาพระธรรมเข้าใจขึ้น
ที่ห้องประชุมตึกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
วันอาทิตย์ที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑
วิปัสสนาญาณ เป็นชื่อถ้ายังไม่ประจักษ์ลักษณะของแต่ละญาณจริงๆ แต่ การอบรมเจริญปัญญาทีละเล็กทีละน้อยในหนทางที่ถูก ซึ่งเป็นการอบรมเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ วันหนึ่งวิปัสสนาญาณต่างๆ เหล่านี้ก็ต้องเกิดเมื่อเหตุสมควรแก่ผล
สำหรับวิปัสสนาญาณที่ ๑๑ คือ สังขารุเปกขาญาณ เป็นวิปัสสนาญาณสุดท้ายก่อนที่มรรควิถีจิตจะเกิดขึ้นประจักษ์แจ้งลักษณะของพระนิพพานถึงความเป็นพระอริยบุคคล เพราะฉะนั้น เป็นวิปัสสนาญาณขั้นสูงมาก ซึ่งแต่ละภพแต่ละชาติ ในสังสารวัฏฏ์ไม่สามารถรู้ได้ว่า ช่วงชีวิตไหนบ้างที่จะอบรมเจริญปัญญาจนถึงวิปัสสนาญาณที่ ๑๑ คือ สังขารุเปกขาญาณ
และที่จะให้เป็นอุคฆฏิตัญญูบุคคล หรือวิปัญจิตัญญูบุคคลเหมือนในอดีต สมัยที่พระผู้มีพระภาคยังไม่ทรงปรินิพพาน เป็นสิ่งที่ไม่ง่ายเลย ยากแสนยากแม้ ในครั้งนั้น เพราะฉะนั้น ในครั้งนี้ซึ่งไม่ใช่กาลสมบัติ กว่าปัญญาแต่ละขั้นจะอบรมเจริญได้จริงๆ ต้องเป็นผู้ที่อดทนและรู้ว่า ความเพียรนั้นต้องเพียรด้วยปัญญา ไม่ใช่เพียรโดยไม่มีปัญญาก็อยากจะเพียรเพราะอยากจะบรรลุ ต้องเป็นผู้ที่ละเอียดรอบคอบ เพราะว่าแม้เพียงพระธรรมที่ทรงแสดงที่เป็นปริยัติศาสนา ก็ยังเป็นสภาพธรรมที่ละเอียดลึกซึ้ง ฟังดูเผินๆ เป็นเรื่องธรรมดาในชีวิตประจำวัน คือ ไม่พ้นจากตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ซึ่งทุกคนมีตั้งแต่เกิดจนตายทุกภพทุกชาติ แต่การที่จะ ประจักษ์แจ้งลักษณะของธรรม ไม่ใช่เราเห็น ไม่ใช่เราได้ยิน ไม่ใช่เราได้กลิ่น เราลิ้มรส เราคิดนึก เราสุข เราทุกข์ และไม่ใช่เห็นเป็นสัตว์ เป็นบุคคลต่างๆ ก็ต้องเป็นธรรมที่ละเอียดมาก ซึ่งพระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงไว้โดยประการทั้งปวง ที่จะให้พิจารณาเห็นในความเป็นอนัตตาของธรรมทั้งหลาย
แม้ในขั้นปริยัติก็ยังละเอียด ยาก และลึกซึ้ง เพราะฉะนั้น ในขั้นของปฏิบัติ คือขั้นอบรมเจริญปัญญาที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมตรงตามที่ได้ศึกษาจริงๆ จะเพิ่มความละเอียด ความยาก และต้องอาศัยความเพียร ความอดทนอีกสักแค่ไหน เพราะว่าเป็นเรื่องของการรู้แล้วละความยึดถือสภาพธรรมที่เคยยึดถือว่าเป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล จนกว่าการยึดถือสภาพธรรมนั้นจะดับหมดเป็นสมุจเฉท
สำหรับวิปัสสนาญาณที่ ๑๑ คือ สังขารุเปกขาญาณ ฟังดูจะเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดาจริงๆ ที่เป็นธรรมดา คือ เป็นปัญญาที่ได้ประจักษ์แจ้งการเกิดดับของนามธรรมและรูปธรรมแล้วจากวิปัสสนาญาณขั้นก่อน สังขารุเปกขาญาณเป็นปัญญา ที่วางเฉยเป็นกลางในสภาพธรรมที่ปรากฏ ในการเกิดขึ้นและดับไปของสภาพธรรม เพราะว่าเมื่อปัญญาประจักษ์แจ้งไตรลักษณะของสังขารธรรมทั้งหลายเพิ่มยิ่งขึ้นแล้ว ไม่ใช่ว่าผู้ที่อบรมเจริญวิปัสสนาจะปฏิบัติเป็นพักๆ แต่แล้วแต่ว่าสติสัมปชัญญะจะเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมขณะใด ปัญญาที่เคยประจักษ์แจ้งแทงตลอดใน ไตรลักษณะของสังขารธรรมก็ชัดขึ้นและชินขึ้น เมื่อปัญญาประจักษ์ลักษณะของ สังขารธรรมที่เกิดดับเพิ่มยิ่งขึ้นแล้ว ก็ทำให้สังขารธรรมทั้งหลายที่เคยปรากฏโดย สภาพที่เที่ยง เป็นสุข และเป็นอัตตา คือ เป็นตัวตนนั้น อ่อนกำลังลง
ผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐานก็พอจะเทียบเคียงได้ว่า ถ้าปัญญายังไม่สมบูรณ์ ถึงขั้นนั้นจริงๆ แล้ว ความเป็นตัวตน หรือความเป็นสุข หรือความเที่ยงของ สภาพธรรมที่ปรากฏในชีวิตประจำวันนั้นจะอ่อนกำลังลงไปไม่ได้เลย เมื่อสภาพธรรมปรากฏจนกระทั่งความเห็นว่าเที่ยง เป็นสุข และเป็นตัวตนอ่อนกำลังลงจนกระทั่ง เกิดความวางเฉยในสังขารธรรมทั้งหลายด้วยปัญญาที่รู้ความจริง ขณะนั้นก็จะถึง ขั้นของปัญญาที่รู้ชัดว่า ตราบใดที่ยังไม่ถึงกาลที่จะประจักษ์แจ้งลักษณะของ พระนิพพานโดยมีนิพพานเป็นอารมณ์ ตราบนั้นจะต้องพิจารณาลักษณะหนึ่ง ลักษณะใดของอารมณ์ที่ปรากฏต่อไปอีกเรื่อยๆ
คือ ไม่มีหนทางอื่นเลยจะไปเร่งรัด หรือจะไปขวนขวาย ไปกระวนกระวายที่จะรู้แจ้งลักษณะของนิพพาน เพราะว่าลักษณะของนิพพานนั้นต้องละเอียดกว่า ลักษณะของนามธรรม
ขณะนี้มีลักษณะของรูปที่ยังปรากฏให้เห็นได้ทางตา ปรากฏให้ได้ยินได้ แม้ว่ามองไม่เห็นก็ปรากฏให้ได้ยินได้ทางหู จะว่าหยาบ หรือว่าละเอียด ในเมื่อ มองไม่เห็น แต่เป็นสภาพธรรมที่มีจริงที่ปรากฏ แม้กระนั้นนามธรรมซึ่งเป็นธาตุรู้ เป็นสภาพรู้ก็ยังละเอียดกว่ารูป เพราะว่าไม่ใช่รูป ไม่ใช่สี ไม่ใช่กลิ่น ไม่ใช่รส ที่จะสัมผัสได้ด้วยตา ด้วยหู ด้วยจมูก ด้วยลิ้น ด้วยกาย เป็นแต่เพียงธาตุรู้ อาการรู้เท่านั้น
เพราะฉะนั้น ปัญญาที่จะรู้ชัดในลักษณะของนามธรรม จะต้องเห็นความละเอียดของนามธรรมจนกระทั่งประจักษ์การเกิดดับจนชิน และรู้ว่า แม้ภวังคจิตก็ดี หรือโมหมูลจิตก็ดี แม้ไม่ใช่โลภมูลจิตซึ่งมีความต้องการ มีความติดข้องในอารมณ์ หรือโทสมูลจิตซึ่งเป็นความขุ่นเคืองในอารมณ์ แม้ไม่ใช่โลภมูลจิต ไม่ใช่โทสมูลจิต แต่เป็นโมหมูลจิต หรือภวังคจิต ก็ยังเป็นสภาพรู้ เป็นธาตุรู้ เพราะฉะนั้น ก็จะต้องเป็นสิ่งซึ่งไม่เที่ยงและเกิดดับ ยังไม่ใช่สภาพธรรมที่ละเอียดยิ่งกว่านั้น คือ ไม่ใช่สภาพธรรมซึ่งเป็นธาตุที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ และไม่มีใครสามารถประจักษ์แจ้งลักษณะของพระนิพพานโดยความปรารถนา นอกจากสังขารุเปกขาญาณ ซึ่งเป็นญาณสุดท้าย เป็นวิปัสสนาญาณที่บรรลุถึงยอดเพราะเป็นวุฏฐานคามินีปัญญา คือ เป็นปัญญาที่เป็นเหตุพาพ้นภาวะของความเป็นปุถุชนเมื่อมรรควิถีเกิดขึ้น
แสดงให้เห็นว่า การอบรมเจริญปัญญานั้น ต้องเป็นเรื่องที่ละเอียดจริงๆ ถ้าไม่มีปัญญาหรือความรู้เกิดขึ้น เจริญวิปัสสนาหรือสติปัฏฐานไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น หนทางที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ต้องเป็นการเจริญขึ้นของปัญญาทีละเล็กทีละน้อย
มีท่านผู้หนึ่งกล่าวว่า สติเกิดน้อยมาก ดูเหมือนว่าท่านต้องการให้สติเกิดมาก แต่ท่านลืมพิจารณาว่า ความเข้าใจธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ เพิ่มขึ้นหรือเปล่า
เรื่องของปัญญาเป็นเรื่องของความรู้ ความเข้าใจ ขณะที่มีความรู้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะในขั้นของการฟังแล้วฟังอีกในเรื่องของนามธรรมและรูปธรรมที่จะเข้าใจในลักษณะของนามธรรมที่กำลังเห็นแยกจากลักษณะของรูปที่ปรากฏทางตา และนามธรรมทางหู รูปธรรมทางหู เป็นเรื่องที่จะต้องฟังบ่อยๆ และพิจารณาจนกระทั่งปัญญาเริ่มเข้าใจในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เข้าใจขึ้นๆ จนกระทั่ง สติปัฏฐานเกิด แต่ไม่ใช่เป็นเรื่องหวังหรือเรื่องผิดหวังว่า ทำไมสติปัฏฐานเกิดน้อย แทนที่จะคิดว่า มีความเข้าใจในสิ่งที่กำลังปรากฏเพิ่มขึ้นอีกหรือเปล่า
ถ้าเป็นผู้ที่สนใจในเรื่องของการอบรมเจริญปัญญา ไม่ต้องห่วงเรื่องสติ เพราะถ้าไม่เข้าใจแล้วสติเกิดจะมีประโยชน์อะไร คนที่คิดว่าจะเจริญปัญญาหรือว่าต้องการให้ปัญญาเกิดขึ้น โดยไม่เข้าใจอะไรเลย ไม่เป็นพหูสูต ไม่เป็นผู้ฟัง ไม่เป็น ผู้พิจารณาธรรมที่ได้ฟัง ย่อมไม่สามารถอบรมเจริญปัญญาได้ แม้ว่าต้องการให้สติเกิด และพยายามหาทางอื่นทุกทางให้สติเกิด แต่ปัญญาไม่เจริญแน่นอน ตรงกันข้าม ไม่ต้องสนใจว่าสติจะเกิดมากหรือน้อย เพราะถ้าฟังพระธรรมแล้วเข้าใจ และพิจารณา แม้แต่เพียงพระธรรมสั้นๆ บางข้อ ก็ยังส่องถึงความจริงได้ เช่น ข้อความที่กล่าวว่า ขณะใดที่เป็นโลภะ ขณะนั้นไม่ใช่ปัญญา เพียงเท่านี้ก็เห็นแล้ว ใช่ไหม ตั้งแต่ตื่นมาตลอดจนกระทั่งถึงเดี๋ยวนี้ โลภะมากแค่ไหน ถ้ายังไม่รู้ตัวก็หมายความว่า ตลอดเวลาที่เป็นโลภะไม่ได้รู้เลยว่า ขณะนั้นไม่ใช่ปัญญา
เพราะฉะนั้น วันหนึ่งๆ ปัญญาจะเกิดมากสักแค่ไหนในเมื่อโลภะเกิดอยู่ เป็นประจำ จนกว่าจะฟังพระธรรมเข้าใจขึ้น
ขอให้ทราบว่า การอบรมเจริญปัญญาต้องเป็นไปตามลำดับขั้นจริงๆ
ท่านที่หวัง และผิดหวัง และยังจะถามต่อไปอีกเรื่อยๆ ว่า ทำไมสติเกิดไม่มาก ทำอย่างไรสติจึงจะเกิดมาก ก็ควรเปลี่ยนได้แล้ว ใช่ไหม ไม่ต้องถามใคร เพราะ รู้ตนเองได้ตามความเป็นจริงว่า โลภะมากไหม โลภะเกิดขณะใดขณะนั้นไม่ใช่ปัญญาและวันหนึ่งๆ อวิชชาก็มาก ทั้งในอดีตและปัจจุบัน เพราะฉะนั้น ต้องอบรม เจริญกุศลทุกประการพร้อมด้วยปัญญา จนกว่าจะถึงวิปัสสนาญาณแต่ละขั้น
บางท่านเวลาพูดถึงความเพียรท่านก็รู้สึกว่า จะต้องให้ท่านเพียร แต่ความจริงไม่ใช่ให้ท่านไปเพียร หรือทำเพียร แต่ให้เพียรฟังพระธรรม เพียรพิจารณาพระธรรมให้เข้าใจขึ้น ไม่ใช่ไปเพียรทำอย่างอื่นเลย นี่คือมัชฌิมาปฏิปทา ซึ่งเป็นทางสายกลาง จริงๆ เพราะความเพียรต้องเกิดร่วมกับปัญญา ไม่ใช่เพียรโดยที่ปัญญาไม่เกิด
สำหรับการที่จะเป็นกลางจนกระทั่งถึงสังขารุเปกขาญาณได้ ต้องเริ่มตั้งแต่ต้น คือ ต้องเข้าใจหนทางปฏิบัติจริงๆ เช่น ในเรื่องของความอยาก และในเรื่องของ การละความอยาก นี่เป็นทางสายกลางหรือเปล่า เป็นเรื่องของความเป็นกลาง หรือเปล่า เป็นเรื่องของข้อปฏิบัติที่จะเจริญปัญญาหรือเปล่า เพราะถ้าไม่พิจารณา โลภะเป็นสภาพธรรมที่ฉลาด ไม่ใช่ปัญญา แต่ฉลาดที่จะพาไปสู่ข้อปฏิบัติที่ผิด เช่น ท่านที่อยากจะทำสมาธิ แม้ได้ฟังพระธรรมอย่างไรๆ ก็คงมีบางท่านที่ยังอยากจะ ทำสมาธิ ขณะนั้นจะรู้สึกตัวหรือเปล่าว่า เป็นความอยากอย่างหนึ่งที่จะให้จิตตั้งมั่น อยู่ที่อารมณ์หนึ่ง แทนที่จะระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ซึ่งจะละความอยาก
ถ้าอยากจะทำสมาธิ ก็ทำสมาธิ และเกิดสมาธิ คือ จิตตั้งมั่นอยู่ที่อารมณ์หนึ่ง ผลคือไม่ได้ละความอยากเลย เพราะว่ายินดีในสมาธิในขณะที่จิตตั้งมั่น เพราะฉะนั้น ก็เป็นความอยากโดยตลอด ตั้งแต่เริ่มจะทำ กำลังทำ และแม้ในขณะที่จิตตั้งมั่น เป็นสมาธิก็ยินดีในสมาธินั้น เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ข้อปฏิบัติที่จะละความอยาก
ข้อปฏิบัติที่จะละความอยาก คือ ระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏทันที เป็นหนทางเดียวจริงๆ ไม่ใช่หนทางอื่น แต่เป็นหนทางที่ช้าและละเอียด ต้องเป็นผู้ที่อดทน และให้รู้ว่า แม้ได้ยินได้ฟังเรื่องของสภาพธรรม เรื่องของนามธรรม เรื่องของรูปธรรมบ่อยๆ แม้ว่าจะฟัง แม้ว่าจะเข้าใจ แต่ต้องรอจนกว่าสัมมาสติ จะเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ ตามที่ได้ยินได้ฟังมาทุกวันนั่นเอง
สภาพธรรมไม่ปราศไปเลยทั้งนามธรรมและรูปธรรม เพียงแต่ว่าเมื่อไรสติ และปัญญาจะระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมอย่างหนึ่งอย่างใดในขณะที่สภาพธรรมนั้นกำลังปรากฏเท่านั้นเอง
เพราะฉะนั้น จะเห็นได้จริงๆ ว่า เป็นเรื่องของความอดทนที่จะต้องรู้ว่า หนทางละเอียด คือ หนทางที่ช้า แต่เป็นการรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏจริงๆ
เคยมีความรู้สึกว่า วางเฉยบ้างไหม บางคนอาจจะคิดว่าเป็นปัญญาที่วางเฉย ในเหตุการณ์ต่างๆ แต่ถ้าสติปัฏฐานไม่เกิดจะรู้ไหมว่า ขณะนั้นเป็นปัญญา เป็นกุศล หรือว่าเป็นอกุศล
วางเฉยจริง แต่สติไม่เกิด ปัญญาไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมแม้ในขั้นพิจารณาว่า นามธรรมและรูปธรรมใดๆ ที่เกิด ก็เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยทั้งสิ้น
นี่คือความต่างกัน ได้ยินเสียงก็เฉย เห็นก็เฉย หรือมีเหตุการณ์ต่างๆ ก็เฉย ในขณะนั้นจะเป็นปัญญาไม่ได้เพราะว่าสติไม่ได้เกิดที่จะรู้ความจริงในขณะนั้น แต่ถ้าไม่ว่าจะประสบเหตุการณ์ใดๆ ก็ตาม สติเกิดระลึกรู้ว่า แม้ขณะนั้นก็เป็น แต่เพียงสภาพธรรมซึ่งต้องเกิดขึ้นเป็นไปอย่างนั้นตามเหตุตามปัจจัย และวางเฉย ในขณะนั้น คือ ไม่หวั่นไหว ไม่เดือดร้อน ขณะนั้นจึงจะเป็นกุศล
แสดงให้เห็นว่า แม้แต่เรื่องของการวางเฉย ทั่วๆ ไปก็จะต้องรู้ว่า ขณะนั้นเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล มิฉะนั้นแล้วทุกคนอาจจะวางเฉยโดยเป็นอกุศลและคิดว่า ขณะนั้นเป็นกุศลแล้ว
ถ. ขณะที่ความฟุ้งซ่านและความหวั่นไหวเกิดขึ้น ขณะนั้นวางเฉยไม่ได้ รู้สึกอยากจะมีสติเกิดขึ้นเพื่อให้ความฟุ้งซ่านหมดไปในขณะนั้นก็ระลึก แต่ความฟุ้งซ่านก็ไม่หมด คิดว่า คงเพราะขาดสมาธิ ไม่มีการปฏิบัติสมาธิ สติจึงเกิด ในขณะที่ฟุ้งซ่านไม่ได้ ก็หาวิธีฝึกสมาธิอีก ฝึกสมาธิไปเรื่อยๆ บางครั้งรู้สึกว่า วางเฉยได้ เพราะว่าขณะที่ว่างๆ แล้วมานั่งหลับตา กำหนด เช่น ลมหายใจ รู้สึก เฉยได้ สบายใจ พอใจมากเลยในขณะนั้น ขอถามว่า ลักษณะนั้นเป็นกุศลหรืออกุศล ในขั้นปฏิบัติใหม่ๆ ธรรมดาผู้ปฏิบัติย่อมไม่รู้จักกุศลหรืออกุศล และเมื่อฟังธรรมใหม่ๆ มีความต้องการที่จะไม่ให้ฟุ้งซ่าน ข้อปฏิบัติ เช่น พิจารณาลมหายใจ ในขณะนั้น มีเป้าหมายเพื่อไม่ให้เกิดความฟุ้งซ่าน จะถูกไหม
สุ. ขณะนั้นไม่สามารถรู้ลักษณะที่ไม่ใช่ตัวตน เพราะฉะนั้น แม้จะเข้าใจว่า ขณะนั้นจิตตั้งมั่นอยู่ที่อารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดในระยะหนึ่ง แต่ก็ต้องมีความฟุ้งซ่านเกิดขึ้นอีกแน่นอน เพราะว่าไม่ใช่หนทางที่จะดับความฟุ้งซ่าน
เพราะฉะนั้น ผู้ที่จิตใจฟุ้งซ่านและอยากจะสงบ ต้องถามตัวเองว่า อยากจะสงบขั้นไหน ขั้นชั่วคราว หรือขั้นเป็นสมุจเฉท ถ้าขั้นชั่วคราว ถึงอย่างไรๆ ในภายหลัง จิตก็ต้องกระสับกระส่ายฟุ้งซ่านอีก เพราะว่ายังไม่ได้ดับเหตุที่จะทำให้เกิดความฟุ้งซ่าน
ถ. ถ้าต้องการดับความฟุ้งซ่านเป็นสมุจเฉท แต่สติปัฏฐานยังไม่มีกำลัง และมีความไม่ต้องการความฟุ้งซ่านมากกว่า
สุ. เหตุกับผลต้องตรงกัน การที่จะดับเป็นสมุจเฉท ต้องอบรมเจริญปัญญาที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมในขณะนั้น มิฉะนั้นแล้วจะต้องมีความเป็นตัวตน ที่จะต้องฟุ้งซ่านบ้าง สงบบ้าง เวลาที่รู้สึกว่าไม่ฟุ้งซ่านก็พอใจ เวลาที่ฟุ้งซ่านก็เป็นโทสะ เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ลักษณะของปัญญาที่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๗๗ ตอนที่ ๑๗๖๑ – ๑๗๗๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1752
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1753
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1754
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1755
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1756
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1757
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1758
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1759
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1760
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1761
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1762
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1763
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1764
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1765
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1766
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1767
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1768
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1769
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1770
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1771
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1772
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1773
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1774
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1775
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1776
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1777
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1778
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1779
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1780
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1781
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1782
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1783
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1784
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1785
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1786
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1787
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1788
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1789
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1790
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1791
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1792
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1793
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1794
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1795
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1796
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1797
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1798
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1799
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1800
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1801
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1802
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1803
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1804
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1805
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1806
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1807
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1808
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1809
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1810
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1811
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1812
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1813
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1814
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1815
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1816
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1817