แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1778
ครั้งที่ ๑๗๗๘
สาระสำคัญ
สัมมาสมาธิหรือมิจฉาสมาธิ
การปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน
ปาฏิหาริย์มี ๓ อย่าง
กิเลสอยู่ที่จิต
สนทนาธรรมที่บ้านคุณวณิช เดชานุเบกษา จังหวัดขอนแก่น
วันอาทิตย์ที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑
สุ. คุณธนิตมีประสบการณ์ที่เคยเข้าใจว่าได้บรรลุฌานมาแล้ว จะเป็น แบบเดียวกันหรือเปล่าไม่ทราบ ช่วยแสดงความคิดเห็นด้วย
ธ. ไม่ทราบที่คุณทำสมาธิอยู่ที่นี่ เริ่มต้นอย่างไร
ถ. ... (ได้ยินไม่ชัด)
ธ. ผมจะเรียนให้ทราบว่า ผมเริ่มต้นทำสมาธิมานานแล้ว เมื่อมาอยู่ที่กรุงเทพก็มาพบคุณลุงท่านหนึ่งสอนทำอานาปานสติสมาธิ ตอนแรกผมไม่สนใจ เพราะว่าตอนที่ผมเรียนทำสมาธิอยู่ที่นั่น ผมเล่นไสยศาสตร์ เล่นเครื่องรางของขลัง จนกระทั่งเอาไปใช้ประโยชน์ทางไสยศาสตร์ ตอนนั้นผมไม่ทราบว่า สมาธิที่ เป็นสัมมาสมาธิหรือมิจฉาสมาธิเป็นอย่างไร รู้อย่างเดียวว่า การที่มีความตั้งมั่น ที่ทำสมาธิอย่างนี้ได้ และบริกรรมคาถาอาคม มันมีพลังจิต สามารถทำอะไรต่ออะไรพิเศษได้ คิดว่าตัวเองเก่งแล้ว ทำไปประมาณเกือบ ๑๐ ปี ใครต่อใครก็เรียกอาจารย์
เวลาเขามีพิธีปลุกเสกเครื่องรางของขลัง เขาก็เชิญไปนั่งปรก เมื่อผมเข้ามากรุงเทพ ผมก็พบคุณลุงที่เป็นอาจารย์สอนให้ทำอานาปานสติสมาธิใหม่ ทีแรกผมก็ ไม่สนใจ แต่ที่นี่เขาสอนมีขั้นตอน เมื่อทำสมาธิได้ตั้งแต่ขั้นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และก้าวเข้าสู่อัปปนาสมาธิได้ และอบรมให้เราเริ่มต้นทำวสี คือ ความชำนาญในการเข้าสมาธิ ออกจากสมาธิ หรือดำรงอยู่ในสมาธิ ผมเรียนมา ๔ – ๕ ปีกับท่าน และ ในที่สุดคุณลุงท่านก็เลื่อนว่า ขณะนี้ผมมีความสงบ มีความตั้งมั่นเข้าสู่ อัปปนาสมาธิแล้ว และก็เริ่มต้นให้ผมขึ้นองค์ฌาน ขึ้นปฐมฌาน กว่าจะได้ผมไปติดอยู่ในทุติยฌาน ฌานที่ ๒ นานเหลือเกิน และค่อยๆ ขึ้นมาจนกระทั่งได้ปัญจมฌาน
ผมก็ไม่ทราบว่าได้ขึ้นมาอย่างไร เพราะว่าในขณะที่ทำสมาธิ ผมมีแต่ความสงบนิ่งทั้งวัน ผมตื่นตั้งแต่ตีสี่ทำสมาธิ กว่าจะออกจากสมาธิ ๖ โมงเช้า อาบน้ำ ทานข้าวเสร็จ สองโมงก็นั่งต่อไปอีก กว่าจะเลิกเกือบเที่ยง วันทั้งวันผมก็อยู่อย่างนั้น ผมไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้น และมีครูฝึกคอยคุม คอยบอกว่าเวลานี้ผมได้ขั้นนั้นขั้นนี้
มีอยู่บางครั้งมีสิ่งที่ปรากฏ ครั้งหนึ่งผมเห็นตัวผมค่อยๆ ออกจากร่าง เห็น ตัวผมนั่งทำสมาธิ ผมตกใจใหญ่ ก็ไปเรียนครูให้ทราบ ครูบอกว่า ถ้าเป็นอย่างนี้ ไปทำที่บ้านไม่ได้ เดี๋ยวจะเป็นบ้า ต้องมาทำที่สำนักท่าน หลังจากนั้นเริ่มต้นมาเรียนที่บ้านคุณลุง ไปถึงก็ไม่ต้องทำอะไร นั่งหลับตา และท่านก็เปิดเทปให้เราน้อมใจตามเทปไป คนใหม่ๆ ก็หายใจเข้า พุทธ หายใจออก โธ สติจับไว้ที่ปลายจมูกตรงจุด ลมหายใจกระทบ ทำไปอย่างนี้จนกระทั่งมันนิ่งไป และเขาก็คอยมาเตือนเราไม่ให้เผลอสติ
ผลจากการทำสมาธิ มีเรื่องแปลกๆ ปรากฏขึ้น ผู้ที่นั่งทำสมาธิควบคุม ร่างกายไว้ไม่ได้ นั่งทำไปลืมตาขึ้นไม่ได้ นั่งขัดสมาธิแข็งอยู่อย่างนั้น ผมบอกว่า ให้ออกจากสมาธิ ตอนที่ผมสอน เขาบอกว่าออกไม่ได้ ผมก็คิดว่าถ้าจะยุ่งแล้ว ผมก็เริ่มต้นใหม่บอกว่า คุณฟังผมให้ดีนะ ขณะนี้คุณดำรงอยู่ในสมาธิ ฟังผมแล้ว โน้มใจตามไปเรื่อยๆ ในที่สุดผมก็ให้เขาค่อยๆ ถอยออกจากสมาธิลืมตาขึ้นได้ อีกรายหนึ่งเขานั่งทำสมาธิ ตัวเขาเริ่มต้นจะเอียง เอียงไปจนศีรษะจะติดพื้น เขาไม่สามารถบังคับตัวเองได้
นี่แหละเรื่องของการทำสมาธิผิดๆ มีผลอย่างนี้ ต่อมาผมนั่งที่บ้าน อาจารย์ที่ฝั่งธน ได้ประมาณปีที่ ๕ เขาบอกว่าผมได้อรูปฌานแล้ว ทั้งๆ ที่การนั่งทำ ก็ทำแบบเดียวกัน ความสงบก็ความสงบเหมือนกัน ตอนนั้นเขาให้ผมเริ่มดูไฟฉายที่ส่องแล้วหลับตา มีนิมิตปรากฏที่ตา และให้ขยายออกไป มีความสามารถเห็นเหมือนความฝัน ขณะที่นั่งไม่ได้หลับ เหมือนกับว่าท่านมีอำนาจอะไรสักอย่างหนึ่งซึ่งสามารถทำให้จิตผมตรงกับท่านได้
ผมไปนั่งทำอยู่ ผมโชคดีมากที่อาจารย์ที่สอนซึ่งผมเรียกว่าคุณลุง ท่านฟังรายการของท่านอาจารย์สุจินต์ ผมก็ตามมาฟังด้วย คือ เมื่อรู้ว่าสถานีวิทยุ สทร. เปิดเทปอาจารย์ ผมก็ตามมาฟังด้วย ฟังอยู่ได้ประมาณสัก ๒ – ๓ เดือน ผมเริ่มต้น อัดเทป โชคดีที่ได้ฟังเทปของท่านอาจารย์พูดถึงเรื่องสมถภาวนา ผมก็ฟังว่าทำไม ไม่เหมือนกัน เพราะว่าท่านอาจารย์เริ่มต้นบอกว่า ผู้ที่จะทำสมาธิถ้าไม่ทราบว่า สติมีลักษณะเป็นอย่างไร เราจะไม่ทราบว่าขณะนั้นที่เรานั่งทำสมาธิเป็นกุศลหรืออกุศล ผมฟังไม่รู้เรื่องเลยว่า ท่านพูดประโยคนี้หมายความว่าอย่างไร
ผมฟังต่อไปเรื่อยๆ จนในที่สุดผมก็เข้าใจ ตอนหลังผมก็ได้คำอธิบายว่า คำว่า สมาธิ คือ การทำให้จิตมีความสม่ำเสมอขั้นสูง เมื่อฟังคำอธิบายอย่างนี้ ผมเลิกทำดีกว่า เพราะที่เห็นๆ คนที่นั่งทำเกิดอันตรายขึ้นหลายคน เช่น บางคนบังคับตัวเอง ให้ลืมตา ให้ลุกขึ้นไม่ได้ อย่างคนที่ตัวเอียงไปบังคับไม่ได้เลย ผมก็บอกให้เขาเลิกทำ ขณะที่ผมแนะนำหลายปีเหมือนกัน
เมื่อผมทราบเหตุว่า การแนะนำสมาธิที่ผิดนั้น อันตราย จะเกิดวิกลจริตก็ได้ ผมจึงชวนเขาให้มาฟังอาจารย์สุจินต์ที่วัดบวร และผมจะตามมา ในที่สุดผมก็ตามมาฟังท่านอาจารย์ที่วัดบวร ตั้งแต่บัดนั้นจนบัดนี้ ผมไม่กล้าทำสมาธิอีกเลย
สมาธิความจริงถ้าจะคุยกันในรายละเอียด ขั้นตอนการทำวสี เรื่อง องค์ฌาน ถ้าอ่าน ถ้าศึกษา ก็พูดได้หมด ไม่ว่าขั้นตอนองค์ฌานไหน และแต่ละขั้น ที่ปฏิบัติ ผมปฏิบัติมาอย่างไรมีเรื่องละเอียดมาก
ที่ผมพูดมาย่อๆ นี้ อยากจะเรียนว่า สมาธิที่เราพูดกันเป็นแต่เพียงความตั้งมั่นของจิต ซึ่งเราไม่ทราบว่าในขณะนั้นสติมีลักษณะอย่างไรที่จะสามารถระลึกรู้ว่า จิตของเราในขณะนั้นเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล นี่เป็นขั้นต้นก่อน และที่ว่ามีความรู้สึกตัวที่พูดกันว่าสัมปชัญญะ ตอนนั้นที่ผมนั่งทำสมาธิผมก็รู้สึกตัว แต่ขณะที่รู้สึกตัว ก็มีอะไรๆ ประหลาดเกิดขึ้น
ผมเคยทดลองเรื่องสมาธิ ถ้าใครเจ็บป่วย ไม่สบาย บอกผม ผมสามารถกำหนดจิตเพ่งไปที่เขาป่วย และเขาก็หาย ตอนนั้นผมคิดว่าผมเป็นอาจารย์ใหญ่โต เก่งเหลือเกิน มาวันนี้ผมอายเขาที่สุด วันนี้มาพูดที่นี่ เพราะอยากจะบอกถึงสิ่งที่ไม่ดี ไม่งามที่ตนเองได้ประพฤติปฏิบัติมา ผมหลงทางเรื่องทำสมาธิมา ๓๓ ปี
เพราะฉะนั้น ขอเรียนให้ทุกๆ ท่านทราบว่า ขอให้เข้าใจกุศลในพระพุทธศาสนาขั้นสมาธิ และที่เรามาคุยกันนี่เหมือนญาติทางธรรม อะไรที่ไม่ถูกทาง ไม่ดี ถ้าสงสัยในขั้นตอนอะไรเกี่ยวกับสมถกัมมัฏฐาน ขอให้ถามท่านอาจารย์สมพรเกี่ยวกับภาษาบาลี ท่านจะขยายคำให้หมด
ส่วนอีกขั้นหนึ่งที่ว่า เรานับถือพระพุทธศาสนา เป้าหมายคืออะไร ถ้ารู้จักเป้าหมายอย่างที่อาจารย์กำลังอธิบายให้ฟัง หมายถึงความหมายของวิปัสสนา คือ ปัญญา ปัญญารู้อะไร แต่สมาธิแค่ความสงบระงับชั่วขณะ ไม่ได้เกิดอะไรเลย นอกจากอิทธิฤทธิ์อภินิหาร ซึ่งสมัยก่อนผมทำอะไรแปลกๆ อย่างที่คนอื่นเขาทำไม่ได้ เขายกย่อง ไปไหนก็เรียกครูอาจารย์ เดี๋ยวนี้อาย ขอร้องว่าอย่าเรียกเลย ให้เรียกชื่อเฉยๆ
สุ. ก็ดีที่การฟังพระธรรมทำให้เข้าใจว่า ขณะนั้นเป็นมิจฉาสมาธิ ไม่ได้ถึงขั้นฌานหรืออะไรๆ เลย เพียงแต่อ่านตำราก็เข้าใจเอาเองว่า คงจะเป็นอย่างนั้น คงจะถึงขั้นนี้ ซึ่งความจริงแล้วยากกว่านั้นมากเลย เพราะว่าต้องเป็นขณะนี้ที่ปัญญาสามารถจะรู้ได้ ไม่ว่าจะเป็นความสงบที่เป็นขั้นสมถภาวนาจริงๆ หรือขั้นวิปัสสนา จริงๆ ปัญญาสามารถรู้ได้ถ่องแท้จริงๆ แต่ต้องอบรมจากการค่อยๆ เข้าใจขึ้น ทีละเล็กทีละน้อย
ถ. ... (ได้ยินไม่ชัด)
สุ. ฟังให้เข้าใจเสียก่อน นี่สำคัญมาก นี่เป็นเหตุให้พระผู้มีพระภาคทรงแสดงพระธรรมถึง ๔๕ พรรษา และวันหนึ่งๆ ไม่น้อยเลย ไม่เคยสั่งให้ใครไปนั่งเฉยๆ แต่เสด็จไปโปรดคนที่รู้ว่าเขาสามารถที่จะรับฟัง แม้ว่ายังไม่สามารถรู้แจ้งอริยสัจจธรรมในชาตินั้น แต่ถ้าฟังต่อไปก็สะสมเป็นอุปนิสสยปัจจัยได้ ก็ทรงพระมหากรุณาเสด็จไปแสดงธรรมหรือสนทนาธรรมด้วย นี่ก่อนบิณฑบาต หลังจากทำภัตกิจเสร็จแล้ว ทรงพักผ่อนเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเอง และแสดงธรรมกับพระภิกษุ ตอนเย็นก็ทรง แสดงธรรมแก่อุบาสกอุบาสิกา ตอนค่ำพระภิกษุก็ไปถามปัญหา ตอนดึกเทวดา ก็ไปถามปัญหา และทรงบรรทมเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเองตลอด ๔๕ พรรษา เพื่อที่จะ ให้ผู้ฟังเกิดปัญญา
เพราะฉะนั้น ขณะนี้เราก็กำลังฟังพระธรรม จากการที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน ก็เริ่มฟังไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเข้าใจขึ้น เป็นการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวันด้วย เพราะว่าธรรมสำหรับปฏิบัติในชีวิตประจำวันนี่เอง ไม่ใช่ว่าต้องไปสู่มุมหนึ่งมุมใด แต่เป็นการรู้ของจริงๆ ที่มีจริงๆ โดยการฟังให้เข้าใจก่อน อย่าเพิ่งปฏิบัติอะไรเลยทั้งสิ้น
ถ. เพื่อนป่วย อยากให้ได้รับความสุขบ้าง โดยการแผ่เมตตาไปให้ เขาจะได้รับในลักษณะใด
สุ. คงจะต้องพูดถึงเรื่องเมตตาที่เราจะต้องเจริญ และเพราะอะไรเรา จึงเจริญเมตตาก่อนที่จะแผ่ ถ้าจิตของเราไม่มีความเป็นเพื่อน เราแผ่ไม่ได้ แผ่นี่หมายความว่ามีจนเต็มเปี่ยม จนสามารถที่จะกว้างออกๆ
ขณะใดที่เราโกรธใครก็ตาม ขณะนั้นไม่ใช่เมตตา เพราะว่าเมตตาเป็นสภาพที่ตรงกันข้ามกับโทสะ เวลาที่เราเห็นใครสักคนในที่นี่ เราเคยดูหมิ่น ดูถูก หรือว่า มีความสำคัญตนไหม ถ้าขณะนั้นมีความดูถูกดูหมิ่น ขณะนั้นก็ไม่ใช่เมตตา
เพราะฉะนั้น เมตตาควรใช้เมื่อเวลาพบใครก็ได้ พรหมวิหารทั้ง ๔ ไม่ใช่อยู่ ในมุมมืด แต่เป็นขณะที่กำลังประสบพบสัตว์บุคคล
ถ. จะแผ่เมตตาให้เพื่อนฝูงญาติพี่น้องมีความสุข แต่เวลาเขารับจะอยู่ ในลักษณะใด …
สุ. ไม่ได้ ก็เหมือนกับการอุทิศส่วนกุศล ถ้ากุศลจิตเขาไม่เกิด เขาก็ไม่ เป็นกุศล เพราะฉะนั้น ในขณะเดียวกันเราอาจจะไม่โกรธเขา แต่เขายังโกรธเรา เราไม่เบียดเบียนเขา แต่อกุศลจิตของเขายังคิดร้ายต่อเรา
เพราะฉะนั้น เป็นเรื่องของจิตของแต่ละบุคคล ซึ่งต้องเห็นโทษของกิเลส ตราบใดที่เขาไม่เห็นว่า อกุศลของเขาเป็นโทษ เขาก็ยังโกรธเรา ยังไม่ชอบเราอยู่นั่นเอง ทั้งๆ ที่ใจของเราไม่ได้ทำร้ายเขาเลย
นี่ก็เป็นการแสดงให้เห็นแล้วว่า จิตต่างกัน เราเมตตาเขาได้ แต่เขาจะเมตตาเราหรือเปล่าแล้วแต่การสะสมของเขา เราไม่เบียดเบียนเขา แต่เขาจะคิดเบียดเบียนเราหรือเปล่า นั่นก็เป็นเรื่องจิตใจของเขา
เพราะฉะนั้น วิธีที่ดีที่สุดที่เราจะเข้าใจสภาพธรรม คือ ศึกษาพระธรรมโดยตรงจากพระไตรปิฎก มีข้ออ้างอิงที่จะทำให้เราเข้าใจชัด
ถ. … (ได้ยินไม่ชัด)
สุ. ถ้าพูดถึงสิ่งที่มองไม่เห็นจะมีประโยชน์ไหม กับพูดถึงสิ่งที่เราสามารถพิสูจน์ได้ อย่างแข็ง อ่อน เราพิสูจน์ได้ ควรจะพิสูจน์ว่าดับจริงๆ หรือเปล่า ไม่ใช่ตัวตนจริงๆ หรือเปล่า แทนที่จะไปสนใจสิ่งที่เรามองไม่เห็น
ถ. … (ได้ยินไม่ชัด)
สุ. ปาฏิหาริย์มี ๓ อย่าง คือ อาเทสนาปาฏิหาริย์ อิทธิปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์
อิทธิปาฏิหาริย์ คือ การที่สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ แต่ต้องเป็นของจริง ไม่ใช่ของปลอม ทำกันในเวลาคนไม่เห็น และก็มีข้าวทิพย์ใส่ในบาตรหรืออะไรอย่างนั้น นั่นไม่ใช่ เพราะฉะนั้น เหตุทุกอย่างต้องสมควรแก่ผล ผลที่จะทำอย่างนั้นได้จริงๆ จิตใจจะต้องประกอบด้วยสติสัมปชัญญะอย่างที่ได้เรียนให้ทราบแล้วว่า ถ้าขณะนี้ ไม่รู้ลักษณะของกุศลจิตและอกุศลจิตซึ่งเกิดสลับกันแล้วก็ไม่ถึงฌานจิต และการที่จะได้อิทธิปาฏิหาริย์ไม่ใช่เพียงแค่ปฐมฌาน ซึ่งก่อนที่จะถึงปฐมฌานก็ต้องมีสมาธิเป็นลำดับขั้นที่จิตเป็นกุศลแล้วสงบขึ้น
เพราะฉะนั้น ก็ผ่านไปได้เลยเรื่องของการทำให้จิตสงบจนกระทั่งฌานจิตเกิด จนกระทั่งกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ ได้ เพราะแม้ผู้ที่กระทำอิทธิปาฏิหาริย์ก็ต้องตาย และต้องเกิด จะมีประโยชน์อะไรกับการหลงทำอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ ซึ่งไม่ใช่ทางที่จะรู้จักสภาพธรรมจนกระทั่งดับกิเลสหรือดับทุกข์ได้
กิเลสอยู่ที่จิต ขณะนี้มีกิเลสประเภทไหน ถ้าคนนั้นยังไม่รู้ตามความเป็นจริง ก็ดับกิเลสไม่ได้ เหมือนกับจะดับไฟ ยังไม่รู้เลยว่าไฟอยู่ที่ไหน แต่จะดับไฟ และจะดับไฟได้ไหม ฉันใด ขณะนี้จิตกำลังมีกิเลสประเภทไหนบ้าง ขณะไหนบ้าง ถ้าสติสัมปชัญญะไม่เกิด ไม่มีทางที่จะดับได้เลย เพราะฉะนั้น อิทธิปาฏิหาริย์ไม่ได้ช่วยอะไร เพราะว่าผู้ที่จะทำอิทธิปาฏิหาริย์ก็ต้องตายโดยมีกิเลส ในเมื่อปัญญาไม่เกิด
สำหรับอาเทสนาปาฏิหาริย์ คือ การที่สามารถดักใจ หรือรู้จิตของคนอื่น ซึ่งแม้ยังไม่ใช่อิทธิปาฏิหาริย์ ทุกคนก็คงจะเดาๆ ใจกันได้บ้าง ถ้าเป็นผู้ที่คุ้นเคย เพราะฉะนั้น การที่จะมีปาฏิหาริย์ขั้นนั้นก็ต้องเป็นการอบรมเจริญสมถภาวนาที่ต้องรู้ลักษณะของจิตในขณะนี้เองเช่นเดียวกัน คือ สติสัมปชัญญะต้องสมบูรณ์และปัญญาต้องมีกำลังพอที่จะระลึกรู้ลักษณะของจิตได้จึงจะบรรลุถึงฌาน และน้อมฌานจิตนั้นไปกระทำการฝึกหัดเป็นหูทิพย์บ้าง ตาทิพย์บ้าง เหาะเหินเดินอากาศบ้าง เดินบนน้ำบ้าง เหล่านี้ ซึ่งแม้ในเรื่องของการรู้ใจของบุคคลอื่น การรู้วาระจิตจริงๆ ก็จะต้องอาศัยความชำนาญของตนเองในการที่สติสัมปชัญญะสามารถที่จะระลึก แม้จิตของตนเองได้อย่างรวดเร็ว จึงสามารถระลึกรู้แม้จิตของคนอื่นได้อย่างรวดเร็วด้วย แต่แม้จะระลึกอย่างนี้ ถ้ากิเลสยังไม่ดับหมด ก็ไม่มีประโยชน์อะไร
ปาฏิหาริย์ที่ ๓ คือ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์ คือ คำสอนของ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นสัจจธรรม เป็นความจริง ซึ่งทำให้ผู้ฟังเริ่มเกิดปัญญาที่จะรู้จักตัวเอง และรู้จักโลก รู้จักสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกตามความเป็นจริง จนกระทั่งดับกิเลสได้ เพราะฉะนั้น อนุสาสนีปาฏิหาริย์ก็เป็นเลิศ ด้วยเหตุนี้ผู้ที่ เป็นสาวกทุกท่านต้องฟังพระธรรม เพราะว่าตนเองไม่ได้สะสมบารมีมาที่จะเป็น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระปัจเจกพุทธเจ้า
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๗๘ ตอนที่ ๑๗๗๑ – ๑๗๘๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1752
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1753
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1754
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1755
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1756
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1757
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1758
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1759
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1760
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1761
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1762
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1763
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1764
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1765
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1766
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1767
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1768
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1769
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1770
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1771
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1772
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1773
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1774
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1775
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1776
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1777
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1778
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1779
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1780
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1781
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1782
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1783
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1784
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1785
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1786
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1787
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1788
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1789
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1790
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1791
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1792
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1793
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1794
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1795
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1796
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1797
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1798
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1799
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1800
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1801
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1802
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1803
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1804
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1805
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1806
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1807
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1808
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1809
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1810
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1811
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1812
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1813
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1814
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1815
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1816
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1817