แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1797
ครั้งที่ ๑๗๙๗
สาระสำคัญ
จิต เจตสิกเกิดที่รูป ภูมิที่มีขันธ์ ๕
โลกมืดสนิท เพราะเหตุว่าไม่มีการเห็น
ขุ. อรรถกถา จริยานานัตตญาณนิทเทส อาวัชชนะ เพราะอรรถว่า นำออกไปจากสันตาน
ที่ห้องประชุมตึกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
วันอาทิตย์ที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๓๑
นี่คือก่อนที่ทุกท่านจะมานั่งอยู่ที่นี่ เริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิจิตซึ่งเป็นขณะแรก ต่อจากนั้นก็เป็นภวังคจิต และมีรูปเล็กๆ ซึ่งรูปนั้นก็เกิดดับและสืบต่อจนกว่าจะมีร่างกายครบสมบูรณ์ แต่ก่อนที่จะมีร่างกายครบสมบูรณ์ หลังจากที่ปฏิสนธิจิตดับไป ภวังคจิตดับไป วาระแรกที่จิตจะเกิดขึ้นรู้อารมณ์อื่นที่ไม่ใช่อารมณ์ของภวังค์ คือ มโนทวารวิถีจิต เกิดขึ้นยินดีพอใจในภพชาติที่กำลังเป็นอยู่ ในขณะนั้นจิตเกิดที่หทยรูป ยังไม่รู้อะไรทั้งสิ้น โลกมืดสนิท เพราะว่าไม่มีการเห็นก็ต้องมืด ซึ่งในขณะที่เป็นปฏิสนธิจิต ไม่มีการรู้สึกตัวเลย และในขณะที่เป็นภวังคจิตก็ไม่มีการรู้สึกตัวเลย ขณะที่วิถีจิตทางมโนทวารเกิดขึ้นยินดีพอใจในภพชาติ ขณะนั้นไม่เห็นอะไรทั้งสิ้น ขณะนั้นให้รู้ว่าเป็นโลกที่มืด
อย่างท่านที่มีความสงสารผู้ที่กำลังโคม่า ก็กล่าวว่า มีความสงสารท่านผู้นั้นมาก แต่ตามความเป็นจริง ถ้ารู้สภาพของจิตที่เกิดดับสืบต่อทำกิจจริงๆ จะเห็นว่าเป็นปกติธรรมดา เพราะว่าขณะใดที่ไม่รู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใด ขณะนั้นไม่รู้สึกตัว และถ้าเป็นการรู้อารมณ์เฉพาะทางมโนทวาร ก็เหมือนกับตอนที่ปฏิสนธิจิตเกิดและ ดับไป ภวังคจิตเกิดต่อ และวิถีจิตวาระแรก คือ การรู้อารมณ์ทางมโนทวารนั่นเอง ซึ่งก็เหมือนกับบุคคลหนึ่งบุคคลใดที่กำลังไม่รู้สึกตัว ที่กำลังโคม่า และคนอื่นก็สงสาร แต่ความจริงแล้วควรสงสารใคร เพราะว่าในขณะนั้นไม่ปวด ไม่เจ็บ ไม่เห็น ไม่ได้ยิน อาจจะมีการคิดนึก เหมือนกับตอนที่เกิดและมโนทวารวิถีจิตก็เกิดขึ้นคิดนึก ก็ไม่มีความต่างกันเลย
ถ้าพิจารณารู้ลักษณะสภาพของจิตจริงๆ แล้ว ก็ไม่มีความแปลก เป็นแต่ว่า ขณะใดวิถีจิตจะเกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางตา ก็ดับไปหมด และเป็นภวังค์ และต่อมา จิตอาจจะเกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางหู และก็ดับไปหมดอีก การเกิดขึ้นที่จะรู้อารมณ์ แต่ละครั้งก็เป็นไปอย่างสั้นมากทีเดียว
เพราะฉะนั้น ได้ทราบแล้วว่า ปฏิสนธิจิตเกิดที่รูป ที่หทยวัตถุ ภวังคจิตเกิดที่รูป ที่หทยวัตถุ และจิตส่วนใหญ่เกิดที่รูป ที่หทยวัตถุ
หทยวัตถุเป็นเพียงที่เกิด ไม่ใช่ทวาร คือ ไม่ใช่ทางที่จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์หนึ่งอารมณ์ใด ขณะที่นอนหลับสนิทกับขณะที่โคม่า ไม่รู้สึกตัว ต่างกันไหม ต่างหรือ ไม่ต่าง
ขณะที่นอนหลับสนิทไม่รู้สึกตัว น่าสบายไหม ไม่ต้องเห็น น่าสบายดี ไม่มีอารมณ์ที่จะมาทำให้เดือดร้อน คือ เห็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจทางตา ไม่ถูกตา ไม่ถูกใจ ไม่ต้องเห็น ขณะที่นอนหลับสนิท ไม่ต้องได้ยิน ไม่ต้องได้กลิ่น ไม่ต้องลิ้มรส ไม่ต้องรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ขณะนั้นก็เหมือนกับคนที่โคม่าเหมือนกัน เพราะว่าขณะนั้นเป็นภวังคจิต
ถ้าร่างกายของบุคคลใดกำลังมีสภาพที่คนอื่นมองเห็นแล้วสงสารด้วยความ เป็นห่วงว่าน่าจะเจ็บมาก เช่น คนที่ผ่าตัดหรือได้รับอุบัติเหตุอย่างร้ายแรง มีสภาพที่ปรากฏเหมือนกับว่าทุกข์ทรมาน แต่ขณะใดที่ภวังคจิตกำลังเกิดดับสืบต่อ ขณะนั้น ไม่เดือดร้อนเลย จะสงสารคนที่นอนหลับไหม ถ้าไม่สงสารคนที่กำลังนอนหลับ คนที่ผ่าตัดและจิตเป็นภวังค์ ก็ไม่รู้อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ถ้ามโนทวารวิถีจิตเกิดก็ไม่เจ็บ เพราะว่าขณะนั้นไม่มีการรู้โผฏฐัพพะการกระทบสัมผัสกายใดๆ เลยทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น ถ้าเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริงก็รู้ว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคลเลย แล้วแต่ว่าจิตเจตสิกจะเกิดขึ้นรู้อารมณ์ใด
คนรอบข้างของคนป่วยหนักอาจจะเป็นทุกข์เดือดร้อน ปฐมพยาบาลด้วยวิธี ต่างๆ แต่คนไข้ที่กำลังเป็นภวังคจิตไม่เดือดร้อนหรือเป็นทุกข์เลย เหมือนกับขณะที่กำลังหลับสนิทจริงๆ หรือเหมือนกับคนที่เป็นลมปัจจุบัน คนที่มองเห็นก็เห็นว่า กำลังชัก กำลังกระตุก กำลังเกร็ง ร่างกายกำลังเย็นจัด แต่คนที่เป็นภวังคจิตไม่รับรู้อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายใดๆ เลยทั้งสิ้น ไม่ได้เดือดร้อนเลย
แสดงให้เห็นว่าไม่มีความต่างกันของรูป ถ้าขณะนั้นจิตไม่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ แต่ถ้าจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางกายขณะใด ไม่ว่าจะโคม่า หรือไม่โคม่า ขณะนั้นก็ เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเท่านั้นสำหรับทางกาย ซึ่งสภาพความรู้สึกที่เกิดกับกายวิญญาณต้องเป็นทุกขเวทนา หรือสุขเวทนา เหมือนปกติธรรมดา
ทุกคนที่กำลังสงสารคนที่เจ็บหนักโคม่า ถ้าพิจารณาจริงๆ ใครน่าสงสาร คนที่ไม่รู้สึกตัว ไม่น่าสงสาร แต่คนที่กำลังสงสารคนที่กำลังป่วยเจ็บ ขณะนั้นความรู้สึกเป็นโทมนัสเวทนา
การเป็นผู้ละเอียดในการพิจารณาสภาพธรรม จะทำให้รู้ขณะจิตของตนเองว่า ขณะใดเป็นกุศล ขณะใดเป็นอกุศล และจะมีความมั่นคงไม่หวั่นไหวในสภาพเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพราะเป็นผู้ที่รู้ลักษณะสภาพของจิตในขณะนั้นได้ถูกต้อง
สำหรับปฏิสนธิจิต เกิดที่หทยวัตถุ ภวังคจิตเกิดที่หทยวัตถุ หทยวัตถุ ไม่ใช่ทวาร ไม่ใช่ทางที่จิตจะเกิดขึ้นรู้อารมณ์ เป็นแต่เพียงที่เกิดของจิตในภูมิที่มีขันธ์ ๕
ขณะนี้หทยวัตถุก็กำลังเกิด ไม่รู้เลย และจิตก็กำลังเกิดที่หทยวัตถุ ก็ไม่รู้ด้วย แต่จะรู้รูปต่อเมื่อเห็น ต่อเมื่อได้ยิน แม้ว่าขณะนั้นมีหทยวัตถุซึ่งเป็นที่เกิดของจิตอื่นๆ ที่ไม่ใช่จิตเห็น จิตได้ยิน แต่แม้กระนั้นก็ไม่สามารถรู้ได้ แต่ถึงอย่างนั้นในภูมิที่มี ขันธ์ ๕ จิตเจตสิกก็ต้องเกิดที่รูป
สำหรับการรู้อารมณ์ทางใจ คือ มโนทวารวิถีจิต เกิดเป็นวาระแรก หลังจากที่ ปฏิสนธิจิตดับไปแล้วภวังคจิตเกิดต่อ จิตขณะแรกที่เปลี่ยนจากอารมณ์ของภวังค์เป็นอารมณ์อื่นนั้น คือ จิตที่นึกถึงอารมณ์ ชื่อว่ามโนทวาราวัชชนจิต
เมื่อปฏิสนธิจิตเกิดและดับไป ภวังคจิตเกิดและดับสืบต่ออยู่เรื่อยๆ ยังไม่เปลี่ยนอารมณ์เลย เพราะฉะนั้น การที่จะเปลี่ยนอารมณ์ของภวังค์ซึ่งเกิดดับเหมือนกระแสน้ำ ก็ต้องโดยการนึกถึงอารมณ์ ซึ่งภาษาบาลีใช้คำว่า มโนทวาราวัชชนจิต ถ้าแปลโดยศัพท์จะแปลว่า จิตที่รำพึงถึงอารมณ์ แต่สำหรับภาษาไทยถ้าใช้คำว่า รำพึงถึงอารมณ์ คนก็ต้องคิดว่า ต้องรำพึงนานทีเดียว แต่ถ้าจะเข้าใจอรรถ ไม่ติดที่พยัญชนะ ก็เข้าใจว่าอรรถของอาวัชชนจิต คือ นึกถึงอารมณ์ จะเร็วไหม เพียงแค่ขณะที่เป็นภวังค์อยู่ เกิดดับเป็นกระแสภวังค์ ไม่รู้อารมณ์ทางทวารไหนเลย และก็เกิดนึกถึงอารมณ์ขึ้น ขณะนั้นถ้าเป็นทางใจ ก็เป็นมโนทวาราวัชชนจิต เป็นวิถีจิตขณะแรกที่เปลี่ยนจากอารมณ์ของภวังค์เป็นอารมณ์อื่น นี่เป็นกิจที่ ๓
ถ้าจะเข้าใจชีวิตในวันหนึ่งๆ ก็ต้องเข้าใจจิตแต่ละขณะที่เกิดขึ้นกระทำกิจ ต่างๆ ซึ่งได้กล่าวถึงแล้ว คือ กิจที่ ๑ ปฏิสนธิกิจ กิจที่ ๒ ภวังคกิจ และกิจที่ ๓ ที่เปลี่ยนจากอารมณ์ของภวังค์เป็นอารมณ์อื่น คือ อาวัชชนกิจ นึกถึงอารมณ์
กำลังนึกถึงอารมณ์ทางใจในขณะนี้หรือเปล่า นั่งๆ อยู่เกิดนึกอะไรขึ้นมา ให้ทราบว่า ขณะนั้นมโนทวาราวัชชนจิตเกิดขึ้นทำอาวัชชนกิจ เปลี่ยนจากอารมณ์ของภวังค์เป็นอารมณ์อื่นซึ่งไม่ใช่อารมณ์ของภวังค์ เป็นประจำทุกวันแต่ไม่เคยทราบเลยว่า มีจิตที่ทำกิจนี้ทุกครั้งที่นึกถึงอารมณ์อะไร ที่กำลังคิดเรื่องอะไรทางใจ วิถีจิตแรกที่ ไม่ใช่ภวังค์ต้องเป็นอาวัชชนกิจ เมื่อเป็นทางใจก็เป็นมโนทวาราวัชชนจิตเกิดขึ้น นึกถึงอารมณ์
มีใครสามารถระลึกรู้ลักษณะของมโนทวาราวัชชนจิตไหม
จิตนี้เกิดขึ้นเพียงขณะเดียว ทำกิจนึก เร็วมาก หลังจากที่มโนทวาราวัชชนจิตเกิดและดับไป คือ เพียงนึกถึงอารมณ์ ขณะนั้นจะเกิดกุศลจิตบ้าง อกุศลจิตบ้าง โลภมูลจิต ชอบในเรื่องที่กำลังคิดบ้าง หรือเป็นโทสมูลจิต ไม่ชอบเรื่องที่กำลังคิดบ้าง ในขณะนั้นจะเห็นได้ว่า ขณะที่กำลังชอบหรือไม่ชอบ สามารถรู้ได้ แต่ขณะที่เป็น มโนทวาราวัชชนะ คือ เพียงนึกถึงอารมณ์ขณะเดียว ก่อนที่โลภมูลจิตจะเกิด หรือ โทสมูลจิตจะเกิดนั้น ไม่มีใครสามารถรู้ได้
ด้วยเหตุนี้แม้จิตจะเกิดขึ้นกระทำกิจ ส่วนใหญ่แล้วเป็นกิจที่ไม่สามารถรู้ได้ ตั้งแต่ปฏิสนธิกิจก็ไม่สามารถรู้ได้ ภวังคกิจก็ไม่สามารถรู้ได้ อาวัชชนกิจ คือ การนึกถึงอารมณ์ต่างๆ ถ้าเป็นทางใจ ได้แก่ มโนทวาราวัชชนจิต ถ้าเป็นทางตา หรือทางหู หรือทางจมูก หรือทางลิ้น หรือทางกาย จะได้แก่จิตอีกดวงหนึ่งซึ่งชื่อว่า ปัญจทวาราวัชชนจิต ไม่ใช่มโนทวาราวัชชนจิต แต่จิตที่ทำปฏิสนธิกิจก็ดี ทำกิจ ภวังค์ก็ดี ทำกิจอาวัชชนะก็ดี ไม่สามารถรู้ได้ ต่อเมื่อทางใจ มโนทวาราวัชชนจิต ดับแล้ว โลภมูลจิตเกิด หรือโทสมูลจิตเกิด หรือเมตตาเกิดเป็นกุศล ขณะนั้น จึงสามารถรู้ได้
จริง หรือไม่จริง
จิตเกิดขึ้นกระทำกิจการงานของแต่ละกิจๆ ไปโดยไม่รู้ นอกจากในขณะที่ เป็นโลภมูลจิต โทสมูลจิต ซึ่งไม่ใช่อาวัชชนกิจ เพราะว่าเกิดหลังจากที่จิตนึกแล้ว เพราะฉะนั้น โลภมูลจิตก็ดี โทสมูลจิตก็ดี หรือกุศลจิตก็ดีที่รู้ เพราะว่าทำชวนกิจ
โดยศัพท์ ชวนะ หมายความว่า ไปอย่างเร็ว คือ แล่นไปในอารมณ์ที่จิตนึก ไม่ว่าจิตจะนึกเรื่องอะไรขณะหนึ่งและดับไป โลภมูลจิตจะแล่นไปหรือไปอย่างเร็ว ในอารมณ์นั้น ไม่รั้งรอเลยที่จะเป็นโลภะ โลภมูลจิตซึ่งเกิดต่อจากมโนทวาราวัชชนจิตจะเกิดดับสืบต่อกัน ๗ ขณะ เป็นการที่จะสามารถรู้ลักษณะของจิตที่กำลังชอบหรือ ไม่ชอบ เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล เพราะว่าเกิดดับซ้ำกัน ๗ ขณะ และเป็นจิตที่ไปอย่างเร็ว คือ แล่นไปตามอารมณ์ที่มโนทวาราวัชชนจิตนึก
ทุกคนที่คิดเรื่องต่างๆ ทุกคืน ทุกวัน ถ้าระลึกจะรู้ได้ว่า ขณะนั้นเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ถ้าคิดถึงเรื่องที่สนุกสนานน่าเพลิดเพลิน ขณะนั้นก็เป็นความรู้สึกที่สบาย เป็นสุข ถ้าคิดถึงเรื่องที่ไม่น่าสบายใจเลย เป็นทุกข์กังวลเดือดร้อน ขณะนั้นก็เป็น โทสมูลจิต และใครยับยั้งได้ที่จะไม่ให้จิตคิด ที่จะบอกว่า อย่าคิด ถ้าเรื่องไม่ดี เป็นทุกข์ก็อย่าคิด ห้ามไม่ได้เลย เพราะแล้วแต่อาวัชชนจิต คือ มโนทวาราวัชชนจิต ที่จะเกิดขึ้นนึกถึงอารมณ์อะไร และจิตที่เกิดต่อก็แล่นไปตามอารมณ์ที่จิตคิดนั้น อย่างรวดเร็วด้วยโลภมูลจิต หรือโทสมูลจิต หรือกุศลจิต
ถ้าใครอยากจะคิดเรื่องที่เป็นกุศล มีทางเดียว คือ สะสมการกระทำกุศลที่ กุศลจิตเกิดมากๆ จนกระทั่งเป็นปัจจัยให้มโนทวาราวัชชนจิตนึกถึงเรื่องนั้น และ กุศลจิตก็เกิดต่อได้
ท่านผู้ฟังท่านหนึ่งเล่าให้ฟังว่า ท่านซื้อกล้วยแขกไปถวายพระภิกษุด้วยความยินดี เห็นว่าเป็นอาหารที่ท่านไม่ค่อยได้ฉัน ต่อมาท่านก็ฝันว่า ท่านเคยซื้อกล้วยแขกไปถวายพระ ทำไมไม่ซื้ออีกล่ะ ในฝันท่านคิดอย่างนั้น เพราะฉะนั้น วันรุ่งขึ้นท่านก็ ซื้อกล้วยแขกไปถวายพระอีก
แสดงให้เห็นว่า กุศลที่ทำบ่อยๆ หรือที่ทำด้วยความปลาบปลื้ม หรืออาจจะเป็นกุศลพิเศษ อย่างกล้วยแขกก็คงไม่มีใครคิดที่จะถวายพระภิกษุ แต่เมื่อผู้ใดได้ถวาย ผู้นั้นก็เกิดจิตที่ทำให้ปลาบปลื้มว่า เราได้ถวายสิ่งซึ่งคนส่วนใหญ่คงจะไม่ค่อยถวาย ท่านคงจะไม่ค่อยได้ฉัน จึงเป็นปัจจัยให้ฝันเป็นกุศล และผลก็คือทำให้เกิดกุศลต่อไป คือ วันต่อไปท่านก็ซื้อกล้วยแขกถวายพระภิกษุอีก
ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตาจริงๆ แม้แต่ความคิด มโนทวาราวัชชนจิตจะเกิดขึ้นคิดอะไร ก็เป็นไปตามการสะสม
คืนนี้ทุกคนก็จะฝัน ขณะที่ฝันก็คงไม่รู้ว่า มโนทวาราวัชชนจิตคิดแต่ละเรื่อง แล้วแต่ว่าในฝันนั้นบางขณะก็เป็นโลภะ บางขณะก็เป็นโทสะ บางขณะก็เป็นกุศล เพราะฉะนั้น ความฝันของแต่ละคนก็จะพิจารณาได้ว่า เป็นโลภะมาก หรือโทสะมาก หรือเป็นกุศลมาก แต่ยับยั้งไม่ได้ และแม้ไม่ใช่ความฝันก็ยังยับยั้งไม่ได้ ไม่ใช่ยับยั้งไม่ได้เฉพาะในขณะที่ฝัน แต่แม้ไม่ฝันก็ไม่มีใครสามารถให้มโนทวาราวัชชนจิตเกิด นึกคิดแต่ในเรื่องที่จะทำให้สบายใจ หรือเป็นกุศล เพราะว่าสภาพธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค อรรถกถาจริยานานัตตญาณนิทเทส ข้อ ๑๖๕ มีข้อความว่า
ชื่อว่าอาวัชชนะ เพราะอรรถว่า นำออกไปจากสันตาน (การสืบต่อ) อันเป็นภวังค์ แล้วนึก คือ น้อมไปสู่อารมณ์
จะต้องนึกกันอีกมากมายเหลือเกินในสังสารวัฏฏ์ แต่ถ้าทราบว่า ขณะใด เป็นจิตประเภทใดก็ยังดี คือ ให้รู้ว่าขณะที่นึกเป็นจิตประเภทหนึ่ง ไม่ใช่โลภมูลจิต โทสมูลจิต แต่เป็นจิตที่ทำอาวัชชนกิจ ซึ่งมี ๒ ดวง คือ ถ้าเป็นเพียงการนึกถึงอารมณ์ทางใจ ขณะนั้นไม่ใช่อารมณ์ที่มากระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่ใจนึกถึงอารมณ์ขณะนั้นเป็นมโนทวาราวัชชนจิต และถ้าขณะใดที่อารมณ์กระทบตา ทำให้เกิดนึกถึงอารมณ์ที่กระทบตา ขณะนั้นเป็นปัญจทวาราวัชชนจิตที่นึกถึงรูปารมณ์ที่กระทบตา ถ้าเป็นทางหู เสียงกระทบหูขณะใด การที่เสียงกระทบหูเป็นปัจจัยให้ปัญจทวาราวัชชนจิตเกิดขึ้นนึกถึงเสียง
เพราะฉะนั้น จิตที่ทำอาวัชชนกิจ มี ๒ ดวง คือ มโนทวาราวัชชนจิต นึกถึงอารมณ์ทางใจ ๑ ดวง และปัญจทวาราวัชชนจิต นึกถึงอารมณ์ที่กระทบตา กระทบหู กระทบจมูก กระทบลิ้น กระทบกาย ๑ ดวง ก่อนที่วิถีจิตอื่นๆ จะเกิด เช่น ทางใจ ก่อนที่โลภะจะเกิด โทสะจะเกิดเป็นไปในอารมณ์ต่างๆ ก่อนที่จะฝันเป็นเรื่องราว ต่างๆ มโนทวาราวัชชนจิตจะเกิดเพียงขณะเดียวและดับไป หลังจากนั้นจิตที่เกิดต่อ ก็แล่นตามอารมณ์นั้น ซึ่งจิตที่เกิดต่อ คือ กุศลจิต หรืออกุศลจิต ทำชวนกิจ คือ แล่นตามอารมณ์ที่มโนทวาราวัชชนจิตนึก
เป็น ๔ กิจแล้ว คือ ปฏิสนธิกิจ ๑ ภวังคกิจ ๑ อาวัชชนกิจ ๑ และชวนกิจ ๑
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๘๐ ตอนที่ ๑๗๙๑ – ๑๘๐๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1752
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1753
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1754
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1755
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1756
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1757
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1758
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1759
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1760
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1761
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1762
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1763
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1764
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1765
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1766
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1767
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1768
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1769
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1770
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1771
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1772
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1773
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1774
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1775
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1776
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1777
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1778
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1779
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1780
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1781
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1782
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1783
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1784
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1785
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1786
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1787
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1788
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1789
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1790
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1791
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1792
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1793
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1794
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1795
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1796
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1797
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1798
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1799
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1800
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1801
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1802
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1803
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1804
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1805
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1806
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1807
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1808
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1809
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1810
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1811
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1812
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1813
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1814
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1815
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1816
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1817