แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1798
ครั้งที่ ๑๗๙๘
ที่ห้องประชุมตึกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
วันอาทิตย์ที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๓๑
ก่อนที่จะเติบโตออกจากครรภ์มารดา มโนทวารวิถีจิตก็เกิดมากมายนับไม่ถ้วน เพราะฉะนั้น บางท่านอาจจะเห็นหลังจากที่เด็กคลอดจากครรภ์มารดาแล้ว บางครั้ง ก็ยิ้ม แสดงให้เห็นว่า ในขณะนั้นต้องนึกถึงเรื่องที่ทำให้เกิดโสมนัส ความรู้สึกที่เป็นสุข แม้ว่าจะหลับตาบางคนก็ยังยิ้ม แสดงว่าขณะนั้นมโนทวาราวัชชนจิตเกิด นึก ต่อจากนั้นโสมนัสเวทนาที่เกิดกับโลภมูลจิต หรืออาจจะเป็นมหากุศลจิตที่เกิดกับโสมนัสเวทนาเกิดก็ได้ โดยที่ไม่มีใครรู้ เพราะว่าขณะใดก็ตามที่ไม่มีการรู้อารมณ์ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ขณะนั้นเป็นมโนทวารวิถีจิต สลับกับภวังคจิต
ขณะใดที่ไม่รู้อารมณ์ใดเลยทั้งสิ้น ขณะนั้นเป็นภวังค์ แต่ขณะใดที่ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส แต่คิดนึก ขณะนั้นเป็นวิถีจิต ทางใจ เป็นมโนทวารวิถีจิต
สำหรับกิจ ๔ กิจ คงไม่ต้องท่อง ใช่ไหม ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ อาวัชชนกิจ ชวนกิจ นี่เป็นเรื่องทางใจ ต่อไปเป็นเรื่องทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย
โลภมูลจิตในภูมิที่มีขันธ์ ๕ ต้องเกิดที่รูป และขณะใดที่ไม่ใช่จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ จิตอื่นทั้งหมดต้องเกิด ที่หทยวัตถุ
เมื่อหทยวัตถุเกิดแล้วก็มีอายุ ๑๗ ขณะของจิตและก็ดับ แล้วแต่ว่าหทยวัตถุนั้นจะเป็นที่เกิดของจิตประเภทใด ขณะที่มโนทวาราวัชชนจิตเกิดนึกถึงอารมณ์ ขณะนั้นต้องเกิดที่หทยวัตถุ และหลังจากที่มโนทวาราวัชชนจิตดับลง ขณะที่เป็นโลภมูลจิตขณะนั้นก็ต้องเกิดที่หทยวัตถุ แต่หทยวัตถุไม่ใช่ทวาร ไม่ใช่ทางที่จิตจะเกิดขึ้นรู้อารมณ์ เป็นแต่เพียงที่เกิดของจิต
ความสัมพันธ์ของรูป คือ รูปซึ่งที่เป็นที่เกิดของจิตมี ๖ รูป ได้แก่ หทยวัตถุรูป เป็นที่เกิดของจิตส่วนใหญ่ นอกจากนั้นก็มีจักขุปสาทรูปเป็นที่เกิดของจักขุวิญญาณ ๒ ดวง โสตปสาทรูปเป็นที่เกิดของโสตวิญญาณ ๒ ดวง ฆานปสาทรูปเป็นที่เกิดของฆานวิญญาณ ๒ ดวง ชิวหาปสาทรูปเป็นที่เกิดของชิวหาวิญญาณ ๒ ดวง กายปสาทรูปเป็นที่เกิดของกายวิญญาณ ๒ ดวง นี่คือรูปซึ่งเป็นที่เกิดของจิต
ถ. ปฏิสนธิจิตเกิดแล้วเป็นภวังคจิต จากภวังคจิตเป็นอตีตภวังค์ จาก อตีตภวังค์เป็นภวังคจลนะ จากภวังคจลนะเป็นภวังคุปัจเฉทะ จากนั้นก็เป็น ทวาราวัชชนจิต ต่อไปเป็นทวิปัญจวิญญาณ หลังจากนั้นเป็นสัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ โวฏฐัพพนะ และก็เป็นชวนจิตที่เกิดเป็นโลภะ โทสะ ๗ ขณะ จากนั้นเป็นตทาลัมพนะ และจากตทาลัมพนะก็เป็นภวังคจิตอีก และก็เป็นมโนทวาราวัชชนจิตอีก จากมโนทวาราวัชชนจิตจะกลับไปเป็นสัมปฏิจฉันนะอะไรพวกนี้อีกหรือเปล่า
สุ. ไม่ใช่ วิถีจิตที่กล่าวถึงตั้งแต่อตีตภวังค์ ภวังคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะ และปัญจทวาราวัชชนะ ปัญจวิญญาณ สัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ โวฏฐัพพนะ ชวนะ ตทาลัมพนะ นั่นคือขณะที่รูปกระทบกับตาและจิตเกิดขึ้นเห็นสิ่งที่กำลังปรากฏ หรือเสียงกระทบกับหูและจิตเกิดขึ้นได้ยินเสียงที่กำลังปรากฏ หรือขณะที่กลิ่นกระทบกับจมูกและจิตเกิดขึ้นรู้กลิ่น หรือขณะที่รสกระทบลิ้นและจิตเกิดขึ้นลิ้มรส หรือขณะที่โผฏฐัพพะเย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหวกระทบกายและจิตเกิดขึ้นรู้เย็นร้อน อ่อนแข็ง ตึงไหวที่กระทบกาย นี่คือเรื่องของปัญจทวารวิถี
แต่สำหรับมโนทวารวิถี ไม่ใช่ขณะที่สิ่งที่ปรากฏทางตายังไม่ดับ ไม่ใช่การรู้เสียงที่ยังไม่ดับ มโนทวารวิถีจิตกับปัญจทวารวิถีจิต ต่างกันที่ปัญจทวารวิถีจิต ทางตา วิถีจิตทั้งหมดมีรูปที่ยังไม่ดับเป็นอารมณ์ ถ้าเป็นทางหู วิถีจิตทั้งหมดก็รู้เสียง ที่ยังไม่ดับ นี่คือโสตทวารวิถี ถ้าเป็นทางจมูก ขณะที่กำลังได้กลิ่น จิตทั้งหมดที่เป็นฆานทวารวิถีจิต อาศัยฆานปสาทรูปเกิด ต้องรู้กลิ่นที่ยังไม่ดับ แต่ทางมโนทวารวิถีไม่ใช่จิตที่กำลังรู้รูปที่กระทบตาที่ยังไม่ดับ ถ้าเป็นอย่างนั้นวิถีจิตต้องเป็น จักขุทวารวิถีจิต มโนทวารวิถีจิตไม่ใช่โสตทวารวิถีจิต เพราะว่าโสตทวารวิถีจิต ต้องเป็นวิถีจิตทั้งหมดที่กำลังรู้เสียงที่ยังไม่ดับ แต่มโนทวารวิถีจิตไม่ใช่อย่างนั้น
ถ. เมื่อมโนทวารวิถีจิตดับไปแล้ว ก็เป็นชวนจิตที่เกี่ยวกับโลภะ โทสะ ใช่หรือเปล่า
สุ. เวลาที่มโนทวารวิถีจิตจะเกิด ก่อนนั้นต้องเป็นภวังค์ และการที่จิต จะเกิดขึ้นนึกถึงอารมณ์ ภวังค์ต้องไหว เป็นภวังคจลนะ ไม่มีอตีตภวังค์ เพราะการที่กล่าวถึงอตีตภวังค์เพื่อเป็นเครื่องหมายให้รู้ว่า ปสาทรูปเกิดพร้อมกับรูปที่กระทบ ปสาทรูป เกิดพร้อมกัน และรูปนั้นจะมีอายุ ๑๗ ขณะ ในระหว่าง ๑๗ ขณะที่รูป ยังไม่ดับจะมีจิตประเภทใดเกิดขึ้นบ้างจนกระทั่งรูปดับ และเป็นภวังคจิต หลังจากนั้น มโนทวารวิถีจิตจึงจะเกิด เพราะฉะนั้น มโนทวารวิถีต้องแยกออกจากปัญจทวารวิถี อย่าปนกัน ถ้ายังไม่เข้าใจเรื่องของปัญจทวารวิถีและมโนทวารวิถี ก็คิดว่ามโนทวารวิถีเป็นปัญจทวารวิถีนั่นเอง หรือคิดว่าปัญจทวารวิถีเป็นมโนทวารวิถี เมื่อโลภมูลจิตเกิด โทสมูลจิตเกิด
ก่อนที่จะถึงทางปัญจทวารวิถี ก็ขอกล่าวถึงตั้งแต่ปฏิสนธิ ภวังค์ และวิถีจิตวาระแรกที่ต้องเป็นมโนทวารวิถีก่อน เพราะว่าการเกิดในสังสารวัฏฏ์มีความยินดีพอใจในภพชาติ หลังจากที่ปฏิสนธิจิตดับไป ภวังคจิตดับไป จะมีการนึกถึงอารมณ์ซึ่งไม่ใช่อารมณ์ของภวังค์ เป็นมโนทวารวิถีจิตเกิด มีความยินดีพอใจในภพชาติที่กำลังเป็นอยู่ จึงไม่มีปัญจทวาราวัชชนจิต ไม่มีจักขุวิญญาณ ไม่มีสัมปฏิจฉันนะ ไม่มีสันตีรณะ ไม่มีโวฏฐัพพนะ
ทางมโนทวารวิถี ทันทีที่มโนทวาราวัชชนจิตซึ่งทำอาวัชชนกิจดับลง โลภมูลจิตหรือโทสมูลจิต หรือกุศลจิตเกิดขึ้นแล่นไปซ้ำกัน ๗ ขณะ ซึ่งมโนทวาราวัชชนจิต ที่เป็นมโนทวารวิถีจิตขณะแรกเกิดขึ้นเพียงขณะเดียว แต่เมื่อดับไปแล้ว โลภมูลจิตเกิด ๗ ขณะ หรือโทสมูลจิตเกิด ๗ ขณะ หรือกุศลจิตเกิด ๗ ขณะ ทำชวนกิจ ที่ใช้คำว่า แล่นไป ตามไปเร็ว คือ ชวนกิจ กิจที่แล่นไปตามที่จิตนึกอย่างรวดเร็ว ไม่รีรอเลยที่จะพอใจหรือไม่พอใจในอารมณ์ที่จิตคิด นี่คือมโนทวารวิถี
การที่กล่าวถึงมโนทวารวิถีก่อน อาจจะทำให้เข้าใจปัญจทวารวิถีซึ่งจะเกิดภายหลัง หรือในชีวิตประจำวันแม้ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ก็ยังนึกทางใจ หรือในขณะที่ กำลังเห็น บางคนก็ไม่สนใจในสิ่งที่เห็น กลับคิดนึกเรื่องอื่น เพราะว่ามโนทวารวิถีจิตเกิด โดยมโนทวาราวัชชนจิตนึกถึงเรื่องนั้น และโลภมูลจิต หรือโทสมูลจิต หรือ มหากุศลจิตก็เกิดต่อ ไม่ได้คิดถึงสิ่งที่ปรากฏทางตา หรือในขณะที่ได้ยินเสียงมีคนถาม แต่ไม่ได้สนใจในเสียงที่ได้ยิน เพราะว่ามโนทวารวิถีจิตเกิด โดยมโนทวาราวัชชนจิต นึกถึงเรื่องหนึ่งเรื่องใด และกุศลจิตหรืออกุศลจิตก็แล่นตามอารมณ์ที่ มโนทวาราวัชชนจิตนึก ทำให้ไม่รู้ว่าพูดอะไร เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า บางคนถาม และอีกคนหนึ่งไม่สามารถตอบได้ เพราะว่าขณะนั้นมโนทวาราวัชชนจิตนึกถึงอารมณ์อื่น และโลภมูลจิตบ้าง โทสมูลจิตบ้าง มหากุศลจิตบ้าง ก็แล่นตามอารมณ์ที่ มโนทวาราวัชชนจิตนึก
ถ. รู้ธรรมารมณ์ คือ รู้นาม รู้รูป หรือรู้บัญญัติ คนที่เพิ่งเกิดมาไม่เคยเห็น ไม่เคยได้ยิน ไม่เคยมีเรื่องอะไรมาก่อน มโนทวารจะมีเรื่องอะไรให้คิดนึก จะมีอารมณ์ได้อย่างไร
สุ. ที่ว่า ไม่เคยเห็น ไม่เคยได้ยินเลยในสังสารวัฏฏ์ เป็นไปได้ไหม เรื่องค้างทั้งนั้นเลยที่คิด ไม่ยอมปล่อย ทั้งๆ ที่รูปที่ปรากฏทางตาดับจริงๆ เสียงที่ปรากฏทางหูก็ดับจริงๆ แต่ยังค้างอยู่ในใจ เพราะสัญญาจำ แม้ว่ารูปนั้นจะดับแล้ว ไม่เห็น แต่ยังนึกถึงรูปที่เคยเห็น เสียงนั้นก็ดับแล้ว แต่ก็ยังนึกถึงเสียงที่เคยได้ยินได้ กลิ่นก็ดับแล้ว แต่ก็ยังนึกถึงกลิ่นได้ นอกจากนั้นยังคิดถึงเรื่องของสีที่ปรากฏทางตา นึกถึงเรื่องเสียงที่ได้ยินทางหู นึกถึงเรื่องกลิ่น มีใครอยากได้กลิ่นหอมๆ บ้างไหม วันนี้ต้องการกลิ่นชนิดไหน นั่นคือการนึกถึงเรื่องกลิ่นแล้ว นึกถึงเรื่องรสเป็นประจำ จะรับประทานอะไร ขณะที่กำลังลิ้มรส รสก็ดับอย่างรวดเร็ว แต่ยังจำได้ว่าลิ้มรสอะไร และยังอยากจะลิ้มอย่างนั้นอีกเมื่อไร จะปรุงแต่งรสนั้นอย่างไร
รูปดับไปจริง ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย แต่ใจ ซึ่งติดตามไม่ลืมเรื่องนั้น ยังนึกถึงเรื่องและรูปนั้นๆ อยู่ เพราะฉะนั้น จะกล่าวว่า ไม่เคยเห็น ไม่เคยได้ยินอะไรในสังสารวัฏฏ์ เป็นไปไม่ได้เลย และโดยมากในทุกๆ วันเป็นความพอใจ ขอให้มีอะไรเกิดขึ้นเถิด มีความต้องการที่จะเห็น หรือต้องการที่จะ ได้ยิน ต้องการที่จะได้กลิ่น ต้องการที่จะลิ้มรส ต้องการที่จะกระทบสัมผัส บางที เห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่ทราบว่าอ่อนหรือแข็ง อยากจะรู้ไหม ต้องจับ เพื่อที่จะได้รู้ว่า อ่อนหรือแข็ง หรือว่าเย็นไหม ร้อนไหม
นี่เป็นเรื่องของการที่จะต้องมีความยินดีพอใจในสิ่งที่ปรากฏเสมอ
เมื่อการสะสมความยินดีพอใจในแต่ละวัน ในแต่ละภพ ในแต่ละชาติ หลังจากที่ปฏิสนธิจิตเกิดและดับไป ภวังคจิตเกิดและดับไปเป็นกระแสของภวังค์ จนกว่าวิถีจิตจะเกิดขึ้นนึกถึงอารมณ์หนึ่งอารมณ์ใด แต่จะต้องแยกประเภทของจิตว่า จิตที่เป็นวิบากทำกิจอะไรบ้าง และจิตที่ไม่ใช่วิบากทำกิจอะไร มิฉะนั้นก็สับสนปนกัน คือ เอาจิตที่ไม่ใช่วิบากมาเป็นวิบาก อย่างบางคนเข้าใจว่า กุศลจิต อกุศลจิตเกิดขึ้นเพราะกรรม ทำกรรมมาจึงต้องคิดอย่างนี้ แต่ที่จริงไม่ใช่ เข้าใจว่า อกุศลจิตเป็นวิบาก ทำกรรมมาไม่ดีจึงต้องคิดไม่ดี เป็นโลภะบ้าง เป็นโทสะบ้าง แต่ไม่ใช่ เพราะว่า กรรมไม่ดีคืออกุศลกรรม ทำให้วิบากจิตเกิดขึ้นเห็น ขณะที่เห็นเป็นวิบาก แต่ขณะที่ชอบหรือไม่ชอบในสิ่งที่เห็น จิตที่ชอบหรือไม่ชอบนั้นไม่ใช่วิบาก แต่เป็นตัวเหตุที่จะ ให้เกิดกรรม ซึ่งจะทำให้เกิดผล คือ วิบาก
การศึกษาเรื่องจิต ต้องศึกษาโดยประเภทว่า เป็นชาติอะไร เป็นกุศล หรือ เป็นอกุศล หรือเป็นวิบาก หรือเป็นกิริยา และจิตนั้นทำกิจอะไร เพื่อที่จะรู้ว่า ขณะใดรู้สึกตัว และขณะใดไม่รู้สึกตัว
ถ. ภวังคจิตทางปัญจทวารไหวตามอารมณ์ที่มากระทบเป็นปัจจุบัน ถูกต้องไหม
สุ. อารมณ์นั้นเกิดขึ้นและยังไม่ดับ
ถ. ทางมโนทวาร ภวังคจิตไหวได้อย่างไร
สุ. รับรู้ต่อ ตามอารมณ์ของปัญจทวาร เมื่อปัญจทวารวิถีจิตดับไป เช่น จักขุทวารวิถีจิตดับไป ภวังคจิตเกิด ต่อจากนั้นมโนทวารวิถีจิตจะนึกถึงสีที่ปรากฏทางปัญจทวารต่อทันที ทางมโนทวารวิถีจิตจะต้องเกิดสืบต่อจากทางปัญจทวารวิถี หลังจากที่ภวังคจิตคั่นแล้ว มิฉะนั้นแล้วจะไม่รู้ว่าสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นอะไร ที่รู้นั้นเป็นทางมโนทวาร เพราะว่าทางจักขุทวารเพียงเห็น โดยยังไม่รู้ว่า สิ่งที่ปรากฏเป็นอะไร ยังไม่รู้ความหมายของสิ่งที่ปรากฏ
การที่จะถ่ายถอนความสำคัญที่ยึดถือสิ่งที่ปรากฏว่า เป็นสัตว์ เป็นบุคคล ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลย โดยขั้นของปริยัติ คือ การฟัง ซึ่งการฟังมากๆ เป็นพหูสูต จะทำให้เข้าใจชัดถึงความต่างกันของจิตแต่ละประเภทที่เกิดในขณะที่เห็น หรือ ในขณะที่นึกถึงสิ่งที่เห็น
ถ้าใช้คำว่า ทวาร หมายความถึงทางที่จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์อื่นที่ไม่ใช่อารมณ์ของภวังค์ ทุกครั้งที่จิตประเภทหนึ่งประเภทใดเกิด สอบความเข้าใจของตนเองได้เลยว่า ในขณะนั้นจิตเกิดโดยอาศัยทางไหน
อภิธัมมัตถสังคหะ วิภาวินีฎีกา ปริจเฉทที่ ๓ มีข้อความว่า
ชื่อว่าทวาร เพราะอรรถว่า เป็นเหมือนประตู เพราะความเป็นทางแห่งความเป็นไปของอรูปธรรมทั้งหลาย
ถ้าเป็นแต่เพียงปฏิสนธิดับไป และเป็นภวังค์ เป็นกระแสภวังค์อยู่เรื่อยๆ โดยไม่มีการรู้อารมณ์อื่นเลย ก็ไม่เดือดร้อนอะไร แต่ที่จะต้องเห็นบ้าง ได้ยินบ้าง ได้กลิ่นบ้าง ลิ้มรสบ้าง คิดนึกบ้าง จะต้องอาศัยทวาร ซึ่งทั้งหมดมี ๖ ทาง เป็นรูป ๕ ทาง และเป็นจิต ๑ ทาง
เรื่องของทวารกับเรื่องของวัตถุนั้น ต่างกัน วัตถุ คือ ที่เกิดของจิต แต่ทวาร เป็นทางที่เหมือนประตูที่จิตจะเกิดขึ้นเป็นไป
วัตถุที่เกิดของจิตเป็นรูปทั้งหมด มี ๖ รูป แต่ทวารซึ่งเป็นทางที่จิตจะเกิดขึ้น รู้อารมณ์ก็มี ๖ แต่เป็นรูป ๕ เป็นนาม ๑ คือ จักขุปสาทเป็นจักขุทวาร โสตปสาท เป็นโสตทวาร ฆานปสาทเป็นฆานทวาร ชิวหาปสาทเป็นชิวหาทวาร กายปสาท เป็นกายทวาร เป็นรูป ๕ ทวาร ส่วนมโนทวาร ได้แก่ ภวังคุปัจเฉทะซึ่งเกิดก่อนวิถีจิตทางใจ
ถ้าจะทบทวนกิจทั้งหมด ๑๔ กิจ คงจะไม่ลืม เพราะว่าเมื่อกี้ก็มีท่านผู้ฟังที่กล่าวถึงกิจต่างๆ เกือบจะครบ คือ กิจที่ ๑ ปฏิสนธิกิจ ไม่ใช่วิถีจิต กิจที่ ๒ ภวังคกิจ ไม่ใช่วิถีจิต เพราะว่าไม่ต้องอาศัยทวารหนึ่งทวารใดรู้อารมณ์ กิจที่ ๓ อาวัชชนกิจ เป็นวิถีจิตขณะแรก มี ๒ ดวง คือ ปัญจทวาราวัชชนจิต เป็นวิถีจิตแรกทางปัญจทวาร และมโนทวาราวัชชนจิต เป็นวิถีจิตแรกทางมโนทวาร
ถ้าจะเรียงลำดับทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ กิจที่ ๔ ก็คือ ทัสสนกิจ ได้แก่ จักขุวิญญาณทำกิจเห็น ต้องอาศัยจักขุปสาท
ถ้ากล่าวถึงจักขุวิญญาณ คือ จิตที่กำลังเห็นในขณะนี้ ทุกท่านก็ตอบได้ว่า เป็นวิถีจิต เพราะไม่ใช่ภวังค์ และทุกท่านก็ตอบได้ด้วยว่า เป็นจักขุทวารวิถีจิต เพราะว่าเป็นจิตที่อาศัยจักขุปสาทเกิดขึ้น และถ้าศึกษาโดยละเอียดต่อไปก็จำได้ว่า จักขุวิญญาณเกิดที่จักขุปสาทรูปนั่นเอง
เพราะฉะนั้น สำหรับจักขุวิญญาณ มีจักขุปสาทรูปเป็นทวาร เป็นทางเกิดขึ้นเห็นสิ่งที่ปรากฏ และอาศัยจักขุปสาทรูปเป็นวัตถุ คือ เป็นที่เกิด
จักขุวิญญาณในขณะที่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ ชั่วขณะจิตเดียวที่เกิดขึ้นเห็น จิตนั้นเกิดขึ้นที่จักขุปสาท และเห็นสิ่งที่กระทบกับจักขุปสาท นี่เป็นกิจที่ ๔ ทัสสนกิจ
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๘๐ ตอนที่ ๑๗๙๑ – ๑๘๐๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1752
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1753
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1754
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1755
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1756
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1757
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1758
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1759
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1760
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1761
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1762
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1763
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1764
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1765
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1766
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1767
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1768
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1769
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1770
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1771
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1772
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1773
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1774
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1775
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1776
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1777
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1778
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1779
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1780
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1781
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1782
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1783
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1784
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1785
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1786
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1787
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1788
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1789
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1790
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1791
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1792
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1793
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1794
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1795
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1796
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1797
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1798
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1799
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1800
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1801
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1802
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1803
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1804
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1805
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1806
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1807
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1808
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1809
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1810
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1811
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1812
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1813
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1814
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1815
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1816
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1817