แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1814
ครั้งที่ ๑๘๑๔
สาระสำคัญ
อถ.ขุ.ชัมพุกเถรคาถา - การสะสมอนุสัยกิเลสของแต่ละบุคคล ประมาทกิเลสไม่ได้
การศึกษาเรื่องของจิต ชาติ ภูมิ อารมณ์และกิจของจิต
ที่ห้องประชุมตึกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
วันอาทิตย์ที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๓๑
ทุกคนที่กำลังเป็นภวังคจิต คือ ในขณะที่นอนหลับสนิท จะไม่ทราบเลยว่า วิบากที่จะเกิดในวันต่อไปจะเป็นอย่างไร จะเห็นอะไร จะได้ยินอะไร หรือจะมี ความสำคัญตน จะมีความริษยา จนกระทั่งกระทำกรรมที่ทำให้บริโภคมูตรและคูถ อย่างท่านชัมพุกเถระ ก็ไม่มีใครทราบ
ท่านชัมพุกเถระเป็นผู้ที่ทำทานและได้สร้างบุญในพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ เป็นอันมาก แต่แม้กระนั้นก็ประมาทกิเลสไม่ได้เลย เหมือนกับที่ ทุกท่านเกิดมาจนถึงวัยนี้ ตอนที่เป็นเด็กก็ไม่ทราบว่า เมื่อท่านเติบโตขึ้น ท่านจะผ่านเหตุการณ์อะไรบ้างในชีวิตแต่ละวัน จนกระทั่งแม้ในขณะนี้ก็ยังไม่ทราบว่า พรุ่งนี้ จะเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้น ทุกท่านก็เป็นผู้ที่เจริญกุศลทุกประการที่ควรเจริญได้ เมื่อมีโอกาสที่จะเจริญ
ถ. เรื่องของพระชัมพุกะก่อนที่ท่านจะบรรลุ ท่านประพฤติผิดเพราะรับผลของอกุศลกรรม คือ กินคูถและมูตร ขณะที่เป็นอกุศลวิบากเป็นเพียงอุเบกขาเวทนา ทำไมจึงรู้สึกยินดีในการปฏิบัติผิดๆ วิบากก็เป็นเพียงผลของกรรมซึ่งไม่สามารถทำให้เห็นผิดได้ แสดงว่าท่านติดในรส ใช่ไหม
บุคคลที่ไม่ได้เจริญกุศลในเรื่องเหล่านี้ ขณะที่รสปรากฏก็ดี หรือสิ่งที่ปรากฏทางตาปรากฏ ก็ไม่มีปัญญาที่จะพิจารณา การที่จะเกิดอกุศลกรรมความเห็นผิด ในชวนะได้ ก็เพราะสติไม่เกิดขึ้นรู้จักวิบากจริงๆ ซึ่งเป็นผลของกรรม ใช่ไหม
สุ. ขณะนั้นท่านยังไม่ได้ฟังพระธรรมในชาตินั้น แต่ท่านได้สะสมความ เห็นถูกในพระธรรมของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ เพียงการประมาทที่ทำให้กิเลสกำเริบด้วยความริษยา ทำให้ท่านได้กระทำกรรมซึ่งมีผลทำให้มีความ โน้มเอียงที่จะยินดีพอใจในสิ่งซึ่งไม่น่าจะยินดีพอใจ แต่เมื่อได้ฟังพระธรรมแล้ว ท่าน ก็ได้เป็นพระโสดาบัน และในเวลาต่อมาไม่นานท่านก็ได้เป็นพระอรหันต์ แต่ถ้า ท่านไม่ได้ฟังพระธรรม ก็ไม่มีโอกาสได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรม
เป็นเรื่องของการสะสมทั้งฝ่ายกุศลและฝ่ายอกุศล แสดงให้เห็นว่า ตราบใดที่ยังไม่ได้ฟังพระธรรม ก็จะมีการคิดวิจิตรต่างๆ และมีการกระทำที่วิจิตรต่างๆ ไปในทางอกุศลได้ ตามกำลังของการสะสมของอกุศลในอดีต จนกว่าจะได้ฟัง พระธรรมเมื่อไร เมื่อนั้นก็จะได้ทราบว่า การสะสมของแต่ละบุคคลนั้นยังเหนียวแน่นหนาแน่นกั้นที่จะให้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกิดหรือเปล่า อย่างเช่นพวกเดียรถีย์ ที่มีความเห็นอื่น เมื่อฟังพระธรรมแล้วไม่ยอมเลื่อมใสก็มี นั่นก็แสดงถึงความต่างกันของการสะสม
ถ. ท่านพระชัมพุกะ หลังจากที่ท่านสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ภวังคจิตของท่านจะมีอารมณ์เหมือนภวังคจิตก่อนที่จะได้เป็นพระอรหันต์หรือเปล่า
สุ. สำหรับอารมณ์ไม่เปลี่ยน แต่อนุสัยกิเลสไม่มีเลย ดับหมด ไม่ใช่แต่เฉพาะอนุสัยกิเลสเท่านั้น แม้กิเลสทั้งหมดก็ต้องดับ เพราะว่าเมื่อดับอนุสัยกิเลสแล้ว กิเลสอื่นก็เกิดไม่ได้
ถ. ภวังคจิต ถึงแม้ว่าจะเป็นพระอรหันต์ ก็ต้องมีอารมณ์เหมือนกับอารมณ์ปฏิสนธิ
สุ. อารมณ์ไม่เปลี่ยน แต่กิเลสดับหมด
ถ. จิตของพระอรหันต์ที่เป็นภวังคจิต ขณะที่จิตเป็นภวังค์ ยังมีสติอยู่ไหม
สุ. ถ้ากล่าวถึงสติเจตสิกต้องมี เพราะว่าโสภณเจตสิกเป็นกุศลก็ได้ เป็นวิบากก็ได้ เป็นกิริยาก็ได้ ถ้าปฏิสนธิเป็นมหาวิบาก ต้องมีโสภณเจตสิกเกิด ร่วมด้วย ซึ่งโสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ดวง ต้องมีสติเจตสิกรวมอยู่ด้วย
ขณะใดที่เป็นวิถีจิต ขณะนั้นไม่ใช่ภวังคจิต วิถีจิตหมายความถึงจิตที่เกิดขึ้น รู้อารมณ์อื่นซึ่งไม่ใช่อารมณ์ของภวังค์ เพราะฉะนั้น ที่ทุกท่านกล่าวว่า แต่ละคนก็มี วิถีชีวิตต่างๆ กัน วิถีชีวิตก็คือวิถีจิตนั่นเอง
ขณะใดที่มีการเห็นต่างกัน มีการได้ยินต่างกัน มีโลภะต่างกัน มีกุศลต่างกัน มีอกุศลต่างกัน นั่นคือวิถีจิตซึ่งเกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางตาต่างกัน ทางหูต่างกัน ทางจมูกต่างกัน ทางลิ้นต่างกัน ทางกายต่างกัน และทางใจที่คิดนึกต่างกัน
ถ้าย่อวิถีชีวิตทั้งหมดออกมา ก็คือวิถีจิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางทวารต่างๆ ซึ่งแต่ละคนเหมือนกันไหม ถ้ากรรมต่างกัน วิถีชีวิตหรือวิถีจิตซึ่งเกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้น ก็ต่างกันไป บางท่านอาจจะเห็นสิ่งที่ทำให้เข้าใจผิด การได้ยินเรื่องราวต่างๆ ที่ทำให้เข้าใจผิดในข้อปฏิบัติ จนกว่ากุศลที่ได้กระทำแล้วในอดีตเป็นปัจจัยทำให้มีโอกาส ได้เห็นหรือได้ยินได้ฟังข้อปฏิบัติที่ถูก จะเห็นได้ว่า บางท่านก็มีข้อปฏิบัติที่ผิดมาก่อน และบางท่านก็เป็นผู้ที่มีข้อปฏิบัติที่ถูก ซึ่งนั่นก็ต้องเป็นไปตามวิถีชีวิตของแต่ละคน
การศึกษาเรื่องของจิตจะต้องเข้าใจด้วยว่า จิตที่ได้ยินได้ฟัง ไม่ว่าจะเป็น จักขุวิญญาณ หรือโสตวิญญาณ หรือกุศลจิต หรืออกุศลจิตก็ตาม ต้องรู้ว่าจิตนั้น เป็นชาติอะไร จิตนั้นเป็นภูมิอะไร จิตนั้นรู้อารมณ์ทางทวารไหน และจิตนั้นทำกิจอะไร จึงจะเป็นการเข้าใจลักษณะของจิตที่กำลังศึกษาจริงๆ ไม่ใช่เพียงแต่รู้จักว่า เป็นจักขุวิญญาณ แต่ต้องรู้ว่าจักขุวิญญาณ คือ จิตเห็นในขณะนี้ เป็นชาติวิบาก เป็นจิตที่เห็นสีที่ปรากฏทางตา เป็นจิตที่ทำทัสสนกิจ รู้อารมณ์ทางจักขุทวาร
ทางที่จิตจะเกิดขึ้นรู้อารมณ์อื่นที่ไม่ใช่อารมณ์เดียวกับภวังคจิต มี ๖ ทาง คือ ทางตา ๑ ทางหู ๑ ทางจมูก ๑ ทางลิ้น ๑ ทางกาย ๑ เป็นรูป ๕ ทาง หรือ ๕ ทวาร และทางใจ ๑ คือ ไม่ใช่ตา หู จมูก ลิ้น กาย แต่อาศัยใจ เกิดคิดนึกขึ้นขณะใด ขณะนั้นก็เป็นการรู้อารมณ์ทางมโนทวาร
สำหรับกิจที่ ๑ คือ ปฏิสนธิกิจ เป็นกิจขณะแรกของชาตินี้ซึ่งเป็นวิบากจิตประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นเพราะกรรมเป็นปัจจัย ทำให้ปฏิสนธิเป็นบุคคลหนึ่งบุคคลใด เมื่อดับไปแล้ว ภวังคจิตซึ่งทำภวังคกิจ กิจที่ ๒ ก็เกิดต่อ โดยที่ยังไม่รู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใดใน ๖ ทางนั้นเลย และในขณะที่เป็นภวังคจิตนั้น จะเป็นภวังคจิตตลอดไปไม่ได้ เพราะว่าจะต้องมีการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส หรือการคิดนึกทางใจ จึงต้องมีกิจอื่นซึ่งไม่ใช่ภวังคกิจ เพราะถ้ายังเป็นภวังคกิจ อยู่เรื่อยๆ ก็ไม่เห็น ไม่ได้ยิน เพราะฉะนั้น กิจที่ ๓ คือ อาวัชชนกิจ ในขณะนี้ก็มีจิตที่กำลังทำอาวัชชนกิจ เพราะว่าเมื่อภวังคจิตสิ้นสุดลงแล้ว ต้องมีวิถีจิตขณะแรกเกิดขึ้นทำอาวัชชนกิจ
สำหรับจิตที่ทำอาวัชชนกิจ เป็นวิถีจิตแรก เวลาที่มีการรู้อารมณ์แต่ละวาระ ทางหนึ่งทางใด มีวิถีจิตหลายประเภทเกิดดับสืบต่อกัน ไม่ใช่เป็นจิตประเภทเดียวเลย เช่น ขณะที่กำลังเห็น ท่านผู้ฟังอาจจะคิดว่ามีจักขุวิญญาณเห็นทันที และในขณะที่ ได้ยินในขณะนี้ ก็คิดว่ามีโสตวิญญาณเกิดขึ้นได้ยิน เพราะฉะนั้น ก็เข้าใจว่า มีจักขุวิญญาณและโสตวิญญาณเกิดสลับกันเท่านั้น แต่ความจริงไม่ใช่อย่างนั้น วิถีจิตที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์จะเป็นจิตหลายประเภทที่เกิดดับสืบต่อกัน โดยที่วิถีจิตแรก ทุกขณะซึ่งเปลี่ยนจากภวังค์ จะต้องทำอาวัชชนกิจ
จิตที่ทำอาวัชชนกิจ มี ๒ ดวง คือ ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง และ มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง
สำหรับปัญจทวาราวัชชนจิต ชื่อก็บอกแล้ว อาวัชชนะ และปัญจทวาร เพราะฉะนั้น จิตดวงนี้เป็นวิถีจิตแรกซึ่งเกิดขึ้นต่อจากภวังคจิต ไม่ว่าจะเป็นอตีตภวังค์ที่อารมณ์กระทบ หรือเป็นภวังคจลนะซึ่งไหวตามอารมณ์ที่กระทบ หรือเป็น ภวังคุปัจเฉทะซึ่งเป็นภวังคจิตดวงสุดท้าย ทั้งหมดนั้นทำกิจภวังค์ ยังไม่ได้เปลี่ยนเป็นกิจอื่นเลย ต่อเมื่อใดที่วิถีจิตแรกเกิดขึ้นจึงไม่ใช่ภวังคกิจ วิถีจิตแรกต้องเป็นอาวัชชนกิจ คือ จิตที่นึกถึงอารมณ์ที่กระทบทางหนึ่งทางใดใน ๖ ทาง
ถ้าเป็นอารมณ์ที่กระทบทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางหนึ่งทางใดใน ๕ ทาง ปัญจทวาราวัชชนจิตจะเกิดขึ้นนึกถึงอารมณ์ที่กระทบ
ถ้าใช้คำว่า นึกถึง อาจจะทำให้ท่านผู้ฟังเข้าใจสภาพของจิตได้ อย่างเวลานอน ทุกคนก็คิด ในขณะที่นึกถึงเรื่องหนึ่งเรื่องใดขณะนั้นเป็นวิถีจิต ไม่ใช่ภวังคจิต และ วิถีจิตแรก คือ อาวัชชนกิจ คือ กิจที่นึกถึงอารมณ์ที่กระทบ แล้วแต่ว่าจะเป็นอารมณ์ทางตา หรือทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ปัญจทวาราวัชชนจิตก็เกิดขึ้น นึกถึงอารมณ์นั้นๆ ที่กระทบทวารนั้นๆ เป็นขณะแรก เป็นวิถีจิตแรก นี่เป็นกิจที่ ๓
อาวัชชนกิจเป็นเพียงกิจที่นึกถึงอารมณ์ที่กระทบ เช่น ขณะที่จะเห็น ก่อนที่จักขุวิญญาณจะเกิดขึ้น ปัญจทวาราวัชชนจิตต้องเกิดขึ้นทำอาวัชชนกิจ นึกถึงอารมณ์ที่กระทบตา ถ้าเป็นเสียงที่กระทบกับโสตปสาท โสตวิญญาณยังไม่เกิดขึ้นได้ยิน แต่ปัญจทวาราวัชชนจิตเกิดขึ้นทำอาวัชชนกิจ นึกถึงเสียงที่กระทบโสตปสาทรูป เมื่อปัญจทวาราวัชชนจิตทำอาวัชชนกิจดับแล้ว จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้นเห็นในขณะนี้ หรือโสตวิญญาณจึงเกิดขึ้นได้ยินในขณะนี้
ยากเพียงชื่อเท่านั้นเอง คือ อาวัชชนะ เป็นชื่อใหม่ แต่ตามความเป็นจริง ถ้าเข้าใจลักษณะกิจการงานว่าเป็นสภาพที่นึก แล้วแต่ว่าจะนึกถึงสิ่งที่ปรากฏทางตา หรือนึกถึงเสียงที่กระทบหู นึกถึงกลิ่นที่กระทบจมูก และเมื่อจิตที่ทำกิจนี้ดับไปแล้ว ปัญจวิญญาณก็เกิดขึ้นทำกิจเห็นบ้าง ได้ยินบ้างเหล่านี้ เป็นต้น
ตลอดทั้งวันก็เป็นอย่างนี้ ไม่เคยขาดเลย ใครจะรู้หรือไม่รู้ก็เป็นเรื่องที่ แล้วแต่ว่าจะได้ยินได้ฟังพระธรรมหรือเปล่า ถ้าเป็นผู้ที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังพระธรรมเลย ก็ไม่สามารถรู้ว่า มีปัญจทวาราวัชชนจิตก่อนจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ หรือขณะใดแม้ไม่เห็น ไม่ได้ยิน แต่คิดนึก ก็มีมโนทวาราวัชชนจิตเป็นวิถีจิตแรกที่นึกถึงเรื่องหนึ่งเรื่องใดเกิดขึ้น ทำอาวัชชนกิจ
เพราะฉะนั้น จิต ๘๙ ดวง หรือ ๑๒๑ ดวง มีจิตเพียง ๒ ดวงที่ทำอาวัชชนกิจ ไม่ว่าจะเป็นพระอรหันต์ หรือเป็นปุถุชน หรือเป็นสัตว์ดิรัจฉาน เป็นเปรต เป็นอสุรกาย สภาพปรมัตถธรรมก็เป็นอย่างนี้ คือ ขณะใดที่ไม่ใช่ภวังคจิต วิถีจิตแรกต้องเป็น อาวัชชนจิต และจิตที่ทำอาวัชชนกิจมี ๒ ดวงเท่านั้น
การฟังอย่างนี้ เพื่อที่จะให้ระลึกได้ว่า ไม่มีตัวตน ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคลเลย ไม่ว่าขณะเห็น ขณะได้ยิน ก็เป็นแต่เพียงจิตที่เกิดขึ้นทำกิจการงานต่างๆ เท่านั้นเองเพราะว่าพระธรรมทั้งหมดจะไม่พ้นจากเรื่องตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
และสำหรับปัญจทวาราวัชชนจิตและมโนทวาราวัชชนจิต โดยชาติเป็นกิริยาจิต ไม่ใช่วิบาก
นี่ก็เห็นความต่างกัน ในขณะที่เป็นภวังค์ เป็นวิบากจิต และในขณะที่เป็นภวังค์ จะเป็นภวังค์ไปตลอดไม่ได้ เพราะว่ามีกรรมที่ทำให้ต้องเห็น จะให้หลับไปตลอดไม่ได้ มีกรรมที่ทำให้ต้องได้ยิน บางครั้งนอนหลับสบาย บางเสียงก็ทำให้ตกใจตื่น แสดงให้เห็นว่า ขณะนั้นกรรมทำให้วิบากจิตเกิดขึ้นได้ยินเสียงที่ทำให้ตกใจตื่นขึ้น เช่น เสียงฟ้าร้อง หรือเสียงอะไรก็แล้วแต่
แสดงให้เห็นว่า ขณะที่เป็นภวังค์ จะเป็นภวังค์ตลอดไปไม่ได้ ต้องรอวิบาก ที่จะเกิด และก่อนที่วิบากจิตจะเกิดขึ้นรับผลของกรรม ต้องมีกิริยาจิตเป็นวิถีจิตแรก ทำอาวัชชนกิจ คือ กิจที่ ๓ เกิดก่อนทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นในภพไหนภูมิไหนทั้งสิ้น ซึ่งอาวัชชนจิตโดยชาติเป็นกิริยา ยังไม่เป็นวิบากทันที เพราะการที่จะรับผลของกรรม ยังรับทันทีไม่ได้ ต้องมีจิตที่ทำอาวัชชนกิจเกิดก่อนจักขุวิญญาณ
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๘๒ ตอนที่ ๑๘๑๑ – ๑๘๒๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1752
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1753
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1754
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1755
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1756
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1757
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1758
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1759
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1760
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1761
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1762
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1763
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1764
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1765
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1766
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1767
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1768
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1769
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1770
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1771
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1772
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1773
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1774
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1775
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1776
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1777
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1778
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1779
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1780
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1781
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1782
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1783
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1784
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1785
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1786
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1787
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1788
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1789
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1790
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1791
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1792
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1793
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1794
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1795
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1796
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1797
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1798
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1799
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1800
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1801
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1802
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1803
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1804
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1805
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1806
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1807
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1808
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1809
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1810
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1811
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1812
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1813
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1814
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1815
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1816
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1817