ปกิณณกธรรม ตอนที่ 255


    ตอนที่ ๒๕๕

    สนทนาธรรม ที่ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จ.พิษณุโลก

    พฤษภาคม พ.ศ.๒ ๕๔


    ท่านอาจารย์ ความรู้สึกมี ๕ อย่าง คือ รู้สึก เฉยๆ อย่างหนึ่ง รู้สึกโสมนัส ดีใจเป็นสุข ทางใจ อย่างหนึ่ง และโทมนัส ขุ่นเคืองไม่พอใจอย่างหนึ่ง สุขกาย ที่กายเป็นความรู้สึกที่เป็นสุขสบาย หรือว่าทุกข์กายอีกอย่างหนึ่ง รวมความแยกเป็นทางใจ และทางกาย ถ้ารวมกันก็เป็น ๓ คือ สุข ๑ ทุกข์ ๑ อุเบกขาหรืออทุกขมสุข ๑ ถ้าแยกทางกายเป็นสุข ทุกข์ ทางใจเป็นโทมนัส โสมนัส เพราะว่าบางคนอย่างพระอรหันต์ ท่านก็มีทุกข์กายได้ ป่วยไข้ได้เจ็บได้ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงประชวร แต่ไม่ได้เป็นโทมนัสเลย แต่ว่าสำหรับผู้ที่ยังมีกิเลส ยังไม่ทันจะป่วยเจ็บก็อาจจะกังวลเกิดแล้ว ใช่ไหม ก็เป็นไปได้ เพราะฉะนั้น ความรู้สึกต้องเกิดกับจิตทุกขณะ ความรู้สึกเป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นนามธรรม ไม่มีใครมองเห็น ไม่มีมือ ไม่มีเท้า ไม่มีแขน ไม่มีขา แต่เป็นธรรมชาติที่รู้สึก ทุกครั้งที่จิตรู้อารมณ์อะไร เวทนาเจตสิกจะเป็นสภาพที่รู้สึกในอารมณ์นั้น เพราะฉะนั้น จิตไม่รู้สึก จิตไม่ใช่เวทนาเจตสิก จิตเป็นสภาพที่เป็นใหญ่ในการรู้ แต่ขณะเดียวกันกับที่จิตรู้ เจตสิกอื่นๆ ที่เกิดร่วมกับจิตนั้นก็รู้อารมณ์เดียวกับจิตนั้น แต่มีหน้าที่ต่างๆ กันไปแต่ละอย่างเป็น ๕๒ ชนิด แต่ถ้ากล่าวถึงสัพพจิจตสาธารณเจตสิก คือว่าจะขาดเจตสิกหนึ่งเจตสิกใดใน ๗ เจตสิกไม่ได้ คือต้องมีเวทนาเจตสิกเกิดร่วมด้วย จะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม ทุกครั้งที่จิตเกิด ผัสสะกระทบอารมณ์ มีอารมณ์ปรากฏ ที่จะไม่ให้รู้สึกเลย เป็นไปไม่ได้ เพียงแต่เราไม่สามารถจะบอกได้บางครั้งว่าเป็นความรู้สึกอะไร เพราะว่าส่วนใหญ่วันหนึ่งๆ ทุกข์ทางกายบ่อยไหม บ่อยหรือไม่บ่อย ขณะนี้เป็นทุกข์หรือเปล่า ทุกข์หรือ เจ็บปวดเมื่อยกายตรงไหน เย็นไปหรือ ก็เป็นเรื่องที่แต่ละคนจะทราบดีว่าความรู้สึกอย่างนั้นต้องมี ทางกายจะเป็นสุขหรือทุกข์ แต่ทางใจไม่เกี่ยวกับทางกายเลย จะเป็นความโสมนัสหรือโทมนัส แต่ความรู้สึกที่เป็นประจำ คือ อทุกขมสุข อุเบกขา เฉยๆ เรื่อยๆ มองหาก็ไม่เห็นความรู้สึกอยู่ที่ไหน เพราะเฉย ใช่ไหม แต่ความจริงลักษณะที่รู้เฉย เป็นสภาพของเวทนาเจตสิก นกมีเวทนาเจตสิกไหม ธรรม ปรมัตถธรรม ไม่มีชื่อ เป็นสภาพธรรม ถ้าพูดถึงจิตเห็น เห็นที่ไหนก็ต้องมีเจตสิกเกิด ๗ ดวง ใครเห็น ไม่เอารูปร่างเข้ามาเกี่ยว ไม่เอาภพภูมิเข้ามาเกี่ยว พรหมเห็นก็ต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๗ ดวง ในขณะที่จิตเห็นเกิด ไม่มากกว่านั้นเลย เพราะนี่เป็นสภาพธรรม เป็นปรมัตถธรรม เป็นอภิธรรม เพราะฉะนั้น นก สมมติว่านก นกเห็น มีเวทนาเจตสิกไหม ใครไม่มีเวทนาเจตสิกบ้าง ถ้าจิตเกิดเมื่อไรต้องมีเวทนาเจตสิกเกิดเมื่อนั้น ด้วยเหตุนี้จิต และเจตสิกซึ่งเป็นนามธรรม จำแนกเป็นนามขันธ์ ๔ ปรมัตถธรรมทั้งหมดมี ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน รูปทุกรูปเป็นรูปขันธ์ ขันธ์หมายความว่าเป็นกอง หรือส่วนของรูป จะเป็นนามธรรมไม่ได้เลย รูปในอดีตจะเป็นนามธรรมไม่ได้ รูปในอนาคตก็เป็นนามธรรมไม่ได้ รูปเกิดขึ้นเมื่อไร ขณะไหน รูปต้องเป็นรูป จึงเป็นส่วน หรือเป็นกองรูป เป็นรูปขันธ์ รูปของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นขันธ์อะไร เป็นรูปขันธ์ เพราะฉะนั้น รูปขันธ์ไม่ได้หมายความว่าเอาไปกองรวมกัน เรียกว่าขันธ์ แต่ ๑ รูปก็อยู่ในประเภทของรูปนั่นเอง อยู่ในกองหรือส่วนที่เป็นรูป จะไปอยู่ในส่วนอื่นไม่ได้ ต้องอยู่ในส่วนของรูป เป็นรูปขันธ์ เวลาที่พูดถึงขันธ์ ๕ รูปขันธ์ ๑ เหลือกี่ขันธ์ ๔ ขันธ์ เป็นนามธรรมทั้งหมด จิตทุกชนิด ทุกประเภท ทุกขณะเป็นวิญญาณขันธ์ เพราะว่าคำว่าจิต กับคำว่าวิญญาณ ความหมายเหมือนกัน ไม่ต่างกันเลย สตรี กับนารี กุมารี ผู้หญิง เหมือนกันหรือเปล่า เหมือนกัน เพราะฉะนั้น จิตก็จะมีคำที่ใช้สำหรับจิตหลายคำ ใช้คำว่าวิญญาณก็ได้ มโนก็ได้ หลายคำ เชิญคุณสุภีร์ให้ตัวอย่าง

    สุภีร์ คำว่าจิตมีชื่อที่ใช้เรียกแทนหลายอย่าง ที่เราอาจจะคุ้นกันก็มีคำว่า มโน ที่จะขอกล่าวก็มีอยู่หลายๆ คำ อย่างเช่นคำว่า จิต มโน มนัส เคยได้ยินไหม หทัย ปัณฑระ เคยได้ยินบ้างไหม จิตที่ผ่องใส อะไรอย่างนี้ ก็เป็นชื่อของจิตนั่นเอง ปัณฑระแปลว่าผ่องใส เพราะว่าจิตเป็นสภาพธรรมที่รู้แจ้งอารมณ์อย่างเดียว ฉะนั้นจิตจึงผ่องใส มีชื่อว่า ปัณฑระ หรือเรียกว่า มนายตนะ มนายตนะ ก็คือใจนั่นเอง หรือว่าจิตนั่นเองเป็นชื่อหนึ่งของจิต มนายตนะ มโนวิญญาณ เคยได้ยินไหม หรือว่าวิญญาณขันธ์ หรือเรียกว่าวิญญาณก็ได้ ที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวไปแล้วอีกชื่อ คือ คำว่า วิญญาณ เป็นชื่อของจิตนั่นเอง มีอยู่หลายคำที่เป็นชื่อของจิต ที่ผมกล่าวไปก็มี จิต มโน มนัส หทัย ปัณฑระ มนายตนะ หรือเรียกอีกอย่างผมยังไม่ได้กล่าว เรียก มนินทรีย์ เคยได้ยินไหม สิ่งที่เป็นใหญ่คือจิต มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโน มโนวิญญาณ นี่ก็หลายคำ

    ท่านอาจารย์ ถ้าศึกษาธรรมแล้วบอกว่า วิญญาณออกจากร่าง ถูกหรือผิด ผิด เพราะวิญญาณออกไม่ได้ ขณะนี้ก็เกิดดับ เกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ ขณะที่เห็น จิตเห็นเกิดแล้วก็ดับ ไม่ได้ออกไปไหนเลย ออกไม่ได้ เพราะว่าเพียงเกิดแล้วดับ แต่ว่าในภูมิที่มีขันธ์ ๕ คือ มีรูปด้วย จิตต้องเกิดที่รูป มีรูปเป็นที่เกิด ตามที่มีละครโทรทัศน์หลายเรื่อง เรื่องผีๆ เรื่องวิญญาณ หรืออะไรพวกนี้ ถ้าศึกษาธรรมแล้วจะเข้าใจได้ ส่วนไหนถูกต้อง และก็ส่วนไหนผิด เพราะเหตุว่าถ้าไม่ได้ศึกษาธรรมจริงๆ ก็จะเข้าใจว่าวิญญาณออกจากร่าง แล้วแต่ เรื่องต่อไปจะเป็นอย่างไร แต่ว่าจริงๆ แล้วจะใช้คำว่าจิต จะใช้คำว่า วิญญาณ จะใช้คำว่ามโน มนัส หหัย ปัณฑระ พวกนี้ได้หมดเลย เป็นแต่ละความหมาย

    ผู้ฟัง มีบางท่านบอกว่ามีวิธีการฝึกถอดจิตไปเที่ยวตรงโน้น ตรงนี้ จะอธิบายอย่างไร มีเด็กถามเราอย่างนี้

    ท่านอาจารย์ จิตไปไหน

    ผู้ฟัง เห็นมีฝึกกัน ถอดไปเที่ยวโน่น เที่ยวนี่ จะเป็นไปได้หรือเปล่า จะอธิบายกับนักศึกษาได้อย่างไรให้เข้าใจ

    สุภีร์ ที่กล่าวความหมายของจิตมาตั้งนานแล้ว เป็นสภาพธรรมที่รู้แจ้งอารมณ์ ในภูมิที่มีขันธ์ ๕ ที่ท่านอาจารย์ได้กล่าวไปแล้ว มีขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ ๑ แล้วก็นามขันธ์ ๔ คืออย่างเราๆ ที่นั่งอยู่ จิตต้องเกิดกับรูป ในภูมิที่มีขันธ์ ๕ อย่างจิตเห็นเกิดที่จักขุปสาทรูป จิตได้ยินเกิดที่โสตปสาทรูป อย่างนี้เป็นต้น จิตนี้เกิดที่ไหน ดับที่นั่น มีหน้าที่อย่างเดียวคือรู้แจ้งอารมณ์ ไม่ได้มีหน้าที่วิ่งไปไหน ลอยไปไหน จิต หน้าที่ของจิต รู้แจ้งอารมณ์อย่างเดียว การรู้สึกอารมณ์ การที่จะเป็นคนดีไม่ดี อะไรก็ตาม แต่เป็นหน้าที่ของเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิต หน้าที่ของจิตมีอย่างเดียว คือรู้แจ้งอารมณ์ เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้อารมณ์ และในภูมิที่มีขันธ์ ๕ จิตเกิดที่รูปแล้วก็ดับที่รูป เกิดที่รูปไหนก็ดับที่รูปนั้น ที่ผมยกตัวอย่างไปเมื่อกี้ จิต ๒ ประเภท ใช่ไหม คือจิตเห็นนี้เกิดที่จักขุปสาทรูป คือ รูปที่อยู่ระหว่างตาของเราซึ่งเกิดจากกรรม จิตได้ยินเกิดที่โสตปสาทรูป ที่อยู่ในหู อยู่ข้างในหู ซึ่งเป็นรูปที่เกิดจากกรรมเช่นเดียวกัน

    ท่านอาจารย์ ที่แสวงหากันทุกวัน ต้องการสุขเวทนา โสมนัสเวทนา มีแต่ความต้องการได้สิ่งที่จะทำให้เกิดสุขเวทนากับโสมนัสเวทนา ด้วยเหตุนี้ปรมัตถธรรม ๓ คือ จิต เจตสิก รูป ทรงจำแนกเป็นขันธ์ ๕ โดยนัยของความยึดถือ หรือความยึดมั่น อย่างรูปทั้งหมดตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้า ก็มีความยึดมั่นว่าเป็นร่างกายของเรา ทั้งๆ ที่เป็นลักษณะที่ร้อนต้องไปหายามารับประทานแล้ว ตัวเราร้อน เป็นเรา เย็นก็เป็นเรา ทุกอย่างหมดเป็นเรา รูปทั้งหมดตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้ายึดถือว่าเป็นของเรา หรือเป็นเรา ส่วนความรู้สึกก็เช่นเดียวกัน พอเกิดสุขเวทนาเพราะเหตุปัจจัยแล้วดับ แล้วเดี๋ยวก็เปลี่ยนเป็นอุเบกขา เกิดแล้วก็ดับ แล้วเดี๋ยวก็เปลี่ยนเป็นเวทนาอย่างอื่น เกิดแล้วก็ดับ แต่เพราะไม่เห็นความจริงอย่างนี้ สภาพธรรมชาติของความรู้สึก เป็นสภาพที่รู้สึกในอารมณ์ ในขณะที่เจตสิกอื่นๆ ไม่ได้รู้สึกในอารมณ์เลย วันหนึ่งๆ มีจิตเกิด มีการรู้อารมณ์แล้วเวทนาก็มีความรู้สึกในอารมณ์นั้นๆ ด้วยเหตุนี้จึงแยกเป็นเวทนาขันธ์ เฉพาะเวทนาเจตสิก ๑ ในเจตสิก ๕๒ แยกเป็นเวทนาขันธ์ เพราะฉะนั้น เราก็มีรูปขันธ์ ๑ ซึ่งเป็นรูป จิตเป็นวิญญาณขันธ์ ๑ ส่วนอีก ๓ ขันธ์ เป็นเจตสิก ได้แก่ เวทนาเจตสิก ๑ เป็นเวทนาขันธ์ เจตสิกอีก ๑ ซึ่งมีความสำคัญมากก็คือ สัญญาเจตสิก สภาพที่จำ ถ้าไม่มีความจำในความสุข เราเคยสุขเพราะอะไร ร้านไหนมีอาหารรสอร่อย หรือว่าอะไรๆ ก็ตาม ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่น่าเพลิดเพลิน ไปหาอีก ใช่ไหม แสวงหาอีก เราแสวงหาแต่ความสุข และมีความทรงจำเป็นเครื่องส่งเสริมอุดหนุน ให้มีความต้องการต่างๆ เกิดขึ้น เพราะสัญญาเจตสิกซึ่งจำ จำผิด จำถูก เช่น จำว่าเป็นคน แต่ความจริงเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา เวลาที่กระทบสัมผัสก็แข็ง แต่เรามีความจำในรูปร่างสัณฐานทุกอย่าง เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า เพราะความจำทำให้เรามีการที่จะทำให้ปรุงแต่งจิต เป็นสภาพลักษณะต่างๆ ตามสภาพของเวทนากับสัญญา ด้วยเหตุนี้สัญญาเจตสิก ๑ ใน ๕๒ จึงเป็นสัญญาขันธ์ เจตสิกที่เหลืออีก ๕๐ เป็นสังขารขันธ์ ครบขันธ์ ๕ ต่อไปนี้เวลาที่พูดถึงขันธ์ ๕ ก็ไม่ใช่พูดลอยๆ พอเขาขันธ์ ๕ เราก็บอกรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ แต่เป็นอะไรไม่รู้ แต่ถ้าศึกษาธรรมจริงๆ จะมีความเข้าใจตามลำดับ ตั้งแต่ความเข้าใจธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง แล้วธรรมก็แยกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ นามธรรม และรูปธรรม นามธรรมมี ๒ นามธรรมที่เกิดคือ จิต เจตสิก ซึ่งต้องเกิดพร้อมกันดับพร้อมกัน พอมีจิต เจตสิก รูป ก็ทรงแสดงโดยการยึดถือเป็นขันธ์ ๕ จะรู้จริงๆ ว่า แต่ละขันธ์เป็นสิ่งที่มีจริง เป็นจิต หรือเจตสิก หรือเป็นรูป

    ได้สัพพจิตตสาธารณะกี่ดวงแล้ว หรือกี่ชนิดแล้ว สัพพจิตตสาธารณเจตสิกมี ๗ ที่พูดถึงกี่ประเภทแล้ว เวทนาเจตสิก สัญญาเจตสิก เจตนาเจตสิก สภาพที่จงใจที่ได้กล่าวถึงแล้ว สภาพที่จงใจคือเจตนาเจตสิกนี้ เป็นสภาพที่ขวนขวายกระทำกิจของตน และขวนขวายให้เจตสิก และจิตที่เกิดร่วมกันกระทำกิจของตนๆ เหมือนหัวหน้านักเรียนบอกให้ทำอะไร นักเรียนทุกคนก็ทำด้วย เพราะฉะนั้น ทุกคนมีกุศลเจตนาเกิดขึ้น ความจงใจตั้งใจที่เป็นกุศล สภาพธรรมอื่นก็เป็นกุศลเกิดขึ้น ถ้าจงใจเป็นอกุศลที่จะเบียดเบียนประทุษร้ายคนอื่น ก็เป็นปัจจัยให้อกุศลเจตสิกเกิดทำกิจการงานในขณะนั้น เจตนาก็เป็นสภาพจงใจ ขวนขวาย เกิดกับจิตทุกขณะ ถ้าไม่ศึกษาเราก็จะเข้าใจเพียง ๒ ชาติ คือ กุศลเจตนา และอกุศลเจตนา แต่อย่าลืม จิตที่เกิดมี ๔ ชาติ จำแนกออกเป็น กุศล ๑ อกุศล ๑ วิบาก ๑ กิริยา ๑ จิตใดที่เกิดเป็นกุศล ขณะนั้นจะเป็นอกุศลได้ไหม ไม่ได้ เพราะจิตนั้นเกิดเป็นกุศล เวลาที่จิตเกิดเป็นอกุศล จะเปลี่ยนจิตนั้นเป็นกุศลได้ไหม เมื่อเกิดเป็นอกุศลแล้วเปลี่ยนไม่ได้เลย จิตนั้นต้องเป็นอกุศล นี่เป็นเหตุ ส่วนเหตุเกิดมีแล้วก็เป็นปัจจัยให้จิตที่เป็นวิบากเกิดขึ้นในกาลที่สมควร เช่น ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จิตเห็น จิตได้ยิน พวกนี้เป็นวิบาก เป็นผลของเจตนาซึ่งเป็นกรรม เพราะฉะนั้น เจตนาเป็นสังขารขันธ์ เจตสิกอื่นนอกจากนี้ใน ๗ ดวงเป็นเวทนาขันธ์ ๑ เป็นสัญญาขันธ์ ๑ เป็นสังขารขันธ์ เท่าไร ใน ๗ ประเภท เจตสิก ๗ ต้องเกิดกับจิตทุกดวง เวทนาเจตสิกเป็นเวทนาขันธ์ สัญญาเจตสิกเป็นสัญญาขันธ์ เจตนาเจตสิกเป็นสังขารขันธ์ อีกกี่ดวง เหลืออีกเท่าไร มี ๗ พูดแล้ว ๓ เหลือเท่าไร ๔ ดวงเป็นสังขารขันธ์ เพราะฉะนั้น สังขารขันธ์ได้แก่เจตสิก ๕๐ ชนิด เป็นสภาพที่ปรุงแต่งจิต ขณะเห็นมีเจตนาไหม มี แต่เป็นชาติวิบาก เพราะกรรมเป็นปัจจัยทำให้เจตนาเจตสิกเป็นชาติวิบากเกิดขึ้น ขวนขวายทำกิจของเจตนา และจิต และเจตสิกอื่นก็กระทำกิจ สำเร็จกิจของตนๆ เวทนาเจตสิกเป็นเราหรือเปล่า เจตนาเจตสิกเป็นเราหรือเปล่า ถ้าไม่รู้ ก็เป็นอัตตา เป็นเรา แต่ถ้ารู้ก็คือเป็นอนัตตา ไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้น เวลาที่ศึกษาธรรม ลืมอนัตตาไม่ได้เลย แล้วก็จะค่อยๆ เข้าใจความเป็นอนัตตายิ่งขึ้น เมตตาเป็นขันธ์อะไร มีไหม อโทสะ เจตสิกชนิดหนึ่งซึ่งไม่โกรธ ไม่ขุ่นเคือง เป็นขันธ์อะไร สังขารขันธ์ ตอนนี้ง่ายมากเลย โลภะเป็นขันธ์อะไร สังขารขันธ์ เวลาไปวัดได้ยินขันธ์ ๕ แน่ๆ เลย แล้วเข้าใจขันธ์ ๕ ว่าอย่างไร ทบทวนได้ไหม

    จิตเป็นขันธ์อะไร วิญญาณขันธ์ เจตสิกเป็นขันธ์อะไร ๓ ขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ รูปเป็นขันธ์อะไร รูปขันธ์ เวทนาเจตสิกเป็นขันธ์อะไร เวทนาขันธ์ สัญญาเจตสิกเป็นสัญญาขันธ์ พิเศษเฉพาะ ๒ เจตสิก เวทนาเจตสิกเป็นเวทนาขันธ์ สัญญาเจตสิกเป็นสัญญาขันธ์ เจตสิกที่เหลืออีก ๕๐ เป็นสังขารขันธ์ อย่างนี้ไม่ต้องท่อง ใช่ไหม จำได้ แต่ว่าชื่ออาจจะใหม่ ๗ ดวงครบหรือยัง ยัง เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตาเจตสิก คุณสภีร์ช่วยให้ความหมายภาษาบาลี เอกัคคตา

    สุภีร์ เอกัคคตา มาจากคำว่า เอก + อัคค + ตา สำเร็จรูปเป็น เอกัคคตา เอก แปลว่า ๑ อัคค คืออย่างยิ่ง ยึดมั่นอย่างยิ่ง คือว่า ใส่ใจในสิ่งนั้นแหละอย่างยิ่ง อัคค แปลว่าอย่างยิ่ง แล้ว ตา คือ ความ ความเป็น ก็สำเร็จรูปเป็น เอกัคคตา คือความเป็นไปในอารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดเท่านั้น เป็นไปในอารมณ์เดียว เรียกว่า เอกัคคตา เอกัคคตาเจตสิก คือ เจตสิกที่มีความเป็นไปในอารมณ์เดียว นี้โดยศัพท์

    ท่านอาจารย์ จิตจะมี ๒ อารมณ์ไม่ได้ เพราะเอกัคคตาเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยตั้งมั่นที่อารมณ์หนึ่งเท่านั้น ทำให้แต่ละขณะจะมีอารมณ์เดียว แล้วสภาพที่ตั้งมั่นในอารมณ์นั้น คือ เอกัคคตาเจตสิก เจตสิกนี้ไม่รู้สึก ไม่จำ คือ ตั้งมั่นในอารมณ์ที่จิตกำลังรู้ เวลาที่เราใช้คำว่า สมาธิ คือเอกัคคตาเจตสิกที่เกิดกับจิต แต่ว่าปกติ ในขณะที่เห็น เหมือนไม่มีสมาธิเลย แต่ความจริงขณะที่เห็น จะได้ยินไม่ได้ จะต้องรู้เฉพาะอารมณ์เดียว ตั่งมั่นในอารมณ์เดียว แต่เวลาที่เรามีการจดจ้องที่หนึ่งที่ใด มีความสนใจที่หนึ่งที่ใด ลักษณะของสมาธิจะปรากฏ เพราะฉะนั้น เวลาที่จิตตังมั่นในอารมณ์หนึ่งบ่อยๆ มากขึ้น ไม่หันเหไปสู่อารมณ์อื่นเลย ใครเรียกก็ไม่ได้ยิน ขณะนั้นเหมือนกับว่า กำลังมีสมาธิ เพราะเหตุว่าเอกัคคตาเจตสิก ที่ตั้งมั่นในอารมณ์เดียว ตั้งมั่นซ้ำๆ กันอยู่ที่อารมณ์นั้น ไม่เปลี่ยนไปอารมณ์อื่น ก็ปรากฏในลักษณะของสมาธิ ขณะที่เห็นมีเอกัคคตาเจตสิก แต่ว่าไม่มีลักษณะที่จะเหมือนกับเวลาที่มีความตั้งมั่นในอารมณ์ขณะที่กำลังจดจ้องที่หนึ่งที่ใด ซึ่งขณะนั้นลักษณะของสมาธิจะปรากฏ แต่ว่าสมาธิมี ๒ อย่าง สัมมาสมาธิกับมิจฉาสมาธิ ถ้าขณะใดที่ไม่ใช่กุศล ขณะนั้นเป็นอกุศล ก็ไม่ใช่สัมมาสมาธิ

    เคยทำสัมมาสมาธิหรือมิจฉาสมาธิ ได้ยินคำว่าสมาธิ อยากทำไหม เพียงได้ยินก็อยาก ยังไม่รู้เลยว่าสมาธิคืออะไร เพราะฉะนั้น ขณะนั้นเป็นกุศลหรืออกุศลที่อยากทำสมาธิ ยังไม่ทราบว่าสมาธิเป็นอย่างไร คืออะไร เพราะว่าสมาธิมี ๒ อย่าง สัมมาสมาธิกับมิจฉาสมาธิ ถ้าสัมมาสมาธิเป็นกุศล ถ้าเป็นการอบรมเจริญความสงบของจิต ต้องเป็นสัมมาสมาธิ คือต้องมีปัญญาเกิดร่วมด้วย จึงจะอบรมเจริญสัมมาสมาธิได้ แต่ถ้าไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วย แล้วอยากทำสมาธิ สมาธินั้นเป็นสัมมาสมาธิหรือมิจฉาสมาธิ มิจฉาสมาธิ ชื่อน่ากลัวใช่ไหม มิจฉา (ผิด) แต่ว่าความจริงแล้วในพระไตรปิฎกมีข้อความแสดงไว้ สมาธิ แล้วแต่ว่าจะเกิดกับจิตอะไร ถ้าเกิดกับอกุศลจิตจะเป็นสัมมาสมาธิไม่ได้ แต่ถ้าเกิดกับกุศลจิตก็เป็นสัมมาสมาธิ ถ้าเป็นการอบรมเจริญสมาธิที่เป็นกุศลสงบขึ้นมั่นคงขึ้น ต้องประกอบด้วยปัญญา จึงจะเจริญได้ แต่ถ้าไม่ประกอบด้วยปัญญา จะเจริญสัมมาสมาธิไม่ได้ แต่สัมมาสมาธิก็เกิดกับกุศลจิตได้ แต่ถ้าจะอบรมเจริญให้มั่นขึ้น ก็ต้องประกอบด้วยปัญญา

    ผู้ฟัง ขยายความคำว่า ปัญญา

    ท่านอาจารย์ ปัญญามีจริง ปัญญาของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ปัญญาของพระสาวก ปัญญาที่เกิดจากการฟังแล้วเข้าใจ เวลาที่เราใช้คำภาษาบาลี โดยมากเราไม่ได้พิจารณาไตร่ตรองถึงสภาพธรรมเลย เราเพียงแต่ขอยืมคำมาใช้ แล้วก็เข้าใจว่าเข้าใจคำนั้นแล้ว อย่างเด็กนักเรียนจะบอกว่ามีสติปัญญา แต่ไม่ใช่สติ และปัญญา เพราะเหตุว่าถ้าเป็นสติเจตสิก เป็นสภาพที่ระลึกเป็นไปในกุศล เป็นไปในทานการให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บุคคลอื่น เป็นไปในศีล เป็นไปในความสงบของจิต เป็นไปในการอบรมเจริญความรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏถูกต้องตามความเป็นจริง นั่นถึงจะเป็นสติ ส่วนปัญญาเป็นความเห็นถูกต้องในลักษณะของสภาพธรรม ตามความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้นๆ ซึ่งต้องมีตั้งแต่ขั้นฟัง ถ้าฟังแล้วไม่ไตร่ตรองเลย เข้าใจหรือเปล่า ก็ไม่เข้าใจ แต่ถ้าฟังแล้วเข้าใจ จะเปลี่ยนความเข้าใจถูกให้เป็นความเข้าใจผิดได้ไหม ถ้ารู้ว่าจิตมีลักษณะอย่างไร เจตสิกมีลักษณะอย่างไร จะเปลี่ยนไปเข้าใจว่า เจตสิกเป็นจิต และจิตเป็นเจตสิกได้ไหม ถ้าเป็นความเห็นถูกต้อง จะไม่ผิดเลย แม้แต่ขั้นการฟัง อย่าง ธรรม ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีจริงเป็นธรรม มีลักษณะเฉพาะธรรมแต่ละอย่างๆ เช่น โลภะ ความติดข้อง ก็มีลักษณะอย่างหนึ่งเกิดขึ้นก็ทำหน้าที่นั้น

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 97
    10 พ.ย. 2567