ปกิณณกธรรม ตอนที่ 268
ตอนที่ ๒๖๘
สนทนาธรรม ที่ บริษัทเดลี่กูดส์ จำกัด ถ.สุขสวัสดิ์ เขตราชบูรณะ
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๒
ท่านอาจารย์ วันนี้ที่ฟัง มีความรู้จากสิ่งที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อนเลยเท่านั้น ไม่ใช่ดับกิเลส ทำอะไรกิเลสไม่ได้เลย แล้วยิ่งเรียนยิ่งรู้ว่า กว่าจะละกิเลสได้แสนยาก แต่ว่าเริ่มที่จะรู้จักสิ่งที่เคยยึดถือว่า เป็นเราให้เข้าใจขึ้น แล้วก็จะเป็นผู้ที่ตรง คือว่าอย่างความโกรธเป็นใคร แล้วก็เป็นของใคร ลักษณะของความโกรธ คือ ความรู้สึกที่ไม่แช่มชื่นเลย เป็นทุกข์เวลาที่เกิดความโกรธขึ้น ไม่ว่าใครอยู่ตรงไหนทั้งนั้น เวลาโกรธจะเป็นสุขไปไม่ได้ แล้วเวลาที่โกรธหมดไป ความรู้สึกเฉยๆ ก็มี หรือความรู้สึกดีใจก็มี
เพราะฉะนั้น ทุกอย่างที่เกิดต้องมีเหตุปัจจัยทำให้เกิดขึ้น เวลาที่เราเรียนทางโลก เราอาจจะรู้ว่า หลายสิ่งหลายอย่างต้องเกิดขึ้นเพราะสิ่งนั้นสิ่งนี้ แต่นั่นยังน้อย แต่ตามความจริงแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างจริงๆ ในพระพุทธศาสนา ไม่ใช่ว่าเกิดขึ้นมาได้ลอยๆ จะต้องมีเหตุปัจจัยอย่างละเอียดมากที่จะทำให้เกิดขึ้น แล้วเกิดขึ้นชั่วขณะที่แสนสั้นแล้วดับ อันนี้ใครรู้ ไม่สามารถที่จะรู้ได้ ถ้าไม่ประจักษ์ความจริง ซึ่งกว่าจะประจักษ์ ไม่ใช่บุคคลนั้นจะไม่มีความโลภเลย พระโสดาบันเพียงแต่ละความเห็นผิดที่ยึดถือสภาพธรรมว่า เป็นตัวตน เที่ยง อย่างที่เคยเข้าใจมาก่อน แต่ว่าสามารถที่จะเข้าใจความจริง ธรรมเป็นธรรม มีเหตุปัจจัยเกิดแล้วดับไป แล้วก็สามารถที่จะรู้ลักษณะของพระนิพพาน ซึ่งเป็นธรรมที่ดับกิเลส แต่ว่าผู้นั้นเป็นผู้ตรง พระโสดาบันรู้ว่า ท่านไม่ใช่พระสกทาคามี ท่านไม่ใช่พระอนาคามี ท่านไม่ใช่พระอรหันต์ แสดงว่ากิเลสมีมากที่จะต้องอาศัยปัญญาที่เพิ่มขึ้นอีกถึงจะดับกิเลสได้
คนที่ไม่มีความเห็นผิด แต่ยังมีโลภะ ก็ยังคงจะมีการที่จะพอใจในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส อาหารก็อร่อย ทางตาทุกอย่างก็สวย ทางหูก็เสียงเพราะ เพราะฉะนั้น ก็เหมือนคนธรรมดา แต่ว่าเขาไม่ทุจริต ไม่ล่วงศีล ๕ เพราะเหตุว่าเมื่อได้รู้ สภาพธรรมตามความเป็นจริงว่า เป็นธรรม เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย เจตนาที่จะเบียดเบียนนั้นไม่มี ที่จะกระทำทุจริตไม่มีเลย แล้วอย่างนี้โลกจะเจริญไหม ในเมื่อเขายังเรียนวิชาอะไรก็ได้ เขาจะทำอะไรก็ได้ทั้งหมด แม้แต่พระเจ้าพิมพิสารเป็นพระโสดาบัน ท่านก็ยังคงเป็นพระเจ้าพิมพิสาร มหาเสนาบดีของเมืองเวสาลีเป็นพระโสดาบันก็ยังคงทำหน้าที่ของมหาเสนาบดี แต่ว่าไม่มีการทุจริต
ถ้าใครก็ตามศึกษาธรรมเข้าใจขึ้น ความเบียดเบียนคนอื่นจะน้อยลง ความเห็นแก่ตัวก็น้อยลงโลก จะเจริญขึ้นอีกมาก
ผู้ฟัง เราศึกษาพระธรรมเพื่อค่อยๆ เข้าใจลักษณะของธรรมที่กำลังปรากฏกับเรา ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม อันนี้เป็นพื้นฐานเบื้องต้น ถ้าใครยังสงสัยตรงนี้ เรียนถามท่านอาจารย์ให้เข้าใจ พื้นฐานต่างๆ เหล่านี้เมื่อเราไม่ได้เรียนไป เรียนไป ศึกษาไป เราก็จะเข้าใจชีวิตของเราได้มากขึ้นว่า เรามาศึกษาพระธรรมเพื่ออะไร
ท่านอาจารย์ คนเก่งมีทุกข์ไหม เศรษฐีมีทุกข์ไหม เพราะฉะนั้น ทุกข์มันมาจากไหนกันแน่ ถ้าทุกข์เพราะไม่มีเงิน ถ้ามีเงิน แล้วก็น่าจะมีสุข แต่คนมีเงินก็ยังมีทุกข์ คนเก่ง เก่งแล้วก็ไม่น่าจะมีทุกข์ แต่คนเก่งก็ยังมีทุกข์ได้
ทุกข์จริงๆ มาจากไหน มาจากความไม่รู้ มาจากความต้องการสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้น ถ้าเราเข้าใจธรรมมากขึ้น เราก็จะทุกข์น้อยลง นี่เป็นประโยชน์ ไม่ว่าเราจะเป็นใครอยู่ที่ไหน เราไม่ได้หมายความว่า เราจะออกนอกโลกไป เมื่อไรเป็นพระอรหันต์ เมื่อนั้นถึงจะออกจากบ้านช่องได้ พระอนาคามีท่านไม่ยินดีในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส แต่ท่านก็ยังไม่ต้องบวชก็ได้ แล้วลองคิดดูว่า ถ้าเราติดในรูปน้อยลง ติดในเสียงน้อยลง ติดในกลิ่นน้อยลง ติดในรสน้อยลง ติดในเรื่องราวต่างๆ ด้วยความเป็นเราน้อยลง เราก็ย่อมจะมีความสบายใจขึ้น ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น แต่ถ้าเรายังติดมากๆ เราก็ต้องเป็นทุกข์มากๆ แต่ว่าเรื่องจะไม่ติดนี่ยาก ไม่ใช่ว่าเราจะไม่ติด ไม่มีทางเป็นไปได้เลย แต่ว่าปัญญาจะทำให้เห็นตัวเองตามความเป็นจริงว่า ลึกแสนลึกลงไปที่เราติดมากที่สุด คือติดในความเป็นเรา ในความเป็นของเรา ในความเป็นตัวเรา ตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้า จะรักใคร จะต้องการอะไรสักเท่าไรก็ไม่เท่ากับเรา เราเป็นใหญ่ แต่ถ้ารู้จริงๆ ว่า ไม่มีเราเลยสักขณะเดียว เป็นธรรมทั้งหมด แล้วธรรมก็เป็นธรรม คือ ธรรมฝ่ายดีก็ดี ธรรมฝ่ายไม่ดีก็ไม่ดี ไม่ว่าจะเกิดกับใครที่ไหน เราไม่เป็นคนที่เข้าข้างตัวเอง เห็นธรรมเป็นธรรมจริงๆ ก็จะสะสมธรรมฝ่ายดีเพิ่มขึ้น ก็จะทำให้ความทุกข์ซึ่งเกิดจากธรรมฝ่ายไม่ดีน้อยลง
ผู้ฟัง ผมก็เริ่มปฏิบัติธรรมมาได้สัก ๒ - ๓ ปีเอง โดยใช้วิธีการอ่านจากหนังสือ แล้วทำ ท่านก็บอกว่าให้ทำสมาธิก่อน
ท่านอาจารย์ ขั้นไหนล่ะ
ผู้ฟัง หนังสือ
ท่านอาจารย์ หนังสือบอก
ผู้ฟัง หนังสือที่อ่านหลายๆ เล่ม แล้วก็เมื่อได้สมาธิที่ดีแล้ว ถึงจะทำวิปัสสนาต่อไป ในส่วนตัวผมคิดว่า ผมไม่ได้ไปทำมิจฉาสมาธิ ไปทำสัมมาสมาธิ โดยการคิดเอาเองว่า การละนิวรณ์ การละกิเลส เวลาเข้าสมาธิ แล้วจะทำได้ไหม แค่นี้พอไหม แล้วก็เรื่องที่ว่า จำเป็นจะต้องรู้ปริยัติก่อนแล้วถึงจะทำ ถึงจะดีกว่า
ท่านอาจารย์ คงต้องเป็นปัญหาตามลำดับขั้นที่ว่า ต้องมีครูก่อน ใครเป็นครู นี่ต้องเลือกครูด้วย ถ้าเราไม่เลือกครู เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ครูพาเราไปไหน ถูกหรือผิด เพราะฉะนั้น ใครเป็นครู สำคัญที่สุด เราจะวางเรื่องนั้นทั้งหมดเลย แล้วเราเหมือนคนใหม่ที่เรากำลังจะหาครูสักคน เราจะเอาใครเป็นครูดี เพราะฉะนั้น จะเห็นได้เลย พระบรมศาสดา จะไม่มีใครใช้ชื่อนี้ได้เลย เพราะเหตุใด ทรงตรัสรู้สภาพธรรม ใช้คำว่าตรัสรู้ หมายความว่า ไม่ได้คิด บวก ลบ คูณ หาร แต่ว่าสภาพธรรมเป็นจริงอย่างไร พระปัญญาที่ได้สะสมมาที่จะตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า สามารถที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรมนั้นๆ ที่เกิดปรากฏในขณะนี้ จึงทรงพระนามว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระบรมศาสดา
หนังสือที่จะอ่าน จะอ่านหนังสือเล่มไหน ในเมื่อเรามีครูแล้ว เราก็ต้องอ่านหนังสือของครู ถ้าเราเลือกครู แล้วเราจะไปอ่านหนังสือของคนอื่นไม่ได้ แล้วเราคิดหรือว่า คนอื่นจะมีปัญญาเท่าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ฟัง ของพระพุทธเจ้าถูกต้องที่สุด มีหลายวิธี อาจารย์ท่านเหล่านี้จะเลือกเฟ้นของท่านออกมา ๑ วิธี ๑ วิธี
ท่านอาจารย์ ถ้าเราฝากความรู้ไว้กับผู้หนึ่งผู้ใด ยากเหลือเกินที่จะรู้ว่าอาจารย์ท่านผิดหรือเปล่า เพราะว่าคงจะไม่มีใครที่สามารถเข้าใจพระไตรปิฎก และอรรถกถาได้ตลอด บางท่านถูกตรงนี้ผิดตรงนั้นก็ได้ ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ผิดเลย หรือจะไม่ถูกเลย แต่ส่วนที่ถูกจริงๆ ทั้งหมดมาจากพระธรรมที่ทรงแสดงไว้แล้ว
การศึกษา ถ้าศึกษาจริงๆ จะทราบได้เลยว่า ใครสอน โดยการคิดเองแต่ไม่ตรงเลยกับพระไตรปิฎก อย่างที่จะกล่าวว่า นิพพานเป็นอัตตา อย่างนี้ แค่นี้เราก็รู้แล้ว ใช่ไหม แต่ไม่ใช่เพียงเท่านี้ ยังมีอีกมากมายนัก ถ้าบอกว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ถูกแน่นอน มีในพระไตรปิฎก แล้วเป็นความจริง ซึ่งเราต้องค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ คิด ว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร อริยสัจธรรมคืออะไร ถ้าบอกว่า ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ชื่อ ทุกคนจำได้หมดเลย ทุกข์ คืออะไร ที่อ่านแล้ว ทุกข์คืออะไร
ผู้ฟัง ทุกข์คือความที่ทนไม่ได้
ท่านอาจารย์ ทนอะไรไม่ได้
ผู้ฟัง ทนสิ่งต่างๆ ที่มากระทบไม่ได้
ท่านอาจารย์ เช่นขณะที่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้เป็นทุกข์ไหม
ผู้ฟัง แล้วแต่เฉพาะคนว่า คนๆ นั้นทนได้ไหม ถ้าทนได้ก็ไม่ทุกข์
ท่านอาจารย์ อันนี้ไม่ใช่อริยสัจ ถ้าอริยสัจ คือ สังขารธรรมทั้งหลาย หรือว่าสภาพธรรมทั้งหมดที่มีเหตุปัจจัยเกิดปรุงแต่งเกิดแล้วดับ นี่คือความหมายของทุกข์ลักษณะที่จะทำให้ถึงนิพพานได้
หนังสือที่อ่าน เราค่อยๆ ทิ้งไป ถ้าเราได้ศึกษาธรรมจริงๆ เราจะรู้เลยว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงอย่างนี้ แต่ผู้ที่ไม่ได้ศึกษาธรรม จะพูดอีกอย่างหนึ่ง จะคิดอีกอย่างหนึ่ง จะเขียนจะเข้าใจอีกอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น เราก็ต้องเลือกด้วย ไม่ใช่ว่าไปติดอยู่ที่หนังสือบางเล่ม แต่ต้องไขว่คว้าหาไปอีกว่า จริงๆ แล้วคืออย่างไร แล้วที่ถูกต้องที่สุดคือ เริ่มศึกษาพระธรรมเสีย จะทำให้เราไม่เสียเวลา คือว่า ไม่ไปติดอยู่ที่ความคิดของแต่ละบุคคล
ผู้ฟัง เมื่อไรถึงจะปฏิบัติ ภาวนา ๒ ภาค ระหว่างสมาธิกับวิปัสสนา
ท่านอาจารย์ สมาธิคืออะไร ก่อนอื่นที่เราจะทำอะไร เราต้องมีความรู้ความเข้าใจในสิ่งนั้น เหมือนอย่างเมื่อกี้ที่เราพูดว่าทุกข์คืออะไร เราต้องเข้าใจเลย ทุกข์คืออะไร เพราะฉะนั้น พอพูดถึงสมาธิกับวิปัสสนา ต้องเข้าใจก่อนว่าคืออะไร ถ้าเราไม่เข้าใจว่าคืออะไร เราก็ไม่สามารถจะรู้ได้ว่า สิ่งที่เราต้องการถูกหรือผิด เพราะฉะนั้นสมาธิ คืออะไร
ผู้ฟัง ตามความเข้าใจผม สมาธิ คือทำสติให้มั่นคง ทำจิตให้ว่าง วิปัสสนาคือทำให้เกิดปัญญา อะไรคือปัญญา
ท่านอาจารย์ ทีนี้ ดิฉันจับ ๓ คำ เมื่อกี้นี้ สมาธิ ที่ถูก คือ ความตั้งมั่นคงของจิตซึ่งเกิดได้ทั้งกุศล และอกุศล ขณะใดที่มีจิตที่ตั้งมั่นในอารมณ์ คือ สิ่งหนึ่งสิ่งใด อย่างคนกำลังตั้งใจอ่านหนังสือ เขาไม่สนใจอย่างอื่นเลย ไม่ได้ยินอย่างอื่นเลย ขณะนั้นก็เป็นลักษณะหนึ่งของสมาธิ คนที่ตั้งใจทำอะไรให้ดี สวยๆ งามๆ สลักอะไรก็ตามแต่ ผลไม้หรืออะไร ก็ต้องมีสมาธิ
แม้แต่ขณะที่ฟังในขณะนี้ ก็มีสมาธิเล็กๆ เกิดทุกขณะจิต ทำให้ตั้งมั่นในสิ่งที่กำลังปรากฏ แล้วก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้น แต่ว่าสมาธิไม่ใช่ปัญญา เพราะฉะนั้น นี่เป็นความหมายของสมาธิที่ถูก คือ ตั้งมั่น แล้วก็มีทั้งผิด มีทั้งถูก มิจฉาสมาธิก็มี สัมมาสมาธิก็มี แล้ววิปัสสนาคืออะไร ถ้ายังไม่เข้าใจ ก็ทำอะไรก็ไม่ได้ เพราะไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้น วิปัสสนาคืออะไร
ผู้ฟัง การปล่อยวางให้เกิดปัญญา
ท่านอาจารย์ วิปัสสนากับปัญญาเป็นอันเดียวกันหรือเปล่า
ผู้ฟัง ใกล้เคียงกัน วิปัสสนาคือการทำให้เกิดปัญญา
ท่านอาจารย์ วิปัสสนาสูงกว่าปัญญา ไม่ใช่วิปัสสนาไปทำให้เกิดปัญญา แล้วก็ถ้าปล่อยวาง หมายความว่าอย่างไร หลับเสียดีไหม สบายกว่าเป็นกอง ไม่ต้องทำด้วย ไม่ต้องเหนื่อยด้วย เพียงแค่หลับก็ไม่รู้อารมณ์อะไรทั้งสิ้นแล้ว เพราะฉะนั้น ว่างไม่ถูกต้อง ว่างไม่ใช่ปัญญา เป็นเรื่องของความสับสน ซึ่งจะต้องค่อยๆ เข้าใจขึ้น
ผู้ฟัง คำว่า ว่าง คือสมาธิ
ท่านอาจารย์ ว่างที่นี้ หมายความว่าอย่างไร เหมือนตอนไหนที่ว่าว่าง ขณะนี้ว่างได้ไหม
ผู้ฟัง ว่างหมายความว่าจิตเป็นหนึ่งเดียว
ท่านอาจารย์ นั่นสิ หนึ่งเดียวต้องรู้อะไรสักอย่างหนึ่ง จะว่างไม่ได้ เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ว่าง ตกลงผิดที่ว่าว่าง สับสนไหม
ผู้ฟัง ในชีวิตของแต่ละคน บางคนยังไม่ได้สัมผัสธรรมเลย มีความพร้อมในครอบครัว ลูกเต้าก็ประสบความสำเร็จ ฐานะก็ดี ใช้ได้ ไม่เห็นมีทุกข์อะไร ชีวิตก็สมบูรณ์ดี เกียรติยศก็มี เพราะฉะนั้น ทำอย่างไรที่จะให้เขาได้สัมผัสกับธรรม โดยที่เขาคิดว่าสิ่งนั้น เขาไม่ต้องทำอะไรแล้ว แต่ดิฉันคิดว่ามันยังต้องทำ แต่ดิฉันไม่มีปัญญาจะเกื้อกูลเพื่อน ต้องขอให้ท่านอาจารย์เกื้อกูล
ท่านอาจารย์ ลองไตร่ตรองดู มีหมดทุกอย่าง ครบแล้ว ยังขาดอะไรหนอ
ผู้ฟัง มองดู เขาก็ไม่ได้บอก แต่ว่ามองดูว่า ทุกอย่างก็สุขสมบูรณ์ดี
ท่านอาจารย์ คนที่สุขสมบูรณ์แล้วก็อาจจะลองใคร่ครวญพิจารณาได้ ยังขาดอะไรหนอ พอจะคิดออกไหมว่า ยังขาดไอะไร มีหมดทุกอย่างเลย ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ ทรัพย์สมบัติ วงศาคณาญาติ บริวาร แล้วขาดอะไรนะ
ผู้ฟัง ถ้าเผื่อจะพูดว่าปัญญา เขาก็ไม่รู้อีก เพราะปัญญาทางโลกของเขาเต็มที่แล้ว เขาไม่นึกถึงปัญญา คือเขานึกไม่ออก
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็ต้องมีคนช่วยคิดว่า ยังขาดปัญญา
ผู้ฟัง อันนี้เขาไม่ได้ว่า จะมาอวดว่ามี แต่ทีนี้ บางครั้งอยากชักชวนเพื่อน
ท่านอาจารย์ คงจะไม่มีใคร ศาสตราจารย์ หรือว่าอะไรๆ อีกมากมาย ปริญญายาวเหยียดที่จะมีความรู้เท่าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อให้ไปแสวงหาสักเท่าไร ในแสนโกฏิกัปป์ กว่าจะมีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละองค์ เพราะฉะนั้น ก็เป็นบุญกุศลของผู้ที่มีโอกาสจะได้ยินคำนี้ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะว่าจะถึงกาลสมัยหนึ่งซึ่งแม้คำนี้ก็ไม่ได้ยิน ไม่มีทางเลย เมื่อพระศาสนาหมดแล้วอันตรธานแล้ว เพราะฉะนั้น ถ้ายังอยู่ในกาล หรือว่าในแหล่งที่จะได้ยินคำนี้ ก็เป็นลาภอันประเสริฐที่จะรู้ว่ามีผู้หนึ่งซึ่งทุกท่านก็นอบน้อมสักการะในพระปัญญาคุณ ในพระบริสุทธิคุณ ในพระมหากรุณาคุณ
เพราะฉะนั้น ไม่ใช่เพียงแต่ได้ยินชื่อ แล้วเคารพสักการะโดยที่ไม่รู้ว่า ท่านตรัสรู้อะไร แล้วทรงแสดงธรรมอะไรถึง ๔๕ พรรษา เช้า สาย บ่าย เย็น มากกว่าใครทั้งหมดเลย เกือบจะเรียกได้ว่าทั้งวันทั้งคืน นอกจากเวลาที่ทรงพักผ่อน หรือว่าเวลาที่มีกิจที่จะต้องเดินทางไกล หรืออะไรอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ก็น่าอย่างยิ่งที่จะสนใจว่า พระองค์ตรัสรู้อะไร แล้วสอนอะไร ทิ้งคำสอน คำพูดของบุคคลอื่นหมด มุ่งไปหาคำที่พระองค์ตรัสรู้ และสอน ซึ่งไม่ยาก เพราะว่าพระไตรปิฎกมี อรรถกถามี แล้วสำนักเรียนมี ที่เรียนมี แล้วโดยเฉพาะที่นี่ก็มี เห็นไหมว่า ทุกคนมาอย่างไร ไปอย่างไรมาถึงที่นี่ มาอย่างไรในสังสารวัฏฏ์ด้วย ไม่ใช่เฉพาะวันนี้วันเดียว ในสังสารวัฏฏ์ที่ยาวนานมาก เราก็คงจะได้ผ่านพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบ้างแล้ว เพราะว่ามีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีตมาก แต่ว่าความรู้ความเข้าใจ ไม่ใช่ว่าฟังปุ๊บได้ปั๊บ รู้แจ้งอริยสัจธรรมได้เลย เป็นเรื่องของจิรกาลภาวนา คือ การอบรมสะสมอย่างมากทีเดียว อย่างพวกเราก็ทำกุศล มาแล้วในอดีต จึงได้เกิดเป็นมนุษย์ กรรมหนึ่งที่เป็นกุศลทำให้เกิดเป็นมนุษย์ แล้วเป็นมนุษย์ที่ไม่บ้าใบ้บอดหนวกด้วย แล้วก็มีโอกาสที่จะได้ฟังพระธรรม แต่ให้คิดถึงว่า ตอนเป็นเด็ก มีใครคิดไหมว่า จะนั่งอยู่ตรงนี้ จะฟังเรื่องอย่างนี้ แต่ละชีวิตก็ไปแต่ละแบบ แต่ว่าสังขารขันธ์ที่ปรุงแต่งสืบๆ มาจากจิตแต่ละหนึ่งขณะ หนึ่งขณะ ถึงกาลที่จะได้ฟังพระธรรม ไม่ใช่อยู่ดีๆ ก็จะมาได้ฟัง ต้องมีการสะสมที่จะมีโอกาสที่ถึงกาลหรือยัง เพราะว่าบางคนบ้านเดียวกัน ไม่ฟัง วิทยุก็เปิด ก็ยังไม่ฟัง เพราะว่าสังขารขันธ์ของเขายังไม่ได้ปรุงแต่งจนกระทั่งถึงกาลที่จะฟัง เพราะฉะนั้น ในขณะที่กำลังฟัง ให้ทราบว่าเราต้องเข้าใจธรรมละเอียดตั้งแต่ต้นว่า เป็นธรรม ไม่มีเรา เพื่อที่จะได้เอาเราออก ถ้ามีเรามีความทุกข์ เราก็ต้องเป็นอย่างนี้ เราก็ต้องดีอย่างนั้น ถ้าเราไม่ดีอย่างนั้น เราก็ต้องเดือดร้อนใจอย่างโน้น สารพัดที่จะเดือดร้อน แต่ว่าถ้าเป็นธรรมล้วนๆ เราจะเข้าใจถูกว่า อกุศลก็เป็นอกุศล เกิดเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับ แม้กุศลก็เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไปแล้ว เป็นของใครที่ไหน ถ้าเข้าใจลึกซึ้งถึงความเป็นธาตุแต่ละอย่าง เป็นธาตุจริงๆ เป็นธรรมธาตุ ก็จะเห็นได้ว่า แม้ขณะที่กำลังฟังขณะนี้ มีเหตุปัจจัยที่จะได้ฟังแล้ว แต่ว่าความศรัทธา ความสนใจ ปัญญาที่ได้สะสมมามากพอที่จะฟังต่อไปหรือเปล่า หรือว่ามีโอกาสเพียงแค่ได้ฟัง แต่ว่าก็ไม่ได้ติดตามหรือว่าไม่ได้สนใจต่อไป ก็ต้องคอยไปอีกนานแสนนานกว่าจะมีโอกาสได้ยินได้ฟังอีก แล้วค่อยๆ เห็นประโยชน์ขึ้นทีละเล็กทีละน้อย แต่ถ้าสะสมมามาก อย่างคนที่ในครั้งพุทธกาล บางท่านโกรธพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไปเฝ้า ฟังธรรม รู้เลยว่า ไม่เคยได้ยินคำอย่างนี้มาก่อน แล้วก็สามารถที่จะเข้าใจได้ แล้วบางท่านก็รู้แจ้งอริยสัจธรรมได้
แต่ละชีวิตที่จะมาสู่พระธรรม อาจจะมาโดยลักษณะต่างๆ กัน ในสมัยโน้น คนเห็นผิดก็มีมากมาย แล้วก็ไปฟังพระธรรมจึงได้เกิดการเห็นถูกขึ้น ทุกกาลสมัยก็เป็นอย่างนี้ แต่ละคนก็เป็นแต่ละหนึ่ง ไม่ซ้ำกันเลย ในที่นี้ แต่ละชีวิตที่ผ่านมา แต่ก็เป็นชีวิตที่สังขารขันธ์มีโอกาสที่จะเป็นสังขารปรุงแต่งจนกระทั่งสามารถที่จะได้ฟังในขณะนี้
ผู้ฟัง ถ้าผมทำตาม วิธีปฏิบัติสมาธิ ทำอย่างนี้ อย่างนี้ ผมทำตามดำเนินตามวิธีที่ท่านได้เขียนลงไป มันไม่น่าจะผิด นี่คือข้อที่ ๑ ข้อที่ ๒ คือว่า ถ้าอย่างนั้น ควรจะศึกษาอภิธรรมก่อน หมายความว่าผมควรจะเลิก หยุดปฏิบัติสมาธิก่อน เพื่อจะเรียนพระอภิธรรมให้ได้ก่อนแล้วถึงจะทำ หรืออย่างไร
ท่านอาจารย์ เคยพูดคำว่า พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ไหม แล้วต่อจากนั้นคือ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ หมายความว่าอย่างไร
ผู้ฟัง จะยึดพระพุทธ พระธรรมเป็นที่ตั้ง
ท่านอาจารย์ มีพระธรรมเป็นที่พึ่ง พระธรรมคือคำสอน เพราะฉะนั้น ถ้าเราไม่ศึกษาคำสอน เราจะมีอะไรเป็นที่พึ่งที่จะรู้ว่าใครถูกใครผิด แต่ถ้าเราศึกษาแล้ว เราสามารถที่จะรู้ได้ แต่ไม่มีชื่อคนเลย แต่จะมีว่าคำพูดอย่างนี้ ไม่ตรงไม่ถูกกับสภาพธรรม เพราะว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้ความจริงของสภาพธรรมทุกอย่าง เพราะฉะนั้น เมื่อเราศึกษาแล้วเราสามารถที่จะวัดได้ รู้ได้ ว่าสิ่งที่ได้ยินได้ฟังหรืออ่านนั้นถูกต้องหรือเปล่า แต่ถ้าเรายังไม่ได้เรียน ก็เป็นของธรรมดาที่ว่า ได้ยินได้ฟังอะไร เพราะเราไม่มีอะไรเป็นเครื่องวัด ไม่มีพระธรรมเป็นสรณะ เพราะฉะนั้น เราก็เข้าใจว่า ผู้นี้ถูก ผู้นั้นถูก แต่ถ้าเราศึกษามีพระธรรมเป็นสรณะจริงๆ ต่อไปเราจะมีพระอริยสงฆ์ คือ พระอริยบุคคลเป็นสรณะ เพราะเรารู้ว่า หนทางใดที่จะทำให้บุคคลใดเป็นพระอริยเจ้าได้ ไม่อย่างนั้นเราไม่รู้ เราสับสน และเราก็เอาความคิดของเราเองว่า คงจะเป็นอย่งนี้ หรือคงจะเป็นอย่างนั้น ซึ่งธรรมของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าละเอียดมาก ลึกซึ้งมากด้วย เมื่อ ๒ - ๓ วันนี้เราก็มาพูดกันบ่อยๆ เรื่องอริยสัจ ๔ ๒ อริยสัจแรกลุ่มลึกเพราะเห็นยาก แต่ว่า ๒ อริยสัจหลังซึ่งรวมทั้งการประพฤติปฏิบัติ การอบรมเจริญปัญญา ซึ่งเป็นอริยสัจสุดท้ายด้วย เห็นยากเพราะลุ่มลึก ทำไมเราลืมคำนี้ เราคิดว่าไปนั่งเฉยๆ ง่ายๆ เป็นสมาธิ ไม่ต้องศึกษาอะไร แล้วอย่างนั้นคำที่ว่า เห็นยากเพราะลุ่มลึก จะมีความหมายว่าอะไร
ธรรมทั้งหมดที่ได้ศึกษาจะสอดคล้องกันทั้งหมดทุกคำ ไม่คัดค้านกันเลย แม้แต่การที่เราจะไปคิดว่าเราจะไปทำสมาธิ แต่ว่าในคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ภาวนามี ๒ อย่าง สมถภาวนากับวิปัสสนาภาวนา ภาวนาทั้ง ๒ จะเป็นไปได้เมื่อมีปัญญา หมายความว่าถ้าปราศจากปัญญาแล้วจะอบรมเจริญสมถภาวนาหรือวิปัสสนภาวนาไม่ได้เลย เพราะอะไร เพราะเหตุว่า สมถะ แปลว่าสงบ สงบไม่ใช่ไปนั่งเฉยๆ คนเดียว ว่างๆ ไม่รู้อะไร แต่สมถะหมายความว่า สงบจากอกุศล เพราะฉะนั้น ขณะใดจิตเป็นอกุศล ผู้นั้นต้องรู้ ไม่ใช่ไปรู้ชื่อนิวรณ์ ๕ กามฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ แต่ขณะนี้นิวรณ์อะไร ทางตาหลังจากที่เห็น นิวรณ์อะไร ทางหูหลังจากที่ได้ยินแล้ว นิวรณ์อะไร เพราะสภาพธรรมมีจริงๆ ทั้งหมด แต่เราไปฟังเพียงชื่อเราไปอ่านเพียงชื่อ เราไปจำเพียงชื่อ ไม่รู้เลยว่า แท้ที่จริงชื่อทั้งหมด ขณะนี้มีหรือเปล่า แล้วเมื่อไร แต่ว่าการอบรมเจริญปัญญา แม้ว่าเป็นขั้นของความสงบ คือ สมถะ ก็ต้องรู้ว่า ขณะนั้นจิตสงบ หรือไม่สงบ ต้องมีสติสัมปชัญญะ ขณะนั้นสามารถที่จะรู้สภาพจิต อย่างที่เราถามกันว่า จิตเป็นกุศลหรือเป็นอกุศล หมายความว่า คำถามของเราไม่ได้รู้สภาพจิต จึงได้ถามเพียงชื่อ และเรื่องราวว่า อย่างนั้นเป็นกุศลหรืออย่างนั้นเป็นอกุศล
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 241
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 242
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 243
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 244
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 245
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 246
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 247
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 248
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 249
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 250
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 251
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 252
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 253
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 254
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 255
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 256
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 257
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 258
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 259
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 260
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 261
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 262
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 263
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 264
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 265
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 266
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 267
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 268
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 269
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 270
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 271
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 272
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 273
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 274
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 275
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 276
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 277
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 278
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 279
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 280
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 281
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 282
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 283
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 284
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 285
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 286
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 287
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 288
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 289
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 290
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 291
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 292
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 293
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 294
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 295
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 296
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 297
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 298
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 299
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 300