ปกิณณกธรรม ตอนที่ 275
ตอนที่ ๒๗๕
สนทนาธรรม ที่ บริษัทเดลี่กูดส์ จำกัด ถ.สุขสวัสดิ์ เขตราชบูรณะ
มีนาคม พ.ศ. ๒ ๕๔๒
ท่านอาจารย์ คนนี้จะปฏิบัติได้ไหม คนนั้นจะปฏิบัติได้ไหม ไม่ใช่ไปปฏิบัติ แต่ปฏิบัติหรือการภาวนาก็คืออบรมความเข้าใจตั้งแต่ขั้นฟังนี้แหละ จนกระทั่งถึงขั้นที่จะประจักษ์แจ้ง ซึ่งถ้าเป็นทวิเหตุกบุคคล หมายความว่า ปฏิสนธิจิตของบุคคลนั้น ไม่ประกอบด้วยปัญญาเจตสิก เพราะฉะนั้น จะเอาพื้นความรู้ความเข้าใจธรรมมาจากไหน ในเมื่อปฏิสนธิจิตก็ไม่ได้ประกอบด้วยปัญญาเจตสิก แต่ในบรรดาผู้ที่เป็นติเหตุกะ คือผู้ที่มีปัญญาเจตสิกเกิดด้วย ก็ยังต่างระดับขั้น ซึ่งเรายากที่จะรู้ได้ อย่างสุปปพุทธะ ซึ่งเป็นคนโรคเรื้อน ขอทาน เราจะไปรู้หรือว่า คนนี้ปฏิสนธิจิตของเขา มีปัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละบุคคลที่ว่าเมื่อฟังแล้ว คนนั้นเป็นผู้ตรงว่าเข้าใจธรรมที่ได้ฟังแค่ไหน ถ้ามีความสามารถที่เข้าใจได้ ก็ฟังอีก เข้าใจอีก เข้าใจอีก เขาก็เป็นผู้ที่สามารถฟังรู้เรื่องต่างกับผู้ที่เป็นทวิเหตุกบุคคล แต่ในบรรดาผู้ที่ฟังรู้เรื่อง มีใครที่สติระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ แม้ว่าเป็นติเหตุกบุคคล และในบรรดาผู้ที่เป็นติเหตุกบุคคลที่ปฏิสนธิจิตเกิดร่วมกับปัญญาเจตสิก ในขณะที่กำลังอบรมความรู้ความเข้าใจลักษณะของนามธรรมรูปธรรมที่กำลังปรากฏ จะถึงพร้อมด้วย วิปัสสนาญาณที่ ๑ หรือที่ ๒ หรือที่ ๓ ก็เป็นเรื่องของการอบรม
ผู้ฟัง ถ้าเป็นเช่นนั้น อภัพพบุคคลมีกี่ประเภท
ท่านอาจารย์ เวลานี้เราไม่ต้องคิดถึงเขาเลย เอาความเข้าใจธรรมที่ได้ฟัง ธรรมมีในพระไตรปิฎก ถ้าใครสนใจอ่านได้ เพราะเหตุว่าแปลแล้ว แม้แต่เรื่องใครเป็นอภัพพบุคคล ใครไม่ใช่อภัพพบุคคลอย่างไร แต่ว่าความเข้าใจเรื่องของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้สำคัญกว่า สิ่งใดก็ตามที่มีอยู่ในพระไตรปิฎก ค้นได้ ศึกษาได้ อ่านได้ แต่เมื่ออ่านแล้วศึกษาแล้ว จะมีความเข้าใจละเอียดอย่างไร หรือเข้าใจต่างกันอย่างไร ก็เป็นการสนทนาที่ให้เข้าใจได้ ถ้าเป็นหัวข้อมีอยู่แล้ว ในพระไตรปิฎก แล้วอะไรเป็นธรรม ที่ว่าเรียนธรรม อะไรเป็นธรรม
ผู้ฟัง สิ่งที่ว่าให้เราทำเพื่อให้ดีขึ้น
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ ธรรมคือทุกสิ่งทุกอย่างที่มีจริงๆ มีทั้งกุศลธรรม และอกุศลธรรม สิ่งที่ไม่ดีก็เป็นธรรมบังคับบัญชาไม่ได้ เพราะมีจริงๆ ไม่ใช่ไม่มี ถ้าเราพูดถึงสิ่งที่มีจริง เราต้องยอมรับ สิ่งที่มีจริงที่เป็นกุศลก็มี สิ่งที่มีจริงที่เป็นอกุศลก็มี ไม่ใช่เฉพาะกุศลเท่านั้นที่เป็นธรรม แม้อกุศลเมื่อมีจริงก็เป็นธรรมฝ่ายอกุศลธรรม แล้วก็ทั้งหมด ถ้าใช้คำว่าธรรม ถ้าเราเข้าใจลึกซึ้งในความหมายของคำนี้จริงๆ หมายความว่าไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่วัตถุสิ่งหนึ่งสิ่งใด เป็นสิ่งที่มีจริง แต่ว่าไม่ใช่ของใครทั้งสิ้น เป็นเพียงลักษณะ หนึ่งซึ่งเกิด แล้วก็ทำหน้าที่นั้นแล้วก็ดับ กุศลจิตเกิด ทำหน้าที่ของกุศลนั้นๆ แล้วก็ดับ อกุศลจิตเกิดแล้วก็ดับ ไม่อย่างนั้นก็ต้องมีกุศลตลอดไป หรือต้องมีอกุศลตลอดไป แต่ไม่ใช่อย่างนั้นเลย ทุกอย่างจะเกิดต้องมีเหตุปัจจัย เมื่อเกิดแล้วก็ดับ ได้ยินเป็นธรรมหรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็นธรรม สำหรับทุกคนหรือสำหรับดิฉัน
ท่านอาจารย์ ธรรมเป็นธรรม ไม่ใช่สำหรับใคร ตัวธรรม ใครจะรู้หรือไม่รู้ ธรรมก็เป็นธรรม ไม่ใช่เพราะคนนี้รู้จึงเป็น คนนี้ไม่รู้ไม่เป็น ไม่ใช่ ใครจะรู้หรือไม่รู้ อย่างความโกรธ มีจริงๆ ลักษณะของความโกรธคือทำร้าย ทำให้จิตใจเร่าร้อนไม่สบาย ไม่ว่าจะเกิดกับเด็ก เกิดกับผู้ใหญ่ ชาติไหน ภาษาไหน ลักษณะของความโกรธไม่เปลี่ยน เพราะฉะนั้น ความโกรธเป็นธรรมหรือเปล่า เป็นธรรม ได้ยินนี้เป็นธรรมหรือเปล่า
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ทุกอย่างเป็นธรรม เราบังคับไม่ให้ได้ยินได้ไหม ไม่ได้ เราบังคับไม่ให้คิดนึกได้ไหม ไม่ได้ ถ้าศึกษาธรรมโดยละเอียดจะทราบความหมายของคำว่า อนัตตา ไม่ใช่ของเรา เพราะมีปัจจัยเกิดขึ้นแล้วก็ดับ ถ้าได้ยินเป็นเรา ได้ยินดับแล้ว เราอยู่ที่ไหน เสียงเป็นเราหรือเปล่า เสียงของเราหรือเปล่า สิ่งที่เกิดแล้วดับแล้ว ใครจะยังยึดถือว่าเป็นเรา หรือของเรา หมดเลย ไม่มีเหลือเลย สิ่งที่ดับ หมายความว่าดับจริงๆ นี่คือการเรียนธรรม ไม่ใช่ไปนั่งสมาธิ แล้วบอกว่าการนั่งสมาธิเป็นการเรียนธรรม เรียนธรรม หมายความว่า เข้าใจว่า อะไรเป็นธรรม อย่างขณะนี้ ถ้ามีความเข้าใจว่า อะไรเป็นธรรม
ผู้ฟัง หนูเคยทำสมาธิ สมาธิ คือธรรมชนิดหนึ่ง
ท่านอาจารย์ สมาธิมี ๒ อย่าง มิจฉาสมาธิ และสัมมาสมาธิ สมาธิที่เป็นมิจฉา เป็นอกุศลก็มี สมาธิที่เป็นสัมมา เป็นกุศลก็มี ในพระไตรปิฎกแสดงไว้ ๒ อย่าง ความจริงก็เป็น ๒ อย่าง ถ้าสมาธินั้นไม่เกิดกับปัญญาก็ต้องเป็นมิจฉา ขณะใดที่มีปัญญาเกิดร่วมด้วย ก็เป็นกุศล เป็นสัมมา เพราะฉะนั้น เรื่องของปัญญาเป็นเรื่องที่ต้องเข้าใจถูกจริงๆ ว่า ปัญญาคืออะไร ปัญญารู้อะไร ปัญญาจะเจริญขึ้นได้อย่างไร ไม่ใช่ว่าทุกคนอยากจะมีปัญญามากๆ แต่ไม่รู้อะไรเลย แล้วไปคิดว่า ถ้าไปนั่งสมาธิแล้วปัญญาจะเกิดมากๆ เหตุกับผลไม่ตรงกันเลย นั่งสมาธิแล้วไม่รู้ว่าอะไรเป็นธรรม เพราะฉะนั้น จะชื่อว่าเป็นปัญญาได้อย่างไร แต่ขณะนี้ที่ฟัง ยังไม่ต้องไปไหน เพียงได้ยิน แล้วก็พิจารณาให้เข้าใจ ขณะใดที่เข้าใจ ขณะนั้นก็เป็นปัญญา ไม่ใช่เรา
ผู้ฟัง ดิฉันคิดว่า คนเรามันไม่เหมือนกัน
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง ถูกต้อง
ผู้ฟัง แต่ว่าดิฉันมีความรู้สึกว่า อาจารย์คิดถูกที่ว่าการฟัง
ท่านอาจารย์ เพราะว่าสำหรับดิฉัน ถ้าไม่ฟัง จะไม่มีอะไรให้พิจารณา
ผู้ฟัง อาจารย์ก็ต้องพูดถึงว่า นั่นคือตามอาจารย์ โดยอาจารย์เอง
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่เอง
ผู้ฟัง ทุกคนต้องเหมือนอาจารย์
ท่านอาจารย์ พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ไม่ทรงแสดงธรรม หรือ ทรงแสดงธรรม เรื่องจริงคือเข้าใจอะไร รู้อะไร ต้องมีสิ่งที่เราสามารถที่จะบอกได้ว่า เรารู้อะไร เราเข้าใจอะไร ไม่ใช่ว่าบอกไม่ได้ หรือรู้ไม่ได้ เพราะสิ่งที่จะต้องเข้าใจมีมาก
ผู้ฟัง ดิฉันจะพูดประสบการณ์ของฉันว่า การที่ดิฉันคิดอยู่ดีๆ คิดว่าคนนี้เป็นอย่างไร ไม่ดี นั่นก็คือความคิดที่ไม่ดีแล้ว แต่ดิฉันไม่อยาก คือ ดิฉันไม่อยาก อย่างนี้ให้เกิดขึ้น เราเข้าใจว่านั่น คือ สิ่งที่ไม่ดี แต่มันออกไปแล้ว
ท่านอาจารย์ นี่ก็เป็นเครื่องแสดงอยู่แล้วว่า สภาพธรรมเป็นอนัตตา แต่เพราะเราไม่รู้ความจริงว่า ธรรมเป็นอนัตตา เราก็เลยอยากจะบังคับ แต่ว่าเราบังคับไม่ได้ เพราะเราจะต้องเกิดความคิดอย่างนี้อีกแน่นอน ในเมื่อมีเหตุปัจจัยจะให้คิดอย่างไหน ความคิดอย่างนั้นก็เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ว่าเรารู้หมดแล้ว ไม่ใช่เลย ไม่ใช่ว่า เรารู้ว่า นี่ไม่ดี แค่นี้ยังไม่ใช่ความรู้ เพราะทุกคนก็รู้ได้ มีใครบ้างที่รู้ไม่ได้ อะไรไม่ดี ทุกคนก็บอกได้ แต่สิ่งที่ไม่ดีนั้นคืออะไร นี่ต่างหากที่ไม่รู้ ที่ต้องอาศัยการฟัง เพราะว่าพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้แล้ว ทรงแสดงธรรม ถ้าไม่ทรงแสดงธรรม ใครก็คิดเองไม่ได้
ผู้ฟัง สิ่งที่ไม่รู้คืออะไรบ้าง
ท่านอาจารย์ ทางตาที่กำลังเห็น เป็นเราหรือเปล่า ที่เห็น
ผู้ฟัง ไม่ใช่
ท่านอาจารย์ เป็นอะไร
ผู้ฟัง เป็นคนอื่น
ท่านอาจารย์ สภาพธรรม หมายความถึงสิ่งที่มีจริงๆ มีจริงๆ แน่นอน เพราะเราสามารถที่จะเห็นได้ ได้ยิน หรือว่าได้กลิ่น หรือว่าลิ้มรส หรือว่ากระทบสัมผัส สิ่งที่มีจริงๆ สิ่งนี้ เราจะเรียกอะไร หรือไม่เรียกอะไรก็ตาม สิ่งนั้นก็ยังมีจริงๆ ภาษาหนึ่งอาจจะเรียกอย่างหนึ่ง อีกภาษาหนึ่ง อาจจะเรียกอย่างหนึ่ง จะเรียกชื่อต่างกันอย่างไร แต่สภาพธรรมยังคงเป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าทราบไหมว่า คนมีทั้งดีทั้งชั่ว แล้วก็ทรงแสดงธรรม เพื่อให้เขาเกิดปัญญาก่อน เพราะเหตุว่าเราพยายามจะบังคับเท่าไรให้เราดี หรืออยากจะให้คนอื่นดี ในเมื่อธรรมเป็นธรรม เราจะบังคับธรรมซึ่งเพียงเกิดแล้วดับ ไปบังคับตรงไหน อย่างได้ยิน จะบังคับไม่ให้ได้ยิน ได้ไหม ถ้ามีเหตุปัจจัยที่จะให้ได้ยินเกิด เมื่อได้ยินเกิดจะบังคับได้ยินว่า อย่าดับ ได้ยินนี้อย่าดับ บังคับได้ไหม ก็บังคับไม่ได้ เมื่อได้ยินแล้วดับไป ไม่ทันที่มีใครจะไปบังคับอะไรสักอย่างเดียว สภาพธรรมทั้งหมดเกิดดับเร็วอย่างนี้ เป็นอย่างนี้ บังคับบัญชาไม่ได้อย่างนี้ แต่เราสามารถที่จะศึกษาให้เข้าใจความจริงของธรรม แล้วเราจะไม่เดือดร้อน เพราะเหตุว่าเมื่อเรารู้ความจริงแล้ว ขณะใดที่มีปัจจัยที่กุศลจิตจะเกิด ก็เกิดแล้วก็ดับ ขณะใดที่มีปัจจัยที่อกุศลเกิด อกุศลเกิดแล้วก็ดับ เราก็ไม่เดือดร้อนที่จะไปบังคับ เพราะเรารู้ความจริง แล้วความรู้อันนี้จะทำให้เราคลายความยึดถือว่าเป็นเรา เพราะว่าอกุศลทั้งหลายเพิ่มพูนเจริญขึ้น เพราะมีเรา หรือความเป็นเรา แต่ถ้าหมดความเป็นเราแล้วกุศลก็จะเจริญมากกว่าอกุศล
ผู้ฟัง ขอถามอีกครั้งหนึ่ง คือ ถ้าสมมติเราได้ยินเสียง แต่ดูเหมือนว่ารับ แต่ก็คือปล่อย นั่นก็คือ
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวก่อน ในความรู้สึกของเรา ได้ยินเสียง รับแล้วปล่อย แต่ความเป็นจริง เราจะรับหรือไม่รับ เสียงปรากฏ เราจะปล่อยหรือไม่ปล่อย เสียงดับ
ผู้ฟัง ความหมายคือ ชีวิตนี้ เราก็ไม่ใช่ มันไม่ใช่ คนเขาแก่บอกว่า มันยังไม่ควรจบ จนกว่าเราตาย แต่เราเตรียมพร้อม เพื่อให้เราคนวันหน้าที่เราตาย ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ หมายความว่าเราเกิดมา เรายังไม่มีความรู้ความจริงของสภาพธรรม ถูกไหม แล้วเราค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ พิจารณา ค่อยๆ ไตร่ตรองให้เข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ แล้วเราไม่เคยรู้ แล้วเราเคยยึดถือว่าเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล จนกระทั่งรู้ความจริงว่า สิ่งนั้นๆ แม้มีจริงก็ไม่ใช่ใครเลย ไม่ใช่ของใครด้วย เป็นเพียงแต่สภาพธรรมแต่ละอย่างที่เกิดแล้วก็ดับ ไม่มีสภาพธรรมใดเลยซึ่งเกิดแล้วไม่ดับ แล้วสภาพธรรมที่เกิดก็ต้องมีเหตุปัจจัยที่จะให้เกิดด้วย ไม่ใช่อยู่ดีๆ ใครอยากให้เกิดก็เกิด ใครไม่อยากให้เกิดก็ไม่เกิด ไม่ใช่อย่างนั้นสภาพธรรมมีเหตุปัจจัยที่จะเกิดจึงเกิด ถ้าไม่มีเหตุปัจจัยก็ไม่เกิด อย่างถ้าเราไม่มีเหตุปัจจัยที่จะโกรธ ความโกรธก็ไม่เกิด แต่ถ้ามีเหตุปัจจัยของโกรธ โกรธก็เกิด จะบังคับไม่ให้โกรธเกิดก็ไม่ได้ แล้วโกรธก็ดับ เราจะบอกว่าไม่ให้ดับได้ไหม
ผู้ฟัง หนูเข้าใจความหมายก็คือ นี่จะไม่เกิดขึ้นที่ Newton's Law ที่ ๓ ใช่ไหม ทุกอย่างที่เกิดขึ้น เหมือนเท่าเทียมกัน เพราะว่าอะไร คือไม่ใช่อนัตตา คือไม่มี Law นี้แล้ว
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวก่อน ถ้าจะใช้ว่าทั้งหมดเท่าเทียมกัน สภาพธรรมก็ต้องไม่ต่างกัน แต่นี้สภาพธรรมต่างกัน เป็นกุศลกับอกุศล นี่เท่าเทียมกันไหม นี่คือเรื่องละเอียด สภาพธรรม ละเอียดมาก แต่เพราะเป็นสิ่งที่มีจริง เพราะฉะนั้น ถ้าเราฟังแล้วเราค่อยๆ เข้าใจ ค่อยๆ พิจารณา ความรู้จะค่อยๆ เกิดขึ้น เป็นผู้ที่ตรงว่า ความรู้ คือความเข้าใจสิ่งที่มีอยู่ซึ่งไม่เคยเข้าใจ โดยอาศัยการฟังแล้วพิจารณา ถ้าไม่มีการฟังอย่างไรๆ เราก็คิดเองไม่ได้ ที่จะเห็นว่าสภาพธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา เกิดขึ้นแล้วดับไป จะคิดอย่างไร
ผู้ฟัง ผมเข้าใจว่า เขาไม่เข้าใจเรื่อง อนัตตา เมื่อกี้ได้ยินเสียงอาจารย์พูดไหม ได้ยินอาจารย์พูดไหม เมื่อกี้นี้ ใครได้ยิน
ผู้ฟัง หนูตอบว่า หนูได้ยิน
ผู้ฟัง ทีนี้จริงๆ แล้ว หนู คือเรา ใช่ไหม พูดคำว่าเรา ใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
ผู้ฟัง จริงๆ แล้วเราไม่มี ตามความเป็นจริง โดยสมมติ มีเราทุกคน โดยจริงๆ แล้วที่เป็นความจริงไม่มีเรา ที่เราได้ยิน เพราะมีเหตุมีปัจจัย เพราะหนูมีหู มีเสียงมาพูด แล้วมีช่องว่างในหู แล้วมีความตั้งใจ คือ จิตของหนูจะฟัง รวม ๔ อย่างนี้ หนูได้ยิน จริงๆ แล้วสภาพธรรมได้ยิน ไม่ใช่หนูได้ยิน
ผู้ฟัง ดิฉันฟังเหมือนฟังลม บางครั้งรู้สึกว่า เข้าใจหรือไม่เข้าใจ พัดไปพัดมาอย่างนั้น
ท่านอาจารย์ แสดงว่าการพิจารณายังไม่พอ เพราะฉะนั้น การฟังพระธรรม ฟังมาก สาวกติดตามพระผู้มีพระภาคไป สาวกในครั้งนั้น คิดถึงปัญญาของสาวกในครั้งนั้น เพื่อฟังพระธรรม ทั้งๆ ที่ฟังแล้ว บางครั้งสาวกฟังโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ แต่ด้วยพระมหากรุณาแม้ทรงทราบก็ทรงแสดงซ้ำ ไม่ใช่เราฟังวันนี้ แล้วเราเข้าใจทันที แต่เราต้องรู้ความเข้าใจ จากการไปนั่งดูพองยุบ หรือว่าจากการฟังพระธรรมที่ทรงแสดง แล้วค่อยๆ พิจารณาจนกว่าจะเข้าใจ เราต้องเป็นผู้ที่ตรงว่า ความเข้าใจของเรามาจากไหน แล้วเราก็จะได้เข้าใจขึ้น โดยวิธีนั้น ไม่ใช่โดยวิธีอื่น ถ้าโดยการฟังเข้าใจก็ฟังอีก ถ้าฟังยังไม่เข้าใจ แต่ว่าพูดเรื่องสิ่งที่มีจริงๆ ไม่ได้พูดเรื่องอื่น พูดเรื่องสิ่งนี้ วันนี้ เดี๋ยวนี้ ถ้าเราฟังแล้วค่อยๆ เข้าใจขึ้น หรืออาจจะยังไม่เข้าใจชัดเจน ถ้าฟังอีกก็ยังเป็นเรื่องสิ่งที่มีจริงๆ ที่จะให้เข้าค่อยๆ พิจารณาเข้าใจได้
ผู้ฟัง หนูอยากถามว่า สมมติว่าเรารู้ว่า ทุกอย่างเป็นอนัตตา เราทำไมต้องรู้ว่า จิตนี้ จิตนั้น ทั้งที่เรารู้ว่ามันอนัตตา เราก็ปล่อยไว้ ปล่อยวางๆ ทุกวันๆ
ท่านอาจารย์ นั่นคือไม่รู้ ถ้ารู้ว่าเป็นอนัตตาจริงๆ ก็ละความเป็นเรา ไม่ใช่จิตเจตสิก ไม่ใช่เรา เป็นอนัตตา แล้วเราจะทำอย่างอื่น ไม่ใช่อย่างนั้น แต่ถ้ารู้จริงๆ ว่า ไม่ใช่เรา เป็นจิต เป็นเจตสิก เป็นรูป ความรู้อันนี้ก็ละความยึดถือซึ่งไม่เคยรู้ แล้วก็ยังมีเราอยู่
ผู้ฟัง อย่างนั้นถ้าสมมติเราคิดผิด ก็ปล่อยเขาไป ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ปล่อยหรือไม่ปล่อย ความคิดก็ดับ เราอย่าไปคิดว่าเราปล่อย
ผู้ฟัง ความหมายอาจารย์บอกว่า มันดับ แต่มันผิดแล้ว
ท่านอาจารย์ ผิดแล้วมันก็เกิดอีกได้ ถ้าความรู้เราไม่พอ เพราะฉะนั้น คนเราที่จะให้หมดอกุศล ไม่มีเหลือเลย ต้องเป็นพระอรหันต์ แต่ว่ากว่าจะเป็นพระอรหันต์ ต้องเป็นพระอริยบุคคลขั้นต้นก่อน คือ พระโสดาบัน พระโสดาบันยังมีอกุศล แต่ไม่เห็นผิดในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เพราะว่ารู้ลักษณะของธรรมเป็นธรรมแต่ละอย่าง มีเหตุปัจจัยก็เกิดขึ้น แล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้น ก็หมดความยึดถือสภาพธรรมว่า เป็นตัวตน แต่รู้ว่า ธรรมเป็นธรรม เป็นธาตุแต่ละชนิด โลภะเป็นธาตุชนิดหนึ่ง โทสะเป็นธาตุชนิดหนึ่งปัญญาเป็นธาตุชนิดหนึ่ง ธรรมทุกอย่างเป็นธาตุทั้งหมด เพราะฉะนั้น ก็รู้ความจริงของธาตุว่า เมื่อมีเหตุปัจจัยที่ธาตุชนิดนั้นยังจะต้องเกิดก็ต้องเกิด จนกว่าปัญญาจะสมบูรณ์ขึ้นอีกระดับหนึ่ง จึงจะละอกุศลต่อไปอีกได้ ต่อไปอีกได้ จนกว่าจะถึงความเป็นพระอรหันต์ แต่ต้องเป็นปัญญา ต้องเป็นความรู้ถูก ความเห็นถูก ส่วนใหญ่คนมีความต้องการ ที่จะไม่มีอกุศล เพราะฉะนั้น เขาพยายามมากหลายทางที่จะไม่มีอกุศล ทางหนึ่งก็คือ เขาคิดว่าไปนั่งปฏิบัติ แล้วจะไม่มีอกุศล คิดว่าจะมีปัญญาที่อกุศลจะหมดไปได้ ต้องมีปัญญา ถ้าไม่มีปัญญา อกุศลก็หมดไปไม่ได้
เขาคิดว่า เมื่อไปนั่งแล้วปัญญาจะเกิด บางคนก็ไม่รู้เรื่องปัญญาเลย คิดว่าเมื่อไปนั่งแล้วก็จะได้เป็นพระโสดาบัน ไม่รู้เรื่องปัญญาว่าปัญญารู้อะไร การเป็นพระโสดาบันบุคคล ละอะไรที่เป็นอกุศลก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้น เขาไปด้วยความหวัง แต่ไม่ได้ไปด้วยความรู้ เพราะถ้ารู้จริงๆ ขณะนี้สภาพธรรมกำลังเกิดดับ ถ้ารู้จริง คือไม่ว่าเมื่อไรที่ไหน ปัญญาก็สามารถที่จะประจักษ์ความเกิดดับของสภาพธรรมได้ เพราะว่าเป็นปัญญาตรงกันข้ามกับอวิชชา อวิชชาก็เป็นธรรม เป็นอกุศลธรรม แต่อวิชชาไม่สามารถจะรู้ความจริงของธรรม แม้กำลังเผชิญหน้ากับธรรมขณะนี้ก็ไม่รู้ความจริงของธรรม นี่คือ อวิชชา
เพราะฉะนั้น คนเราก็สามารถที่ว่าเมื่อฟังธรรมแล้วก็รู้จักตัวเองได้ว่า เรามีอวิชชามากแค่ไหน ทั้งทางตาที่กำลังเห็น ทางหูกำลังได้ยิน ทางจมูกเวลาได้กลิ่น ทางลิ้นกำลังลิ้มรส ทางกายกำลังกระทบสัมผัส ทางใจที่คิดนึก อวิชชากองใหญ่แค่ไหน ถ้าเป็นวัตถุสิ่งของ ไม่มีที่จะเก็บเลย แต่เพราะเป็นนามธาตุ หรือเป็นนามธรรม แต่ก็สะสมไว้ จนกระทั่งเป็นสภาพของจิตซึ่งต่างกัน ประมาณไม่ได้เลย คนมีเท่าไรที่เรียกว่าเป็นคน ก็คือจิตต่างกันเท่านั้น ที่เราเห็นเป็นประเภทต่างๆ ไม่ว่าใครจะพูดดี ไม่ว่าใครจะพูดไม่ดี ก็ต้องมีจิตที่ดีหรือไม่ดี ซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดการพูด การคิด หรือการทำอย่างนั้น
นี่ก็เป็นเรื่องที่เราจะต้องเข้าใจตามลำดับ แล้วต้องมีเหตุผล ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ ก็ไปนั่ง แล้วคิดว่าจะไม่มีกิเลส หรืออยู่ดีๆ ไปนั่งจะเป็นพระโสดาบัน อยู่ดีๆ ไปนั่ง แล้วก็จะรู้แจ้งอริยสัจธรรม เพราะว่าการรู้แจ้งต้องเป็นเรื่องของปัญญา
ผู้ฟัง พระพุทธเจ้าท่านนั่งสมาธิ ใช่ไหม ถึงได้ตรัสรู้
ท่านอาจารย์ ยามของอินเดียแบ่งเป็น ๓ ยามใหญ่ๆ ยามละ ๔ ชั่วโมง เพราะฉะนั้น ปฐมยามระลึกชาตินับไม่ถ้วนเลย ระลึกไป ระลึกไปเท่าไร ไม่จบ ซึ่งเป็นอดีต เพราะฉะนั้น ก็ระลึกถึงอนาคต เช่น เมื่อสัตว์นี้ตายแล้วก็เกิดเป็นอะไร แต่ก็ไม่สามารถที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรม จนกว่าสติปัฏฐานระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมด้วยพระปัญญาบารมีทั้งหลายที่ได้สะสมมา ทำให้สามารถที่จะละการยึดถือสภาพธรรม และประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมจนเป็น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ ด้วยปัญญาในยามสุดท้าย
ผู้ฟัง แสดงว่าท่านนั่งสมาธิ แล้วก็คิดไป
ท่านอาจารย์ ในยามที่ ๑ ระลึกชาติ ถ้าพูดถึงเรื่องสมาธิหรือสัมมาสมาธิ สมถภาวนา ต่อไปจะทราบว่าจิตที่เป็นกุศล ที่สงบประณีต เมื่อมีกำลัง สามารถที่จะกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ ได้จริงๆ สามารถแม้แต่จะระลึกชาติต่างๆ ได้ นี่ก็เป็นเรื่องของการที่จะเข้าใจว่า สภาพจิตที่สงบ ที่มีกำลังจะเป็นอย่างไร แต่ก็ไม่ได้รู้แจ้งสภาพธรรมที่ปรากฏ เพราะเป็นคนละเรื่อง นั่นเป็นเรื่องความสงบของจิต แต่นี่เป็นเรื่องการอบรมเจริญปัญญารู้ความจริงของสภาพธรรมเดี๋ยวนี้ที่กำลังปรากฏ ซึ่งต้องเป็นยามที่ ๓ ปัจฉิมยาม
ผู้ฟัง เป็นข้อสงสัย ผมตั้งใจว่าจะเรียนถาม ชีวิตประจำวัน ขนบธรรมเนียมประเพณี ที่บุคคลที่ตายไปแล้ว ๗ วันทำบุญทำกุศลให้ในวัด ผู้ตายนั้นได้รับไหม
ท่านอาจารย์ ได้รับหมายความว่าอย่างไร
ผู้ฟัง กุศลที่ลูกๆ เขาทำ
ท่านอาจารย์ กุศลคืออะไร
ผู้ฟัง กุศล คือความดีที่เขาได้กระทำให้แก่คุณพ่อของเขา
ท่านอาจารย์ กุศลเป็นปรมัตถธรรม อะไร
ผู้ฟัง เป็นปรมัตถธรรมอะไร ศัพท์นี้ผมจำไม่ได้
ท่านอาจารย์ มีอยู่ ๔ อย่าง ปรมัตถธรรม จิต เจตสิก รูป นิพพาน เพราะฉะนั้น กุศลเป็นอะไร
ผู้ฟัง เป็นเจตสิกที่รับรู้
ท่านอาจารย์ เป็นจิต และเจตสิกที่เกิดร่วมกัน ที่เป็นฝ่ายดี ของใคร
ผู้ฟัง ของผู้กระทำ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ต้องเป็นเรื่องของใครก็ของคนนั้น จิตนี้เป็นกุศล จิตนั้นเป็นอกุศล จิตนี้เป็นกุศล จิตนั้นเป็นอกุศล คือ จิต เจตสิกของแต่ละคน ซึ่งเกิดแล้วก็ดับ แล้วก็เกิดแล้วก็ดับ จะไปรับอะไรของใครที่ไหน จิตเป็นกุศลเมื่อไร ก็จะเป็นปัจจัยให้เกิดกุศลวิบากในภายหลัง ของใครก็ของคนนั้น การที่ลูกกระทำบุญแล้วอุทิศส่วนกุศลให้ ไม่ใช่ส่งอย่างอื่นไปให้เลย เพียงแต่ว่าถ้าพ่อมีโอกาสที่จะล่วงรู้ และอนุโมทนา คือ กุศลจิตของพ่อเกิด เพื่อเหตุนั้น เพื่อที่ว่าจิตของพ่อจะเป็นเหตุให้เกิดกุศลวิบากของพ่อเอง จิตของใครก็เป็นเหตุของคนนั้น
ผู้ฟัง เราไปวัดไปทำสังฆทาน เพื่อส่งไปให้ญาติพี่น้อง
ท่านอาจารย์ เราทำกุศล ได้ทุกอย่าง แม้ว่าเราจะไม่ไปวัด ไปทำสังฆทาน เราทำอย่างอื่น แม้แต่การฟังธรรมวันนี้ เราก็อุทิศส่วนกุศลให้ได้ กุศลทุกอย่าง เพราะฉะนั้น เวลานี้ทุกคนต้องทราบเรื่องเหตุกับผล กุศลจิตเป็นเหตุ กุศลวิบากเป็นผล แต่ต้องเป็นจิตของคนหนึ่งซึ่งดับแล้วก็สืบต่อ สืบต่อไป แม้แต่กรรมนี้ทำเสร็จแล้ว อย่างวันนี้ที่เราสนทนาธรรมเป็นกุศล เมื่อมีความเข้าใจเกิดขึ้น จิตนี้ดับตลอด แต่ว่าความเข้าใจหรือกุศล สิ่งที่ดี ก็สืบต่อในจิตขณะต่อไป ตัวเหตุดับแล้ว แต่สะสมสืบต่อจนกว่าจะถึงกาลที่พร้อมที่จะให้วิบากจิตเกิด วิบากจิตเป็นผลของกุศล วิบากจิต คือ เห็นสิ่งที่ดี ถ้าเป็นกุศลวิบาก ได้ยินเสียงที่ดี ได้กลิ่นที่ดี ลิ้มรสที่ดี รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสกายที่ดี มี ๕ ทางที่จะเป็นวิบาก คือผลของกรรม เพราะฉะนั้น ที่เรากำลังเห็นเดี๋ยวนี้ ถ้าเป็นกุศลวิบาก หมายความว่าเพราะกุศลกรรมได้กระทำแล้ว เป็นเหตุสืบต่อในจิต ตลอดมาจนกระทั่งพร้อมที่จะเป็นปัจจัย ให้จิตเห็นเกิดขึ้น หรือว่าบางกาลกุศลกรรมก็สืบต่อ พร้อมที่จะเป็นปัจจัยให้กุศลวิบากที่ได้ยินเกิดขึ้น เพราะว่าพวกนี้เป็นวิบากหมด เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส พวกนี้เป็นวิบากหมด เพราะฉะนั้น ถ้ากุศลจิตของใครเกิด แม้ว่าดับ ก็สืบต่ออยู่ในจิตขณะต่อไป เมื่อถึงเวลาที่จะเป็นวิบากจิตเกิด ก็เกิดเพราะกรรม คือ เหตุที่ได้กระทำสืบต่อมานั่นเอง
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 241
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 242
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 243
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 244
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 245
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 246
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 247
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 248
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 249
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 250
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 251
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 252
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 253
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 254
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 255
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 256
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 257
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 258
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 259
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 260
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 261
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 262
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 263
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 264
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 265
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 266
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 267
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 268
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 269
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 270
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 271
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 272
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 273
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 274
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 275
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 276
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 277
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 278
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 279
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 280
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 281
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 282
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 283
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 284
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 285
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 286
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 287
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 288
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 289
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 290
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 291
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 292
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 293
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 294
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 295
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 296
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 297
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 298
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 299
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 300