ปกิณณกธรรม ตอนที่ 244
ตอนที่ ๒๔๔
สนทนาธรรม ที่ ประเทศสหรัฐอเมริกา
พ.ศ. ๒๕๔๕
ท่านอาจารย์ ความเห็นถูกแต่ละภพแต่ละชาติจะค่อยๆ สะสม จนกระทั่งพอฟังธรรม เราเข้าใจเลยว่า เป็นธรรม แล้วก็เป็นธรรมตลอดวันตั้งแต่เช้าจนถึงค่ำ กี่วัน กี่คืนก็เปลี่ยนลักษณะของธรรมไม่ได้เลย พอเกิดโกรธ เป็นธรรม มีจริงๆ เกิดแล้วก็ดับ เพราะเดี๋ยวนี้ใครโกรธ ก็ไม่มี ทุกอย่างหมดก็เป็นธรรม เป็นอนัตตา แม้ว่าเวลาที่ไม่ได้ฟัง เป็นอัตตา แต่พอได้ยินได้ฟัง ความเข้าใจความเป็นอนัตตาก็เพิ่มขึ้น
เพราะฉะนั้น จึงมีผู้ที่สะสมความเข้าใจถูกจนกระทั่งประจักษ์แจ้งเป็นพระโสดาบัน คือ เห็นจริงตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้แล้วทรงแสดงให้ผู้อื่นได้รู้ตามด้วย แต่ต้องเป็นปัญญาของแต่ละบุคคลที่สะสม ถ้าไม่มีการฟัง ไม่เริ่มตั้งแต่การฟัง ก็ไม่มีทางที่เราจะคิดได้เอง
ผู้ฟัง เรื่องสว่างทางเดียว สงสัยว่าทางมโนทวารก็รู้สืบต่ออารมณ์นั้นทางจักขุทวาร แล้วทำไมถึงเรียกว่าสว่างเพียงทางเดียว
ท่านอาจารย์ ทางหูเวลาที่จิตได้ยินเกิด แล้วก็มโนทวารรับต่อ สว่างไหม
ผู้ฟัง ไม่สว่าง
ท่านอาจารย์ ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ไม่สว่าง เพราะฉะนั้น ในนี้คือความหมายอย่างนี้
ผู้ฟัง คือหมายความว่าต้องรับต่อจากทางจักขุทวาร
ท่านอาจารย์ ในขณะที่ผ่านจักขุทวารแล้ว อยู่ดีๆ สว่างขึ้นมาเองได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ผู้ฟัง ในขณะที่ว่าเป็นเราเห็น ถ้าไม่มีจิต จะเห็นไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น จิตต่างหากที่เห็นโดยอาศัยตา และทุกอย่างที่ผ่านทางตา หมดแล้ว หมดเรื่องของทางตา รูปทางตาดับ ทางใจเขารับต่อไว้หมดเลย ทางใจเขาจะจำเรื่องราวทุกอย่างที่เห็น ที่ได้ยิน ที่ได้กลิ่น ที่ลิ้มรส ทั้งหมดคือทางใจ เพราะฉะนั้น จริงๆ แล้ว ถ้าจะพลิกโลกนี้กลับ เป็นโลกของมโนทวาร ที่รับสีนิดหนึ่งแล้วก็จำ เสียงนิดหนึ่งแล้วก็จำ กลิ่นนิดหนึ่งแล้วก็จำ เพราะฉะนั้น เขาเป็นธาตุที่มืดสนิท แล้วก็ทำกิจ เมื่อมีจักขุทวารก็เห็น โสตทวารก็ได้ยิน เล็กๆ น้อยๆ นิดๆ หน่อยๆ แต่มโนทวารเขาจะรับต่อหมด
ธรรมนี้อยู่ที่ตัว ไม่ใช่อยู่ในตำรา เวลาฟังธรรม ต้องรู้ว่าทรงแสดงสิ่งที่มีอยู่ แล้วก็เคยไม่รู้ เคยเข้าใจว่า เป็นเรา ให้รู้ว่า ทั้งหมด จิต เจตสิก ก็อยู่ตรงนี้แหละ อย่างคำว่า “จิต” เป็นคำหนึ่งที่ใช้สำหรับธาตุรู้ซึ่งเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้ แต่ใช้พยัญชนะอื่นด้วย เช่น มโน หทยะ ปัณฑระ ทุกคำจะมีความหมายของสภาพของจิต อย่างหทยะ เป็นสภาพที่เป็นภายใน มีอะไรจะในยิ่งกว่าจิตบ้าง ไม่มี แม้เจตสิกที่เกิดกับจิตเพราะมาเกิดกับจิต เพราะฉะนั้นยังเป็นภายนอกที่เกิดกับจิต เพราะว่า ไม่ใช่ว่าเจตสิกทั้งหมดจะเกิดกับจิตพร้อมกัน ต้องแล้วแต่ว่าจิตประเภทนี้มีเจตสิกอะไรเกิดร่วมด้วย
เพราะฉะนั้น โดยอายตนะ จำแนกเลย มนายตนะเป็นจิต เจตสิกเป็นธัมมายตนะภายนอก ปัณฑระ ก็หมายความถึงจิตทุกชนิด ทุกประเภท ความหมายคือเป็นสภาพที่ผ่องใส ซึ่งคนส่วนมากจะเคยชินกับปภัสสระ อย่างใน อรรถสาลินี จะแปลความหมายของปัณฑระ ในความหมายของปภัสสระ แต่ใน ปฏิสัมภิทามรรค จะแยกออกมาว่า จิตทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นอกุศลจิต หรือกุศลจิต หรือวิบากจิตซึ่งเป็นผลของกุศล และอกุศลก็ผ่องใส ในฐานะที่ว่า เฉพาะตัวจิตล้วนๆ ไม่นับเจตสิก เขาเป็นสภาพที่ไม่ใช่เป็นอกุศล หรือว่ากุศลใดๆ ทั้งสิ้น เป็นสภาพที่ผ่องใส เพราะฉะนั้น ถ้าเราศึกษาโดยละเอียด เราก็จะละเอียดตามคำที่เราเคยได้ยินว่า จิตทำไมมีหลายชื่อ
ผู้ฟัง สติปัฏฐานสูตร ท่านแสดงว่า ในการที่จะรู้ธรรมทั้งภายในทั้งภายนอก ที่รู้ธรรมภายนอกหมายความว่าอะไร
ท่านอาจารย์ เวลานี้มีภายใน และภายนอกหรือเปล่า หรือไม่มี
ผู้ฟัง มีแต่สิ่งที่ปรากฏขึ้นเท่านั้นเอง
ท่านอาจารย์ สติปัฏฐานสูตรทั้งหมด ทรงแสดงตามแต่ก่อนเคยเป็นอย่างไร เคยเข้าใจว่าอย่างไร แล้วความจริงเป็นอย่างไร อย่างเห็นกายในกาย ต้องเข้าใจว่ามีกาย ก่อนที่สติปัฏฐานจะเกิด เข้าใจว่ามีกาย แล้วจึงเห็นกายในกาย คือเห็นธรรม
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์หมายความว่า ในลักษณะในทำนองนั้นเหมือนกันว่า ก่อนโน้น เห็นว่า มีทั้งภายใน ทั้งภายนอก
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง
ผู้ฟัง แต่ตามความเป็นจริงแล้ว เป็นแต่เพียงสิ่งที่ปรากฏขึ้นเท่านั้น
ท่านอาจารย์ ใช่ เป็นธรรม ต้องเห็นว่าเป็นธรรม ธรรมนี้ฟังแล้วเบาสบายหรือหนัก เบาสบายหรือหนัก ขณะที่เข้าใจไม่หนัก ตอนที่กำลังเข้าใจแล้วไม่หนัก โล่งจากความไม่เข้าใจ แต่พอตอนอื่นที่ไม่เข้าใจ หนักหรือเบา
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ถามอย่างนี้ต้องสงสัย เพราะว่ามันมีทั้งหนักทั้งเบา
ท่านอาจารย์ เมื่อกี้บอกแล้ว ขณะที่เข้าใจ ตรงเข้าใจเบาโล่งจากความไม่เข้าใจ
ผู้ฟัง ในขณะที่เข้าใจเบา
ท่านอาจารย์ เฉพาะตรงขณะที่เข้าใจเป็นกุศล ประกอบด้วยปัญญา และความจริงตัวเข้าใจก็คือ ปัญญาเจตสิก ไม่ต้องไปหาที่ไหนเลย
ผู้ฟัง แต่ความจริงความไม่เข้าใจมันมากครับท่านอาจารย์ ก็เลยหนัก
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เราก็รู้ว่าตรงเฉพาะที่เข้าใจนั่นแหละเบา เวลาที่ปัญญาเกิด เวลาที่มีความเห็นถูก ความเข้าใจถูกแล้วปัญญาก็เป็นเจตสิก เราไปเรียนเรื่องปัญญาเจตสิก แต่ขณะที่กำลังเข้าใจ คือปัญญาเจตสิกนั่นเอง ไม่ใช่เรา
ผู้ฟัง ตอนที่เข้าใจ ทำให้รู้ว่ายังไม่เข้าใจอีกมาก
ท่านอาจารย์ ถูกไหม อยู่ที่ความเป็นผู้ตรง ธรรมต้องเป็นผู้ตรง จึงจะได้สาระจากพระธรรม ตรงจริงๆ คือเกิดกับเราอย่างไร ก็เกิดอย่างนั้น ถ้ารู้ว่าไม่เข้าใจอีกมาก ก็ถูก
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น พอเข้าใจ ก็รู้ว่าไม่เข้าใจอีกมาก
ท่านอาจารย์ ก็ถูก
ผู้ฟัง ยังรู้ว่ายังโง่อีกมาก
ท่านอาจารย์ นั่นคือปัญญาที่รู้ตามความเป็นจริง
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น มันไม่โล่ง
ท่านอาจารย์ ไม่ ขณะที่เข้าใจ ต้องใช้คำว่าชั่วขณะที่เข้าใจ แต่ที่ไม่เข้าใจมาก มันก็เลยกลายเป็นหนักเยอะ แต่ขณะใดที่เข้าใจก็พ้นจากความไม่เข้าใจไปชั่วขณะๆ
อรรณพ การเจริญสติปัฏฐาน ละอภิชฌา และโทมนัสในโลก อาจารย์ได้กรุณาอธิบายตรงนี้
ท่านอาจารย์ โลกอยู่ที่ไหน
อรรณพ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ท่านอาจารย์ ขณะนี้อะไรเป็นโลก
อรรณพ สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
ท่านอาจารย์ เวลาที่สติระลึกลักษณะของสภาพธรรมใด ขณะนั้นละอภิชฌาในสิ่งที่กำลังปรากฏนั้น แล้วก็ละโทมนัสในสิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะรู้ลักษณะนั้นว่าเป็นสภาพธรรม ความหมายของโลก คือ สภาพธรรมที่เกิดดับ นี่แน่นอน แล้วก็โลกในพระอริยะก็คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะถ้าไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ขณะนั้นโลกไม่ปรากฏ นอนหลับสนิท โลกไม่ปรากฏเลย ชื่ออะไร เป็นใคร อยู่ที่ไหน สมบัติอย่างไร พี่น้องเพื่อนฝูงอย่างไร ก็ไม่มีเลย เพราะโลกไม่ปรากฏ
เพราะฉะนั้น โลกทางตาปรากฏอย่างนี้แหละ สำหรับคนที่มีจักขุปสาท ตาไม่บอด โลกทางหูก็อย่างนี้แหละ แล้วก็มีอยู่แค่ ๖ (โลก)
อรรณพ เพราะฉะนั้น ท่านอาจารย์หมายความว่า ขณะที่สติปัฏฐานเกิด ขณะนั้นไม่หวั่นไหวด้วยความยินดียินร้ายชั่วขณะที่สติปัฏฐานเกิด ส่วนเมื่อสติปัฏฐานดับไปแล้ว ชีวิตประจำวันเราก็มีอกุศลอะไรต่างๆ มากมาย ก็ยังคงมีความรัก ความชัง สัตว์บุคคล เป็นโลก
ท่านอาจารย์ ก็เป็นโลก ทุกอย่างเป็นโลก ขณะนี้ที่กำลังเห็น แล้วก็ถ้าสติสัมปชัญญะ เกิดกำลังเข้าใจสิ่งที่กำลังเห็น สภาพเห็นว่ามีจริงๆ แต่ก่อนเป็นเราเห็น ตอนนี้ก็เริ่มที่จะเข้าใจว่าแท้ที่จริงก็คือสภาพชนิดหนึ่ง ธรรมชนิดหนึ่ง เป็นนามธรรมที่เห็น ขณะนั้นละอภิชฌา และโทมนัส ตรงนั้น ขณะนั้น ไม่ใช่ตรงอื่น
ผู้ฟัง ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา สิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร สิ่งที่ดับไปแล้วจะเป็นของใคร ก็ไม่ใช่ของใครทั้งสิ้น นี่คือความหมายของอนัตตา แล้วก็ธรรม แล้วก็ดับไป มันก็เลยรู้สึกว่า มันเหมือนว่า ความเข้าใจเบื้องต้นกับสิ่งที่กำลังจะเป็นความรู้ต่อไป มันก็เลยดูเหมือนว่า เราจับประเด็นตรงไหนที่จะทำให้เกิดไม่ต้องสับสน
ท่านอาจารย์ ให้เข้าใจถูก ขณะนี้มีคุณศุกลหรือเปล่า
ผู้ฟัง อันนี้ตามการศึกษาทราบว่า ไม่มี แต่ว่ามีสภาพธรรมที่ประชุมรวมกัน
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น การที่ประจักษ์ต้องประจักษ์ตามลำดับหรือเปล่า
ผู้ฟัง จากที่การศึกษาก็กล่าวไว้อย่างนั้น ต้องตามลำดับ
ท่านอาจารย์ ตามลำดับ คือ ขณะนี้ ถ้าไม่มีความเข้าใจว่าเป็นธรรม เราจะไปทำอย่างอื่น ไปหาธรรมที่อื่น ขึ้นเหนือ ล่องใต้ ไปหาธรรม แต่ถ้ารู้ว่าขณะนี้เป็นธรรม ต้องไป แสวงหาที่อื่นหรือเปล่า
ผู้ฟัง ถ้ามีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจอยู่ที่ไหน ก็มีธรรมอยู่ที่นั่น
ท่านอาจารย์ จะไปหาธรรมที่อื่น ที่อื่นที่คุณศุกลว่า ไม่ว่าจะมีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่ไหนก็เป็นธรรมที่นั่น แล้วเดี๋ยวนี้
ผู้ฟัง เดี๋ยวนี้ก็มีธรรม
ท่านอาจารย์ ธรรมอะไรที่มี
ผู้ฟัง ธรรมที่กำลังเกิดขึ้นปรากฏ
ท่านอาจารย์ อะไรล่ะ
ผู้ฟัง ทางตา เป็นสิ่งที่ปรากฏ
ท่านอาจารย์ สิ่งที่ปรากฏ เป็นธรรมอะไร
ผู้ฟัง เป็นธรรมที่ไม่รู้อารมณ์
ท่านอาจารย์ เป็นรูปธรรม รู้จริงๆ อย่างนี้หรือยัง
ผู้ฟัง ยังไม่รู้จริง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ตามลำดับก็คือรู้จริงๆ อย่างนี้
ผู้ฟัง ตอนนี้ยังรู้เรื่อง รู้ชื่อ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น คุณศุกลจะว่าไม่เป็นตามลำดับไม่ได้ เพราะว่าตามลำดับ คือรู้ว่าเป็นธรรม ไม่ไปแสวงหาธรรมที่อื่น จากขณะนี้ที่ธรรมกำลังปรากฏ ถ้าเข้าใจแล้วขณะนี้ที่ธรรมกำลังปรากฏ ก็ถามว่าอะไรปรากฏ ก็บอกว่าสิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นรูปธรรม รู้อย่างนี้หรือเปล่า ถ้าไม่รู้ก็คือรู้ตามลำดับ นี่คือตามลำดับ รู้ว่าเป็นรูปธรรม รู้ว่าเป็นนามธรรมก่อน แล้วอย่างนี้จะไม่กล่าวว่า เป็นลำดับได้อย่างไร
ข้อสำคัญที่สุดก็คือ ได้มีโอกาสฟังพระธรรมจากการตรัสรู้ จะไม่รู้ว่า อีกเมื่อไหร่เราจะได้ฟังอีก ถ้าไม่สะสมความเข้าใจของเรา ก็ย่อมจะช้า แล้วก็น้อย แต่ว่าถ้าสะสมความเข้าใจไป เวลาได้ฟังอีก เราก็เข้าใจได้เลย ตราบใดที่ยังมีพระธรรมคำสอน แล้วเราก็ยังมีโอกาสจะได้ฟัง ก็จะได้เข้าใจขึ้น คุณบุญช่วยชอบลาภชนิดไหน ไม่มีใครไม่ชอบลาภ ใช่ไหม ยศ สรรเสริญ สุข เอาแค่ลาภก่อนแล้วกัน ชอบลาภชนิดไหน
ผู้ฟัง ก็คิดบ้าง
ท่านอาจารย์ แต่ลาภานุตริยะ (ลาภที่ยอดเยี่ยม) ก็คือ ศรัทธาในพระรัตนตรัย ลาภอันประเสริฐสุด ถ้ามีเมื่อไรก็เป็นลาภอันประเสริฐสุด เพราะว่าเป็นปัจจัยให้เรามีโอกาสได้ยินได้ฟังต่อไป ได้อบรมเจริญปัญญาต่อไป เพราะว่าทรงตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อมีอุปการะแก่สัตว์โลกโดยการทรงแสดงธรรม
ผู้ฟัง เรื่องวิบากกรรม คือ หลายๆ คน เพื่อนร่วมงานที่ทำงานอยู่ด้วยกัน ไม่รู้ว่ามันมีอะไรขัดใจมาตลอด พี่น้องร่วมกัน บางครั้งก็ไม่เข้าใจกัน ขัดกันมาตลอด มันเป็นวิบากกรรมไหม
ท่านอาจารย์ ในพระพุทธศาสนามีความชัดเจนมาก ในเรื่องกรรม และผลของกรรม เพราะว่าต้องเป็นสภาพธรรม สภาพธรรมที่มีจริงที่เป็นปรมัตถธรรม มี ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน นิพพานคงไม่ต้องกล่าวถึง เพราะว่าไม่ใช่สภาพธรรมที่เกิดปรากฏ สำหรับ จิต เจตสิก รูป เราเคยเป็นเรื่อง เป็นราว เป็นคน เป็นพี่ เป็นน้อง แต่จริงๆ ก็คือ จิต เจตสิก รูป นั่นเอง ถ้าไม่มีจิต เจตสิก รูป มีพี่มีน้องไหม เรื่องราวต่างๆ ก็ไม่มี เพราะฉะนั้น ต้องทราบว่า กรรมได้แก่เจตนาเจตสิก เจตสิกทั้งหมดมี ๕๒ เฉพาะเจตสิก ๑ คือเวทนาเจตสิกเป็นเวทนาขันธ์ สัญญาเจตสิก ๑ เป็นสัญญาขันธ์ เจตสิกอีก ๕๐ ที่เหลือเป็นสังขารขันธ์ เพราะฉะนั้น เจตนาเป็นขันธ์ไหน
ผู้ฟัง สังขารขันธ์
ท่านอาจารย์ เป็นสังขารขันธ์ เป็นสภาพที่ปรุงแต่งจงใจให้เป็นกุศลหรืออกุศลประการต่างๆ เช่น จงใจที่จะฆ่าสัตว์เป็นอกุศลเจตนา เจตนาที่จะทำร้ายบุคคลอื่นก็เป็นอกุศลเจตนา เป็นตัวกรรม เป็นตัวกระทำ เป็นสภาพธรรมที่กระตุ้นเตือนให้สภาพธรรมที่เกิดร่วมกันเป็นไปอย่างเจตนาที่จงใจนั้น
เพราะฉะนั้น ที่เคยยกตัวอย่าง อย่างคนที่ยิงตานก ต้องการที่จะให้เจ็บปวด ไม่มีตา มองไม่เห็น ธรรมจริงๆ คือ จิต เจตสิก รูป จิตเจตสิกรูปของคนที่กำลังคิดอย่างนั้น ที่เราเรียกว่าคนนั้น ก็เกิดดับ จิตเจตสิกรูปของนกก็เกิดดับ เพราะฉะนั้น เจตนาของนกก็เป็นกรรมของนก เจตนาของคนที่จะกระทำกรรมนั้นก็เป็นเจตนาของคนนั้น ซึ่งจะให้ผลเป็นวิบากจิต เพราะว่าจิตที่เกิดเป็นอย่างหนึ่งอย่างใดใน ๔ อย่าง ที่ใช้คำว่า “ชาติ” ชาติของจิต มี ไม่ใช่ชาติจีน ชาติไทย ชาติมอญ ชาติอะไรเลย แต่ชาติของจิต คือ เมื่อจิตเกิดขึ้น ชา–ติ คือเกิด จิตเกิดขึ้นเป็นกุศลชั่วขณะหนึ่งก็ดับ จิตเกิดขึ้นเป็นอกุศลชั่วขณะหนึ่งก็ดับ เป็นเหตุให้เกิดจิตซึ่งเป็นผลคือวิบากจิต
ผลของกรรมไม่ใช่อื่น ไม่ใช่คน ไม่ใช่อะไร แต่เป็นสภาพจิตที่ต้องเกิดขึ้นเป็นผลของกรรมที่ได้กระทำแล้ว เพราะฉะนั้น วิบากแรกที่เกิดในชาติหนึ่งก็คือปฏิสนธิจิต เป็นผลของกรรมหนึ่งซึ่งเลือกไม่ได้เลยว่ากรรมไหน แล้วระหว่างที่ยังไม่ตาย พอปฏิสนธิจิตดับไป ภวังคจิตเป็นวิบากเช่นกัน เป็นวิบากของกรรมเดียวกับที่ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิด เป็นคนไหนก็เป็นคนนั้น จนกว่าจะสิ้นสุดความเป็นบุคคลนั้น ขณะนั้นก็เป็นวิบาก
เพราะฉะนั้น ต้องจำวิบากให้ได้ว่า ปฏิสนธิจิตเป็นวิบาก คือเป็นผลของกรรม ภวังคจิตที่สืบต่อก็เป็นผลของกรรม จุติจิตขณะสุดท้ายก็เป็นผลของกรรม ถ้ากรรมยังไม่สิ้นสุด ปฏิสนธิจิตเกิดไม่ได้เลย อย่างไรๆ ก็ไม่ตาย ยังไม่พ้นสภาพความเป็นบุคคลนั้น จนกว่าจะถึงกาลที่กรรมจะทำให้สิ้นสุดความเป็นบุคคลนั้น จุติจิตจึงจะเกิดขึ้นแล้วดับไป เมื่อจุติจิตเกิดแล้วดับ จะเป็นบุคคลนั้นอีกต่อไปไม่ได้
นี่คือวิบาก ปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ แล้ววิบากก็คือว่า กรรมก็ทำให้มีจักขุปสาท สำหรับเห็น มีโสตปสาทสำหรับได้ยิน มีฆานปสาทสำหรับได้กลิ่น ชิวหาปสาทสำหรับลิ้มรส กายปสาทซึมซาบอยู่ทั่วตัวสำหรับรู้สิ่งที่เย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว ซึ่งทำให้เกิดสุขเวทนา ความรู้สึกเป็นสุข หรือทุกขเวทนา ความรู้สึกเป็นทุกข์ พวกนี้เป็นวิบากจิต คือ จิตเห็น เห็นดีเป็นกุศลวิบาก ผลของกรรมดี เห็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจเป็นผลของอกุศลวิบาก
นี่คร่าวๆ ตามนัยของพระสูตร ซึ่งไม่ได้แสดงโดยละเอียดถึงสัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะซึ่งเป็นวิบากอีกที่เกิดสืบต่อกัน แต่เท่าที่เราจะรู้ได้ที่ทรงแสดง คือ เห็น ทุกคนมี ได้ยินก็มี เพราะฉะนั้น ขณะใดที่เห็นสิ่งที่น่าพอใจเป็นกุศลวิบาก ได้ยินเสียงที่น่าพอใจเป็นกุศลวิบาก ได้กลิ่นที่น่าพอใจเป็นกุศลวิบาก ได้รสที่อร่อยน่าพอใจเป็นกุศลวิบาก กระทบสิ่งที่สบายเป็นกุศลวิบาก ทางอกุศลวิบากก็ตรงกันข้าม นอกจากนั้นไม่ใช่วิบาก เท่านี้ จบ
ไม่ลืมว่า วิบากคือเท่านี้ แต่โลภะ โทสะ ความโกรธ ความอะไรๆ สืบต่อซึ่งไม่ใช่เห็น ได้ยิน พวกนี้ ไม่ใช่วิบาก เป็นเหตุใหม่ที่จะให้เกิดผลข้างหน้า ทีนี้ต้องถามใครอีกไหมว่าเป็นวิบาก หรือไม่เป็นวิบาก ตายตัวอยู่แล้ว แค่เห็น แค่ได้ยิน แค่ได้กลิ่น แค่ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสเป็นวิบาก พระอรหันต์ก็มีตาเห็น มีผลของกรรม บางทีท่านก็เห็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจได้ พระพุทธเจ้าก็ประชวร มีกายปสาททำให้เกิดทุกขเวทนาเป็นผลของอดีตกรรม ตัวจิตที่กำลังเป็นการรู้ลักษณะของสภาพธรรมทางตา หู จมูก ลิ้นกายเป็นวิบาก แต่หลังจากนั้นท่านไม่มีกิเลส แต่สำหรับคนที่มีพี่มีน้องได้ยินเสียงที่พอใจบ้างไม่พอใจบ้าง ขณะที่ได้ยินเป็นวิบาก แต่เวลาที่ไม่พอใจ หรือโทมนัส ขณะนั้นไม่ใช่วิบาก เป็นเหตุสะสมสืบต่อไปที่จะให้มีอัธยาศัยอย่างนั้น ถ้าเป็นอัธยาศัยของพระอรหันต์ก็คือไม่มีกิเลสใดๆ เลย เห็นอย่างเดียวกันกับคนอื่น เห็นอย่างเดียวกันกับปุถุชน กับพระโสดาบัน กับพระสกทาคามี กับพระอนาคามี แต่พระอรหันต์ไม่มีกิเลสเลย
ผู้ฟัง เรียนถามท่านอาจารย์ ให้อธิบายความหมายของธรรม
ท่านอาจารย์ สิ่งที่มีจริงทั้งหมดคือธรรม เราไม่ได้ใช้ชื่อเรียกว่าคุณอู๊ด หรือใคร แต่ธรรมเป็นธรรมหมาย ความถึงเป็นสิ่งที่มีจริง เพราะฉะนั้น ธรรมไม่มีใครเป็นเจ้าของ ใครจะเป็นเจ้าของธรรมบ้าง โลภะ ความติดข้องเกิดขึ้น ทำให้เราอยากได้นั่น อยากได้นี่ รับประทานอาหารก็ต้องอร่อย แล้วมันหมดไป ไม่เหลือเลย เกิดขึ้นแล้วก็หมดไป เกิดขึ้นแล้วก็หมดไป อย่างได้ยินเดี๋ยวนี้ ได้ยินมี เป็นของจริงชั่วขณะที่เสียงปรากฏ แสดงว่าเสียงปรากฏกับสภาพธรรมที่กำลังได้ยินเสียง ทั้ง ๒ อย่างเป็นธรรม คือเป็นสิ่งที่มีจริง
อะไรก็ตามที่มีจริงทั้งหมดเป็นธรรม จะใช้อีกคำหนึ่งก็ได้ คือใช้คำว่าธาตุ หรือ ธา-ตุ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุอะไรก็แล้วแต่ ก็เป็นสิ่งที่มีจริง แต่ว่าสิ่งที่มีจริง จริงต่อเมื่อเกิดขึ้น ถ้ายังไม่เกิด หรือว่าเกิดแล้วหมดไป จริงชั่วขณะที่ปรากฏแล้วก็หมด แต่ทีนี้เป็นสิ่งที่จริง เพราะเกิดปรากฏให้เห็นแล้วก็หมดไป
เพราะฉะนั้น อะไรก็ตามที่เป็นจริง แล้วเราไม่ต้องมีชื่อเรียกอะไรสักอย่างเดียว สิ่งนั้นก็ต้องเป็นอย่างนั้น คือใครจะไปเปลี่ยนแปลง ลักษณะสภาพธรรมนั้น ไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้สภาพธรรมตามความเป็นจิรง ไม่เปลี่ยนลักษณะของธรรม เพราะว่าเปลี่ยนลักษณะของธรรมไม่ได้ ธรรมเป็นอย่างไรก็ต้องเป็นอย่างนั้น คุณแอ๊ดเปลี่ยนได้ไหม ถ้าเกิดเสียใจ ไม่สบายใจขึ้นมา เกิดแล้ว เป็นลักษณะของความเสียใจ แล้วบางวันเราก็เกิดแล้ว คือ ความรู้สึกสบายใจ ดีใจ แต่ว่าชั่วขณะๆ แล้วก็หมดไป
ทุกอย่างถ้าเราเข้าใจธรรมจริงๆ แล้วเราจะรู้ว่า เราศึกษาพระปัญญาคุณที่ทรงแสดงธรรม ให้พวกเราสามารถรู้ตามความเป็นจริงว่า ที่เคยเป็นเรา ที่เคยยึดถือ ก็เพราะว่ามีสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ แต่ว่าด้วยความไม่รู้ เราก็เลยไปยึดถือสิ่งนั้นว่าเป็นเรา อย่างกำลังเห็น เป็นคุณใหญ่ กำลังเห็นหรือเปล่า กำลังเห็น เป็นหรือเปล่า เป็นคุณอู๊ดเห็นหรือเปล่า ก่อนศึกษาธรรมเป็นเราหมดเลย กำลังคิดก็เป็นเรา กำลังสุขก็เป็นเรา กำลังทุกข์ก็เป็นเรา แต่ความจริงสิ่งต่างๆ เหล่านี้เกิดแน่นอน มีจริง ปรากฏชั่วเล็กน้อยนิดเดียวแล้วก็หมดไป
ชีวิตของเราแต่ละขณะเกิดจริง มีจริง ปรากฏจริง แล้วก็หมดไปจริงๆ ไม่มีเหลือเลย เมื่อวานนี้เหลือมาถึงวันนี้หรือเปล่า ไม่เหลือเลย เมื่อกี้นี้ก็ไม่เหลือมาถึงขณะนี้ ทุกขณะถ้าทราบว่าเกิดเพื่อจะไป เกิดแล้วก็ไป เกิดแล้วก็ไป เกิดแล้วก็ไป นี่คือความจริง ไม่มีใครสามารถจะย้อนกลับสิ่งที่หมดแล้วคืนมาได้เลย เรียกร้องอย่างไร อ้อนวอนอย่างไร ก็กลับมาไม่ได้ แต่ว่ามีสิ่งใหม่ที่เกิด ใหม่ตลอด แล้วก็ดับไปตลอด แล้วก็เก่าไปตลอด ก็เป็นอย่างนี้ตั้งแต่เกิดจนตาย ไม่มีอะไรที่จะเปลี่ยนความจริงอันนี้ได้เลย คือ สิ่งไหนก็ตามที่กำลังเกิดมีในขณะนี้มีในขณะนี้ก็ต้องหมดไป จะให้ยั่งยืนต่อไป มาได้เลย เด็กเกิดมา จะไม่ให้โตได้ไหม ไม่ให้แก่ ไม่ให้เจ็บ ไม่ให้ตาย ไม่ได้เลย ไม่ให้พลัดพรากจากสิ่งที่พอใจก็ไม่ได้ อย่างไรๆ ก็ต้องเจอ ล้วนแต่เป็นสภาพธรรมทั้งหมด
นี่คือธรรมที่เราฟังแล้วฟังอีกให้เข้าใจความจริงของธรรม คือ เราอยู่ในโลกของธรรม แต่เราไม่รู้จักธรรม กับเราอยู่ในโลกของธรรม แล้วเริ่มเข้าใจความเป็นธรรม ก็แล้วแต่เราว่า จะเลือกอยู่อย่างเข้าใจ หรือว่าอยู่ไปจนตายก็ไม่เข้าใจเลยว่า เป็นธรรม เพราะว่าผู้ที่จะแสดงธรรมมีอยู่คนเดียว คือ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จากการตรัสรู้ว่าเป็นธรรม แต่ถ้าพระพุทธเจ้ายังไม่ตรัสรู้ ก่อนการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ก็มีคนทำกุศลมากมาย ทานก็มี ศีลก็มี ความสงบของจิตก็มี แต่เป็นเรา เป็นตัวเอง เป็นเขาทั้งหมดเลย ไม่สามารถที่จะรู้ความจริงว่า เป็นธรรมได้ ต่อเมื่อไรได้ทรงตรัสรู้ คือตรัสรู้ความจริงของสิ่งที่เคยเป็นโน้น เป็นนี่ เป็นเรา เป็นเขา เป็นสิ่งใดๆ ก็ตาม ล้วนแต่ว่าเป็นธรรมแต่ละลักษณะซึ่งมีจริงๆ ในชีวิตประจำวัน นึกออกเมื่อไรก็เป็นธรรมเมื่อนั้น แต่พอลืมก็เป็นเรา เป็นอะไรไปหมดเลย แต่ถ้าเข้าใจเพิ่มขึ้นแล้วมีการระลึกได้ แม้แต่การที่จะระลึกได้ ก็ไม่ใช่มีเราอีก แล้ววันหนึ่งๆ ฟังธรรมไป เราจะเริ่มคิดอย่างนี้ได้กี่ครั้ง เพราะว่าแม้แต่ความคิดของเรา เราห้ามไม่ได้เลย บอกให้คิดอย่างนั้นอย่างนี้ก็ไม่ได้ สั่งให้คิด พยายามให้คิดก็ไม่ได้ แต่เมื่อไรที่ความคิดอย่างหนึ่งอย่างใดเกิดขึ้น ผู้มีปัญญาสามารถเห็นความจริงว่า แม้ความคิดนั้นก็เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย บังคับไม่ได้ อยู่ดีๆ ก็เกิดคิดอะไรขึ้นมาก็ได้ พยายามที่จะคิด คิดไม่ออก แต่เสร็จแล้วก็คิดขึ้นมาเองก็ได้ คือทุกอย่าง ทุกขณะแสดงความเป็นอนัตตา หมายความว่าไม่มีเจ้าของ ไม่ใช่ใคร เป็นสภาพธรรมแต่ละอย่างซึ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
เราก็มีชีวิตอยู่ในโลกนี้เพียงเท่านี้เอง คือมีสิ่งที่เกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ แต่ทุกคนหวังสุข แล้วทีนี้เหตุของความสุขกับเหตุของความทุกข์ เรามีเฉพาะเหตุที่จะให้เกิดสุขเท่านั้นหรือ หรือว่ามีเหตุให้เกิดทุกข์ด้วย
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 241
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 242
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 243
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 244
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 245
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 246
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 247
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 248
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 249
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 250
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 251
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 252
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 253
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 254
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 255
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 256
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 257
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 258
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 259
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 260
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 261
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 262
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 263
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 264
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 265
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 266
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 267
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 268
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 269
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 270
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 271
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 272
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 273
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 274
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 275
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 276
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 277
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 278
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 279
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 280
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 281
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 282
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 283
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 284
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 285
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 286
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 287
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 288
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 289
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 290
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 291
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 292
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 293
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 294
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 295
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 296
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 297
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 298
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 299
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 300