ปกิณณกธรรม ตอนที่ 285
ตอนที่ ๒๘๕
สนทนาธรรม ที่ โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า
พ.ศ. ๒๕๔๐
ผู้ฟัง แม้ว่าขณะนี้จะฟังพระธรรมอยู่
ท่านอาจารย์ ต้องเป็นผู้ละเอียดที่จะรู้ว่า สัมปชัญญะไม่ใช่อย่างที่เราคิด
ผู้ฟัง ไม่ใช่อย่างที่เราคิด แล้วไม่ใช่คิดว่า ธรรมข้อนั้นมีกี่ข้อๆ พิจารณาว่าในขณะนี้ที่ได้ ฟังพระธรรมนั้น ธรรมอะไรกำลังปรากฏกับเรา ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ คงจะไม่ใช่เรื่องจำเป็นข้อ แต่เป็นเรื่องที่ว่าไม่ว่าจะฟังข้อไหน เข้าใจสิ่งที่กำลังได้ฟัง ข้อไหนก็ได้ทุกข้อ คือเรื่องของพระธรรมเป็นเรื่องที่ทำให้ผู้ฟัง เกิดปัญญา จากการฟังแล้วก็ไตร่ตรอง เป็นปัญญาของผู้ที่ฟังเอง เพราะฉะนั้น ผู้ฟังก็เป็นผู้ที่ทราบว่า ฟังเผิน ฟังแล้วจบ หรือว่าฟังแล้วก็ยังไตร่ตรองเทียบเคียงกับลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ จนความละเอียด ความเข้าใจจากการไตร่ตรองนั้นเพิ่มขึ้น
ผู้ฟัง สัมปชัญญะ คือปัญญา ปัญญานี้มีหลายระดับ เริ่มต้นตั้งแต่การฟัง ก็มีปัญญาจากความเข้าใจ พอมาฟังวันนี้ในเรื่องของสัมปชัญญะ ๔ รู้สึกว่าจะเกี่ยวกับสติปัฏฐานอย่างเดียว เพราะฉะนั้น เวลาเราใช้คำว่า สัมปชัญญะนี้ คงจะไม่เหมือนกับเวลาเราใช้คำว่าปัญญา หรือปัญญาเจตสิก ซึ่งมีความรู้สึกว่า ถ้าใช้คำว่าสัมปชัญญะ จะต้องใช้กับขณะที่สติปัฏฐานเกิดเท่านั้น แต่ขณะที่เราเรียนแล้วเข้าใจ หรือมีความเข้าใจถูกต้องว่า ธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดงเป็นอย่างไรๆ สติปัฏฐานยังไม่ได้เกิด ขณะนั้นเรามีปัญญาเจตสิกขั้นต่างๆ แต่ว่ายังไม่มี สัมปชัญญะ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นปัญญาที่เป็น สัมปชัญญะ ๔ ก็เป็นไปในเรื่องของการอบรมเจริญปัญญาที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมซึ่งขาดสัมปชัญญะ ๔ ไม่ได้
ผู้ฟัง แต่การอบรมเจริญปัญญาก็จะเริ่มต้นจากการคิดนึก เริ่มต้นจากการพิจารณาก่อน ขณะนั้นสติปัฏฐานยังไมมี คือ ยังเป็นตัวเป็นตนอยู่ ขณะนั้นจะเรียกว่า สัมปชัญญะได้ไหม
ท่านอาจารย์ เรียกว่าปัญญาดีกว่า
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น สัมปชัญญะจึงใช้ในขอบเขตที่จำกัด
ท่านอาจารย์ ที่เกี่ยวกับการอบรมเจริญปัญญา ภาวนาที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรม
ผู้ฟัง ขอบพระคุณ
ท่านอาจารย์ การควร การไม่ควร คือ สัปปายะ ต้องตั้งแต่รู้การควรไม่ควรในชีวิตประจำวัน ในความเป็นอยู่ เพราะว่าบางคนก็สงสัย เพียงแต่เนื้อตัวสะอาด เสื้อผ้าสะอาด จำเป็นอย่างไรในการที่จะปัญญาเกิด ก็ลองคิดในมุมกลับ แม้แต่เรื่องที่ควรจะสะอาด ก็ยังไม่รู้ แล้วจะไปรู้อะไรยิ่งกว่านั้น
เรื่องของการฟังธรรม ต้องเป็นเรื่องของการที่จะไตร่ตรองในเหตุในผลด้วยว่า เมื่อรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์ สาตกถตสัมปชัญญะ ก็ยังรู้ความควรไม่ควรของชีวิตที่จะดำเนินไป แต่ต้องเป็นไปในเรื่องของการอบรมเจริญปัญญา มิฉะนั้นแล้วทุกอย่างของเราก็กลายเป็นสัปปายะ แล้วก็ใช้คำว่า สัมปชัญญะ เป็นปัญญาที่ฉลาดมาก ทั้งๆ ที่ขณะนั้นไม่ใช่ปัญญาเลยก็ได้ เพราะเหตุว่าเป็นเรื่องเพียงเหตุผลความเข้าใจด้วยมนสิการ ที่แยบคลายเท่านั้นเอง
เมื่อศึกษาเรื่องปรมัตถธรรม ว่ามี ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน สำหรับปรมัตถธรรม ๓ ก็เป็นสภาพธรรมซึ่งเป็นขันธ์ ๕ ในขันธ์ ๕ เจตสิก ๕๐ เป็นสังขารขันธ์
ลืมอะไรไม่ได้เลยว่า ไม่มีเรา แม้แต่ขณะที่กำลังฟัง สติ ศรัทธา วิริยะ ปัญญาทั้งหลาย ในขณะนี้ก็เป็นสังขารขันธ์ ที่จะปรุงแต่งจนกว่าจะทำให้ขณะต่อไปเป็นอะไร ซึ่งทุกคนไม่มีใครสามารถที่จะทราบได้เลยว่า ขณะจิตต่อไปจะเป็นอะไร จะเป็นกุศล หรือจะเป็นอกุศล จะเห็น หรือจะได้ยิน หรือจะคิดนึก หรือจะเจ็บปวดตรงไหน ก็ไม่มีใครสามารถที่จะรู้ได้
เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่เราต้องฟังด้วยความเข้าใจจริงๆ ว่าแม้ปัญญา ซึ่งทุกคนรู้ว่าเป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่ สามารถที่จะทำลายกิเลสได้ อย่างอื่นไม่สามารถที่จะละคลาย หรือทำลายกิเลสได้เลย แต่ปัญญาก็ไม่ใช่ว่าเกิดเพราะเราอยาก หรือว่าเพียงเผินๆ เราก็คิดว่าเรามีปัญญา โดยมากเวลาที่ทุกคนอยากจะรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ แต่ไม่ได้เข้าใจว่า ละความต้องการหรือเปล่า หรือว่าขณะนั้นอยากจะรู้ เมื่อตั้งต้นอย่างนี้ ก็ผิด และถูกมี ๒ ทาง ถ้าผิดคืออยากรู้ แต่ถ้าถูกคือรู้ว่าเกิดขึ้นเพราเะเหตุปัจจัย ถ้าเราฟังไปเข้าใจไป แล้วก็มีสภาพธรรมกำลังปรากฏ อย่างแข็งก็กำลังปรากฏ เราก็ฟังไป เรื่องจิต เรื่องเจตสิก เรื่องรูป เห็นก็กำลังมี เราก็ฟังไป เรื่องเห็นซึ่งเป็นนามธรรม โดยที่ว่าไม่มีการต้องการที่อยากจะรู้ หรือว่าอยากจะเปลี่ยน หรือยากจะทำ จากทางนี้ไปทางนั้น ซึ่งเป็นเรื่องของตัวตนทั้งหมด และขณะนั้นก็เป็นเรื่องของความต้องการ เป็นเรื่องของโลภะซึ่งมองไม่เห็น ขณะใดที่โลภะเกิด ขณะนั้นจะมองไม่เห็นเลยว่าเป็นโลภะ เพราะว่าปัญญาเท่านั้น จึงสามารถที่จะเห็นสภาพธรรมตามความเป็นจริงได้
ความเป็นผู้ตรง ความเป็นผู้ละเอียด ความเป็นผู้ที่มั่นคงในสัจญาณ ของอริยสัจธรรม ซึ่งมี ๓ รอบ คือ สัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ ต้องเป็นไปตามลำดับจริงๆ ต้องรู้เข้าใจจริงๆ ว่า โลภะคือเมื่อไร มิฉะนั้นแล้วระหว่างที่ทำ ก็เป็นเราที่มีความต้องการ ไม่มีทางที่จะเห็นเลย เพราะเหตว่าขณะนั้นโลภะบังตลอดให้ทำอย่างนั้น ให้ทำอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ที่จะทำให้ระลึกได้ คือ ความมั่นคงในสัจจญาณ ซึ่งโลภะเป็นสมุฏฐาน ถ้ารู้ว่าขณะนั้นเป็นไปด้วยความต้องการ รู้ทันที ละทันที แล้วก็แล้วแต่สติจะเกิดหรือไม่เกิด ซึ่งถ้าให้สติซึ่งเป็นสัมมาสติเกิดตามเหตุตามปัจจัย ทุกคนจะเห็นได้ว่า แล้วแต่สติจริงๆ ช่างน่าอัศจรรย์ซึ่งสติจะระลึกอะไรก็ได้ ที่ไม่ใช่เราหวังหรือเราต้องการ ที่จะให้ระลึกอย่างนั้นอย่างนี้ แต่เพราะเป็นสัมมาสติ มีปัจจัยเกิดก็เกิด แล้วก็ระลึก
ผู้ฟัง ผมขออนุญาต ใครเป็นคนที่ตีความธรรม คำสอนของพระพุทธเจ้าถึงที่สุด
ท่านอาจารย์ สนใจเรื่องปัญญาไหม เพราะว่าพระพุทธเจ้าเป็นพระพุทธเจ้าด้วยพระปัญญา ไม่ใช่ด้วยอย่างอื่น แล้วปัญญาที่เป็นปัญญาของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ต้องไม่มีผู้ใดอีกที่จะไปเปรียบได้ ไม่ใช่ว่าอาจารย์ท่านโน้นหรือท่านนี้ เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นผู้ที่ศึกษาธรรมจริงๆ ก็เริ่มที่จะเข้าใจว่า คนอื่นไม่ใช่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ว่าจะพูดอะไรก็ตาม ก็ต้องพิจาณาดูว่า ธรรมที่ทรงแสดงเป็นความจริงแค่ไหน อย่างพูดถึงเรื่องธรรม ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เท่านี้ก่อน จริงหรือเปล่า คือต้องพิจาณาเป็นขั้นๆ ไปว่า จริงไหม ยังไม่ต้องมีใครทั้งนั้น ไม่ต้องเอาชื่ออื่นเข้ามาเลย ขณะนี้เห็น เป็นธรรมชนิดหนึ่ง เป็นสิ่งที่มีจริงๆ จริงหรือเปล่า เพราะคิดว่าคงจะอยากได้เหตุผลที่ไม่ไปปฏิบัติ เป็นธรรมหรือเปล่า
เห็นนี้เป็นของจริงหรือเปล่า หรือไม่ใช่ พูดเรื่องอื่น ไม่ใช่เรื่องนี้เป็นความจริง สัจธรรม สิ่งที่มีจริงๆ จริงตลอดกาล เพราะว่าเห็น ไม่ว่าจะเห็นชาติก่อน ก็ต้องมีลักษณะอย่างนี้ ขณะนี้เห็นก็เห็นสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ไม่ว่าชาติไหน ภาษาไหน แม้แต่สัตว์ ที่มีตา เห็นก็คือเห็น เพราะฉะนั้น เป็นสภาพธรรมที่ไม่มีเจ้าของ เพราะว่ามีเหตุปัจจัย จึงเกิดแล้วก็ดับ ถ้าไม่มีใครที่ตรัสรู้ความจริงอย่างนี้ เราสามารถจะคิดเองได้ไหมว่า นี่ขณะนี้ เป็นธรรมที่ไม่ใช่เรา เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
ต้องอาศัยการเป็นสาวก คือผู้ฟังธรรมจากผู้ที่ตรัสรู้แล้ว พิจารณา เมื่อพิจารณาแล้ว เมื่อกี้ก็ตอบว่า เป็นธรรม เพราะฉะนั้น ธรรมคือทุกอย่างที่มีจริงๆ ความเห็นถูกเป็นธรรม หรือเปล่า ความเห็นผิดเป็นธรรม หรือเปล่า ก็เป็น กุศลสิ่งที่ดีสภาพธรรมที่ดี เป็นธรรมหรือเปล่า ที่ไม่ดีก็เป็นธรรม ทั้งหมดไม่ใช่เรา แล้วทำอย่างไรจะรู้ความจริงในขณะนี้ ซึ่งขณะนี้เป็นขณะหนึ่ง ชีวิตทุกคนดำรงอยู่เพียงชั่วจิตหนึ่งขณะที่เกิดขึ้น ถ้าจิตไม่เกิดก็ไม่มีแล้ว ชีวิตไม่มี ไม่มีคน ไม่มีสัตว์ แต่เมื่อมีสภาพธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เห็น แต่ไม่เคยรู้ความจริง แต่เมื่อมีผู้ที่ตรัสรู้แล้วทรงแสดงว่า สิ่งนี้จริง แล้วสอนให้เราเข้าใจขึ้นๆ จนกระทั่งความเข้าใจสามารถที่จะเข้าใจตัวจริงของธรรมที่กำลังเห็นว่า เป็นธรรมที่เป็นนามธรรม ไม่ใช่รูปธรรม เพราะว่าธรรมมี ๒ อย่าง ไม่ว่าจะอยู่ในโลกนี้ หรือโลกไหนก็ตาม คือสภาพธรรมอย่างหนึ่งเกิด แล้วก็ต้องรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด ส่วนสภาพธรรมอีกอย่างหนึ่งเกิดแล้ว ก็ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย ซึ่งใช้คำว่ารูปธรรม สำหรับสภาพธรรมที่ไม่รู้อะไร แล้วก็สภาพรู้ก็เป็นนามธรรม นี่จริงไหม ก็จริง
เพราะฉะนั้น ต้องฟังจนกระทั่งมีความเข้าใจในความเป็นอนัตตา จนกระทั่ง สามารถที่จะประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมซึ่งปรากฏทีละอย่าง แล้วก็เกิดแล้วก็ดับ นี่คือการอบรมเจริญปัญญา ไม่ใช่ให้ทำอย่างอื่น
ไม่ต้องไปที่ไหน ที่นี่ก็มีสภาพธรรมปรากฏ อยู่ที่ไหนก็มีสภาพธรรมปรากฏ แต่ไม่รู้เพราะไม่ได้ฟัง แล้วก็ไม่มีปัจจัยพอที่จะมีการเข้าใจสภาพธรรมซึ่งเป็นตัวจริงๆ จนกว่าจะฟังแล้วก็มีปัจจัยพร้อมที่มีความเข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏตรงตามความเป็นจริงอย่างนั้น ซึ่งเป็นเรื่องของการอบรม ซึ่งใช้คำว่า ภาวนา ไม่ใช่ท่องบ่น หรือไม่ใช่ปฏิบัติ ไม่ใช่ตัวเราทำ แต่ว่าเป็นการทำหน้าที่สภาพธรรมแต่ละอย่าง ถ้าเข้าใจขึ้นอย่างนี้จริงๆ ต้องไปที่ไหนไหม
ผู้ฟัง ใช่ เพราะที่จริงก็ไม่ต้องไปที่ไหนก็ได้ แต่ท่านอาจารย์บอกว่า ณ ที่นี้มีธรรมปรากฏ ก็นัยกลับกัน ณ ตรงนั้น มีธรรมปรากฏด้วย
ท่านอาจารย์ แล้วเวลานี้ อยู่ที่ไหน
ผู้ฟัง ตรงนี้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เข้าใจธรรมตรงไหน
ผู้ฟัง ตรงนี้
ท่านอาจารย์ ทำไมถึงจะต้องไปที่อื่นเพื่อที่จะเข้าใจ ในเมื่อสภาพธรรมมีตรงนี้ สามารถจะเข้าใจตรงนี้ได้ทีละเล็กทีละน้อยก็จะเข้าใจธรรม ไม่ว่าจะอยู่ตรงไหนทั้งสิ้น แต่ถ้าตรงนี้ไม่เข้าใจแล้วคิดว่า จะไปเข้าใจตรงอื่น เป็นไปได้หรือ
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ไม่เชื่อในเรื่องปาฏิหารย์ ที่พระพุทธองค์ทรงยกย่อง ผมจำชื่อไม่ได้ ที่บอกว่าเทศนาได้ตรงใจ
ท่านอาจารย์ อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ของผู้ฟังคือความเข้าใจจากการที่ได้ยินแล้วไตร่ตรอง เพราะว่าถ้าเพียงแต่ได้ยินก็ผ่านหูไปเฉยๆ ยังไม่เป็นความเข้าใจ แต่ผู้ที่จะเข้าใจธรรมลึกลงไปอีก ชัดเจนลงไปอีก ละเอียดลงไปอีก เมื่อได้ยินแล้วก็ไตร่ตรองเพิ่มขึ้น จนกระทั่งเป็นความรู้จริงๆ
ผู้ฟัง พระพุทธเจ้าสอนให้ทุกคนไม่ใช่เป็นเพียงแค่คนดี คือจุดประสงค์สูงสุดของศาสนา คือ หลุดพ้นจากสังสารวัฏฏ์ ทีนี้ถ้าเปรียบเทียบแล้ว การที่เรามีความเพียรที่จะออกจากสังสารวัฏฏ์ ถ้าเปรียบเหมือนการว่ายน้ำอยู่ในทะเล เราก็คงอยู่กลางทะเลซึ่งไกลจากฝั่งมาก ทีนี้บางครั้งเราก็มี ความเพียรมากที่จะอยากให้ถึงฝั่ง แต่นั่นก็เป็นโลภะ หรือบางครั้งก็อาจจะท้อถอยมาก เพราะว่าความที่รู้สึกว่าไกล แล้วมองไม่เห็น ฝั่งเลย ก็มีความท้อ อาจจะด้วยโทสะ ทีนี้เราจะมีวิธีพิจารณาอย่างไร ที่ว่าเราจะเดินทางไกลด้วยความที่ไม่เพียรจนเกินไป หรือไม่ท้อจนเกินไป
ท่านอาจารย์ ฟังแล้ว รู้สึกเหมือนกับว่าจะทำอีกเหมือนกัน คือ การจะทำมีหลายลักษณะจะทำผิดๆ อย่างเห็นชัด หรือว่าถึงแม้ว่าจะมีความเข้าใจอยู่บ้าง ยังมีความรู้สึกเหมือนกับว่าทำอย่างไร หรือว่าทางไหนจะเป็นทางสายกลาง แต่ถ้าเราจะพิจาณาให้ลึกๆ ลงไป แม้แต่การที่ต้องการที่จะออกจากสังสารวัฏฏ์ ด้วยความเป็นเรา หรือว่าที่เพียรก็ยังเป็นเราที่เพียร หนีความเป็นเราไปไม่ได้เลย ตราบใดที่ไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ตามความเป็นจริงว่า ไม่มีเรา แต่ว่ามีสภาพธรรม เพราะฉะนั้น ปัญญาคือสภาพธรรมที่สามารถจะอบรมจนกระทั่งเข้าใจความจริง แต่ว่าไม่ใช่ด้วยความเป็นเรา แล้วเราก็อยากจะเพียร เรายังไม่หมดความเป็นตัวตน เพราะไม่รู้ความจริงของสภาพธรรม
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นจะกล่าวได้ไหม ว่าทางสายกลางที่ถูก คือ การเจริญสติปัฏฐาน เพื่อที่จะละคลายความมีตัวตน จนกระทั่งไม่เห็นผิดว่าเป็นตัวตนแล้ว นั่นคือการเดินทางไปถึงฝั่งที่ถูกต้องจริงๆ
ท่านอาจารย์ ใช่ เป็นทางสายเดียว
ผู้ฟัง ฟังดูแล้วเหมือนจะมีรูปแบบ ใครๆ ก็อยากจะหารูปหาแบบ หาฟอร์ม หาอะไรกัน อันนั้นไม่ใช่เป็นเรื่องที่ถูก ท่านอาจารย์ได้พร่ำสอนอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เป็นเรื่องฟัง ฟังที่อาจารย์พูดแล้วเข้าใจ แล้วไม่ต้องไปห่วงเรื่องว่าแค่นี้เพียรหรือยัง อันนี้เป็นอย่างนั้นแล้วหรือยัง เมื่อฟังความเข้าใจ เขาได้เหตุได้ปัจจัยพอ เขาก็จะระลึกแล้วเขาก็ทำงานเขาเอง ธรรม ยุติธรรมที่สุดเลย
ผู้ฟัง การปฏิบัติที่วัด ท่านก็บอกว่าให้ทำสมาธิจนถึงขั้นอุปจารสมาธิ แล้วก็ค่อยวิปัสสนา แต่ว่าจะต้องถอนออกจากอุปจาร ก่อนถึงจะทำวิปัสสนา ตอนนี้ไม่เข้าใจว่าจะทำอย่างไร ท่านบอกว่าให้พิจารณารูปหรือนามก็ได้อย่างใดอย่างหนึ่ง อันนี้เป็นข้อข้องใจว่าจะทำอย่างไร
ท่านอาจารย์ หมายความว่าถึงอุปจารแล้วหรือ
ผู้ฟัง อันนี้ยังไม่ถึง
ท่านอาจารย์ ถ้ายังไม่ถึง ก็ยังไม่ถอน แล้วจะมาทำวิปัสสนาได้อย่างไร
ผู้ฟัง อยากจะทราบล่วงหน้า คือว่าอันนี้เป็นคำสอนของพระ แต่ดิฉันก็ทำไม่ถึง แต่ก็อยากจะทราบ
ท่านอาจารย์ ไม่ทราบว่าท่านสอนว่า อุปจารสมาธิ คืออะไรหรือเปล่า
ผู้ฟัง บอกว่าเป็นขั้นสูงสุดของสมาธิ
ท่านอาจารย์ แล้วสมาธินั้น เป็นสมาธิระดับไหนที่ทำ
ผู้ฟัง ทำระดับไหน หมายความว่า
ท่านอาจารย์ ยังไม่ถึงอุปจาระ ใช่ไหม
ผู้ฟัง ดิฉันยังไม่ถึง
ท่านอาจารย์ เมื่อยังไม่ถึงแล้ว เป็นสมาธิ อะไร
ผู้ฟัง มี ๓ ขั้น ขณิก อุปจาร และอัปนา สมาธิขั้นสูง ดิฉันก็ทำได้แค่ รู้สึกจะขั้นที่ ๑ เท่านั้นเอง ตามที่รู้สึกตัว ว่ากำหนดจิตนี้ก็ทำได้
ท่านอาจารย์ ที่จริงแล้ว ขณิก มาจากคำว่า ขณะคือขณะหนึ่งๆ เพราะฉะนั้น แสดงว่าทุกขณะมีสภาพของธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นสภาพที่ตั้งมั่นในอารมณ์ ภาษาบาลีจะใช้คำว่า สมาธิ แต่ถ้าเราใช้คำภาษาไทย เพราะว่าเราคนไทย ถ้าฟังธรรมด้วยภาษาไทย ทำให้เราเข้าใจ เหมือนคนฟังในครั้งนั้น ซึ่งฟังด้วยภาษาบาลี ถึงจะเข้าใจได้
ถ้าเราไม่ใช้คำซึ่งฟังแล้วเราอาจจะไม่เข้าใจเลย อย่างคำว่า สมาธิ หรือสติ หรือปัญญา แต่เราคิดว่าเราเข้าใจ เพราะฉะนั้น ถ้าพูดเป็นภาษาไทย ขณะใดที่จิตตั้งมั่น นั่นคือลักษณะของสมาธิที่อารมณ์ทีละขณะ ทีละขณะ ในขณะที่เห็น ก็จะต้องมีการตั้งมั่น มีเอกัคคตาเจตสิก ซึ่งเป็นสมาธิที่เป็ ขณิกสมาธิ เกิดกับจิตทุกขณะอยู่แล้ว ไม่ต้องไปทำอะไรเลย แล้วข้อสำคัญที่สุด สมาธิมี ๒ อย่าง คือ มิจฉาสมาธิ กับ สัมมาสมาธิ ถ้ายังไม่มีใครอธิบาย หรือบอกเราให้ทราบถึงความต่างกันของสมาธิ ๒ อย่าง สิ่งที่เราทำด้วยความไม่รู้ ต้อง เป็นมิจฉาสมาธิ คือผิด เพราะเหตุว่าไม่ประกอบด้วยปัญญา ในพระพุทธศาสนาทรงแสดงธรรมทุกอย่างที่มีจริง แม้แต่ในเรื่องสมาธิที่ในครั้งโน้น บุคคลที่อบรมเจริญสมถภาวนาจนกระทั่งบรรลุถึงอุปจารสมาธิ หรือว่าอัปนาสมาธิ เป็นกุศลจิตที่ประกอบด้วยปัญญา
ถ้าใครก็ตามที่ไม่มีปัญญา จะไปทำสมาธิให้ถึงอุปจารสมาธิ หรืออัปนาสมาธิ เป็นไปไม่ได้เลย ก่อนอื่นทั้งหมดต้องด้วยปัญญา การกระทำใดๆ ทั้งหมดถ้าไม่ทำด้วยปัญญาก็ต้องผิด คือทำด้วยความไม่รู้ ปัญญาตรงกันข้ามกับอวิชชา เพราะว่าปัญญาเป็นวิชชา ต้องเป็นความรู้ แม้แต่การอบรมเจริญสมถภาวนา ก็ไม่ใช่การทำสมาธิ แต่ภาษาไทยเราใช้คำที่เราอยากจะใช้คำไหนก็ใช้ เวลาที่บอกว่า สมาธิหรือสมถภาวนา ก็คิดว่าเป็นสัมมาสมาธิ ขอยืมคำมาใช้ทั้งหมด สมถภาวนา แต่ถ้าเราศึกษาความหมาย สมถะ คือความสงบ เป็นกุศลหรืออกุศล ถ้าสงบ สงบจากอะไร สงบจากอกุศล เพราะฉะนั้น สงบจากโลภะ โทสะ โมหะ ต้องเป็นปัญญาระดับหนึ่งจึงจะสามารถที่จะรู้ลักษณะของจิตที่สงบ เพราะว่าจิต ไม่ใช่ว่าเป็นแต่เพียงชื่อ ที่เราเอามาเรียงไว้ในหนังสือว่า มีประเภทเท่าไร จำนวนเท่าไร แต่ขณะนี้เองเป็นจิตประเภทต่างๆ ที่มีกล่าวไว้ในตำรา
แม้แต่จิตที่เป็นกุศลกับจิตที่เป็นอกุศล ไม่ได้อยู่ในหนังสือ แต่ว่าเป็นสภาพธรรมในชีวิตจริง เพราะฉะนั้นคนที่จะมีปัญญารู้ลักษณะของจิตซึ่งต่างกัน ขณะที่เป็นอกุศลก็อย่างหนึ่ง ขณะที่เป็นกุศลก็อย่างหนึ่ง ต้องเป็นผู้ที่มีปัญญา ถ้าไม่ใช่ ปัญญาก็เรียกชื่อเอา คิดเอา คาดคะเนเอา แต่ว่านั่นไม่ใช่ความรู้จริงๆ แต่ปัญญาไม่ใช่อย่างนั้น ปัญญาเป็นการไตร่ตรอง ขั้นการฟัง มีความเข้าใจจนกระทั่งถึงระดับที่สามารถจะเกิดแล้วรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ อย่างสภาพของจิตที่เป็นอกุศลต่างกับสภาพของจิตที่เป็นกุศล แล้วจึงจะอบรมเจริญความสงบของจิต คือ กุศลเกิดบ่อยๆ ไม่ใช่เกิดชั่วครั้งชั่วคราว จนกระทั่งสามารถสงบถึงระดับขั้นที่เป็นสมาธิ ซึ่งเป็นสัมมาสมาธิ ก่อนที่จะถึงอุปจารสมาธิ
เพราะฉะนั้น ก่อนอื่นต้องฟัง ฟังให้เข้าใจก่อนที่จะทำอะไร ถ้ามีคนบอกให้ทำโดยที่ไม่ให้เข้าใจ ไม่ต้องทำอะไรเลย เพราะไม่เข้าใจ
ผู้ฟัง ท่านก็บอกว่า ทำสมาธิ ก็เหมือนกับว่าเราจะหมดกิเลส เพียงชั่วขณะไม่ตลอดไป แต่ถ้าหากเป็นวิปัสสนาแล้ว เราจะพ้นจากกิเลส โดยการทำ
ท่านอาจารย์ เป็นแต่เพียงคำบอกเล่า แต่ปัญญาของเรายังไม่เกิดที่จะรู้ว่า ทุกข์ทั้งหมดเพราะกิเลส และกิเลสจะไม่กลัวอะไรเลย มีทางที่จะเกิดได้ตลอด เว้นปัญญาอย่างเดียว ถ้าปัญญาเกิดเมื่อไร กิเลสทั้งหลายจะเกิดไม่ได้ โลภะจะเกิดไม่ได้ แต่ถ้าปัญญาไม่มี อกุศลทั้งหลายก็เจริญขึ้นได้ แม้แต่เพียงอยากที่จะไม่มีกิเลส ขณะนั้นก็คือกิเลสที่อยากไม่มีกิเลส ไม่ใช่ปัญญาที่รู้ตามความเป็นจริงเลยว่า ขณะไหนเป็นอกุศลจิต แล้วก็มีกิเลสชนิดไหนเกิดร่วมด้วย แล้วขณะไหนเป็นกุศล แล้วขณะไหนเป็นกุศลที่ประกอบด้วยปัญญา
ทางที่ดีที่สุด ที่ปลอดภัยที่สุด คือมีปัญญาของเราเองก่อน ก่อนที่จะทำตามคำบอกเล่าของใครทั้งสิ้น เหมือนอย่างที่ว่า จะชวนดิฉันไปปฏิบัติ ถ้าดิฉันบอกว่า ขณะนี้สติระลึกเข้าใจสภาพธรรมเดี๋ยวนี้ แล้วจะให้ดิฉันไปที่ไหน ทำไมต้องไปในเมื่อขณะนี้สติเกิดได้ รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏได้ แล้วทำไมต้องไป แล้วจะให้ไปทำอะไร ในเมื่อสติเป็นสภาพที่ฟังแล้วมีความเข้าใจ สามารถที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ แล้วปัญญาก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้น ก็เป็นเรื่องที่ต้องสอบถามคนที่พูด ว่าเข้าใจอย่างไร
ผู้ฟัง ขอความกรุณาอาจารย์ กรุณาแนะนำว่า การปฏิบัติง่ายๆ อย่างอยู่ที่บ้านว่าทำอย่างไรถึงจะทำวิปัสสนาได้
ท่านอาจารย์ วิปัสสนา คือปัญญาที่เห็นแจ้งลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง ซึ่งต้องอาศัยขั้นการฟังให้เข้าใจก่อน ปัญญาระดับนั้นถึงจะค่อยๆ เกิดขึ้นทีละเล็กทีละน้อย แต่ถ้าไม่มีความเข้าใจเลย ปัญญาจะเกิดได้อย่างไร
ผู้ฟัง ดิฉันอ่านหนังสือของอาจารย์ด้วย อยากจะทราบว่าเราจะปฏิบัติตนอย่างไร เวลาอยู่กับ บ้าน อยู่กับชีวิตประจำวัน ที่จะให้เราได้เดินทางเข้าสู่วิปัสสนา
ท่านอาจารย์ คุณวีระยุทธก็เปลี่ยนแปลงภายในหนึ่งเดือน โดยยังไม่ได้
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 241
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 242
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 243
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 244
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 245
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 246
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 247
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 248
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 249
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 250
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 251
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 252
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 253
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 254
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 255
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 256
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 257
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 258
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 259
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 260
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 261
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 262
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 263
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 264
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 265
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 266
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 267
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 268
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 269
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 270
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 271
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 272
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 273
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 274
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 275
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 276
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 277
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 278
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 279
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 280
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 281
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 282
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 283
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 284
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 285
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 286
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 287
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 288
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 289
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 290
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 291
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 292
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 293
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 294
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 295
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 296
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 297
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 298
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 299
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 300