ปกิณณกธรรม ตอนที่ 287


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๒๘๗

    สนทนาธรรม ที่ โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า

    พ.ศ. ๒๕๔๐


    ผู้ฟัง ทุกๆ คนยังไม่มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ หรือยังไม่รู้ว่าลักษณะของพระนิพพานตามที่ปรากฏจริงๆ ไม่รู้ ก็รู้แต่เรื่องราวของพระนิพพาน ชื่อพระนิพพาน แต่ว่าในอนุสติ ๑๐ ท่านจัดเป็น ๑ ใน ๑๐ ท่านจัดไว้สำหรับบุคคลอย่างเราหรือเปล่า พวกเราที่สนใจในการเจริญกรรมฐานอะไรอย่างนี้

    อ.สมพร สำหรับเป็นเครื่องระลึกเตือนให้รู้ว่า ทุกวันนี้เราไม่สงบ แม้บางอย่างก็สงบ แต่ว่าการที่จะสงบยิ่งกว่าพระนิพพานไม่มี เลยใช้คำว่า อุปสมานุสสติ ให้หมั่นระลึกแล้ว จะศึกษา เมื่อศึกษาแล้ว จะปฏิบัติ ดำเนินทางไปหาความสงบอย่างยิ่ง คือพระนิพพาน

    ผู้ฟัง หมายความเป็นอารมณ์ เป็นเครื่องเตือน เตือนให้เรา เพื่อที่จะให้เราระลึกศึกษาต่อไป เบื้องแรกคงจะเป็นแค่จำชื่อ หรือว่าความหมายของคำว่า อุปสมานุสสติ ระลึกถึงความสงบ คือ พระนิพพาน แต่ว่าที่จะรู้จริงๆ ก็จะต้องศึกษาต่อไปอย่างนั้นหรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ ขอความกรุณาอาจารย์ ให้คำแปลโดยตรงของคำว่า อุปสมานุสสติ

    อ.สมพร อุปสมานุสสติ คือ อุป กับ สม คือสงบ เข้าไปสงบระงับสังขารทั้งปวง คือพระนิพพานนั่นเอง แต่ว่ายังเป็นชื่ออยู่ ยังเป็นบัญญัติอยู่ เป็นของมีอยู่จริง แต่ว่าเราใช้ชื่อ เรียกชื่อ เพราะฉะนั้น ในข้อนี้ก็เลยอยู่ในอนุสติ ๑๐ ซึ่งเป็นสมถะ

    ผู้ฟัง ทานกับจาคะ ต่างกันอย่างไร นี่คำถามที่ ๑

    คำถามที่ ๒ คือทานกับทานบารมี ต่างกับทานกับจาคะอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ทุกคนก็คงให้ทานเป็นชีวิตประจำวัน แต่ก็ควรที่จะทราบด้วยว่า ขณะที่ให้ทานเป็นจาคะหรือเปล่า หมายความว่า เราสละความเป็นตัวตน หรือความเป็นเราบ้างไหม สละกิเลสอะไรบ้างหรือเปล่า หรือเพียงแต่ให้ เพราะว่าบางคนสะสมอุปนิสัยที่เป็น ทานูปนิสัย ให้ได้ง่าย และก็เร็ว เวลาที่เห็นคนที่มีสิ่งซึ่งเขาต้องการ คนนั้นก็สามารถที่จะสละให้ได้ แต่ว่าเขายังมีความเป็นตัวตน ความเป็นเรา หรือยังมีกิเลส เขาเคยพิจารณาไหม ผู้ที่ให้ทานว่ามีกิเลส เรายังมีกิเลสอยู่ แม้ว่าเราให้ทาน กว่าจะเป็นจาคะ หรือกว่าจะเป็นบารมี ให้ทราบว่า เริ่มจากการให้ทานอย่างที่ให้กันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นชาติเชื้อใด ภาษาใด นับถือศาสนาใด มีความเห็นอย่างไร ก็มีการให้เป็นการสงเคราะห์ เป็นการอนุเคราะห์ เป็นการบูชา แล้วแต่ว่าในขณะนั้นให้โดยลักษณะใด แต่ว่าไม่ได้พิจารณาสภาพของจิต ไม่ใช่เป็นคนที่รู้ว่า เรายังมีกิเลสมาก

    นี่เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะเหตุว่าเพียงให้เท่านั้น ไม่ได้ขัดเกลากิเลสอะไรเลย แต่เวลาที่เรามีความรู้สึกตัวว่า เรามีกิเลสมาก แล้วถ้ายังมีกิเลสมากๆ อยู่อย่างนี้ แล้วจะดับกิเลสได้อย่างไร โดยมากไม่ค่อยจะคิดถึงเรื่องของการละหรือว่าการดับกิเลส แต่คิดถึงเพียงแต่ว่าจะได้อะไรจากการให้ ซึ่งบางคนก็หวังว่าจะเกิดในสวรรค์ จะได้เป็นเศรษฐี จะได้มีทรัพย์สมบัติมากมาย จะได้ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย ก็แล้วแต่ความหวังทั้งหลาย ซึ่งคิดว่ากุศลนั้นๆ เป็นเหตุที่จะนำมาให้ แต่ไม่ได้เคยคิดเรื่องของตัวเองซึ่งมีกิเลสมาก แล้วทำอย่างไรจึงจะค่อยๆ ละกิเลสนั้นไป

    ถ้าเป็นคนที่ละเอียด แล้วรู้ว่าการให้ เราจะให้ในลักษณะไหน ถ้าให้โดยไม่รู้ตัวว่ามีกิเลสมาก การให้ของเราส่วนใหญ่จะเป็นการหวัง เพราะบางคนหวังจริงๆ สังฆทานมีผลมาก หรือถ้าถวายสิ่งนั้นสิ่งนี้แล้วก็จะได้ผลมาก คิดแต่เรื่องได้ แต่ไม่ได้คิดถึงสภาพจิตในขณะที่ให้

    ถ้าเป็นคนที่ให้โดยที่ไม่ได้หวังสิ่งต่างๆ ซึ่งเป็นรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เพราะมีปัญญารู้ว่า ได้มาก็คือไปติดอีก ได้อะไรมาคือติดอีก สละออกไปนิดเดียว แค่นิดเดียว แต่ไปติดในผลตั้งมากมาย

    เพราะฉะนั้น ต้องเป็นผู้ที่มีปัญญา เห็นโทษ แล้วรู้ว่า กิเลสเป็นสิ่งที่ควรละ เวลาที่ให้จิตของเขาจะละเอียดขึ้น จะรู้ว่าให้จริงๆ เป็นการให้โดยที่ไม่หวังสิ่งใดตอบแทน ขณะนั้นก็อาจจะไม่รู้ลักษณะสภาพของจิตว่า จิตขณะนั้นมีความผ่องใสมากน้อยหรือเปล่า แต่อย่างน้อยที่สุดก็ยังรู้ว่า สิ่งนั้นเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น และถ้ามีปัญญามากกว่านั้นอีก ก็รู้ว่าให้เพื่อละ เพื่อประโยชน์ของคนอื่นเท่านั้นจริงๆ ไม่ได้หวังสิ่งใดเป็นการตอบแทน นั่นคือ จาคะ แต่ที่เป็นบารมี เพราะเหตุว่ารู้ว่า การที่จะดับกิเลสแสนยาก ทุกคนมีกิเลสที่มากมายโดยที่ไม่รู้ตัว บางคนก็บอกว่ามีกิเลสไม่มาก เหมือนกับว่า ไม่เห็นกิเลสของตัวเอง แต่เห็นกิเลสของคนอื่นแม้เล็กน้อย แม้เล็กน้อยแต่ว่าเป็นกิเลสของคนอื่นก็เห็น แต่บางคนก็ยิ่งกว่านั้นอีก คือทั้งๆ ที่คนอื่นจิตเป็นกุศล แต่กลับมีอกุศลจิตที่ไปเห็นกุศลของคนอื่นเป็นอกุศล

    เรื่องของกิเลสมากมายมหาศาล แต่ละคนก็จะต้องมีปัญญาของตัวเองที่จะต้องเป็นผู้ที่ละเอียดจริงๆ แล้วก็รู้ว่ากว่าจะอบรมเจริญปัญญาจริงๆ ที่จะรู้สภาพธรรม และสามารถที่จะละคลายจนกระทั่งดับกิเลสได้ นานมาก

    ท่านเหล่านั้นที่มีปัญญา ที่รู้ว่า การกระทำกุศลทั้งหมดก็เพื่อที่จะให้ สามารถที่จะเป็นปัจจัยที่จะทำให้ถึงฝั่งคือพระนิพพาน เป็นเรื่องสละทั้งนั้นเลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของทาน เรื่องของศีล เรื่องของเนกขัมมะ เรื่องของปัญญา เรื่องของเมตตา ทุกอย่างเป็นเรื่องสละหมด บารมีต้องเป็นเรื่องสละอยู่แล้ว สละโดยบารมีใด

    ผู้ฟัง ในทศพิธราชธรรม มีทั้งทาน มีทั้งบริจาค ทานัง ศีลัง ปริจาคัง อาชชะวัง มัททะวัง ตะปัง อักโกธะ อะวิหิสัญจะ ขันติญจะ อะวิโรธะนัง ๑๐ อย่าง ทศพิธราชธรรม มีทาน ศีล มีบริจาคด้วย อันนี้แยกกันอย่างไร ไม่ทราบ

    ท่านอาจารย์ นี่เป็นความวิจิตรการเทศนาของพระผู้มีพระภาค ซึ่งแสดงโดยนัยต่างๆ ที่จะให้ผู้ฟังเห็นความละเอียดที่จะไม่ละ แม้ว่าเรื่องของทาน ก็มีเรื่องของจาคะด้วย แต่ถ้าเป็นเรื่องบารมีล้วนๆ เป็นเรื่องของจาคะทั้งหมดโดยตลอด ทั้ง ๑๐ แต่ว่าจาคะ สละโดยให้ทาน หรือว่าโดยวิรัติทุจริต หรือว่าโดยสัจจะ โดยอธิษฐาน

    ผู้ฟัง การทำทาน คือฟังวิทยุเกือบทุกสถานีจะมีคนถามว่า ทำอย่างนั้นๆ ได้บุญไหม วิทยากรก็ตอบว่า อย่างนั้นจะได้บุญ อย่างนี้จะได้บุญ วิทยากรส่วนมากจะไม่พูดเรื่องลักษณะจิตเลย เพราะฉะนั้น ก็อยากจะพูดอีกครั้งหนึ่งว่า ในการให้ทาน ในขณะซึ่งให้ทาน ลักษณะจิตไม่เป็นกุศลแล้ว ไม่ใช่ทาน

    ท่านอาจารย์ เรื่องบุญหรือทานนี้ก็น่าคิด คือ ถ้าทราบว่าบุญ คือ ความดี จะทำไหม เพราะเหตุว่าคิดถึงแต่เรื่องทาน คิดว่าให้แล้วจะได้ก็ให้กัน แต่ถ้าทราบว่าบุญ คือ คุณความดี จะทำไหมความดี ทุกอย่างที่เป็นบุญ เป็นความดีทั้งหมด แม้แต่ทานการให้สิ่งที่เป็นประโยชน์กับคนอื่น ก็เป็นความดีชนิดหนึ่ง

    ถ้าเราคิดถึงเรื่องความดี มีความดีอีกหลายอย่าง ซึ่งถ้าพิจารณาโดยละเอียด จะทำไหม หรือไม่เอา แค่ทานพอ นี่ก็แสดงให้เห็นว่า ยังมีกิเลสอีกมากมายกว่าที่จะค่อยๆ ขัดเกลาออกไปได้ เพราะว่าติดมากเหลือเกิน ในการที่สละได้เพียงแค่ทาน แต่ว่าความดีอื่นทำไม่ได้ นี่ก็เป็นเรื่องที่น่าคิด

    ผู้ฟัง ศีล ๕ เป็นทานอย่างยิ่ง มีข้อหนึ่งที่น่าสนใจ ถ้าใครสามารถให้ ไม่หวังเพื่อความสนิทสนม ถ้าหวังความสนิทสนมก็เป็นอกุศลแล้ว อันนี้ละเอียดมากเลยที่พุทธองค์แสดงไว้ ในเทปอาจารย์ก็มี ให้เพื่อหวังจะรู้จักกัน เพื่อสนิทสนมกัน หวังเท่านั้น นั่นเป็นอกุศลแล้ว

    อ.สมพร ทานมีหลายอย่างที่เราพูดกัน ทาสทาน สหายทาน สามีทาน ทาน ๓ ระดับ

    ทาสทาน ถ้าเราให้ของที่เลว ที่เราไม่ใช้แล้ว ก็เป็นทาน อย่างนี้เรียกว่าทาสทานต่ำที่สุด

    ถ้าเราใช้สิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ เราก็ให้สิ่งนั้น เรียกว่า สหายทาน เสมอๆ กับที่เราใช้

    เราให้ของที่ประณีต เช่น เราถวายสงฆ์เป็นต้น ที่ดีมาก เรียกว่า สามีทาน เป็นเจ้าของทานโดยตรง แล้วทานที่พูดกันเมื่อครู่นี้ ก็เข้าใจกันดีแล้ว เช่น คำว่าทานที่อาจารย์บอกว่า เป็นกุศลประกอบด้วยปัญญาก็ได้ ไม่ประกอบด้วยปัญญาก็ได้ จาคะเป็นบารมี ต้องประกอบด้วยปัญญา คราวนี้ก็มีอีกอันหนึ่งที่อาจารย์นิภัทรว่า ทานัง ศีลัง ปริจาคัง มีทั้งทาน มีทั้งบริจาค มันอะไรกันแน่ นักศึกษาต้องเข้าใจ ทาน คือการให้วัตถุในที่นั้น ทั้งหมดมี ๑๐ อย่าง

    ผู้ฟัง เรื่องภพทั้ง ๓ ที่มีกามภพ รูปภพ อรูปภพ บอกว่าเกิดที่ไหนๆ เปรียบเสมือนหลุมถ่านเพลิงที่ไม่มีเปลว สำหรับที่ดิฉันพิจารณาดูแล้ว เวลาที่โกรธที่เป็นโทมนัส หรือว่าเวลาที่ทุกข์กาย ดิฉันเห็นด้วยว่า มันเป็นเหมือนหลุมเพลิงที่ไม่มีเปลว แต่เวลาที่สุขกาย หรือโสมนัส จะไม่เคยคิดถึงตรงนี้เลย อย่างไรที่จะให้มองเห็น แม้แต่ความสุขมันก็เป็นหลุมถ่านเพลิงแล้ว

    ท่านอาจารย์ ความสุขเที่ยงไหม

    ผู้ฟัง ไม่เที่ยง

    ท่านอาจารย์ นั่นแหละ หลุมถ่านเพลิง

    ผู้ฟัง แต่มันกำลังสุข คิดไม่ออกเลย

    ท่านอาจารย์ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ให้คิด ให้รู้ความจริง

    ผู้ฟัง ก็ระลึกไปขณะที่สุขอันนั้น

    ท่านอาจารย์ แต่ยังไม่รู้

    ผู้ฟัง ไม่ทราบว่าไม่เที่ยง ใช่ไหม ถึงได้เพลินไปตอนนั้น แต่ทำไมเวลาที่ทุกข์ รู้

    ท่านอาจารย์ เพราะลักษณะที่เป็นทุกข์ไม่ใช่ลักษณะที่เป็นสุข แต่ทั้งหมดไม่เที่ยง ทุกข์ก็ไม่เที่ยง สุขก็ไม่เที่ยง

    ผู้ฟัง สุขที่คุณบงว่า อยู่กับคุณบงนานไหม

    ผู้ฟัง มันก็นานเหมือนกัน แต่มันก็มีดับ เดี๋ยวมันก็เกิดขึ้นมาใหม่อีก การเห็นว่าไม่เที่ยงมันยาก

    ผู้ฟัง เมื่อเห็นว่าไม่เที่ยงนั่นคือทุกข์

    ผู้ฟัง ผมต้องทำอย่างไร ตรงไหนในขณะที่ให้ทาน แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรในขณะนั้น เราทำโดยไม่หวังผล

    ท่านอาจารย์ จะทำหรือ หรือว่าจะเข้าใจให้ถูกต้อง

    ผู้ฟัง จากการศึกษา จากการสนทนากัน จากการฟังพระธรรม และจากการอ่าน เรารู้ว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นประโยชน์ ถ้าเราไม่ทำ เราจะทำอย่างไร

    ผู้ฟัง จะเข้าใจ

    ท่านอาจารย์ จะไม่เห็นได้ไหม

    ผู้ฟัง จะไม่เห็น ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ จะไม่ได้ยินได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ถ้ากุศลจิตจะเกิด จะไม่ให้เกิดได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ถ้าอกุศลจิตจะเกิด จะไม่ให้เกิดได้ไหม นี่คือความเข้าใจจริงๆ ไม่ใช่ว่าเราไปทำ ไม่มีใครทำ ขณะนี้สภาพธรรมเกิดตามเหตุตามปัจจัย ไม่ใช่ว่าเมื่อฟังแล้วก็จะมีแต่กุศลตลอด หรือว่าจะพยายามไปทำกุศล ขณะนั้นไม่ได้เข้าใจความจริง ก็ยังมีความเป็นเราอยู่

    กุศลทั้งหลายก็เจริญไม่ได้ เพราะมีความเป็นเรา แล้วมีการทำทุกอย่างด้วยโลภะ คือ ด้วยความต้องการสำหรับเรา

    เพราะฉะนั้น ที่จะเป็นกุศลยิ่งขึ้น คือมีความเข้าใจในสภาพธรรมว่า เป็นสภาพธรรมยิ่งขึ้น และเมื่อมีความเข้าใจถูกต้องก็ต้องเห็นอกุศลเป็นอกุศล และกุศลเป็นกุศล เมื่อกุศลเกิด หรืออกุศลเกิด ไม่ใช่มีเราอยากจะทำ หรือเราไปทำอีกเพื่อหวัง เพราะเหตุว่าโลภะละเอียดมาก ยากเหลือเกินที่ใครจะละโลภะโดยไม่รู้จักโลภะเลย แต่ต้องค่อยๆ รู้จักโลภะ เพิ่มขึ้นทีละเล็กทีละน้อย

    ผู้ฟัง จากการศึกษาเรารู้ว่า สิ่งนี้ดี ตามความเป็นจริงแล้วขณะที่ให้ทาน จะเป็นอย่างไร ในขณะนั้นจะรู้ได้อย่างไร ขณะนั้นเป็นกุศลจิตหรืออกุศลจิต ในขณะที่ให้ทาน ในขณะที่เป็นจาคะ ในขณะที่กำลังมีอะไรเป็นอารมณ์

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีรู้ คุณประทีปให้เพื่อประโยชน์แก่คนอื่น รู้ไหม หรือว่าเพราะต้องการอะไรจึงให้ ไม่ได้คำนึงถึงประโยชน์เขา หรือบอกคนว่า ถ้าเขาไม่รับเราก็ไม่ได้กุศล กลายเป็นอย่างนั้นไปอีก เพราะฉะนั้น ควรจะพิจารณาจริงๆ ขณะที่ให้ ให้เพื่อประโยชน์ของคนนั้นหรือเปล่า นี่การที่จะรู้สภาพของจิตได้

    ผู้ฟัง ต้องเป็นในขณะที่กำลังให้ในขณะจิตนั้น

    ท่านอาจารย์ เวลาให้ต่อไปนี้ก็ดูว่าเวลาให้ ให้เพื่อประโยชน์ของคนนั้นหรือเปล่า หรือให้เพื่อหวังอะไรหรือเปล่า

    ผู้ฟัง หมายความว่าในขณะใดที่ให้ทานแล้วจิตผ่องใส หรือว่าในขณะที่ศึกษาพระธรรม หรือว่าในขณะที่กำลังประพฤติปฏิบัติธรรม จะต้อง…

    ท่านอาจารย์ ทำไมใช้คำว่าประพฤติปฏิบัติ

    ผู้ฟัง หมายความว่าที่กำลัง

    ท่านอาจารย์ เวลานี้กำลังประพฤติปฏิบัติธรรมหรือเปล่า

    ผู้ฟัง กำลัง ทีนี้ท่านอาจารย์มักจะพูดว่า ในขณะใดที่จิตผ่องใส ในขณะใดที่ไม่หนัก ในขณะใดที่สบาย ความหมายอันนั้นท่านอาจารย์หมายถึง ในขณะที่ผ่องใส หมายถึงเป็นจิตที่เป็นกุศลจิต ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ถ้าสติไม่เกิด ไม่มีการที่จะรู้ลักษณะสภาพของจิตที่เกิดดับอย่างเร็วมาก แล้วสลับกัน อย่างในขณะนี้ที่เห็น มีทั้งวิบาก มีทั้งกิริยาจิต มีทั้งกุศลจิต หรืออกุศลจิต ถ้าสติไม่ได้ระลึกลักษณะของสภาพธรรม เพียงแต่นึกว่าขณะนั้นเป็นกุศล หรือว่าขณะนี้เป็นกุศล ทางที่ดี ถ้าคุณประทีปจะเจริญกุศล คือ กุศลเป็น กุศล เวลาที่ให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดเพื่อประโยชน์แก่คนอื่น คิดจริงๆ ว่าเพื่อเขาหรือเปล่า หรือว่าเพื่อเราจะได้กุศล อยากจะได้กุศล อยากจะให้เป็นกุศล อยากจะให้เป็นกุศลประกอบด้วยปัญญา หรือว่าให้เพื่อประโยชน์แก่คนรับจริงๆ เท่านั้น ไม่ได้ห่วงกังวลถึงตัวเองเลย ในขณะใดที่ไม่ได้คิดถึงตัวเอง ไม่ห่วงตัวเองเป็นการให้เพื่อบุคคลนั้นจริงๆ นั่นคือกุศลจิตจริงๆ ไม่หวังสิ่งใดเป็นการตอบแทนทั้งสิ้น

    ผู้ฟัง ฟังแล้วก็มาถึงจุดที่ต้องเข้าใจว่า ในขณะใดที่สติไม่เกิด ก็จะไม่รู้เลยว่าขณะนั้นสภาพจิตเป็นอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ถ้าสติปัฏฐานไม่เกิดไม่รู้ลักษณะของจิต แต่สามารถที่จะรู้ว่า ขณะที่ให้ ให้อย่างไร ให้โดยหวังตอบแทน หรือไม่หวังตอบแทน ต้องรู้อย่างนี้ก่อนที่จะไปรู้ลักษณะของจิต การที่จะไปมีสติปัฏฐานเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม ต้องมีเหตุปัจจัย คือความรู้ความเข้าใจธรรม แล้วก็ไม่หวังรอว่า เมื่อไรสติปัฏฐานจะเกิด ถ้าหวังรอก็ไม่เกิด ทุกอย่าง หวังรอ คือโลภะ เครื่องกั้น เครื่องเนิ่นช้าทั้งหมด

    ผู้ฟัง ศึกษาพระธรรมเข้าใจว่า พระธรรมที่พระองค์ได้ทรงแสดงไว้ แสดงเพื่อไม่ให้เราเกิดทั้งโลภะ และโทสะ รวมกระทั่งถึงโมหะด้วย ก็มาถึงจุดสำคัญที่ว่าในขณะที่กำลังทำทานหรือให้ทานนั้น จะต้องมีสภาพธรรมสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ปรากฏให้เรารู้ได้ว่า ขณะนั้นเป็นกุศลจิตหรืออกุศลจิต ใช่ไหม ถึงจุดๆ นี้

    ท่านอาจารย์ ให้ใครรู้

    ผู้ฟัง ให้ตัวเองรู้

    ท่านอาจารย์ ถ้าตัวเองไม่มีปัญญาที่พร้อมจะรู้ก็รู้ไม่ได้

    ผู้ฟัง อย่างน้อยที่สุดก็ให้รู้จักตัวเองว่า เรายังไม่รู้ สติยังไม่เกิด ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ขณะใดหลงลืมสติก็หลงลืมสติ ขณะใดที่สติเกิดก็สติเกิด เป็นขณะที่ต่างกัน

    ผู้ฟัง การศึกษาพระธรรม หรือการฟังพระธรรม เพื่อให้รู้จักตัวเองดีมากพอสมควรว่า

    ท่านอาจารย์ ค่อยๆ รู้ทีละเล็กทีละน้อยตามลำดับ เวลาที่สติปัฏฐานไม่เกิดก็รู้ขณะอื่นได้ ที่ไม่จำเป็นต้องไปรู้ลักษณะของจิต หรือเจตสิก หรือรูป

    ผู้ฟัง ต้องรู้จักตัวเองว่า

    ท่านอาจารย์ เพียงแต่ว่า เวลาที่คุณประทีปให้ คุณประทีปหวังอะไรหรือเปล่า คนอื่นรู้ไม่ได้ นอกจากคุณประทีปเอง

    ผู้ฟัง เราก็ต้องรู้จักตัวเองดีพอสมควร ก็มาถึงจุดๆ นี้ก็ทำให้ผมคิดมาว่า ก่อนอื่นเราน่าจะรู้จักตัวเราเองดีพอสมควรหรือยังว่า เราเริ่มค่อยๆ เข้าใจพระธรรม เพียงพอหรือยัง แล้วที่สติไม่เกิด เพราะว่าความเข้าใจในขั้นการฟังของเรายังไม่เพียงพอ ก็ทำให้ผมจะได้ศึกษามากขึ้น

    ผู้ฟัง การบูชาด้วยการอบรมเจริญธรรมถึงขั้นสติปัฏฐาน จะเป็นเข้าในพุทธพจน์ ที่ท่านกล่าวไว้ว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต ใช่หรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ ไม่ทราบคุณอำไพรู้จักพระพุทธเจ้าโดยอะไร

    ผู้ฟัง ตอนนี้ก็โดยธรรม

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่ได้ฟังธรรมเลย ก็คงจะเห็นแต่เพียงพระพุทธรูปเท่านั้น แต่ว่าไม่สามารถที่จะรู้ในพระคุณทั้งหมดของพระองค์ได้ จนกว่าที่จะได้ศึกษาธรรม แล้วเมื่อได้ศึกษาธรรมเข้าใจก็รู้ว่า ท่านผู้นี้ที่ทรงแสดงพระธรรมเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วทรงแสดงพระธรรมเพื่อประโยชน์ของใคร ของผู้ที่ศึกษา ก็ยิ่งเห็นพระคุณมากขึ้น เพราะฉะนั้น เมื่อเห็นพระคุณแล้วจะไม่ประพฤติปฏิบัติตามหรือ

    ผู้ฟัง จะเรียนถามว่า ถ้าเราเข้าใจนิดๆ หน่อยๆ อย่างนี้ ก็จะเข้าในพระพุทธพจน์นี้ไหม ผู้เห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต

    ท่านอาจารย์ ตั้งแต่เริ่มศึกษาก็ทราบเลยว่า คนอื่นสอนไม่ได้ ทรงแสดงอย่างนี้ไม่ได้

    ผู้ฟัง ถ้าบางคนศึกษาไปผิดๆ แสดงว่ายังไม่เห็นตถาคต

    ท่านอาจารย์ ถ้าผิดก็ไม่เห็น

    ผู้ฟัง ไม่เห็น

    ผู้ฟัง คุณประทีปพูดถึงเรื่องการประพฤติปฏิบัติธรรม คือคำนี้ก็เป็นคำที่เราอาจจะยังเข้าใจไม่ค่อยชัดแจ้งหรือสับสนอยู่ ที่จริงคำว่า ประพฤติปฏิบัติธรรม ถ้าพูดถึงเราจะนึกถึงรูปแบบ แต่ความจริงไม่ใช่ เป็นเรื่องธรรมดา เดี๋ยวนี้เราก็ประพฤติธรรมอยู่อย่างที่ท่านอาจารย์ว่า ประพฤติธรรมอะไร ก็ประพฤติธัมมัสสวนมัยกุศล ประพฤติบุญกิริยาวัตถุ ข้อหนึ่ง คือการฟังธรรม นี่เป็นการประพฤติธรรม แล้วก็ยังมีการให้การดื่มการบริโภคกันอีก ก็ประพฤติธรรมทั้งนั้น การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ยกไอ้โน่นให้บ้างไอ้นี่ให้บ้าง ให้ที่นั่งบ้าง ล้วนแต่ประพฤติธรรมทั้งสิ้น ถ้าเราเข้าใจแล้ว เราจะเห็นว่า ชีวิตประจำวันของเรา ถ้าเรามีใจเป็นกุศล มีใจดีอยู่ตลอด เราจะได้ประพฤติธรรมอยู่ตลอด รวมทั้งเมตตากรุณาอะไรก็แล้วแต่ เราจะมีการประพฤติธรรมอยู่ตลอด เพราะฉะนั้น เรื่องประพฤติธรรม อย่าเป็นแต่เพียงเข้าใจคำพูด หรือเป็นการพูดธรรมใหญ่ๆ เพื่อจะให้คนตกใจ แต่ความจริงทุกคนประพฤติอยู่แล้ว ประพฤติธรรม

    เมื่อเรารู้ว่าเราประพฤติธรรมอยู่แล้ว ก็ประพฤติธรรมให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ให้มากๆ จึ้นไป ความรู้ความเข้าใจในธรรมที่พระองค์สอน ไม่ใช่ว่าพนมมือเฉยๆ นั่งนึกพระพุทธรูปอยู่ต่อหน้า เป็นการนึกถึงพระพุทธคุณ ไม่ใช่ อันนั้นเป็นการไหว้ทองคำ เป็นการไหว้พระทองเหลือง ทองคำ หรือพระอิฐพระปูน เพราะโบราณท่านก็บอกว่า ไหว้พระอย่าให้ถูกทองคำ ไหว้พระธรรมอย่าให้ถูกใบลาน อย่าให้ถูกหนังสือ ไหว้พระสงฆ์ อย่าให้ถูกลูกหลานชาวบ้าน เพราะอะไรอย่างนี้ คือต้องไหว้ให้ถูกคุณ ถ้าเรามาฟัง เรามีความรู้ความเข้าใจในพระธรรมข้อใดข้อหนึ่ง อะไรก็แล้วแต่ แปลว่าพระคุณของพระพุทธเจ้าได้ฉายเข้ามาในใจของเราแล้ว ถ้ายิ่งเราเข้าใจธรรมลึกซึ้งเท่าไร จนเป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่จะให้เราประพฤติปฏิบัติตามได้ พระธรรมนั้น สามารถที่จะเตือนให้เราระลึกถึงสภาพที่ปรากฏได้ตามความเป็นจริงทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ยิ่งเรียกว่าเรามีพระคุณของพระพุทธเจ้าอยู่ในตัวเรามากขึ้น

    ผู้ฟัง ฟังมาบอกว่าลึกซึ้งโดยอรรถคือพระสูตร ลึกซึ้งโดยกิจคือพระวินัย ลึกซึ้งโดยสภาวะคือพระอภิธรรม ทีนี้ถ้ามาคิดดู ท่านอาจารย์ ถ้าเผื่อว่าเราเรียนพระสูตร หรือเรียนพระวินัย มันก็ไม่เข้าถึงตัว สภาวธรรม เพราะฉะนั้น จะคิดไหมว่าการเรียนอภิธรรมเป็นสิ่งที่สูงที่สุด

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีธรรม จะมีพระสูตร พระวินัยได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ถ้าเข้าใจธรรมแล้ว ในพระวินัยมีธรรมไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ ในพระสูตรมีธรรมไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องของธรรมที่จะต้องรู้

    ผู้ฟัง ต้องเกื้อกูลกันทั้ง ๓ ปิฎก อีกเรื่อง คือเวลาที่มาศึกษาถึงการละไม่มีตัวมีตน แต่มีตัวเรามาเรียนธรรม อันนี้เป็นจริง คือถ้าเผื่อเมื่อไหร่มีตัวเรามาเรียนธรรมแล้ว เราจะละได้อย่างไร

    ท่านอาจารย์ เรียนแล้วรู้ไหม

    ผู้ฟัง ค่อยๆ รู้

    ท่านอาจารย์ ค่อยๆ ละ

    ผู้ฟัง ฟังเรื่องตัวตน เรื่องไม่มีตัวตน ฟังแล้วก็ยิ่งงงไปอีก เพราะเหตุว่าโดยการศึกษาทราบว่า มีสภาพธรรม

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 97
    23 มี.ค. 2567