ปกิณณกธรรม ตอนที่ 318
ตอนที่ ๓๑๘
สนทนาธรรม ที่ โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า
พ.ศ. ๒๕๔๕
ท่านอาจารย์ สำหรับกายตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้า ที่จะปรากฏว่า เย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว ก็ต้องอาศัยกายปสาทจึงจะปรากฏได้ แต่เมื่อปรากฏแล้วก็เป็นเรื่องราวทรงจำไว้มากมายทางใจ แต่ให้แยกรู้ว่า ขณะที่กำลังทรงจำเป็นเรื่องราวต่างๆ เป็นความคิดนึกทางใจ ซึ่งไม่ใช่ขณะที่มีปรมัตถธรรมจริงๆ เป็นอารมณ์ แต่เวลาที่ขณะเป็นปรมัตถธรรมจริงๆ ที่จะปรากฏเป็นอารมณ์ทางกาย ไม่พ้นจากเย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว แล้วเราจะต้องมานึกไหม พอแข็งที่เล็บก็ต้องมานึกว่าเล็บๆ ๆ ๆ ๆ หรือเปล่า หรือว่าลักษณะที่แข็งปรากฏให้รู้ว่า ขณะนั้นไม่มีเรา ไม่มีเล็บ แต่มีสภาพธรรมที่แข็ง ความจำว่าเล็บเป็นแต่เพียงเมื่อนึกถึงรูปร่างสัณฐานจึงจำ แต่ว่าลักษณะจริงๆ คือเย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว
เพราะฉะนั้น การที่จะรู้ว่าขณะใดเป็นปรมัตถธรรม เมื่อมีลักษณะที่เป็น ปรมัตถธรรมปรากฏให้รู้ เมื่อไรที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏที่กาย ไม่ต้องไปคิดว่า ผม หรือขน หรือเล็บ หรือฟัน หรือหนัง ไม่ต้องเลย เพราะเหตุว่าขณะนั้นเป็นขณะที่ไม่หลงลืมสติ จึงมีลักษณะที่แข็งปรากฏให้รู้ว่า ลักษณะแข็งมีจริง แล้วก็ปรากฏทางกาย ไม่ใช่ปรากฏทางตา ทางหู
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นลักษณะทุกข์ทางกาย ลักษณะทุกข์ทางกาย
ท่านอาจารย์ อะไรเป็นทุกข์ รูปรู้สึกเป็นทุกข์ได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ขณะนั้นเป็นอะไร ความรู้สึกชนิดหนึ่ง ความรู้สึกนั้นเป็นจิตหรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็นเวทนาหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ไม่ต้องเรียกชื่อ ถ้ารู้ว่า จิตเป็นธาตุรู้ หรือสภาพรู้ ที่เป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้ ซึ่งต่างจากเจตสิก เพราะฉะนั้น จิตไม่ใช่เจตสิก ขณะที่เป็นความรู้สึกเจ็บที่กาย ใช่ไหม ขณะนั้นความรู้สึกที่เจ็บเป็นรูปหรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็นนามธรรม
ท่านอาจารย์ เป็นรูปไม่ได้เลย รูปเจ็บไม่ได้ รูปคันไม่ได้ รูปไม่รู้อะไรเลยทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น ความรู้สึกต่างๆ คือสภาพธรรมที่มีจริง ที่ปรากฏกับกายปสาท เวลาที่เจ็บ ขณะนั้นเป็นสภาพนามธรรมที่อาศัยกายปสาทเกิดขึ้น ถ้าไม่มีกายปสาท จะเจ็บไหม ตรงที่ไม่มีกายปสาทก็ไม่เจ็บ แต่เจ็บจะเกิดต่อเมื่อตรงนั้นมีกายปสาท แต่กายปสาทไม่ใช่ความรู้สึกเจ็บ รูปที่เย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ก็ไม่ใช่ความรู้สึกที่เจ็บ เพราะฉะนั้น ความรู้สึกเจ็บสามารถที่จะรู้ลักษณะนั้นได้ ซึ่งเป็นลักษณะของนามธรรม ไม่ใช่ลักษณะของรูปแข็งหรือร้อน
ผู้ฟัง ขอสนทนาต่อตอนที่อาจารย์อดิศักดิ์ ยกตัวอย่างว่า ยาฆ่าหนู ประเภทนั้น ดิฉันก็ดูทีวี มันจะมียาฆ่ายุง ก็เขาบอกเลยว่าให้ฉีดตรงยุงเลย มันผิดศีล ๕ แล้วก็ไม่ทราบว่า พุทธศาสนาสอนอย่างไรกัน ให้ออกมาตรงนั้นได้อย่างไร ฆ่าสัตว์อย่างตรงๆ ตัวเลย
ผู้ฟัง พระพุทธเจ้าบอกไม่ได้ให้ไปฉีดตรงตัวยุง นี่มันชาวบ้านพูด
ผู้ฟัง มองดูแล้วก็รู้สึกขัดตาทุกที
ผู้ฟัง ถามว่าการกำหนดรู้ทุกข์ กับการที่กำหนดรู้ความเกิดดับ มันก็อันเดียวกันหรือเปล่า แล้วเราจะทำอย่างไร ถึงจะเรียกว่า การกำหนดรู้ทุกข์
ท่านอาจารย์ ขณะนี้มีทุกข์หรือเปล่า มี แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นทุกข์ ทุกข์อะไร ทุกข์ที่นี้หมายความถึงการเกิดขึ้น และดับไป ของอะไร ต้องเป็นของสภาพธรรม เพราะฉะนั้น ต้องรู้สภาพธรรมก่อน แล้วรู้ให้ทั่ว รู้ให้รอบ รู้ให้หมด จะรู้อย่างไร ถ้าสติสัมปชัญญะไม่เกิด แล้วก็มีลักษณะของสภาพธรรม แต่ละลักษณะจนกว่าจะเป็นธรรมจริงๆ รอบรู้ รู้รอบหมดในลักษณะที่เป็นลักษณะของนามธรรมนั้นๆ รูปธรรมนั้นๆ อย่างความติดข้องมีลักษณะหลายอย่าง เวลาที่โลภะเกิด จะเป็นความติดข้องในลักษณะใด เป็นความต้องการ เป็นความหวัง หรือว่าเป็นอะไรก็แล้วแต่ที่มีอยู่เป็นประจำในขณะนี้ รู้รอบในสิ่งนั้นหรือยัง แต่รู้รอบที่นี่ไม่ใช่ไปคิด แต่มีสติสัมปชัญญะที่ระลึกสิ่งนั้นจนรู้รอบจริงๆ ว่า สิ่งนั้นเป็นรูป หรือว่าสิ่งนั้นเป็นนาม ไม่ใช่เพียงแต่เราไปจำชื่อต่างๆ แล้วเราก็คิดว่า นี่เป็นการรู้รอบ หรือว่ารอบรู้ในลักษณะของสภาพธรรมนั้น แต่ต้องมีสติสัมปชัญญะที่มีตัวจริงของธรรมที่ปรากฏแล้วค่อยๆ รู้ธรรมจนรู้รอบจริงๆ ในลักษณะของสภาพธรรมนั้นจนหมดความสงสัย ในสภาพที่เป็นนามธรรม หรือเป็นรูปธรรม จึงจะเป็นนามรูปปริจเฉทญาณเมื่อไร เมื่อนั้นจึงจะเป็นญาตปริญญา เป็นเครื่องแสดงถึงการที่สติปัฏฐานเริ่มเกิด เริ่มระลึก เริ่มศึกษาลักษณะของสภาพธรรมจนกว่าจะค่อยๆ รู้ขึ้น แต่อะไรจะเป็นเครื่องวัดว่า รู้แล้ว หรือว่ารู้รอบแล้ว ก็ต้องเป็นขณะที่นามรูปปริจเฉทญาณเกิดทางมโนทวาร สภาพธรรมปรากฏโดยการขาดจากกัน นามธรรม และรูปธรรมปรากฏเป็นลักษณะของสภาพธรรมแต่ละอย่าง ทีละอย่าง เมื่อนั้นที่เป็นวิปัสสนาญาณ ที่เป็นนามรูปปริจเฉทญาณจึงจะเป็นญาตปริญญา แต่ยังไม่ใช่การประจักษ์การเกิดดับ ซึ่งเป็นทุกขลักษณะซึ่งจะต้องเป็นถึงขณะที่เป็นญาณขั้นที่สูงขึ้น คือ อุทยัพพยญาณ แต่ก่อนอุทยัพพยญาณ ก็จะต้องมีตีรณปริญญา เพราะว่าปริญญา เป็นการแสดงว่า ปัญญาได้ถึงระดับที่มีความรู้จริงๆ ปรากฏจริงๆ ในลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม แต่ก็ยังไม่พอ ยังจะต้องอบรมเจริญปัญญารู้ลักษณะของสภาพธรรมต่อไป
สติปัฏฐานไม่มีวันหยุด ไม่มีวันพอ แล้วก็จะต้องมีการรู้ว่า ขณะนั้น เป็นเพียงขั้นคิด หรือว่าเป็นขั้นที่มีสภาพธรรมปรากฏ และสติปัฏฐานก็ระลึกลักษณะของสภาพธรรมนั้น ปัญญาก็รู้ว่า ขณะนั้นไม่ได้หลงลืมสติ แต่สติกำลังรู้ลักษณะต่างๆ ของสภาพธรรมจนกว่าจะละคลายเพิ่มขึ้น การที่จะประจักษ์การเกิดดับจึงจะมีได้ แต่ไม่ใช่การที่เราไปกำหนดเอาว่า นี่เกิด แล้วก็นี่ดับ นั่นเป็นความคิด แต่ไม่ใช่เป็นปริญญา หรือว่าไม่ใช่เป็นวิปัสสนาญาณ
ผู้ฟัง เรื่องชื่อ อาจารย์นิภัทรก็คงจะได้ชื่อมา ถ้าว่ากันตามลำดับ ก็คือว่าไปได้คำมาว่า กำหนดรู้ทุกข์ พอเอาชื่อขึ้นมาก่อน ถ้าตราบใดสติไม่เคยเกิดขึ้นระลึกรู้ในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ จะไม่สามารถที่จะเข้าใจคำว่า กำหนดรู้ทุกข์ได้ แล้วก็มีคำต่อไปอีก พระพุทธองค์ก็ยังมีคำว่า ญาตปริญญา
การเรียนธรรม ถ้าเรียนจากชื่อตรงนั้นมาแล้ว ไม่มีทางเลยที่จะเข้าใจธรรมได้ จะเข้าใจธรรม ต้องสติเกิด แล้วรู้ว่า หลงลืมสติเป็นอย่างไร จึงจะรู้ว่ากำหนดรู้ทุกข์คืออะไร ถ้าไม่อย่างนั้น กำหนดรู้ทุกข์ อาจารย์นิภัทรก็คงจะได้แต่ชื่อไปอยู่อย่างนี้จนตลอดชีวิต ผมมีความรู้สึกอย่างนั้น เพราะผมเอง ผมศึกษาจากสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ ส่วนคำ พระพุทธองค์ท่านจะว่าอย่างไร หรือว่าผู้ที่แปลจากบาลีไปใช้ คำว่ากำหนดรู้ทุกข์ก็ดี หรือว่าตีรณปริญญา จนเดี๋ยวนี้มีบางแห่งไปใช้คำว่า ทำปริญญา ทำปริญญา นี่ต้องทำปริญญา นี่ต้องทำปริญญา ฟังดูแล้วเป็นเรื่องตัวตนทั้งนั้นเลย แม้กระทั่งคำว่า กำหนดรู้ทุกข์ ที่อาจารย์นิภัทรพูดเมื่อกี้เหมือนกัน ก็เป็นเรื่องจะทำทั้งนั้นเลย แต่ถ้าเป็นเรื่องการศึกษาสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ สติเกิดระลึกรู้ในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ กับการหลงลืมสติแตกต่างกันอย่างไร เราจะรู้ลักษณะของสติ และปัญญาได้ดีขึ้นกว่าที่เอาชื่อขึ้นมา แล้วมาเรียนกันอย่างนี้ เท่าที่ผ่านๆ มาเป็นอย่างนี้ ลำบากเลย สำหรับพวกที่เรียนชื่อมา
ท่านอาจารย์ ผู้ที่ตรัสรู้ทรงแสดงว่า แต่ละอย่างที่เกิดต้องมีปัจจัยปรุงแต่งมากมาย หรือปัจจัยอะไรบ้าง แต่ผู้ที่ไม่รู้ก็ไม่รู้เลย อวิชชาไม่สามารถจะรู้ได้เลยว่า สภาพธรรมในขณะนี้เป็นอะไร ไม่ใช่เราอย่างไร แล้วเกิดขึ้นเพราะอะไร
เพราะฉะนั้น โอกาสของชาติหนึ่งที่มีโอกาสได้ฟังธรรม คือ สิ่งที่มีอยู่จริง แล้วถ้าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงบำเพ็ญพระบารมี ไม่ทรงตรัสรู้ไม่ทรงแสดง สัตว์โลกไม่มีโอกาสที่จะได้ฟัง ไม่มีโอกาสที่จะได้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง แค่นี้ก็เป็น เริ่มต้นของศรัทธา ซึ่งจะเริ่มมีความมั่นคงในสิ่งที่เราได้ยินได้ฟังว่า สิ่งที่เราเคยได้ยินได้ฟังทั้งหมด เมื่อเทียบกับความเข้าใจในสิ่งที่กำลังปรากฏ ซึ่งบุคคลอื่นไม่สามารถจะสอนได้ เราก็ต้องเกิดความยินดีที่รู้ว่า สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เป็นลาภอันประเสริฐ คือมีศรัทธาที่มั่นคงค่อยๆ มั่นคงขึ้นในการที่จะเห็นประโยชน์ของการฟัง แล้วถ้าฟังครั้งนี้เพียงครั้งเดียว กลับไปไม่ฟังอีกเลย เป็นไง มีโอกาสที่จะเข้าใจสิ่งที่ได้ฟัง สิ่งที่มีอยู่ สิ่งที่ปรากฏในชีวิตประจำวันต่อไปอีกหรือไม่ ไม่มีเลย
ถ้ามีการเห็นประโยชน์ ก็จะมีการฟังบ่อยๆ เพิ่มขึ้น ผู้ที่มีปัญญาอย่างท่านพระสารีบุตร เมื่อได้ฟังเพียงกถาสั้นๆ ท่านก็สามารถรู้แจ้งสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ รู้แจ้งอริยสัจธรรม แสดงว่าแต่ก่อนนี้ท่านไม่เคยฟังเลยหรืออย่างไร หรือว่าถอยไป กว่าจะได้เป็นท่านพระสารีบุตร ท่านมีการฟังมากแค่ไหน เป็นพหูสูตรทุกท่าน พระโสดาบัน หรือพระอริยบุคคล ต้องเป็นพหูสูตร ต้องเป็นผู้ที่ฟัง ไตร่ตรอง เข้าใจสภาพธรรม เพราะเหตุว่าพระธรรมที่ทรงแสดงมี ๓ ขั้น คือ ปริยัติศาสนา เรื่องราวที่เรากำลังได้ฟัง ได้ฟังธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงเรื่องสภาพธรรม แต่ก็รู้ว่าไม่สามารถที่จะดับกิเลสได้ ปัญญาขั้นนี้ ยังมีความเป็นเราที่ฟัง ยังมีความเป็นเราที่คิด ยังมีความเป็นเราที่ทำกุศล หรืออกุศลใดๆ ที่เกิดขึ้นก็เป็นเราทั้งนั้น แต่ว่าการไตร่ตรองธรรมยิ่งขึ้น เข้าใจขึ้น เห็นประโยชน์ ฟังแล้วไม่ละเลย การฟังไม่ได้หมายความเฉพาะฟังเท่านั้น หนังสือหรือการอ่านพระธรรมที่ได้พิมพ์แล้วเป็นตัวอักษร ก็เหมือนกับการฟัง เพราะไม่ใช่กระดาษเปล่า แต่ว่าไม่ว่าใครจะเห็นกระดาษที่มีข้อความใดก็ตาม เหมือนมีเสียง อยู่ด้วย ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ จากข้อความใน ปุริสสูตร ข้าพเจ้าเป็นเสียง หรือเปล่า แม้ว่าในขณะที่เห็น กำลังเห็น แต่ใจตรึกนึกถึงคำ ซึ่งต้องเป็นเสียง สัญญาความจำ ในสิ่งที่ปรากฏทางตา แล้วก็นึกถึงความหมายซึ่งเป็นคำด้วย จึงสามารถที่จะเข้าใจได้
เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่การฟังไม่ได้หมายความถึง เฉพาะเพียงขณะที่ฟัง การอ่าน การสนทนาธรรม การไตร่ตรอง เพราะเหตุว่าแม้ในครั้งอดีต พระสาวกซึ่งเป็นพระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นพระอรหันต์แล้ว ไม่มีกิจที่จะต้องดับกิเลสเลย แต่ท่านก็สนทนาธรรม ถ้าท่านเป็นผู้รู้แล้ว เป็นพระอรหันต์ ท่านจะต้องสนทนาธรรมกับใครไหม ลองคิดดู ถ้าเป็นผู้ที่ไม่รู้ความจริงของสภาพธรรมว่าลึกซึ้ง พระอรหันต์ทั้งหลายไม่ใช่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น แม้พระอรหันต์ หมดกิเลสแล้วก็จริง เป็นเอตทัคคะในทางต่างๆ ก็จริง ท่านเป็นผู้รู้ความจริงว่า ปัญญาของท่านไม่เท่าปัญญาของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านฟังเพื่อเป็นผู้เก็บรักษาพระธรรมที่จะให้สืบต่อไป แล้วท่านก็มีการสนทนาธรรมกันด้วย เพราะเหตุว่าแต่ละท่านก็เป็นเอตทัคคะในทางต่างๆ ไม่ใช่ว่ารอบรู้ไปหมด สัพพัญญู หรือว่า สัพพัญญุตญาณอย่างพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
เพราะฉะนั้น ไม่ได้หมายความว่าการฟังธรรม เพียงฟัง ทั้งอ่านด้วย สนทนาธรรมด้วย ที่จะทำให้มีความเข้าใจถูก มีความเห็นถูก ในสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง นี่เป็นการที่เป็นสุตมยญาณ ปัญญาที่เกิดจากการฟัง จินตามยญาณ ปัญญาที่เกิดจากการพิจารณาไตร่ตรอง มีความเข้าใจถูกขึ้น มีความมั่นคงในการที่จะศึกษาให้เข้าใจลักษณะของสภาพธรรม ไม่ใช่เรื่องราว เพียงเรื่องราว แต่ว่าจะต้องถึงระดับขั้นที่สามารถประจักษ์ความจริงตรงตามที่ได้ทรงแสดงทุกอย่าง แม้แต่เพียงคำที่เราบอกว่า ทุกอย่างเป็นธรรม จริงสำหรับเราหรือยัง หรือว่าได้ยินได้ฟังมาว่า ทุกอย่างเป็นธรรม แต่เราก็สงสัย นั่นเป็นธรรมหรือเปล่า นี่เป็นธรรมหรือเปล่า จนกว่าจะรู้ขั้นการฟัง จริงๆ ว่า ทุกอย่างเป็นธรรม ก็ยังไม่หมดความสงสัย เพราะเหตุว่ายังไม่ใช่การประจักษ์แจ้ง
การศึกษาธรรมถึงระดับสูงสุดที่จะให้ ถึงการรู้แจ้งอริยสัจธรรม ถึงความเป็นพระอรหันต์ในวันหนึ่ง
ผู้ฟัง มีคนเขาถามผมว่า ทุกสิ่งทุกอย่างมีใจเป็นใหญ่ ทุกสิ่งทุกอย่างสำเร็จแล้วด้วยใจ หรือมีใจเป็นใหญ่ กับทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรม มันเหมือนกันไหม เขาถาม
ท่านอาจารย์ ต้องเริ่มต้นว่า เมื่อทุกอย่างเป็นธรรม ธรรมหลากหลาย แล้วก็กว้างขวาง เพราะไม่ใช่อย่างเดียว เป็นทุกอย่าง เพราะฉะนั้น ทุกอย่างเป็นธรรม เมื่อประมวลแล้วก็มีสภาพที่ต่างกัน ๒ อย่างใหญ่ๆ คือ สภาพธรรมที่มีจริง แต่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย มีไหม มี แล้วอีกประเภทหนึ่ง อีกสภาพธรรมหนึ่งก็เป็นสภาพรู้ หรือธาตุรู้ เพราะเหตุว่าถ้าไม่มีสภาพรู้ หรือธาตุรู้ มีแต่รูปธรรม คือ ธรรมที่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย ในทางพระธรรมใช้คำว่า รู-ปะ รูปธรรม ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย ถ้าไม่มีสภาพรู้ มีแต่รูปธรรม จะเดือดร้อนอะไรหรือเปล่า ฝนจะตก น้ำจะท่วม ก็เป็นรูปทั้งหมด แต่ไม่มีใครรู้ ใครเห็น ไม่มีความลำบากไม่มีการคิดใดๆ เกิดขึ้นเลย
ผู้ฟัง ก็ไม่เดือดร้อน
ท่านอาจารย์ ก็ไม่เดือดร้อน เพราะฉะนั้น สภาพธรรมที่เป็นนามธรรมกับรูปธรรม เพียงแค่ ๒ อย่างนี้ก่อน อะไรเป็นใหญ่
ผู้ฟัง ก็นามธรรมเป็นใหญ่
ท่านอาจารย์ นามธรรมเป็นใหญ่ ในห้องนี้มีรูปซึ่งเกิดจากการประดิษฐ์วิจิตรของจิตไม่สิ้นสุด เพราะความวิจิตร ไม่ว่าจะเป็นจิตรกรรม หรือว่าไม่ว่าจะเป็นเรื่องของทางวิทยาศาสตร์ สถาปัตย์ การแพทย์หรืออะไร ทั้งหมด แม้แต่คอมพิวเตอร์ที่คิดว่า สมัยนี้ยุคนี้เจริญมาก ถ้าไม่มีจิตที่วิจิตรที่จะทำให้เกิดขึ้น สิ่งนั้นๆ จะเกิดขึ้นได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ เพราะฉะนั้น จิตก็เป็นใหญ่กว่ารูป ซึ่งเป็นรูปธรรม แล้วนามธรรมก็มี ๒ อย่าง ไม่ใช่มีอย่างเดียว นามธรรมที่เกิดขึ้นมี ๒ อย่าง คือ นอกจากจิตซึ่งเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้ กำลังเห็น กำลังได้ยินขณะนี้เป็นจิตทั้งหมด นอกจากจิตแล้วก็ยังมีสภาพธรรม ซึ่งเป็นนามธรรม ซึ่งเกิดกับจิต ใช้คำว่า เจ-ตะ-สิ-กะ หรือ เจตสิก ในภาษาไทย หมายความถึงสภาพธรรมที่ต้องเกิดกับจิต จะเกิดนอกจิตไปไม่ได้เลย ต้องอาศัยเกิดขึ้นในจิต เจตสิกก็เกิดกับจิต ใครเป็นใหญ่
ผู้ฟัง จิตเป็นใหญ่
ท่านอาจารย์ แต่ความจริง เมื่อศึกษาต่อไปก็จะมีความเป็นใหญ่ในอีกหลายลักษณะ ไม่ใช่แต่เฉพาะจิตเท่านั้น ซึ่งเป็นมนิมทรีย์ เป็นใหญ่ในการรู้แจ้ง สิ่งที่ปรากฏให้รู้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ แต่สภาพธรรมอื่นก็เป็นใหญ่ ก็มี เช่นปัญญา จิตไม่สามารถจะเข้าใจถูก เห็นถูกในสิ่งที่กำลังปรากฏ จิตเพียงเห็น แต่การที่จะฟังเข้าใจขณะที่เข้าใจไม่ใช่เรา แต่เป็นเจตสิกซึ่งสามารถรู้ถูก เข้าใจถูกได้ ขณะนั้นเป็นปัญญาเจตสิก เพราะฉะนั้น ปัญญาเจตสิกเป็นใหญ่ในการรู้ถูก ในการเห็นถูก แต่ตัวจิตเป็นใหญ่ในการรู้แจ้งอารมณ์ ขณะใดที่เจตสิกทั้งหลายเกิดร่วมกับจิต แม้แต่ปัญญาเจตสิกซึ่งเป็นใหญ่ก็ต้องเกิดกับจิต ในขณะนั้นก็ทำให้จิตสามารถที่จะรู้แจ้งชัดในอารมณ์ ซึ่งปัญญากำลังมีความเห็นถูก เข้าใจถูกในสิ่งนั้นได้
เพราะฉะนั้น ธรรมก็เป็นเรื่องที่จะต้องศึกษาโดยละเอียดๆ ขึ้นไปเรื่อยๆ
ผู้ฟัง ที่ว่าจิตเป็นใหญ่ หมายความว่าเป็นใหญ่ในทางที่รู้แจ้งอารมณ์
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง
ผู้ฟัง ข้อความอย่างนี้ก็มีอยู่ในพระไตรปิฎกที่ว่า สิ่งทั้งหลายอยู่ภายใต้อำนาจของธรรมชาติอย่างหนึ่ง คือจิต จิตตัสสะ เอกธัมมัสสะ สัพเพ ว วัสสมัน วคู ทุกอย่างตกอยู่ภายใต้อำนาจอย่างหนึ่ง ธรรมอย่างหนึ่ง คือจิต ที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบเทวดาที่ทูลถาม
ผู้ฟัง เมื่อวานเย็น รายการวิทยุ ๖ โมงเย็นท่านอาจารย์ได้พูดถึงเรื่องสติปัฏฐานว่า ในขณะที่สิ่งที่ปรากฏทางตาปรากฏขึ้น แล้วถ้าเรามีความเข้าใจในขณะนั้นว่า สิ่งที่ปรากฏทางตานั้นก็เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา คือเป็นรูป การเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตาในขณะนั้น ไม่ใช่เรา เป็นเพียงสภาพรู้ เป็นนามธรรม อย่างนี้ก็คือ ขณะนั้นสติปัฏฐาน กำลังเกิด
ท่านอาจารย์ ไม่เข้าใจชื่อ หรือไม่เข้าใจเรื่อง หรือไม่เข้าใจอะไร
ผู้ฟัง คือไม่มั่นใจที่ได้ยิน ว่า ที่ผมพูดตรงกับที่ได้ยินหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ เพราะว่าโดยมากพอคนได้ยินเรื่องของสติปัฏฐาน ก็อยากจะให้สติปัฏฐานเกิด ทั้งๆ ที่ไม่ได้เข้าใจเลยว่า สติปัฏฐานมีลักษณะอย่างไร เพราะฉะนั้น ถ้ายังไม่มีความเข้าใจจริงๆ ว่า สติปัฏฐานต่างกับสติระดับอื่นอย่างไร ก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจได้ แต่ว่าถ้ามีความเข้าใจถูกต้องขึ้นว่า สติเป็นสภาพธรรมฝ่ายดี เป็นเจตสิกฝ่ายดี โสภณเจตสิกที่เกิดกับจิตที่เป็นจิตฝ่ายดีทั้งหมด
เวลาที่เกิดการให้สิ่งที่เป็นประโยชน์กับบุคคลอื่น ก่อนที่จะได้ฟังธรรมก็เป็นเราที่ให้ แต่เวลาที่ฟังธรรมแล้ว เป็นจิต และเจตสิกที่ดีเกิดขึ้น ระลึกเป็นไปในการจะให้ สิ่งที่เป็นประโยชน์กับคนอื่น
นี่คือไม่ว่าจะฟังธรรมเรื่องใดตอนใดก็ต้องน้อมมาสู่ความเข้าใจที่ถูกต้องว่า เป็นจิต เป็นเจตสิก เป็นรูป มิฉะนั้นเราก็จะลืมขั้นต้นที่เราได้ยินได้ฟังว่า เป็นธรรม แล้วธรรมก็หลากหลาย ธรรมก็เป็นนามธรรม และรูปธรรม นามธรรมก็เป็นจิต เจตสิก
ถ้ามีการระลึกได้ เราก็สามารถที่จะเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ แต่ว่าความเข้าใจของเราจะไม่สามารถจะประจักษ์แจ้งความจริง คือ การเกิดขึ้น และดับไปของสภาพธรรมได้ทันที แต่ว่าเป็นการที่เริ่มที่จะรู้ว่า ปัญญาที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรม สัจธรรม คือ ความจริงของธรรมทุกอย่างที่เกิดต้องดับ ก็จะต้องอาศัยการอบรมเจริญปัญญามาก โดยการที่คลายความเป็นเรา ไม่ว่าสิ่งที่ปรากฏนั้นจะเป็นอะไร เช่น ขณะที่กำลังเห็น อย่างที่คุณณรงค์ได้ยินมา ขณะที่ได้ยิน เราทุกคนก็ได้ยิน ถ้าศึกษาว่า เป็นธรรม แล้วเราก็เอาไปใส่ว่า กำลังเห็นเป็นธรรม แล้วธรรมก็มี ๒ อย่าง คือ นามธรรม และรูปธรรม เราก็เอาไปใส่อีกว่า สิ่งที่กำลังปรากฏทางตาชื่อ รูป เป็นรูป เรียกว่ารูป ส่วนที่กำลังเห็น แม้ว่าปัญญาไม่เกิดเลย แต่เราก็เอาไปใส่ว่านี่เป็นนาม เป็นจิต เป็นเจตสิก ไม่ใช่เป็นเรา เป็นขั้นคิด แต่ไม่ใช่การที่จะรู้ลักษณะที่เกิดดับของสภาพธรรม ที่เป็นนามธรรม และรูปธรรม
การศึกษาต้องมีความเข้าใจว่า แม้แต่สติปัฏฐาน หรือสติขั้นใดก็ตาม เช่น ขั้นทาน ก็ไม่ได้เกิดเพราะความที่บุคคลหนึ่งบุคคลใด สามารถที่จะจงใจตั้งใจให้เกิดได้
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 301
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 302
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 303
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 304
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 305
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 306
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 307
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 308
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 309
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 310
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 311
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 312
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 313
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 314
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 315
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 316
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 317
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 318
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 319
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 320
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 321
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 322
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 323
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 324
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 325
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 326
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 327
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 328
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 329
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 330
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 331
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 332
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 333
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 334
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 335
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 336 ***
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 337
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 338
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 339
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 340
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 341
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 342
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 343
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 344
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 345
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 346
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 347
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 348
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 349
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 350
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 351
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 352
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 353
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 354
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 355
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 356
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 357
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 358
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 359
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 360