ปกิณณกธรรม ตอนที่ 302
ตอนที่ ๓๐๒
สนทนาธรรม ที่ โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า
พ.ศ. ๒ ๕๔๓
ท่านอาจารย์ ฟังก็เหมือนซ้ำ ก็พูดอย่างนี้ทุกวัน แล้วพูดมาตั้ง ๓๐ กว่าปี เช่น แข็งที่กำลังปรากฏเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง แล้วก็มีจริง ขณะไหน ขณะที่กำลังปรากฏ แล้วสิ่งต่างๆ เหล่านี้ก็เป็นจริงในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้น จะไม่พูดได้ไหม จะไปพูดเรื่องอื่นที่ไม่ใช่สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ให้เข้าใจขึ้น ก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้น สิ่งหนึ่งสิ่งใด แม้มีจริงก็ต้องในขณะที่กำลังปรากฏทางหนึ่งทางใด ใน ๖ ทาง ก็เป็นการที่จะทำให้เราเข้าใจถูกว่า การฟังเรื่องสภาพธรรม แล้วเข้าใจเรื่องจิต เรื่องเจตสิก เรื่องรูป เรื่องปรมัตถธรรม ก็เป็นระดับขั้นหนึ่ง คือ เพียงเข้าใจเรื่องราวให้เข้าใจความไม่ใช่ตัวตนของสภาพธรรมนั้นๆ แต่ยังไม่ใช่การประจักษ์แจ้งด้วยปัญญาอีกระดับหนึ่ง ที่จะทำให้หมดความสงสัย ในลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม แม้ขณะนี้เองก็มีจิต มีเจตสิก มีรูป
เมื่อไรที่สามารถจะประจักษ์แจ้งลักษณะของจิตในขณะนี้ เจตสิกในขณะนี้ รูปในขณะนี้ ก็เป็นปัญญาอีกระดับหนึ่ง ซึ่งการอบรมเจริญปัญญา ข้ามขั้นไม่ได้ ไม่มีใครที่ไม่มีการศึกษา ไม่เป็นพหูสูต ไม่เข้าใจสภาพธรรม แล้วจะไปประจักษ์ลักษณะธรรมในขณะนี้ เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย หรือว่าจะไปคิดหวังคอยว่า จะไปประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมที่อื่น ซึ่งไม่ใช่เดี๋ยวนี้ ขณะนี้ ก็เป็นไปไม่ได้อีก เพราะสภาพธรรมอื่นยังไม่ได้ปรากฏ ขณะนี้กำลังอยู่ที่นี่ เพราะฉะนั้น สภาพธรรมที่มีจริงที่นี่ในขณะนี้ แล้วอบรมเจริญปัญญา หลังจากที่ฟังเข้าใจเรื่องของนามธรรม และรูปธรรมแล้ว จะค่อยๆ รู้จักลักษณะตัวจริงๆ ของนามธรรม และรูปธรรมทีละเล็กทีละน้อยโดยสติ ซึ่งเป็นนามธรรมชนิดหนึ่ง เป็นโสภณธรรม เป็นธรรมฝ่ายดีงาม ซึ่งจะเกิดเป็นสติปัฏฐาน คือ สามารถที่จะระลึกรู้ ลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรมของสภาพธรรมที่ปรากฏแต่ละทาง ต่อเมื่อได้ฟังธรรมแล้วเข้าใจถ่องแท้จริงๆ ไม่ทำให้ไขว้เขว ไปคิดหวังว่า จะต้องไปรู้สภาพธรรมอื่น
เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่แล้วแต่การเข้าใจธรรมถึงความเป็นอนัตตา ก็ต้องเป็นอนัตตาโดยตลอดตั้งแต่ต้น คือ ไม่ใช่เป็นการไปฝืน ไปบังคับ ไปพยายามด้วยความเป็นตัวตน ที่จะให้เกิดสติระลึกลักษณะของสภาพธรรม แต่เมื่อฟังแล้วเข้าใจ วันหนึ่งก็จะเป็นปัจจัยให้มีการระลึกซึ่งก็คือสติ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ให้มีตัวเราไปนั่งทำ หรือพยายามจะทำให้รู้ แต่ว่าเมื่อสติปัฏฐานเกิดเท่านั้น จึงจะเห็นความเป็นอนัตตาของสภาพธรรม และรู้ว่า ขณะนั้นเป็นสัมมาสติ
ผู้ฟัง คำว่า จิตรู้จิต เพราะว่าตามปริยัติที่ได้ศึกษามา จิตมันเกิดทีละดวง หมายถึงว่า จิตไม่เกิดทีเดียว ๒ ดวง อันนี้ผมสงสัยว่า จิตรู้จิต เหมือนกับมันมี ๒ ดวง
ท่านอาจารย์ ธรรมเป็นจริงอย่างที่ทรงแสดง โดยปัญญาที่ทรงตรัสรู้ แต่ว่าผู้ฟังรู้อย่างนั้นได้หรือยัง ถ้ายังรู้ไม่ได้ ขณะนี้มีสภาพรู้ไหม ที่กำลังเห็น นี่
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ มี แล้วก็สามารถที่จะค่อยๆ เข้าใจว่า ขณะนี้เป็นธาตุ หรือเป็นธรรมอย่าง หนึ่งซึ่งมีจริง ซึ่งมีลักษณะที่สามารถจะเห็นสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ได้ นี่คือเราไม่ต้องไปคิดว่า เมื่อจิตเกิดขึ้นทีละหนึ่งขณะแล้วดับไป แล้วจิตจะไปรู้จิตได้อย่างไร ถ้าปัญญายังไม่ถึงระดับที่จะรู้ความจริง ซึ่งเกิดดับสืบต่ออย่างใกล้ชิดมากของนามธรรม และรูปธรรม ก็ยังไม่ต้องไปกังวล เพราะบางคนก็อาจจะบอกว่า นามธรรม และรูปธรรมเกิดดับเร็วมาก ระลึกไม่ทัน ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะไปทันด้วยความเป็นเราที่จะระลึก แล้วก็คิดว่าไม่ทัน เพราะฉะนั้น ทั้งหมดไม่ว่าสภาพธรรมจะเกิดดับเร็วอย่างไร จิตเกิดขึ้นทีละขณะอย่างไร แต่ว่าปัญญายังไม่ได้รู้ลักษณะของจิตเลย ก็ไม่ต้องไปกังวลเรื่องนั้นเลย ค่อยๆ อบรมเจริญปัญญาไป
ผู้ฟัง ผมต้องการรู้ หมายถึงว่ารูปแบบปริยัติ ไม่ใช่รู้แบบปฏิบัติ คือผมต้องการรู้ปริยัติก่อน
ท่านอาจารย์ เวลานี้ไม่ได้มีจิตเกิดขึ้นเพียงขณะเดียวเลย ทั้งเห็น ทั้งได้ยินด้วย ในความรู้สึกว่า เหมือนพร้อมกัน ใช่ไหม แค่นี้ก่อน นี้ก็ยังห่างกันมากไม่ต้องไปคิดถึงทีละหนึ่งขณะ จะไปรู้อีกหนึ่งขณะได้อย่างไร แค่ทางเห็นกับได้ยิน
ผู้ฟัง ตามที่อาจารย์อธิบาย ผมเข้าใจว่า เห็นกับได้ยินมันไม่พร้อมกันอยู่แล้ว เพราะตามเหตุผล ก็เข้าใจ
ท่านอาจารย์ ถ้ายังไม่สามารถที่จะรู้ความต่างกันห่างๆ ระหว่างเห็นกับได้ยิน จะไปรู้ละเอียดถึงขณะที่ว่า จิตขณะหนึ่ง วาระหนึ่งเกิด แล้ววาระต่อไปสามารถที่จะเกิด แล้วรู้การเกิดดับสืบต่อของจิต ซึ่งเป็นไปอย่างรวดเร็วมาก
ผู้ฟัง อันนี้ตามที่ศึกษาอย่างเวลาปฏิบัติ มันไม่ใช่เราปฏิบัติ มันเป็นสติ แล้วก็สัมปชัญญะ แล้วก็อาตาปี อันนี้ผมก็สงสัยว่า จิตรู้จิต มันเป็นจิตรู้ หรือว่าสติรู้ ระลึกรู้อย่างนี้
ท่านอาจารย์ ถ้าสงสัยอย่างนี้ โดยที่สติปัฏฐานไม่เกิด ก็จะสงสัยไปเรื่อยๆ ถูกต้องไหม เพราะว่าเป็นความคิด แต่เมื่อไรที่ได้ฟังธรรม แล้วมีความเข้าใจว่า จิตเกิดดับสืบต่อเร็ว ปรากฏเพราะการสืบต่ออย่างเร็ว ซึ่งทั้งเห็นทั้งได้ยินสลับกัน โดยที่มีจิตอื่นเกิดคั่น แต่เหมือนพร้อม เพราะฉะนั้น เวลาที่สภาพธรรมซึ่งเป็นนามธรรมเกิดดับสืบต่ออย่างเร็ว เมื่อสติเกิดขณะใด ก็สามารถที่จะรู้ลักษณะที่เป็นนามธรรมที่ปรากฏให้รู้ได้
ผู้ฟัง เมื่อก่อนผมเริ่มศึกษาใหม่ๆ ผมจะสงสัยมาก พอเรียนไป ศึกษาไป ตามที่อาจารย์สอน ผมก็เข้าใจ อันไหนเข้าใจแล้วก็ไม่สงสัย ทีนี้อันที่ไม่เข้าใจก็สงสัยไปเรื่อยๆ
ท่านอาจารย์ ทางที่จะหมดความสงสัยในลักษณะของสภาพธรรม ไม่ใช่โดยนั่งคิด ไตร่ตรองเท่าไรก็จะไม่รู้ แต่ว่าเมื่อมีการเริ่มระลึกรู้ลักษณะสภาพธรรมเมื่อไร ค่อยๆ เข้าใจขึ้นเมื่อนั้นก็จะรู้การที่สติระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏให้รู้ได้
อดิศักดิ์ ในพระไตรปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ได้พูดไว้เรื่องนี้ว่า
สัมมาทิฏฐิ เป็นนิมิตเบื้องต้น แห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ต้องมีสัมมาทิฏฐิ ต้องมีความเห็นชอบ มีความเห็นถูก จึงจะเป็นนิมิตเบื้องต้น แห่งกุศลธรรมทั้งหลาย
ท่านอาจารย์ การอบรมเจริญปัญญาที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรม ไม่ใช่เป็นเรื่องวันเดียว ๒ วัน ชาติเดียว แต่ว่าต้องเป็นเรื่องที่เป็นผู้ตรงว่า ขณะนี้สภาพธรรมกำลังปรากฏ แต่ว่าเพราะสติไม่เกิด ปัญญาไม่รู้ความจริงว่า เป็นแต่เพียงสภาพธรรมแต่ละอย่าง เพราะฉะนั้น จึงต้องอาศัยการฟัง จนกระทั่งเป็นปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิด คือ ขณะที่ระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังทำกิจการงาน หรือว่ามีจริงๆ ในขณะนี้ เช่น เห็นก็เป็นลักษณะของสภาพธรรมชนิดหนึ่งซึ่งทำกิจเห็น ไม่ใช่เราเห็น ถ้าไม่มีธาตุรู้ซึ่งสามารถที่จะรู้ทางตา คือ เห็นสิ่งที่ปรากฏ การเห็นก็มีไม่ได้ เพราะฉะนั้น ขณะใดที่เห็น ขณะนั้นก็ให้รู้ความจริงว่า เป็นธรรมชนิดหนึ่ง
เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องซึ่งธรรมที่มีจริงในชีวิตประจำวันทุกขณะ เป็นเครื่องพิสูจน์ให้ผู้ที่ตรงสามารถที่จะรู้ได้ว่า มีความเข้าใจ หรือว่ามีสติปัฏฐานเกิด มีการระลึก มีการศึกษาหรือไม่ ถ้ายังก็หมายความว่า ก็ฟังไปอีก เพราะว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ไม่ใช่มีตัวตนที่ห่วงกังวล ถอยหน้า ก้าวหน้า หรืออะไรอย่างนั้น แต่ว่าเป็นเรื่องเข้าใจ เวลาที่ฟังก็ให้เข้าใจสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง ถ้าฟังเรื่องอนัตตาก็ต้องรู้ว่า อนัตตา คือ ไม่ใช่ตัวตน ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา ทุกอย่างที่เกิดต้องมีปัจจัยจึงเกิดขึ้น เมื่อเกิดปรากฏแล้วมีอายุที่สั้นมาก คือ ดับไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนามธรรม และรูปธรรม
การที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรม ก็เมื่อสภาพธรรมกำลังปรากฏ มีความรู้ความเข้าใจเป็นพื้นฐานที่จะทำให้สติปัฏฐานเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม ไม่ใช่เรื่องของเราที่จะทำ หรือว่าอย่างที่ว่า ไม่ให้ถามที่นี่ ความจริงก็ไม่มีกฏเกณฑ์อะไร ไม่ให้ถามที่นี่ เดี๋ยวก็จะไปถามที่อื่น เพราะว่ายังสงสัยอยู่ แต่ตามความเป็นจริงไม่ใช่อย่างนั้น การฟังธรรมเพื่อเข้าใจ ถ้าไม่เข้าใจก็ถามในสิ่งที่กำลังฟังแล้วไม่เข้าใจ เพื่อจะได้เข้าใจขึ้น แล้วเมื่อฟังต่อไปก็จะเกิดความเข้าใจในเรื่องที่เคยฟังมาแล้วเพิ่มขึ้น
ผู้ฟัง ผมฟังท่านอาจารย์ จิรกาลภาวนา พูดเป็นครั้งก็หลายร้อยครั้ง ผมเป็นลูกศิษย์หัวดื้อ ฟังทีไรก็อยากจะรู้เร็วๆ ทุกที
ท่านอาจารย์ เป็นเครื่องกั้น ยิ่งอยากรู้ ก็ยิ่งเป็นเครื่องกั้น เครื่องเนิ่นช้า
ผู้ฟัง เพราะว่าฟังศึกษาร่วมๆ กับน้องๆ หลานๆ เขาไปกันเร็วเหลือเกิน ไปจนกระทั่งเป็นวิถีจิต
ท่านอาจารย์ ขณะนั้นที่คิดก็ไม่รู้ความเป็นอนัตตา
ผู้ฟัง มีท่านผู้ฟังถามมาว่า จะขอความกรุณาให้ท่านอาจารย์สมพร ช่วยแปลคำว่า จิรกาลภาวนา
สมพร จิรกาลภาวนา อาจารย์ก็พูดบ่อยๆ กาล ก็เวลา จิร ก็นาน คือสติปัฏฐานต้องอบรมกันเป็นเวลานาน คือ เจริญนั่นเอง อบรม คือ เจริญ เราศึกษาสติปัฏฐาน โดยมากเรามีแต่เพียงสัญญาจำเท่านั้นเองว่า อย่างนั้น อย่างนี้ ยังไม่เข้าถึงปัญญาสักที ยังไม่ครบไตรสิกขา ทางตา เรายังไม่ครบ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ศึกษาทางตาต้องมี ๓ อย่าง บางทีเราก็ขาดปัญญาไป เรียกว่าจำเอา เรียกว่า บางทีก็มีศีลด้วย แต่ว่ามีแค่สัญญา ปัญญาไม่เกิด ก็ยังไม่สมบูรณ์ จิรภาวนา ที่อาจารย์พูดบ่อยๆ หมายความว่าต้องอบรมเป็นเวลานาน จิร แปลว่านาน
ท่านอาจารย์ นานแค่ไหนคงเคยฟังแล้ว ใช่ไหม จับด้ามมีดจนกว่าด้ามมีดจะสึกนานไหม นี่คือ ความหมายของ จิรกาลภาวนา
นิภัทร ในศัพท์นี้ เวลาท่านอาจารย์ ท่านพูดคำว่า จิรกาลภาวนา เราต้องสังเกตุฟังต่อไปว่า ไม่ใช่วันเดียวไม่ใช่ ๒ วัน ไม่ใช่ ปีเดียว ไม่ใช่ ๒ ปี นั่นคือคำขยายของคำว่าจิรกาลภาวนา คือ เป็นเวลานาน ท่านพูดว่า ไม่ใช่วันเดียว หรือ ๒ วัน คือคำว่า จิรกาลภาวนา เพราะว่ามันต้องนานๆ
ผู้ฟัง ขอเรียนถามคุณน้าธนิต พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
ธนิต ถ้าเผื่อจะพูดว่า ขณะนี้ ตั้งแต่รู้สึกตัวลืมตาขึ้นมา หมายความว่า จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ ใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
ธนิต นี่รู้เรื่อง จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ แต่ความหมายที่เราพูดคำว่า จิต เราพูดชื่อสิ่งที่เป็นปรมัตถ์ พูดอยู่บ่อยๆ และก็เป็นปกติ ที่สภาพธรรม ที่มีสภาวะที่เป็นธาตุรู้อันนี้กำลังมี แต่ไม่เคยที่จะใส่ใจนึกแล้วศึกษา เพราะฉะนั้น อยู่ๆ ก็กระโดดข้ามมาจะเห็นธรรม จิตเป็นธรรมหรือเปล่า เป็น ธรรม หมายถึงสิ่งที่มีจริง เป็นจริง สิ่งที่มีจริงเป็นจริงกำลังปรากฏ แต่จริงๆ ขณะนี้กำลังมีธรรม เห็นหมายถึงปัญญาที่เข้าใจ ความหมายของคำว่าธรรม ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เป็นแต่เพียงสภาวธรรมที่เกิดขึ้น เพราะเหตุ เพราะปัจจัย ท่องได้แต่ไม่เคยนึก ถ้าใส่ใจสักนิดที่จะค่อยๆ สังเกตไปเรื่อยๆ กัปหนึ่งกัปใดข้างหน้าต้องเข้าใจว่า ตัวนี้เป็นอย่างไร
อดิศักดิ์ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ ธรรมทั้งหลาย เห็นธรรม เห็นธรรมในธรรม สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นธรรมไหม เป็น ถ้าวีณา เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นเก้าอี้ อย่างนี้เป็นธรรมไหม
ผู้ฟัง เป็นคิดนึก
อดิศักดิ์ เห็นธรรมในธรรม เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น หรือเป็นรูปารมณ์ เป็นรูป ไม่ใช่นาม เห็นรูป เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นรูป นั่นคือเห็นธรรมในธรรม
ผู้ฟัง ผมเข้าใจว่าอย่างนี้ หลักสำคัญอันนี้ คือหลักของความไม่เที่ยง แล้วก็ศีลทั้งหลาย ที่พูดว่าศีลคือเป็นหลักเบื้องต้นที่จะทำให้มีสมาธิ มีปัญญา ทีนี้ถ้ามองเห็นว่า ชีวิตของเรา รูปร่างของเรา สิ่งที่อยู่ทั้งหลายทั้งสิ่งมีชีวิต ไม่มีชีวิตเหล่านี้ มันเปลี่ยนแปลงไป ไม่เที่ยง เห็นหลักอันนี้ แล้วก็เห็นว่า จิตในจิตก็เหมือนกัน จิตที่คิดต่างๆ นี้ก็ไม่เที่ยง มันเปลี่ยนเหมือนกัน แล้วธรรมในธรรมก็เช่นเดียวกัน ที่อธิบายมา ถ้าไม่เห็นสิ่งเหล่านี้ ศีลก็รักษายาก ความเห็นของผมอย่างนี้ ถูกไหม
ท่านอาจารย์ ข้อสำคัญคือจะเห็นได้อย่างไร เห็นอย่างนี้ จะเห็นได้อย่างไร ขณะที่กำลังนั่งแล้วเห็นอย่างนี้ จะเห็นว่าไม่เที่ยงได้อย่างไร
ผู้ฟัง โดยการเจริญ เริ่มต้นที่คำว่าสติ เพราะว่าในคำสอนเกือบทุกอย่างเลย จะมีสติอยู่ทั้งนั้นเลย
ท่านอาจารย์ ก่อนอื่นต้องทราบว่า สติคืออะไร จะได้รู้ว่าสติจะเกิดเมื่อไร ก็จะมีได้เมื่อไร อย่างไร
ผู้ฟัง ผมเข้าใจของผมเอง เพราะว่าผมอธิบายตามความเข้าใจผมเอง ขณะที่ผม อยู่นี้ ผมกำลังพูด ผมกำลังหายใจเข้า หายใจออก ผมกำลังกล่าวคำ อะไรนี้ เป็นสิ่งที่สมมติว่า ตัวผมนี้กำลังกระทำอยู่ นี่ผมเข้าใจว่ามีสติ ถูกหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ความเห็นของผู้ที่ยังไม่ได้ศึกษาพระธรรม กับผู้ที่ศึกษาแล้วจะต่างกัน ก่อนที่จะศึกษาพระธรรมก็มีความเข้าใจสติในภาษาไทย ถ้าเดินไม่หกล้ม มีสติไหม ข้ามถนนรถไม่ชน มีสติไหม เดินถือของไป ไม่หก ถือน้ำ ถืออะไรก็ตามแต่ มีสติไหม
ความเข้าใจก่อนที่จะได้ศึกษาธรรมเข้าใจว่า ขณะนั้นมีสติ เพราะเหตุว่าภาษาไทยเราเอาคำภาษาบาลีมาใช้ โดยที่ไม่ได้ศึกษาว่า คำบาลีที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงเป็นเรื่องของธรรม เป็นเรื่องของสภาพธรรมจริงๆ ซึ่งมีลักษณะที่จะใช้คำหลากหลายให้รู้ว่า สภาพธรรมที่เป็นฝ่ายนามธรรม คือ จิตกับเจตสิก ไม่ใช่มีแต่จิตเท่านั้น มีเจตสิกด้วย จิตเป็นสภาพที่เป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้แจ้งลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ
ตั้งแต่เกิดจนตาย ที่มีสิ่งต่างๆ ปรากฏในชีวิตประจำวันทุกวัน เพราะมีจิต ถ้าไม่มีจิต เช่น คนที่ตายแล้ว สิ่งต่างๆ ก็จะปรากฏไม่ได้เลย แต่ที่โลกยังปรากฏทุกวัน เพราะว่าตั้งแต่เกิดจนยังไม่ตาย จิตก็เกิดดับสืบต่อ แล้วก็มีสิ่งที่ปรากกฏให้เห็นให้ได้ยิน ซึ่งขณะที่เห็น ได้ยิน เป็นจิตทั้งหมด เพราะเหตุว่ารูปธรรมไม่สามารถจะเห็น ไม่สามารถที่จะรู้อะไรได้เลย เพราะว่าสภาพธรรมถ้าแบ่งออกเป็นส่วนใหญ่ๆ ๒ ส่วน คือ สภาพธรรมที่เกิด มีลักษณะเฉพาะของสภาพธรรมนั้น แต่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้ เป็นฝ่ายรูปธรรม แม้ว่าจะมองไม่เห็น เช่น เสียง ทุกคนต้องรู้ว่า เสียงปรากฏเมื่อมีการได้ยิน ถ้าขณะใดที่ได้ยิน แล้วจะบอกว่า ไม่มีเสียงปรากฏเลยเป็นไปไม่ได้ หรือขณะที่มีเสียงปรากฏ แล้วจะบอกว่า ไม่มีสภาพที่กำลังได้ยินเสียง ก็ไม่ถูกต้อง เพราะฉะนั้น เสียงเป็นสภาพธรรมที่มีจริง ไม่สามารถที่จะรู้ จะเห็นอะไรได้เลยทั้งสิ้นเป็นรูปธรรม แต่สภาพที่ได้ยินเสียงก็มีจริงๆ เกิดขึ้น และดับไป ที่ใช้คำว่า ไม่เที่ยง หมายความว่าสภาพธรรมใดก็ตามที่มีปัจจัยเกิด แล้วต้องดับ เราจะไม่กล่าวลอยๆ หรือว่าคิดเอาเองว่า สติ ในภาษาไทยก็คืออย่างนี้ อารมณ์ในภาษาไทยก็คืออย่างนี้ แต่ว่าที่ทรงแสดงธรรมเป็นภาษาบาลี ต้องศึกษา และเข้าใจว่า ทรงแสดงหมายถึงสภาพธรรมแต่ละอย่าง เช่น ใช้คำว่าจิต ก็หมายความถึงสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ใช้คำว่า เจตสิก ก็หมายความถึงสภาพธรรมอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะต่างกันเป็น ๕๒ ชนิด เช่น สติต้องเป็นโสภณเจตสิก เป็นเจตสิกฝ่ายดี นี่เป็นเรื่องที่จะทำให้เราเข้าใจชัดเจน ไม่อย่างนั้นเราก็จะปะปนฝ่ายกุศลกับฝ่ายอกุศล
ผู้ฟัง การที่จะเจริญสติปัฏฐาน แล้วต้องละเหตุ สิกขาทุรพล ขอให้ขยายความว่า สิกขาทุรพล เป็นอย่างไร
ธนิต ถ้าสิกขาย่อๆ หมายถึง ศึกษา ทุรพล หมายถึงว่า ไม่มีกำลัง เพราะฉะนั้น ในอันนี้ คือ ผู้ที่จะเป็นพระอริยบุคคล จะต้องมีคุณสมบัติ คือ คุณวิเศษในตน หมายถึง ปาณาติบาต อทินา กาเมสุมิฉาจาร มุสาวาส สุรเมรยมัชชปมาทัฏฐานา ทั้ง ๕ ประการนี้ ถ้าเผื่อยังไม่สามารถที่จะเข้าใจ ที่เป็นไปในสภาวะที่จะละ ที่จะเว้น หมายถึง เป็นนามธาตุ ที่เป็นจิต เป็นเจตสิก ให้เข้าใจ หมายถึงไม่มีกำลัง เมื่อไม่มีกำลังพระองค์ก็ทรงแสดงไว้ว่า ธรรมที่แก้ ที่แก้ว่า ทำไม ถึงไม่มีกำลังที่จะไปรู้สภาวธรรมที่เป็นนามธาตุ ที่เป็นจิต เจตสิกได้อย่างไร ก็ด้วยการอบรมเจริญสติปัฏฐาน นี่หมายถึงในที่สูตร บทนี้ เพราะฉะนั้น ความหมายของศัพท์ สิกขา หมายถึงศึกษา ทุรพล หมายถึง ไม่มีกำลัง
อ. สมพร ทุรพล มาจาก ทุ ภาษาสันสกฤษ ทุร + พล พละ แปลว่ากำลัง ถ้าจะแปลก็มีความหมายว่า มีกำลังทราม หรือไม่มีกำลังเลย สิกขาก็สิ่งที่เราต้องศึกษา ถ้าเป็นศีล ศีล ๕ เบื้องต้น ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ อะไรก็แล้วแต่ เรียกว่า สิกขาบท
สิกขาบท หมายความว่าทางของสิกขา บทของสิกขา สิกขาหมายถึง ๓ อย่าง ศีล สมาธิ ปัญญา สิกขาทุรพล หมายว่า ไม่มีกำลัง ที่เราศึกษาไม่มีกำลัง เพราะมันล่วงกรรมบถไป ศีลขาดนั่นเอง จึงไม่มีกำลัง
ผู้ฟัง ศีล คือเจตนา ชื่อว่าศีล จะเข้ากับลักษณะที่ท่านอาจารย์สมพร ขยายความไหม
ท่านอาจารย์ ไม่ทราบศีลคืออะไร เราตอบกันไปหรือยังให้ชัดเจน ศีล คือ การประพฤติปฏิบัติทางกาย ทางวาจา เพราะเหตุว่าเมื่อเกิดมาแล้ว มีกาย มีวาจา ถ้าเป็นไปในทางทุจริต ก็เห็นได้ว่า คนนั้นมีอกุศลมาก แต่ว่าการที่จะอบรมเจริญปัญญา หรือว่าการศึกษาธรรม หรือการมีชีวิตอยู่ ตามปกติ ที่เป็นนิจศีล ที่เรากล่าวถึง ก็เพราะเหตุว่าถ้าไม่มีการละ การคลายอกุศลเลย เป็นผู้ที่มากด้วยทุจริต หรืออกุศลกรรมบถ ก็ไม่มีทางที่ผู้นั้นมีความคิดที่จะละอกุศล แต่ว่าผู้ใดก็ตามที่มองเห็นเข้าใจได้ว่า อกุศลจิตมีมากเป็นประจำ แล้วในบางกาลก็ล่วงเป็นทุจริตกรรม ทางกาย ทางวาจา ตามที่กล่าวถึงในเรื่องศีล ๕ ซึ่งถ้าเป็นการเว้นในชีวิตประจำวัน คือเว้นกายทุจริต วจีทุจริต เพราะฉะนั้น ต้องเป็นผู้ที่เห็นจริงๆ ว่าเป็นสิ่งที่ไม่สมควร แล้วจุดประสงค์ของการที่จะอบรมเจริญสติปัฏฐาน ก็ทราบอยู่ว่าเป็นเรื่องของการที่จะละอกุศลตามลำดับขั้น คือ ละความเห็นผิด การไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น แม้ว่าจะมีศีล ซึ่งเป็นสิกขาบท บท คือ ข้อที่จะประพฤติปฏิบัติตามทางกาย ทางวาจา แล้วถ้ากล่าวถึง เจตนาศีล ไม่จำเป็นที่จะต้องไปขอ หรือว่าจะไปสมาทานที่ไหน เพราะเหตุว่าโดยศัพท์ สมาทาน คือ การถือเอาเป็นข้อประพฤติปฏิบัติ บางท่านอาจจะตั้งใจว่าจะไม่ฆ่าสัตว์อีกต่อไป ขณะนั้นก็เป็นการถือเอา การที่จะละเว้นจากการฆ่าสัตว์ เป็นข้อประพฤติ ปฏิบัติของเขา หรือบางท่านก็อาจจะเว้นอทินนาทาน หรือมุสาวาท ก็แล้วแต่ แต่ว่าถ้าตราบใดที่ยังมีกิเลสอยู่ ยังไม่สามารถที่จะละอกุศลที่เป็นทุจริตเหล่านี้ได้โดยเด็ดขาด ที่จะละได้เด็ดขาด ก็ต้องถึงความเป็นพระอริยบุคคล เพราะเหตุว่าถ้าไม่มีปัจจัยที่จะกระทำทุจริต ก็จะไม่รู้ว่า ขณะนั้นยังมีเชื้อ ยังมีกิเลสที่สามารถจะทำให้การล่วงศีลเกิดขึ้นได้ แต่เมื่อใดที่ไม่มีความเห็นผิด เป็นพระอริยบุคคล ศีล ๕ ก็จะสมบูรณ์
อ. สมพร เรารักษาศีลได้ ๒ วิธี ถ้าเรารักษาเพียงกายกับวาจา ท่านก็เรียกว่าศีล เพราะเราไม่ล่วงทุจริตทางกาย และวาจา แต่ว่าศีลที่เจริญสติปัฏฐาน ต้องรักษาถึงใจ
ผู้ฟัง ผมจะเรียนถามเรื่องศีล คือ รักษาทางกาย ทางวาจา และทางใจ ทางกาย ผมเข้าใจแล้ว ทางวาจา เข้าใจแล้ว ทางใจถ้าเกิดมันเกิดทางใจ ตามที่พระพุทธเจ้าสอนว่า ยังไม่ทันได้มีโทษ
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 301
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 302
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 303
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 304
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 305
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 306
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 307
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 308
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 309
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 310
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 311
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 312
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 313
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 314
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 315
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 316
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 317
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 318
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 319
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 320
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 321
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 322
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 323
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 324
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 325
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 326
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 327
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 328
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 329
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 330
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 331
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 332
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 333
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 334
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 335
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 336 ***
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 337
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 338
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 339
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 340
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 341
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 342
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 343
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 344
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 345
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 346
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 347
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 348
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 349
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 350
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 351
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 352
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 353
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 354
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 355
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 356
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 357
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 358
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 359
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 360