ปกิณณกธรรม ตอนที่ 323
ตอนที่ ๓๒๓
สนทนาธรรม ที่ โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า
พ.ศ. ๒๕๔๖
อ.สมพร สติสัมปชัญญะ เวลาจะเกิดก็ต้องอาศัยจิต ถ้าไม่มีจิตก็เกิดไม่ได้ สติสัมปชัญญะ เหมือนอสัญญสัตาพรหม มีแต่รูปอย่างเดียว สติเกิดไม่ได้ สัมปชัญญะ เกิดไม่ได้ เพราะไม่มีจิต เรามีจิต แต่ว่าเกิดไม่ได้ ก็ได้ เกิดได้ก็ได้ เกิดที่เกิดไม่ได้ เพราะเราไม่เข้าใจ หรือเดินทางผิด ปฏิบัติผิดก็เกิดไม่ได้ ธรรมของพระพุทธเจ้าต้องตรง ที่ท่านบอกว่า อุชุปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติตรง ไม่คด ไม่โค้ง ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเพื่อญายะ ปฏิบัติเพื่อเป็นเจ้าของธรรม
ท่านอาจารย์ จุดประสงค์ของธรรม คือ ให้ผู้ที่ได้ฟังมีความเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่ว่าในกาละไหน เพราะฉะนั้น ในยุคนี้ที่เราสวดมนต์ ที่เราใช้คำว่า สาธยายมนต์ หรือ พระพุทธมนต์ เพราะเหตุว่าเป็นคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่เราเริ่มต้นด้วยการสวด โดยที่เราไม่เข้าใจความหมาย เพราะว่าอย่างเป็นเด็กๆ ก็จะมีผู้ใหญ่ ผู้ปกครอง ที่สอนให้สวด แต่ว่าไม่ทราบว่า แม้แต่ผู้ใหญ่เองมีความเข้าใจในคำสวดนั้นมากน้อยเพียงไหน เพราะเหตุว่าบางคนพอพูดถึงยุคนี้ก็จะคิดว่า พระพุทธศาสนาไม่จำเป็นต้องศึกษา คล้ายๆ กับว่า พอพูดอะไรก็รู้แล้วทั้งนั้น อย่าทำชั่ว ประพฤติดี ก็ไม่เห็นมีใครไม่เข้าใจ ก็คิดว่าพระพุทธศาสนามีเพียงเท่านั้น แต่ว่าตามความจริง พุทธศาสนา จะมีไม่ได้ ถ้าไม่มีการตรัสรู้ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระธรรมที่ทรงแสดงเป็นศาสนา ก็จากการตรัสรู้สภาพธรรม ซึ่งบุคคลอื่นไม่สามารถที่จะรู้ได้ ไม่ว่าจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ หรือนักปราชญ์ จะมีความรู้มากสักเท่าไร แต่ก็แสดงธรรม คือ สภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ไม่ได้ เพราะเหตุว่าไม่ได้ตรัสรู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง
เพราะฉะนั้น ก็ต้องเข้าใจตัวเอง อย่างผู้ที่สนใจธรรม เพราะรู้ตัวเองว่าไม่เข้าใจหลายอย่าง แม้แต่คำที่ได้ยินได้ฟังมีความเข้าใจในสิ่งนั้นจริงๆ หรือเปล่า หรือว่ามีความสนใจที่จะเข้าใจความหมาย หรือว่าเพียงแต่สวดไปท่องไป โดยการที่ไม่รู้ความหมายเลย แต่ละบุคคลก็สะสมมาแต่ละอย่าง แต่สำหรับผู้ที่ต้องการเข้าใจ มีปัญญาที่จะรู้ว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อะไร ทรงแสดงธรรมอะไร ผู้นั้นก็เริ่มที่จะขวนขวาย แม้แต่คำสวดหรือคำสาธยายที่เคยสาธยายกันเป็นประจำ เริ่มที่จะพิจารณาว่า แต่ละคำมีความหมายอย่างไร ไม่ใช่เพียงสวดไป สวดไป หรือสวดโดยคิดว่า จะนำลาภหรือทุกสิ่งทุกอย่างที่ต้องการมาให้ ถ้าอย่างนั้นไม่ใช่คำสอนแน่นอน เพราะเหตุว่าคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมดเป็นไปเพื่อละกิเลส เป็นไปเพื่อละเหตุของความทุกข์
การที่จะตั้งต้นเข้าใจพระธรรมจริงๆ ก็ต้องเป็นผู้ที่เห็นประโยชน์ แล้วรู้ว่า การฟังธรรมแต่ละครั้ง ประโยชน์อยู่ที่ความเข้าใจ จะมากจะน้อยอย่างไร แม้แต่เพียงคำเดียวที่ได้ยิน ต้องมีความเข้าใจคำนั้นให้ถูกต้อง และก็เพิ่มขึ้น อย่าเพิ่งผ่านไปง่ายๆ ในแต่ละคำ เช่น แม้แต่คำว่าสาธยาย แม้แต่คำว่ามนต์ หรือแม้แต่คำว่านิวรณ์ ก็จะทำให้เราค่อยๆ เริ่มเข้าใจพระธรรม แต่ต้องเป็นผู้ละเอียด แล้วต้องเป็นผู้ที่รู้ว่า เป็นความเข้าใจของตัวเอง ไม่ใช่เพียงแต่ฟังตามแล้ว ก็ไม่เกิดความเข้าใจของตัวเอง
อ.อรรณพ ในพระไตรปิฎก มีอยู่คำหนึ่ง ใช้คำว่าคล่องปาก แต่คล่องปากไม่พอ ต้องขึ้นใจด้วย ถ้าไม่ขึ้นใจ หรือเข้าใจแล้วคล่องปากก็ไม่มีประโยชน์
ท่านอาจารย์ ถ้าอย่างนั้น สาธยาย ถ้าไม่มีความเข้าใจในสิ่งที่ท่อง ไม่ชื่อว่าสาธยาย คือการท่องเฉยๆ แล้วก็ไม่รู้เรื่องไม่เข้าใจควาหมาย เพราะฉะนั้น จึงได้กล่าวถึงเรื่องการสวดมนต์ ซึ่งเป็นภาษาไทย มนต์ คือคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเมื่อมีการท่อง หรือการสวด หรือการสาธยาย คือต้องมีความเข้าใจในสิ่งนั้นด้วย มิฉะนั้นก็จะไม่มีหนทางที่จะทำให้รู้สภาพธรรมได้
ผู้ฟัง ถ้าท่องด้วยความไม่เข้าใจ อันนั้นเราจะไม่อยู่ในข่ายของการสาธยายแน่ๆ เพราะการสาธยายนั้น คือ ข้อ ๑. ของการหลุดพ้น เพราะฉะนั้น ถ้าท่องด้วยความเข้าใจ จะเป็นทางวาจาหรือทางใจก็ตาม อันนั้นจึงจะเรียกว่าสาธยาย ดิฉันพยายามที่จะเค้นออกมาให้ได้ว่า คำว่า สาธยาย ครอบคลุมไปแค่ไหนนั้นเวลานี้เขาเข้าใจไม่เข้าใจไม่ทราบ แต่แข่งกันสาธยาย สูตรเป็นคนละสูตร ๓ สูตร ๔ สูตร เพื่อจะหลุดพ้น อันนี้ก็อยากจะชี้ตรงนี้ว่า จะได้กี่สูตรก็ตามถ้าไม่หยั่งรู้สภาพธรรมก่อน ที่จะสาธยายด้วยเสียง อันนั้นก็จะไม่เรียกสาธยาย
ผู้ฟัง อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย ทำให้มนต์ที่ทำการสาธยายตลอดกาลนาน ก็ไม่แจ่มแจ้งในกาลบางคราว ขอความเข้าใจของคำว่าไม่แจ่มแจ้ง
ท่านอาจารย์ ขณะนี้ที่กำลังฟังมีใครคิดถึงอะไรบ้างหรือเปล่า หรือไม่มีใครคิดถึงอะไรเลย คิดถึงบ้าน คิดถึงเพื่อน คิดถึงอะไรบ้างหรือเปล่า มี แล้วธรรมที่ได้ฟังในขณะนี้ที่กำลังคิดถึงอย่างอื่นไปด้วย จะเข้าใจได้แจ่มแจ้งไหม นี่คือขั้นเริ่มต้นที่สุด
อ.อรรณพ แจ่มแจ้งก็มีเป็นขั้น เพราะว่าพระพุทธเจ้าแสดงในสูตรนี้ ตอนท้ายแสดงถึงโน้นเลย พระผู้มีพระภาคทรงยักเยื้องเทศนาด้วยภพ ๓ แล้วทรงจบลงด้วยยอดธรรม คือพระอรหัต แต่ว่าส่วนพราหมณ์ นั่งอยู่ในคุณเพียงแค่สรณะ ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งเท่านั้น แต่ว่าพราหมณ์นี้แจ่มแจ้งไหม ก็แจ่มแจ้งตามที่พราหมณ์มีความรู้เท่านั้น เพราะว่าพราหมณ์ก็ได้บอกว่าภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนักนี่ไง หน้า ๔ นี้ สังคารวพราหมณ์ ก็บอกว่า ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยเอนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุ จักเห็นรูปได้ฉะนั้น อย่างนี้ ตอนที่ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีท่านฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า ท่านเป็นพระโสดาบัน ท่านก็พูดคำนี้ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก แต่ของสังคาราวพราหมณ์แจ่มแจ้ง แค่สังคารวพราหมณ์ แค่พระรัตนตรัย แต่ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ท่านแจ่มแจ้งได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นพระโสดาบัน หนูพอเข้าใจไหม แจ่มแจ้งก็มีขั้น แล้วแต่ๆ ละท่าน
ผู้ฟัง อรรถกถาท่านก็อธิบายว่า การออกจากกามราคะ ๓ อย่าง มีการข่มไว้๑ การออกไปชั่วคราว ๑ การออกไปเด็ดขาด๑ แล้วก็การออกไป ๓ อย่าง อย่างแรกก็คือ การออกไปโดยการข่มไว้ คือการเจริญกรรมฐาน การเจริญสมถภาวนา อันที่ ๒. คือการเจริญวิปัสสนาภาวนา อย่างที่ ๓. คือการเป็นพระอรหันต์ จะเรียนถามท่านอาจารย์ว่า หนทางจริงๆ ของการออกจากกามราคะทั้ง ๓ อย่าง ทำให้ผู้ฟัง คือ คนอ่าน เข้าใจว่ามี ๓ วิธี จะเลือกวิธีใดวิธีหนึ่ง
ท่านอาจารย์ เข้าใจว่าคนอ่านยังไม่เลือก เพราะเหตุว่ากำลังฟังอยู่ แล้วก็เป็นเรื่องที่ว่า เพิ่งจะได้รู้ว่า พระธรรมก็มีการที่จะต้องพิจารณาอย่างละเอียด เพื่อแจ่มแจ้งก่อนเป็นลำดับขั้น เข้าใจว่าเวลานี้เป็นเวลาที่จบสังคารวสูตร คงจะไม่มีใครรู้แจ้งอริยสัจธรรม แต่ว่าถ้าเป็นในครั้งนั้น มี เพราะฉะนั้น เรื่องของการฟังธรรมก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวที่เราฟังแล้วเราก็จะได้พิจารณาว่า เรามีความเข้าใจในสิ่งที่เราฟังจริงๆ มากน้อย ลึกซึ้งแค่ไหน เพราะว่าไม่ใช่เพียงขั้นเข้าใจขั้นฟัง ยังจะต้องเข้าใจลึกกว่านั้นอีก จนกระทั่งสามารถที่จะรู้ว่า นี่คือพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ จึงได้ทรงแสดงธรรมที่กำลังปรากฏได้ตามความเป็นจริง ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ละเอียด แล้วก็เป็นเรื่องที่เราคงไม่รีบร้อน เพราะว่าพระธรรมนี้ก็ฟังกันไปตลอดชีวิต ฟังวันนี้แล้วจะไปข่มกิเลส หรือว่าจะไปอบรมเจริญสมถะ หรือวิปัสสนาทันที เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ แต่ต้องค่อยๆ เข้าใจขึ้นก่อน แม้แต่ๆ ละคำ เช่น คำว่า มนต์ คำว่า สาธยาย หรือที่เราใช้กันในปัจจุบันนี้ว่า สวดมนต์ ซึ่งก็มีการออกเสียง แล้วก็เป็นพระธรรมที่ได้ทรงแสดงไว้ด้วย เพราะว่าคงไม่มีใครไปเอามนต์ของพราหมณ์ หรือว่าอะไรๆ มาสวด ใช่ไหม แต่เรายังไม่เข้าใจเลยว่าขณะที่เราสวด เรามีความรู้ มีความเข้าใจอะไร แล้วคำนั้นคืออะไร
ต่อไปนี้เราก็จะได้ศึกษาอย่างละเอียด เพื่อที่จะได้เข้าใจก่อนตามความเป็นจริง แต่ละคำ ซึ่งตอนนี้ก็ยังไม่ถึงคำว่า นิวรณ์เลย กำลังมาถึงคำว่า มนต์ แล้วก็สาธยาย
ผู้ฟัง พระสูตรต่างๆ เวลาแปลเป็นภาษาไทย มีความเป็นบาลีอยู่มาก คิดว่า ภาษาเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่ง ที่สำคัญเหมือนกัน ดังนั้น อยากจะเรียนถามว่า การที่จะเราจะสาธยาย หรือการจะเข้าถึงพระธรรมนั้น ภาษาไทยพอเพียงไหม
ท่านอาจารย์ ดิฉันคนหนึ่งที่ไม่ได้เรียนภาษาบาลีจริงๆ ก็ออกเสียงภาษาบาลีไม่ถูกต้อง มากหลายครั้ง เหมือนกับคนที่อาจจะไม่ชำนาญในภาษาหนึ่งภาษาใด เพียงที่ได้ยินได้ฟัง ก็พูดตาม แต่ว่าเสียงอักขระพวกนี้ก็ไม่ถูกต้อง แต่ว่าความจริง ธรรมเป็นสิ่งที่ใช้ภาษาไหนก็ได้ ถ้าใช่ภาษาหนึ่งไม่สามารถที่จะเข้าใจได้ชัดเจน แต่ใช้อีกภาษาหนึ่งเข้าใจชัดเจนกว่า ก็ควรจะใช้ภาษาที่ทำให้เข้าใจได้ชัดเจน เช่น คนไทย ถ้าจะให้ใช้ภาษาบาลี แล้วจะให้เข้าใจธรรมได้ชัดเจน ก็คงจะเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าเข้าใจในภาษาไทยชัดเจน แล้วก็สามารถที่จะรู้ได้ว่า คำนั้นคือคำไหนในภาษาบาลี ก็จะไม่คลาดเคลื่อน หรือว่าถ้าเป็นชาวต่างประเทศ เขาก็มีความรู้ในภาษาไทย หรือภาษาบาลีน้อย เขาก็ต้องเข้าใจในภาษาของเขา เพราะฉะนั้น ทรงแสดงไว้ว่าไม่ว่าจะเข้าใจธรรมด้วยภาษาใดก็ถูกต้องไม่คลาดเคลื่อน ถ้าเป็นความเข้าใจจริงๆ การฟังธรรม ไม่ควรคำนึงถึงภาษา แต่ในขณะเดียวกัน ทิ้งภาษาบาลีไม่ได้เลย เพราะเหตุว่าถ้าแต่ละชาติที่นับถือพระพุทธ ศาสนาไม่คงไว้ซึ่งภาษาบาลี จะย้อนกลับไปหาความหมายเดิมไม่ได้ เพราะแต่ละภาษาก็จะเป็นภาษาที่กลายไปเรื่อยๆ หลายคำในภาษาบาลีซึ่งไม่สามารถที่จะใช้คำในภาษาไทยอธิบายได้ชัดเจน อธิบายได้เข้าใจในภาษา แต่ว่าถ้าเป็นเรื่องของลักษณะของธรรมแล้ว ทุกภาษา หรือทุกคนที่ใช้ภาษาต่างๆ สามารถที่จะเข้าใจได้ เช่น คำว่า ธรรม ถ้าออกเสียงภาษาบาลี จะออกเสียง ว่า ดัมมะ แต่ว่า คนไทยเราก็ ธรรม เพราะฉะนั้น เวลาที่เราจะพูดธรรมกับชาวต่างประเทศหรือสากล เขาก็จะไม่ค่อยเข้าใจเรา เพราะว่าติดที่ภาษาที่เสียง แต่ว่าถ้าทุกคนมีความเข้าใจถูกต้องว่า ธรรม หมายความถึงสิ่งที่มีจริง ภาษาอังกฤษจะแปลประโยคนี้ออกมาอย่างไรก็ตาม หรือว่าภาษาอื่นๆ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน แต่ก็หมายความว่าเริ่มมีความเข้าใจว่า ธรรมคือสิ่งที่มีจริงๆ แม้ว่าสิ่งนั้นไม่ต้องใช้ภาษาอะไรเลย ก็ไม่มีใครสามารถที่จะไปเปลี่ยนแปลงลักษณะของสภาพธรรมนั้นได้ นี่ก็คือเป็นเรื่องที่แล้วแต่ใครใช้ภาษาอะไร ก็เข้าใจภาษานั้น แต่ว่าทิ้งภาษาบาลีไม่ได้
อ.อรรณพ ตรงนี้ผมก็อยากจะสนับสนุนท่านอาจารย์ เพราะว่าที่อาจารย์พูดมาทั้งหมดเป็นข้อความในปฏิสัมภิทามรรค ใน ขุททกนิกาย คืออรรถกถาจารย์ท่านพูดไว้เลยว่า พระพุทธเจ้า ถ้าเป็นชาวทมิฬเข้าใจธรรมแบบชาวทมิฬก็ได้ เขาเข้าใจธรรมโดยไม่ต้องใช้ภาษาบาลี ท่านอาจารย์ก็ไม่ได้ศึกษาภาษาบาลี แต่ท่านเข้าใจเนื้อหา อรรถของธรรมได้ลึกซึ้งกว่าผู้ที่รู้บาลีอีก อันนี้สำคัญกว่า แต่ว่าต้องคงภาษาบาลีไว้ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มีความอัศจรรย์มาก มาตรัสรู้กี่พระองค์ มาตรัสรู้ภาษานี้ ภาษามคธี หรือมคธ หรือบาลี เพราะว่าถ้าไปแปลเป็นภาษาอื่นแล้ว ในอรรถกถาท่านใช้คำว่า ต้องตีความแล้วตีความอีก แล้วก็ยังคลาดเคลื่อนด้วย ต้องตีความเป็นการใหญ่ จึงต้องคงภาษาบาลีไว้ เพราะว่าเป็นภาษาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย แต่ว่าถ้าเราสามารถเข้าใจอรรถได้ ยกตัวอย่างมีลูกศิษย์ท่านอาจารย์ที่เป็นชาวต่างประเทศ ภาษาไทยท่านก็กระท่อนกระแท่น ท่านก็มาศึกษาธรรมกับท่านอาจารย์ แต่ท่านเข้าใจอรรถดีกว่าคนไทยบางคน เพราะฉะนั้น อาจารย์ไม่ต้องห่วงเลย แล้วยิ่งอาจารย์เป็นอาจารย์ที่สอนภาษาด้วย ตรงนี้อาจารย์น่าจะศึกษาภาษาที่มันเทียบเคียงกัน แต่มคธี หรือมคธ บาลี ไม่มีเปลี่ยนแปลงเลย ไม่ต้องตีความ อรรถกถาจารย์ท่านบอกไม่ต้องตีความ เป็นภาษาอื่นแล้วต้องตีความแล้วตีความเล่า
ผู้ฟัง คำว่า สาธยาย ผมจะยกตัวอย่าง เช่น ที่ตอนต้นที่จะประชุมสนทนากันก็จะมีกล่าวคำว่า นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ ซึ่งผมก็พอจะรู้ความหมายว่า ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแต่องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ้าการสาธยายแค่ตรงนี้ คือรู้ความหมายแค่ตรงนี้ คิดว่าไม่น่าจะถึงการบรรลุ หรือความเข้าใจอะไรแน่ๆ ทีนี้อยากจะให้ยกตัวอย่างว่า ถ้าจะให้พอเข้าใจถึงอรรถอันลึกว่า ที่จะเป็นความเข้าใจ จริงๆ ที่จะค่อยๆ เข้าใจแจ่มแจ้งมันเป็นอย่างไร ผมก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ อย่างสวดมนต์ ผมก็สวดทุกวัน นโม ตัสสะ ทุกวัน
ท่านอาจารย์ เพียงแค่ได้ยินคำว่า นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ ถ้าไม่มีความเข้าใจมาก่อนเลยว่าคำนี้ หมายความว่าอะไร เราจะรู้ไหมว่า เราจะระลึกถึงพระคุณอย่างไร ถ้าเราไม่มีการฟัง ไม่มีการเข้าใจเลย แล้วกล่าวคำว่า นะโม ตัสสะ ขอถวายความนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ถ้าเราไม่มีความเข้าใจเลย เรานอบน้อมในอะไร เป็นใคร ที่เราจะนอบน้อม เพราะฉะนั้น การที่เรามีความนอบน้อม แล้วแต่ขั้นของความเข้าใจ เราอาจจะมีความเข้าใจขั้นต้นว่า เป็นผู้ตรัสรู้ เป็นผู้ที่หมดกิเลส เป็นผู้ประเสริฐกว่าบุคคลใดๆ ทั้งโลกนี้ และโลกอื่นๆ ทุกโลก สากลจักรวาล เรามีความเข้าใจเพียงเท่านี้ เพราะฉะนั้น เพียงแค่เข้าใจอย่างนี้ จะรู้แจ้งสภาพธรรมไม่ได้ แล้วที่บอกว่า พอระลึกถึงก็จะมีการรู้ระลึกลักษณะของสภาพธรรม แต่ถ้ายังไม่เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมเลย ก็ระลึกไม่ได้อีกเหมือนกัน
แต่ละคนที่เข้ามาสู่พระธรรมวินัย มีการสนใจฟังพระธรรม ต้องเป็นผู้ตรงต่อตัวเองว่า การฟังธรรมไม่ใช่เพื่ออย่างอื่นเลยทั้งสิ้น ไม่ใช่เพื่อลาภ ไม่ใช่เพื่อยศ ไม่ใช่เพื่อสักการะ สรรเสริญ แต่เพื่อความเข้าใจสิ่งที่ได้ฟัง ถ้ารู้สึกตัวว่าเพียงคำว่า นโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ก็ยังไม่รู้เลยว่าพระคุณนั้นคืออะไรบ้าง นอบน้อมในอะไร ก็ควรที่จะได้เป็นผู้ตรง ที่เมื่อกล่าวสรรเสริญบุคคลใด ก็ควรที่จะได้รู้จักบุคคลนั้นเพิ่มขึ้นจากการฟัง ยิ่งฟังคำว่า นโมตัสสะ ก็จะมีความนอบน้อมเพิ่มขึ้น แต่ถ้ามีความเข้าใจเพียงเล็กน้อย หรือไม่เข้าใจ ก็เพียงแต่เป็นความเลื่อมใสศรัทธาเท่านั้นเอง
ผู้ฟัง ขอบพระคุณ
ผู้ฟัง ธรรมที่มีจริง ที่เรียนมาอยู่ตรงนี้ขณะนี้ ไม่ได้อยู่ในตำรา เป็นสภาพรู้ ไม่ใช่เรา ขอให้ท่านอาจารย์อธิบายความละเอียดลึกซึ้งอย่างไร
ท่านอาจารย์ ขณะนี้ก็มีสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ แล้วอย่างที่ว่า ธรรมจริงๆ ไม่ได้อยู่ในหนังสือ แต่ก็ให้ทราบว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจริงๆ ซึ่งทรงตรัสรู้ว่า เป็นธรรมซึ่งมีลักษณะ มีกิจ มีอาการปรากฏ มีเหตุใกล้ให้ปรากฏ โดยละเอียดทุกประการ ด้วยภาษาบาลี แต่ว่าตัวจริงของสภาพธรรม ไม่มีภาษาอะไรเลย ไม่ต้องเรียกภาษาอะไรเลยทั้งสิ้น แล้วที่กล่าวถึงนิวรณ์ ๕ เพราะเหตุว่าเป็นสิ่งที่มีเป็นปกติในชีวิตประจำวัน เพราะทุกคนก็มีอกุศล แต่ว่าไม่รู้เลยว่า อกุศลที่มี เมื่อเวลาที่จะกระทำกุศลประการใดๆ ก็จะมีอกุศลเหล่านี้เป็นเครื่องกั้นได้ ที่จะให้กุศลนั้นไม่เจริญ เช่น ในขณะนี้ ไม่ทราบมีใครมีถีนมิทธนิวรณ์ เพราะฉะนั้น ทุกคนก็จะรู้จักสภาพธรรม โดยชื่อทั้งๆ ที่ทุกวัน มีแต่สภาพธรรมลักษณะต่างๆ ทั้งหมด ที่เกิดขึ้น แต่ไม่รู้ชื่อ ในภาษาไทยอาจจะรู้ อย่างบอกว่าง่วง อย่างบอกว่าเพลีย อย่างบอกว่าท้อถอย ไม่อยากจะทำอีกต่อไปแล้ว นั่นก็คือลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นจิต คือ ธาตุที่เป็นสภาพรู้ สามารถที่จะเห็น สามารถที่จะคิด ส่วนเจตสิกก็เป็นสภาพธรรมที่เกิดกับจิต เวลาที่จิตเกิดขึ้น จิต เป็นสภาพที่เป็นใหญ่ในการรู้ แต่ว่ามีนามธรรมอื่นๆ ซึ่งเกิดร่วมด้วย ที่ทำหน้าที่ของนามธรรมนั้นๆ บางครั้งจิตก็ไม่ได้ท้อถอย เพราะเหตุว่าไม่มีเจตสิกนั้นเกิดร่วมด้วย เวลาที่จิตเป็นกุศลเกิดขึ้น ที่เราบอกว่าเป็นกุศล ดีงาม ก็เพราะเหตุว่ามีเจตสิก ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่ดีงามเกิดร่วมด้วย
จิตมีสภาพหลากหลายตามประเภทของเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย สำหรับนิวรณ์ ๕ คือลักษณะของอกุศลธรรม ธรรมฝ่ายไม่ดีซึ่งเกิดกับจิต โดยที่ว่าขณะนี้กำลังฟังธรรม จะมีนิวรณ์ ๑ นิวรณ์ใดใน ๕ นิวรณ์ หรือมีครบทั้ง ๕ ก็ได้ เช่นกามฉันทนิวรณ์ กำลังคิดเรื่องอะไรอยู่ด้วยความยินดีพอใจ เพราะว่าเราห้ามความคิดไม่ได้ ฟังธรรมอยู่แท้ๆ แต่จิตก็คิดเรื่องอื่น ใครจะยับยั้งไม่ให้คิดเรื่องอื่นเป็นไปไม่ได้เลย
จึงเข้าใจสภาพธรรมทั้งหมด แม้แต่เริ่มฟัง แล้วก็เห็นความจริงซึ่งเป็น อนัตตา อนัตตา คือ สภาพธรรมที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน เพียงเกิดปรากฏแล้วก็หมดไป อย่างรวดเร็วทั้งวัน แต่ละวันก็เหมือนกับเราเป็นอย่างนั้นบ้าง เราเป็นอย่างนี้บ้าง แต่ว่าตามความเป็นจริง คือสภาพธรรมที่เกิดนั่นเอง เป็นอย่างนั้นบ้าง เป็นอย่างนี้บ้าง เป็นจิต และเจตสิกประเภทต่างๆ
เพราะฉะนั้น จะเห็นจริงๆ ว่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน ไม่ว่าจะเป็นจิต ไม่ว่าจะเป็นเจตสิก นั่งฟังธรรมก็คิดถึงเรื่องที่สนใจ อาจจะมาฟังธรรมก็ยังค้างคาอยู่ ก็คิดต่อได้ ถ้าด้วยความพอใจ ขณะนั้นก็เป็นกามฉันทะนิวรณ์ เพราะเหตุว่า กาม โดยทั่วไปก็หมาย ความถึงสภาพที่ติดข้อง พอใจ ไม่ว่าจะเป็นอะไรทั้งหมดที่ติดข้องพอใจ เป็นอกุศล จะเป็นกุศลไม่ได้ เพราะเหตุว่าเป็นสภาพธรรมที่ไม่ใช่การสละ หรือการละ ถ้าเราสนใจในภาษาหนึ่งภาษาใด ภาษาต่างประเทศ ขณะนั้นเป็นอะไร ถ้าเป็นความสนใจเป็นความต้องการ ขณะนั้นก็เป็น กามฉันทะ
ในวันหนึ่งๆ กามฉันทะ คือ ความติดข้องในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 301
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 302
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 303
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 304
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 305
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 306
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 307
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 308
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 309
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 310
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 311
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 312
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 313
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 314
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 315
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 316
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 317
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 318
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 319
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 320
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 321
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 322
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 323
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 324
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 325
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 326
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 327
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 328
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 329
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 330
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 331
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 332
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 333
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 334
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 335
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 336 ***
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 337
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 338
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 339
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 340
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 341
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 342
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 343
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 344
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 345
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 346
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 347
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 348
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 349
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 350
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 351
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 352
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 353
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 354
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 355
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 356
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 357
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 358
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 359
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 360