ปกิณณกธรรม ตอนที่ 325
ตอนที่ ๓๒๕
สนทนาธรรม ที่ โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า
พ.ศ. ๒๕๔๖
ผู้ฟัง คำว่า ช่างมันเถอะ หมายถึงไม่ใช่ภาษาพูด ในใจ เราไม่ได้พูดออกมา มันจะอนุโลม อนุเคราะห์ อยู่ในคำว่า เมตตา ได้ไหม หมายถึงไม่ต้องพูดออกมา คำว่า ช่างมันเถอะ ที่เขาชอบพูดกัน
ท่านอาจารย์ ช่างมันเถอะ จิตเป็นกุศล หรือเป็น อกุศล
ผู้ฟัง มันเป็นกุศล อย่างเช่นเขามาแกล้งเรา หรืออะไรต่อไร บอกว่าช่างมันเถอะ อย่างนี้ภาษาพื้นๆ ชาวบ้านใช้กันแบบนี้ แต่ไม่ต้องพูดออกมา ในใจคิดอย่างนี้ มันเป็นอนุเคราะห์คำพูดนี้อยู่ในเมตตาธรรมได้ไหม
ท่านอาจารย์ ช่างมันเถอะ เพราะเบื่อหรือเปล่า เพราะฉะนั้น เรื่องของจิตเป็นเรื่องที่ลึกซึ้ง แล้วไม่สามารถจะรู้ได้เพียงทางหูที่ได้ยิน หรือทางตาที่มองเห็น เพราะว่าเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก อย่างคนที่เห็นคนที่กำลังลำบาก แล้วก็รู้สึกสงสารมากเลย ก็มีน้ำตาไหล อาจจะพลอยร้องไห้ไปด้วย ขณะนั้น ที่กำลังสงสารเป็นกุศล หรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่เป็น
ท่านอาจารย์ บางคนก็อาจจะคิดว่าสงสารจริงๆ สงสารเหลือเกิน เห็นอกเห็นใจอย่างซาบซึ้งน้ำตาไหล แต่ก็เป็นเรื่องละเอียดที่จะต้องรู้ว่า เป็นเรื่องของสิ่งที่ ไม่ใช่เพียงเห็นด้วยตาแล้วก็จะคิดว่า ขณะนั้นเป็นกุศล เป็นเรื่องที่ละเอียดมาก
เรื่องการข่มนิวรณ์ต่างๆ ด้วยความสงบขั้นสมถะ หรือว่าระงับ หรือว่าดับเด็ดขาด ไม่ให้เกิดขึ้นอีกเลยด้วยสติปัฏฐาน หรือด้วยวิปัสสนา อะไรอยู่ตรงนั้น ไม่ใช่พอพูดถึงสมถะก็เข้าใจเลย หรือว่าพูดถึงวิปัสสนาก็เข้าใจเลย แต่ที่สำคัญที่สุด คือ ทั้งหมดก็คือปัญญา ถ้าไม่มีปัญญาแล้ว ไม่สามารถที่จะข่ม หรือว่าไม่สามารถที่จะระงับไว้ด้วยความเป็นเรา เพราะว่าสมถะ คือ ความสงบจากอกุศล ถ้าเราคิดว่าเราอยากจะให้ทาน เราจะได้มีกิเลสน้อยลง ขณะที่คิดจะให้ทานเพื่อให้มีกิเลสน้อยลง หวังอะไรกับใครหรือเปล่า หรือว่ากับตัวเอง หรือว่าให้เพื่อประโยชน์สุขกับคนนั้นจริงๆ โดยไม่หวัง เพราะว่าคนที่กำลังทุกข์ยาก เดือดร้อน ถ้าเราสามารถที่จะช่วยให้เขาพ้นจากความทุกข์ยากเดือดร้อนได้ ขณะนั้นจิตเป็นเมตตาจริงๆ ไม่ได้คิดอะไรเลย แต่ว่าถึงแม้ว่า จะคิดว่ากุศลทั้งหลายดี จะบำเพ็ญกุศล เพื่อที่ว่าเราจะได้มีอกุศลน้อยลง แต่ขณะนั้นก็ยังมีความหวังหรือเปล่า ในเรื่องของตัวเองที่จะมีอกุศลน้อยลง
ปัญญาเป็นเรื่องละ บางคนอาจจะมีปัญญาเกิดขึ้นนิดหนึ่งเข้าใจว่า เวลาที่กุศลจิตเกิด ขณะนั้นก็ไม่มีอกุศล แต่กุศลประเภทใดที่จะละอกุศล แล้วก็ละแบบไหน แบบเพียงข่มไว้ได้นานหน่อย ไม่เกิดบ่อย หรือว่าแบบที่สามารถจะดับได้เป็นสมุจเฉท
เรื่องของอกุศลซึ่งมี แล้วก็ผู้ที่ไม่ได้ฟังพระธรรม ไม่มีปัญญาเกิดขึ้น แม้ว่าจะต้องการที่จะดับอกุศลสักเท่าไร ไม่มีหนทางเลย ไม่ใช่หนทางของเราเอง ที่จะเลือกได้ตามใจชอบว่า ฟังอย่างนี้ ชอบอย่างนี้ ทำอย่างนี้แล้วกิเลสหมด นั่นเป็นเรื่อง ของเรา ไม่ใช่เป็นเรื่องของปัญญาที่เข้าใจหนทางจริงๆ
สิ่งสำคัญที่สุด ที่กิเลสจะหมดได้ไม่เกิดอีก หรือจะระงับได้ถึงขั้นของสมถภาวนา ต้องเป็นเรื่องของปัญญา ไม่ใช่เรื่องตัวเราที่ต้องการ การฟังธรรมจะทำให้มีความเข้าใจถูกขึ้นในเรื่องของธรรมที่เป็นฝ่ายอกุศล และที่เป็นฝ่ายกุศล
อ.อรรณพ การข่ม ที่คุณสุกิจพูด ก็มีนับ ๑ ถึง ๑๐ นับ ๑ ถึง ๑๐๐ ถึง ๑,๐๐๐ แล้วก็ ช่างมัน ผมเคยเจอของจริงที่ราชบุรี ท่านก็เอาตราชั่ง มาแขวนไว้ แล้วท่านก็เอามันมาวางไว้ ท่านชั่งมันจริงๆ เลย ท่านเอามันมาชั่ง แล้วพอเวลามีเรื่องเกิดขึ้น คนโน้นว่า คนนี้ว่า ท่านก็ชี้ไปที่ตราชั่ง มันก็เป็นการข่มอย่างหนึ่ง ไม่ได้ต้องปัญญาอย่างที่อาจารย์ว่า ต้องปัญญา แม้กระทั่งสมถภาวนาก็ยังต้องมีปัญญาเลย แต่ปัญญาที่จะประหารกิเลสได้คือ ต้องเป็นมรรค เป็นผล
ท่านอาจารย์ ช่างมันแล้วรู้อะไร นี่สำคัญด้วย ไม่ใช่ช่างมันแล้วก็ไม่รู้อะไร ช่างไปเรื่อยๆ ก็ไม่รู้อะไรเลย แต่เวลาที่ฟังธรรมก็มีความเข้าใจขึ้น อันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด สำหรับพระพุทธศาสนา เพราะเหตุว่าทรงแสดงพระธรรมเพื่อให้ผู้ฟังเกิดปัญญาของตัวเอง จนกระทั่งสามารถที่จะรู้แจ้งสภาพธรรม ได้
ผู้ฟัง มีคำที่บอกว่า ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ไม่ทำการสาธยาย คือคล้ายๆ กับพูดว่า แม้แต่มนต์ที่กำลังสาธยายอยู่ตลอดกาลนี้ ก็ไม่แจ่มแจ้ง ถ้าหากว่ามีนิวรณ์เข้ามาเป็นเครื่องกีดขวาง ใช่ไหม ก็เลยมาถึงคำต่อมาผมไม่เข้าใจ คือขณะที่มนต์ที่กำลังสาธยายอยู่ก็ยังไม่เข้าใจ เพราะนิวรณ์ แล้วทำไมไปกล่าวถึงมนต์ที่ยังไม่ได้สาธยาย อันนี้ไม่เข้าใจจริงๆ หมายความว่าแม้แต่หนังสือที่อ่านอยู่ แกก็ยังไม่เข้าใจ แกจะเข้าใจที่ไม่อ่านได้ไหม คล้ายๆ อย่างนั้น หรือเปล่า
ท่านอาจารย์ เป็นอย่างนั้น เพราะเหตุว่าเราฟังธรรมวันนี้ ไม่ทราบว่าออกจากห้องนี้ไปแล้วจะคิดถึงธรรมหรือเปล่า ทันทีที่ก้าวพ้นห้องนี้ จะคิดถึงธรรมที่ได้ฟังเดี๋ยวนี้หรือเปล่า กับขณะที่ออกไปแล้วก็ยังนึกถึงบ้าง ก็ต่างกัน ใช่ไหม ขณะที่กำลังนึกถึงบ้าง ก็ยังมีการใคร่ครวญถึงสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง แต่ถ้าไม่นึกถึงเลย แล้วจะไปทำให้แจ่มแจ้งในสิ่งซึ่งไม่นึกถึงเลย ก็เป็นไปไม่ได้
ผู้ฟัง อันนี้ประเด็นที่ ๑ ที่ผม อยากจะกราบเรียน แล้วอันสุดท้ายที่บอกว่า ในอรรถกถา พราหมณ์ตั้งอยู่ในคุณเพียงแค่สรณะ แสดงว่าพราหมณ์คนนี้หลังจากฟังแล้ว แปลว่าอย่างไร ตั้งอยู่ในสรณะ
ท่านอาจารย์ ไม่ได้รู้แจ้งอริยสัจธรรม ไม่มีดวงตาห็นธรรม
ผู้ฟัง ก็ยังไม่รู้อีก ไม่ได้ดวงตาเห็นธรรม
อ.อรรณพ มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง เป็นอุบาสกตลอดชีวิต ขอพระองค์ได้ทรงจำข้าพุทธเจ้าไว้ตลอดชีวิต
ผู้ฟัง แต่ทำไมเขาบอกว่า ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
อ.อรรณพ นี่ไง แจ่มแจ้งมีหลายขั้น อย่างท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีท่านก็เปล่งคำนี้เหมือนกัน ก็เป็นแค่โสดาบัน
ผู้ฟัง แล้วพราหมณ์คนนี้เป็นอะไรถ้าอย่างนั้น ยังไม่ได้แม้แต่โสดาบัน
อ.อรรณพ ยังไม่ได้ ได้แต่พระรัตนตรัย
ท่านอาจารย์ ก็เหมือนทุกท่านที่กำลังฟังเดี๋ยวนี้
อ.อรรณพ เหมือนอย่างคุณเด่นพงศ์อย่างนี้ ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งได้
ผู้ฟัง ผมได้สรณะหรือยัง ยังไม่รู้เลย
ท่านอาจารย์ สรณะ คือ เป็นที่พึ่งที่จะฟังต่อไป ที่จะพยายามให้เข้าใจขึ้น ไม่ใช่ทอดทิ้ง
ผู้ฟัง ในบทว่า อัตตถัมปิ เป็นต้น ประโยชน์ของตน อันได้แก่พระอรหันต์ หมายความว่า ข้างหน้าๆ เพราะไม่รู้ประโยชน์ตน เพราะฉะนั้น ถ้ารู้ประโยชน์ตนเมื่อไรนั้นก็ต้องถึงพระอรหันต์ อันนี้คือคำถามที่ ๑
ท่านอาจารย์ คงจะหมายความว่า ถ้าขณะนี้มีความเข้าใจธรรม แล้วก็เข้าใจขึ้นๆ ก็จะถึงความเป็นพระอรหันต์ได้
ผู้ฟัง อันนั้นเรียกว่าประโยชน์ตน คือ ได้แก่ผู้นั้นเอง จึงเป็นประโยชน์ตน ต่อไป ชื่อว่าประโยชน์ของผู้ให้ปัจจัย ชื่อว่าให้ประโยชน์ผู้อื่น ช่วยขยายคำว่า ผู้ให้ปัจจัย คืออย่างดิฉันเรียนอยู่ แล้วมีท่านวิทยากรผู้รู้อยู่ตรงนั้น อันนี้เรียกว่า ผู้ให้ปัจจัยหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีการได้ยินได้ฟังเลย ก็ไม่มีปัจจัยที่จะเข้าใจธรรมได้
ผู้ฟัง แต่เนื้อที่ได้ยินได้ฟังต้องเป็นเนื้อของพระพุทธเจ้าด้วย
ท่านอาจารย์ เป็นความจริง เป็นสัจธรรม คือ สิ่งที่กำลังปรากฏ
ผู้ฟัง เวลานี้มีหลายแห่งซึ่งให้ความรู้ทางนี้ แต่เนื้อมักจะหลากหลาย เพราะฉะนั้น ผู้ที่จะเป็นผู้ให้ปัจจัยจะต้องเป็นอาจารย์ หรือเป็นผู้แนะนำ ซึ่งตรงตามคำสอนของพระพุทธเจ้าด้วย จึงจะเป็นผู้ที่เป็นปัจจัย ใช่หรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ถ้ามีความเข้าใจว่า ขณะนี้เป็นธรรม แล้วได้ยินได้ฟังอะไรที่ทำให้เข้าใจสภาพธรรมในขณะนี้ถูกต้อง อันนั้นคือปัจจัยที่จะทำให้ปัญญาเจริญขึ้น
ผู้ฟัง นอกจากเป็นผู้ที่ให้วิชชาอย่างนี้ มีอย่างอื่นอีกไหมที่จะเป็นปัจจัย
ท่านอาจารย์ พระผู้มีพระภาคเมื่อตรัสรู้แล้วทรงแสดงพระธรรม ๔๕ พรรษา ไม่ทราบว่าให้อย่างอื่นด้วยหรือเปล่า
ผู้ฟัง มีแต่คำสอน ถึงได้เน้นว่าเป็นคำสอน อาจจะเป็นสื่อทางวิทยุ หรือเป็นการอบรม จะเป็นอะไรก็แล้วแต่ แต่ถ้าเผื่อไปถึงซึ่งคำสอนแล้ว อันนั้นเรียกว่าผู้เป็นปัจจัย มีอยู่อันเดียวเท่านั้น
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่ใช่ผู้ที่ตรัสรู้เอง คงต้องอาศัยผู้อื่นแน่นอน ผู้ที่เป็นสาวกทั้งหลายก็ต้องฟังพระธรรม คิดเองไม่ได้แน่ ถ้าจะคิดว่าขณะนี้ไม่ใช่ตัวตน เป็นนามธรรม รูปธรรมอย่างไร คงจะคิดเองไม่ได้
ผู้ฟัง ผู้ให้เป็นปัจจัย อันนี้เป็นสำคัญมาก จะต้องเป็นอันที่สำคัญมากกว่าที่จะสะสม เพราะว่าแม้นเราจะสะสมปัญญามา แต่ถ้าเผื่อเราไม่ได้สนทนากัน ไม่ได้มีการฟังพระธรรม ไม่ถึงประโยชน์ส่วนตนคือพระอรหันต์
ท่านอาจารย์ ผู้ฟังก็สำคัญด้วย ผู้ให้ก็สำคัญ ผู้รับก็สำคัญด้วย เพราะว่าถ้ารับโดยไม่เข้าใจถูกต้อง ทั้งๆ ที่ผู้ให้อาจจะให้ถูกต้อง ก็ไม่ใช่ความผิดของผู้ให้
ผู้ฟัง แต่ก็ต้องซ้ำ คือต้องมีความเพียรพอสมควร มีความอดทนพอสมควรที่จะต้องรับอยู่เรื่อยๆ แม้ตรงนั้นไม่เข้าใจ ก็จะต้องนึกว่าวันหนึ่งต้องเข้าใจตรงนั้น ดิฉันคิดว่า อันนั้นคือคุณสมบัติของผู้นั้นเอง
ท่านอาจารย์ คงต้องอดทนกันไปอีกมากเลย คงไม่ใช่แค่วันนี้วันเดียว แล้วก็หลายๆ ชั่วโมง แต่คงต้องอีกนับไม่ถ้วน
ผู้ฟัง ความหมายของการแยกแยะธรรมนี้ ได้แก่อะไรบ้าง
ท่านอาจารย์ ไม่พ้นเรื่องของปัญญา เพราะเหตุว่าขณะนี้เห็นก็ไม่ใช่ได้ยิน ไม่ใช่คิดนึก ก็เป็นธรรมแต่ละอย่าง ซึ่งไม่ ใช่ตัวตน
ผู้ฟัง นั่นคือสติปัฏฐาน ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ตั้งแต่ขั้นเข้าใจก่อนจนกว่าสติจะเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ต่าง อย่างที่ได้ฟัง อย่างที่เป็นจริง
ผู้ฟัง ขอบพระคุณ
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่การเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ แล้วก็สามารถที่จะมีข้อ ๑ ข้อ ๒ ข้อ ๓ ว่า หนทางนี้จะไปสู่อนาคามิมรรค หรืออีกเท่าไรจะไปสู่อรหัตตมรรค เป็นไปได้ไหม ถ้าไม่มีการเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมในขณะนี้ ไม่ได้
คำถามที่ว่า หนทางที่จะไปสู่ความเป็นพระอนาคามีบุคคล กับหนทางที่จะไปสู่ความเป็นพระอรหันต์ หรือหนทางที่จะไปสู่ความเป็นพระโสดาบัน เป็นหนทางเดียวกันหรือเปล่า หรือว่าคนละหนทาง ว่าไปเป็นพระโสดาบันไปทางนี้ เป็นพระสกทาคามีไปทางนั้น เป็นพระอนาคามีไปทางโน้น เป็นพระอรหันต์ก็ไปอีกทางหนึ่งหรือว่าเป็นหางเดียว
ผู้ฟัง เป็นหนทางเดียว
ท่านอาจารย์ เป็นหนทางเดียว คือ ไม่ว่าจะเป็นการรู้แจ้งอริยสัจธรรมระดับไหน ก็จะต้องเป็นด้วยปัญญา และเป็นปัญญาที่อบรม เป็นของตัวเอง ที่มีความเข้าใจจากการฟัง การไตร่ตรอง การพิจารณา แม้ว่าจะเป็นเพียงคำเดียว หรือ ๒ คำ แต่ก็สามารถที่จะมีความเข้าใจจริงๆ ในคำนั้น ซึ่งหมายความถึงสภาพธรรมนั่นเอง เช่นคำว่า ธรรม ขณะนี้เป็นธรรมทุกคนก็ตรวจสอบได้ว่า มีความเข้าใจธรรมที่กำลังมีที่กำลังปรากฏในขณะนี้แค่ไหน ยังไม่เป็นหนทาง ใช่ไหม ที่จะทำให้ประจักษ์แจ้ง ถ้าการฟังเรื่องของสภาพธรรมยังไม่แจ่มแจ้งพอว่า เป็นธรรมจริงๆ แล้วก็เป็นธรรมอะไรบ้าง ไม่ใช่ตัวตนทั้งนั้นเลย ทางตาที่เห็น ได้ยินแล้วได้ฟังแล้วว่า เป็นอนัตตา แต่กำลังเห็นอย่างนี้ ค่อยๆ เข้าถึงความเป็นธรรม คือ ไม่ใช่เรา แต่เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งมีจริงๆ บังคับบัญชาไม่ได้ต่อเมื่อมีเหตุปัจจัย สภาพธรรม นี้จึงได้เกิดขึ้น ทำไมเป็นได้ยิน ไม่ใช่เห็น ใช่ไหม บางครั้งได้ยิน บางครั้งเห็น ทั้ง ๒ อย่างก็เป็นธรรม ได้ยินก็เป็นธรรม เห็นก็เป็นธรรม จะไม่ให้ได้ยินได้ไหม ไม่ให้เป็นเห็นได้ไหม ไม่มีทางเป็นไปได้เลย เพราะว่าทุกอย่างขณะนี้เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ต้องเข้าใจถึงคำหรือความหมายของคำว่า อนัตตาของสภาพธรรมที่มีจริงๆ เพิ่มขึ้น มั่นคงขึ้น จนกว่าสามารถที่จะรู้ลักษณะเฉพาะอย่างๆ ของสภาพธรรมด้วยปัญญาอีกระดับหนึ่ง
นี่คือหนทางเดียวที่จะทำให้เข้าถึง หยั่งถึงลักษณะที่เป็นอนัตตาของสภาพธรรม ที่ได้ยินได้ฟังตั้งแต่ต้น แล้วก็จะได้ยินได้ฟังตลอดไป ถ้าศึกษาธรรมจะไม่พ้นจากตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จะไม้พ้นจากลักษณะของสภาพของจิตใจลักษณะต่างๆ ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ แสดงว่า เกิดดับ ไม่ยั่งยืน แล้วเป็นไปตามสภาพธรรมที่มีเหตุปัจจัยเกิดขึ้น ไม่มีใครอยากจะมีอกุศล ไม่มีใครอยากไม่รู้อะไรเลย อยากจะเข้าใจแจ่มแจ้ง พูดอะไรก็เข้าใจให้หมด แล้วก็สามารถที่จะประจักษ์ความจริงของสภาพธรรม แต่ก็มีคำถามว่าแล้วเมื่อไรจะถึงวันนั้น นี่ก็แสดงว่า ไม่สามารถเพียงที่จะรู้จักธรรมตัวจริงเพียงขั้นการฟัง แต่มีหนทางเดียว คืออบรม ฟังบ่อยๆ เพราะว่าหลายคนก็บอกว่าฟังครั้งแรก ไม่เข้าใจ ไม่มีคำที่เคยได้ยินได้ฟังในชีวิตประจำวันเลย เป็นคำใหม่ แม้แต่คำว่า “ธรรม” ก็ไม่เหมือนกับที่เคยได้ยินว่า รูปธรรม นามธรรม ทางโลก เพราะเหตุว่าทางโลก รูปธรรมมีความหมายอย่างหนึ่ง นามธรรมมีความหมายอย่างหนึ่ง แต่ว่าทางธรรมไม่ใช่เพียงความหมายของคำ แต่ว่ามีตัวจริงของธรรมให้รู้ว่า กำลังกล่าวถึงลักษณะของธรรมใดที่จะทำให้เข้าใจจริงๆ ว่า เป็นธรรมที่ไม่ใช่ตัวตน
เพราะฉะนั้น หนทางไม่ใช่ไปเป็นตอนกลาง หรือตอนปลาย แต่ว่าต้องเริ่มตั้งแต่ตอนต้น ที่จะเข้าใจสิ่งที่ได้ยินได้ฟังจริงๆ
ผู้ฟัง ถ้าจะสรุปสภาพธรรม เป็นประโยคสั้นๆ ว่า คือ ลักษณะที่ปรากฏแก่กาย และจิต จะพอสรุปได้ไหม
ท่านอาจารย์ ขณะนี้กำลังปรากฏ แต่มีปัญญาที่จะเข้าใจถูก หรือว่ายังคงไม่เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมอยู่นั่นเอง สภาพธรรมนี้ปรากฏแน่นอน แต่ปรากฏกับอวิชชา หรือว่าปรากฏกับปัญญา
ผู้ฟัง ขณะที่ยืนฟังอยู่ก็ได้ยินเสียง ท่านอาจารย์บอก ว่า ขณะนี้ธรรมก็กำลังปรากฏอยู่ ก็คิดตามว่า ก็รู้ว่าเสียงปรากฏ เสียงเป็นรูป เท่าที่ได้รู้มาได้เรียนมา
ท่านอาจารย์ ได้ยินมา ว่าเสียงเป็นรูป แล้วรูปคืออะไร
ผู้ฟัง รูปไม่รู้อะไร
ท่านอาจารย์ สภาพนั้นมีจริงๆ แต่ไม่สามารถจะรู้อะไรเลย คิดไม่ได้ หิวไม่ได้ อิ่มไม่ได้ โกรธไม่ได้ มีแต่ลักษณะที่ปรากฏขณะนี้ทางตา นี่คือลักษณะของรูปชนิดหนึ่ง มีจริงๆ เพราะว่ากำลังปรากฏ แล้วสิ่งที่ปรากฏ ไม่เห็น ไม่คิด ไม่อะไร แต่ว่าสามารถที่จะกระทบตา แล้วก็ปรากฏเป็นสีสันวัณณะ นี่คือความหมายของรูป คือ รูปมีจริง เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย เช่นเดียวกับสภาพธรรมทั้งหลายที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย แต่ว่าลักษณะของรูปธรรมนั้นเป็นสิ่งที่แม้มีจริงเกิดขึ้นก็ไม่ใช่สภาพรู้ เพราะฉะนั้น ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้ามีลักษณะอ่อนหรือแข็ง เป็นลักษณะของรูปธรรม ต้องเข้าใจความหมายของรูปด้วย ไม่ใช่เพียงแต่บอกว่า ธรรม มี ๒ อย่าง เป็นรูปอย่างหนึ่ง เป็นนามอย่างหนึ่ง แต่ต้องรู้ว่ารูปคืออะไร แล้วก็นามคืออะไร
ผู้ฟัง แสดงว่าสิ่งที่ปรากฏทางตาก็เป็นลักษณะหนึ่ง แล้วก็เสียงก็เป็นรูปที่เป็นลักษณะหนึ่ง ซึ่งรูปแต่ละรูปมีลักษณะที่จะต้องรู้ได้ในแต่ละทวาร ไม่ทราบว่า ถูกไหม
ท่านอาจารย์ แล้วรูปเป็นธรรมหรือเปล่า
ผู้ฟัง รูปเป็นธรรม
ท่านอาจารย์ รูปเป็นธรรม นามก็เป็นธรรม ใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ ทีนี้ถ้าสมมติว่า ถูกของร้อนมากเลย รู้สึกอย่างไร ต้องมีความรู้สึกเกิดขึ้นแน่นอน ใช่ไหม รู้สึกอย่างไร เวลาที่ถูกของร้อนกระทบกาย ร้อนมากๆ เลย
ผู้ฟัง ดึงมือออก
ท่านอาจารย์ ความรู้สึก ความรู้สึกมีไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ ความรู้สึกเป็นธรรมหรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็นธรรม
ท่านอาจารย์ ความรู้สึกเป็นธรรม เจ็บ ใช่ไหม
ผู้ฟัง เจ็บ
ท่านอาจารย์ เจ็บเป็นรูปธรรมหรือนามธรรม
ผู้ฟัง เป็นนามธรรม
ท่านอาจารย์ อันนี้ก็ถูกต้อง คือ ต้องแยกกัน มิฉะนั้นเราก็คิดว่า พอมีของร้อนๆ กระทบกาย ก็รู้สึกว่า ความรู้สึกนั้นเป็นรูป แต่ความจริงต้องแยก ถ้าเป็นความรู้สึก เป็นความจำ เป็นความคิด เป็นความสงสัย เป็นอะไรทุกสิ่งทุกอย่าง ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ลักษณะที่แข็งไม่ใช่ความรู้ในแข็งที่กำลังปรากฏ ลักษณะที่ร้อน สภาพร้อนเป็นอย่างหนึ่ง แต่ความรู้ร้อนเป็นอีกอย่างหนึ่ง แล้วความรู้สึกเจ็บ หรือปวด หรือคัน หรือเมื่อย แม้ว่าอยู่ที่กาย เกิดที่กาย อาศัยกาย แต่ก็ไม่ใช่รูป เพราะเหตุว่าเป็นนามธรรม เพราะฉะนั้น จึงได้เข้าใจว่าในชีวิตของเรา สภาพธรรมก็มีหลายอย่าง แม้แต่ทางตาเห็น ก็มีความรู้สึกในสิ่งที่เห็น จะรัก จะชัง จะสุข จะทุกข์ ก็อาศัยสิ่งที่ปรากฏทางตา เคยได้ยินเสียงแล้วเดือดร้อนไหม
ผู้ฟัง เดือดร้อน เคยได้ยิน
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่ได้ยินก็ไม่มีความรู้สึกอย่างนั้น ใช่ไหม เพราะฉะนั้น ความรู้สึกนั้นก็มีจริง แล้วก็ไม่ใช่เรา นี่คือการที่แม้เพียงขั้นการฟัง ก็พยายามเข้าใจ ไตร่ตรองว่าลักษณะของสภาพธรรมที่ไม่ใช่เรา มีทั้งนั้นเลย ทุกอย่าง เพียงแต่ว่าเราลืม กำลังเห็น เราก็ลืมว่า ไม่ใช่เรา เป็นสิ่งที่มีจริงแล้ว และไม่ใช่สุข ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่ได้ยิน เวลาได้ยินก็ลืมอีกว่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่สุข ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่เสียง ไม่ใช่แข็ง
สภาพธรรมมีทั้งวันหลากหลาย ซึ่งเมื่อได้ฟังแล้วก็จะเกิดการที่จะคิดนึกถึงสิ่งที่ได้ฟังบ้าง แล้วแต่ว่าจะมากหรือจะน้อย บางคนที่สะสมมาแล้ว เขาก็จะคิดนึกในขณะที่สภาพธรรมหนึ่งสภาพธรรมใดปรากฏ โดยซึ่งแต่ก่อนไม่เคยคิดเลยว่าไม่ใช่ตัวตน แต่แม้กระนั้นขณะนั้นก็เป็นเพียงความคิด แต่ว่าตัวจริงของธรรม คือ นามธรรม และรูปธรรมเกิดดับ ขณะเมื่อกี้นี้หมดเลย ไม่กลับมาอีกเลย ขณะนี้เป็นขณะที่เกิดใหม่ มีลักษณะอย่างนี้แล้วก็ดับไป แล้วก็ต่อไปจากขณะนี้ก็มีลักษณะของสภาพธรรมอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่อันที่ดับไปแล้ว แต่ว่าเป็นสิ่งใหม่ที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย
แต่ละขณะ คือชีวิตซึ่งเป็นนามธรรม รูปธรรมเกิดดับสืบต่อ มีลักษณะต่างๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย อันนี้ก็เป็นสิ่งซึ่งคงยังไม่ต้องไปคิดถึงหนทางที่จะดับกิเลสหมด แล้วก็ไม่เกิดอีกเลย หรือว่าจะระงับโดยการข่ม เพียงแต่ว่าให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องว่า ที่เคยได้ยินคำว่า ธรรมๆ แท้ที่จริงก็คือมีอยู่ทุกขณะไม่ต้องไปแสวงหาเลย ถ้าใครเกิดไม่รู้ว่า ขณะไหนเป็นธรรม ทั้งๆ ที่ได้ฟังแล้ว จะถูกไหม ได้ฟังแล้วว่า ทุกอย่างเป็นธรรม แต่ไปคิดว่า นี่ไม่ใช่ธรรม นั่นไม่ใช่ธรรม นั่นก็คือความไม่เข้าใจ แต่ถ้าเมื่อได้ฟังว่า ทุกอย่างเป็นธรรม เวลาเกิดคิดก็จะรู้ว่า แข็งก็คือธรรม รสเปรี้ยว รสหวาน ความสุข ความทุกข์ทั้งหมด ก็คือธรรมทั้งหมด ก็เริ่มเข้าใจความหมายของธรรม ไม่ใช่เพียงขั้นฟัง แต่ก็ยังพิจารณาเวลาที่มีสภาพธรรมหนึ่งสภาพธรรมใดเกิดขึ้น โดยที่จะไม่กล่าวว่า ไม่ใช่ธรรม
ผู้ฟัง แสดงว่าเป็นธรรมทั้งหมด
ท่านอาจารย์ ที่มีลักษณะสภาวะจริงๆ ปรากฏ
อดิศักดิ์. ถ้ารู้ว่าธรรมเป็นธรรม อันนั้นเป็นวิชชา ถ้ารู้เป็นสิ่งที่ไม่ควรรู้ คือรู้ธรรมว่า เป็นสัตว์ เป็นบุคคล อันนั้นเป็นอวิชชา อวิชชาไปรู้ในสิ่งที่ไม่ควรรู้ พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ เหมือนกับว่า ยียวน อะไรหรือเปล่า ไม่ใช่ จริงๆ เราทุกวันนี้ เราไปรู้สิ่งที่ไม่ควรรู้ เพราะอวิชชา
ผู้ฟัง จะเป็นความคุ้นเคย เคยชินกับสิ่งที่มันปรากฏ
อ.อรรณพ อวิชชาสะสมมานาน ข้อความนี้มีอยู่ใน ปฏิสัมภิทามรรค
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 301
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 302
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 303
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 304
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 305
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 306
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 307
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 308
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 309
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 310
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 311
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 312
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 313
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 314
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 315
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 316
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 317
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 318
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 319
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 320
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 321
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 322
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 323
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 324
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 325
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 326
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 327
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 328
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 329
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 330
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 331
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 332
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 333
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 334
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 335
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 336 ***
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 337
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 338
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 339
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 340
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 341
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 342
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 343
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 344
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 345
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 346
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 347
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 348
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 349
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 350
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 351
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 352
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 353
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 354
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 355
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 356
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 357
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 358
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 359
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 360