ปกิณณกธรรม ตอนที่ 326
ตอนที่ ๓๒๖
สนทนาธรรม ที่ โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า
พ.ศ. ๒๕๔๖
อ.อรรณพ จริงๆ เราทุกวันนี้ เราไปรู้สิ่งที่ไม่ควรรู้ เพราะอวิชชา
ผู้ฟัง จะเป็นความคุ้นเคย เคยชินกับสิ่งที่มันปรากฏ
อ.อรรณพ อวิชชาสะสมมานาน ข้อความนี้มีอยู่ใน ปฏิสัมภิทามรรค
ผู้ฟัง บางครั้ง ส่วนมากจะเป็นนึก ที่จะคิดแล้วก็นึกเท่านั้นแหละ ขณะที่รู้เย็น ก็นึกได้ว่า มันเป็นธรรม แต่ว่ามันเป็นเรานึก แต่เป็นตัวตนอยู่อย่างนี้
อ.อรรณพ นี่แหละ คือ อวิชชา ไม่รู้ธรรมว่า เป็นธรรม เราไปรู้ว่าเป็นเราบ้าง เป็นสิ่งของบ้าง
ผู้ฟัง แสดงว่าไม่ได้ศึกษาลักษณะที่มันปรากฏตรงนั้นจริงๆ
อ.อรรณพ ยังฟังไม่พอ
ผู้ฟัง ยังฟังไม่พอ ผมได้เคยอ่านพระสูตรมา พบคำว่า พราหมณ์มาก บางทีก็เป็นสมณะบ้าง บางทีก็เป็นภิกษุบ้าง จริงๆ แล้วผมยังไม่เข้าใจคำว่า พราหมณ์ มีความหมายลึกซึ้งแค่ไหน แล้วเป็นคุณสมบัติของใครที่จะเรียกว่าพราหมณ์
ท่านอาจารย์ แต่ก็ถ้าเป็นความเห็นผิด ไม่ใช่ความเห็นถูก อย่างพวกพราหมณ์นี่ ก็จะคิดว่า ตัวเองเกิดจากพระพรหม เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่มีลัทธิ ๒ อย่าง คือ ลัทธิเดิม ลัทธิที่ไม่เข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง ก็ใช้คำ เช่น คำว่า นิพพานบ้าง หรือว่าพรหมบ้าง พราหมณ์บ้าง พวกนี้ ในความหมายที่ไม่ตรงกับในพระพุทธศาสนา แต่ว่าถ้าเรามีความเข้าใจที่ถูกต้อง คำว่าพรหม คำว่าพราหมณ์ คือภาษาบาลีต่างๆ ก็จะมีความหมายตั้งแต่ระดับที่ ใช้สามัญทั่วๆ ไป จนกระทั่งถึงใช้เฉพาะในคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ต้องแยกกันด้วย
ผู้ฟัง พอเข้าใจ มีคำถามสุดท้าย ที่ให้เข้าใจว่า ศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง สภาพธรรม คำว่า ธรรมเครื่องสละออก ถ้าเกิดพิจารณา หรือว่าได้ไตร่ตรองสิ่งที่ได้เรียนได้ฟังมาแล้ว เกี่ยวกับเรื่องว่าสิ่งนั้นเป็นธรรมที่กำลังปรากฏขณะนี้ได้ศึกษา ตรงนี้จะเป็นเหตุให้ถึงเครื่องสละออกไหม
ท่านอาจารย์ สลัดอะไรออก
ผู้ฟัง คงจะเป็นกิเลส
ท่านอาจารย์ อันดับแรกคือสละความเป็นเรา ที่เคยเป็นเราเห็น เป็นเราที่ได้ยิน สลัดความเป็นเราออกได้ เพราะเหตุว่ารู้ความจริงของสภาพธรรมที่เกิดในขณะนั้น เวลาที่นอนหลับสนิท ไม่เห็น เห็นยังไม่มี ยังไม่เป็นเราเห็น ขณะที่นอนหลับสนิท ไม่เป็นเราเลย เพราะเหตุว่าไม่มีการเห็น ไม่มีการได้ยิน ไม่มีการได้กลิ่น ไม่มีการคิดนึก แต่เห็นเมื่อไร ได้ยินเมื่อไรก็เป็นเราเมื่อนั้น ด้วยความไม่รู้ เพราะฉะนั้น สลัดออก ไม่ใช่ไปสลัดอย่างอื่นเลย สละความเห็นผิด สละการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเรา
เพราะฉะนั้น ก็ต้องมีการฟังก่อนให้มีความเข้าใจจริงๆ ว่าเป็นธรรมในขณะนี้ แล้วก็เวลาที่มีความเข้าใจมั่นคงขึ้น เข้าใจชัดเจนขึ้นว่าหนทางนั้นคืออย่างไร ไม่ใช่ใครบอกให้เรานั่ง แล้วก็ให้จ้อง แล้วก็จะไปเข้าใจว่า ธรรมขณะนี้ไม่ใช่ตัวตน นั่นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย กี่ภพกี่ชาติซึ่งไม่ใช่การอบรมเจริญปัญญา แต่เป็นการจงใจ ตั้งใจ จะไปเห็นอะไร แล้วคิดว่าเห็นอย่างนั้นแล้วก็จะละความเป็นตัวตน เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะว่าสภาพธรรมที่จะรู้ความไม่ใช่ตัวตนก็คือปัญญา ความเห็นถูก ความเข้าใจถูก ในสิ่งที่มีที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น สละ หรือสลัดออกที่นี้ ไม่ใช่สลัดหรือสละอื่นใดทั้งสิ้น แต่เป็นสลัดหรือสละการที่เคยยึดถือเห็นว่าเป็นเรา คิดนึกว่าเป็นเรา ความจำทุกอย่างซึ่งเป็นธรรมทั้งหมด ที่ได้เรียนได้ฟังแล้ว สามารถที่จะมีปัญญาเข้าใจถูกต้องว่า ขณะนั้นไม่ใช่เรา เพราะว่าได้อบรมตั้งแต่ขั้นการฟัง เพียงแค่การฟังไม่พอ เป็นพื้นฐานที่จะทำให้ถึงขั้นปฏิปัตติ ซึ่งภาษาไทยเราชอบใช้คำว่า ปฏิบัติ แล้วก็เข้าใจว่าปฏิบัติ คือ ทำ แต่ปฏิปัตติในภาษาบาลี ไม่ใช่ทำ ปฏิ แปลว่าเฉพาะ ปัตติ แปลว่าถึง ถึงเฉพาะ ขณะนี้มีลักษณะของสภาพธรรมซึ่งเกิดดับ เกิดดับอย่างรวดเร็ว โดยที่ไม่มีการถึงเฉพาะลักษณะของสภาพธรรมหนึ่งสภาพธรรมใด เพราะเหตุว่าเพียงฟังเรื่องของสภาพธรรมว่า ทุกอย่างที่กล่าวถึงมีจริงๆ โลภะมีจริง โทสะมีจริง เห็นมีจริง คิดนึกมีจริง การจำได้มีจริง แต่ยังไม่ถึงเฉพาะลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏทีละลักษณะ จนกว่าจะเห็นแจ้ง ที่ใช้คำว่าเห็นแจ้ง ซึ่งข้อความใน สังคารวสูตร ก็จะพูดถึง แม้ว่าไม่มีนิวรณ์ แต่ก็ยังต้องเห็นแจ้งในลักษณะของสภาพธรรมนั้น จึงสามารถที่จะละ หรือว่าดับกิเลสได้
เพราะฉะนั้น ก็จะต้องเข้าใจให้ถูกต้อง ไม่ใช่เพียงสลัด สลัดอะไรก็ไม่รู้ เมื่อไรก็ไม่รู้ ที่ไหนก็ไม่รู้ แต่ต้องรู้ว่าสละ หรือสลัด คืออะไร สละความเห็นผิด สลัดความไม่รู้ในลักษณะของสภาพธรรม ที่เคยยึดถือว่าเป็นตัวตน อันนี้ก่อน แล้วภายหลังก็จะสละทั้งหมดที่เป็นอกุศล ถึงความเป็นพระอรหันต์ด้วยปัญญา
ผู้ฟัง สลัดความไม่รู้ก่อน
ผู้ฟัง ที่คิดว่าจิตไม่ใช่เรา ผมคิดว่าจิตไม่ใช่เรา แล้วเราคือใคร
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีจิต จะมีความคิดว่า เราเป็นใครหรือเปล่า มีได้ไหม ถ้าไม่มีจิต
ผู้ฟัง เท่านั้นหรือที่ว่า จิตที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เรา ทำไมจึงรู้ว่า ไม่ใช่เรา ตาเห็นรูป บอก รูปไม่ใช่เรา แล้วมีใครเห็นรูปอะไรต่างๆ เป็นเรา
ท่านอาจารย์ นี่คือวันหนึ่งๆ มีจิตเห็น แล้วก็มีจิตคิด แล้วก็มีความเห็นต่างๆ ด้วย เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นความเห็นถูก หรือความเห็นผิด ก็เพราะจิต ถ้าไม่มีจิต ความเห็นถูกเห็นผิดก็มีไม่ได้ เมื่อมีจิตเกิดขึ้นแล้ว จึงมีความคิดต่างๆ นานา แม้แต่คิดว่านั้นไม่ใช่เรา นี่ไม่ใช่เรา ก็คือขณะนั้นจิตกำลังคิด
ผู้ฟัง วันนี้มีสมาชิกใหม่มาก สงสัยว่าฟังเพื่อให้เข้าใจสิ่งที่กำลังฟัง ประโยคนี้
ท่านอาจารย์ ฟังว่าทุกอย่างเป็นธรรม เข้าใจว่าไม่ใช่ธรรม หรือว่าเข้าใจว่า ทุกอย่างเป็นธรรม เพราะมีจริงๆ เกิดขึ้นปรากฏ แล้วหมดไป การฟังธรรมต้องฟังนาน ฟังโดยตลอด อย่างเมื่อกี้ที่กล่าวถึง ก็พูดถึงในเชิงของไตรลักษณ์ คือสิ่งใดก็ตาม มีปัจจัยปรุงแต่ง เกิดแล้วดับ ที่เกิดแล้วจะไม่ดับไม่มี ธรรมไม่ต้องไปแสวงหาที่ไหนเลย เพราะมีอยู่แล้ว เป็นอยู่แล้ว ทุกอย่างเป็นธรรม แต่ไม่รู้ว่า เป็นธรรม จึงทรงแสดงให้รู้ว่าสิ่งที่เข้าใจว่าเป็นเราที่เที่ยง ที่มีจริงๆ แท้ที่จริงก็คือสภาพธรรมแต่ละอย่าง ลักษณะต่างๆ กัน มีปัจจัยเกิดขึ้น แล้วก็ดับ
ผู้ฟัง ได้คุยกับเขาต่อไปว่า ทุกอย่างเป็นธรรม ธรรมมันมีทั้งดีทั้งเลว
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็ต้องยืนยันว่า สิ่งที่ไม่ดีเป็นธรรมหรือเปล่า อย่างโลภะ ไม่เรียกชื่อโลภะ ก็ไม่ใช่โทสะ แต่จำเป็นต้องใช้ชื่อต่างกันเพื่อให้รู้ว่าหมายความถึง ธรรมต่างประเภทกัน แต่ว่าจริงๆ แล้ว ธรรมไม่ต้องเรียกชื่ออะไรเลยก็ได้ แม้แต่ทุกท่านที่นั่งอยู่ที่นี่ ไม่เรียกชื่อเลยก็เป็นธรรม ไม่เรียกชื่อได้ไหม ก็มี นั่งอยู่แล้วตรงนี้ ไม่ต้องเรียกชื่อก็ยังมีอยู่ แต่ว่าจำเป็นต้องเรียกชื่อ เพื่อให้รู้ว่า หมายความถึงอะไร เมื่อไร
แม้แต่คำว่า ธรรม ประโยชน์คือฟังให้เข้าใจ ธรรม ถ้าเข้าใจคำนี้ตลอด ถึงความเป็นพระอรหันต์ เพราะว่าสามารถที่จะรู้ได้จริงๆ ว่า ทุกอย่างเป็นธรรม ไม่ใช่เพียงพูด แต่ว่าได้พิสูจน์ ได้ประจักษ์ในความเป็นธรรมนั้นๆ
ผู้ฟัง เรียนถามอีกประโยคหนึ่ง เริ่มฟัง เริ่มเข้าใจ
ท่านอาจารย์ ไม่ทราบว่า แสนๆ กัป ต้องนับกันหรือเปล่า หรือว่าอยู่ไปวันๆ ทุกขณะไม่รู้ว่าเท่าไรแล้ว แล้วก็อยู่มาแล้วไม่รู้เท่าไร ไม่จำเป็นต้องนับเลย แต่ว่ามีความสามารถที่จะรู้จักตัวเองเพิ่มขึ้นว่า มีความรู้ ความเข้าใจต่างจากการที่ไม่ได้ฟังธรรมบ้างไหม เพียงขั้นฟังตอนแรกๆ จะต่างกับที่ไม่เคยฟังหรือเปล่า แล้วก็ถ้าฟังต่อๆ ไป ความเข้าใจจะเพิ่มขึ้นไหม ในสิ่งธรรมดาๆ ที่เคยได้ยินมาแล้ว เช่น คำว่า ธรรม ตอนแรกก็เริ่มเข้าใจนิดหน่อย แต่ต่อไปก็จะมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น แล้วก็ยิ่งศึกษา ยิ่งฟัง จะยิ่งเข้าใจขึ้นว่า เป็นธรรมอย่างไร เป็นธรรมจริงๆ จะเป็นอื่นไปไม่ได้เลย คือ เป็นจิตประเภทต่างๆ แล้วก็เป็นเจตสิกประเภทต่างๆ แล้วก็เป็นรูปต่างๆ เท่านั้นเอง
ผู้ฟัง คุณสมหวังพูดถึงรู้น้อยแต่รู้จริง ก็ทำให้นึกถึงที่ท่านอาจารย์กล่าวถึงว่า รู้มากมาย สู้รู้แข็งอย่างเดียวไม่ได้
ท่านอาจารย์ คงไม่พอ คงต้องมากกว่านั้น ถึงน้อยก็คงจะไม่ใช่อย่างเดียว แต่ว่าที่กล่าวถึงนี้ก็คงจะหมายความถึงว่า พระไตรปิฎกมากมาย มีใครไหมที่จะกล่าวว่าเข้าใจทั้งหมดของพระไตรปิฎกทั้ง ๓ ปิฏก แล้วก็ยังมีอรรถกถาอีก ถ้าไม่มีใครสามารถที่จะกล่าวได้จริงๆ ว่า รู้โดยละเอียด รู้โดยถูกถี่ถ้วน แต่เมื่อฟังคำใดก็สามารถที่จะเข้าใจคำนั้นเพิ่มขึ้น มากขึ้น ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบแล้ว ก็ต้องเป็นส่วนที่น้อยมากในพระไตรปิฎก เพราะว่าพระไตรปิฎกกว้างขวางมาก นี้เป็นเพียงสูตรเดียวจาก พระสุตตันตปิฏก ยังมีพระอภิธรรมปิฏก พระวินัยปิฏก ซึ่งก็เป็นเรื่องของสภาพธรรมจริงๆ ทั้งหมด
ผู้ฟัง ขอคำถามที่ท่านผู้ฟังฝากไว้สัก ๒-๓ คำถาม สั้นๆ ที่ว่า ธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง ผมเข้าใจว่า บัญญัติ ก็เป็นธรรมชนิดหนึ่ง ไม่ทราบว่าเข้าใจถูกต้องหรือเปล่า
อ.อรรณพ บัญญัติไม่มีจริง ไม่มีสภาวธรรม เป็นกาลวิมุตติ ไม่มีอดีต ปัจจุบัน อนาคต เพราะฉะนั้น บัญญัติไม่ใช่ปรมัตถธรรม ๔ คือ บัญญัติ คนไปเข้าใจผิด ไปนึกว่าเป็นอารมณ์ของสติปัฏฐานได้ ใน ปฏิสัมภิทามรรค เขียนไว้ชัดเจนว่า อวิชชาย่อมแล่นไปในบัญญัติ เพราะแล่นไปในบัญญัติแล้ว บอกบัญญัติเป็นอารมณ์สติปัฏฐาน คุณก็แล่นอยู่ในบัญญัติ ก็แล่นไปในบัญญัติตลอด ไม่ได้ไปไหนหรอก เข้าใจผิดอย่างมากเลย ที่บอกว่า บัญญัติเป็นอารมณ์ของสติปัฏฐาน นามรูปปริจเฉทญาณก็ชัดๆ อยู่แล้ว เป็นปรมัตถ์ทั้งนั้น นามรูปปริจเฉทญาณคุณก็ไปบัญญัติใหม่ เป็นบัญญัติปริเฉทญาณ มันขัดกัน เพราะฉะนั้น บัญญัติเป็นอารมณ์ของสติปัฏฐานไม่ได้ บัญญัติไม่มีจริง ไม่มีสภาวธรรม ไม่มีสามัญลักษณะ
ผู้ฟัง มีคนถามว่าเทศน์มหาชาติ มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกหรือไม่ นี้คือคำถามแรก มีความสำคัญทางพระพุทธศาสนา เพียงใด
ท่านอาจารย์ ขอประทานโทษ สนใจเทศน์มหาชาติ ในลักษณะไหน
ผู้ฟัง พอถึงฤดูกาลเข้าพรรษาก็จะมีเทศน์ทุกกัณฑ์ มีอยู่ ๑๐ ชาติ อย่างเช่นเคยได้ยินฝนแสนห่า เวลาเทศน์ถึงตรงนี้ก็ มีการโปรยสตางค์กันเต็มเลย เศษสตางค์ ก็เรียนแบบ ว่าเป็นการให้ทานกัน ผมก็ไม่ทราบ คือ ชาวบ้านแถวบ้านนอกก็ทำกันอย่างนี้ เขาฟังแต่ละชาติๆ ของ
ท่านอาจารย์ สนใจตรงไหนของเทศน์มหาชาติ สนใจโปรยเงิน หรือว่าสนใจพิธีกรรมหรือสนใจอะไร
ผู้ฟัง ส่วนมากก็จะเป็นพิธีกรรม แต่ว่าเนื้อหาที่ว่าจะเป็นทานบารมี หรือว่าปัญญาบารมีตรงนี้
ท่านอาจารย์ ไม่ทราบว่า เคยได้ยินที่บางคนบอกว่า ฟังเทศน์มหาชาติจบหนึ่งแล้วก็จะได้ขึ้นสวรรค์
ผู้ฟัง ก็เป็นความคิดที่เชื่อกันอยู่
ท่านอาจารย์ อันนี้เป็นความสนใจหรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็นความสนใจ ด้วย
ท่านอาจารย์ ที่ว่าถ้าทำอย่างนั้นจริงๆ จะได้ขึ้นสวรรค์
ผู้ฟัง ก็น่าจะเป็นของจริง ไม่อย่างนั้นเขาจะมีกันทำไม พิธีการแบบนี้ในทางพุทธศาสนา
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จริงๆ แล้วฟังเพื่อที่จะเห็นพระบารมี กว่าจะอบรมพร้อมด้วยพระบารมีที่จะทำให้รู้แจ้งอริยสัจธรรม จะเห็นตรงนี้ไหม
ผู้ฟัง อันนี้ต้องฟังให้เข้าใจจริงๆ ไม่คุยกัน ผมก็ไม่ค่อยทราบตรงนี้เหมือนกัน
ท่านอาจารย์ เป็นแต่เรื่องประเพณี ทำกันโดยที่ไม่รู้จุดประสงค์ว่า เพื่ออะไร แต่ว่าการฟังธรรมไม่ว่าจะฟังในลักษณะใดทั้งสิ้น จุดประสงค์คือเพื่อให้เข้าใจถูกต้องตามความเป็นจริงในบารมีทั้ง ๑๐ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะว่าไม่ใช่แต่เฉพาะพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ใครก็ตามที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรม โดยที่ไม่มีกุศลใดๆ เลย ก็เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะว่าที่สำคัญที่สุดคือปัญญา มีปัญญาบารมีด้วย
การฟัง คือเพื่อให้เข้าใจถูกต้อง ไม่ใช่เพียงแค่เชื่อ หรือว่าคิด ว่าเป็นเพียงสิ่งที่ควรจะฟัง แต่เวลาฟังก็ไม่สามารถที่จะรู้จุดประสงค์ได้ว่า ประโยชน์ของการฟังนั้นคืออะไร แต่ต้องรู้ประโยชน์ทุกครั้งที่ฟัง ไม่ว่าจะฟังอะไรก็ตาม วิชาการทางโลกที่ศึกษากันไม่ว่าแต่ละวิชา วิชาตัดเสื้อ ฟัง สำหรับให้ตัดเป็น หรือไม่เป็น หรือไปฟังเฉยๆ ไม่ว่าจะเป็นวิชาต่างๆ ขั้นมหาวิทยาลัย หรือที่ไหนก็ตาม ทั้งหมดเพื่อให้เข้าใจ ในสิ่งที่ได้ฟัง ฉันใด ทางธรรมไม่ใช่เพียงฟัง แต่ว่าประโยชน์ของการฟังจริงๆ คือทำให้เกิดปัญญา ความเห็นถูกของตัวเอง เมื่อมีความเห็นถูกแล้วก็จะไม่ถามคนอื่นว่า ถือว่าอย่างนั้นได้ไหม เป็นอย่างนี้หรือเปล่า เพราะเหตุว่าต้องเป็นปัญญาของตัวเองที่สามารถที่จะเข้าใจ ลักษณะของสภาพธรรมนั้นได้
ผู้ฟัง ถามลักษณะของรูป ๔ ท่านกล่าวว่าไม่ได้เกิดจากสมมติฐานอย่างใด อย่างหนึ่ง
ท่านอาจารย์ ที่ทรงแสดงไว้เรื่องรูปว่า รูปมีทั้งหมด ๒๘ รูป ไม่ใช่บัญญัติ แต่หมายความว่าเป็นรูป เป็นปรมัตถธรรม เพราะเหตุว่าถ้าไม่มีรูปเกิดขึ้น ก็ไม่มีการดับ แต่เมื่อรูปเกิดขึ้นแล้ว รูปต้องดับ แต่ว่ารูปมี จะมีอายุยืนกว่าจิต หมายความว่าจิตเกิดดับ ๑๗ ครั้ง หรือ ๑๗ ขณะ รูปๆ หนึ่งก็จะดับ แต่พูดอย่างนี้เหมือนกับรูปมีอายุยืนยาว แต่ว่าความจริงให้ทราบว่า ในขณะนี้ที่กำลังเห็นกับได้ยินเป็นจิตต่างประเภท อาศัยปัจจัยต่างกัน เช่น จิตทางตา ขณะเห็น ไม่ได้อาศัยหู แล้วก็จิตที่กำลังได้ยินเสียงในขณะนี้ก็ไม่ได้อาศัยตา แต่ว่าปรากฏเสมือนว่าทั้งเห็นทั้งได้ยินพร้อมกับคิดนึก พร้อมกันหมดเลย แต่ความจริงให้เห็นการเกิดดับอย่างเร็วแสนเร็วของจิต เพราะเหตุว่าในขณะที่เห็นกับขณะที่ได้ยิน เกินกว่า ๑๗ ขณะ ความห่างกันของจิตเห็นกับจิตที่ได้ยิน
รูปที่เกิดพร้อมขณะที่เห็น ก่อนที่จะได้ยิน รูปนั้นดับแล้ว การดับของรูปในพระพุทธศาสนา จากการตรัสรู้ รวดเร็วมาก แต่ก็สามารถที่จะประจักษ์ได้ว่า สภาพธรรมนั้นเป็นอย่างนั้น เมื่อรูปมีปัจจัยปรุงแต่ง เกิดแล้วดับ แต่ว่าก่อนที่รูปจะดับ ตั้งแต่ขณะเกิด คือ อุปจยขณะ จนถึงขณะที่เป็นขณะสุดท้าย เพราะเหตุว่ารูปจะมีอายุ ๑๗ ขณะจิต เพราะฉะนั้น ขณะที่เกิดเป็นอุปจยะ ขณะที่ยังไม่ดับก็เป็นสันตติสืบต่ออยู่ แต่เร็วมาก คิดถึงว่าปัญญาที่ได้สะสมมาที่จะเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า สามารถที่จะทรงแสดงแม้ลักษณะของรูป ถึงการเกิดดับว่าใน ๑๗ ขณะ จะต่างกัน เป็นขณะที่เป็นอุปจยะ ไม่ใช่ขณะที่เป็นสันตติ ไม่ใช่ขณะที่เป็นชรตา ชรตา คือ ขณะที่เริ่มเสื่อม และขณะที่อนิจจตา คือขณะที่ดับ
เพราะฉะนั้น เป็นลักขณะของรูป ๔ อย่าง ซึ่งสำหรับรูปทุกรูปจะต้องมีลักขณะทั้ง ๔ เป็นลักขณะรูป เมื่อรูปเกิดแล้ว รูปก็จะต้องดับแล้วใครจะสร้างลักขณะรูปได้ ไม่มีทางเป็นไปได้เลย เพราะว่ารูปจริงๆ ก็มีสมุฏฐานที่ทำให้เกิดต่างกัน คือบางกลุ่ม หรือบางประเภทก็เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน บางประเภทเกิดจากจิตเป็นสมุฏฐาน บางประเภทเกิดจากอุตุเป็นสมุฏฐาน บางประเภทเกิดจากอาหารเป็นสมุฏฐาน
กำลังนั่งอยู่ที่นี่ให้ทราบว่ารูปกำลังเกิดดับ ไม่รู้เลย แต่ทุกคนก็ค่อยๆ แก่ลง นี่ก็แสดงให้เห็นว่า จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง เกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับไป ตามเหตุตามปัจจัย ไม่คงที่ วันนี้ไม่ป่วยไข้ แล้วทำไมวันรุ่งขึ้นถึงมีการที่รูปจะแปรสภาพเป็นรูปอื่นซึ่งไม่ใช่รูปตามปกติ
นี่ก็แสดงให้เห็นถึงการเกิดดับของรูปเป็นไปอย่างรวดเร็วมาก แต่ว่าถ้าไม่มีปัญญาก็ไม่สามารถที่จะรู้ความจริงได้ สำหรับรูปทุกรูปที่เป็นสภาวรูป จะมีลักขณะของรูป คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ อุปจยะ สันตติ สืบต่อ ชรตา เริ่มเสื่อม แล้วก็อนิจตา คือดับไป หลงว่ายังมีรูปอะไรบ้าง เวลานี้
ผู้ฟัง ทุกอย่าง
ท่านอาจารย์ ที่ตัว ยังมีปอดอยู่หรือเปล่า
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ มี ปรากฏทางไหน เมื่อไร
ผู้ฟัง คิด
ท่านอาจารย์ เกิดเมื่อไร ดับเมื่อไร ปรากฏทางไหน เมื่อไร
อ.อรรณพ จำไว้
ท่านอาจารย์ นี่หลงหรือเปล่า หลงว่า มีในสิ่งที่ไม่มี หลงว่า สิ่งที่กำลังปรากฏขณะนี้ไม่ได้เกิดดับ จะเห็นได้ว่า หลงอย่างนี้ แสนนาน แล้วก็จะหลงต่อไปอีก สิ่งที่ไม่ปรากฏเลยก็ยังเข้าใจว่ายังมี ที่ตัวทั้งหมด
เพราะฉะนั้น ก็กล่าวได้ว่า รูปใดที่ไม่ปรากฏ เพราะความรวดเร็วของการเกิดดับ รูปใดที่ไม่ปรากฏ รูปนั้นเกิดแล้วดับแล้วทั้งหมด ซึ่งบางคนก็บอกว่า เสียงในป่ามีไหม เสียงจะเกิดขึ้นเมื่อของแข็งกระทบกัน ดับไหม เสียงนั้น ทันทีที่เกิดแล้วดับ เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีการได้ยินเสียงใด แม้ว่าเสียงนั้นมีเกิดขึ้น เสียงนั้นก็เกิดแล้วดับแล้ว ฉันใด ที่ตัวทั้งหมด เราทรงจำว่า มีรูปฟัน มีรูปปอด มีรูปกระดูก ทุกอย่าง แต่เกิดดับอย่างเร็ว จนกระทั่งรูปใดที่ไม่ปรากฏ รูปนั้นเกิดแล้วดับแล้ว
ด้วยเหตุนี้ในพระไตรปิฎก จึงมีคำว่า อัตตสัญญา หมายความว่ามีการทรงจำว่า มีตัวตน หรือว่ามีเราอยู่ตลอดเวลา จนกว่าจะรู้จริงๆ เหมือนเดี๋ยวนี้ สิ่งใดไม่ปรากฏ สิ่งนั้นไม่มี แม้สิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ก็เกิดดับ จนกว่าจะประจักษ์จริงๆ ว่า เป็นอย่างนั้น
ผู้ฟัง กราบท่านอาจารย์ ที่อาจารย์กล่าวว่า สิ่งใดไม่ปรากฏ คือไม่ปรากฏกับจิต ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีจิตสิ่งนั้นจะปรากฏได้อย่างไร เพราะว่าจิตเป็นสภาพรู้
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น เขาก็เกิดของเขา แต่ที่ไม่ปรากฏ คือเราไม่รู้ เพราะจิตไม่เกิด ให้รู้
ท่านอาจารย์ เมื่อมีปัจจัย สิ่งนั้นก็เกิดแล้วก็ดับ เพราะฉะนั้น กำลังเกิดดับตลอดเวลา แต่รูปใดที่ไม่ปรากฏ รูปนั้นก็เกิดแล้วดับแล้วทั้งนั้น
อ.อรรณพ คุณบงพูดถึงเรื่อง พึงบอกทางให้แก่คนหลงทาง เราเอาข้อความในพระไตรปิฎกดีกว่า มีแสดงไว้หลายเแห่ง ในพระวินัยมีแสดงไว้แห่งหนึ่งว่า ทางปักบอกทางสวรรค์ และนิพพานแก่ผู้ดำเนินไปสู่ทางชั่ว และผิด นี่บอกทางแก่คนหลงทาง ข้อความในพระไตรปิฎกจะเป็นอย่างนี้ แล้วก็มี พึงหงายภาชนะที่คว่ำ ทรงยังผู้เบือนหน้าหนีจากพระสัทธรรม ตกไปในอสัทธรรมแล้ว ให้ออกจากอสัทธรรม พึงเปิดของที่ปิดไว้ออก เท่ากับทรงเปิดเผยพระศาสนาที่ถูกรกชัฏ คือมิจฉาทิฏฐิปิดไว้ พึงบอกทางแก่คนหลงทาง เมื่อกี้ที่อ่านให้ฟังไปแล้ว ทรงส่องแสงสว่าง คือ เทศนา เครื่องจำกัดความมืด คือ โมหะ อันปกปิดรูป คือ พระรัตนตรัย มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นต้นนั้น แก่ผู้จมอยู่ในความมืด หรือจะใช้คำว่า พึงส่องประทีปน้ำมันในที่มืด อันนี้เป็นข้อความในพระไตรปิฎก เอาตามนี้ดีกว่า ดีกว่าไปเข้าใจกันเอง
ผู้ฟัง เรียนถามเกี่ยวกับเรื่องสมุฏฐานของรูป การที่มีการค้นพบสิ่งมีชีวิตใหม่ๆ ในอนาคต หรือสิ่งที่มีชีวิตในอดีตที่สูญพันธุ์ไปแล้ว อันนี้ใช้อธิบายด้วยสมุฏฐานของรูปได้ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ต้องเป็นรูปที่ปรากฏ รูปที่หมดไปแล้ว ก็เหมือนไฟที่ดับไปแล้ว จะไปตามหาที่ไหนอีกก็ไม่ได้
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 301
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 302
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 303
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 304
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 305
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 306
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 307
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 308
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 309
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 310
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 311
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 312
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 313
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 314
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 315
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 316
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 317
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 318
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 319
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 320
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 321
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 322
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 323
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 324
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 325
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 326
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 327
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 328
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 329
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 330
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 331
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 332
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 333
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 334
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 335
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 336 ***
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 337
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 338
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 339
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 340
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 341
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 342
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 343
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 344
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 345
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 346
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 347
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 348
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 349
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 350
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 351
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 352
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 353
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 354
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 355
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 356
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 357
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 358
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 359
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 360