ปกิณณกธรรม ตอนที่ 329
ตอนที่ ๓๒๙
สนทนาธรรม ที่ โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า
พ.ศ. ๒๕๔๖
ท่านอาจารย์ ไม่ต้องมีการรอ ธรรมหนึ่งธรรมใดที่สติสัมปชัญญะจะเกิดระลึก เพราะเหตุว่าปรากฏแล้ว ทางตากำลังมีสิ่งที่ปรากฏให้รู้ให้เข้าใจถูก ทางหูมีเสียงปรากฏ ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ทั้งหมดเป็นธรรมที่เกิดแล้วจึงปรากฏ ถ้ายังไม่เกิดปรากฏไม่ได้เลย แล้วที่เกิดแล้วก็เพราะเหตุว่ามีปัจจัยปรุงแต่งที่จะปรากฏอย่างนั้น จะเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ต้องเป็นอย่างที่กำลังปรากฏ ไม่ว่าจะเป็นกุศลหรือเป็นอกุศลก็ตาม
ผู้ฟัง ขณะที่ระลึกได้ ระลึกแล้ว บางทีโลภะก็บอก ทำไมไม่หมดไปเสียที กลุ้มรุมอยู่อย่างนี้
ท่านอาจารย์ ใครคิดล่ะ
ผู้ฟัง ก็ตนเอง
ท่านอาจารย์ แล้วก็คิดอย่างไรให้หมดโลภะ ต้องเป็นพระอรหันต์
ผู้ฟัง ความจริงก็เป็นอยู่อย่างนี้
อดิศักดิ์. คุณจำนงอย่าลืม กิเลสหลายแสนโกฏิกัปป์ที่คุณจำนงสั่งสมมา แล้วมาชาตินี้ ฟังแค่นี้จะให้กิเลสหมด มันเป็นไปได้ไหม กิเลสที่เราสั่งสมมาหลายแสนโกฏิกัปป์ รวมทั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านพูดในชาติสุดท้าย ท่านพูดอย่างนี้ ของเราสะสมมาหลายแสนโกฏิกัปป์ ไม่ได้น้อยกว่าท่าน แล้วก็สติพอระลึกได้บ้าง ก็จะให้มันหมดไป เดี๋ยวๆ มาอีกแล้ว จะทำอย่างไรดี อะไรอย่างนี้ คือต้องฟัง ฟังแล้วฟังให้เข้าใจ ความเข้าใจนั้นจะเป็นสังขารขันธ์ปรุงแต่งให้สติเกิดระลึกได้ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่เรา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่หญิง ไม่ใช่ชาย ตามที่พระพุทธองค์ ทรงเทศนา ต้องเป็นไปตามที่พระพุทธทรงเทศนา ต้องเป็นอย่างนี้ ต้องค่อยเป็นค่อยไป คุณจำนงไม่ต้องไปห่วงมาก
ท่านอาจารย์ ที่คุณอดิศักดิ์ว่า เดี๋ยวมาแล้ว ช้าไปหรือเปล่า ไม่ต้องเดี๋ยวเลย
ผู้ฟัง สั่งสมมาหลายแสนโกฏิกัปป์ จะเอากิเลสออกก็ต้องหลายแสนโกฏิกัปป์ ตรงนี้ด้วยหรือเปล่า อาจารย์อดิศักดิ์
อดิศักดิ์. เราอย่าไปเอาเวลามาวัดกัน เพราะว่ากิเลสที่สะสมมาหลายแสนโกฏิกัปป์แน่ ส่วนปัญญาเราก็สะสมไปๆ แล้วก็ยังไม่ทราบด้วยว่า เมื่อไร เพราะมันมาเร็วกว่านั้นอีก
ผู้ฟัง เรื่องที่ว่าเป็นปกติที่พูดกันอยู่ แล้วเป็นความจริงเดี๋ยวนี้ก็คือว่า เห็นแล้วก็คิดนึกต่อ อันนี้ก็เป็นปกติ ถ้าสติไม่ได้ระลึกขณะที่เห็น ทีนี้ถ้าพูดถึงว่าขณะที่หลับตาก็ยังคิดได้ ขณะที่คิดก็หลับตาได้ ตรงนี้ เราทำความเข้าใจกับตรงนี้ก่อนได้ไหม มันถึงจะไปเข้าถึงที่ว่า เห็นแล้วก็คิดนึกต่อ
ท่านอาจารย์ ชีวิตประจำวันจริงๆ เพียงแต่ว่าเวลาที่มีคำภาษาบาลี เราอาจจะเกิดความสับสน คือไม่เข้าใจคำนั้น แล้วก็ไม่รู้ว่าคำนั้น หมายความถึงอะไรในภาษาไทย แต่จริงๆ แล้วก็เป็นสภาพธรรมเท่านั้นเอง เช่นขณะที่หลับตา ทุกคนก็คิด ก็เป็นคำตอบอยู่แล้ว ใช่ไหม ขณะที่เห็น มีสิ่งที่กำลังปรากฏชั่วขณะที่เห็น จะไม่ใช่คิดในขณะที่เห็น
ผู้ฟัง ดิฉันคิดว่า ตรงนี้ต้องพยายามคุ้นเคยกับมัน ลักษณะของการที่แยกระหว่างขณะที่เห็นกับ คิดนึกมันถึงจะเกิดขึ้นได้
ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วก็ดูเหมือนกับว่า มีคำมากมายในพระไตรปิฎก ตรงนั้น ตรงนี้ ตรงโน้น แต่ที่จริงก็คือว่า ให้เข้าใจธรรม แล้วก็ค่อยๆ เข้าใจเพิ่มขึ้น ในครั้งที่พระผู้มีพระภาคยังไม่ปรินิพพาน มีผู้ที่ไปเฝ้าแล้วก็ฟังธรรม ถ้าแปลภาษาบาลีออกมาทั้งหมดเป็นภาษาไทยเดี๋ยวนี้ คือทรงแสดงเรื่องของสิ่งที่มีจริงๆ ในขณะนี้ ด้วยภาษาที่ต่างกัน เพราะว่าคนที่ไปเฝ้าก็จะเข้าใจในคำที่ตรัส แล้วก็ทรงแสดง แต่ว่าสำหรับตรงนี้ที่นี่ ภาษาโน้นก็ใช้ไม่ได้ เพราะเหตุว่าไม่มีใครสามารถจะเข้าใจได้ แต่สามารถเข้าใจได้ด้วยภาษาอะไร ก็พูดถึงเรื่องสภาพธรรมทั้งนั้น ไม่ว่าในครั้งก่อนหรือในครั้งนี้
เพราะฉะนั้น ก็ไม่น่าจะมีอุปสรรคใดๆ เลย เพียงแต่ว่าเข้าใจว่า ครั้งโน้นต้องเป็นภาษาหนึ่งทั้งหมดโดยตลอด แต่ครั้งนี้ก็จะต้องใช้ภาษาที่ทำให้เหมือนเดิม คือ เข้าใจสภาพธรรม การที่ทรงแสดงภาษาบาลี ก็เพื่อให้เข้าใจสภาพธรรมสำหรับคนที่เข้าใจภาษานั้นฉันใด เราก็กำลังเห็น ก็มีสิ่งที่มีจริง เกิดแล้วปรากฏ แล้วก็ดับไป แล้วก็เป็นสิ่งที่มีลักษณะปรากฏในชีวิตประจำวัน ที่แต่ก่อนนี้เราคิดว่า เป็นเราทั้งหมด แต่ความจริง เมื่อสภาพธรรมใดเกิดขึ้น จึงยึดถือสภาพธรรมนั้นว่า เป็นเรา เพราะไม่รู้ จึงได้ทรงแสดงลักษณะของสภาพธรรมทั้งหมดให้เข้าใจว่า เป็นเพียงสภาพธรรม แต่ละอย่างซึ่งเกิดขึ้นแล้วก็หมดไป
ผู้ฟัง ก่อนที่จะได้ฟังที่ท่านอาจารย์ได้แสดงให้ฟัง ไม่เคยได้ทราบมาก่อนเลยว่า การเห็นก็อย่าง การคิดนีกก็อย่าง พอฟังตรงนี้แล้ว ตรงนี้เป็นจุดของการเริ่มต้นที่จะรู้ว่า มันต่างกัน ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ แล้วก็ไม่ใช่เฉพาะเห็นกับคิด ทั้งวัน สภาพธรรมทั้งหมด ที่ไม่เคยรู้ว่าชื่ออะไรในภาษาบาลี แต่ว่าลักษณะนั้นก็มี อย่างโกรธ ภาษาบาลีจะใช้คำอะไรก็ได้ คิดนึกภาษาบาลีจะให้คำอะไรก็ได้ ก็เป็นภาษาที่ใช้กันอยู่ที่จะทำให้เข้าใจได้ แต่ลักษณะของสภาพธรรมไม่เคยขาดไปเลย ไม่ว่าขณะไหน เมื่อไร ก็เป็นสิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่ง เกิด แล้วก็ไม่รู้ในความจริงของสภาพธรรมนั้น ก็เลยเข้าใจว่า เป็นเราทั้งหมด
ผู้ฟัง ถ้าเป็นธรรมทั้งหมดในวันหนึ่งๆ ถ้าจะสังเกตก็มีรูป จิต เจตสิก ก็เท่านั้น
ท่านอาจารย์ เป็นสภาพธรรม ที่ไม่ใช่สภาพรู้อย่างหนึ่ง แล้วก็เป็นสภาพรู้อีกอย่างหนึ่ง
ผู้ฟัง การอบรมปัญญาต้องเป็นไปตามลำดับขั้น อยากให้ท่านอาจารย์อธิบายตรงนี้
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีการได้ยินได้ฟังเลย คิดเองคงไม่ได้ ใครจะคิดอย่างพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ไหมว่า ขณะนี้เป็นสภาพธรรม ไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้น จึงต้องมีการฟังพระธรรมที่ได้ทรงแสดงจากการตรัสรู้ เมื่อฟังแล้ว ต้องพิจารณาด้วย เพราะเหตุว่าบางคนอาจจะเข้าใจว่า อ่านจบแล้วสูตรนี้ หรือว่าพระอภิธรรมก็เป็นเรื่องราวที่จำแนกเป็นปริจเฉทต่างๆ จบแล้ว นั่นไม่ใช่การศึกษาธรรม การศึกษาธรรมคือเข้าใจจริงๆ ว่า ธรรมคืออะไร เมื่อไร เพราะฉะนั้น ก็จะรู้ได้ว่าขณะนี้เป็นธรรม เมื่อไร เมื่อมีปัจจัยเกิดแล้วปรากฏ ความจริงเกิดแล้วดับไป แต่เพราะเหตุว่าไม่ได้ประจักษ์ความจริงอันนี้ จึงจะต้องฟังเรื่องราวของสภาพธรรมจนกว่าจะค่อยๆ เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ จนกว่าความรู้อีกขั้นหนึ่งซึ่งเกิดจากการฟัง แล้วเข้าใจ ทำให้สามารถที่จะระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏได้ในขณะนี้
ผู้ฟัง คำถามแรกจากผู้เพิ่งมาฟังถามว่า ปัญญาระดับไหนที่สามารถรู้สมุฏฐานของรูปได้ คำถามที่ ๒. ขอให้ท่านวิทยากรอธิบายถึง ขณะที่รู้โดยละเอียด
ท่านอาจารย์ ยังไม่รู้จักรูป จะรู้จักสมุฏฐานของรูปไม่ได้
ผู้ฟัง ต้องรู้รูปก่อน
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง
ผู้ฟัง ทีนี้ขณะที่รู้โดยละเอียดหมายถึงอย่างไร
ท่านอาจารย์ ขณะที่รู้โดยละเอียด ไม่มีอะไรจะละเอียดเท่าพระธรรมที่ได้ทรงแสดงไว้ เพราะฉะนั้น ถ้าต้องการรู้ว่า เวลา รู้โดยละเอียดจะรู้ได้อย่างไร ก็คือตามที่ทรงแสดงไว้ทั้งหมด ไม่มีใครสามารถที่จะแสดงเกินกว่านั้นได้
ผู้ฟัง ต้องฟังต่อไป ท่านที่ ๒ ถามมา คำถามแรกถามว่า สติคือความมั่นคงไม่หวั่นไหวในกุศล ในแต่ละวันสติไม่เกิดเลย จิตหลงใหลไปกับสิ่งที่เกิดของทวารทั้ง ๖ จะทำอย่างไรทำให้สติเกิดได้ไหม
ส. ทั้งหมดเป็นเรื่องจะทำอย่างไรทั้งนั้นเลย ไม่มีที่จะเข้าใจยิ่งขึ้น ถูกต้องขึ้นได้อย่างไร แต่เป็นเรื่องจะทำทั้งนั้น
ผู้ฟัง ข้อที่ ๒. เวลาสติเกิด ปัญญาเกิดด้วยหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ มีสติหลายระดับ สติที่เกิดร่วมกับปัญญาก็มี ไม่เกิดร่วมกับปัญญาก็มี
ผู้ฟัง ข้อที่ ๓. วิริยะ ขันติ เวลาใช้เพื่อที่จะกั้นกิเลส เวลากั้นไม่อยู่ เพราะเหตุเกิดซ้ำๆ กิเลสตัวนั้นก็จะระเบิดขึ้นอย่างรุนแรง จะทำอย่างไรดี
ท่านอาจารย์ ใช้ไม่ได้ ใช้กั้นก็ไม่ได้ กั้นก็ไม่อยู่ ก็แสดงว่า ใช้ไม่ได้แล้วจะไปใช้อะไรต่อไป ในเมื่อเริ่มต้นก็รู้แล้วว่า ใช้ไม่ได้
ผู้ฟัง ไม่ทราบว่าผู้ที่ถามยังอยู่หรือเปล่า ถ้ายังอยู่จะสอบอาจารย์เพิ่มเติมไหม
ผู้ฟัง ตรงที่ว่า ธรรมจริงๆ เมื่อไร ผมก็ได้คำตอบว่า คือขณะนี้ ตอนนี้ยกตัวอย่าง ตอนนี้ก็มีเสียง เสียงผมเอง ผมก็ได้ยินด้วย ผมพูด แล้วก็เสียงท่านอาจารย์ด้วย
ท่านอาจารย์ เสียงเป็นสภาพธรรมที่เกิดแล้วดับ ไม่เป็นของใครเลย
ผู้ฟัง ยอมรับ ว่าไม่เป็นของใคร
ท่านอาจารย์ การฟังเป็นขั้นยอมรับ แต่ไม่ใช่ขั้นประจักษ์ลักษณะที่เป็นธรรม แล้วถ้าใช้คำว่านามธรรมก็หมายความว่าไม่ใช่รูปธรรมโดยประการใดๆ ทั้งปวง ไม่มีรูปใดๆ เจือปนในลักษณะของนามธรรมเลย เพราะเหตุว่าเป็นสิ่งที่ไม่ใช่รูป แต่สามารถเกิดขึ้นแล้วรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด ตลอดชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย นั่นคือลักษณะของนามธรรม
เพราะฉะนั้น เวลาฟัง เข้าใจว่านามธรรมมี แล้วก็ไม่ใช่รูปธรรมด้วย แต่ยังไม่ถึงระดับที่ประจักษ์ความเป็นธาตุของนามธรรมนั้นๆ
บางคนจะได้ยินคำว่า วิปัสสนาภูมิ ใช่ไหม แล้วก็บอกได้ด้วยว่าอะไรบ้าง ขันธ์ เป็นวิปัสสนาภูมิ ธาตุ อายตนะ พูดอะไรก็เป็นวิปัสสนาภูมิ แต่ขันธ์ไม่ใช่เรา ธาตุก็ไม่ใช่เรา ทุกอย่างก็ไม่ใช่เรา โดยนัยต่างๆ เพราะฉะนั้น ไม่ใช่พอบอกว่า ขันธ์ ๕ รู้แล้ว ถูกต้องไหม ถ้ากล่าวอย่างนี้ ขันธ์ ๕ รู้แล้ว
ผู้ฟัง ไม่แล้ว
ท่านอาจารย์ รู้ชื่อ แต่ตัวขันธ์ ๕ จริงๆ ถ้าใช้คำว่า ขันธ์ ก็หมายความว่า สภาพนั้นเป็นสภาพธรรมที่มีลักษณะเป็นอดีต หรือปัจจุบัน หรืออนาคต คือเกิดขึ้นแล้วดับไป เพราะฉะนั้น การที่จะประจักษ์ถึงอรรถ หรือคำว่า วิปัสสนาภูมิ สิ่งที่มีจริงทั้งหมด เป็นสิ่งที่สามารถจะให้ปัญญารู้ชัดได้ เมื่ออบรมแล้วจึงจะเข้าใจได้ว่า ลักษณะนั้นเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น เวลาใช้คำว่า วิปัสสนา เป็นปัญญาที่สามารถที่จะเห็นแจ้ง เห็นจริง เห็นถูกต้องตามความเป็นจริงของสภาพนั้นๆ โดยเป็นธาตุ โดยเป็นขันธ์ โดยเป็นอายตนะ ไม่ใช่ว่าโดยฟังชื่อ แล้วก็บอกว่า รู้แล้ว ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย เพราะว่าขณะนี้สภาพธรรมกำลังเกิดดับ เป็นขันธ์หรือเปล่า เป็นสภาพธรรมที่เกิดดับ เป็นธาตุหรือเปล่า เป็นสภาพธรรมที่เกิดดับปรากฏเป็นอายตนะหรือเปล่า
ไม่ใช่ชื่อที่เลื่อนลอย แล้วเราก็เอามาเรียก หรือเราก็เอามาจำว่า เรารู้จักขันธ์ ๕ รู้จักธาตุ ๑๘ อายตนะ ๑๒ หรือว่าจำนวนที่ปรากฏในพระไตรปิฎก โดยนัยต่างๆ แต่วิปัสสนา เป็นปัญญาที่เห็นแจ้ง ประจักษ์ชัดในความเป็นธาตุ หรือในความเป็นขันธ์ ในความเป็นอายตนะ ตามที่ทรงแสดงไว้ทั้งหมด
ปัญญาจริงๆ เป็นอีกระดับหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่เพียงขั้นที่ฟังเรื่องราว แล้วก็พิจารณาเข้าใจตามนั้น แต่ว่าลักษณะของสภาพธรรมก็เกิดดับไป โดยที่ว่าไม่รู้ความจริงของสภาพธรรมหนึ่ง สภาพธรรมใดที่กำลังปรากฏเกิดแล้วดับ
เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้ว่า ถ้าจะรู้ว่า พระธรรมที่ทรงแสดงเป็นความจริง เป็นสัจธรรม คือต้องอบรมเจริญปัญญาจนสามารถที่จะเข้าถึง หยั่งถึงลักษณะของสภาพธรรมนั้น ก็จะเป็นผู้ที่เป็นพยานคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ทุกคำที่ตรัสรู้ ทรงแสดงเป็นความจริงทั้งหมด เพราะว่าขณะนี้ก็เป็นอย่างนี้ แต่เมื่อไม่ประจักษ์ก็เป็นเพียงปัญญา เพียงขั้นที่เริ่มจะฟัง เริ่มที่จะคิดพิจารณาว่า เป็นความจริงอย่างนั้นๆ แต่ก็เมื่อยังไม่ได้ประจักษ์ความจริงนั้น ก็ยังเป็นตัวเราอยู่นั่นเอง
การที่จะละคลายความเป็นเรา แล้วก็รู้จักสภาพธรรมตามความเป็นจริง ไม่ใช่เป็นการทำทั้งสิ้น แต่ว่าเป็นการที่อบรมเจริญความรู้ความเข้าใจขึ้น จนกว่าสามารถที่จะประจักษ์การเกิดดับของสภาพธรรม โดยความเป็นขันธ์ โดยความเป็นธาตุ โดยความเป็นอายตนะ
ผู้ฟัง คงจะต้องเป็นเรื่องจริงๆ ที่ท่านอาจารย์บอก เวลาถามอะไรท่านอาจารย์ ก็บอกว่าขอให้ฟังไป คำว่าฟังไป หมายถึงฟังไปเรื่อยๆ
ผู้ฟัง ขณะที่ท่านอาจารย์ก็กล่าวเหมือนกับว่าขันธ์ ๕ มีอยู่ตลอด แต่คำพูดที่ท่านอาจารย์กล่าวว่า เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตาแล้วคิดนึก ตรงนี้ดิฉันคิดว่ามันมีขันธ์ ๕ ทั้ง ๕ อย่าง เช่นที่ว่าเห็น เห็นก็เป็นวิญญาณขันธ์ สิ่งที่ปรากฏก็คือรูป แล้วคิดนึกก็เป็นสังขารขันธ์ ส่วนเวทนากับสัญญามันก็เกิดกับจิตทุกดวงอยู่แล้ว ตรงนี้ถูกหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ในภูมิที่มีขันธ์ ๕ จะมีทั้งนามธรรม และรูปธรรม
ผู้ฟัง ประโยดสั้นๆ แค่นี้ก็ครอบคลุมหมดแล้ว
ท่านอาจารย์ ต้องศึกษาไป เข้าใจไป อบรมไป นี่คือการอบรมเจริญปัญญา
ผู้ฟัง โลภะ ทุกคนมี แล้วทุกคนชอบในลักษณะของโลภะ แต่ถ้าเกิดเราระลึกลักษณะของโลภะนั้นจริงๆ แล้วจะละคลายจากโลภะนั้นได้อย่างไร
ท่านอาจารย์ ใครละคลายโลภะได้
ผู้ฟัง ไม่ทราบว่า ปัญญาเขาจะละโลภะได้อย่างไร
ท่านอาจารย์ รู้ว่าไม่ใช่เรา เป็นธรรมชนิดหนึ่งซึ่งมีปัจจัยก็เกิดขึ้น เปลี่ยนแปลงลักษณะของโลภะให้เป็นอย่างอื่นไม่ได้
ผู้ฟัง รู้ว่าโลภะ คือ โลภะ
ท่านอาจารย์ เกิดแล้ว ปรากฏแล้ว แต่ไม่รู้ว่า ไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้น ความรู้ก็คือเมื่อสิ่งนั้นเกิดแล้วปรากฏ ก็รู้ว่าเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง
ผู้ฟัง ขณะนั้นก็จะค่อยๆ ละคลาย
ท่านอาจารย์ ละคลายความที่เคยยึดถือสภาพธรรมนั้นว่า เป็นเรา เพราะว่าก่อนอื่นที่จะละโลภะ โทสะ หรืออกุศล อื่นๆ ได้ ต้องรู้ความจริงว่า ลักษณะนั้นเป็นธรรม ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เรา ต้องละสักกายทิฏฐิก่อน ดับสักกายทิฏฐิก่อน คือ การยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเรา แล้วถึงจะละกิเลสอื่นๆ ได้
ผู้ฟัง ต้องรู้ว่าไม่ใช่เราหลายๆ ครั้ง เรื่อยๆ ไป จนกว่าจะละคลาย ไปเอง
ท่านอาจารย์ ต้องรู้จักตัวเองตามความเป็นจริงว่า แค่นั้นละคลายความเป็นเราหรือยัง
ผู้ฟัง ก็ไม่มีใครคิดว่า ในโลกนี้มีใครไม่ชอบโลภะแน่นอน
ท่านอาจารย์ แต่ไม่รู้ ใช่ไหมว่า ไม่ใช่เรา จนกว่าจะรู้ว่าไม่ใช่เรา
ผู้ฟัง คำถามสืบเนื่องจากคุณบุษบงที่บอกว่าการเห็นทางตา แล้วก็ไปที่ทางใจ ไม่ทราบว่า ลักษณะรูปที่ปรากฏทางมโนทวารกับทางใจ จะชัดเจนเท่ากับทางตาหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ขณะนี้ทราบไหมว่า กำลังเห็นรูปปรากฏทางจักขุทวาร แล้วก็เป็นภวังคจิต เมื่อรูปนั้นดับไปแล้ว ทางมโนทวารวิถีจิตก็รับรู้รูปนี้ต่อ รู้ไหม ความต่างของปัญจทวารกับมโนทวาร หรือจักขุทวารกับมโนทวาร
ผู้ฟัง ไม่ทราบ
ท่านอาจารย์ แล้วคำตอบจะเป็นอย่างไร
ผู้ฟัง ตรงนี้อาจจะเปรียบเทียบเข้าใจค่อนข้างยาก ถ้าเกิดลักษณะกลิ่นที่ปรากฏทางจมูก รสที่ปรากฏทางลิ้น รสหรือว่ากลิ่นที่ปรากฏทางจมูกหรือทางลิ้น เมื่อกระทบที่จมูกหรือลิ้นแล้ว ทางมโนทวารจะชัดเจนเท่ากับทางปสาทไหม
ท่านอาจารย์ นี่แสดงให้เห็นว่าไม่สามารถคาดคะเนว่า รูปซึ่งมีอายุ ๑๗ ขณะของรูปดับเร็วแค่ไหน
ผู้ฟัง ผมเข้าใจว่า การที่รู้ลักษณะทางมโนทวาร คือการคิดนึก
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ รู้สิ่งที่รับรู้ต่อจากทางหนึ่งทางใดของปัญจทวาร ขณะนี้กำลังเห็น เหมือนเห็นตลอดเวลา แต่ความจริงมีคิดนึกคั่น แล้วก่อนที่จะถึงสภาพของมโนทวารวิถีจิตที่คิดนึกเรื่องสิ่งที่เห็น ก็จะต้องมีมโนทวารวาระอื่นๆ เกิดก่อนด้วย เพราะฉะนั้น การเกิดดับสืบต่อกันของจิตเร็วมาก ไม่มีใครสามารถที่จะหยั่งถึงได้ ด้วยความคิดนึก แต่ต้องด้วยการประจักษ์แจ้ง แล้วขณะนี้ก็หลายวาระนับไม่ถ้วนเลย ซึ่งลักษณะของรูปที่ปรากฏทางจักขุทวารวิถี แล้วสืบต่อทางมโนทวารวิถี ไม่ได้ปรากฏเลย ขณะที่กำลังเห็นแล้วก็คิด ทุกคนรู้ว่า คิดไม่ใช่เห็น เพราะถึงไม่เห็นก็คิดได้ แต่รู้ลักษณะของมโนทวารวิถีจิตที่คิดไหมว่า ไม่ใช่จักขุทวารวิถีที่กำลังเห็น กำลังมีสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นอารมณ์ ผู้รู้ทรงแสดง แต่ผู้ที่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ สามารถที่จะรู้อย่างนี้หรือเปล่า
เพราะฉะนั้น ไม่สามารถที่จะบอกได้ใช่ไหมว่า ขณะนี้จิตเห็น เห็น แล้วก็หมดวาระของจักขุทวารวิถี เพราะว่ารูปดับไป ภวังคจิตเกิดคั่นก็ไม่รู้ มโนทวารวิถีจิตซึ่งรู้อารมณ์เดียวกับจักขุทวารวิถีก็รับรู้สืบต่อ แล้วก็มีจักขุทวารวิถีอีก มีมโนทวารวิถีอีก เกิดสลับกันเร็วมาก แต่ก็ไม่ปรากฏความขาดตอนของจักขุทวารวิถีเลย
เพราะฉะนั้น ถามว่าเหมือนกันไหม คำตอบคืออะไร มีอะไรจะต่างให้รู้ หรือทางปัญจทวาร หรือทางจักขุทวารกับมโนทวาร
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ ไม่มี เพราะฉะนั้น คำตอบคือ
ผู้ฟัง จะบอกว่าเหมือนกัน
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่ตอบว่าเหมือนกัน หมายความว่าต้องมีความต่างปรากฏ
ผู้ฟัง เพราะว่าจากการศึกษา เคยได้ฟังมาว่า รูปที่ปรากฏทางจักขุทวาร โสตทวาร หรือว่าปัญจทวารทั้ง ๕ ดับไปก่อนแล้ว แล้วหลังจากนั้นมีภวังคจิตคั่น แล้วถึงจะไปเกิดทางมโนทวาร
ท่านอาจารย์ ไม่ได้เกิดทางมโนทวาร มโนทวารวิถีจิตรับรู้ต่อ
ผู้ฟัง รับรู้ต่อโดยมีรูปที่ดับไปแล้วเป็นอารมณ์
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง
ผู้ฟัง แต่ว่าความชัดแจ้งในการที่จะรู้จากรูปในวิถีต้นๆ ทางมโนทวาร จะชัดเจนเท่ากับขณะที่ประจักษ์ทางปัญจทวารทั้ง ๕ ตรงนั้นเลยจริงๆ หรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ขณะนี้เป็นอย่างไรปัญญา ที่รู้แจ้งก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลง คือรู้สิ่งที่เป็นอย่างนี้ในขณะนี้นั่นเอง
ผู้ฟัง ทั้งรูปธรรม และนามธรรมที่ปรากฏทางมโนทวารก็จะคิดว่าแยกขาดจากกันไม่
ท่านอาจารย์ โดยเฉพาะปัญญาสามารถที่จะรู้รูปนั้นได้ทางมโนทวาร ลองคิดดู เป็นปัญญาที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดสืบต่อจากทางจักขุทวาร หรือว่าโสตทวาร ทวารหนึ่งทวารใดใน ๕ ทวาร กับขณะที่ไม่มีปัญญา เพราะฉะนั้น ความต่างอยู่ที่ไหน
ผู้ฟัง ความต่างกันก็คือรู้ชัดในรูปธรรม และนามธรรมที่ปรากฏทางมโนทวารได้อย่างชัดเจน โดยรูปที่ปรากฏทางมโนทวารนั้นก็ชัดเจนได้เท่าๆ กับรูปที่ปรากฏทางปัญจทวารด้วย
ท่านอาจารย์ สืบต่อจากทางปัญจทวาร
ผู้ฟัง ที่อาจารย์บอกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เป็นธรรม เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เป็นเรื่องปกติ เรื่องปกติในที่นี้หมายถึง ในโลกบัญญัติ
ท่านอาจารย์ โลกบัญญัติ คืออะไร
ผู้ฟัง ในชีวิตประจำวันที่เห็น
ท่านอาจารย์ ชีวิตประจำวันเป็นธรรมทั้งหมดเลย
ผู้ฟัง วิชชาทั้งหมด คือ อกุศล ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ อวิชชา ความไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรม เป็นปัจจัยให้เกิดอกุศลทุกประเภท
ผู้ฟัง อวิชชาหรือ ต้องละด้วยวิชชา
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง
ผู้ฟัง หนูถามไป ข้อที่ ๓. วิริยะกับขันติ อาจารย์บอกว่า ใช้ไม่ได้ จะนำไปใช้ไม่ได้เพื่อกั้นกิเลส
ท่านอาจารย์ นำไปจากไหน เอามาจากไหน
ผู้ฟัง ไม่พอใจก็กั้นไว้ กั้นได้ แต่เวลามีเหตุเกิดซ้ำๆ ขึ้นมา เรากั้นไม่ได้
ท่านอาจารย์ เรากั้นไม่ได้ เพราะอะไร
ผู้ฟัง เพราะว่าโกรธ
ท่านอาจารย์ เพราะไม่ใช่เรา หรือว่ายังเป็นเราแต่กั้นไม่ได้ หรือว่าที่กั้นไม่ได้ เพราะไม่ใช่เรา ไม่มีเรา เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้น แล้วแต่ว่าขณะนั้นจะมีระดับไหน
ผู้ฟัง ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นกับเรา แล้วเราก็เหมือนมีอะไรที่เฝ้ารู้อยู่ภายในแล้วเหมือนว่าเฝ้าดูอยู่ตลอดเวลา
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 301
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 302
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 303
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 304
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 305
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 306
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 307
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 308
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 309
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 310
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 311
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 312
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 313
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 314
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 315
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 316
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 317
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 318
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 319
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 320
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 321
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 322
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 323
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 324
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 325
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 326
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 327
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 328
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 329
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 330
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 331
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 332
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 333
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 334
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 335
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 336 ***
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 337
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 338
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 339
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 340
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 341
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 342
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 343
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 344
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 345
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 346
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 347
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 348
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 349
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 350
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 351
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 352
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 353
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 354
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 355
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 356
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 357
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 358
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 359
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 360