ปกิณณกธรรม ตอนที่ 336
ตอนที่ ๓๓๖
สนทนาธรรม ที่ โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า
พ.ศ. ๒ ๕๔๗
อีกข้อความหนึ่ง
บุคคลใดโง่ย่อมสำคัญความที่ตนเป็นคนโง่ บุคคลนั้นจะเป็นบัณฑิตเพราะเหตุนั้นได้บ้าง ส่วนบุคคลใดเป็นคนโง่ มีความสำคัญว่าตนเป็นบัณฑิต บุคคลนั้นแลเราเรียกว่าคนโง่
ข้อความต่อไป
อย่าดูถูกบุญเล็กน้อยว่าจะไม่สนองผล น้ำตกจากเวหาทีละหยาดๆ ยังเต็มตุ่มได้ นักปราชญ์สะสมบุญทีละเล็กทีละน้อยย่อมเต็มด้วยบุญได้เช่นกัน
ความเข้าใจธรรมในวันนี้อาจจะไม่มาก ทีละเล็กทีละน้อย แต่เมื่อฟังแล้วพิจารณาต่อไป เทียบเคียงกับสิ่งที่มีจริงๆ ซึ่งเกิดกับตน และก็สามารถที่จะเข้าใจได้ยิ่งขึ้น เพราะว่าเราจะไปเข้าใจธรรมอื่นที่ไม่เกิดได้ไหมที่ไม่ปรากฏกับเรา ก็ไม่ได้ แต่ว่าสิ่งใดที่มีกับเราทุกวัน แล้วก็ยังไม่เข้าใจเลย แต่เวลาที่ได้ฟังแล้วก็รู้ว่า สิ่งนี้ได้ทรงแสดงไว้อย่างนี้ เป็นจริงอย่างนี้ เช่นพูดถึงเรื่องจิต สภาพธรรมที่มี เป็นการยาก ไม่ใช่เป็นการง่ายเลย ที่เราจะสามารถรู้ลักษณะของสภาพซึ่งไม่มีสีสันใดๆ ไม่มีรูปร่างสัณฐานใดๆ ไม่ปรากฏเลย นอกจากเป็นสภาพที่เห็น หรือว่าได้ยิน หรือสามารถที่จะรู้ สามารถที่จะคิดนึกได้ ซึ่งกำลังมีจริงๆ เราก็เริ่มที่จะเข้าใจว่าสิ่งที่มี และเคยเป็นเรา แท้ที่จริงก็เป็นสภาพธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ว่า เป็นธรรมที่เป็นนามธรรม เป็นสภาพธรรมที่เมื่อเกิดแล้ว ก็สามารถที่จะรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่กำลังปรากฏ
เพราะฉะนั้นสิ่งทั้งหลายที่ปรากฏในชีวิตทั้งหมดเพราะจิตรู้ ถ้าจิตไม่รู้สิ่งนั้นจะปรากฏไม่ได้เลย เช่น เสียง ลองคิดดีๆ เสียงก็มี แต่ปรากฏหรือไม่ปรากฏ ถ้าจิตไม่รู้ขณะใด เสียงนั้นก็ไม่ปรากฏ แต่ที่เสียงในขณะนี้ปรากฏได้ ไม่ใช่เพราะเรา แต่เป็นเพราะเป็นธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อเกิดแล้ว ก็แล้วแต่ว่าขณะนั้นจะได้ยินเสียง หรือว่าจะเห็น หรือจะได้กลิ่น จะลิ้มรส จะรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส จะคิดนึก วันทั้งวันก็เป็นธรรมทั้งหลายนั่นเอง ค่อยๆ พิจารณาค่อยๆ เข้าใจถูก แล้วก็ฟังพระธรรมด้วยการไตร่ตรอง และเมื่อมีความเข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ เพิ่มขึ้น ก็รู้ว่าจะนำไปสู่การที่สามารถจะรู้ยิ่งขึ้น จนกระทั่งประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏตามความเป็นจริง เมื่อนั้นก็จะไม่หลงไปตามวาทะของคนอื่นได้ นี่คือประโยชน์จริงๆ จากชาตินี้ ซึ่งก็จะสืบต่อไปถึงชาติหน้าด้วย มิฉะนั้นถ้าหลงไปตามวาทะของคนอื่น ไม่ได้เข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ และชาติหน้าก็เป็นคนหลงต่อไปอีก คือทั้งที่มีสิ่งที่ปรากฏตามความเป็นจริงตลอดชีวิต ก็ไม่ได้เข้าใจตามความเป็นจริง ก็จะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ
เพราะฉะนั้นประโยชน์สูงสุดก็อยู่ที่แต่ละท่านเอง ที่เมื่อฟังแล้ว ก็ต้องเป็นผู้ที่พิจารณาไตร่ตรอง จนกระทั่งเป็นความเข้าใจของตัวเอง
ผู้ฟัง เกี่ยวกับธรรม เช่น การกำหนดทันอารมณ์ การกำหนดทันอารมณ์ก็คือการพิจารณาสภาพธรรมที่มีอยู่ในปัจจุบัน ถูกต้องหรือไม่ เช่นอารมณ์โกรธ และอารมณ์หงุดหงิด เมื่อปรากฏแก่สภาพจิตก็รู้ทัน แล้วก็รู้โทษ หรือว่าได้กลิ่นที่ได้ดี กลิ่นดีกลิ่นไม่ดีก็รู้ว่าเป็นวิบากที่ดีหรือไม่ดี นี่เป็นความเข้าใจที่ถูกต้องหรือไม่
ท่านอาจารย์ นี่ก็เป็นเรื่องที่ละเอียด ต้องรู้ว่าขณะนั้นเป็นตัวตนหรือเปล่า เป็นเราที่จะทันหรือเปล่า เพราะว่าจริงๆ แล้ว คงจะไม่ได้มีใครคิดถึงว่าการศึกษาพระธรรม เพื่อละ เพื่อละความไม่รู้ เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหมด จนกระทั่งต่อไป สำหรับผู้ที่จะเป็นพระอรหันต์ ต้องละแม้กุศล นี่ก็แสดงให้เห็นถึงความละเอียดหรือความบริสุทธิ์ของจิตซึ่งปราศจากกิเลสตามลำดับขั้น เพราะฉะนั้นต้องเข้าใจว่า ไม่ใช่มีการที่จะให้บุคคลหนึ่งบุคคลใด มีความเป็นตัวตนที่จะทำเพื่อที่จะได้สิ่งหนึ่งสิ่งใด เพราะนั่นเป็นหน้าที่ของโลภะ ซึ่งกระทำอยู่แล้วเป็นปกติ ถ้าไม่ต้องการสิ่งนี้ก็ต้องการสิ่งอื่น เช่นต้องการผล ถ้านั่งไปแล้วจะเป็นยังไง และก็ต้องทันอะไร แต่ทั้งหมดขณะนั้น เป็นความรู้ ความเห็นถูกในสิ่งที่กำลังปรากฏหรือเปล่า โดยเฉพาะคือในขณะนี้ เพราะเหตุว่าขณะที่ล่วงไปแล้ว ก็หมดไปแล้วไม่มีทางที่จะทำให้สิ่งนั้นมาปรากฏเป็นสัจธรรมคือการเกิดดับได้ เพราะหมดสิ้นไปแล้ว และสิ่งที่ยังไม่มาถึงก็ยังไม่มาถึง ที่จะให้รู้ว่าความจริงของสิ่งนั้นคืออย่างไร แต่เดี๋ยวนี้ขณะนี้ สิ่งที่กำลังมี ผู้ที่ได้ตรัสรู้ และทรงแสดงก็แสดงว่า เป็นสภาพธรรมที่เกิดตามปัจจัย แต่ละคนไม่อยากจะมีอกุศลประเภทนั้นๆ เลย แต่ทำไมมี ไม่อยากจะคิดในสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ แต่ทำไมคิด เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้คะว่าสภาพธรรมทั้งหลาย ไม่ใช่เกิดมา แล้วให้มีความเป็นตัวตนที่จะไปชอบ ไปรัก ไปชัง ในสิ่งนั้น แต่ประโยชน์สูงสุดคือสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ เมื่อได้ฟังพระธรรมแล้วก็สามารถที่จะเข้าถึงความเป็นอนัตตา
เพราะฉะนั้นต้องเป็นเรื่องละโดยตลอด ไม่ใช่เรื่องส่งเสริมให้กระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด เพื่อความจะได้สิ่งหนึ่งสิ่งใดด้วยความเป็นเรา แต่ไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้นไม่ควรที่จะไปคิดถึงเรื่องจะทำ เรื่องจะทัน เรื่องที่จะได้ผล แต่ควรที่จะเข้าใจถูกว่า แม้ว่าฟังพระธรรมมานานสักเท่าไรก็ตาม แต่ขณะนี้ก็ยังเป็นเราหรือเปล่าที่กำลังเห็น เพราะว่าทุกคนนั่ง แล้วก็ได้ยิน แล้วก็คิด แล้วก็เห็น ขณะที่เห็น ไม่รู้เนื้อรู้ตัวเลยว่า ตามความเป็นจริงแล้วก็ยังมีความไม่รู้ความจริงของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏทั้งหมดเลย เพราะฉะนั้นแทนที่จะไปคิดว่าจะทำ ซึ่งภาษาบาลีใช้คำว่าปฏิปัตติ ทำให้คนไทยเราใช้คำว่า ปฏิบัติ แต่เข้าใจผิดในภาษาไทย เพราะเห็นว่า พอใช้คำว่าปฏิบัติ เราก็คิดถึงทำทันที แต่ความจริงปฏิบัติ ปฏิ แปลว่า เฉพาะ ปัตติ แปลว่า ถึง ขณะนี้มีสภาพธรรม ปฏิปัตติไม่ใช่เรา แต่ต้องเป็นปัญญาที่มีความเข้าใจถูก มีความเห็นถูก พร้อมด้วยสติสัมปชัญญะที่รู้ตรงลักษณะนั้น นั่นคือการปฏิบัติ ถึงเฉพาะสภาพธรรมนั้นโดยสภาพธรรมฝ่ายกุศลไม่ใช่เรา ต้องมีความเข้าใจถูกจริงๆ เพื่อที่จะละคลายความไม่ใช่เรา มิฉะนั้นเราก็หลงตามวาทะที่จะเพิ่มพูนความเป็นเรา ทำมากเลย ได้อะไร ขณะนี้สิ่งที่กำลังปรากฏก็ไม่เคยรู้เลยว่าสติสัมปชัญญะที่ระลึกตรงลักษณะของสภาพธรรม คืออย่างไร และการที่จะค่อยๆ รู้ค่อยๆ เห็นถูก อย่าดูถูกบุญเล็กน้อยว่าจะไม่ให้ผล น้ำตกจากเวหาทีละหยาดๆ ก็เป็นตุ่มได้ เพราะฉะนั้นชั่วขณะที่เข้าใจถูก ในหนทางที่รู้ว่าต้องเป็นจิรกาลภาวนา เป็นการอบรมที่เป็นระยะยาวนานมาก ซึ่งทุกคนก็รู้ เพราะความเป็นผู้ตรงว่า เป็นเรื่องของปัญญาที่จะละกิเลสได้ ต่อเมื่อเห็นถูกจริงๆ แทงตลอดในลักษณะของสภาพธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง ซึ่งบุคคลอื่นไม่สามารถที่จะแสดงได้เลย ในครั้งที่พระผู้มีพระภาคยังไม่ทรงตรัสรู้ ก็มีผู้ที่เห็นกิเลส พยายามหาทางที่จะละกิเลส อบรมเจริญความสงบของจิต เจริญกุศล จนกระทั่ง สมาธิปรากฏพร้อมกับความสงบมั่นคงถึงขั้นอัปปนาสมาธิ ถึงขั้นรูปฌานอรูปฌาน ก็ไม่ได้รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง นี่แสดงให้เห็นถึงความต่างของปัญญา กับสภาพที่ไม่ใช่ปัญญา จะเอาศรัทธามาเป็นปัญญาก็ไม่ได้ ศรัทธาเป็นสภาพจิตที่ผ่องใส ขณะนั้นปราศจากอกุศล จิตที่สงบจากอกุศลก็มีศรัทธา แต่ปัญญาก็ไม่ใช่ศรัทธา
เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้ว่า การฟังธรรม ฟังอย่างละเอียดเพื่อประโยชน์ของเราในชาตินี้ ซึ่งไม่ทราบว่ามีโอกาสจะได้ฟังอีกมากน้อยเท่าไหร่ แต่ถ้าฟังสิ่งที่ถูก มีความเห็นถูก มีความเข้าใจถูก ก็จะสะสมสืบต่อไป เพราะยังไงก็ยังไม่ออกจากสังสารวัฏง่ายๆ เพราะตราบใดที่ยังไม่รู้แจ้งอริยสัจธรรม ยังไม่เป็นพระโสดาบัน ซึ่งพระโสดาบันจะมีการเกิดอีก ๗ ชาติ เพราะฉะนั้นผู้ที่ไม่ใช่พระโสดาบันนี้ก็นับชาติไม่ถ้วนเหมือนที่แล้วมา แต่ว่าถ้าค่อยๆ อบรมไป ในที่สุดสภาพธรรมที่มีอยู่ แล้วเป็นความจริงเดี๋ยวนี้ ขึ้นอยู่กับปัญญาที่สามารถเข้าถึงลักษณะของสภาพธรรมนั้นหรือไม่ เพราะเหตุว่าแม้ว่าสิ่งที่มีอยู่ก็จริง อวิชชาไม่สามารถที่จะเห็นตามความเป็นจริงได้
เพราะฉะนั้นก็เริ่มเห็นความต่างของสภาพธรรมที่มีจริงๆ ในชีวิตประจำวันแล้วก็จะรู้ว่า การอบรมเจริญปัญญาจริงๆ ต้องเป็นเรื่องละ ถ้าเกิดความต้องการสักนิดสักหน่อย จะทำตามที่บอกให้กำหนดหรืออะไรก็ตามแต่ แต่กำหนดอะไร ถ้าไม่ใช่ปัญญาก็คือไม่เข้าใจ แต่ถ้าเป็นปัญญาจะใช้คำว่ากำหนดทำไม ในเมื่อขณะนี้มีสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ จะใช้คำว่า ไม่ทันทำไม โดยขณะนี้สภาพธรรมเกิดดับเร็วมาก จะไปทันอันไหน ก็แล้วแต่ สภาพธรรมที่ดับไปแล้วก็ไม่มีทางที่จะไปทันได้ แต่ขณะใดที่สภาพธรรมปรากฏมีลักษณะให้สามารถเข้าใจถูกได้ ก็เริ่มสะสมค่อยๆ เข้าใจความเห็นถูก ขณะนั้นจะรู้ว่าเป็นความรู้อีกขั้นหนึ่งซึ่งไม่ใช่ฟัง ไม่ใช่อ่าน ไม่ใช่คิด แต่กำลังมีลักษณะของสภาพธรรมให้เข้าใจ อันนี้ก็เป็นสิ่งที่จะต้องอบรม เพื่อละ หนทางที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมต้องเป็นหนทางละโดยตลอด
ผู้ฟัง อยากขอความเข้าใจให้ชัดเจน ที่จริงไม่ต้องผม ผมเชื่ออยู่แล้วชัดเจนว่า สิ่งที่เรากำลังเดินอยู่เดี๋ยวนี้ถูกต้อง เพียงแต่เราผมเองตามไม่ทันเท่านั้นเอง
ท่านอาจารย์ ทำไมคุณเด่นพงษ์ยกปัญหานี้ขึ้นมา เพราะเหตุว่าก็มีผู้ที่ศึกษาพระธรรมไม่ใช่ว่าไม่ได้ศึกษา ศึกษาพระอภิธรรมด้วย แต่เหตุใดเวลาที่จะอบรมเจริญปัญญา จึงไม่ตรง แต่ว่าคนที่จะรู้ว่าตรงหรือไม่ตรง ต้องเป็นผู้ที่พิจารณาแล้วก็เข้าใจจริงๆ ตั้งแต่คำแรกจนถึงคำสุดท้าย เช่น คำว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ลืมไม่ได้เลย เพราะว่าถ้ามีตัวเราอยู่ตราบใด ที่ต้องการผล ต้องการปฏิบัติ นั่นคือผิดแล้ว ไม่ได้เข้าใจตามความเป็นจริงเลยว่า แม้คำว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา เราเข้าใจคำนี้จริงๆ หรือเปล่า แต่ว่าเรารีบร้อนไปทำอย่างอื่นเพื่อตัวเรา ที่จะให้เห็นความเป็นอนัตตา แต่เรา ความเห็นผิดว่าเป็นเรา ไม่สามารถที่จะเห็นธรรมได้เลย เพราะเหตุว่าเป็นความเห็นผิด เป็นเรา แต่ต้องเป็นเรื่องของปัญญา ซึ่งต้องเข้าถึงแม้ความหมายของคำว่า ปัญญา ปัญญามีจริงๆ แต่คนไทยเราก็ใช้คำภาษาบาลีง่ายๆ อาจจะใช้คำว่าปัญญาทางโลก ปัญญาทางธรรม ปัญญาโน่น ปัญญานี่ แต่ปัญญาจริงๆ แล้ว ถ้าเป็นโลกิยปัญญา หมายความถึงปัญญาที่สามารถเห็นถูกเข้าใจถูกในสภาพธรรมที่กำลังเกิดดับ เพราะว่าโลกน์หรือโลก หมายความถึงสภาพที่เกิดดับ เพราะฉะนั้นถ้าไม่ใช่ความเห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดดับจะชื่อว่าโลกียปัญญาไม่ได้ เราพูดเองเข้าใจเอง โดยที่ไม่ได้ศึกษาเลย เพราะฉะนั้นก็จะมีการใช้ภาษาบาลี ในภาษาไทยต้องใช้คำว่าในภาษาไทย เพราะเหตุว่าความหมายไม่ตรงกับความหมายที่ทรงใช้ในการแสดงธรรม เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้ว่า แม้แต่คำว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา เราทิ้งไม่ได้เลย เราก็ต้องพยายามเข้าถึงความหมายนี้ ว่าเป็นอนัตตา ต้องเป็นอนัตตาโดยตลอด เช่นเห็นในขณะนี้ ใครบังคับได้ ใครทำให้เกิดได้ นี่ก็คือเราไม่ได้มีการพิจารณาไตร่ตรองธรรมแม้เป็นธรรมดาว่าเป็นอนัตตา เสียง มีจริงๆ เสียงที่จิตได้ยินก็เป็นธรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นอนัตตา เพราะเหตุว่าเราเลือกได้ไหมที่เราจะไม่ได้ยินเสียงนั้นไม่ได้ยินเสียงนี้ เลือกไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นเมื่อมีการฟังแล้วก็มีความเข้าใจความเป็นอนัตตายิ่งขึ้น ก็จะทำให้ไม่มีการเห็นผิดหรือว่าเข้าใจผิด ในหนทางที่จะอบรมปัญญา ให้เห็นถูกต้องในความเป็นอนัตตาของสภาพธรรมยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นไม่ใช่มีการที่เป็นเราเป็นตัวตน แล้วก็จะไปทำสิ่งที่ตรงกันข้ามกับสิ่งซึ่งได้ทรงแสดงไว้แม้เพียงข้อความประโยคเดียวหรือบทเดียวที่ว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา เป็นเรื่องของผู้ฟัง ที่จะต้องไตร่ตรองพิจารณาด้วยความละเอียด ด้วยความรอบคอบจริงๆ เพื่อที่จะมีตนเป็นที่พึ่ง เราจะพึ่งใคร พึ่งคนอื่นพึ่งได้ไหม เราพึ่งพระธรรมที่ทรงแสดง เป็นสรณะที่จะทำให้เรามีความเห็นถูก แต่ถ้าไม่ได้มีการพิจารณาไตร่ตรองให้เข้าใจให้เป็นความเห็นถูกจริงๆ พระธรรมที่ทรงแสดงจะเป็นที่พึ่งของเราได้ไหม เพราะฉะนั้นที่พึ่งจริงๆ ก็คือว่า เมื่อได้ฟังพระธรรมแล้ว ความเห็นถูกเป็นที่พึ่งของเรากุศลจิตที่เกิดร่วมกับปัญญา ก็จะเป็นที่พึ่ง เพราะว่าอย่างอื่นเราจะพึ่งได้ยังไง อกุศลพึ่งไม่ได้ มีมากเท่าไรก็ไปสู่อบายภูมิ ถ้าเป็นกุศลก็ทำให้วนเวียนอยู่ในสังสารวัฎ เหมือนกับอยู่ในโลกที่มืดสนิท เพราะเหตุว่า เกิดมาแล้วกี่ชาติ ก็จากไปแต่ละชาติ แล้วก็สุขทุกข์ไปแต่ละชาติ โดยที่ไม่รู้ความจริงเลยว่า แท้ที่จริงไม่มีเรา เพราะฉะนั้นกว่าที่จะออกจากสังสารวัฎซึ่งนานแสนนาน และบางคนก็บอกว่า ยังไม่อยากออก ก็ไม่ใช่จะไปบังคับ ไปเชิญชวนชักชวนใครให้รีบออก แต่ว่าให้สะสมปัญญา ความเห็นถูก ความเข้าใจถูกในสภาพธรรมที่มีจริงๆ จนกระทั่งเป็นสัจจญาณ เป็นความมั่นคงของปัญญาที่สามารถเข้าใจถูกได้ว่า ขณะนี้เป็นธรรม แล้วก็เป็นอนัตตา และการฟังที่เริ่มจะเข้าใจขึ้น ไม่ต้องไปคำนึงถึงเรื่องอื่นเลย แต่ว่าปัญญาที่ค่อยๆ เกิดขึ้นจะสะสมไป แล้วก็จะไม่ทำให้เข้าใจผิด และสามารถที่จะรู้ได้ว่า แม้ศึกษาไตรปิฏกก็จริง เข้าใจผิดได้ เพราะเหตุว่าเมื่อมีความเป็นเรามีความเป็นตัวตน ลืมว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา เพราะเหตุไม่ได้สะสมความเห็นถูกความเข้าใจถูกในธรรมจริงๆ จนพอเพียง ที่จะรู้ว่าเป็น อนัตตา แม้ขั้นการฟัง เพราะว่าบางคนก็จะบอกว่า ถ้าอย่างงั้นก็ปล่อยไป คำพูดนี้เป็นปัญญาหรือเป็นตัวตน ที่ปล่อยนั้นเป็นเราแล้ว ไม่ได้มีความเห็นถูกเลยว่า ปล่อยอะไร ขณะนี้จะปล่อยอะไร สภาพธรรมทุกอย่างเกิดแล้วทั้งนั้นจึงได้ปรากฏ จะปล่อยอะไร มีใครไปปล่อยอะไรได้
นี่ก็คือ ต้องฟังจนกระทั่งเป็นความเข้าใจที่ค่อยๆ กันความเห็นผิด ไม่หลงตามวาทะที่ผิดได้ เพราะฉะนั้นก็เป็นเรื่องที่ว่า ไม่ใช่เชื่อตามมาบุคคลนี้ได้ศึกษาพระอภิธรรมแล้ว เพราะฉะนั้นคำสอนในเรื่องของการอบรมเชิญปัญญาหรือเรื่องใดๆ ก็ตามก็จะถูกต้อง ต้องพิจารณาแต่ละคำนั้นด้วยว่าสอดคล้องกันหรือเปล่า ถ้าสอดคล้องในความถูกต้อง ก็จะทำให้มีตนเป็นที่พึ่งได้ในทุกชาติ
ผู้ฟัง สภาพรู้ สภาพประจักษ์ เป็นธาตุ เป็นสิ่งที่มีจริง เหมือนดอกบัวบานเองใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ถ้าบอกว่าสภาพรู้เหมือนดอกบัวบาน กับบอกว่าขณะนี้มีธรรมที่ไม่มีรูปร่างเลย สีสันวรรณะกลีบดอกไม้ก็ไม่มี แต่เป็นสภาพที่มีจริง เพราะเหตุว่าสามารถที่จะเห็น ถ้าธาตุนี้เกิดขึ้นเมื่อไหร่ต้องเห็น เพราะฉะนั้นคนที่ตายแล้ว ไม่มีธาตุนี้ เพราะฉะนั้นจึงไม่สามารถเห็นสิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้นกำลังกล่าวถึงสภาพธรรมอย่างหนึ่งซึ่งมีจริง เมื่อมีเหตุปัจจัยที่เหมาะสมควรแก่สภาพธรรมนั้นจะเกิด สภาพธรรมนั้นก็เกิดแล้วก็ดับไป เพื่อที่จะให้รู้จริงๆ ว่าเป็นสภาพธรรมแต่ละอย่าง ซึ่งไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของเรา
ผู้ฟัง เคยมองสภาพว่าเราไปติดอยู่ในสภาพของบัญญัติ ไม่ติดอยู่ในสภาพปรมัตถ์ อ่านหนังสือของอาจารย์ที่พิมพ์ไว้ว่า ปรมัตถธรรมสังเขป อ่าน ๕ - ๖ เที่ยว อ่านจบผมก็ดีใจมาก แต่มานึกอีกทีว่า เราอ่านยังไง สภาพต่างๆ เกิดขึ้นมาแล้วไม่รู้ ไม่รู้จากตัวหนังสือ ผมเข้าไปผ่านใหม่ พออ่านใหม่มาถึงอีก ๑๐ กว่าหน้า บอกว่าเป็นกาล และเวลา เป็นโอกาสหรือปัจจัย มันจะเป็นสภาพนี้หรือไม่
ท่านอาจารย์ ขณะนี้กำลังเห็น ถ้าเข้าถึงความจริงก็คือว่าไม่มีเรา แต่มีธาตุที่เกิดแล้วเห็น แล้วก็ดับไป
ผู้ฟัง คือตอนนี้เราจะมองว่าจะเป็นสภาพธาตุ ที่เราจะไปใช้ปัญญาตรงไหนมอง
ท่านอาจารย์ คงจะใช้ปัญญาไม่ได้ แต่อบรมเจริญปัญญาให้เจริญขึ้นเพิ่มขึ้น เพื่อที่จะได้รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง
ผู้ฟัง ขอถามว่า เหมือนผลมะม่วง ถ้ามันมันสุก แล้วมันก็หวานเองหอมเอง มันก็คงจะสุกเอง เป็นอย่างนี้ใช่หรือไม่
ท่านอาจารย์ เมื่ออบรมใช้ปัญญา และรู้แจ้งสภาพธรรม
ผู้ฟัง อันนี้เป็นสภาพนี้ใช่หรือไม่
ท่านอาจารย์ ก็แล้วแต่จะเปรียบเทียบกับอะไร แต่ว่าต้องเข้าถึงลักษณะของสภาพธรรมนั้นซึ่งไม่ใช่รูปธรรม
ผู้ฟัง เพราะอย่างคำว่า อภิธรรม เป็นอุปนิสัยยากที่คนธรรมดาจะเข้าใจ งั้นผมว่าผมไปเปรียบว่าเป็นดอกบัว ได้หรือไม่
ท่านอาจารย์ ทำไมถึงจะเปรียบ
ผู้ฟัง ก็คือว่าจะต้องเป็นสภาพที่เห็นด้วยตัวของตัวเอง
ท่านอาจารย์ อันนั้นถูกต้องคือ ความเข้าใจถูก ความเห็นถูก อีกชื่อหนึ่งของปัญญา ก็คือความเข้าใจถูก ความเห็นถูก
ผู้ฟัง คำถามอีกท่านหนึ่ง ขณะนี้คิดว่ารู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลาเช่นเดินก็รู้ตัวว่าเดิน ล้างจานก็รู้ตัวว่าล้างจาน บางครั้งก็เผลอบ้าง ทำเช่นนี้ถูกต้องหรือไม่
ท่านอาจารย์ ถ้าถูกต้องหรือไม่ ถ้าถามอย่างนี้ก็คือไม่ถูก เพราะว่าไม่ใช่ปัญญาของตนเอง ที่เข้าใจถูก เห็นถูก ในลักษณะของสภาพธรรม
ผู้ฟัง อีกข้อหนึ่ง ขณะที่ฟังธรรมแล้วรู้สึกว่าจิตใจฟุ้งซ่านน้อยลง ความโกรธน้อยลง คิดว่าเป็นการลดอกุศลลงใช่หรือไม่ และถูกต้องหรือไม่
ท่านอาจารย์ โดยมากจะมีคำถาม แต่ว่าการฟังธรรม เพื่อให้เกิดปัญญาของตนเอง ถ้าเป็นปัญญาแล้วไม่สงสัย แล้วก็ไม่ถามด้วย เพราะว่าเป็นความเข้าใจถูก เพราะฉะนั้นฟังจนกว่าจะเป็นความเข้าใจของเราเอง แทนที่จะถาม เพราะว่าถาม และคนอื่นตอบก็ยังไม่ใช่ความเข้าใจของเราเอง ฟังไปเรื่อยเรื่อยจนกว่าจะรู้ว่าถูกคืออย่างนี้ สภาพธรรมเป็นอย่างนี้ เริ่มค่อยๆ เข้าใจขึ้น ถึงจะไปถามคนอื่นแล้วเขาบอกว่าไม่ใช่ แต่ความจริงความเข้าใจของแต่ละบุคคลก็ยังคงเป็นความเข้าใจ ถ้าก็ถูก แม้คนอื่นจะบอกว่าไม่ถูก ก็ไม่จริง แต่ถ้าไม่ถูก แม้ให้คนอื่นจะบอกว่าถูก ก็ไม่จริง เพราะฉะนั้นการฟังธรรม เป็นเรื่องที่ตรง ที่จะต้องเริ่มเป็นผู้ตรงที่จะรู้ว่า มีความเข้าใจในสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง และก็มีสภาพธรรมจริงๆ กำลังพูดเรื่องจริงในขณะนี้ให้เข้าใจขึ้น แล้วก็ถ้าเข้าใจเมื่อไหร่ ขณะนั้นก็เป็นความเห็นถูกความเข้าใจถูก ซึ่งถ้าเข้าใจถูกแล้วก็จะไม่ถามใครอีกเหมือนกัน
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นในขณะนี้ เราถูกจูงไปในวาทะของคนอื่นหรือยัง โดยทั่วไปส่วนรวม
ท่านอาจารย์ แต่ละคนก็ตอบ
ผู้ฟัง หมายความว่าเป็นของแต่ละคนใช่ไหม จะเหมาไม่ได้ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ แน่นอน แล้วจะไปตอบแทนคนอื่นตอบไม่ได้แน่
ผู้ฟัง ตอนช่วงเช้า ก็มีการสนทนากันในเรื่องลักษณะเหมือนกับว่า ผู้ที่มาฟังธรรมที่นี่ ที่สนใจที่ท่านอาจารย์บรรยาย เหมือนกับว่ายังคลุมเครืออยู่ว่าอาจจะถูกหรือไม่ แต่สำหรับดิฉันมีความคิดว่า ท่านที่มาที่นี่เริ่มเข้าใจแล้วว่า ความต่างกันที่ท่านอาจารย์ได้นำคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ และท่านอาจารย์ก็นำมาบรรยาย คิดว่าตรงนี้เป็นช่องทางที่เขาคิดว่า ใช่แล้วนะ สำหรับดิฉันคิดอย่างนี้
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 301
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 302
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 303
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 304
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 305
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 306
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 307
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 308
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 309
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 310
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 311
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 312
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 313
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 314
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 315
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 316
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 317
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 318
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 319
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 320
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 321
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 322
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 323
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 324
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 325
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 326
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 327
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 328
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 329
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 330
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 331
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 332
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 333
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 334
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 335
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 336
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 337
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 338
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 339
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 340
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 341
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 342
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 343
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 344
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 345
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 346
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 347
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 348
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 349
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 350
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 351
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 352
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 353
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 354
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 355
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 356
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 357
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 358
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 359
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 360