ปกิณณกธรรม ตอนที่ 343
ตอนที่ ๓๔๓
สนทนาธรรม ที่ จ.เชียงใหม่
พ.ศ. ๒๕๓๔
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ได้พยายามเน้น ในเรื่องของการศึกษาเอาไว้มาก โดยเฉพาะถ้ามีโอกาสทั้งอ่าน ทั้งฟัง ทั้งสนทนา ทีนี้สำหรับผู้ที่สนใจในเรื่องของการอบรมเจริญสติปัฏฐาน แต่ว่าการศึกษาในเรื่องของจิต เจตสิก รูป หรือว่าฟังเรื่องจิต เจตสิก รูปน้อย โอกาสที่สติปัฏฐานจะเกิดจะเป็นไปได้ หรือว่าจะต้องฟังเรื่องจิต เจตสิก รูปให้มากๆ จนกระทั่งเป็นความเข้าใจก่อน อย่างนั้นหรือ
ท่านอาจารย์ วันนี้คุณศุกลคิดเรื่องอะไร
ผู้ฟัง คิดทุกเรื่องที่เห็น ที่ได้ยิน
ท่านอาจารย์ แล้วคิดเรื่องอะไรอีก
ผู้ฟัง แล้วคิดถึงเรื่องที่จะต้องทำต่อไปข้างหน้า
ท่านอาจารย์ คิดเรื่องอะไรอีก
ผู้ฟัง แล้วก็คิดถึงว่าพรุ่งนี้แต่เช้า เที่ยง เย็น ทำอะไรต่อไป
ท่านอาจารย์ เพราะว่าเป็นเรื่องที่อยู่ในใจของคุณศุกล แต่ถ้าคุณศุกลฟังธรรมบ่อยๆ พิจารณาบ่อยๆ อะไรจะอยู่ในใจคุณศุกลเพิ่มขึ้น
ผู้ฟัง ทีนี้การฟัง บางครั้งก็ไม่ใช่ว่าจะได้ฟังเรื่องจิต เจตสิก รูป
ท่านอาจารย์ ไม่สำคัญเลย
ผู้ฟัง แล้วถ้าเราไม่ได้ฟังเรื่องจิต เรื่องเจตสิก เรื่องรูป เราจะพูดถึงลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ แล้วก็สติจะต้องระลึกที่ลักษณะ เพราะสติไม่ได้ระลึกที่เรื่อง ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ทีนี้คุณศุกลต้องทราบจุดประสงค์ว่า ฟังเรื่อง จิต เจตสิก รูปทำไม ถ้าฟังว่าฉันตอบได้ อัญญสมานาเจตสิกมี ๑๓ ดวง ฉันตอบได้ ว่าสัพพจิตตสาธารณเจตสิกมี ๗ ดวง ฉันตอบได้ว่าวิริยเจตสิกเกิดกับจิตกี่ดวง นี่หรือคือผลที่ต้องการ ที่ว่าฟังมากๆ
ผู้ฟัง หมายความว่าได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับสิ่งที่มันเป็นปรมัตถธรรม
ท่านอาจารย์ ด้วยเหตุนี้จึงต้องทั้ง ๓ ปิฎก แต่ละปิฎกเกื้อกูลทั้งหมด ไม่ว่าจะฟังพระสูตรก็ไม่พ้นไปจากโลภะ โทสะ โมหะ จากตัณหา จากอุปาทาน จากผัสสะ จากเวทนา ไม่ต้องเอาปฏิจจสมุปบาทมาเรียงก็ได้ เพราะฉะนั้น มันเป็นเรื่องที่ว่า เมื่อฟังอะไรแล้วก็เข้าใจ เรื่องของสภาพธรรมที่ไม่ใช่ตัวตน แล้วก็สภาพธรรมนั้นก็มีให้เราพิสูจน์ เพราะว่าทุกคนมีโลภะ ทุกคนมีเห็น ทุกคนมีได้ยิน ทุกคนมีมานะ มีความสำคัญตน เพราะฉะนั้น ธรรมใดที่จะเกื้อกูลที่จะทำให้เราละคลายด้วย เพราะเหตุว่าถึงแม้ว่าจะรู้ว่าเป็นจิต เจตสิก รูป ก็จิต เจตสิก รูป นี่ ไม่มีความคิดที่จะคลาย ที่จะละจากความเป็นตัวตน
ผู้ฟัง ฟังเรื่องรูป ก็จะต้องเข้าใจว่า รูปที่ปรากฏแต่ละทาง ก็ทำให้คิดว่า
ท่านอาจารย์ เพื่อทำให้เห็นว่าไม่เป็นตัวตน
ผู้ฟัง แล้วฟังเรื่องจิต
ท่านอาจารย์ เราไม่เอาจำนวนมานั่งนับว่าเรารู้เท่าไร แต่เราเอาประโยชน์จากการที่เราฟังแล้วเราเข้าใจ แล้วเราเกิดความเข้าใจเห็นโทษ เพราะว่ามีการสลด มีการที่จะเห็นว่า ไม่มีสาระอย่างไรบ้าง
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์พูดถึงคำว่า สลด ตรงนี้ หมายความว่า สลดอย่างไร คือเราฟังเรื่อง
ท่านอาจารย์ ไม่เห็นว่าเป็นสิ่งที่น่ายินดีอีกต่อไป พอที่จะเห็นทุกข์ขึ้นมาลางๆ หรือเห็นว่าเป็นสิ่งที่ไม่น่ายินดีลางๆ ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วก็ติดเสียเหนียวแน่น
ผู้ฟัง อย่างยกตัวอย่างเมื่อกี้ที่เราไปดูสวนดอกกุหลาบ ดอกไม้ ก็ไม่เห็นมันน่าสลดเลย กลับชื่นบาน มีเสียงชมกันใหญ่ สวยจังๆ
ท่านอาจารย์ ใช่ๆ เพราะอะไร
ผู้ฟัง เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่น่าพอใจยินดีทั้งนั้น
ท่านอาจารย์ ก็เพราะเป็นโลภะก็ทำกิจของโลภะ โลภะเกิดจะให้เขาทำหน้าที่ของสติได้อย่างไร จะให้เขาทำหน้าที่ของปัญญาได้อย่างไร โลภะเขาก็ต้องทำหน้าที่ของโลภะ เพราะฉะนั้น เรื่องของปัญญาจะค่อยๆ เกิด ค่อยๆ ปรับปรุงเหมือนไข่ที่มันจะไปเป็นขนมเค้ก ต้องอาศัยเครื่องปรุง ต้องอาศัยการอบรม อาศัยการเจริญ อาศัยเตาอบ อาศัยไฟ อาศัยอะไรตั้งหลายอย่าง แล้วเราอยู่ดีๆ เราก็จะเอาอันนี้ เฉพาะอันนี้ แล้วก็จะให้เกิดสติปัฏฐาน มันก็เป็นไปไม่ได้ มันเป็นจิรกาลภาวนาจริงๆ ใครที่บอกว่าไม่ชอบเลย ลืมไปแล้ว ที่จริงแล้วน่าจะซาบซึ้งว่า แสนจะเป็นความจริง เพราะจะสั้นหรือจะเร็วกว่านั้นไม่ได้
ผู้ฟัง แต่ที่เราพูดว่าละ หมายความว่ามันจะต้องเกิดขึ้นรุนแรง
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่
ผู้ฟัง อย่างที่เราไปดูดอกไม้ เพราะว่ามันเกิดขึ้นชัด มองเห็นชัด ทุกคนจึงรู้ว่าอันนี้เราขาดสติ
ท่านอาจารย์ ถ้าที่เขาเกิดชัด เขาเป็นอนัตตาหรือเปล่า อนัตตา รู้จริง หรือเพียงแต่รู้ตามว่าเป็นอนัตตา นี้เราพูดโดยที่เราไม่ได้รู้จริงๆ แต่พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ให้เรารู้แค่นี้ คือว่าพูดตามๆ ไป
ผู้ฟัง แต่ที่เราไปดูดอกไม้ แล้วทุกคนรู้ว่า อันนี้เราขาดสติ ไม่ได้ทำ มันเกิดขึ้นเอง เรารู้เอง
ท่านอาจารย์ แต่ขณะนั้นเพียงแต่พูด
ผู้ฟัง เรารู้ว่า บัดนี้เราเกิดโลภะ เรารู้ ไม่ได้พูด เรารู้ด้วย
ท่านอาจารย์ โลภะต้องไม่ใช่กำลังเห็น เห็นเป็นสภาพรู้ทางตาที่ไม่ใช่โลภะ
ผู้ฟัง แต่ทีนี้วิถีจิตมันเร็ว
ท่านอาจารย์ เราบอกว่าโลภะ แต่เราไม่ได้รู้ลักษณะของโลภะ เราเพียงแต่รู้ว่า กำลังมีโลภะ แต่ไม่รู้ว่าขณะไหน ตรงไหนเป็นโลภะ
ผู้ฟัง ก็มันไปเร็วมาก
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่สติปัฏฐาน ไม่ใช่การรู้จริง เพราะฉะนั้น เราไม่ต้องการเพียงว่า เราพูดตามท่าน แต่เราต้องการที่จะอบรมเจริญปัญญาจนกว่าจะประจักษ์แจ้งจริงๆ อย่างท่านที่ได้ประจักษ์แล้ว เราจะไม่อยู่ในระดับขั้นที่พูดตาม พูดตามไปกี่ชาติ ก็เท่านั้นแหละ เดินไปก็โลภะ ไอ้นี่ก็โลภะ นั่นก็โลภะ พูดทั้งวันก็ได้ ลุกขึ้นมาก็โลภะ ก็พูดได้ แล้วเกิดอะไรขึ้น คือไม่ใช่ความรู้จริง
ผู้ฟัง หมายความว่าประเด็นนี้ อาจารย์พยายามจะเน้นว่า ไม่ได้รู้จริง แต่พูดตาม
ท่านอาจารย์ แน่นอน
ผู้ฟัง ในขณะซึ่งเราจะพูดตาม เหตุการณ์ในขณะนั้น ทำไมเราจึงพูด แปลว่าเรามีปัญญาที่จะรู้ อยากจะพูด ทำไมเราไม่พูดตอนนี้ว่าเราเกิด
ท่านอาจารย์ ไม่แน่ ที่บอกว่า เรามีโลภะ เราไม่รู้ว่า เราพูดด้วยความสนุกหรือเปล่า
ผู้ฟัง ผมอยากจะถามอาจารย์อีกว่า เราไม่จำเป็นจะไปมุ่งละโลภะ แต่เรามุ่งที่จะให้เกิดปัญญาในขณะนั้น
ท่านอาจารย์ อะไรละโลภะได้
ผู้ฟัง ปัญญา
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เรื่องของปัญญา ถ้าปัญญาไม่มี ใครจะไปละโลภะ
ผู้ฟัง ไม่ใช่มุ่งละโลภะ แต่มุ่งให้เกิดปัญญา
ท่านอาจารย์ ใครจะไปละได้ ก็เรารู้อยู่แล้วว่า ปัญญาละโลภะ แต่ถ้าปัญญาไม่เกิด แล้วเราจะไปละโลภะได้อย่างไร โลภะตรงกันข้ามกับปัญญา โลภะต้องการเอาทุกอย่างติดทุกอย่าง เอาทุกอย่าง แต่ปัญญาละทั้งนั้น ละความไม่รู้ ละความคิดที่แม้ว่าอยากจะไปโน่น อยากจะไปนี่ ในเมื่อสติปัฏฐานเกิดระลึกทันที แล้วจะไปไหน จะต้องไปไหนในเมื่อขณะนี้สติเกิดแล้ว ต้องไปไหนหรือเปล่า ยังจะอยากไปไหนอีกหรือเปล่า ถ้าสติเกิด เพราะฉะนั้น ปัญญาเขาไม่กลัวอะไรเลย สามารถที่จะรู้ความจริงของทุกสิ่งทุกอย่าง ตามความเป็นจริงได้ แล้วต้องรู้ ถ้าไม่รู้ดับความสงสัยไม่ได้ นั่นแหละ เคยโลภทานไหม เพราะฉะนั้น ก็โลภปัญญาได้ ไม่มีทางเลย มีแต่โลภะ เขาจะหลอกให้เราโลภไปเรื่อยๆ แน่นอน เพราะเหตุว่าเขาพาเรามาในสังสารวัฏฏ์ จนกระทั่งมานั่งทีนี่ เดี๋ยวนี้ แล้วจะพาต่อไปอีก ถ้าเราไม่รู้จักเขา เขาเป็นนายช่างเรือน นายช่างเรือน ช่างก่อสร้าง ทำให้มีสังสารวัฏฏ์ไปเรื่อยๆ ปัญญาที่จะละออกจากสังสารวัฏฏ์ กุศลทั้งหลายค่อยๆ ช่วยกันประคองไป ทีละนิดทีละหน่อย ถ้าไม่เป็นอย่างนี้ เราจะไม่เข้าใจพยัญชนะที่เป็น โอวาทปาติโมกข์ที่ว่า ขันติเป็นตบะอย่างยิ่ง ความอดทนต่อการที่จะให้ผลเกิด เพราะไม่ได้เกิดด้วยความต้องการ หรือไม่ได้เกิดด้วยความเป็นเราที่ไปพากเพียรทำอะไร แต่เกิดเมื่อมีเหตุปัจจัยของเขา ถ้าขาดการฟัง การพิจารณาโดยแยบคาย ไม่มีทางเลย มิจฉามรรคหมดเลย
ผู้ฟัง มีความเห็นผิดต่างๆ นานา ปฏิบัติกัน แล้วทำไมท่านถึงไปละเอาตรงนั้น สะสมจริง แต่ว่ามันก็ไม่ใช่จะง่ายๆ
ท่านอาจารย์ เราถึงได้ไม่รู้จักกำลังของปัญญา คิดว่าปัญญาไม่มีกำลัง แต่ปัญญามีกำลัง ขอให้ถึงระดับขั้นของปัญญาเถอะ ปัญญามีกำลังจนกระทั่งดับกิเลสหมดเลย ไม่เหลือเลยเป็นพระอรหันต์ก็ได้ แต่ปัญญาของพระโสดาบันก็ไม่ใช่ปัญญาของพระอรหันต์ เพราะฉะนั้น กำลังของปัญญาก็ต่างขั้นกัน ปัญญาของคนที่ยังไม่ใช่พระโสดาบันก็จะเหมือนปัญญาของพระโสดาบันก็ไม่ได้ ก็ต่างขั้นกันอีก กิเลสออกสะสมมา มหาศาล ปัญญายังดับได้หมด ไม่เหลือเลย
ผู้ฟัง ปัญหาเรื่องอวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร มันเป็นปัญหาที่มักจะเกิดความสงสัยว่า ความไม่รู้ยังเป็นปัจจัยให้มีการทำบุญทำกุศลได้หรือ สำหรับฝ่ายบาปไม่ติดใจ สำหรับฝ่ายบุญ ทีนี้บุญมันแยกเป็น ๒ ประเภท บุญที่ยังเป็นไปในวัฏฏะ เช่น มีความปรารถนาในภพอยู่ มีการให้ทาน รักษาศีล หรือแม้แต่การเจริญภาวนาเพื่อได้เกิดในภพที่ดี อันนี้ก็ไม่ติดใจ แต่สำหรับผู้ที่เข้าใจเรื่องการเจริญสติปัฏฐาน และจุดมุ่งหมายของการเจริญสติปัฏฐานแล้ว ในขณะที่เจริญสติปัฏฐานนั้น ถ้าหากว่าปัญญาประจักษ์สภาพธรรมแล้ว ก็ยังไม่ถึงขั้นโสดาปัตติมรรค กุศลขั้นนั้นก็ยังจัดอยู่ในเขตของอวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิดสังขารได้ อาตมาก็เลยเข้าใจว่าเป็นอย่างนั้น
ท่านอาจารย์ อันนี้ถ้าท่านไม่ได้แสดงไว้ เราก็คงแสดงละเอียดแยกแยะออกไปให้มากกว่านั้นคงไม่ได้ เพราะว่าเป็นเรื่องของปัจจัยหลายๆ อย่าง แล้วก็ระดับขั้นของปัญญาหลายๆ ขั้น ถ้าท่านจะเห็นว่าเป็นอย่างนั้น ท่านก็เห็นว่าตรงไปตรงมาอย่างเดียว อย่างนั้นท่านก็ต้องแสดงไว้ทันที ไม่ต้องมีข้อสงสัย ไม่ต้องมีข้อคิด ท่านก็ต้องกล่าวไว้
ผู้ฟัง วันนี้ก็ได้รับประโยชน์ในเรื่องของการศึกษาโดยตรงจาก พระไตรปิฎกขั้นหนึ่ง ถ้าหากท่านไม่ได้แสดงไว้ เราก็จำเป็นต้องจำกัด ไม่ให้คิดอะไรเลยเถิดไป
ท่านอาจารย์ ถ้าคิดก็คิดไป คำตอบอยู่ที่ไหน เพราะว่าเราไม่ใช่สัพพัญญูที่จะไปรู้ทั่วโดยตลอด
ผู้ฟัง สำหรับเรื่องของภาวนา บังเอิญได้รับเทปม้วนสุดท้ายที่มีผู้ถามเกี่ยวกับการที่จะพยายามรู้แต่รูปที่ปรากฏทางตาอย่างเดียว พยายามที่จะหาความจริงในลักษณะของความหมายที่ว่า รูปที่ปรากฏทางตาเป็นอย่างไร บังเอิญได้รับความรู้ เพิ่มเติมจากที่เคยเข้าใจว่า ถ้าเราจะไปจ้องให้รู้แบบนั้นรู้สึกว่า มันจะไม่ใช่ลักษณะของสัมมาสติจริงๆ เพราะมันเป็นไปไม่ได้ ที่ว่าจะเพียรพยายามรู้อย่างเดียว โดยที่ไม่ให้มีการระลึกถึงลักษณะธรรมที่เกิดสืบต่ออย่างเช่น ขณะที่เห็น เพราะว่าเราฟังกันมาหลายครั้งแล้วว่า จะต้องรู้ความจริงระหว่างสิ่งที่ปรากฏทางตากับสภาพที่รู้สิ่งที่ปรากฏทางตา แล้วก็จะพยายามแยก แต่ถ้าหากไปพยายามแยก ก็รู้สึกว่า มันเป็นควาทรงจำ แต่ถ้าปล่อยไปสบายๆ คือระลึกบ้าง แล้วในขณะเดียวกัน ถ้ารู้ว่าสิ่งที่ปรากฏทางตานั้นเป็นอะไร สภาพนั้นไม่ใช่สภาพเห็น ก็มีการระลึกที่ใส่ใจลักษณะรู้นั้นสืบต่อ แล้วก็อาจจะมีการคิดนึก ก็ระลึกต่อ เลยทำให้คิดว่า สติปัฏฐานจริงๆ จะต้องตามอย่างไวมาก เพื่อที่ได้ว่า ขณะที่ทั้งเห็น หรืออาจจะมีการสนทนาด้วย มีสภาพธรรมหลายอย่างทั้งรูปธรรม นามธรรม แล้วสติที่เกิดขึ้นก็นิดเดียว ที่จะไปพิจารณายืดยาวอย่างที่เคยได้ฟังมาแล้ว มันไม่ทัน ก็เลยทำให้สัมมาสติ ที่จะระลึกแบบปกติ มันก็ยาก แต่ว่าถ้ารู้ว่า ไม่ต้องจงใจอยากจะรู้ รู้สึกว่ามันจะดีกว่า อาตมามีความเข้าใจอย่างนี้
ท่านอาจารย์ เจ้าค่ะ เพราะว่าส่วนมากคนมักจะลืมว่า สติทำกิจของสติ ปัญญาทำกิจของปัญญา พอหลงลืมอย่างนี้ ก็เป็นเราจะทำอยู่ตลอดเวลา พยายามจะจัดทางให้สติเกิด พยายามที่จะให้สติระลึกนามนั้นบ้าง รูปนี้บ้าง แต่ตลอดเวลาเหล่านั้นจะเป็นสัมมาสติไม่ได้ เพราะเหตุว่าไม่ใช่สติที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย ที่เกิดแล้วระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมตามที่สติระลึก ไม่ใช่ตามที่คนหนึ่งคนใดจะจงใจ หรือจะพยายาม ยิ่งละความจงใจแล้วยิ่งรู้ว่า สติเป็นสภาพที่ระลึกได้ เวลาที่มีการระลึกเกิดขึ้นก็จะรู้ได้ทันที ในความเป็นอนัตตาของสติ แล้วก็รู้ด้วยว่า สภาพธรรมที่กำลังปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นสิ่งที่ปกติ ไม่ต้องเปลี่ยนแปลง แล้วก็ไม่ต้องไปเลือก ไม่ต้องไปทำให้ไขว้เขวขึ้นเลย เป็นปกติที่ปรากฏอย่างไรในขณะนี้ ก็ปรากฏอย่างนั้น ส่วนการอบรมเจริญสติปัฏฐานก็เป็นการค่อยๆ เข้าใจขึ้นในลักษณะของสิ่งที่ปรากฏตามปกติ ตามธรรมชาติ ไม่ใช่มุ่งหน้าที่จะให้สติเกิดนานๆ สติเกิดบ่อยๆ สติเกิดมากๆ เพราะเหตุว่าในขณะนั้นก็ยังมีโลภะ มีโลภสติอยู่ เพราะเหตุว่ายังต้องการสติ แต่ถ้ารู้ว่าสติจะเกิดตามเหตุตามปัจจัย เหมือนได้ยินในขณะนี้ ถ้าไม่มีเสียง ไม่มีโสตปสาท ไม่มีผัสสะที่กระทบ การได้ยินก็เกิดไม่ได้
ถ้าขณะนี้ไม่มีการที่จะฟัง จนกระทั่งรู้ว่าทุกขณะเป็นสติปัฏฐาน แล้วแต่สติจะเกิดเมื่อไร ก็ระลึกรู้ลักษณะของสภาพที่กำลังปรากฏเมื่อนั้น ก็ไม่ต้องไปเปลี่ยนที่เปลี่ยนทาง ทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ หวังจะให้สติเกิดเลย เพียงแต่ว่าเมื่อมีการเข้าใจเพิ่มขึ้น แล้วก็รู้ว่า สภาพธรรมทุกขณะในขณะนี้เป็นสติปัฏฐาน แต่ว่าอวิชชาไม่ใช่สภาพธรรมที่เข้าใจถูกตามความเป็นจริงของสิ่งที่ปรากฏ แต่ถ้าเป็นปัญญาแล้วจะค่อยๆ เข้าใจขึ้น ไม่ใช่ว่าเข้าใจทันที ซึ่งทุกคนโดยมากจะใจร้อน แล้วก็คิดว่า เป็นความรู้ที่รู้แล้ว อย่างบอกว่า เห็นในขณะนี้เป็นสภาพรู้ เป็นนามธรรม ก็ไปคิดว่ารู้แล้ว เห็นเป็นสภาพรู้ เป็นนามธรรม เมื่อเข้าใจว่ารู้แล้ว ก็ไม่มีการอบรม ไม่มีการเจริญที่จะให้รู้ลักษณะที่เป็นอาการรู้ หรือสภาพรู้จริงๆ
นี่ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่จะทำให้เห็นว่า สภาพธรรมตามปกติ อวิชชาไม่รู้ความจริง เพราะฉะนั้น ปัญญาก็คือว่า ขณะใดที่เริ่มค่อยๆ เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ เป็นปกติ นั่นคือสติปัฏฐาน สติต้องเกิดแล้วในขณะนั้น ไม่ใช่จงใจอยากจะให้สติระลึก แล้วก็ไปทำเป็นระลึกขึ้นมา
ผู้ฟัง โดยส่วนตัวอาตมาเองเท่าที่สังเกตดู คล้ายๆ ว่ามันเกิดอยากดูความหมายของนามรูปปริจเฉทญาณว่า เป็นปัญญาที่รู้ความต่างกันระหว่างนามธรรมกับรูปธรรม แล้วเท่าที่ฟังมาจากเทป ส่วนใหญ่ท่านอาจารย์ก็ยกรูปธรรมทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย เพราะฉะนั้น มันก็เลยรู้สึกว่ามันเป็นคู่ๆ อย่างทางตาก็เป็นคู่หนึ่ง ทางหูก็คู่หนึ่งก็เลย เกิดความจงใจที่จะแยกเป็นคู่ๆ ทางหู ทางตา พวกนี้ แต่ทีนี้มาพิจารณาดูอีกทีที่หลัง อาตมาเข้าใจว่าที่ท่านอาจารย์เน้นเรื่องนี้ เพราะเหตุว่าเท่าที่มีการพูดเรื่องการเจริญวิปัสสนา ไม่ได้มีการพูดถึงรูปที่ปรากฏทางตา หรือเสียงที่ปรากฏทางหู ซึ่งเป็นสิ่งที่จะต้องรู้ คือ ข้ามมันไปหมด แต่ว่าเพราะเหตุว่ารูปพวกนี้มันปรากฏอยู่ตลอดเวลา แต่มันยังมีรูปอื่นที่เกิดจากการรู้ทางใจ ก็เลยเกิดความจงใจที่จะรู้ทางตา เช่น จะรู้สีว่า มันต่างจากเห็นอย่างไร จึงพยายามที่จะรู้ แต่ถ้ามันเป็นลักษณะเพียรพยายาม มันก็ไม่ใช่สติปัฏฐาน เพียงแต่ว่าเมื่อมีการระลึกแล้ว แล้วก็มีการที่จะน้อมใจไปตามธรรมที่ได้ยินว่า ลักษณะนี้เป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา อาศัยน้อมบ่อยๆ อย่างนั้น ถึงจะเป็นการเพียรพยายามระลึกที่ตรงลักษณะนั้น ใช่หรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ดิฉันมีความรู้สึกว่า เท่าที่เคยพูดกันมา หรือว่าสอนกันไปเรื่องของวิปัสสนา หรือเจริญสติปัฏฐานทั่วๆ ไป มักจะตามคำหรือตามพยัญชนะ คือเมื่อมีคำว่า สติ ก็เห็นว่าสติเป็นสิ่งสำคัญ ก็เน้นเรื่องของสติ แต่จริงๆ แล้วสติระลึกเพื่อให้ปัญญารู้ และเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ถ้าไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องสภาพธรรมที่กำลังปรากฏมาก่อน สติก็ระลึกไม่ได้ ความรู้ลักษณะจริงๆ ก็ไม่ได้ ถ้าจะเคยได้ยินได้ฟังว่า เห็นเป็นนามธรรม ได้ยินไม่ทราบว่ากี่ร้อยครั้ง พันครั้ง แล้วก็ยังได้ยินต่อไปว่า เป็นสภาพรู้ เป็นอาการรู้ เป็นธาตุรู้ ก็ได้ยินมาไม่รู้ว่ากี่ครั้ง แต่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ กำลังทำกิจเห็น เพราะฉะนั้น คนที่เคยฟังเรื่องของการเห็น ก็น่าจะได้ระลึกได้ว่า เท่าที่ฟังมาแล้ว แล้วก็สติไม่ได้ระลึกที่สภาพเห็นจริงๆ ขณะนั้นเพียงรู้เรื่องการเห็น ฟังเรื่องการเห็น แล้วก็จำเรื่องการเห็นว่า เห็นเป็นสภาพรู้ ขณะนี้ที่ทุกคนกำลังเห็น มีตัวจริง ธาตุชนิดนี้เกิดขึ้นกำลังรู้ คือ เห็นสิ่งที่ปรากฏ เพราะฉะนั้น ประโยชน์ก็คือว่า แทนที่จะพูดหรือคิดเพียงเท่านั้นในเรื่องของการเห็น ก็จะได้รู้ว่ากำลังเห็นเดี๋ยวนี้ สภาพรู้ หรือธาตุรู้ในขณะนี้ เป็นอาการรู้ นี่คือการอบรมเจริญความเข้าใจไป โดยที่ว่าขณะใดที่ค่อยๆ เข้าใจขึ้น ขณะนั้นก็ต้องมีสติแน่นอน แต่ขณะใดที่พยายามจะให้สติเกิดตรงนั้น ตรงนี้ ขณะนั้นไม่ได้รู้ลักษณะของเห็นที่กำลังเห็น หรือว่าได้ยินที่กำลังได้ยิน สภาพธรรมต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้น แล้วก็มีลักษณะทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายต่างๆ กัน
ผู้ฟัง อย่างการพิจาณารูป ก็ได้ยินว่า ทำกลางๆ ไม่สงสัย แต่ในขณะที่มีการพิจารณา สมมติพิจารณารูปที่ปรากฏทางตา มันรู้สึกคล้ายกับว่า รูปนั้นมันอยู่ห่างตัว มันคล้ายๆ เกือบจะว่าจดจ้อง ก็คงจะใช่ คือพยายามที่จะน้อมไปดูว่า พิจารณาว่า สภาพธรรมนั้นปรากฏทางตา แต่ว่าสิ่งที่ปรากฏจริงๆ นั้น มันยังเป็นวัตถุที่อยู่ห่างจากตัวเรา ถ้าเป็นไปในลักษณะนี้ จะเป็นอย่างไร
ท่านอาจารย์ ถ้าห่างตัวก็หมายความว่า ขณะนั้น นิมิตอนุพยัญชนะแล้ว จึงได้ปรากฏว่าห่างตัว มีความรู้สึกว่าห่างขณะใด ขณะนั้นก็มีการนึกถึงนิมิตอนุพยัญชนะของสิ่งที่ปรากฏ เพราะเหตุว่าตามความเป็นจริงแล้ว รูปที่กำลังปรากฏทางตาก็เหมือนรูปอื่นที่มีอายุที่สั้นมาก เพียงปรากฏ กระทบปรากฏแล้วก็ดับไป เหมือนเสียงขณะนี้ กระทบปรากฏแล้วก็ดับไป ฉันใด ทางตาก็ต้องสั้นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นว่าการที่เรายึดถือรูปทางตาว่า เป็นสัตว์ เป็นบุคคล โดยความไม่รู้ลักษณะจริงๆ ของสภาพที่ปรากฏนั้น เพราะเหตุว่าไม่รู้ว่า ปัญญาจะต้องรู้แน่นอน แล้วต้องรู้จริงๆ ข้ามไม่ได้ เมื่อข้ามไม่ได้ สิ่งที่ปรากฏทางตาปรากฏมากกว่าทางอื่น เพราะเหตุว่าเสียงก็ดับ โดยที่ว่ามีช่วงเวลาที่เสียงไม่ปรากฏ แต่ทางตาทั้งๆ ที่เกิดปรากฏแล้วยังไม่มีอย่างอื่นแทรก ทางตาก็เกิดสืบต่อไปอีก คิดนึกสักประเดี๋ยวหนึ่ง ทางตาก็เกิดสืบต่อไว้อีก จนดูเหมือนกับว่าทางตาไม่เคยดับเลย เพราะฉะนั้น การที่จะรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ก็คือว่า ไม่มีการห่างไกล ไม่ใช่ว่าห่างตัว สิ่งที่ปรากฏทางตาไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เพราะเหตุว่าไม่ได้ห่าง ทันทีที่ลืมตาก็มีธาตุ อาภาธาตุ หรือว่าแสงสว่าง หรือใช้คำว่าสี หรืออะไรก็แล้วแต่ คือ สภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ ซึ่งไม่ใช่สภาพรู้ เท่านั้นเอง
ผู้ฟัง เมื่อมีการพิจารณาว่า ผู้ที่กำลังมาหาเราเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาก็จริง แต่ว่าความรู้สึกมันเหมือนว่ามีระยะทางประกอบเข้าไปด้วยในขณะนั้น
ท่านอาจารย์ เป็นความต่างกันของรูปารมณ์ที่ปรากฏทางตา กับบัญญัติที่รู้ทางใจ ต้องรู้ความต่างกันว่า ทางตามีสีเท่านั้นปรากฏ แต่ทางใจนึกรู้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะใกล้ จะไกล ก็รู้ทางใจหมด ไม่ใช่รู้ทางตา
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นความแยบคายในการพิจารณาแต่ละทาง มันไม่ควรจะเหมือนกัน
ท่านอาจารย์ เหมือนกัน เพราะเหตุว่ารูปคือรูป นามก็คือนาม ถ้ารู้จริงๆ ว่ารูปารมณ์ที่กำลังปรากฏ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ก็รู้ว่ากำลังเห็น ก็เป็นจริงอย่างนั้นแท้ๆ สิ่งที่ปรากฏทางตาในขณะนี้ทางตาจะเป็นอื่นไปไม่ได้ แต่หลังจากนั้นแล้วรู้ทางใจหมดเลย ไม่ว่าจะใกล้ จะไกล จะเป็นคนนั้นคนนี้ก็เป็นเรื่องของทางใจทั้งนั้น เพราะว่าสิ่งที่ปรากฏทางตาก็เพียงปรากฏ นอกจากนั้นก็เป็นโลกของความคิดนึก ต้องแยก ๒ โลกนี้ออกจากกัน คือ โลกของสิ่งที่ปรากฏจริงๆ กับโลกของความคิดนึกเรื่องบัญญัติ เรื่องราวต่างๆ ความรู้ต่างๆ ต้องอาศัยทางใจเท่านั้น สิ่งที่ปรากฏทางตาก็เพียงปรากฏเฉยๆ ให้ใจนึกตามไปในอาการสัณฐานของสีสันวัณณะที่ปรากฏ แต่ลักษณะแท้ๆ ของเขาก็คือว่า เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ กว่าจะยกตัวตน คน สัตว์ออกไปจากสิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นปัญญาจริงๆ ก็ต้องเป็นจิรกาลภาวนา
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 301
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 302
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 303
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 304
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 305
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 306
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 307
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 308
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 309
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 310
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 311
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 312
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 313
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 314
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 315
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 316
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 317
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 318
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 319
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 320
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 321
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 322
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 323
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 324
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 325
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 326
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 327
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 328
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 329
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 330
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 331
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 332
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 333
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 334
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 335
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 336 ***
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 337
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 338
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 339
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 340
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 341
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 342
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 343
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 344
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 345
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 346
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 347
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 348
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 349
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 350
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 351
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 352
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 353
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 354
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 355
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 356
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 357
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 358
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 359
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 360