ปกิณณกธรรม ตอนที่ 346
ตอนที่ ๓๔๖
สนทนาธรรม ที่ จ.เชียงใหม่
พ.ศ. ๒๕๓๔
ผู้ฟัง เสียงมี ๒ อย่าง สมมติเสียงเครื่องยนต์ หรือเสียงอะไรอย่างเช่น นกหวีดเป่าปี๊ด อันนี้มันไม่เป็นคำ กับเสียงพูดธรรมดา สามารถที่ตัดมาเป็นคำได้ ขณะที่ใส่ใจลักษณะของเสียง มันเป็นเสียงที่เป็นคำๆ มันจะเป็นการได้ยินคำ หรือได้ยินเสียง
ท่านอาจารย์ เจ้าค่ะ หลังจากที่โสตทวารวิถีจิตวาระแรกดับไปแล้ว มีภวังค์คั่นแล้ว มโนทวารวิถีจิตรับรู้เสียงนั้นต่อ ไม่ว่าจะเป็นเสียงรถยนต์ เสียงนก เสียงคน หรือเสียงอะไรก็ตามแต่ เมื่อโสตทวารวิถีจิตเกิด และดับไปหมดแล้ว มโนทวารวิถีจิตต้องรู้เสียงนั้นต่อ ใช้คำว่า มโนทวารวิถีจิตเกิดรับรู้อารมณ์ต่อ คือ ต้องมีชวนวิถีจิตทางมโนทวารเกิดขึ้น มีเสียงนั้นเป็นอารมณ์ เหมือนกับทางโสตทวารวิถี ไม่ว่าจะเป็นเสียงคน เสียงนก เสียงรถ เสียงอะไรก็ตาม แต่ว่าถ้าเป็นการนึกถึงคำ ก็จะมีมโนทวารวิถีจิตเพิ่มวาระขึ้นอีกเจ้าค่ะ เพราะว่านึกถึงความหมาย
ผู้ฟัง อย่างเช่นได้ยินคำว่า อารมณ์ นี่ อย่างไรก็ต้อง ๒ คำ อา คำหนึ่ง รมณ์ คำหนึ่ง
ท่านอาจารย์ เจ้าค่ะ แต่คำว่า อา ครั้งแรก เป็นโสตทวารวิถีจิต แล้วก็มีภวังค์คั่น แล้วมีมโนทวารวิถีจิตที่รับรู้คำว่า อา
ผู้ฟัง แล้วถึงจะได้ยิน คำว่า รมณ์ ต่อ
ท่านอาจารย์ นึกถึง
ผู้ฟัง มันมีคำ ๒ คำพูดที่พูดว่า อารมณ์ ได้ยินรวมทั้งคำว่า อา และคำว่า รมณ์ เพราะฉะนั้น ตามความเป็นจริง
ท่านอาจารย์ ต้องมีมโนทวารวิถีจิตคั่นทุกวาระของโสตทวารวิถี
ผู้ฟัง คำว่าทุกวาระในที่นี้ แยกคำหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ แยกเจ้าค่ะ เพราะรวมกันไม่ได้
ผู้ฟัง วาระที่รวมคำ เพราะคนผู้นั้นไม่ได้พูด อา คำเดียว พูดทั้ง รมณ์ ด้วย ทีนี้ขณะที่มีการใส่ใจในลักษณะธรรมที่ปรากฏทางหู ก็เลยเกิดความคิดว่า การได้ยินเสียงกับการได้ยินคำ มันต่างกันหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ที่จริงแล้วรู้คำ หรือรู้ความหมายของเสียงมากกว่าที่จะได้ยินคำ เพราะได้ยินอย่างไร ก็ต้องได้ยินเสียง
ผู้ฟัง สำหรับความหมายของคำว่า “อารมณ์” นี้ ก็เข้าใจ หรือบางทีอาจจะไม่ได้นึกถึงความหมายของคำว่าอารมณ์ก็ได้ แต่ขณะที่มีการพิจารณาใส่ใจแต่ละคำ แต่ละคำ เพื่อจะระลึกลักษณะของเสียง ก็เลยทำให้ว่า เมื่อขณะที่โสตวิญญาณ ได้ยิน อา คำแรก เนื่องจากคนพูดไม่ได้พูด อา คำเดียว พูดทั้ง รมณ์ ด้วย เมื่อได้ยิน อา แล้ว โสตวิญญาณนั้นต้องดับ
ท่านอาจารย์ ทั้งวาระ ทั้งชุด
ผู้ฟัง ได้ยิน อา ดับ แล้วก็ทั้งชุดด้วย ได้ยินคำว่า รมณ์
ท่านอาจารย์ ภวังค์คั่น แล้วจะต้องมโนทวารรู้ อา ก่อน
ผู้ฟัง แล้วถึงจะได้ยิน รมณ์ อีกที
ท่านอาจารย์ เจ้าค่ะ ต้องมีมโนทวารวิถีจิตคั่นทุกวาระของโสตทวารวิถีจิตทุกวาระหนึ่งๆ
ผู้ฟัง ลักษณะเสียงที่เป็นคำๆ
ท่านอาจารย์ ก็เหมือนกัน ก็จะต้องมีมโนทวารวิถีจิตเกิดคั่น แต่ไม่มีวาระที่นึกถึง ความหมาย
ผู้ฟัง สมมติได้ยินเสียงนกหวีดที่มันเสียงยาวติดต่อกันไปเฉยๆ เราก็มีการระลึกได้ที่จะพิจารณาลักษณะสภาพธรรมที่ปรากฏทางหู คือ เสียง ขณะนั้นก็ไม่ได้ตัดตอนเหมือนกับพิจารณาคำพูดที่เป็น อา คำ เป็น รมณ์ คำ มีเสียงเดียว สูง ต่ำ ก็ช่าง วี๊ด ได้ยินอย่างนี้
ท่านอาจารย์ แต่จริงๆ แล้วหลายวี๊ด
ผู้ฟัง เสียงบางชนิด เสียงระดับเดียวกัน เราก็นึกว่า ไม่มีอะไรคั่น มันไม่ชัดเจนเหมือนอย่างเสียงคำพูดหรือว่าเสียงดนตรี มีมันมีทั้งสูง ทั้งต่ำ ทำให้รู้สึก เข้าใจว่า มันจะต้องได้ยินทีละอัน เสียงสูงอัน เสียงต่ำอัน หรือเครื่องตนตรีแต่ละชนิด ความเป็นจริงแล้ว มันจะต้องได้ยินแต่ละอัน แต่อาศัยมันสืบต่อกันเลย ก็ทำให้มันเป็นเรื่องเดียวกันไป แต่ทีนี้มาคิดสงสัยว่า ถ้าเป็นเสียงเดียว สูงอย่างเดียว แล้วเสียงติดต่อกัน มันจะตัดตอนเหมือนอย่างเสียงเป็นคำๆ หรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ต้องสั้นอย่างนั้นเจ้าค่ะ เพราะว่าถ้าเราระลึกถึงที่ว่า มโนทวารวิถีจิต จะต้องคั่นทางปัญจทวารวิถีจิตวาระหนึ่งวาระใด ทางทวารหนึ่งทวารใดทุกครั้ง จักขุวิญญาณวิถีจิต จักขุทวารวิถีจิตเกิดขึ้น ทั้งชุดดับไปหมดแล้ว ภวังค์คั่นแล้ว มโนทวารวิถีจิตทั้งชุดของมโนทวารวิถีจิตก็ต้องเกิดขึ้น รับรู้สีที่ปรากฏทางตา แล้วก็ทางหู เวลาที่ได้ยินเสียง เพียงเสียงเดียว สั้น อายุ ๑๗ ขณะ ดับไป ภวังค์จิตคั่น มโนทวารวิถีจิตทั้งชุดก็ ต้องเกิดขึ้น รับรู้เสียงนั้นต่อ เพราะฉะนั้น บางทีเราได้ยินแต่เสียงโดยที่เราไม่ได้นึกถึง ความหมายเลยก็ได้ ก็แสดงว่า ทางโสตทวารวิถีได้ยิน ภวังค์ คั่น มโนทวารวิถีจิตรับต่อ แล้วก็โสตทวารวิถีจิตเกิดขึ้น ภวังค์คั่น มโนทวารวิถีจิตรับต่อ โดยไม่มีวาระที่นึกถึงความหมาย นี่เป็นเวลาที่เราได้ยินแต่เสียง แล้วเราก็ ไม่ได้นึกถึงความหมาย แต่ถ้ามีการนึกถึงความหมาย หลังจากนั้นก็ต้องมีวาระของมโนทวารวิถีชุดที่นึกถึงความหมาย
ผู้ฟัง อกุศลกรรมหรือกุศลกรรม ตามแต่ ที่ว่ากว่าจะสำเร็จครบองค์กรรมบถนั้น ชวนวิถีเกิดหลายวาระใช่ไหม
ท่านอาจารย์ เจ้าค่ะ
ผู้ฟัง ทีนี้ ในชวนะวิถีหนึ่งมี ๗ ขณะ ๗ ดวง ที่ว่า ดวงที่ ๑ ให้ผลใน ปัจจุบันชาติ แล้วก็ดวงที่ ๗ ให้ผลในชาติต่อไป ความหมายอันนี้ หมายถึงเฉพาะชวนะเดียว หรือว่าหลายชวนะ
ท่านอาจารย์ ทุกชวนะเจ้าค่ะ
ผู้ฟัง ถ้าสมมติว่า ชวนะที่ ๑ ถ้าวาระที่ ๗ ในวาระที่ ๑ ให้ผลทำให้ ปฏิสนธิในชาติต่อไป วาระอื่นที่ยังไม่ได้ให้ผล จะให้ผลอย่างนี้ด้วยหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ก็ดูเหมือนจะครบ นอกจากอันที่เป็นโมฆะวาระ คือว่า ถ้าชวนะดวงที่ ๑ ยังไม่ได้ให้ผลในชาตินี้ ก็เป็นโมฆะไป เป็นหน้าที่ของชวนะดวงที่ ๗ ให้ผลในชาติต่อไป ถ้าไม่ใช่หน้าที่ของชวนะดวงที่ ๗ ให้ผลต่อไป ก็ยังมีอีก ชวนะที่ ๒ ถึงชวนะที่ ๕
ผู้ฟัง นี่พูดถึงวาระเดียว
ท่านอาจารย์ วาระเดียว
ผู้ฟัง วาระอื่นก็เหมือนๆ กัน
ท่านอาจารย์ เหมือนกันเจ้าค่ะ ทุกวาระ วาระละ ๗ ละ ๗
ผู้ฟัง ทีนี้ว่าดวงที่ ๗ ของวาระที่ ๑ ให้ผลปฏิสนธิในชาติต่อไป ส่วนที่ยังค้างไม่ได้ให้ผล
ท่านอาจารย์ ก็ให้ผลในปวัตติกาลได้ในชาติต่อไป
ขณะนี้ไม่ได้รู้ว่า เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา เพราะฉะนั้น การที่เราจะเข้าใจ ความหมายของสิ่งที่ปรากฏทางตาจริงๆ ที่ใช้คำว่า สี ไม่ว่าจะเป็นสีอะไรทั้งหมด ปรากฏทางตา ต้องเข้าใจถึง สภาวะแท้ๆ ของสิ่งที่ปรากฏทางตาว่า ไม่ได้คำนึงถึงสี จะสีร้อยสีพันสีกี่สี ก็ต้องเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา เพราะฉะนั้น ให้เข้าใจความหมายเพื่อละการยึดถือว่า เป็นบุคคล เป็นสัตว์ต่างๆ เพราะว่ามีสีต่างๆ เวลานี้ถ้าไม่มีสีเลย จะเป็นเสื่อ เป็นเสา เป็นอะไรก็ไม่ได้ แต่ทีนี้เมื่อมีสี แล้วก็ทำให้มีการนึกถึงสัณฐานเกิดขึ้น ก็มีความทรงจำว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด แต่ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เข้าใจว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา เพราะฉะนั้น ถ้าเราไม่ใช้คำว่าสีเลย ไม่สนใจ สีอะไรก็ช่าง ๓ สี ร้อยสี ๗ สี หมื่นสี แต่ว่ารู้ว่า เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาในขณะนี้ที่กำลังปรากฏ จึงจะไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล แล้วก็เข้าถึงอรรถ คือ สภาวะลักษณะของสิ่งที่ปรากฏทางตาว่า เป็นเพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่คน เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ แล้วเราจะค่อยๆ เข้าใจความหมายการละคลาย การถอนความยึดถือว่าเป็นคนออกจากสิ่งที่ปรากฏทางตา เพราะมีความรู้ว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา ไม่ใช่ให้ไปเปลี่ยนสีของคน ไม่ใช่ให้ไปเปลี่ยนสีของเสา แต่ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม แต่เมื่อมีความรู้เพิ่มขึ้นว่า เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ ธาตุแท้ๆ ที่ปรากฏทางตา ไม่ใช่แข็ง ไม่ใช่หวาน ไม่ใช่เค็ม ไม่ใช่เย็น แต่ว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ เป็นธาตุชนิดหนึ่ง เป็นลักษณะของจริงอย่างหนึ่ง ซึ่งมีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ ถ้ารู้ความจริงอย่างนี้ก็จะแยกคนออกจากสิ่งที่ปรากฏทางตาได้ แล้วหลังจากนั้น ก็รู้ว่ามีความคิดนึกในสิ่งที่ปรากฏทางตา เพราะฉะนั้น ก็แยกโลกของปรมัตถสัจจะกับสมมติสัจจะออกได้ ว่าทวารไหนเป็นปรมัตถสัจจะ ทวารไหนเป็นสมมติสัจจะ ไม่อย่างนั้นคน สัตว์ บุคคลต่างๆ จะออกไปไม่ได้เลยเจ้าค่ะ
ผู้ฟัง ที่เห็นสีทางจักขุทวาร เห็น
ท่านอาจารย์ เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ จบแล้ว
ผู้ฟัง สิ่งที่ปรากฏทางตาเกิดขึ้น วิถีจิตก็จะต้อง
ท่านอาจารย์ ไม่ต้องไปคิดถึงวิถีจิตอะไรเลย เพียงแต่ให้รู้ความจริงว่า ขณะนี้มีสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา กำลังปรากฏจริงๆ เท่านั้น
ผู้ฟัง หมายความว่า พอสิ่งที่ปรากฏทางตา ปรากฏ จะต้องไปเรื่อยๆ จนถึงชวนะ ตทาลัมพนะ ๑๗ วาระ ๑๗ ขณะ ๑๗ ขณะ แล้วก็ดับ ดับหมายความว่า รูปารมณ์ คือ สีมันดับ เพราะว่าจิตเกิด ๑๗ ขณะดับ ตามปริยัติ พอดับแล้วก็มโทวารก็รับสีที่เพิ่งดับไปนั้นต่อ เป็นปรมัตถ์เหมือนกัน วาระแรก เป็นปรมัตถ์เหมือนกัน จนกระทั่งถึงชวนะเหมือนกัน ลักษณะอย่างนี้ สีก็คงเป็นอารมณ์อันเดียวกันกับที่ปรากฏทางปัญจทวาร
ท่านอาจารย์ เหมือนกัน เป็นสิ่งที่ปรากฏ
ผู้ฟัง เป็นสิ่งที่ปรากฏ
ท่านอาจารย์ แทนที่รู้ลักษณะสภาพธรรมที่ปรากฏทางตา เพื่อละคลายการยึดถือว่าเป็นตัวตน เราไม่ต้องไปยุ่งกับเรื่องอื่นเลย นอกจากมีการระลึกได้ว่า ขณะนี้จริงๆ แล้วเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ ถ้ารู้อย่างนี้บ่อยๆ ว่า
จริงๆ แล้วเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ ความเป็นสัตว์ เป็นบุคคล ตัวตน ก็ค่อยๆ ลดลงไป ค่อยๆ หายสงสัยว่า แท้ที่จริงแล้ว ต้องเป็นการนึกคิดทางใจจากสิ่งที่ปรากฏทางตา เพราะว่าต้องมีสิ่งที่ปรากฏทางตาก่อน แต่เมื่อไม่ประจักษ์การดับไป และการเกิดอีก และการดับไปของสิ่งที่ปรากฏทางตา ก็ทำให้ดูเสมือนว่า สิ่งที่ปรากฏทางตายั่งยืนคงที่ เลยเกิดความยึดถือทรงจำว่าเป็นบุคคลต่างๆ เป็นวัตถุสิ่งต่างๆ
นี่ก็แสดงให้เห็นว่า เพราะเหตุว่าไม่รู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏทางตา เพราะฉะนั้น ขั้นต้นก็คือว่า ให้มีการระลึกได้ว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น จนกว่าจะค่อยๆ คลายการยึดถือว่า เป็นคนนั้นคนนี้ เพราะรู้ว่าสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นอื่นไม่ได้ กำลังนี้เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ หลังจากนั้นแล้วจึงได้มีการนึกคิดจากสิ่งที่ปรากฏว่า เห็นดอกไม้ ก็นึกว่าเป็นดอกไม้ เห็นใบไม้ ก็นึกว่าเป็นใบไม้ แต่ต้องมีสิ่งที่ปรากฏ แล้วความทรงจำให้นึกถึงเรื่องราวของสิ่งนั้น สีต่างๆ คือสิ่งที่ปรากฏทางตาก็ได้
ผู้ฟัง แต่ว่าจักขุวิญญาณจะต้องรู้ทีละสี
ท่านอาจารย์ ทำไมล่ะ ไม่ได้มีการจำสีอะไรเลย เห็นเท่านั้นเอง จักขุวิญญาณเห็น
ผู้ฟัง ยังไม่รู้ว่า จำแนกสีต่างๆ ต้องเป็นรูป
ท่านอาจารย์ เห็น คือเห็น
ผู้ฟัง ที่จำแนก เห็นอย่างเดียว
ท่านอาจารย์ เห็นอย่างเดียว เวลานี้เห็นสิ่งที่ปรากฏ นี่คือจักขุวิญญาณเห็น
ผู้ฟัง ที่ไปรู้ว่าเป็นสีต่างๆ ก็คงไม่ใช่เรื่องของจักขุวิญญาณ
ท่านอาจารย์ คุณนิภัทรเห็นสีหรือเปล่า ก็เห็น ก็เห็น แล้วต้องมาจำแนกอะไร เห็นก็เห็น สีก็สี
ผู้ฟัง เพราะว่าตอนหลังเรามารู้ว่าเป็นสีขาว
ท่านอาจารย์ นั่นคือนึก ไม่ใช่ตอนหลัง ถ้าจักขุวิญญาณไม่เห็น แล้วคุณนิภัทรจะมานึกเอาไม่ได้
ผู้ฟัง แต่จักขุวิญญาณก็ต้องเห็นทุกอย่าง
ท่านอาจารย์ แน่นอน จักขุวิญญาณเห็นสิ่งที่ปรากฏ
ผู้ฟัง จะอะไรก็ตาม ทุกอย่าง
ท่านอาจารย์ สิ่งที่ปรากฏทั้งหมด
ผู้ฟัง สมมติว่า เราเคยชินกับบุคคลที่เรารู้จักมาหา ก็จะไถ่ถอนความเป็นบุคคลนั้นออก ให้มีการระลึกว่า เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา
ท่านอาจารย์ ถ้าในขณะนี้เราจะระลึก เริ่มเสียตั้งแต่เดี๋ยวนี้เลย คืออยู่ที่นี่ ก็มีสิ่งที่ปรากฏทางตา นั่งไปในรถ หรือเดินไปที่ไหน พอมีการระลึกได้ก็รู้ว่า นี่เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา เพราะว่า มันมีอยู่ตลอดเวลาที่ลืมตา ทุกอย่างเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา แต่เมื่อไม่เคยชินกับการที่จะระลึกอย่างนี้ ก็จำไว้แน่นอนว่าเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นสิ่งต่างๆ แต่ถ้ามีความค่อยๆ ชินว่า เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ การที่จะไถ่ถอนความทรงจำว่าเป็นบุคคล หนึ่งบุคคลใด ก็ค่อยๆ ลดคลาย แล้วก็รู้ด้วยว่า การที่จะละคลายการยึอถือสิ่งที่ปรากฏว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เพราะระลึกบ่อยๆ จนกระทั่งรู้จริงๆ ว่า เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา ส่วนการที่จะรู้ความหมายนั้นก็ถูก ไม่ใช่ผิด เพราะเหตุว่าต้องมีการคิดถึงสิ่งที่ปรากฏทางตาหลังจากเห็นแล้ว เหมือนกับทางหู ต้องมีการคิดถึงคำหลังจากที่ได้ยินแล้ว ก็เป็นปกติ แต่เป็นสภาพของจิตต่างวาระ ไม่ใช่ทวารเดียวกัน เห็นก็เพียงเห็นเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น จะเห็นความรวดเร็วว่า สิ่งที่ปรากฏทางตาต้องเร็วเหมือนสายฟ้าแลบ เพราะเหตุว่าหลังจากนั้นคิดนึกแล้วทันที
ผู้ฟัง รู้สึกว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นต้องถามกันบ่อยๆ คงจะเป็นเพราะขาดความเคยชินที่จะระลึกอย่างนี้
ท่านอาจารย์ เจ้าค่ะ เพราะฉะนั้น ไม่ต้องไปตั้งทำสติอะไร ตรงไหนเลยสักอย่างเดียว
ผู้ฟัง ขาดความเคยชินที่จะน้อมไปว่า เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ ให้ชินเท่านั้นเอง
ท่านอาจารย์ เจ้าค่ะ เพราะว่าความจริงก็คือสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา
ผู้ฟัง พิจารณาแล้ว ไม่เถียงด้วยว่า เป็นความจริงยิ่งกว่าจริง เพื่อจะให้มันคล้ายๆ ว่า ประจักษ์ความจริงเหมือนอย่างที่ฟัง ก็เลยมีการพิจารณาในลักษณะต่างๆ เช่นอาจจะพิจารณาว่าสี มันมีตั้งหลายๆ สี หรืออะไรทำนองนั้น
ท่านอาจารย์ อย่างนั้นไม่ใช่การรู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏทางตา
ผู้ฟัง แต่ว่าเท่าที่อธิบายไว้ว่า มันจะกี่สีก็ช่าง สภาพธรรมคือเป็นที่ปรากฏทางตา ให้มีการน้อมไปที่จะระลึกอย่างนี้บ่อยๆ ให้มันเกิดความเคยชิน
ท่านอาจารย์ เจ้าค่ะ เพราะว่าการประจักษ์ต้องมาจากความเข้าใจ ถ้ามีความเข้าใจในสิ่งที่ปรากฏทางตาถูกต้องว่า เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น แล้วเข้าใจเพิ่มขึ้นจริงๆ จนกระทั่งคลายการที่ว่า เคยทรงจำว่าเป็นบุคคลหนึ่งบุคคลใด ก็รู้ว่า นั่นคือคิด ไม่ใช่กำลังเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา ทีนี้ก็สามารถจะแยกออกได้ว่า ขณะนี้ สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา แล้วหลังจากนั้นก็คิด แล้วก็ยังจะรู้ถึงทวารอื่น ซึ่งต่างกับสิ่งที่ปรากฏทางตาตามปกติได้ เพราะฉะนั้น เวลาที่อวิชชาเกิดพร้อมกับโลภะ หรือพร้อมกับโทสะ มีสิ่งที่กำลังปรากฏทางตาเป็นอารมณ์ เพราะอวิชชาไม่สามารถที่จะรู้ความจริงว่า เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น เพราะฉะนั้น อกุศลทั้งหลายก็เกิดได้ ทั้งโลภะ ทั้งโทสะ แล้วก็กิเลสอื่นๆ ริษยา มานะ บางคนพอเห็น ก็เกิดทันทีได้ ที่จะหมั่นไส้ ที่จะไม่ชอบ ที่จะโกรธ ที่จะผูกโกรธ ที่จะมีความสำคัญตน
แสดงให้เห็นว่า อวิชชาไม่สามารถที่จะรู้จริงๆ ว่า ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏทางตานั้นเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้นเอง ต่อเมื่อใด ค่อยๆ รู้ขึ้น จึงจะค่อยๆ ถึงวาระที่สามารถประจักษ์ได้ว่า สิ่งที่ปรากฏทางตานั้น ขาดตอนจากการที่จะเป็นสัตว์บุคคลได้จริงๆ เพราะว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏเท่านั้นทางตา เรื่องของการประจักษ์ลักษณะสภาพธรรมแล้วไม่ต่างกับปกติ แต่จะเปรียบเทียบให้เห็นว่า อวิชชารู้ไม่ได้เลย รู้ไม่ได้จริงๆ ไม่สามารถจะรู้ได้ แต่ถ้าเป็นปัญญาแล้วเริ่มตั้งแต่ความเข้าใจ ซึ่งสามารถจะฟัง พิจารณา เข้าใจ แล้วก็ค่อยๆ อบรมไป เพราะฉะนั้น เวลาที่ปัญญาสมบูรณ์ถึงขั้นประจักษ์แจ้ง ที่ใช้คำว่า เกิดแล้วก็ดับไป ในขณะนี้ที่กำลังฟัง ทุกคนพอจะอนุมานได้ว่าต้องจริง อย่างได้ยินกับเสียง เกิดแล้วก็ดับ แข็งที่ปรากฏนิดเดียว ไม่ปรากฏแล้ว มีสิ่งที่ปรากฏทางตาปรากฏแทน หรือว่าคิดนึก ก็คิดนึกทีละเรื่อง ทีละคำ ทีละอย่างไป ยังพอที่จะไตร่ตรองอนุมานพิจารณาว่า เป็นสัจจะ เป็นความจริง นี่ขั้นฟัง เพราะฉะนั้น ถ้าปัญญาอบรมจนกระทั่งประจักษ์แจ้ง ไม่ต่างกันเลยกับขณะนี้ แต่เป็นขั้นที่สมบูรณ์ถึงกับประจักษ์ในลักษณะที่เกิดแล้วดับจริงๆ ซึ่งก่อนที่จะประจักษ์ ก็ฟัง แล้วก็เข้าใจ ว่าขณะนี้เกิดแล้วก็ดับ แต่ไม่เดือดร้อน เพราะว่าเพียงสภาพธรรมเกิดแล้วก็ดับ ก็ไม่เดือดร้อน เพราะมีสภาพธรรมอื่นเกิดแล้วก็ดับอีก ความเป็นตัวตนยังมี และอวิชชาที่ยังไม่สามารถประจักษ์สภาพแท้ๆ ของปรมัตถธรรมแต่ละอย่าง ก็กั้นที่จะไม่ให้ประจักษ์การเกิดดับของปรมัตถธรรมแต่ละอย่างเลย แต่ว่าการที่จะค่อยๆ เข้าใจทีละน้อยๆ ๆ ๆ ก็จะต้องถึงวาระหนึ่งซึ่งประจักษ์ได้จริงๆ แล้วก็เป็นปกติอย่างนี้ ด้วย เพราะเหตุว่าความจริงเป็นอย่างนี้ การประจักษ์แจ้งก็ต้องเป็นอย่างนี้ แต่เริ่มจากการที่ค่อยๆ เข้าใจขึ้น
ผู้ฟัง มันต้องเป็นปกติ
ท่านอาจารย์ แน่นอนเจ้าค่ะ
ผู้ฟัง เพราะว่าสภาพธรรมไม่ได้เปลี่ยนแปลง
ท่านอาจารย์ เจ้าค่ะ แต่อวิชชาไม่รู้
ผู้ฟัง เพียงแต่ว่าไม่มีปัญญารู้
ท่านอาจารย์ เจ้าค่ะ
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น เมื่อมีปัญญาเกิดขึ้น ก็รู้ตามปกติอย่างนี้
ท่านอาจารย์ เจ้าค่ะ การเกิดดับก็เกิดดับอย่างนี้ แต่ประจักษ์ ซึ่งขณะที่ประจักษ์ก็คือเข้าใจ และจากเข้าใจค่อยๆ รู้ขึ้น ปัญญาเพิ่มขึ้น คลายความเป็นตัวตนออกมากขึ้น แล้วก็สามารถที่จะรู้ลักษณะของนามธรรม และรูปธรรมละเอียดขึ้น ทั่วขึ้น จนกระทั่ง เสมอกันหมดเจ้าค่ะ แล้วเมื่อถึงวาระที่ความสมบูรณ์ของปัญญาจะประจักษ์ความเกิดดับ ก็ประจักษ์แจ้งความเกิดดับอย่างนี้ ตรงนี้ที่กำลังเกิดดับ แต่ว่าต้องผ่านวิปัสสนาญาณขั้นต้นๆ ด้วย ตามลำดับขั้นเจ้าค่ะ
ก็เป็นเรื่องการเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมในชีวิตประจำวัน ตามปกติทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ แม้แต่สิ่งที่ปรากฏทางตาก็เริ่มจากความเข้าใจถูกต้องว่า เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ ไม่ต้องไปตั้งสติ ทำสติ ไปจดไปจ้องอะไรเลยเจ้าค่ะ เป็นเรื่องการค่อยๆ เข้าใจขึ้นว่า เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา จนกว่าจะค่อยๆ คลายการยึดถือว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด แม้ว่าวันหนึ่งจะไม่เกิดบ่อย แต่โอกาสที่เมื่อได้ฟังแล้ว แล้วก็สติระลึก แล้วก็มีความเข้าใจเกิดขึ้น หลายๆ วันหนหนึ่ง หลายๆ เดือนหนหนึ่ง หลายๆ ปีหนหนึ่งก็ได้ ไม่จำเป็นที่จะต้องไปผูกมัด หรือว่าไปโลภสติ เพราะเหตุว่าเครื่องกั้นมีมากจริงๆ แล้วก็จะออกมาทุกรูปแบบ ทุกรูปแบบคือความกระวนกระวาย ว่าทำไมสติไม่เกิด นี่ก็โลภะแล้ว เพราะฉะนั้น ถ้าใครมาถามว่า วันนี้ สติเกิดน้อยจะทำอย่างไร ก็เอาโลภะมาพูด พูดด้วยโลภะ พูดด้วยความต้องการ ไม่ใช่ด้วยปัญญาเลย ถ้าด้วยปัญญาที่รู้หนทางจริงๆ ก็จะรู้ว่า บังคับสติไม่ได้ สติเกิดหรือไม่เกิดก็เป็นเรื่องของสติที่มีเหตุปัจจัย สติก็เกิด ไม่มีเหตุปัจจัย สติก็ไม่เกิด และบางคนก็เดือดร้อนกับโทสะเจ้าค่ะ มีโทสะมากๆ จะทำอย่างไร ก็ถ้ารู้จริงๆ ด้วยปัญญาว่า โทสะเป็นสภาพธรรมที่ไม่ใช่เรา โทสะก็เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง เกิดแล้วก็หมดไป แล้วก็มีสภาพธรรมอย่างอื่น เมื่อไม่มีความผูกพัน ยึดถือโทสะว่าเป็นตัวตน ก็ไม่เดือดร้อน สภาพธรรมทุกอย่างก็เริ่มที่จะเสมอกันได้ ไม่ว่าโลภะระดับใด โทสะระดับใด มานะ ริษยาอะไรๆ ก็ตามแต่ สติปัญญาจะต้องระลึกรู้จนทั่วจริงๆ ว่า ไม่ใช่ตัวตน เพราะฉะนั้น เรื่องการที่จะไปประจักษ์การเกิดดับ ไม่ต้องคิด เพราะเหตุว่าสติเขาทำหน้าที่ของเขา ปัญญาก็ทำหน้าที่ของปัญญา ไม่ใช่เราจะทำ ถ้าเราจะทำแล้วหมดหนทางเลย ตันทันที เพราะอย่างไรก็ไม่ถึง เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นปกติ แล้วก็รู้ว่า สติทำกิจของสติ เวลาสติเกิด ก็เป็นเรื่องของสติ ก็ไปเรื่อยๆ สบายๆ เพราะว่าการอบรมเจริญปัญญาต้องเป็นกุศล ถ้าเป็นกุศลแล้วไม่เดือดร้อน เพราะฉะนั้น ใครก็ตามที่กำลังเดือดร้อน ขณะนั้นไม่ใช่กุศล และก็ไม่ใช่ปัญญาด้วย
ผู้ฟัง ขออนุญาตเรียนถามท่านอาจารย์ต่อ คือยิ่งฟังแล้วเกิดยิ่งสงสัยขึ้นไปแทนที่จะเข้าใจอีก ว่าท่านอาจารย์พูดถึงสิ่งที่ปรากฏทางตา ยิ่งพูดไป มันก็ดูเหมือนทำให้เรามองเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตามากมายไปหมดเลย
ท่านอาจารย์ ทำไมมากมาย มันเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏเท่านั้น
ผู้ฟัง ถ้าจะใช้คำรวมคือ สิ่งที่ปรากฏทางตา
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เราต้องรู้ว่า ที่เป็นหลายอย่าง คือ คิด ไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏทางตา
ผู้ฟัง แต่ว่าก่อนจะคิดก็ต้องมีสิ่งที่ปรากฏทางตาก่อน
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น สิ่งที่ปรากฏทางตาอย่างเดียว แต่คิดหลายอย่าง คิดถึงหลายสิ่งหลายอย่าง แล้วแต่จะคิดถึงอะไร
ผู้ฟัง สิ่งที่ปรากฏทางตาอย่างเดียว
ท่านอาจารย์ อย่างเดียว แต่ว่าคิดหลายอย่าง จึงทำให้มีหลายอย่างในสิ่งที่ปรากฏทางตา เพราะคิด คุณศุกลไม่คิดเลยก็ได้ สิ่งที่ปรากฏทางตาผ่านไปก็ผ่านไปเลย แต่ถ้าจะคิด ดอกไม้สีอะไรบ้าง เห็นไหม เมื่อกี้นี้ไม่ได้คิดเลย แต่พอบอกให้คิด นับแล้ว สีนั้นสีนี้ สีนี้ สีนั้น คิด เพราะฉะนั้น คิดหลายอย่าง แต่สิ่งที่ปรากฏทางตามีอย่างเดียว คือปรากฏทางตาให้คิด แล้วแต่จะคิดกี่เรื่อง
ผู้ฟัง แล้วทีนี้พอพูดถึงลักษณะที่สติจะระลึก สิ่งที่ปรากฏทางตา ลักษณะจริงๆ
ท่านอาจารย์ เวลานี้มีสิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น รู้ตามความเป็นจิรงว่า เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ นี่คือปัญญา
ผู้ฟัง แล้วพูดถึงลักษณะ
ท่านอาจารย์ กำลังปรากฏ
ผู้ฟัง สิ่งที่กำลังปรากฏคือลักษณะหรือ
ท่านอาจารย์ มีสิ่งที่กำลังปรากฏ ลักษณะของเขาก็คือปรากฏทางตา
ผู้ฟัง อ๋อ ลักษณะของเขาคือ ปรากฏทางตา
ท่านอาจารย์ ปรากฏทางตา เสียง ลักษณะของเขาก็คือ ปรากฏทางหู
ผู้ฟัง ผมยังนึกว่า มีลักษณะอีกต่างหากจากสิ่งที่ปรากฏ
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ๆ ลักษณะก็คือกำลังปรากฏ ลักษณะปรากฏทางตา นั่นคือลักษณะของเขา
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นก็เข้าใจ
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 301
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 302
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 303
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 304
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 305
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 306
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 307
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 308
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 309
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 310
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 311
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 312
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 313
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 314
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 315
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 316
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 317
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 318
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 319
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 320
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 321
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 322
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 323
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 324
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 325
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 326
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 327
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 328
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 329
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 330
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 331
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 332
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 333
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 334
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 335
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 336 ***
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 337
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 338
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 339
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 340
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 341
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 342
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 343
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 344
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 345
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 346
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 347
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 348
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 349
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 350
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 351
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 352
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 353
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 354
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 355
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 356
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 357
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 358
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 359
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 360