ปกิณณกธรรม ตอนที่ 349
ตอนที่ ๓๔๙
สนทนาธรรม ที่ จ.เชียงใหม่
พ.ศ. ๒๕๓๗
ท่านอาจารย์ ที่ได้พระนามว่าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะว่าคนอื่นจะชื่อนี้ไม่ได้เลย แล้วไม่มีใครไปแต่งตั้งให้ด้วย แต่เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยพระปัญญาคุณ ถ้าคนอื่นจะชื่อนี้ก็ผิด เพราะว่าไม่มีคุณสมควรที่จะมีชื่อนี้
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์อธิบายแล้วผมก็บอกว่า ผมเข้าใจแล้ว
ท่านอาจารย์ เพราะว่าถ้าสังเกตจากประโยคนั้น ประโยคนั้นมุ่งหมายให้ดิฉันทราบว่า หมอเข้าใจ
ผู้ฟัง แต่ที่จริง ควรจะแค่นั้น แต่อาจจะคิดเลยไปถึง
ท่านอาจารย์ คนละขณะแล้ว เพราะฉะนั้น ต้องเป็นผู้ตรง ธรรมต้องตรงมาก ถึงจะรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงได้
ผู้ฟัง แต่ว่าอาจารย์ลองพิจารณาว่า จะเป็นกุศลบ้างได้ไหม
ท่านอาจารย์ ส่วนใหญ่ ดิฉันจะไม่คิด ถ้าดิฉันคิดทั้งวั้น มันไม่มีจบ เดี๋ยวประโยคนี้ เดี๋ยวประโยคนั้น เดี๋ยวคนนั้น เดี๋ยวคนนี้ แต่เราก็เข้าใจหลักธรรม เพื่อที่เราจะได้มีสติสัมปชัญญะของเราเองที่จะรู้สภาพธรรมของจิต แม้ในขณะที่พูดว่า ขณะนั้นเป็นจิตประเภทไหน ซึ่งถ้าเรามัวจะไปเที่ยวถามคนสักร้อยคน ความเห็นร้อยความเห็น ก็ยังไม่เท่ากับว่าจิตจริงๆ ซึ่งเกิดแล้ว ดับไปแล้ว ความจริงขณะนั้นเป็นกุศล หรืออกุศล ตัวจริงๆ ของกุศลจิต และอกุศลจิตดับ เพราะฉะนั้น ตัวที่ทุกคนมานั่งคิด มานั่งคิด เปรียบเทียบ อนุมานเอาว่า จะเป็นกุศลในลักษณะใด หรือว่าจะเป็นอกุศลในลักษณะใด แต่ตัวกุศลอกุศลจริงๆ ดับแล้ว
เพราะฉะนั้น ไม่ใช่สิ่งซึ่งเราจะมานั่งวิจัยวิจารณ์ได้ว่าขณะนั้นเป็นอะไร แต่ขณะนี้ที่กำลังพูด ขณะนั้นถ้าสติสัมปชัญญะเกิด ก็สามารถที่จะรู้สภาพของจิตในขณะที่พูดได้ แม้แต่คำที่หมอพูดซ้ำ ๒ ครั้งว่า ผมเข้าใจแล้ว ผมเข้าใจแล้ว ความหมายคือ เข้าใจแล้ว แต่ว่าตัวจิตที่พูด จะพูดด้วยจิตอะไร ครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ จะพูดด้วยจิตอะไร แล้วถ้าหมอพูดอีก ๕ ครั้ง จิตสภาพนั้นเป็นสภาพจิตเดียวกันหรือเปล่าที่พูดว่า ผมเข้าใจแล้ว
ผู้ฟัง เจ้าตัวรู้เอง
ท่านอาจารย์ คนอื่นรู้ไม่ได้ คนอื่นจะรู้ได้อย่างไร แล้วย้อนกลับมาหามานะของคุณหมอสัญชัยอีกที เวลาที่โลภมูลจิตเกิด ความติดข้อง ความพอใจล้วนๆ ไม่มีทิฏฐิ ไม่มีความเห็นใดๆ เกิดร่วมด้วยเลย มีไหม มี
สำหรับโลภมูลจิต จิตซึ่งมีความโลภ หรือเจตสิกที่มีโลภะเป็นเหตุเกิดร่วมด้วย เขาจะมี ๓ ลักษณะ คือ ลักษณะหนึ่งก็คือว่า เป็นความติดข้อง ความพอใจล้วนๆ ไม่มีทิฏฐิ ไม่มีมานะเกิดร่วมด้วย นี่ก็เป็นชีวิตประจำวัน เวลาคุณหมอพูดว่าผมเข้าใจแล้ว หมอมีความติดข้อง หรือมีความพอใจอะไรบ้างหรือเปล่า
ผู้ฟัง บางครั้งก็มี แต่พยายามจะไม่มี
ท่านอาจารย์ เป็นเรื่องคนละเรื่อง คือ เรื่องพยายามนั้นเรื่องหนึ่งแต่เรื่องตัวจริงๆ ที่พูด ที่เราจะต้องรู้ว่า ขณะนั้นมีความติดข้องหรือเปล่า เพราะว่าโลภะ เกิดกับเราตลอดเวลา ไม่รู้สึกตัวเลย นี่ประการที่สำคัญที่สุด ตั้งแต่ลืมตาตื่นจนกระทั่งหลับ ถ้าขณะใดที่ไม่มีโทสะ หรือความรู้สึกที่ไม่แช่มชื่นเกิดขึ้น เราไม่สามารถที่จะเปรียบเทียบรู้ได้ว่า ก่อนนั้นเป็นโลภะ แล้วทีหลังถึงจะมีเป็นโทสะ ความขุ่นเคืองใจ เพราะว่าเขาเป็นประจำอยู่ เป็นประจำ เราเกือบจะไม่รู้เลยว่า เขาอยู่ที่นั่นตลอดเวลา ไม่ว่าจะเหลียวซ้ายแลขวา หรือดูอะไรทั้งหมด ถ้าไม่มีสิ่งอื่นมาเปรียบเทียบ จะไม่รู้เลย ว่าขณะที่ขุ่นเคืองไม่พอใจ ขณะนั้นคือโทสะ แต่ก่อนนั้นต้องเป็นโลภะ นี่คือโลภะล้วนๆ เพราะฉะนั้น ที่พูดปกติธรรมดาๆ ในชีวิตของหมอพูดอย่างนี้หรือเปล่า หรือว่าขณะที่พูด ต่างกับปกติธรรมดา ชีวิตจริงๆ ประจำวัน นี่เราก็ต้องทราบ แล้วก็โลภะที่เกิดร่วมกับความเห็นผิด ในขณะนั้นลักษณะของโลภะ เราจะไม่เห็นชัดเท่ากับลักษณะของความเห็น เวลาที่เรามีความเห็นอย่างหนึ่งอย่างใดเกิดขึ้น ขณะนั้นเราติดข้องยึดมั่นในความเห็นนั้น แต่ในขณะนั้นลักษณะของความเห็นเด่นชัดว่า คนนี้เห็นอย่างไร คนนั้นคิดอย่างไร ชาติหน้ามีไหม ชาติหน้าไม่มี กรรมให้ผล กรรมไม่ให้ผล กำลังพูด กำลังถกกันอย่างนี้ เกือบจะไม่รู้เลยว่า ขณะนั้นเป็นความเห็นที่เกิดพร้อมกับโลภะ เพราะฉะนั้น ในขณะนั้นไม่ได้มีมานะเกิดร่วมด้วย เพราะกำลังมีความเห็น นี่ตอนหนึ่ง
แล้วเวลาที่มีมานะ ความสำคัญตนเกิดขึ้น เขามีความสำคัญตนโดยไม่มีความเห็นใดๆ เกิดร่วมด้วย อันนี้คงจะชัด ใช่ไหม เวลาที่มีความสำคัญตน ไม่มีความเห็นใดๆ เกิดร่วมด้วย เมื่อชัดอย่างนี้เราก็พอจะแยกได้เป็น ๒ อย่างว่า ในขณะที่มีมานะ เรื่องของมานะ คือมานะ ความสำคัญตน ในขณะที่มีความเห็น ขณะนั้นก็เป็นเรื่องของความเห็นต่างๆ แล้วในขณะที่เป็นโลภะล้วนๆ ไม่มีทั้งทิฏฐิ ไม่มีทั้งมานะเลยก็มี
เพราะฉะนั้น ความรวดเร็วของจิต เราอย่าเอาไปผสม หรืออย่าเอาไปปนกัน หรือเราอาจจะคิดว่า น่าจะเกิดด้วยกันได้เพราะว่าความรวดเร็วของจิต แต่จริงๆ แล้วสภาพธรรมคนละขณะ
ผู้ฟัง แต่คำว่า สำคัญผิดว่าเป็นตัวตน อัสมิมานะ ก็สามารถจะเกิดจากความเห็นผิดได้ด้วย
ท่านอาจารย์ คนละขณะ ไม่ได้เกิดร่วมกัน
ผู้ฟัง คนละขณะ เข้าใจยาก
ท่านอาจารย์ ก็เวลานี้ก็อย่างนี้ กำลังเห็นก็คนละขณะกับได้ยิน คนละขณะที่คิด คนละขณะที่เข้าใจแล้วก็พูดก็คนละขณะ ทั้งนั้น
ผู้ฟัง ผมขอเสนอความคิดเห็น ในขณะที่ผมสนทนาธรรม ขั้นสติสัมปชัญญะ เราจะรู้ว่า จิตเรานอบน้อม เรารู้สึกว่าเรานั่งเรียบร้อยขึ้น เมื่อกี้ผมนั่งขัดสมาธิ เราก็ไม่มานะ ขอประทานโทษที่ผมมีความคิดเห็นอย่างนั้น แล้วผมยังคิดว่า ที่คุณหมอพูดว่า เมื่อฟังธรรมแล้วเข้าใจ ขณะนั้นอาจจะเป็นจิตที่สงบก็ได้
ท่านอาจารย์ เรื่องก็ได้ ก็แล้วแต่ แต่ทีนี้ คนพูดจะรู้ตัวในขณะนั้น แล้วอีกอย่างหนึ่งสิ่งที่ผ่านไปแล้ว เราจะมาพูดอย่างไร มันก็ไม่มีทางที่จะรู้ได้ เหมือนอย่างมานะของหมอเพิ่มสมบัติที่เราพูดกันคืนวันก่อน ที่แม่สอด ถ้าจะขอประโยคง่ายๆ สั้นๆ ดิฉันก็ยังนึกไม่ออก เพราะว่ามันเป็นปกติ แล้วเราก็ไม่รู้ว่าจะหยิบยกส่วนไหนมา แต่เวลาที่เกิดทันที เราสามารถที่จะเตือนได้เพื่อที่จะให้คนนั้น ระลึกได้ว่าขณะนั้นเป็นมานะหรือเปล่า แต่ถ้าไม่มีคำพูดแล้วจะไปให้ยกตัวอย่าง มันก็เป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น เรื่องที่ผ่านไป ผ่านไปให้หมด แล้วเอาเรื่องที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้ เพื่อที่เราจะได้รู้ได้ชัด
ผู้ฟัง บางที่เรามาคุยกัน เพื่อจะได้ศึกษาในด้านสภาพจิตที่เกิดขึ้น
ท่านอาจารย์ เป็นไปไม่ได้ เพราะมันผ่านไปแล้ว คำพูดประโยคเดียวกัน ก่อนเป็นพระโสดาบัน คนนั้นก็พูดอย่างนั้น พอเป็นพระโสดาบัน คนนั้นก็พูดอย่างนั้น แต่ไม่มีความเห็นผิดใดๆ เลย แล้วพอเป็นพระอรหันต์ คนนั้นก็พูดอย่างนั้น แต่ไม่มีมานะใดๆ เลย เพราะฉะนั้น ประโยคเดียวกันที่พูดอย่างนี้ แล้วเราจะบอกว่า พูดอย่างนี้เป็นจิตอะไรที่พูด เป็นไปไม่ได้ ที่มีใครจะไปรู้
ผู้ฟัง เรื่องมานะเกี่ยวกับที่ผมเคยพูด พูดถึงผม ถ้าเผื่อผมพูด แล้วก็เป็นกุศลได้ไหม ไม่ใช่มานะได้ไหม เป็นตัวอย่างที่ดี
ท่านอาจารย์ แต่ละคนๆ อย่าถาม ต้องขณะนั้นทันทีแล้วจะรู้
ผู้ฟัง แต่คำพูดเดียวกันอาจจะ ถ้าเป็นกุศล
ท่านอาจารย์ อย่างไรก็ตามแต่ ดิฉันถามคุณหมอเพื่อให้คุณหมอทราบเองว่า มันเป็นอะไร
ผู้ฟัง อ๋อ ไม่ใช่อาจารย์ทราบว่าผมเป็น
ท่านอาจารย์ ก็ไม่ทราบ ประโยคอย่างนั้นของคนธรรมดาๆ ซึ่งเราจะไม่มีการรู้สึกตัว อย่างบางคนเขาให้คำแนะนำคนอื่น เขามีความคิดอะไรๆ ที่ดีที่จะทำให้คนนั้น ในขณะนั้น คนฟังคิดอย่างไร แล้วคนพูดพูดด้วยจิตอะไร ด้วยความอนุเคราะห์ ด้วยความหวังดี หรือว่าในขณะนั้นเขาเก่งกว่าคนอื่น นี่เป็นเรื่องที่ว่า ใครจะไปรู้ แต่ส่วนใหญ่การกระทำใดๆ ซึ่งมันออกมาทางกาย วาจาบ่อยๆ โดยที่ไม่รู้สึกตัว แล้วมันเป็นลักษณะของการสะสม คนนั้นก็พอจะที่รู้ได้ว่า มันออกมาจากจิตประเภทไหน อันนี้ก็เป็นพวกที่เรา เป็นสหายธรรม เรามีอะไร ขณะไหน ที่ทันทีทันควัน ที่เราพอที่จะเตือนให้พิจารณา มันชัดขึ้นมามันเป็นตัวอย่าง เพราะฉะนั้น แทนที่เราจะมาขอตัวอย่างกันว่า พูดอย่างไร ก็เอาไว้ใครมีตัวอย่าง เราก็สะกิดเมื่อนั้น เราจะรู้ว่านี้คือตัวอย่าง ดีกว่านั่งที่นี่ แล้วเราก็มาขอตัวอย่าง เอาตัวอย่างของจริงแท้ๆ ดีกว่า แค่ว่าเป็นตัวอย่างของกุศล หรือตัวอย่างของอกุศล
ผู้ฟัง คือที่คุยกันนี้ก็รู้สึกว่าเป็นประโยชน์ คล้ายๆ ว่าเป็นเรื่องละเอียดขึ้น แล้วก็ท่านอาจารย์ได้ช่วย คือ บางทีฟังจากท่านอาจารย์แล้วก็สามารถจำได้ว่า ถ้าลักษณะอย่างนี้ มันจะเป็นอกุศล เป็นมานะ สติสัมปชัญญะก็สามารถเกิดได้ เป็นตัวอย่างที่บังเอิญไปตรงกับที่ท่านอาจารย์ได้แสดงไว้ ซึ่งลักษณะอย่างนี้ที่อาจารย์ได้แสดงไว้
ท่านอาจารย์ แล้วจริงๆ ไหมหมอ คิดดูสิวันๆ หนึ่ง ถ้าเราพูดไปโดยที่ว่าเราไม่มีการรู้ หรือพิจารณาเลย มันจะออกมาในรูปที่เราไม่สามารถที่จะรู้ได้ แต่ถ้าเราเริ่มละเอียดขึ้นเราจะรู้ไหมว่าในขณะนั้น ผมบอกว่า
ผู้ฟัง ถ้าไม่เตือน ก็พูดไม่ตรง
ท่านอาจารย์ ไม่เป็นไร หมายความว่าแล้วแต่จิตของหมอในขณะนั้น เป็นความตรง หรือว่าต้องให้รู้ว่า หมอเป็นคนบอก ถ้าเรากำลังจะทำให้เรื่องกระจ่าง เพื่อความถูกความผิด หรือความถูกต้อง ก็ตอนหนึ่ง มันก็เป็นคำพูดอันเดียวกันนั่นแหละ แต่ว่าในขณะที่พูดคำนั้น คนอื่นจะรู้ไม่ได้ นอกจากคนนั้น แล้วลักษณะอาการอาจจะรู้นิดๆ กว่าจะเป็นคำพูดออกมามันแรงกว่า หรือมันแค่คิด
ผู้ฟัง แต่ก็มานะ
ท่านอาจารย์ มานะก็มานะ แต่ชนิดไหน แค่คิด หรือว่าออกมาเป็นคำพูด เราถึงได้ต้องมีการพิจารณาระวังสภาพของจิต ด้วยการเจริญสติปัฏฐานเท่านั้น ถ้าไม่อย่างนั้น เราไม่มีทางจะรู้เลย
ผู้ฟัง อาจารย์สอนอย่างนี้ ผมก็นึกไปถึงว่า ในพระสูตรก็มีอาศัยมานะละมานะ อาศัยที่ว่ามานะเกิดบ่อยๆ แล้วก็มีการรู้สึกตัวว่า มานะเกิด มานะก็ค่อยๆ ลดลง ที่ผมพูดว่า อาศัยมานะละมานะ
ท่านอาจารย์ ถ้าหมอไม่มีความรู้เรื่องมานะเลย หมอจะมีมานะสักเท่าไร หมอก็จะอาศัยมานะนั้นละมานะไม่ได้
ผู้ฟัง แต่ผมพูดอย่างนี้ มานะไหม
ท่านอาจารย์ ตอนนี้ไม่ต้องถามแล้ว ตอนนี้หมอก็ค่อยๆ สังเกตไป รู้ไป ใช่ไหม
ผู้ฟัง แต่พูดอย่างนี้ก็ด้วยมานะก็ได้ ผมรู้คนอื่นไม่รู้
ท่านอาจารย์ นั่นสิ คนอื่นเขาถึงบอกไม่ได้ มีหมอคนเดียวจะบอกได้
ผู้ฟัง หรือพูดด้วยกุศลจิตก็ได้
ผู้ฟัง พยายามมีมานะเพื่อละมานะ
ท่านอาจารย์ แต่หมอเข้าใจไหม อาศัยมานะละมานะ ถ้าคนที่ไม่มีปัญญาเลย มีมานะสักเท่าไรก็อาศัยมานะละมานะนั้นไม่ได้ เรื่องของตัวเรา ถ้าไม่มีปัญญา ไม่มีทางจะรู้จักตัวเองตามความเป็นจริง ทุกอย่างมันอยู่ในหนังสือ แล้วมันอยู่ในตำราด้วย ก็ต้องมีการพิจารณา มีการเจริญสติปัฏฐาน รู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏจริงๆ ในขณะนั้น ไม่อย่างนั้นก็เป็นเรื่อง แล้วเราก็มานั่งคิดว่า นี่เป็นหรือไม่เป็น ก็อย่างนี้อยู่ตลอดเวลา
ผู้ฟัง อาจารย์บอกว่า ถ้าไม่ใช่ในฌาน ในศีล หรือในสมถะ หรือในวิปัสสนา ไม่ใช่กุศล แต่ผมมาฟังธรรม สมมติมาฟังอาจารย์ แล้วก็ตอนใหม่ๆ ก็ไม่ใช่ทาน ไม่ใช่ศีล แล้วก็ไม่ใช่สมถะ แล้วก็ไม่ใช่วิปัสสนา
ท่านอาจารย์ ต้องบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ สงเคราะห์เข้าในภาวนา การฟังธรรม
ผู้ฟัง ไม่ใช่สมถะ ผมก็ยังไม่ได้ระลึกลักษณะ
ท่านอาจารย์ คุณหมอฟังธรรม หมอเกิดความเข้าใจหรือเปล่า
ผู้ฟัง เข้าใจนิดๆ หน่อยๆ สมมติแรกๆ นี้นะ
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีความเข้าใจเลย หมอจะเจริญปัญญาได้ไหม
ผู้ฟัง เดี๋ยวก่อน คำว่าเข้าใจนี้ เข้าใจเรื่องราวเท่านั้น เพราะผมฟังแรกๆ
ท่านอาจารย์ แล้วใครเล่าพอฟังปุ๊บ แล้วไม่ได้เข้าใจเรื่องราว เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมเลย มีไหม
ผู้ฟัง ไม่มี เข้าใจเรื่องราวเท่านั้น
ท่านอาจารย์ ก็ทุกคนที่ฟังก็เข้าใจเรื่องราว เข้าใจเรื่องของปรมัตถธรรม ขณะใดที่กุศลจิตเกิด ขณะนั้นสงบไหม โลภะอยู่ไหน โทสะอยู่ไหน โมหะอยู่ไหน ขณะที่กุศลจิตเกิด เพราะไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ จึงเป็นกุศล เพราะสงบจากอกุศล จึงเป็นกุศล
ผู้ฟัง เพราะนั่นมีปัญญาด้วย เข้าใจนี่
ท่านอาจารย์ เข้าใจก็ต้องมีสมถะรวมอยู่ด้วย ขณะใดที่เป็นกุศลจิต ขณะนั้นสงบ ต้องเข้าใจ คำว่า สมถะ สมถะ ที่นี่ คือสงบจากอกุศล
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ตอนนั้นเป็นสมถะ
ท่านอาจารย์ สงบไหม ทำไมต้องใช้คำ ภาษาบาลี
ผู้ฟัง สงบ
ท่านอาจารย์ ไม่มีอกุศลใช่ไหม นี่เป็นความเข้าใจ ใช่ไหม นี่เป็นปัญญาหรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็น
ท่านอาจารย์ แล้วหมอจะเอาอะไร
ผู้ฟัง ที่ผมบอกว่าผมก็มีความเข้าใจ ก็พูดด้วยกุศล ก็ไม่ใช่มานะ
ท่านอาจารย์ หมอแยกขณะจิตที่กำลังพูดกับที่ขณะที่กำลังเข้าใจหรือเปล่า
ผู้ฟัง ก็ในขณะที่พูด ผมก็มีความเข้าใจอยู่
ท่านอาจารย์ เข้าใจอะไรในขณะที่กำลังพูด เพราะว่าปัญญาเขารู้ เขาเข้าใจ เพราะฉะนั้น ในขณะนั้นปัญญารู้อะไร ปัญญาเข้าใจอะไร ในขณะที่กำลังพูดอย่างนั้น คุณประทีปรู้จักอะไรเวลาที่ตอบว่า ไมโครโฟนแข็ง
ผู้ฟัง ผมรู้จักลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ในขณะที่จับไมโครโฟน
ท่านอาจารย์ เพราะว่ามีแข็งปรากฏให้รู้ ใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ในเวลาที่คุณประทีปบอกว่า มานะ รู้สึกตัวขึ้นมาทันที เวลาที่คุณพรชัยบอกว่าคมเฉียบ ขณะนั้นจะเหมือนกับที่คุณประทีปรู้ว่า โมไครโฟนแข็งไหม
ผู้ฟัง ไม่รู้ ไม่เหมือน มันคนละลักษณะกัน
ท่านอาจารย์ พูดถึงว่า ลักษณะที่รู้กับลักษณะที่แข็ง เวลาแข็ง ต้องมีปรากฏให้รู้ คุณประทีปถึงจะต้องได้ว่า นี่คือแข็ง เพราะฉะนั้น ถ้าลักษณะของมานะไม่เกิดขึ้นให้รู้ ขณะนั้นจะมีการรู้ไหมว่า นั่นเป็นลักษณะของมานะ ต้องมีลักษณะของมานะเกิด ขณะนั้นกำลังรู้ลักษณะของมานะ
ผู้ฟัง ผมเข้าใจที่ท่านอาจารย์พูด เพราะว่าลักษณะนี้ ผมได้เรียนถามท่านอาจารย์ ท่านอาจารย์ต้องย้อนกลับมาถามผมอีกว่า ขณะนั้นสภาพจิตผมเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้น ผมก็ไม่อยากจะรบกวนในส่วนนี้ของท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ คือมันเป็นเรื่องที่ว่ามีแข็งให้รู้ ใช่ไหม แต่ทีนี้ในขณะนั้นมันจะเป็นสติปัฏฐานหรือเปล่า อันนี้เป็นเรื่องที่เราจะต้องตรง ต้องมีความรู้เพิ่มขึ้น มิฉะนั้นมันก็เป็นการรู้ เหมือนกับรู้ว่า ไมโครโฟนนี้แข็ง เพราะมีแข็งจริงๆ ให้รู้ เวลาเกิดโกรธขึ้นมี ก็มีลักษณะโกรธแน่นอน ทุกคนต้องรู้ลักษณะที่หยาบกระด้างไม่สบายใจ แล้วโกรธ แต่โดยมากเราจะรู้ตามที่เราเรียนมา หรือว่ารู้จักชื่อ อย่างแข็ง ถ้าสมมติว่าเป็นคนที่ไม่ได้เรียนธรรมเลย เขาก็ตอบถูกหมดทุกคนว่าแข็ง แต่เขาไม่รู้มันเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรม สำหรับคนนั้นจะไม่มีเลย แต่เขาตอบได้แน่นอนว่าแข็ง ข้าวต้มเค็มไหม เขาก็ตอบได้อีกว่าเค็ม เพราะว่ามีปรมัตถธรรมซึ่งมี แต่ไม่รู้ว่าเป็นปรมัตถธรรม อันนี้เป็นอีกขั้นหนึ่งซึ่งเราจะต้องแยกให้เข้าใจ เพราะฉะนั้น อย่างที่เราฟังธรรมมา เรารู้ลักษณะของมานะ เพราะเราคุยกันเรื่องมานะ พอลักษณะนี้เกิดขึ้น แต่ก่อนนี้เราไม่เคยรู้เลย ว่าสภาพนี้มันชื่อมานะ รู้ว่ามันเป็นอาการอย่างหนึ่ง แต่อาการอย่างนี้มันต้องมี แต่เวลามีมันเป็นตัวเรา เหมือนกำลังเห็นเดี๋ยวนี้ กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ ก็เป็นเราเห็น ทั้งๆ ที่เราก็ฟังมาว่า เห็นเป็นสภาพรู้ เป็นลักษณะรู้ เป็นอาการรู้ เราก็จะพูดตามไปอย่างนี้ ถ้าปัญญาไม่ได้รู้ลักษณะของธาตุ ซึ่งไม่ใช่เรา ไม่ใช่ใคร แต่เป็นแต่เพียงอาการรู้จริงๆ ถึงคนที่ไม่รู้จริงอย่างนี้ ก็พูดได้ว่าเป็นอาการรู้
คนที่พูดว่าอาการรู้ กับคนที่รู้ในลักษณะที่รู้ แล้วพูดว่า นี่เป็นสภาพรู้ หรืออาการรู้ คำพูดเหมือนกัน แต่ปัญญาต่างกัน ที่จะบอกว่าไมโครโฟนแข็ง หรือว่าโกรธ หรือว่ามีมานะพวกนี้ เราจะต้องรู้ว่า ขณะนั้นเป็นสติปัฏฐาน หรือว่าไม่ใช่สติปัฏฐาน หรือว่าเป็นความรู้ที่เหมือนกับรู้แข็งที่เรากำลังกระทบ แล้วเราก็รู้ด้วยว่า ลักษณะนั้นคือแข็ง แต่ว่าเป็นเราที่รู้ แล้วก็ขณะนั้นยังไม่ได้รู้ลักษณะที่หลงลืมสติต่างกับมีสติอย่างไร นี่เป็นขั้นต้น ซึ่งเราก็พูดไป ฟังไป จำไป จนกว่าลักษณะของสติปัฏฐานจะเกิด แล้วจะรู้ว่า ขณะนั้นไม่ใช่เพียงแต่รู้แข็ง หรือว่าไม่ใช่เพียงแต่รู้ว่า นี่เป็น มานะ หรือไม่ใช่เพียงแต่ รู้ว่านี่คือโกรธ ทั้งๆ ที่ลักษณะของปรมัตถธรรมมี แต่จะต้องมีสภาพธรรมอีกอันหนึ่งซึ่งเป็นลักษณะของสติที่ระลึกตรงลักษณะของปรมัตถ์นั้น แล้วก็ค่อยๆ เริ่มพิจารณา จนกว่าจะมีความรู้ชัดว่า ลักษณะนั้นเป็นสภาพ หรือธาตุชนิดหนึ่งซึ่งไม่ใช่ตัวตน นี่ต้องขยับมาถึงอีกขั้นหนึ่ง แต่เราก็ฟัง แล้วเราก็เริ่มรู้จักชื่อ แล้วเราก็เริ่มรู้อาการลักษณะนี้ มี แล้วก็เป็นปรมัตถธรรม แต่ว่าลักษณะปรมัตถธรรมจริงๆ ต้องไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นเราที่กำลังเอ่ยว่า นี่โลภะ เป็นเราที่กำลังเอ่ยว่า นี่โทสะ มันก็คือการที่เราว่า นี่แข็ง ใช่ไหม ก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ต้องค่อยๆ เป็นเรื่องของการอบรมเจริญภาวนา ซึ่งเป็นการอบรมเจริญความรู้ที่พร้อมกับสติที่ระลึกในลักษณะนั้น แล้วก็เห็นชัดจริงๆ ว่า ลักษณะนั้นก็เป็นแต่เพียงสภาพธรรม แล้วก็ไม่มีเราที่กำลังระลึก หรือกำลังรู้ในขณะนั้น
ผู้ฟัง สติสัมปชัญญะที่ว่าน้อมไป พิจารณาไป คือเราได้พิจารณาว่า ในขณะที่มานะเกิดขึ้น ในขณะที่สติสัมปชัญญะเกิดขึ้น คือสิ่งๆ นี้เองที่อาจารย์พูดว่า น้อมไป พิจารณาไป เนืองๆ บ่อยๆ ทีละเล็กทีละน้อย นิดๆ หน่อยๆ มันตามมาอยู่ตลอดเวลา
ท่านอาจารย์ ค่อยคุ้นเคยกับลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรมทีละเล็กทีละน้อยไปเรื่อยๆ จนกว่าจะทั่ว แล้วก็รู้ว่าขณะใดที่หลงลืมสติ แล้วขณะใดที่เป็นสติสัมปชัญญะที่กำลังรู้ลักษณะของสภาพธรรม แล้วความรู้ในลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏจะเพิ่มในลักษณะที่ว่า ไม่ใช่ตัวตน แต่ไม่ใช่เป็นคำพูด หมายความว่า รู้ว่าเป็นธาตุ หรือเป็นลักษณะแต่ละลักษณะจริงๆ
เรื่องธรรมเป็นเรื่องที่ฟังแล้ว ฟังอีก แล้วก็ฟังบ่อยๆ จะได้เข้าใจขึ้น แล้วก็มีหลายอย่างซึ่งก็เป็นที่น่าสงสัย แม้ว่าจะได้ฟังมาบ้าง อ่านมาบ้าง ศึกษามาบ้าง ก็ยังจะต้องมีการพิจารณาไตร่ตรองตามไปด้วย เช่น สมมติกับบัญญัติ และปรมัตถ ก็ให้ทราบว่า สิ่งใดก็ตามที่เป็นปรมัตถ์ สิ่งนั้นมีสภาพธรรมจริงๆ เป็นของจริง ซึ่งไม่มีใครจะไปบังคับ หรือสร้างให้เกิดขึ้นได้ แต่ว่าต้องมีลักษณะเฉพาะของตนๆ ซึ่งก็จำแนกเป็น ๓ อย่าง คือ จิตเป็นปรมัตถธรรมชนิดหนึ่ง เป็นสภาพรู้ เป็นธาตุรู้ เป็นใหญ่ในการรู้ เช่น ในขณะที่กำลังเห็นในขณะนี้ ต้องเป็นจิตที่เห็น ขณะที่ได้ยินก็เป็นจิต คือ เป็นสภาพรู้หรือเป็นธาตุรู้ชนิดหนึ่ง ส่วนเจตสิกก็เป็นปรมัตถธรรมอีกอย่างหนึ่ง ผู้ที่ฟังวิทยุครบถ้วนตลอดมาก็จะรู้ลักษณะของปรมัตถธรรมว่า นอกจากจิต แล้วก็ยังมีเจตสิกซึ่งเป็นสภาพธรรมที่เกิดกับจิต เช่น โลภะ ความยึดมั่น ความต้องการ เป็นสิ่งที่มีจริง แล้วก็เกิดบ่อยๆ ด้วย โทสะก็เป็นเจตสิกอีกชนิดหนึ่ง เพราะฉะนั้น วันหนึ่งๆ ที่เราพูดว่า คนนั้นเป็นอย่างนี้ เป็นนี้ เป็นอย่างนั้น แท้ที่จริงแล้วก็เป็นสภาพของเจตสิกแต่ละชนิดซึ่งเกิดกับจิตแต่ละขณะนั่นเอง แล้วแต่จิตใจของเราเอง ที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี เพราะฉะนั้น เวลาที่เป็นอกุศลประเภทใด เช่น ความไม่ซื่อตรง หรือความเกียจคร้านต่างๆ ที่ใช้กันอยู่ในวันหนึ่งๆ ก็เป็นลักษณะของเจตสิกแต่ละชนิด หรือสภาพธรรมฝ่ายดีก็เป็นเจตสิกแต่ละชนิด
สรุปจิต และเจตสิกก็เป็นปรมัตถธรรมที่มีจริง และเป็นนามธรรม เพราะเหตุว่าเป็นสภาพรู้ ส่วนรูปไม่ใช่สภาพรู้ มีลักษณะจริงๆ เช่น อ่อน หรือแข็ง เปรี้ยวหวาน พวกนี้ก็เป็นรูปแต่ละชนิด
เพราะฉะนั้น ให้ทราบว่า ก่อนอื่นต้องรู้ว่า อะไรเป็นปรมัตถธรรม อะไรเป็นบัญญัติ เพราะว่าตั้งแต่เกิดจนตาย ถ้าเราไม่ได้มีการศึกษาพระธรรมเลย แม้ว่าจะมีปรมัตถธรรมเท่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แต่ก็ไม่มีการรู้เลย เพราะเหตุว่ายึดถือสภาพของปรมัตถธรรมว่า เป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล
บางคนตั้งแต่เกิดจนตาย ก็เกิดแล้วก็ตายไปด้วยความไม่รู้ลักษณะของปรมัตถธรรม ต่อเมื่อได้ฟังพระธรรมแล้ว ก็ค่อยๆ แยกพิจารณาว่า สภาพธรรมที่มีจริงๆ ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้าที่เรากระทบสัมผัส ที่ศีรษะก็แข็ง หรือที่เท้าก็แข็ง ลักษณะแข็งเท่านั้น พอกระทบเสาก็แข็ง พื้นหินก็แข็ง เพราะฉะนั้น ธาตุแข็งเป็นลักษณะที่มีจริง สภาพธรรมใดก็ตามที่มีจริง และแม้ว่าจะไม่เรียกอะไรเลย ใครก็ไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงลักษณะของสภาพธรรมนั้นได้ สภาพธรรมนั้นชื่อว่า ปรมัตถธรรม เพราะเหตุว่าเป็นสภาพธรรมที่มีจริง มีลักษณะของตน เปลี่ยนแปลงลักษณะนั้นไม่ได้ แล้วก็สภาพธรรมนั้น จริงๆ แล้วก็ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 301
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 302
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 303
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 304
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 305
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 306
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 307
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 308
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 309
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 310
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 311
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 312
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 313
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 314
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 315
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 316
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 317
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 318
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 319
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 320
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 321
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 322
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 323
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 324
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 325
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 326
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 327
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 328
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 329
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 330
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 331
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 332
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 333
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 334
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 335
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 336 ***
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 337
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 338
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 339
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 340
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 341
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 342
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 343
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 344
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 345
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 346
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 347
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 348
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 349
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 350
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 351
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 352
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 353
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 354
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 355
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 356
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 357
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 358
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 359
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 360