ปกิณณกธรรม ตอนที่ 358
ตอนที่ ๓๕๘
สนทนาธรรม ที่ จ.เชียงใหม่
พ.ศ. ๒๕๓๙
ท่านอาจารย์ ถ้าตั้งจิตไว้ไม่ชอบ หรือว่าเกิดมีเครื่องเนิ่นช้า ขณะนั้นจะลืมว่า แท้ที่จริงแล้วไม่ได้ไปตามทางของการละ เพราะเกิดความอยาก หรือเกิดความสงสัยว่า เมื่อไรจะรู้สิ่งนี้ หรือว่าต้องการจะรู้สิ่งนั้น แต่จริงๆ แล้วพระพุทธศาสนาสอนให้คนที่ ไม่เคยเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ทั้งๆ ที่เกิดมาแล้วก็มีสิ่งที่ปรากฏทางตาบ้าง ทางหูบ้าง จมูกบ้าง ลิ้นบ้าง กายบ้าง ใจบ้าง สุข ทุกข์จากตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจเท่านั้น ตั้งแต่เกิดจนตาย แต่ไม่เคยรู้ความจริงของสภาพธรรม
พระพุทธศาสนาสอนให้เกิดปัญญา แล้วไม่ต้องห่วงเรื่องใดๆ ทั้งสิ้น เลยว่า จะรู้อะไร เมื่อไรจะรู้นั้นได้ไหม รู้นี้ได้ไหม เพราะเหตุว่าทั้งหมดต้องเริ่มจากจุดที่รู้ว่า สิ่งที่ได้ยินได้ฟังก็คือว่าฟังสิ่งซึ่งไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน แต่ว่าเป็นสิ่งที่มีจริงในชีวิตประจำวัน จนกระทั่งเป็นความเข้าใจขึ้นทีละเล็กทีละน้อย แล้วถ้าคนนั้นมีความมั่นคงจริงๆ ไม่ได้มีความต้องการที่ว่า จะรู้สิ่งนั้น สิ่งนี้ หรือว่าอยากจะถึงพระนิพพานวันนั้นวันนี้ เพราะส่วนมากคนตั้งจิตไว้ผิด คือ คิดที่จะถึงนิพพาน โดยที่ว่ายังไม่เข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เรื่องนิพพานไม่ต้องคิด หรือบางคนก็ตั้งจิตไว้ว่า อยากจะมีสติเกิดมากๆ นี่ก็ผิดอีก แต่ทำไมขณะนี้กำลังเห็น แล้วไม่ฟังให้เข้าใจเรื่องสภาพธรรมที่มีจริงๆ ที่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ว่า ขณะนี้ที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน แล้วเห็นขณะนี้เป็นอะไร
ถ้าไม่ฟังเรื่องจิตให้เข้าใจ ไม่ฟังเรื่องสภาพธรรมที่กำลังมีในขณะนี้ให้เข้าใจ แล้วเบาสบาย เพราะว่าเข้าใจขึ้นแล้วทีละนิดทีละหน่อย แล้วข้างหน้าก็คือว่า เมื่อไม่มีความต้องการสิ่งหนึ่งสิ่งใดเข้ามาบัง มีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น ละเอียดขึ้น สติก็ระลึกเป็นปกติ ข้อสำคัญที่สุดก็คือว่า เป็นปกติที่สติเกิดแล้วเป็นสติที่ระลึก ก็จะทำให้เบาไปอีกว่า ไม่ใช่เราจะต้องไปตั้งใจ หรือว่าจะไปอยาก หรือจะไปทำอะไร มิฉะนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคจะไม่ทรงแสดงว่า โลภะ มานะ ทิฏฐิ เป็นเครื่องเนิ่นช้า แต่นี่เป็นเครื่องเนิ่นช้าจริงๆ เพราะเหตุว่า ไม่ใช่เป็นการเบาสบายเพราะเป็นกุศลในขณะที่ฟัง แล้วก็เข้าใจ แล้วก็รู้ แล้วก็แล้วแต่ว่าจะได้ฟังอีก จะเกิดคิดพิจารณาอีก จะเข้าใจเพิ่มขึ้นอีก จนกระทั่งเป็นสติที่สามารถจะ รู้ลักษณะของจิตที่กำลังเห็น ที่เคยได้ยินได้ฟังว่า เป็นสภาพที่รู้แจ้งในสิ่งที่ปรากฏ เป็นสภาพรู้ หรือธาตุรู้ ไม่ใช่เรา เพราะว่าเป็นจิตชั่วขณะหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นเห็น อีกขณะหนึ่งก็เป็นจิตที่เกิดขึ้นได้ยิน อีกขณะหนึ่งก็เป็นจิตประเภทอื่นๆ ต่อไป
ผู้ฟัง รู้สึกว่า ถ้าเราศึกษามากๆ ทำให้เราเกิดวิจิกิจฉาได้ไหม
ท่านอาจารย์ วิจิกิจฉานี้ บางคนโยนมาที่การศึกษา
ผู้ฟัง ถ้าไม่ศึกษาละเอียดอย่างนั้น ความสงสัยมันก็ไม่เกิด
ท่านอาจารย์ มิได้เจ้าค่ะ ไม่ใช่เจ้าค่ะ เพราะว่าความสงสัยมีอยู่ลึกมาก เป็นอนุสัย เพียงแต่ว่าจะเกิดหรือไม่เกิด อย่างสัตว์เดรัจฉานก็ไม่มีทิฏฐานุสัย แต่เขาก็ไม่ได้คิดเรื่องโลก เรื่องอะไร หรือว่าด้วยความสงสัยใดๆ แต่เขาก็มีโลภมูลจิตทิฏฐิคตวิปปยุตต์ ที่จะให้ไปถามสัตว์เรื่องโลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง นั่นก็เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ แต่อนุสัยอยู่เต็ม
เพราะฉะนั้น ตราบใดที่ยังไม่ได้ฟังเพียงพอที่จะรู้ว่า ธาตุมี ๒ อย่าง โดยมากทางวิทยาศาสตร์ หรือทางการศึกษาก็รู้จักแต่เพียงรูปธาตุ แล้วก็สอนกันละเอียดมาก มีการที่จะใช้ความรู้ เรื่องรูปธาตุก้าวหน้าไปในทางแพทย์ ในทางวิศวะ ในทางอะไรต่างๆ วิทยาศาสตร์กลไกล แต่เรื่องของนามธาตุซึ่งเป็นธาตุที่มีจริงๆ ไม่ใช่มีแต่เฉพาะรูปธาตุอย่างเดียว เขาไม่เข้าใจความหมายของธาตุ หรือธา-ตุ ในลักษณะที่เป็นการตรัสรู้ ของพระผู้มีพระภาค เพราะเหตุว่าเขามีความเป็นตัวตนที่กำลังรู้เรื่องรูปธาตุ แต่ตามความเป็นจริง ถ้ามีความเข้าใจที่ถูกต้องว่า เมื่อรูปธาตุมีฉันใด ซึ่งเป็นธาตุ นามธาตุก็เป็นธาตุอีกชนิดหนึ่งซึ่งมี เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยเช่นเดียวกับรูปธาตุ แต่ทำไมมายึดถือ นามธาตุนี้ว่าเป็นเรา นี่ก็แสดงให้เห็นว่า ยังไม่เข้าใจในความหมายของธาตุ แต่ว่ารู้จักแต่เพียงชื่อว่า มีนามธาตุ รู้จักเพียงชื่อว่า เป็นรูปธาตุ แต่ความจริงต้องเข้าใจถึงลักษณะที่จะหมดความสงสัยว่า นามธาตุเกิดขึ้นมาได้อย่างไร นามธาตุได้แก่อะไรบ้าง เพราะเหตุว่าจะต้องรู้ว่า ธาตุมีทั้งรูปธาตุ แล้วก็ต้องมีนามธาตุด้วย เมื่อรูปธาตุเกิดขึ้นได้ฉันใด นามธาตุก็มีปัจจัยปรุงแต่งเกิดขึ้น
ถ้าเข้าใจเรื่องจิตเป็นนามธาตุ ก็หมดความสงสัยว่า มีใครสร้างหรือว่าจิตจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ก็เป็นชั่วขณะหนึ่งซึ่งพายุเกิดขึ้น ลมเกิดขึ้น หรืออะไรเกิดขึ้น ซึ่งเป็นรูปธาตุ เพราะฉะนั้น โทสมูลจิตเกิดขึ้น โลภมูลจิตเกิดขึ้น จิตประเภทต่างๆ เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยที่ปรุงแต่งชั่วขณะเดียว แล้วก็ดับอย่างเร็วยิ่งกว่ารูปธาตุที่กล่าวถึง
เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่จะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังมีอยู่ให้ละเอียดขึ้นๆ จนกระทั่งละความที่จะไปต้องการรู้สิ่งนั้นสิ่งนี้ หรือความสงสัยใดๆ เพราะรู้ว่า เมื่อเป็นนามธาตุจบ เหมือนกับรูปธาตุทุกประการ คือแล้วแต่ว่าอะไรจะปรุงแต่งให้รูปธาตุชนิดไหนเกิดขึ้นฉันใด นามธาตุแต่ละขณะนี้ ก็มีสภาพธรรมที่ปรุงแต่งให้เกิดขึ้นฉันนั้น เท่านั้นเอง ก็จะค่อยคลายการที่จะไปยึดถือนามธาตุว่าเป็นตัวตน แต่ก็ต้องฟัง แล้วก็พิจารณาประกอบอีกมากทีเดียว ถ้าดูชีวิตของพระอริยสาวกในครั้งก่อน ท่านฟังธรรมสั้นๆ ท่านสามารถที่จะรู้ธรรม เพราะว่าขณะนี้เป็นธรรม แต่ว่าคนในสมัยนี้ที่ทรงแสดงถึง ๔๕ พรรษา ก็เพราะเหตุว่าไม่สามารถที่จะรู้แจ้งได้เร็วอย่างนั้น แล้วบางคนก็เรียนโดยการที่คิดว่า อยากจะเรียนมากๆ ได้มากๆ จบพระไตรปิฎก แต่เขาลืมว่า ถ้าเพียงรู้ชื่อ ชาติต่อไปก็ลืมแล้ว แม้แต่ชาตินี้ ต่อๆ ไปก็อาจจะลืมโน่นลืมนี่ไปทีละเล็กทีละน้อย แต่ถ้ามีความเข้าใจในตัวธรรม ในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ไม่คำนึงถึงปริจเฉท ไม่คำนึงถึงชื่อ แต่ว่าฟังแล้วเข้าใจเพิ่มขึ้นทุกครั้ง เวลาที่ชาติต่อไปได้ฟังอีก เขาก็สามารถที่จะเข้าใจได้ เพราะว่าพวกเราอาจจะเคยฟังภาษามคธ แล้วก็เข้าใจโดยภาษาบาลีในอดีตในเรื่องของสภาพธรรม แต่พอถึงชาตินี้ ใครพูดภาษาบาลีกับเรา ไม่รู้เรื่องเลย แต่ถ้าใครพูดด้วยภาษาไทย เพราะเราเป็นคนไทย ก็ทำให้เราสามารถที่จะเข้าใจสภาพธรรมในขณะนี้ได้ หรือถ้าเป็นชาวต่างชาติ ก็ต้องใช้ภาษานั้น
เรื่องภาษา เรื่องคำ เป็นแต่เพียงส่วนที่จะช่วยให้เข้าใจสภาพธรรม เพราะฉะนั้น พระไตรปิฎกทั้งหมดก็เหมือนกัน ถ้าเป็นท่านพระสารีบุตร ท่านก็ไม่ต้องอาศัยเลย เพราะว่าท่านเคยอบรมมาแล้วในอดีตที่จะเข้าใจสภาพธรรมโดยภาษาอะไรก็ตามแต่
เพราะฉะนั้น ก็ไม่ต้องกังวลถึงเรื่องศัพท์ หรือเรื่องภาษา แต่ว่าเรื่องการที่จะศึกษาพิจารณาให้เข้าใจตัวสภาพธรรมเดี๋ยวนี้ แม้ว่าจะเป็นเพียงปรมัตถธรรมซึ่งมี ๔ แต่ปรมัตถธรรมจริงๆ ขณะนี้ซึ่งไม่ใช่นิพพาน ก็คือจิต เจตสิก รูป แค่นี้เอง ในพระไตรปิฎก อรรถกถาทั้งหมด ที่จะให้เข้าใจลึกจริงๆ จนกระทั่งว่าจิตต่างกับเจตสิก เพื่อที่เวลาที่สภาพของจิตปรากฏ ซึ่งเป็นธาตุรู้ ที่เป็นใหญ่เฉพาะรู้อารมณ์เท่านั้นอย่างเดียว ก็สามารถจะเห็นความต่างกันของจิต และเจตสิกได้
ผู้ฟัง กว่าจะมีปัญญารู้ความต่างกันของจิตกับเจตสิก คงจะอีกไกล
ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้ว สภาพเจตสิกปรากฏเป็นเจตสิก อย่างความโกรธ ลักษณะที่โกรธ เพราะว่าขณะนั้นธาตุซึ่งเป็นมนินทรีย์ หรือเป็นใหญ่ในการรู้ไม่ได้ปรากฏเลย
ผู้ฟัง เฉพาะลักษณะโกรธก็ไม่สงสัย แต่ถ้าบอกว่า แม้โกรธนั้นก็เป็นสภาพธรรมที่เป็นนามธรรม เมื่อเป็นนามธรรมก็มีลักษณะรู้อารมณ์เหมือนกัน แต่ว่าการรู้อารมณ์ของโทสเจตสิก ต่างกับการรู้อารมณ์ของ โทสมูลจิต ถ้าเผื่อรู้ความต่างกันระหว่างจิตกับเจตสิก ทีนี้ว่ากว่าจะถึงวันที่รู้จิตกับเจตสิกต่างกัน
ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วสภาพธรรมเกิดร่วมกัน แต่เวลาที่สติระลึกจะระลึกทีละลักษณะแล้วเวลาที่สภาพธรรมปรากฏก็ปรากฏทีละลักษณะจริงๆ เพราะฉะนั้น ถ้าสภาพของจิตปรากฏโดยสภาพที่เป็นธาตุรู้เท่านั้น ไม่มีอะไรเลยปะปนอยู่ในที่นั้น นั่นคือเห็นความเป็นมนินทรีย์ ซึ่งต้องเป็นใหญ่ แต่ว่าเป็นใหญ่ เพียงแค่รู้ สิ่งที่กำลังเป็นอารมณ์ รู้แจ้งอย่างเห็นเดี๋ยวนี้ นี่คือจิต เพราะขณะนี้ผัสสเจตสิกแม้มีก็ไม่ปรากฏ เจตนาเจตสิกแม้มีก็ไม่ปรากฏ ต่อเมื่อใดลักษณะของเจตสิกแต่ละอย่างนี้ปรากฏ ก็รู้ว่า ขณะนั้นเป็นสภาพรู้ซึ่งต่างกับจิต
ผู้ฟัง ที่ว่าจิตเป็นสภาพที่รู้แจ้งอารมณ์ ถ้าหากเป็นวิบากจิตก็พอที่จะเข้าใจ
ท่านอาจารย์ สมัยโน้นท่านพระสารีบุตรฟัง แล้วท่านไม่ต้องใช้คำว่า วิบากจิตเลย เดี๋ยวนี้เรามีชื่อเข้ามาใส่แล้วเราก็ลืม แล้วก็มัวแต่ไปยุ่งกับวิบากบ้าง ชื่อนั้น ชื่อนี้บ้าง แต่ว่าขณะนี้กำลังเห็นแจ้งสิ่งที่ปรากฏ ซึ่งถ้าไม่ใช่จิตเห็นแล้ว หลับตาไป นึกเท่าไรว่าเห็นแจ้งอย่างนี้เป็นอย่างไร ก็ไม่รู้แล้ว เพราะฉะนั้น ที่จะแจ้งได้ต่อเมื่อลืมตาแล้วเห็น นี่จะรู้ได้เลย เราไม่ต้องใช้วิบาก ไม่ต้องใช้คำอะไรหมด แค่ ๖ ทางไม่เป็นเครื่องกั้นเรา
ผู้ฟัง ถ้าพูดคำว่าจิตเห็น เห็นสภาพของความรู้แจ้งหรือว่าจิตได้ยิน ก็พอที่จะเห็นได้ ความเป็นธาตุของธาตุรู้ เป็นธาตุของการรู้แจ้งอารมณ์ รู้สึกว่าจะเห็นยาก
ท่านอาจารย์ อย่างนี้ถูกต้องไหมที่ว่า ขณะนี้ก็มีจิต มีเจตสิก แล้วแต่ปัญญาของเราจะค่อยๆ รู้อะไรทีละน้อยแสนน้อยในเรื่องของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ จนกว่าความรู้นั้นจะเพิ่มขึ้นๆ ชัดขึ้น จนหมดความสงสัย เพราะว่าต้องรู้ว่า ระดับขั้นของการฟังเป็นเรื่องหนึ่ง แล้วระดับขั้นของการฟัง เป็นฟังแล้วเข้าใจยังต้องไปอีกขั้นหนึ่ง เพราะว่าฟังด้วยกัน ไม่ทราบว่าความเข้าใจแต่ละคนจะมากน้อยขนาดไหน ถ้าสะสมมามาก ป่านนี้สบายมากเลยที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เพราะกำลังปรากฏ เมื่อได้ยินได้ฟังทันที สามารถที่จะรู้ในความหมาย และประจักษ์ในความจริงได้
เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่ว่า เมื่อความจริงเป็นอย่างไร ค่อยๆ เข้าใจให้ตรงลักษณะนั้น เพราะว่าขณะนี้เรากำลังพูดถึงเรื่องจิต เป็นสภาพที่มีจริง แต่รู้ยาก ทั้งๆ ที่ทุกคนยอมรับว่ามีจิต เข้าใจได้ แต่ไม่ใช่รู้โดยประจักษ์
นี่ก็แสดงให้เห็นว่า กว่าเราจะค่อยๆ เข้าใจ แล้วเรายังไม่ต้องไปพูดถึงจิตประเภทไหนหมด แต่ที่มีจิตเห็น มีจิตได้ยิน มีจิตได้กลิ่น มีจิตลิ้มรส มีจิตรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส มีจิตคิดนึกขณะใด ขณะนั้นเป็นขณะที่สติสามารถที่จะระลึกรู้
นี่ก็แสดงให้เห็นความต่างกันแล้ว แต่หลังจากนั้นแล้ว ความรู้ก็จะเพิ่มขึ้นถึงสภาพของจิตซึ่งคั่นอยู่ระหว่างจิตเหล่านี้ เพราะว่าต้องไม่ใช่มีจิตเห็นตลอด เป็นไปไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น กว่าปัญญาจะค่อยๆ เข้าใจ แล้วก็อบรม ก็เป็นเรื่องของจิรกาลภาวนา แต่เป็นเรื่องละความอยาก หรือเป็นเรื่องละของความหนักใจ ถ้าเกิดหนักใจเมื่อไรในการเรียนธรรม ให้ทราบว่า ขณะนั้นผิด มาแล้ว ความเป็นตัวตนหนาแน่นหนัก จนกระทั่งทำให้ไม่เบาเลย แม้ว่าจะรู้ว่าเป็นแต่เพียงนามธรรมรูปธรรม ก็ไม่ช่วยให้มีความเบาสบาย หรือละคลาย กลับเป็นความต้องการด้วยความเป็นตัวตน
เพราะฉะนั้น ปัญญาจะต้องเกิด และระลึกได้ แม้แต่ในหนทางที่ถูกว่า ถ้าเป็นหนทางที่ถูกแล้วก็คือว่า ขณะใดที่ศึกษา ขณะนั้นมีความเข้าใจ แล้วมีความเบาสบาย แต่พอเกิดความหนัก หรือความต้องการเมื่อไร เมื่อนั้นก็เป็นตัวตน เป็นอกุศลทันที
ผู้ฟัง อันที่จริงมาถึงจุดนี้ มันอธิบายยากเลย ในสภาพเห็น รู้สึกว่า ใครอธิบายมาให้ฟังหน่อยสิว่า อธิบายอย่างไรก็ไม่พ้นปริยัติไปได้
ท่านอาจารย์ ใช่ ไม่พ้นปริยัติ หรือต้องพูดปริยัติ แต่ขณะที่กำลังฟังมีความเข้าใจแค่ไหน อย่างคำว่า ธาตุ ถ้าใช้คำว่า ธาตุ ทุกคนไม่ยึดถือธาตุนั้นว่าเป็นเรา หรือเป็นใครเลย ธาตุน้ำ หรือว่าธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุทางวิทยาศาสตร์ ธาตุอะไรก็แล้วแต่ ทุกคนไม่ยึดถือ เพราะรู้ว่าเป็นธาตุ นั่นคือรูปธาตุ แล้วทำไมนามธาตุก็มีด้วย ในโลกนี้ไม่ใช่มีแต่เฉพาะรูปธาตุอย่างเดียว นี่คือความรู้ที่ถูกต้อง ไม่มีคนแล้ว มีแต่ธาตุ
ในโลกนี้ไม่ได้มีแต่รูปธาตุอย่างเดียว มีนามธาตุด้วย เพราะฉะนั้น นามธาตุนี้ต่างหากที่เราจะต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่า ต่างกับรูปธาตุอย่างไร เพราะเหตุว่า รูปธาตุไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย แล้วไม่ต้องไปตั้งชื่อมากมาย อย่างทางวิทยาศาสตร์ด้วย ธาตุที่เป็นรูปธาตุ เพราะไม่ใช่ธาตุที่สามารถจะรู้อะไร อย่างเสียง หรือแข็ง ไม่ใช่สภาพรู้ หรือธาตุรู้ แต่นามธาตุที่ได้ยินเสียง เป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้เสียง เวลาที่เสียงปรากฏ นี่คือการฟังที่เราจะต้องเข้าถึงลักษณะที่เป็นธาตุของสภาพนี้ เพื่อที่จะเห็นว่าไม่ใช่เราที่กำลังได้ยิน เป็นชั่วธาตุชนิดหนึ่งซึ่งอาศัยเหตุปัจจัยเกิด เหมือนรูปธาตุ รูปธาตุอาศัยเหตุปัจจัยเกิดฉันใด ธาตุได้ยิน ใช้คำว่า ธาตุได้ยิน หรือธาตุรู้เสียง ก็อาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้นฉันนั้นแล้วก็ดับ
นี่คือที่เราฟังแล้ว เราเข้าใจแค่ไหน เพราะว่าจริงๆ แล้ว อ่านก็คือฟังเหมือนกัน แต่ว่าฟังโดยเสียงที่จำจากการอ่าน เพราะว่าเวลาเห็นตัว ก. เห็น ตัว ข. เห็นไม้เอก เห็นไม้โท มีความจำในเสียงที่ปรากฏ ถ้าไม่มีความจำในเสียงที่ต่าง จะไม่รู้เรื่องราวใดๆ ทั้งสิ้น เพราะดอกกุหลาบนี้ไม่มีเลย ไม้เอก ไม้โท อ่านอย่างไรก็ไม่ออกมา เป็นเรื่องอะไรทั้งหมด เพราะว่าไม่มีเสียง แต่ว่าบัญญัติที่เราใช้เสียง สำหรับให้เข้าใจความหมาย เพราะฉะนั้น การอ่านเหมือนการฟัง เพียงแต่ว่าเปลี่ยนจากหู เป็นตา
ผู้ฟัง ทีนี้พูดถึงว่า การฟังรวมทั้งการอ่าน
ท่านอาจารย์ การสนทนาธรรม การอ่าน การศึกษาทุกอย่าง ที่จะทำให้เข้าใจธรรม โดยประการใดๆ ก็ตามที่จะให้เข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏจริงๆ
ผู้ฟัง จุดประสงค์อันนี้สำคัญที่สุด
ท่านอาจารย์ สำคัญที่สุดเจ้าค่ะ
ผู้ฟัง ถ้าเผื่อจะเรียนให้มากแค่ไหน ต้องอย่าลืมว่า เพื่อเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
ท่านอาจารย์ ต้องย้อนกลับมาที่นามธรรม รูปธรรมตลอดเวลา
ผู้ฟัง และมาที่ลักษณะของสัมมาสติจริงๆ
ท่านอาจารย์ เจ้าค่ะ แล้วก็ลักษณะที่เป็นจิต เจตสิก รูป ให้เข้าใจขึ้น เพราะว่าจะเป็นปัจจัย สังขารขันธ์ที่จะปรุงแต่งให้สติระลึกได้ ว่าขณะนี้เป็นจิตที่กำลังเห็น ที่กำลังรู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏ เพราะลักษณะของจิตเป็นสภาพที่รู้แจ้ง ขณะนี้เราเห็นเลยว่า นี่จิตนะที่กำลังเห็นแจ้งจริงๆ จิตประเภทหนึ่ง พอได้ยินเสียงขณะใด ก็เป็นสภาพของจิตที่กำลังรู้แจ้งเสียงที่กำลังถูกได้ยิน หรือกำลังปรากฏ
ผู้ฟัง แต่กว่าจะพัฒนามาเป็นสัมมาสติในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น ผมว่าก็คงต้องพัฒนามาจากสติขั้นต้นๆ
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง จนกว่าจะเป็นสติเท่านั้นที่เกิด สติเท่านั้นที่ดับ
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้น สติประเภทนี้เป็นสัมมาสติในมรรคมีองค์ ๘
ท่านอาจารย์ ถ้าขณะนั้นเป็นเพียงนึก
ผู้ฟัง ก็นึกถูก
ท่านอาจารย์ นึกถูกกับสติที่ระลึกลักษณะ ไม่ใช่เราบอกว่า ไม่ใช่ตัวตน เราบอกได้ แต่ว่าจริงๆ แล้วความรู้ของเราถึงขั้นที่จะประจักษ์ธาตุ ที่ไม่ใช่ตัวตนจริงๆ หรือเปล่า
ผู้ฟัง ก็คิด แต่คิดถูก
ท่านอาจารย์ กลัวว่าจะคิดผิด ไม่ใช่กุศลหรือ ไม่ต้องห่วงใย ธรรม คือ เรื่องตรง คิดคือคิด ยอมรับว่า คิดคือคิด
ผู้ฟัง อาจารย์ก็บอก ไม่ได้ห้ามคิด
ท่านอาจารย์ ใครห้ามใครได้ ไม่มีเลย ไม่มีทางเลย ทุกขณะจิต ถ้าเห็นจริงๆ ขณะที่สั้นแสนสั้น แล้วแต่ละขณะก็เกิดเพราะเหตุปัจจัยมากมายหลายอย่าง เจตสิกต้องอย่างน้อยที่สุด ๗ ดวง คิดดู แว๊บเดียว หมดแล้ว แล้วก็จะมีปัจจัยทำให้ธาตุชนิดนี้ ซึ่งเป็นธาตุรู้เกิดอีก รู้ต่อไปอีก เกิดขึ้นเพื่อที่จะรู้ สิ่งหนึ่งสิ่งใด แล้วก็ดับหมด สูญสิ้นจริงๆ แต่การดับของขณะก่อน ก็เป็นปัจจัยให้ขณะต่อไปเกิด ไม่สิ้นสุด จนกว่าปัญญาจะถึงความสมบูรณ์ เพราะว่านามธาตุไม่ใช่ธาตุที่จะดับโดยความไม่รู้ แต่ต้องดับโดยปัญญาที่รู้ความจริงของนามธาตุนั้น
บางคนก็บอกว่าไม่น่าจะเกิดเป็นคนเลย ลำบาก ทุกข์ยาก ทุกข์บ้าง สุขบ้าง เจ็บไข้ได้ป่วยบ้าง เป็นต้นหมากรากไม้ก็สบายดี แต่อย่าลืมว่า นั่นคือรูปธาตุ และนี่ก็ไม่ใช่เรา แต่เป็นนามธาตุ เป็นเพียงธาตุซึ่งเกิดเพราะปัจจัยปรุงแต่งเท่านั้น ห้ามไม่ได้ เหมือนรูปธาตุ ให้เห็นว่ามี ๒ อย่าง แล้ว ๒ อย่างนี้ต่างกัน ถ้าเห็นว่าเป็นธาตุก็น่าจะจบ คือไม่มีความเป็นเราจริงๆ สักขณะเดียว เพราะว่าจริงๆ แล้วจะเห็นได้จริงๆ ว่า ถ้าศึกษาจะเข้าใจเลยว่า แม้แต่รูปตลอดศีรษะจรดเท้า จะเป็นมหาภูตรูป คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม แต่มหาภูตรูปไม่เป็นอินทรีย์เลย ไม่เป็นใหญ่ ต่อให้เราจะมีรูปที่เป็นธาตุดิน น้ำ ไฟ ลมมากมายก่ายกองก็ยังไม่ใหญ่ ที่ใหญ่จริงๆ นั้น จักขุนทรีย์ อยู่ตรงกลางตา ซึ่งเป็นรูปพิเศษที่ทำให้เห็น
ทั้งเนื้อทั้งตัว รูปที่เป็นอินทรีย์จะแจกไว้เลยว่า มีอะไรบ้าง แล้วก็ชั่วขณะที่เกิด แล้วก็ดับ แล้วก็มีขณะต่อไปเกิด ทั้งนามธรรม ทั้งรูปธรรม แล้วก็แสดงโดยละเอียดต่อไปว่า รูปธาตุนั้นมีอายุยืนยาวเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ ซึ่ง ๑๗ ขณะนี่ไม่ต้องพูดเลย ไม่ต้องนึกเลยว่า เร็วแค่ไหน รูปดับเร็วมาก เพราะฉะนั้น รูปที่เป็นอินทรีย์เท่านั้นเห็นได้ เท่าที่เรานั่งอยู่นี้ขณะนี้ เพราะรูปที่เป็นอินทรีย์ ทำให้มีการเห็น มีการได้ยิน มีการได้กลิ่น มีการรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส แล้วไม่มีอะไรเหลือตามประเภทของรูปธาตุนั้นๆ กับนามธาตุนั้นๆ
เรื่องจิตกับเจตสิกเกิดดับพร้อมกัน ยังสงสัยไหม เพราะว่าคนส่วนใหญ่คิดว่าจิตเกิด แล้วต่อไปก็เจตสิกเกิดตามหลัง หรือเกิดต่อ แต่ความจริงขณะหนึ่งที่จิตเกิดขึ้น จะต้องมีเจตสิกเกิดพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกัน ดับพร้อมกัน ไม่แยกกัน แยกกันไม่ได้เลย ไม่ใช่จิตเกิด แล้วก็เจตสิกเกิด แต่เจตสิกไม่ทำหน้าที่อะไรเลยก็ไม่ได้ เพราะว่าสภาพธรรมทุกอย่างมีลักษณะที่ต่างกัน จึงจำแนกออกเป็นเจตสิกชนิดนั้น ต่างจากเจตสิกชนิดนี้ แล้วก็มีกิจการงานแต่ละเจตสิกต่างๆ กันด้วย ทั้งจิต และเจตสิกเกิดขึ้นทำกิจการงานของตนๆ พร้อมๆ กัน
ผู้ฟัง เมื่อพร้อมกันเสร็จแล้วก็ดับ จิตที่เห็นก็ดับ
ท่านอาจารย์ จิต และเจตสิกดับ
ผู้ฟัง จิต และเจตสิกที่เห็นครั้งแรกก็ดับ สมมติทางตา แล้วต่อไปก็จะมีจิตดวงใหม่เกิดขึ้น
ท่านอาจารย์ ไม่หยุดเลย ตั้งแต่เกิดจนตาย
ผู้ฟัง จิตดวงใหม่เกิด เขาเรียกว่าอะไร
ท่านอาจารย์ แล้วแต่ทำหน้าที่อะไร เพราะจิตทุกดวงต้องทำหน้าที่ จิตขณะแรกที่สุดทำปฏิสนธิกิจ คือสืบต่อจากจุติจิตของชาติก่อน นี่เรียกชื่อจิตตามกิจ โดยจริงๆ แล้วเป็นวิบากจิต คือ เป็นจิตที่เป็นผลของกรรม
นี่เราต้องแยก แม้แต่กิจ แม้แต่ชาติ แม้แต่ภูมิของจิต ขณะหนึ่งซึ่งเกิดขึ้น ซึ่งต่างๆ กันออกไป แต่หลักสำคัญก็คือให้ทราบว่า จิตกับเจตสิกเกิดพร้อมกัน แต่จิตไม่ได้ทำหน้าที่ของเจตสิก และเจตสิกก็ไม่ได้ทำหน้าที่ของจิต แล้วเจตสิกที่เกิดพร้อมกันเช่น ๗ ดวง แต่ละขณะ แต่ละประเภท ทำหน้าที่ของตน ไม่ก้าวก่ายกัน อย่างเวทนาเจตสิกจะทำหน้าที่ของสัญญาเจตสิกไม่ได้ สัญญาเจตสิกจะทำหน้าที่ของเวทนาเจตสิกไม่ได้ อย่างไหนก็อย่างนั้น ประเภทไหนก็ประเภทนั้น ลักษณะต่างกัน กิจหน้าที่ต่างกัน
ถ้าเกิด ๗ ดวง แต่ละ ๗ ดวงก็ทำกิจของเขาเฉพาะๆ อย่าง ถ้า ๓๐ ดวงก็เฉพาะอย่างของเจตสิกนั้นๆ จิตเกิดโดยไม่มีเวทนาเจตสิกไม่ได้ โดยไม่มีสัญญาเจตสิกไม่ได้ โดยไม่มีสังขารขันธ์ คือ เจตสิกอื่นๆ ไม่ได้
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 301
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 302
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 303
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 304
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 305
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 306
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 307
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 308
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 309
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 310
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 311
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 312
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 313
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 314
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 315
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 316
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 317
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 318
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 319
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 320
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 321
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 322
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 323
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 324
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 325
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 326
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 327
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 328
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 329
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 330
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 331
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 332
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 333
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 334
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 335
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 336 ***
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 337
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 338
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 339
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 340
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 341
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 342
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 343
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 344
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 345
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 346
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 347
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 348
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 349
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 350
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 351
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 352
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 353
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 354
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 355
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 356
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 357
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 358
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 359
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 360