ปกิณณกธรรม ตอนที่ 374
ตอนที่ ๓๗๔
สนทนาธรรม ที่ จ.เชียงใหม่
พ.ศ. ๒๕๔๑
ท่านอาจารย์ ขันธ์ ๕ เรารู้จัก แต่แตกออกไปเป็นสักกายทิฏฐิ ๒๐ โดยยึดรูปว่า เป็นเรา มีเราในรูป มีรูปในเราทั้งนั้น เป็นความละเอียดของธรรมซึ่งจะรู้ได้ด้วยปัญญาที่ละเอียดขึ้นๆ เพราะเหตุว่าการที่จะละการยึดถือสภาพธรรมว่า เป็นตัวตน ไม่ใช่เพียงแค่นี้นิดเดียว ทุกอย่างในชีวิตซึ่งเคยไม่รู้ ซึ่งเป็นเรา ก็จะต้องมีความละเอียด มีความชำนาญ มีความคุ้นเคยต่อลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม เวลาที่สติระลึก ผู้ที่รู้ความต่างกันของนามธรรม และรูปธรรม ก็สามารถที่จะรู้ความเป็นนามธรรม และรูปธรรมเป็นปกติ แล้วก็จะต้องเพิ่มขึ้นอีก จนกว่าจะคลาย เวลาคลายก็รู้ว่ามาจากความรู้ ความเข้าใจ ปริยัติ การศึกษาทั้งหมด ที่ฟังไปศึกษาไป จะเกื้อกูล เพื่อการคลายการยึดถือสภาพธรรม โดยการที่พิจารณาแล้วก็สามารถที่จะเข้าใจว่า ขณะนี้ที่ทุกอย่างปรากฏเพียงชั่วขณะที่ไม่ใช่ภวังคจิต ก็ทำให้เราสามารถที่จะรู้ได้ว่า ขั้นฟังขั้นนี้ยังไม่ถึงขั้นโน้น แต่ขั้นนี้ก็จะไปเกื้อกูลขั้นโน้น
เพราะฉะนั้น สัจจญาณก็จะประคับประคองตลอดไป ไม่ว่าจะเป็นกิจจญาณ หรือ กตญาณแต่ละขั้น เพราะฉะนั้น จึงเป็น ๑๒ ไม่ใช่เพียง ๔ เพราะว่าอริยสัจ ๔ มี ๓ รอบ ต้องประกอบพร้อมทั้งสัจจญาณ กิจจญาณ และกตญาณ
ผู้ฟัง ผมขออนุญาตทบทวนเพื่อความเข้าใจ ที่อาจารย์ได้กล่าวเมื่อกี้ว่า สติปัฏฐานจะเกิดในห้วงของชวนจิต ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ๗ ขณะ
ผู้ฟัง สติปัฏฐานก็ในห้วงชวนจิตเหมือนกันหรือ ถ้าพูดถึงว่าสติปัฏฐานเกิด ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ถ้าพูดถึงอย่างนี้ คุณศีลกันต์กำลังพูดถึงกิจของจิตซึ่งมี ๑๔ กิจ ตัด ปฏิสนธิกิจ ภวังคกิจ จุติกิจ ออก ๓ เหลือ ๑๑ กิจ ไม่อย่างนั้นคนอื่นจะไม่เข้าใจ เรากำลังพูดเรื่องอะไร แต่ให้ทราบว่า กำลังพูดเรื่องกิจหน้าที่ของจิต จิตทั้งหมดจะมีมากมายมหาศาลสักเท่าไรก็ตาม เกิดขึ้นทำกิจทีละหนึ่งกิจ อย่างปฏิสนธิจิตทำปฏิสนธิกิจหนึ่งกิจ ดับไป ไม่ทำกิจอื่นเลย หลังจากที่ปฏิสนธิจิตดับ จิตต่อไปไม่ได้ทำปฏิสนธิ แม้ว่าเป็นจิตประเภทเดียวกัน เป็นผลของกรรมเดียวกัน แต่ทำภวังคกิจ แม้ว่าเป็นจิตประเภทเดียวกัน เป็นผลของกรรมเดียวกัน แต่ทำภวังคกิจ เพราะว่าไม่ได้สืบต่อจากจุติจิตของชาติก่อน แต่ว่าดำรงรักษาภพชาติความเป็นบุคคลนี้จนกว่าจะถึงจุติ
เพราะฉะนั้น จิตใดก็ตามซึ่งไม่รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จิตนั้นทำภวังคกิจหลังจากปฏิสนธิจิตดับแล้ว นี่เป็นกิจที่เท่าไร ถ้าเราพูดถึงปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ ภวังคกิจ เป็นกิจที่ ๒ ยังไม่ถึงจุติ
ทีนี้กรรมไม่ได้ทำให้เราเพียงแค่เกิดมาเป็นภวังค์ ก่อนจะเห็นก็จะต้องมีสี ถ้าเป็นทางตา กระทบจักขุปสาท กระทบภวังคจิตขณะหนึ่งแล้วก็ดับไป สียังไม่ดับ สีมีอายุเท่ากับจิต เกิดดับ ๑๗ ขณะ ถ้าเรากล่าวถึงสิ่งที่ปรากฏทางตาที่กระทบกับจักขุปสาท พร้อมกับการเกิดของภวังค์ เราจะใช้คำว่า อตีตภวังค์ หมายความว่า ภวังค์นี้มีอารมณ์ เช่น อตีต คือภวังค์ดวงก่อน ยังไม่เปลี่ยนอารมณ์ ยังมีอารมณ์เดียวกับภวังค์ก่อน เป็นอตีตภวังค์ ดับไปแล้ว เป็นปัจจัยให้ภวังค์ต่อไป เป็นภวังคจลนะ เริ่มไหวที่จะเปลี่ยนอารมณ์ เมื่อภวังคจลนะดับไปแล้ว ก็เป็นภวังคุปัจเฉท หมายความถึง ภวังค์ดวงสุดท้ายก่อนที่วิถีจิตจะเกิด ยังเป็นภวังค์อยู่ รูปเหลือเท่าไร ในเมื่อมีอายุ ๑๗ ขณะ หมดไปแล้ว ๓ ขณะ เพราะฉะนั้น รูปเหลืออีกเพียง ๑๔ ขณะของจิต แล้วก็จากการที่ภวังคจิต เป็นผลของกรรมหนึ่ง จะเปลี่ยนเป็นผลของอีกกรรมหนึ่ง ที่จะรู้หรือรับอารมณ์ทางตา หรือทางหู หรือทางจมูก ไม่สามารถจะเป็นวิบากอีกชนิดหนึ่ง ทันทีได้โดยปัจจัยที่ว่าเป็น อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย หมายความว่าเมื่อจิตขณะหนึ่งดับ เป็นปัจจัยให้จิตขณะหนึ่งต่อ ชื่อว่าจิตนั้นเป็นอนันตรปัจจัย เป็นสภาพที่เป็นปัจจัยที่ทันทีที่จิตนี้ดับ เป็นปัจจัยให้ขณะจิตอื่นเกิดขึ้นโดยเป็นอนันตรปัจจัย ๑ ปัจจัย แต่อีกปัจจัยหนึ่ง ในจิตทุกขณะก็คือ สมนันตรปัจจัย ไม่เป็นปัจจัยให้จิตประเภทอื่นเกิด นอกจากจิตที่จะสืบต่อ ทำกิจสืบต่อเท่านั้น จึงจะเกิดได้
เพราะฉะนั้น หลังจากภวังคุปัจเฉทะดับแล้ว จิตที่จะสืบต่อจากจิตนี้ จะเป็นจิตอื่นไม่ได้เลย นอกจากอาวัชชนจิตซึ่งเป็นกิริยาจิต เป็นอเหตุกจิต ๑ ใน ๓ ของอเหตุกกิริยาจิต ๓ ดวง
นี่แสดงให้เห็นว่า แม้ขณะนี้สภาพธรรมกำลังเป็นอย่างนี้ เป็นภวังค์ พอมีอารมณ์กระทบก็เป็นอตีตภวังค์ เป็น ภวังคจลนะ แล้วก็เป็นภวังคุปัจเฉทะ แล้วถ้าเป็นทางตาหรือหู จมูก ลิ้น กาย ก็เป็นอาวัชชนะ ซึ่งเป็นปัญจทวาราวัชชนะ สามารถที่จะรู้อารมณ์ได้ทางทวารทั้ง ๕ นี่เป็นกิจที่เท่าไร อาวัชชนกิจ กิจที่ ๔ หลังจากปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ แล้วนี่เป็นกิจที่ ๔ นี่เราไม่ได้เรียง แต่เรากำลังจะพูดถึงจิตที่ทำหน้าที่สืบต่อกัน มีทั้งหมด แค่ ๑๔ ทางตาเห็น ๑ กิจ ทางหูได้ยิน ๑ กิจ รวมเป็น ๕ กิจ เมื่อกี้ ๔ กับ อีก ๕ เป็น ๙ เหลืออีกนิดเดียว ก็จะถึง ๑๔ กิจแล้ว เมื่ออาวัชชนจิตดับ จิตเห็นจึงจะเกิดขึ้นเห็นได้ หรือจิตได้ยินจึงจะเกิดขึ้นได้ยินได้ นี่ยังไม่ถึงชวนะ ที่คุณศีลกันต์ถาม เพียงชั่วหนึ่งขณะๆ ๆ ที่จิตเกิดขึ้นทำงานสืบต่อกัน ตามกิจการงานหน้าที่ โดยอนันตรปัจจัย และสมนันตรปัจจัย เมื่อจักขุวิญญาณ หรือโสตวิญญาณก็ตามดับไปกล้ว จิต ๑๐ ดวงนี้ดับไปแล้ว จิตที่เกิดต่อรับรู้สิ่งที่จิตเห็น หรือจิตได้ยิน จึงเป็นสัมปฏิจฉันนจิต ซึ่งทำสัมปฏิจฉันนกิจ บางครั้งเราเรียกชื่อจิตตามกิจ บางครั้งเราเรียกชื่อจิตตามอารมณ์ก็ได้ ก็แล้วแต่ประเภท
เพราะฉะนั้น เมื่อจิต ๑๐ ดวงนี้ดับไปแล้ว สัมปฏิจฉันนจิตรับต่อดับไปแล้ว จิตขณะต่อไป โดยสมนันตรปัจจัย ต้องเป็นสันตีรณจิต พิจารณา พิจารณาที่นี่ไม่ได้ยาว อย่างที่เรามานั่งไตร่ตรอง เพียงชั่วขณะเดียวก็รู้ว่า อารมณ์นั้นเป็นอารมณ์ที่น่าพอใจ หรือไม่น่าพอใจ เพราะเหตุว่าถ้าเป็นผลของกุศลกรรม สันตีรณจิตก็เกิดขึ้นรู้พิจารณาว่า เป็นสภาพธรรมที่เป็นลักษณะนั้นด้วยอุเบกขาสันตีรณะ แต่ถ้าอารมณ์นั้นประณีตมาก ฝ่ายกุศล จะเป็นโสมนัสสันตีรณจิต
นี่แสดงให้เห็นถึงความต่างกันแม้เล็กน้อยของอารมณ์ที่ปรากฏว่า บางครั้งโสมนัส บางครั้งอุเบกขา สำหรับสันตีรณะ แต่ไม่ใช่สำหรับสัมปฏิจฉันนะ
นี่ตามกิจหน้าที่แล้วก็เจตสิกที่เกิดร่วมด้วย แล้วโดยฐานที่เกิดด้วย นี่เป็นความละเอียดว่า ต้องเป็นอย่างนี้ตามเหตุตามปัจัจย
พอสันตีรณจิตดับไปแล้ว จิตต่อไปก่อนที่จะเป็นกุศลหรืออกุศล ก็จะต้องมีกิริยาจิต ซึ่งเป็นโวฏฐัพพนจิตเกิดก่อน ๑ ขณะ ให้เห็นว่า ๑ ขณะ ๑ ขณะ พอถึงชวนะ ไม่มีกิจที่จะต้องทำอย่างนั้นอีกแล้ว ก็แล่นไปด้วยความเป็นโลภมูลจิต หรือโทสมูลจิต หรือกุศลจิต ๗ ขณะ นี่เป็นเหตุใหม่ที่จะให้เกิดผลข้างหน้า เพราะว่าก่อนนั้นเป็นวิบาก เป็นผลของกรรม แต่เหตุใหม่ก็ตรงที่เป็น ชวนจิต คือ กุศลหรืออกุศล สำหรับพระอรหันต์ก็เป็นกิริยา สติก็ต้องเป็นกุศล เป็นมหากุศลจิต หรือกามาวจรกุศลจิต เพราะเหตุว่าไม่ใช่รูปาวจรจิต ไม่ใช่อรูปาวจรจิต ไม่ใช่โลกุตตรจิต ทำกิจชวนะ
ผู้ฟัง ถ้ามาถึงตรงชวนจิต ๗ ครั้ง ถ้าเรายังไม่สามารถที่เจริญสติ ได้ หมายถึงว่าเราก็ต้องสร้างกรรม สร้างภพต่อไปอีก
ท่านอาจารย์ ก็สะสมกุศล อกุศล
ผู้ฟัง สะสมกุศล อกุศล เพราะฉะนั้น เราจะต้องระลึกตรงสภาพว่า เมื่ออะไรเกิดขึ้น เรานึกว่าเป็นกุศล หรืออกุศล
ท่านอาจารย์ อย่าให้เป็นอย่างนั้นเลย อย่าให้มีคำว่าจะต้อง หรือจะไม่ต้อง หรือจะทำอะไรเลย เข้าใจธรรม ฟังแล้วก็เข้าใจ แล้วก็รู้ว่าขณะนี้เป็นอย่างนั้น แล้วก็ค่อยๆ รู้ ค่อยๆ รู้นั้นคือสติกำลังจะระลึกลักษณะที่เป็นปรมัตถ์ ไม่ใช่เพียงขั้นคิด เราคิดว่าแข็ง แต่ขณะนี้แข็งกำลังปรากฏ ไม่ใช่คิด ธรรมดาปกติในชีวิตประจำวัน แข็งปรากฏกับกายวิญญาณ คือ จิตที่รู้แข็ง ความรู้ที่เรียนมาจะค่อยๆ เข้าใจสภาพที่แข็ง หรือสภาพที่กำลังรู้แข็ง นี่คือการเริ่มต้นที่เป็นสติปัฏฐาน ที่เป็นวิปัสสนาภาวนา
ผู้ฟัง ถ้าหลงลืมก็ปล่อยเลยไปเลย
ท่านอาจารย์ ใครปล่อย ผ่านก็เป็นผ่านอยู่แล้ว ไม่ต้องมีเราที่จะไปปล่อยอีก
ผู้ฟัง พูดผิด สภาพธรรมก็ผ่านไป
ท่านอาจารย์ ก็ผ่านไป ทุกวันนี้ก็ผ่านไปอย่างนั้นด้วยความมีสติ หรือหลงลืมสติ เป็นปกติ
ผู้ฟัง อยากจะเรียนถามอีกว่า อย่างเช่นการหัวเราะ หรือการร้องไห้ ขณะนั้นสติไม่เกิด ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ขณะที่หัวเราะ
ผู้ฟัง หรือร้องไห้ก็ตามแต่ ขณะนั้นสติไม่เกิด ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ เป็นคนละขณะ
ผู้ฟัง การที่เราหัวเราะอยู่ ถือว่าเราหลงลืมสติหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ หัวเราะด้วยโลภะ หรือว่ายิ้มแย้มเบิกบานด้วยกุศลจิต
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น การที่เราพยายามขจัดตัวพวกนี้ไป เวลาได้รับอารมณ์มา แล้วก็เราพยายามลดที่จะไม่หัวเราะ คือพยายามจะกำหนดสติ นั้นเป็นวิธีที่ถูกหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ เลิกคิดว่าเราทำได้
ผู้ฟัง หรือว่ามันเป็นเพียงแค่ผลของกรรมที่มาทำให้เราหัวเราะ แล้วเราก็ต้องหัวเราะ หรือเราไม่ได้กำหนดว่า หัวเราะมันเป็น โลภะ
ท่านอาจารย์ ความจริงเป็นอย่างไร
ผู้ฟัง ความจริง คือหัวเราะคงจะเป็นโลภะ เพราะฉะนั้น ถ้าเกิดเราไม่หัวเราะ คือว่า เราพยายามขจัดโลภะตัวนี้อยู่
ท่านอาจารย์ เลิกคิดว่า เราขจัด หรือเราทำได้ พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้เราทำ ให้เราเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ถ้าปล่อยหัวเราะก็ปล่อยให้หัวเราะต่อไป
ท่านอาจารย์ ใครปล่อย
ผู้ฟัง ถ้าหัวเราะมันจะเกิด
ท่านอาจารย์ ถ้าหัวเราะแล้วใครปล่อย มีใครตรงไหนไปปล่อย
ผู้ฟัง แต่เราบังคับบัญชามันได้
ท่านอาจารย์ ไหนเรา
ผู้ฟัง สมมติว่าถ้าเกิด
ท่านอาจารย์ ไม่มีสมมติ เรื่องจริง
ผู้ฟัง ถ้าเกิดได้ยินเรื่องที่ตลกโปกฮามา เราก็หัวเราะ
ท่านอาจารย์ เป็นปัจจัยให้จิตเบิกบานเป็นโสมนัส มีอาการยิ้มแย้ม หรือหัวเราะ
ผู้ฟัง ถ้าเกิดไปบังคับ
ท่านอาจารย์ ด้วยความเป็นเรา แต่ไม่ใช่ด้วยการที่รู้ความจริง
ผู้ฟัง อย่างนั้นแสดงว่าการที่จะไประงับ บังคับมันได้นั้น ไม่ใช่
ท่านอาจารย์ บังคับไม่ได้ เราอาจจะคิดว่า มีเราที่บังคับ แต่ความจริงขณะนั้นเป็นจิตที่เห็นผิด เข้าใจผิดว่ามีเรา ไมได้รู้ว่าสภาพธรรม เป็นอย่างนั้นตามความเป็นจริง จะบังคับสิ่งที่เกิดแล้ว ได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ จะบังคับสิ่งที่ยังไม่เกิดได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้อีก
ท่านอาจารย์ แล้วจะบังคับอะไร บังคับสิ่งที่เกิดแล้วก็ไม่ได้ บังคับสิ่งที่ยังไม่เกิดก็ไม่ได้ แล้วจะบังคับอะไร
ผู้ฟัง แล้วสิ่งที่กำลังเกิด
ท่านอาจารย์ ก็บังคับไม่ได้ แล้วสิ่งที่ยังไม่เกิดก็บังคับไม่ได้ แล้วจะมาพูดเรื่องบังคับได้อย่างไร ในเมื่อบังคับไม่ได้ทั้งสิ่งที่ยังไม่เกิด และสิ่งที่เกิดแล้ว
ผู้ฟัง อย่างคนที่ทำอะไรจริงๆ จังๆ ได้รับเสียงที่น่าพอใจมา แต่เขาไม่หัวเราะ หรือเขาไม่เกิดเวทนาที่มีความสุขหรืออะไรทำนองต่อไป
ท่านอาจารย์ อัศจรรย์ไหม
ผู้ฟัง น่าอัศจรรย์อยู่
ท่านอาจารย์ อะไรจะอัศจรรย์โดยที่ไม่มีปัญญาเลย ปัญญาน่าอัศจรรย์ ถ้าไม่ใช่ปัญญาแล้วต่อให้เป็นอย่างไร ก็ไม่น่าอัศจรรย์ เป็นเรื่องธรรมดา อยากหัวเราะก็หัวเราะ ไม่อยากหัวเราะก็ไม่หัวเราะ
ผู้ฟัง เราพูดไปแล้ว เขาไม่ขำกับเรา เขามีสติ
ท่านอาจารย์ เขาก็ไม่อยากหัวเราะ เขาก็ไม่หัวเราะ
ผู้ฟัง แสดงว่าเขาไม่มีโลภะ หรือเปล่า
ท่านอาจารย์ เขาไม่มีโลภะเรื่องนี้ เขามีโลภะเรื่องอื่นไหม ทำไมเป็นเขา ทำไมไม่เอาเรา เอาตัวเราเลย เรื่องของเขา รู้ไม่ได้ เอาเรื่องของเราที่รู้ได้ดีกว่า
ผู้ฟัง อาจารย์ถามว่า เขามีโลภะเรื่องอื่นไหม
ท่านอาจารย์ ถามว่าคุณมีโลภะเรื่องอื่นไหม เวลาที่เขาคนอื่นพูดเรื่องขันๆ แล้วคุณไม่หัวเราะ คุณมีโลภะเรื่องอื่นไหม หรือไม่มีโลภะแล้ว หมดแล้ว ไม่มีแล้ว
ผู้ฟัง มีเรื่องอื่น
ท่านอาจารย์ ก็มีเรื่องอื่น ถึงได้ไม่หัวเราะ
ผู้ฟัง นั่นแสดงว่า ไม่มีโลภะ ก็เป็นไปไม่ได้
ท่านอาจารย์ ปกติ เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล
ผู้ฟัง เป็นอกุศล
ท่านอาจารย์ เป็นอกุศล เป็นโลภะ หรือโทสะ ปกติ
ผู้ฟัง เป็นโลภะ แล้วเราจะพยายามทำไม่ให้ปกติ ก็คือพยายามไม่ให้เกิดโลภะ
ท่านอาจารย์ มีเราที่ทำได้ หรือว่ามีสภาพธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย
ผู้ฟัง สภาพธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็เลิกคิดเรื่องทำ แต่ว่าพยายามเข้าใจสภาพธรรมเพิ่มขึ้นว่า เป็นธรรม ที่เป็นอนัตตา ถึงจะถูกต้อง ถ้าไปคิดเรื่องทำเท่าไรก็ไม่มีทางจะถูก เพราะว่าเป็นอัตตาด้วยความเห็นผิด ทั้งๆ ที่สภาพธรรมเป็นอนัตตา บังคับไม่ให้หิวได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ แล้วจะบังคับไม่หัวเราะได้อย่างไร นี่เป็นเรื่องความไม่รู้ทั้งหมด เรื่องความรู้คือไม่มีเรา มีจิต เจตสิก ซึ่งจะต้องฟังให้เข้าใจขึ้น ให้รู้ขึ้น ไม่ใช่มีกึ่งกลาง หรือไม่ใช่มีอะไรซึ่งไม่รู้ สภาพที่เป็นปรมัตถธรรม สิ่งที่มีจริงๆ มี ๔ อย่าง จิต เจตสิก รูป นิพพาน ปัญญา ก็คือ สามารถที่จะรู้สิ่งนั้นเป็นอะไร เมื่อไม่ใช่เราก็เป็นจิต หรือว่าเป็นเจตสิก หรือว่าเป็นรูป
ผู้ฟัง แสดงว่าการหัวเราะไม่ใช่เป็นสิ่งที่ดีเลย
ท่านอาจารย์ โลภะ เป็นสิ่งที่ดีไหม
ผู้ฟัง ไม่ดี
ท่านอาจารย์ ก็เป็นคำตอบ เพราะว่าโลภะทำให้หัวเราะ
ผู้ฟัง ถ้าไม่มีโลภะ คือว่าไม่มีสังขารขันธ์
ท่านอาจารย์ สังขารขันธ์ มีสภาพธรรม คือ จิต เจตสิก รูป ถ้าไม่กล่าวถึงนิพพาน เพราะฉะนั้น สังขารขันธ์เป็นอะไร
ผู้ฟัง คงจะเป็นเจตสิก
ท่านอาจารย์ ในเจตสิก ๕๒ เวทนาเจตสิก ๑ ใน ๕๒ เป็นเวทนาขันธ์ สัญญาเจตสิก ๑ ใน ๕๒ เป็นสัญญาขันธ์ เจตสิกที่เหลืออีก ๕๐ เป็นสังขารขันธ์
เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้เวลาที่พูดขันธ์ ๕ เราพูดด้วยความเข้าใจ ไม่ใช่พูดตาม
ขันธ์ หมายความถึงสภาพธรรมซึ่งเป็นจิต เจตสิก รูป เพราะว่าเป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป มีปัจจัยปรุงแต่ง สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วดับไป เราสามารถที่จะจัดประเภทได้หลายประเภท จัดโดยประเภทที่เป็นนามธรรมก็ได้ เป็นรูปธรรมก็ได้ ซึ่งก็ไม่พ้นจากปรมัตถธรรม คือ จิต เจตสิก รูป หรือว่าจะจัดโดยประเภทของกอง หรือว่าชนิดก็ได้ เช่น รูปขันธ์ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นสี เป็นเสียง เป็นกลิ่น เป็นรส เป็นแข็ง เป็นเย็น เป็นอะไรก็ตามแต่ ที่เป็นสภาพที่ไม่รู้ทั้งหมด เป็นรูปขันธ์ อยู่ในประเภทของรูปขันธ์ อยู่ในส่วนของรูปขันธ์ อยู่ในกองของรูปขันธ์ จะไม่อยู่ทางฝ่ายนามธรรมเลย นี่เราพูดถึงเรื่องรูปขันธ์ ด้วยความเข้าใจ ขันธ์ที่ ๑.
ขันธ์ที่ ๒. เวทนาขันธ์ ได้แก่เจตนาเจตสิก๑ ความรู้สึกทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกดีใจ เสียใจ โทมนัส สุข ทุกข์ทางกาย ล้วนเป็นความรู้สึก เป็นสภาพรู้สึก สภาพรู้สึกจะเกิดในอดีตแสนโกฏิกัปป์มาแล้ว หรือกำลังเกิด หรือจะเกิดต่อไป ก็เป็นธรรมฝ่ายที่เป็นประเภทความรู้สึก อยู่ในกองหนึ่ง ขันธ์หนึ่ง พวกหนึ่ง คือ เวทนาขันธ์
ส่วนสภาพของเจตสิกอีกชนิดหนึ่ง คือ ความจำ มีจริงๆ ที่กำลังจำได้ จำทุกสิ่งทุกอย่าง แสนโกฏิกัปป์มาแล้ว เจตสิกนี้ก็จำ ขณะนี้ก็จำ ต่อไปก็จำ อยู่ในประเภทนี้ จะเป็นประเภทอื่นไม่ได้ ไม่ใช่เจตสิกอื่น เจตสิกเดียว คือ สัญญาเจตสิก เป็นสัญญาขันธ์
ส่วนเจตสิกอื่นทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสติ ปัญญา หิริ โอตตัปปะ ศรัทธา วิริยะ อะไรทั้งหมดที่เราได้ยินชื่อ เป็นลักษณะของเจตสิกแต่ละชนิดซึ่งเป็นสังขารขันธ์
เพราะฉะนั้น เราก็พูดถึงเรื่องสังขารขันธ์ด้วยความเข้าใจ ไม่ใช่พูดโดยไม่เข้าใจ ส่วนจิตทุกชนิดเป็นวิญญาณขันธ์ เพราะฉะนั้น ก็ครบขันธ์ ๕ สิ่งได้แก่ปรมัตถธรรม ๓ อย่าง คือ จิต เจตสิก รูป
จริงๆ อยู่คนเดียวหรืออยู่กันหลายคน
ผู้ฟัง อยู่หลายๆ คน
ท่านอาจารย์ หลายๆ คนในความคิด ถ้าไม่คิดอยู่คนเดียวหรืออยู่หลายคน
ผู้ฟัง อยู่คนเดียว
ท่านอาจารย์ อยู่คนเดียว เพราะฉะนั้น ที่ว่าหลายคน ในความคิด เพราะจิตคิด จึงมีหลายคน เพราะฉะนั้น ถ้าเราเข้าใจตามความเป็นจริง เราต้องเป็นคนที่อาจหาญร่าเริง ที่จะละความเป็นตัวตนทั้งหมด ไม่มีเลย ไม่มีเหลือ คนใดๆ ในโลก หรือรวมทั้งเราก็ไม่มี กล้าพอที่จะเผชิญความจริงว่า เป็นแต่เพียงสภาพธรรมซึ่งเพียงเกิดแล้วก็ดับ ถ้าไม่มีปัญญาจะกลัวเลย แต่ถ้ามีปัญญาเห็นตามความเป็นจริง จะรู้ได้ว่า นี่คือสังสารวัฏฏ์ ซึ่งเป็นเพียงธาตุแต่ละชนิด ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นก็ทำกิจของธาตุนั้นๆ สติก็เป็นธาตุ โทสะก็เป็นธาตุ โลภะก็เป็นธาตุ แล้วแต่ว่าธาตุใดจะเกิดขึ้นก็ทำกิจหน้าที่ของธาตุนั้น จิตเป็นธาตุ ที่เกิดขึ้นรู้สิ่งที่กำลังปรากฏ ขณะนี้ทางตา จิตเป็นธาตุที่กำลังรู้สิ่งที่ปรากฏ เวลาคิด จิตเป็นธาตุที่คิดเรื่องราวต่างๆ จากสิ่งที่ปรากฏ เวลาได้ยินเสียง จิตเป็นธาตุได้ยินประเภท หนึ่ง ถ้าศึกษาเรื่องธาตุ ๑๘ จะทราบได้ว่า จิตได้ยินเป็นอีกธาตุหนึ่ง ไม่ใช่ธาตุเห็น แล้วก็จิตก็คิดนึกหลังจากที่ได้ยิน
ถ้าเราคิดถึง สภาพของจิตจริงๆ ว่า ไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น รูปไม่มาเกี่ยวข้องเลย เป็นแต่เพียงธาตุรู้ซึ่งไม่มีรูปร่างสัณฐานเลย แล้วก็มีทางที่จิตจะรู้ คือเห็น แว็บหนึ่ง สั้นมาก แล้วก็อยู่ในโลกของความคิดซึ่งมืดสนิท เวลาคิดไม่มีสีสัน ไม่มีเสียง ไม่มีกลิ่น เป็นแต่เพียงธาตุรู้ซึ่งกำลังคิด เพราะฉะนั้น เราจะรู้ได้เลยว่า ไม่มีคน แล้วอยู่คนเดียว ในความรู้สึกที่ว่า ถ้าจะใช้คำสมมติบัญญัติ ก็คือว่าคนหรือโลกใบเดียว โลกๆ หนึ่งซึ่งเป็นสภาพที่รู้สิ่งที่ปรากฏ สั้นแสนสั้น แล้วก็คิด ไม่ว่าจะเป็นทางตา สั้นมาก แล้วก็คิด ทางหูก็เหมือนกับฟ้าแลบนิดหนึ่ง แล้วก็คิด ทางจมูกนิดหนึ่งแล้วก็คิด แล้วก็รวมกันเป็นเรื่องราวจนกว่าจะตาย ตายไปแล้วเหลืออะไร มีไหมคนในโลกนี้มากมาย มีไหม
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ ไมมี เพราะว่าจิตไม่ได้คิดเรื่องนี้ แล้วก็ไม่ได้เห็นสิ่งที่อยู่ในโลกนี้อีกต่อไป เพราะฉะนั้น ต้องเป็นผู้ที่กล้า อาจหาญร่าเริงที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรม ที่จะละความเป็นตัวตน และความเป็นสัตว์ บุคคลทั้งหมด ไม่มีใคร อยู่คนเดียว
เพราะฉะนั้น ไม่ต้องไปกังวลถึงคนอื่น เขาจะชื่นมื่นหรือไม่ชื่นมื่น เรากำลังคิดต่างหากว่า เขาชื่นมื่น ถ้าไม่คิดเรื่องนี้ก็คิดเรื่องอื่น เขากำลังทุกข์โศก ก็จิตคิดอีกนั่นแหละ ชั่วขณะที่เกิดขึ้นคิด แล้วก็ดับ อยู่คนเดียวกับความคิด
ผู้ฟัง อาจารย์พอจะให้คำยืนยันได้หรือเปล่าว่า ในสมัยนี้ ไม่มีผู้ใดเลยที่จะสามารถ บรรลุธรรมโดยการนั่งสมาธิได้
ท่านอาจารย์ คนชอบถามคำถามนี้เหลือเกิน เมื่อวันก่อนคุณศีลกันต์ถามหรือเปล่า อย่างนี้ คล้ายๆ อย่างนี้หรือเปล่า ก่อนที่คุณศีลกันต์จะถาม ที่กรุงเทพก็มีชาวศรีลังกา ดอกเตอร์วีระ ทำงานอยู่ที่นิวซีแลนด์ เขาก็ติดต่อมาที่จะขอสนทนาธรรมด้วย ก็สนทนาธรรมกับเขา เขาก็ถามอย่างนี้ บอกได้ไหม สมัยนี้จะมีการที่จะรู้แจ้ง สภาพธรรมได้ไหม
เพราะฉะนั้น ไม่ใช่เรื่องที่เราพยายามไปรู้คนอื่น แต่เป็นเรื่องที่เราจะเข้าใจหนทาง ใครจะบอกหรือไม่บอก เราจะเชื่อหรือไม่เชื่อ เป็นสิทธิของเรา แต่สิ่งที่น่าคิดคือว่า ถ้าบอกแล้ว มีประโยชน์อะไร เหมือนอย่างที่เขาบอกๆ กัน มีประโยชน์ หรือเปล่า คนที่เชื่อกับคนที่ไม่เชื่อ เชื่อ และไม่เชื่อโดยไม่มีเหตุผลทั้งนั้น ต้องเป็นการรู้แจ้งด้วยตัวของตัวเองตามความเป็นจริง แล้วทำไมถึงต้องคิดถึงคนอื่น ดิฉันก็ไม่ค่อยเข้าใจ ใครจะเป็นอย่างไรก็เรื่องความคิดของเราทั้งนั้น
ผู้ฟัง ถ้าเกิดเราไม่คิดถึงคนอื่น แล้วเรามาเปรียบเทียบตัวเอง ขนาดคนอื่นไม่ได้ แล้วเราจะได้หรือ แสดงว่าถ้าเกิด
ท่านอาจารย์ พระสารีบุตรท่านได้หรือเปล่า พระโมคคัลานะท่านได้หรือเปล่า วิสาขาอุบาสิกาท่านได้หรือเปล่า
ผู้ฟัง ท่านบรรลุธรรมโดยการนั่งสมาธิหรือเปล่า ท่านพระสารีบุตร ไม่ใช่เลย ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ไม่ ท่านฟังธรรมของพระอัสสชิ ขณะที่ท่านพระอัสสชิบิณฑบาต แล้วท่านก็ติดตามไป แล้วก็ได้ฟังธรรม
ผู้ฟัง เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ในสิ่งที่เราทำมันเป็นสิ่งที่ไม่ใช่ตรงกับเป้าหมายที่เราต้องการ
ท่านอาจารย์ ต้องศึกษาด้วยเหตุผล ถ้าไม่เกิดปัญญาแล้วไม่ต้องทำอะไร เพราะว่าถ้าไม่มีปัญญาก็เจริญสมถภาวนาไม่ได้ สติปัฏฐานหรือวิปัสสนาภาวนาไม่ได้ ข้อความนี้มีในพระไตรปิฎก แล้วเป็นความจริงด้วย
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 361
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 362
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 363
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 364
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 365
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 366
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 367
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 368
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 369
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 370
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 371
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 372
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 373
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 374
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 375
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 376
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 377
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 378
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 379
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 380
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 381
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 382
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 383
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 384
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 385
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 386
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 387
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 388
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 389
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 390
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 391
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 392
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 393
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 394
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 395
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 396
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 397
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 398
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 399
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 400
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 401
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 402
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 403
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 404
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 405
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 406
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 407
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 408
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 409
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 410
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 411
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 412
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 413
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 414
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 415
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 416
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 417
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 418
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 419
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 420